ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -วันก่อนที่ประชุม ครม. เห็นชอบหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เพื่อดำเนินการต่อไปได้ ถือเป็นนโยบายต่อเนื่องที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง
มติครม.คือ “อัตราค่ามิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง เอาเปรียบผู้โดยสาร และให้เกิดความเป็นธรรม”
จากข้อมูลสมุดปกขาว ของ ทีดีอาร์ไอ โดย นายนิพนธ์ พัวพงศกร เผยแพร่ไว้เมื่อปี 2537 ระบุไว้ว่า “ก่อนปี 2524 มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างให้บริการรับส่งผู้โดยสารในกรุงเทพฯ ไม่ถึงร้อยคัน แต่ในปี 2531 จำนวนมอเตอร์ไซค์รับจ้างเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 16,000 คัน จากจำนวนคิว (หรือวิน) รวมเกือบ 900 คิว และจากข้อมูลของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (31 มีนาคม 2537 ) พบว่า มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างทั้งสิ้น 37,500 คันโดยมีวินมอเตอร์ไซค์ถึง 1,570 วินในกรุงเทพฯ
ข้อมูลปี 2548 มอเตอร์ไซค์รับจ้างทั่วประเทศ มีอยู่ 280,000 คัน แยกเป็น กทม. 110,000 คัน ต่างจังหวัด 170,000 คัน (เป็นตัวเลขที่ไม่มีการจดทะเบียน)
ปี 2552 มีรถจักรยานยนต์สาธารณะจดทะเบียนอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 181,797 คัน แบ่งเป็นในเขตกทม. 85,272 คัน ต่างจังหวัด 96,525 คัน
ส่วนตัวเลขที่มีการเปิดเผยล่าสุด ปัจจุบันมีวินรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ได้รับอนุญาตแล้วจำนวน 5,477 วิน มีรถจักรยานยนต์สาธารณะขึ้นทะเบียนไว้จำนวน 97,771 คัน ดำเนินการจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะแล้วจำนวน 83,299 คัน
กลับมาที่ มติ ครม. ข้อเสนอของ กระทรวงคมนาคม เห็นว่า เพื่อมิให้ผู้ขับขี่เอาเปรียบผู้โดยสาร และให้เกิดความเป็นธรรม
จึงกำหนดให้ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก จัดเก็บไม่เกิน 25 บาท, กิโลเมตร 2-5 ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท , ระยะทาง 5-15 กิโลเมตร จากเดิมให้ตกลงกันเอง เปลี่ยนเป็นตั้งแต่กิโลเมตรแรกจนสิ้นสุดการรับจ้างเก็บค่าโดยสารไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท และหากระยะทางมากกว่า 15 กิโลเมตรขึ้นไป ให้ตกลงราคากันเอง และหากไม่ได้ตกลงกันให้คิดค่าโดยสารกิโลเมตรละ 10 บาท
เป็นการแก้กฎกระทรงเดิม ที่กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 โดยกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
เดิมที่ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ไม่เกิน 25 บาท และกิโลเมตรต่อ ๆ ไป ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาทและระยะทางเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและผู้โดยสารตกลงกัน
ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างโดยมอบหมายให้กองพล 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับกรมการขนส่งทางบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนินการมาตรการต่าง ๆ สำหรับจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง
ระยะแรก มีการ จัดทำป้ายจุดจอด เพื่อที่รถจักรยานยนต์รับจ้างมีระเบียบมากยิ่งขึ้น และไม่กีดขวางทางเดินเท้า จัดอบรมให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขจัดผู้ที่มีอิทธิพลที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์
ระยะที่ 2 เปิดให้มีการลงทะเบียนวินเพิ่มเติมเพื่อลดปัญหาวินเถื่อน
ระยะที่ 3 เร่งแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยวินมอเตอร์ไซต์รับจ้างจะต้องมีการจดทะเบียนให้ถูกต้อง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557
สำหรับมาตรการทางด้านกฎหมาย คณะทำงานจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง เห็นว่า ปัจจุบันกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดให้กรณีการจ้างที่มีระยะทางเกินกว่าห้ากิโลเมตรขึ้นไป ให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและคนโดยสารตกลงราคา
“เป็นช่องว่างให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเรียกเก็บค่าโดยสารสูงเกินควร สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะเป็นอย่างมาก สมควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนและไม่เปิดโอกาสให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเอาเปรียบผู้โดยสารที่ใช้บริการ”
ขณะที่ ปัจจุบันอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะตามกฎกระทรวงเดิม มีการกำหนดอัตราค่าจ้างที่แน่นอนในระยะทาง 5 กิโลเมตรแรก หากเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไปอัตราค่าจ้างให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะและผู้โดยสารตกลงกัน แต่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะได้อาศัยช่องว่างของกฎหมายดังกล่าวเป็นผู้กำหนดค่าจ้างขึ้นเองในอัตราที่สูงเกินไปโดยไม่ได้มีการตกลงราคากับผู้โดยสารก่อนทำให้ผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน เพื่อมิให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเอาเปรียบผู้โดยสารและเป็นการกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เหมาะสมและเป็นธรรม
สมควรปรับปรุงอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยขยายการกำหนดอัตราค่าจ้างให้ครอบคลุมการจ้างที่มีระยะทางไม่เกิน 15 กิโลเมตร ต้องจัดเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารตามอัตราที่กำหนด หากระยะทางเกินกว่า 15 กิโลเมตรให้ใช้วิธีตกลงราคาได้ โดยที่มาตรา 5 (14) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้การดำเนินการดังกล่าวต้องออกเป็นกฎกระทรวง
กฎกระทรวงนี้จะมีผลใช้บังคับ ก็ต้อเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ขั้นตอนต่อไป กระทรวงคมนาคม ก้จะมีคำสั่งยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548
ในส่วนภูมิภาค มตินี้ก็จะให้คณะกรรมการประจำจังหวัดหรืออนุกรรมการประจำท้องที่ตามมาตรา 23/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2547 มีอำนาจกำหนดค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในข้อ 3 (1) 3 (2) และ 3 (3) และให้ผู้ขอจัดตั้งสถานที่รอรับคนโดยสารแสดงค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ณ สถานที่รอรับคนโดยสารตามแบบที่คณะกรรมการประจำจังหวัดกำหนด
ที่ผ่านมา กำหนดต้นแบบนำร่องการจัดระเบียบในแต่ละภาค จำนวน 16 จังหวัด สำหรับภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี ชลบุรี (พัทยา) สระบุรี ลพบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่ นครสวรรค์ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) และนครศรีธรรมราช และคาดว่า ปีหน้า 2559 อัตรานี้ก็จะควบคุมไปทั่วประเทศ
ส่วนโทษหากไม่ปฏิบัติตาม “กองบัญชาการตำรวจนครบาล” ระบุไว้ว่า หากฝ่าฝืนจะต้องถูกปรับ 5,000 บาท
เรื่องการกำหนดค่าโดยสารมอเตอร์ไซค์รับจ้างใหม่ หลังพบการข่มขู่เอาเปรียบผู้โดยสาร ครั้งนี้ ถือเป้นมาตรการเฉียบขาดที่ คสช. และกระทรวงคมนาคมนำมาใช้
ประเด็นนี้ฝ่ายการเมืองในรัฐบาลปกติ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์เคยเห็นว่า ราคาเดิมที่กรมขนส่งทางบก ตั้งเอาไว้เป็นราคาที่สูงเกินไป มีการสั่งการไปยัง กรมการค้าภายใน และพาณิชย์แต่ละจังหวัด ให้ตรวจสอบราคาค่าโดยสารว่า “สูงขึ้นมากน้อยเพียงใด หากสูงขึ้นมาก ทางกระทรวงพาณิชย์ก็สามารถที่จะนำอัตราค่าโดยสารรถจักรยานยนต์เข้ามาอยู่ในรายการสินค้าควบคุมตามกฎหมาย ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ” แต่เมื่อฝ่ายการเมืองรัฐปกติ มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ก็เงียบไป
ข้อมูลเรื่อง “อัตราค่าโดยสารของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง” จากข้อมูลของทีดีอาร์ไอ โดยนายนิพนธ์ พัวพงศกร อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://tdri.or.th/archives/download/quarterly/white-pp/wb4.htm โดยตอนหนึ่งกล่าวถึง “อัตราค่าโดยสารของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง” ระบุว่า จากการศึกษาอัตราค่าโดยสารของวินต่างๆ จำนวน 48 วิน พบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจสามารถอธิบายความแตกต่าง ของค่าโดยสารระหว่างวินได้ถึงร้อยละ 77 ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ระยะทาง รองลงมาคือความหนาแน่นของผู้โดยสาร การมีคู่แข่งในสายเดียวกันและการที่คนขับ สามารถรับผู้โดยสารได้ 2 เที่ยว คือเที่ยวไปและเที่ยวกลับ ปัจจัย 3 ตัวหลังนี้ทำให้ค่าโดยสารถูกลง
อาชีพนี้ก็สามารถให้บริการโดยสารได้วันละ ไม่ต่ำกว่า 2.2 ล้านคนต่อเที่ยว และสร้างรายได้ปีละ 3,150 ล้านบาท การสำรวจพบว่าในแต่ละวันคนขับซึ่งทำงาน 10 ชั่วโมงจะมีรายได้รวมเฉลี่ยวันละ 350-400 บาท (ในปี 2536 คนขับมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าวันละ 350 บาท ทำงานปีละ 300 วัน และมีคนขับประมาณ 30,000 คน การสำรวจในปี 2532-2533 พบว่า คนขับมีรายได้วันละ 245 บาท ขณะนั้นอัตราค่าโดยสารสำหรับระยะทาง 1-2 กิโลเมตรแรกเท่ากับ 3 บาท ปัจจุบันเป็น 5 บาท) คนขับจะมีค่าใช้จ่ายดังนี้ ร้อยละ 23.5 เป็นค่าเช่ารถ ร้อยละ 8.8 เป็นค่าเช่าเสื้อ ร้อยละ 3.1 เป็นค่าวินซึ่งรวมส่วนที่จ่ายให้ตำรวจกับเจ้าของวินด้วย และร้อยละ 21.4 เป็นค่าน้ำมันและค่าสึกหรอต่างๆ
หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว คนขับรถมอเตอร์ไซค์จะมีรายได้เฉลี่ยวันละ 150-170 บาท (ประมาณร้อยละ 43 ของรายได้รวม) รายได้นี้นับว่าสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ (125 บาทต่อวันในปี 2536) และสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ที่ใช้ความสามารถเท่ากัน แต่ต้องไม่ลืมว่ารายได้จากงานนี้อาจมีความไม่แน่นอน รวมทั้งยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจาก อุบัติเหตุบนท้องถนน จากการต้องทำงานบนถนนที่ร้อน เต็มไปด้วยฝุ่นละออง บางครั้งต้องเปียกฝนและสูดดมสารพิษจากท่อไอเสียที่มาจากรถนานาชนิดบนท้องถนนอีกด้วย หากเขาเหล่านั้นมีอาชีพอื่นที่ดีกว่า เขาคงไม่อยากประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
ข้างต้นเป็นผลงานวิจัย เมื่อปี 2537 หรือ 30 ปีที่แล้ว ค่าอัตราโดยสารที่เปลี่ยนไป และรายได้วันละ 350-400 บาท หรือปีละ 3,150 ล้านบาท คงเปลี่ยนไปบ้างจะลดหรือจะเพิ่มต้องถามใจ “คนขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง”
มติครม.คือ “อัตราค่ามิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง เอาเปรียบผู้โดยสาร และให้เกิดความเป็นธรรม”
จากข้อมูลสมุดปกขาว ของ ทีดีอาร์ไอ โดย นายนิพนธ์ พัวพงศกร เผยแพร่ไว้เมื่อปี 2537 ระบุไว้ว่า “ก่อนปี 2524 มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างให้บริการรับส่งผู้โดยสารในกรุงเทพฯ ไม่ถึงร้อยคัน แต่ในปี 2531 จำนวนมอเตอร์ไซค์รับจ้างเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 16,000 คัน จากจำนวนคิว (หรือวิน) รวมเกือบ 900 คิว และจากข้อมูลของกองบัญชาการตำรวจนครบาล (31 มีนาคม 2537 ) พบว่า มีมอเตอร์ไซค์รับจ้างทั้งสิ้น 37,500 คันโดยมีวินมอเตอร์ไซค์ถึง 1,570 วินในกรุงเทพฯ
ข้อมูลปี 2548 มอเตอร์ไซค์รับจ้างทั่วประเทศ มีอยู่ 280,000 คัน แยกเป็น กทม. 110,000 คัน ต่างจังหวัด 170,000 คัน (เป็นตัวเลขที่ไม่มีการจดทะเบียน)
ปี 2552 มีรถจักรยานยนต์สาธารณะจดทะเบียนอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 181,797 คัน แบ่งเป็นในเขตกทม. 85,272 คัน ต่างจังหวัด 96,525 คัน
ส่วนตัวเลขที่มีการเปิดเผยล่าสุด ปัจจุบันมีวินรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ได้รับอนุญาตแล้วจำนวน 5,477 วิน มีรถจักรยานยนต์สาธารณะขึ้นทะเบียนไว้จำนวน 97,771 คัน ดำเนินการจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะแล้วจำนวน 83,299 คัน
กลับมาที่ มติ ครม. ข้อเสนอของ กระทรวงคมนาคม เห็นว่า เพื่อมิให้ผู้ขับขี่เอาเปรียบผู้โดยสาร และให้เกิดความเป็นธรรม
จึงกำหนดให้ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก จัดเก็บไม่เกิน 25 บาท, กิโลเมตร 2-5 ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาท , ระยะทาง 5-15 กิโลเมตร จากเดิมให้ตกลงกันเอง เปลี่ยนเป็นตั้งแต่กิโลเมตรแรกจนสิ้นสุดการรับจ้างเก็บค่าโดยสารไม่เกินกิโลเมตรละ 10 บาท และหากระยะทางมากกว่า 15 กิโลเมตรขึ้นไป ให้ตกลงราคากันเอง และหากไม่ได้ตกลงกันให้คิดค่าโดยสารกิโลเมตรละ 10 บาท
เป็นการแก้กฎกระทรงเดิม ที่กำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 โดยกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
เดิมที่ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก ไม่เกิน 25 บาท และกิโลเมตรต่อ ๆ ไป ไม่เกินกิโลเมตรละ 5 บาทและระยะทางเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไป อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและผู้โดยสารตกลงกัน
ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีนโยบายจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างโดยมอบหมายให้กองพล 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกับกรมการขนส่งทางบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนินการมาตรการต่าง ๆ สำหรับจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง
ระยะแรก มีการ จัดทำป้ายจุดจอด เพื่อที่รถจักรยานยนต์รับจ้างมีระเบียบมากยิ่งขึ้น และไม่กีดขวางทางเดินเท้า จัดอบรมให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขจัดผู้ที่มีอิทธิพลที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์
ระยะที่ 2 เปิดให้มีการลงทะเบียนวินเพิ่มเติมเพื่อลดปัญหาวินเถื่อน
ระยะที่ 3 เร่งแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยวินมอเตอร์ไซต์รับจ้างจะต้องมีการจดทะเบียนให้ถูกต้อง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557
สำหรับมาตรการทางด้านกฎหมาย คณะทำงานจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้าง เห็นว่า ปัจจุบันกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดให้กรณีการจ้างที่มีระยะทางเกินกว่าห้ากิโลเมตรขึ้นไป ให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถและคนโดยสารตกลงราคา
“เป็นช่องว่างให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเรียกเก็บค่าโดยสารสูงเกินควร สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะเป็นอย่างมาก สมควรแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวให้เกิดความชัดเจนและไม่เปิดโอกาสให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเอาเปรียบผู้โดยสารที่ใช้บริการ”
ขณะที่ ปัจจุบันอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะตามกฎกระทรวงเดิม มีการกำหนดอัตราค่าจ้างที่แน่นอนในระยะทาง 5 กิโลเมตรแรก หากเกินกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นไปอัตราค่าจ้างให้เป็นไปตามที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะและผู้โดยสารตกลงกัน แต่ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะได้อาศัยช่องว่างของกฎหมายดังกล่าวเป็นผู้กำหนดค่าจ้างขึ้นเองในอัตราที่สูงเกินไปโดยไม่ได้มีการตกลงราคากับผู้โดยสารก่อนทำให้ผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน เพื่อมิให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์สาธารณะเอาเปรียบผู้โดยสารและเป็นการกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้เหมาะสมและเป็นธรรม
สมควรปรับปรุงอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยขยายการกำหนดอัตราค่าจ้างให้ครอบคลุมการจ้างที่มีระยะทางไม่เกิน 15 กิโลเมตร ต้องจัดเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารตามอัตราที่กำหนด หากระยะทางเกินกว่า 15 กิโลเมตรให้ใช้วิธีตกลงราคาได้ โดยที่มาตรา 5 (14) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้การดำเนินการดังกล่าวต้องออกเป็นกฎกระทรวง
กฎกระทรวงนี้จะมีผลใช้บังคับ ก็ต้อเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ขั้นตอนต่อไป กระทรวงคมนาคม ก้จะมีคำสั่งยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. 2548
ในส่วนภูมิภาค มตินี้ก็จะให้คณะกรรมการประจำจังหวัดหรืออนุกรรมการประจำท้องที่ตามมาตรา 23/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2547 มีอำนาจกำหนดค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในข้อ 3 (1) 3 (2) และ 3 (3) และให้ผู้ขอจัดตั้งสถานที่รอรับคนโดยสารแสดงค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ณ สถานที่รอรับคนโดยสารตามแบบที่คณะกรรมการประจำจังหวัดกำหนด
ที่ผ่านมา กำหนดต้นแบบนำร่องการจัดระเบียบในแต่ละภาค จำนวน 16 จังหวัด สำหรับภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี ชลบุรี (พัทยา) สระบุรี ลพบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่ นครสวรรค์ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) และนครศรีธรรมราช และคาดว่า ปีหน้า 2559 อัตรานี้ก็จะควบคุมไปทั่วประเทศ
ส่วนโทษหากไม่ปฏิบัติตาม “กองบัญชาการตำรวจนครบาล” ระบุไว้ว่า หากฝ่าฝืนจะต้องถูกปรับ 5,000 บาท
เรื่องการกำหนดค่าโดยสารมอเตอร์ไซค์รับจ้างใหม่ หลังพบการข่มขู่เอาเปรียบผู้โดยสาร ครั้งนี้ ถือเป้นมาตรการเฉียบขาดที่ คสช. และกระทรวงคมนาคมนำมาใช้
ประเด็นนี้ฝ่ายการเมืองในรัฐบาลปกติ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์เคยเห็นว่า ราคาเดิมที่กรมขนส่งทางบก ตั้งเอาไว้เป็นราคาที่สูงเกินไป มีการสั่งการไปยัง กรมการค้าภายใน และพาณิชย์แต่ละจังหวัด ให้ตรวจสอบราคาค่าโดยสารว่า “สูงขึ้นมากน้อยเพียงใด หากสูงขึ้นมาก ทางกระทรวงพาณิชย์ก็สามารถที่จะนำอัตราค่าโดยสารรถจักรยานยนต์เข้ามาอยู่ในรายการสินค้าควบคุมตามกฎหมาย ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ” แต่เมื่อฝ่ายการเมืองรัฐปกติ มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ก็เงียบไป
ข้อมูลเรื่อง “อัตราค่าโดยสารของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง” จากข้อมูลของทีดีอาร์ไอ โดยนายนิพนธ์ พัวพงศกร อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://tdri.or.th/archives/download/quarterly/white-pp/wb4.htm โดยตอนหนึ่งกล่าวถึง “อัตราค่าโดยสารของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง” ระบุว่า จากการศึกษาอัตราค่าโดยสารของวินต่างๆ จำนวน 48 วิน พบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจสามารถอธิบายความแตกต่าง ของค่าโดยสารระหว่างวินได้ถึงร้อยละ 77 ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ระยะทาง รองลงมาคือความหนาแน่นของผู้โดยสาร การมีคู่แข่งในสายเดียวกันและการที่คนขับ สามารถรับผู้โดยสารได้ 2 เที่ยว คือเที่ยวไปและเที่ยวกลับ ปัจจัย 3 ตัวหลังนี้ทำให้ค่าโดยสารถูกลง
อาชีพนี้ก็สามารถให้บริการโดยสารได้วันละ ไม่ต่ำกว่า 2.2 ล้านคนต่อเที่ยว และสร้างรายได้ปีละ 3,150 ล้านบาท การสำรวจพบว่าในแต่ละวันคนขับซึ่งทำงาน 10 ชั่วโมงจะมีรายได้รวมเฉลี่ยวันละ 350-400 บาท (ในปี 2536 คนขับมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าวันละ 350 บาท ทำงานปีละ 300 วัน และมีคนขับประมาณ 30,000 คน การสำรวจในปี 2532-2533 พบว่า คนขับมีรายได้วันละ 245 บาท ขณะนั้นอัตราค่าโดยสารสำหรับระยะทาง 1-2 กิโลเมตรแรกเท่ากับ 3 บาท ปัจจุบันเป็น 5 บาท) คนขับจะมีค่าใช้จ่ายดังนี้ ร้อยละ 23.5 เป็นค่าเช่ารถ ร้อยละ 8.8 เป็นค่าเช่าเสื้อ ร้อยละ 3.1 เป็นค่าวินซึ่งรวมส่วนที่จ่ายให้ตำรวจกับเจ้าของวินด้วย และร้อยละ 21.4 เป็นค่าน้ำมันและค่าสึกหรอต่างๆ
หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว คนขับรถมอเตอร์ไซค์จะมีรายได้เฉลี่ยวันละ 150-170 บาท (ประมาณร้อยละ 43 ของรายได้รวม) รายได้นี้นับว่าสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ (125 บาทต่อวันในปี 2536) และสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ที่ใช้ความสามารถเท่ากัน แต่ต้องไม่ลืมว่ารายได้จากงานนี้อาจมีความไม่แน่นอน รวมทั้งยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจาก อุบัติเหตุบนท้องถนน จากการต้องทำงานบนถนนที่ร้อน เต็มไปด้วยฝุ่นละออง บางครั้งต้องเปียกฝนและสูดดมสารพิษจากท่อไอเสียที่มาจากรถนานาชนิดบนท้องถนนอีกด้วย หากเขาเหล่านั้นมีอาชีพอื่นที่ดีกว่า เขาคงไม่อยากประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
ข้างต้นเป็นผลงานวิจัย เมื่อปี 2537 หรือ 30 ปีที่แล้ว ค่าอัตราโดยสารที่เปลี่ยนไป และรายได้วันละ 350-400 บาท หรือปีละ 3,150 ล้านบาท คงเปลี่ยนไปบ้างจะลดหรือจะเพิ่มต้องถามใจ “คนขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง”