วานนี้ (5 พ.ย.) มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาการถอดถอน นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีต รมว.ศึกษาธิการ พรรคชาติไทย ร่ำรวยผิดปกติ กรณีการสร้างบ้านมูลค่า 16 ล้านบาท ที่ จ.อ่างทอง โดยเป็นขั้นตอนการซักถามคู่กรณี คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช.) โดยมี นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการป.ป.ช. เป็นตัวแทน และ นายสมศักดิ์ คู่กรณี
นายนิรวัฒน์ ปุณณกัณต์ ตัวแทนกรรมาธิการได้ซักถาม ป.ป.ช.ว่า บ้านดังกล่าวสร้างเสร็จก่อนปลายปี 40 ก่อน หรือหลัง นายสมศักดิ์ดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาฯ ก็ตาม พฤติการณ์ดังกล่าวเข้าข่ายการถอดถอนออกจากการดำรงตำแหน่งหรือไม่ และใช้หลักการอะไรที่ ป.ป.ช. ส่งมาให้ สนช. ถอดถอนข้อหา ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งการที่นายสมศักดิ์ ได้เงินสนับสนุนจากพรรคชาติไทย กว่า 20 ล้านบาท พฤติการณ์ดังกล่าว ครบองค์ประกอบในการถอดถอน หรือไม่ และ เหตุใดป.ป.ช. จึงไม่เชื่อหลักฐานและพยาน ที่นายสมศักดิ์ กลับคำให้การในภายหลัง
**ยึดหลักกม.ป.ป.ช.ชี้มูลรวยผิดปกติ
ด้านนายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวตอบข้อซักถามว่า ตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้วินิจฉัยว่า นายสมศักดิ์ จงใจยื่นทรัพย์สินเป็นเท็จ มีคำพิพากษาห้ามนายสมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี และมีโทษอาญา ซึ่งเป็นเรื่องของการจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวข้องกับการถอดถอน แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกัน เชื่อมโยงกัน เพราะนายสมศักดิ์ ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ สำหรับการพิจาณาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่นั้น ป.ป.ช.ใช้หลักการดำเนินการตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. ปี 2542 ในมาตรา 4 คือ มีทรัพย์สินมากกว่าปกติ หมายถึง มีทรัพย์สินมากกว่าฐานะ เกินกว่าปกติที่จะมีได้ รวมถึงคำว่า มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยการเปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไปยังช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริงตรงนี้ได้
"เงินที่ได้ตัวสนับสนุนจากพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาก็ต้องชี้แจงว่า มีที่มาของรายได้อย่างไรบ้าง สัมพันธ์กับรายจ่ายหรือไม่ ซึ่งจากการตรวจสอบ พบข้อเท็จจริงว่า เงินที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายส่วน ได้นำไปซื้อหุ้น และกองทุนจากตลาดหลักทรัพย์ ฉะนั้นเงินที่เหลือ จึงไม่เพียงพอต่อการสร้างบ้าน ป.ป.ช.จึงมีมติว่า มีความร่ำรวยผิดปกติ เพราะทรัพย์สินและรายได้ไม่สมดุลกัน ส่วนการกลับคำให้การนั้น ครั้งแรก นายสมศักดิ์ ระบุว่า เป็นเงินของโรงสีในครอบครัว แต่กรณีที่ยื่นทรัพย์สินเป็นเท็จ และศาลวินิจฉัยโดยให้ข้อเท็จจริงว่า เป็นเงินสนับสนุนพรรค นายสมศักดิ์ จึงใช้ประเด็นของศาล มาเป็นประเด็นในการต่อสู้ เหตุลที่ ป.ป.ช.ไม่เชื่อ เพราะมองเป็น 2 ความเห็น เนื่องจากเสียงข้างมากเห็นว่า เงินสนับสนุนพรรคไปซื้อหุ้น และกองทุนจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะทำให้ไม่มีเงินเพียงพอในการสร้างบ้าน และการปลูกสร้างบ้านระหว่างที่ นายสมศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกิดขึ้นในปี 2541 - 2543 การอ้างเงินสนับสนุนดังกล่าว ในเรื่องการซื้อหุ้น จึงไม่สมเหตุสมผลที่จะเพียงพอต่อการปลูกสร้างบ้าน" นายณรงค์ กล่าว
**ไม่เรียกสอบขรก.เพราะไม่เกี่ยวคดีทุจริต
ส่วนการไต่สวนคดีร่ำรวยผิดปกติ และคดีทุจริต เป็นกลไกตามกฎหมาย ป.ป.ช. ในเรื่องของการตรวจสอบกรณีการทุจริต ต้องยอมรับว่าการไต่สวนคดีทุจริตส่วนใหญ่ เราไม่พบพยานหลักฐานว่ามีการทุจริต ดังนั้นในกม.จึงบัญญัติกลไก โดยเพิ่มในกรณีร่ำรวยผิดปกติ แม้จะมีกลไกเรื่องร่ำรวยเป็นกลไกเสริมศักยภาพในการดำเนินการกลไกด้านการปราบปราม ทั้งนี้ป.ป.ช.ไม่เคยเรียกผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาฯ มาสอบปากคำ เพราะไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตในขณะนั้น แต่เราตรวจสอบเรื่องร่ำรวยผิดปกติ ว่ามีที่มาอย่างไร จึงไม่จำเป็นต้องเรียกข้าราชการระดับสูงของประ ทรวง มาสอบปากคำ
นายณรงค์ กล่าวต่อว่า การลงมติของป.ป.ช. ที่ผ่านมา เสียงข้างมากเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า บ้านหลังดังกล่าวนายสมศักดิ์ ปลูกสร้างในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง รมช.จนถึง รมว. ซึ่งในเรื่องที่มาของเงินรวมทั้งหลักฐานที่ได้จากสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้ข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกัน ว่าบ้านหลังดังกล่าว เริ่มตอกเสาเข็มตั้งแต่ปี 41 ส่วนเสียงข้างน้อยเห็นว่านายสมศักดิ์ นอกจากจะอ้างที่มาของรายได้ที่ปรากฏข้อเท็จของศาล ภาษีเงินได้ ปี 41 - 43 และยังปรากฏไดอารี่ว่า มีผู้สนับสนุน
ดังนั้น เสียงข้างน้อยพอจะรับฟังได้ว่า อยู่ในสถานะที่น่าจะปลูกสร้างบ้านได้ เสียงจึงออกมาเป็น 6 ต่อ 3 นอกจากนี้ หลักฐานภาพถ่ายทางอากาศนั้น นายสมศักดิ์ เพิ่งจะนำมาต่อสู้ในชั้นสนช. แต่ไม่ได้นำมาต่อสู้ในชั้น ป.ป.ช. ส่วนเรื่องของการยื่นรายการแสดงเงินสดนั้น ทุกครั้งที่นายสมศักดิ์ยื่น ไม่เคยยื่นรายการเงินสด จึงไม่มีประเด็นที่ ป.ป.ช.ต้องตรวจสอบ
**กมธ.เปิดทาง"เฮียตือ"แจง 8 คำถาม
จากนั้นเป็นการซักถามนายสมศักดิ์ 8 คำถาม อาทิ เคยเป็นรมว.ศึกษาฯ ซึ่งต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรม จากการที่แถลงคัดค้าน คำโต้แย้งสำนวนป.ป.ช.ได้ยอมรับต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า เป็นบ้านของตน ทั้งที่ชั้นไต่สวนของป.ป.ช.ได้ปฏิเสธมาตลอด เหตุใดจึงไม่ยอมรับ หรือจำไม่ได้แต่เบื้องต้นว่า บ้านหลังดังกล่าวเป็นของตน และทำไมให้การขัดแย้งและมีพยานหลักฐานใด ในการรับเงินสนับสนุนจากพรรคชาติไทยแต่ละครั้ง และคนที่สนับสนุนต่างให้ใช้ทางการเมือง เหตุใดไม่โอนเงินเข้าธนาคารโดยตรง เมื่อสร้างบ้านเสร็จ เหตุใดไม่แจ้งต่อนายทะเบียน เพื่อจดแจ้งทะเบียน และซื้อเจ้าของบ้าน เงินที่แจ้งว่าได้รับจากพรรคการเมืองต้นสังกัด และผู้ให้การสนับสนุน น่าจะมีวัตถุประสงค์ช่วยทางการเมือง ทำไมนำไปใช้การสร้างบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนตน และตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง มีการกำหนดค่าใช้จ่าย แต่จากบัญชีบันทึกประจำวันของ นายสมศักดิ์ ระบุว่า ปี 39 ได้รับเงินมา 41 ล้านบาทเศษ ใช้จ่ายในการเลือกตั้งไป 23 ล้านบาทเศษ เหลือ 17 ล้านบาทเศษ ยืนยันได้หรือไม่ว่า ได้นำเงินของพรรคมาสร้างบ้านดังกล่าว และมีการใช้เงินในการเลือกตั้ง เกินที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และ หลังจากมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. ปี 42 มีผลบังคับใช้ ให้นักการเมืองที่มีเงินสดตั้งแต่ 2 แสนบ้านขึ้นไป ต้องยื่นแสดงรายการต่อ ป.ป.ช. ทำไมจึงเก็บเงินสดไว้ในตู้นิรภัย
** "ตือ"โวมีต่อมคุณธรรม จริยธรรม
นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า เมื่อตัดสินใจมาเดินบนถนนการเมืองได้ตั้งปณิธานว่า จะเป็นนักการเมืองที่ดี เรื่องคุณธรรมนักการเมืองต้องอยู่ในสำนึกตลอดเวลา เล่นการเมือง 30 ปีเต็มไม่เคยถูกสังคมวิจารณ์ว่าน้ำเน่า มีเห็นข่าวของตนในทางบวก เมื่อมาเป็น รมว.ศึกษาฯ จำเป็นต้องให้สังคมเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝั่งเด็กเยาวชนวัยเรียนมาตลอด จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะขาดต่อมจริยธรรม หรือคุณธรรม ตนได้ชี้แจงในวันเปิดคดีว่า การยื่นบัญชีครั้งแรก เมื่อมีรัฐธรรมนูญปี 40 ได้ยื่นในนามห้างหุ้นส่วนโรงสีวิเศษชัยชาญเจริญกิจ ว่ามีเงินที่เหลือจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง ที่ตนยังไม่ได้ใช้ และนำมามอบให้กับโรงสี ตอนนั้นยังเป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน แต่หลังจากปี 41 มาเป็น รมช.ศึกษาฯ ตนยื่นครั้งที่สอง สอบถามเจ้าหน้าที่ป.ป.ช. ว่า บัญชีห้างหุ้นส่วนจำเป็นต้องยื่นหรือไม่ เพราะไม่มีชื่อตน มีแต่ชื่อภรรยาเป็นหุ้นส่วนเสียงส่วนน้อย เจ้าหน้าที่บอกว่า ไม่จำเป็นต้องยื่น ตั้งแต่นั้นมา ตนก็ไม่ยื่นอีกเลย จนเป็นที่มาที่ศาลชี้ว่าตนจงใจปกปิด และยื่นความเท็จ และ ถูกจำคุก 6 เดือน แต่โทษรอลงอาญา ถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ถูกปรับอีก1 หมื่นบาท
ส่วนเงินที่ตนนำไปให้โรงสี แล้วก็ไม่คิดว่าเขาจะนำไปซื้อที่ดินปลูกบ้านในช่วงต่อมา โดยมียอดเงิน 37ล้านกว่าบาท ต่อมาทางโรงสีมีความเห็นว่าตนเริ่มเติบโตทางการเมือง เมื่อปี 38 ได้เป็นโฆษกรัฐบาล จะมีสื่อมวลชนมาหาทุกวันหยุด บ้านตนเป็นร้านขายข้าวสารเล็กๆ ทางภรรยาเห็นว่า น่าจะมีบ้านส่วนตัวไว้รับรองแขก เลยมอบหมายให้พี่ชายภรรยา คือ นายไพโรจน์ ฉัตรบริรัตน์ เป็นคนไปดำเนินการทั้งหมด ส่วนที่ว่า ทำไมตนจำไม่ได้ และไม่ยอมรับว่าเป็นของตน ก็เพราะเอกสารหลักฐานราชการทั้งหมด เป็นชื่อของนายไพโรจน์ ถึงวันนี้แม้ว่าศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นของตน ทุกอย่างก็ยังเป็นของ นายไพโรจน์หมด และมีตำแหน่ง นายกเทศบาลตำบลท่าช้าง ก็มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ก็ยังมีโฉนด และบ้านหลังนี้อยู่
" เขาไม่ได้โอนสิทธิ์มาให้ ผมแค่เขย ไม่ใช่ลูกชาย จะไปบอกว่าศาลตัดสินว่าเป็นของกู แล้วต้องเอามาหรือ ผมยังมีคุณธรรม จริยธรรมและ ต่อมหิริ โอตัปปะ ยังอยู่ในตัว จึงต้องปล่อยให้ทุกอย่างผ่านไป หลังจากเรื่องนี้จบลง ไม่รู้จะแพ้หรือชนะ ทั้งใน สนช.และในศาล ก็คงจะต้องเคลียร์กันให้จบ ถ้าชนะมาเล่นการเมืองต่อ เขาไม่ยกที่ดินให้ ถามว่าจะยังมีน้ำหน้ามาแจ้งบัญชีทรัพย์สินอีกมั๊ย ทั้งหมดไม่ได้ขัดแย้งเลย เมื่อถูกกล่าวหาว่าปกปิด หลังจากศาลวินิจฉัยว่า ที่ดินเป็นของผม แต่หลังพ้นตำแหน่งมาแล้ว และเมื่อไม่มีการโอน จะไปปรักปรำว่าของผม เป็นไปไม่ได้ เมื่อมาต่อสู้ร่ำรวยผิดปกติ ผมก็ต้องยกคำวินิจฉัยของศาล เรื่องที่มาของเงินมาต่อสู้ อย่างนี้จะให้เป็นอย่างอื่นอย่างไร"
** อ้างผู้ใหญ่-เพื่อนฝูงช่วยทุนเลือกตั้ง
นายสมศักดิ์ กล่าวถึงเรื่องเงินสนับสนุนจากพรรค ว่า พรรคไม่มีทางจ่ายเงินสด 20-30 ล้าน ให้นักการเมืองเอาไปในครั้งเดียว และไม่มีทางโอนเข้าบัญชีให้นักการเมืองคนนั้น ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญปี 40 และมีองค์กรอิสระต่างๆ สมัยนั้น กระทรวงมหาดไทยจัดการเลือกตั้ง และกำหนดค่าใช้จ่าย 1 คนไม่เกิน 1 ล้านบาท ถามว่าพรรคการเมืองที่ต้องไปดูแลนักการเมืองเกรด ต่างๆ จะกล้าหรือไม่ จึงเป็นไปไม่ได้ พรรคจะมีหนังสือแจ้งให้วิปของพรรคไปแจ้งว่า วันนี้ให้มาที่พรรค หรือให้ไปพบกับใคร นักการเมืองก็ไปพบ แล้วมีหิ้วลัง หิ้วถุง เอากลับไป โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น มองเห็นมาตลอดว่าขืนปล่อยสภาพให้ซื้อเสียง และจ่ายเงินกันขนาดนี้ ต่อไปไม่ประมูลซื้อประเทศไทยกันหรือ จึงคิดให้มีการปฏิรูปการเมือง และเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 40 และองค์กรอิสระ โดยกำหนดค่าใช้จ่ายไว้ชัดเจน ใครเกินกำหนดก็จะถูกใบเหลือง ใบแดง แต่ปรากฏการของตนที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 29- 39 และประเด็นที่ผู้ให้การสนับสนุน ก็จะมาจากมุ้งในพรรค ก็จะดูแลเด็กที่เมตตา ตนเป็นคนหนึ่งที่ผู้ใหญ่ให้ความเมตตา โดยตนได้ขอให้ช่วยมาเป็นพยานว่า ให้ส่วนตัวเท่าไหร่ รวมถึงเพื่อนนักการเมืองต่างพรรค ที่มีความผูกพันใกล้ชิด ก็ช่วยสนับสนุนเช่นกัน แต่ตนกล้าจะบอกหรือว่า ช่วยโอนเข้าบัญชีดีกว่า ตนไม่บังอาจที่จะบอกเช่นนั้น และณ เวลานั้นศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา ทั้งหมดยังเป็นชื่อ นายไพโรจน์ และ ตนลงพื้นที่ตลอด วิถีชีวิตออกแต่เช้ากลับ 4-5 ทุ่ม ไม่เคยไปเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างบ้าน ไม่เคยรู้เรื่อง ไม่เคยไปเกี่ยวข้อง เพราะความรู้สึกบอกว่าไม่ใช่บ้านของเรา จะไปทำไม ตนจึงไม่ไปแจ้ง และดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น
นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า วัตถุประสงค์สำคัญของทุกพรรค คือ ส่งนักการเมืองลงไปแล้วได้รับเลือกมาก็ถือว่า พันธกิจนั้นจบ แต่ถ้าให้ไปแล้วสอบตก ก็ต้องไปติดตามว่าเอาเงินไปกอด หรือเพราะอะไร สำหรับตนถือว่าทำหน้าที่สมบูรณ์แบบ ตรงตามวัตถุประสงค์ การนำเงินไปปลูกบ้าน เพราะสภาพบ้านเดิมมีข้อจำกัดคับแคบ จึงต้องสร้างบ้านใหม่ที่ใหญ่กว่า เพื่อรับรองชาวบ้านที่มาหา ร้องเรียน เวลาลงเลือกตั้งแต่ละครั้ง จึงมีเงินเหลือไม่ต้องลงทุนมาก จึงไม่แปลกที่มีเงินเหลือ ขอยืนยันว่าไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์ส่วนตน ชาวบ้านก็ได้ด้วย มันสมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
**ไม่แจงบัญชีเงินสด เก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
นักการเมืองเมืองจำเป็นต้องมีเงินสดสำรองติดบ้าน เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุอะไร ขึ้นตอนไหนกับชาวบ้าน เช่น เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เวลาจะเลือกตั้งแต่ละครั้ง ตนต้องดูแล เงินส่วนนี้ลดเร็วมาก จึงคิดว่าในความรู้สึก ถ้าแจ้งไปแล้ว ซึ่งสมัยนั้นการเลือกตั้งแต่ละครั้งเร็วมาก นักการเมืองต้องมีความพร้อมเรื่องเหล่านี้ ก่อนมีพ.ร.ฎ.ประกาศวันเลือกตั้ง ต้องใช้เงินทั้งนั้น เชื่อว่านักการเมืองหลายคนก็ไม่ได้ยื่นบัญชีเหมือนกับตน ที่บอกว่า ตนต้องถวายสัตย์ว่าจะซื่อสัตย์ สุจริต ขอบอกว่า การไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินกับการโกงบ้านโกงเมือง มันคนละประเด็นกัน
ส่วนคำถามที่ว่า ในการแจ้งบัญชีแสดงทรัพย์สิน และหนี้สินแต่ละครั้ง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากพรรคชาติไทย และผู้สนับสนุนบางคน แม้จะอ้างว่าได้มาก่อนมีรธน. ปี 40 แต่เมื่อมีการใช้รธน.แล้ว ยังมีการเก็บเงินไว้ ถือว่ามีเจตนาที่จะปกปิดรายการทรัพย์สินใช่หรือไม่ และ นายไพโรจน์ เคยยื่นภาษีบุคคลธรรมดา หรือไม่ และได้แสดงรายได้ปีละเท่าไหร่ นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า ถ้าเจตนานี้ถือว่าปกปิด ตนยอมรับว่าปกปิด เพราะไม่ได้แจ้ง และผลที่ปกปิด ตนก็ได้รับโทษอย่างสาหัสมาแล้ว ถือว่าได้ใช้กรรมไปแล้ว ส่วนเรื่องการยื่นภาษีของ นายไพโรจน์ ตนไม่ทราบ เพราะไม่กล้าไปก้าวล่วงในธุรกิจของทางโรงสี ว่าจะเสียภาษีหรือไม่ เท่าไหร่
**หาเสียงเกิน 1 ล้าน แต่แหกตา ผวจ.
ส่วนเรื่องการใช้ค่าใช้จ่ายเกินวงเงินกำหนด นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่าผู้สมัครส่วนใหญ่ใช้เงินเกิน 1 ล้าน มีแต่ตัวเลขที่แจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่ไม่ถึง 1 ล้าน ซึ่งตนก็ใช้เกิน
หลังจากจบกระบวนการซักถามแล้ว นายสุรชัย กล่าวว่า ได้นัดให้คู่กรณีทั้งสองฝ่าย มาแถลงปิดสำนวนคดีอีกครั้ง ในวันที่ 12 พ.ย. โดยป.ป.ช. แจ้งว่า จะแถลงปิดสำนวนด้วยเอกสาร ขณะที่นายสมศักดิ์ จะเป็นผู้มาแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาเพียงฝ่ายเดียว โดยจะมีการลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนนายสมศักดิ์ ในวันที่ 13 พ.ย.นี้
นายนิรวัฒน์ ปุณณกัณต์ ตัวแทนกรรมาธิการได้ซักถาม ป.ป.ช.ว่า บ้านดังกล่าวสร้างเสร็จก่อนปลายปี 40 ก่อน หรือหลัง นายสมศักดิ์ดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาฯ ก็ตาม พฤติการณ์ดังกล่าวเข้าข่ายการถอดถอนออกจากการดำรงตำแหน่งหรือไม่ และใช้หลักการอะไรที่ ป.ป.ช. ส่งมาให้ สนช. ถอดถอนข้อหา ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งการที่นายสมศักดิ์ ได้เงินสนับสนุนจากพรรคชาติไทย กว่า 20 ล้านบาท พฤติการณ์ดังกล่าว ครบองค์ประกอบในการถอดถอน หรือไม่ และ เหตุใดป.ป.ช. จึงไม่เชื่อหลักฐานและพยาน ที่นายสมศักดิ์ กลับคำให้การในภายหลัง
**ยึดหลักกม.ป.ป.ช.ชี้มูลรวยผิดปกติ
ด้านนายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวตอบข้อซักถามว่า ตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้วินิจฉัยว่า นายสมศักดิ์ จงใจยื่นทรัพย์สินเป็นเท็จ มีคำพิพากษาห้ามนายสมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี และมีโทษอาญา ซึ่งเป็นเรื่องของการจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวข้องกับการถอดถอน แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกัน เชื่อมโยงกัน เพราะนายสมศักดิ์ ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ สำหรับการพิจาณาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่นั้น ป.ป.ช.ใช้หลักการดำเนินการตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. ปี 2542 ในมาตรา 4 คือ มีทรัพย์สินมากกว่าปกติ หมายถึง มีทรัพย์สินมากกว่าฐานะ เกินกว่าปกติที่จะมีได้ รวมถึงคำว่า มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยการเปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไปยังช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริงตรงนี้ได้
"เงินที่ได้ตัวสนับสนุนจากพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาก็ต้องชี้แจงว่า มีที่มาของรายได้อย่างไรบ้าง สัมพันธ์กับรายจ่ายหรือไม่ ซึ่งจากการตรวจสอบ พบข้อเท็จจริงว่า เงินที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายส่วน ได้นำไปซื้อหุ้น และกองทุนจากตลาดหลักทรัพย์ ฉะนั้นเงินที่เหลือ จึงไม่เพียงพอต่อการสร้างบ้าน ป.ป.ช.จึงมีมติว่า มีความร่ำรวยผิดปกติ เพราะทรัพย์สินและรายได้ไม่สมดุลกัน ส่วนการกลับคำให้การนั้น ครั้งแรก นายสมศักดิ์ ระบุว่า เป็นเงินของโรงสีในครอบครัว แต่กรณีที่ยื่นทรัพย์สินเป็นเท็จ และศาลวินิจฉัยโดยให้ข้อเท็จจริงว่า เป็นเงินสนับสนุนพรรค นายสมศักดิ์ จึงใช้ประเด็นของศาล มาเป็นประเด็นในการต่อสู้ เหตุลที่ ป.ป.ช.ไม่เชื่อ เพราะมองเป็น 2 ความเห็น เนื่องจากเสียงข้างมากเห็นว่า เงินสนับสนุนพรรคไปซื้อหุ้น และกองทุนจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะทำให้ไม่มีเงินเพียงพอในการสร้างบ้าน และการปลูกสร้างบ้านระหว่างที่ นายสมศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกิดขึ้นในปี 2541 - 2543 การอ้างเงินสนับสนุนดังกล่าว ในเรื่องการซื้อหุ้น จึงไม่สมเหตุสมผลที่จะเพียงพอต่อการปลูกสร้างบ้าน" นายณรงค์ กล่าว
**ไม่เรียกสอบขรก.เพราะไม่เกี่ยวคดีทุจริต
ส่วนการไต่สวนคดีร่ำรวยผิดปกติ และคดีทุจริต เป็นกลไกตามกฎหมาย ป.ป.ช. ในเรื่องของการตรวจสอบกรณีการทุจริต ต้องยอมรับว่าการไต่สวนคดีทุจริตส่วนใหญ่ เราไม่พบพยานหลักฐานว่ามีการทุจริต ดังนั้นในกม.จึงบัญญัติกลไก โดยเพิ่มในกรณีร่ำรวยผิดปกติ แม้จะมีกลไกเรื่องร่ำรวยเป็นกลไกเสริมศักยภาพในการดำเนินการกลไกด้านการปราบปราม ทั้งนี้ป.ป.ช.ไม่เคยเรียกผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาฯ มาสอบปากคำ เพราะไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตในขณะนั้น แต่เราตรวจสอบเรื่องร่ำรวยผิดปกติ ว่ามีที่มาอย่างไร จึงไม่จำเป็นต้องเรียกข้าราชการระดับสูงของประ ทรวง มาสอบปากคำ
นายณรงค์ กล่าวต่อว่า การลงมติของป.ป.ช. ที่ผ่านมา เสียงข้างมากเห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า บ้านหลังดังกล่าวนายสมศักดิ์ ปลูกสร้างในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง รมช.จนถึง รมว. ซึ่งในเรื่องที่มาของเงินรวมทั้งหลักฐานที่ได้จากสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้ข้อเท็จจริงที่สอดคล้องกัน ว่าบ้านหลังดังกล่าว เริ่มตอกเสาเข็มตั้งแต่ปี 41 ส่วนเสียงข้างน้อยเห็นว่านายสมศักดิ์ นอกจากจะอ้างที่มาของรายได้ที่ปรากฏข้อเท็จของศาล ภาษีเงินได้ ปี 41 - 43 และยังปรากฏไดอารี่ว่า มีผู้สนับสนุน
ดังนั้น เสียงข้างน้อยพอจะรับฟังได้ว่า อยู่ในสถานะที่น่าจะปลูกสร้างบ้านได้ เสียงจึงออกมาเป็น 6 ต่อ 3 นอกจากนี้ หลักฐานภาพถ่ายทางอากาศนั้น นายสมศักดิ์ เพิ่งจะนำมาต่อสู้ในชั้นสนช. แต่ไม่ได้นำมาต่อสู้ในชั้น ป.ป.ช. ส่วนเรื่องของการยื่นรายการแสดงเงินสดนั้น ทุกครั้งที่นายสมศักดิ์ยื่น ไม่เคยยื่นรายการเงินสด จึงไม่มีประเด็นที่ ป.ป.ช.ต้องตรวจสอบ
**กมธ.เปิดทาง"เฮียตือ"แจง 8 คำถาม
จากนั้นเป็นการซักถามนายสมศักดิ์ 8 คำถาม อาทิ เคยเป็นรมว.ศึกษาฯ ซึ่งต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม จริยธรรม จากการที่แถลงคัดค้าน คำโต้แย้งสำนวนป.ป.ช.ได้ยอมรับต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า เป็นบ้านของตน ทั้งที่ชั้นไต่สวนของป.ป.ช.ได้ปฏิเสธมาตลอด เหตุใดจึงไม่ยอมรับ หรือจำไม่ได้แต่เบื้องต้นว่า บ้านหลังดังกล่าวเป็นของตน และทำไมให้การขัดแย้งและมีพยานหลักฐานใด ในการรับเงินสนับสนุนจากพรรคชาติไทยแต่ละครั้ง และคนที่สนับสนุนต่างให้ใช้ทางการเมือง เหตุใดไม่โอนเงินเข้าธนาคารโดยตรง เมื่อสร้างบ้านเสร็จ เหตุใดไม่แจ้งต่อนายทะเบียน เพื่อจดแจ้งทะเบียน และซื้อเจ้าของบ้าน เงินที่แจ้งว่าได้รับจากพรรคการเมืองต้นสังกัด และผู้ให้การสนับสนุน น่าจะมีวัตถุประสงค์ช่วยทางการเมือง ทำไมนำไปใช้การสร้างบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนตน และตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง มีการกำหนดค่าใช้จ่าย แต่จากบัญชีบันทึกประจำวันของ นายสมศักดิ์ ระบุว่า ปี 39 ได้รับเงินมา 41 ล้านบาทเศษ ใช้จ่ายในการเลือกตั้งไป 23 ล้านบาทเศษ เหลือ 17 ล้านบาทเศษ ยืนยันได้หรือไม่ว่า ได้นำเงินของพรรคมาสร้างบ้านดังกล่าว และมีการใช้เงินในการเลือกตั้ง เกินที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ และ หลังจากมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช. ปี 42 มีผลบังคับใช้ ให้นักการเมืองที่มีเงินสดตั้งแต่ 2 แสนบ้านขึ้นไป ต้องยื่นแสดงรายการต่อ ป.ป.ช. ทำไมจึงเก็บเงินสดไว้ในตู้นิรภัย
** "ตือ"โวมีต่อมคุณธรรม จริยธรรม
นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า เมื่อตัดสินใจมาเดินบนถนนการเมืองได้ตั้งปณิธานว่า จะเป็นนักการเมืองที่ดี เรื่องคุณธรรมนักการเมืองต้องอยู่ในสำนึกตลอดเวลา เล่นการเมือง 30 ปีเต็มไม่เคยถูกสังคมวิจารณ์ว่าน้ำเน่า มีเห็นข่าวของตนในทางบวก เมื่อมาเป็น รมว.ศึกษาฯ จำเป็นต้องให้สังคมเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ปลูกฝั่งเด็กเยาวชนวัยเรียนมาตลอด จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะขาดต่อมจริยธรรม หรือคุณธรรม ตนได้ชี้แจงในวันเปิดคดีว่า การยื่นบัญชีครั้งแรก เมื่อมีรัฐธรรมนูญปี 40 ได้ยื่นในนามห้างหุ้นส่วนโรงสีวิเศษชัยชาญเจริญกิจ ว่ามีเงินที่เหลือจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง ที่ตนยังไม่ได้ใช้ และนำมามอบให้กับโรงสี ตอนนั้นยังเป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน แต่หลังจากปี 41 มาเป็น รมช.ศึกษาฯ ตนยื่นครั้งที่สอง สอบถามเจ้าหน้าที่ป.ป.ช. ว่า บัญชีห้างหุ้นส่วนจำเป็นต้องยื่นหรือไม่ เพราะไม่มีชื่อตน มีแต่ชื่อภรรยาเป็นหุ้นส่วนเสียงส่วนน้อย เจ้าหน้าที่บอกว่า ไม่จำเป็นต้องยื่น ตั้งแต่นั้นมา ตนก็ไม่ยื่นอีกเลย จนเป็นที่มาที่ศาลชี้ว่าตนจงใจปกปิด และยื่นความเท็จ และ ถูกจำคุก 6 เดือน แต่โทษรอลงอาญา ถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ถูกปรับอีก1 หมื่นบาท
ส่วนเงินที่ตนนำไปให้โรงสี แล้วก็ไม่คิดว่าเขาจะนำไปซื้อที่ดินปลูกบ้านในช่วงต่อมา โดยมียอดเงิน 37ล้านกว่าบาท ต่อมาทางโรงสีมีความเห็นว่าตนเริ่มเติบโตทางการเมือง เมื่อปี 38 ได้เป็นโฆษกรัฐบาล จะมีสื่อมวลชนมาหาทุกวันหยุด บ้านตนเป็นร้านขายข้าวสารเล็กๆ ทางภรรยาเห็นว่า น่าจะมีบ้านส่วนตัวไว้รับรองแขก เลยมอบหมายให้พี่ชายภรรยา คือ นายไพโรจน์ ฉัตรบริรัตน์ เป็นคนไปดำเนินการทั้งหมด ส่วนที่ว่า ทำไมตนจำไม่ได้ และไม่ยอมรับว่าเป็นของตน ก็เพราะเอกสารหลักฐานราชการทั้งหมด เป็นชื่อของนายไพโรจน์ ถึงวันนี้แม้ว่าศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นของตน ทุกอย่างก็ยังเป็นของ นายไพโรจน์หมด และมีตำแหน่ง นายกเทศบาลตำบลท่าช้าง ก็มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ก็ยังมีโฉนด และบ้านหลังนี้อยู่
" เขาไม่ได้โอนสิทธิ์มาให้ ผมแค่เขย ไม่ใช่ลูกชาย จะไปบอกว่าศาลตัดสินว่าเป็นของกู แล้วต้องเอามาหรือ ผมยังมีคุณธรรม จริยธรรมและ ต่อมหิริ โอตัปปะ ยังอยู่ในตัว จึงต้องปล่อยให้ทุกอย่างผ่านไป หลังจากเรื่องนี้จบลง ไม่รู้จะแพ้หรือชนะ ทั้งใน สนช.และในศาล ก็คงจะต้องเคลียร์กันให้จบ ถ้าชนะมาเล่นการเมืองต่อ เขาไม่ยกที่ดินให้ ถามว่าจะยังมีน้ำหน้ามาแจ้งบัญชีทรัพย์สินอีกมั๊ย ทั้งหมดไม่ได้ขัดแย้งเลย เมื่อถูกกล่าวหาว่าปกปิด หลังจากศาลวินิจฉัยว่า ที่ดินเป็นของผม แต่หลังพ้นตำแหน่งมาแล้ว และเมื่อไม่มีการโอน จะไปปรักปรำว่าของผม เป็นไปไม่ได้ เมื่อมาต่อสู้ร่ำรวยผิดปกติ ผมก็ต้องยกคำวินิจฉัยของศาล เรื่องที่มาของเงินมาต่อสู้ อย่างนี้จะให้เป็นอย่างอื่นอย่างไร"
** อ้างผู้ใหญ่-เพื่อนฝูงช่วยทุนเลือกตั้ง
นายสมศักดิ์ กล่าวถึงเรื่องเงินสนับสนุนจากพรรค ว่า พรรคไม่มีทางจ่ายเงินสด 20-30 ล้าน ให้นักการเมืองเอาไปในครั้งเดียว และไม่มีทางโอนเข้าบัญชีให้นักการเมืองคนนั้น ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญปี 40 และมีองค์กรอิสระต่างๆ สมัยนั้น กระทรวงมหาดไทยจัดการเลือกตั้ง และกำหนดค่าใช้จ่าย 1 คนไม่เกิน 1 ล้านบาท ถามว่าพรรคการเมืองที่ต้องไปดูแลนักการเมืองเกรด ต่างๆ จะกล้าหรือไม่ จึงเป็นไปไม่ได้ พรรคจะมีหนังสือแจ้งให้วิปของพรรคไปแจ้งว่า วันนี้ให้มาที่พรรค หรือให้ไปพบกับใคร นักการเมืองก็ไปพบ แล้วมีหิ้วลัง หิ้วถุง เอากลับไป โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น มองเห็นมาตลอดว่าขืนปล่อยสภาพให้ซื้อเสียง และจ่ายเงินกันขนาดนี้ ต่อไปไม่ประมูลซื้อประเทศไทยกันหรือ จึงคิดให้มีการปฏิรูปการเมือง และเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 40 และองค์กรอิสระ โดยกำหนดค่าใช้จ่ายไว้ชัดเจน ใครเกินกำหนดก็จะถูกใบเหลือง ใบแดง แต่ปรากฏการของตนที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 29- 39 และประเด็นที่ผู้ให้การสนับสนุน ก็จะมาจากมุ้งในพรรค ก็จะดูแลเด็กที่เมตตา ตนเป็นคนหนึ่งที่ผู้ใหญ่ให้ความเมตตา โดยตนได้ขอให้ช่วยมาเป็นพยานว่า ให้ส่วนตัวเท่าไหร่ รวมถึงเพื่อนนักการเมืองต่างพรรค ที่มีความผูกพันใกล้ชิด ก็ช่วยสนับสนุนเช่นกัน แต่ตนกล้าจะบอกหรือว่า ช่วยโอนเข้าบัญชีดีกว่า ตนไม่บังอาจที่จะบอกเช่นนั้น และณ เวลานั้นศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา ทั้งหมดยังเป็นชื่อ นายไพโรจน์ และ ตนลงพื้นที่ตลอด วิถีชีวิตออกแต่เช้ากลับ 4-5 ทุ่ม ไม่เคยไปเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างบ้าน ไม่เคยรู้เรื่อง ไม่เคยไปเกี่ยวข้อง เพราะความรู้สึกบอกว่าไม่ใช่บ้านของเรา จะไปทำไม ตนจึงไม่ไปแจ้ง และดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น
นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า วัตถุประสงค์สำคัญของทุกพรรค คือ ส่งนักการเมืองลงไปแล้วได้รับเลือกมาก็ถือว่า พันธกิจนั้นจบ แต่ถ้าให้ไปแล้วสอบตก ก็ต้องไปติดตามว่าเอาเงินไปกอด หรือเพราะอะไร สำหรับตนถือว่าทำหน้าที่สมบูรณ์แบบ ตรงตามวัตถุประสงค์ การนำเงินไปปลูกบ้าน เพราะสภาพบ้านเดิมมีข้อจำกัดคับแคบ จึงต้องสร้างบ้านใหม่ที่ใหญ่กว่า เพื่อรับรองชาวบ้านที่มาหา ร้องเรียน เวลาลงเลือกตั้งแต่ละครั้ง จึงมีเงินเหลือไม่ต้องลงทุนมาก จึงไม่แปลกที่มีเงินเหลือ ขอยืนยันว่าไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์ส่วนตน ชาวบ้านก็ได้ด้วย มันสมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
**ไม่แจงบัญชีเงินสด เก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
นักการเมืองเมืองจำเป็นต้องมีเงินสดสำรองติดบ้าน เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุอะไร ขึ้นตอนไหนกับชาวบ้าน เช่น เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เวลาจะเลือกตั้งแต่ละครั้ง ตนต้องดูแล เงินส่วนนี้ลดเร็วมาก จึงคิดว่าในความรู้สึก ถ้าแจ้งไปแล้ว ซึ่งสมัยนั้นการเลือกตั้งแต่ละครั้งเร็วมาก นักการเมืองต้องมีความพร้อมเรื่องเหล่านี้ ก่อนมีพ.ร.ฎ.ประกาศวันเลือกตั้ง ต้องใช้เงินทั้งนั้น เชื่อว่านักการเมืองหลายคนก็ไม่ได้ยื่นบัญชีเหมือนกับตน ที่บอกว่า ตนต้องถวายสัตย์ว่าจะซื่อสัตย์ สุจริต ขอบอกว่า การไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินกับการโกงบ้านโกงเมือง มันคนละประเด็นกัน
ส่วนคำถามที่ว่า ในการแจ้งบัญชีแสดงทรัพย์สิน และหนี้สินแต่ละครั้ง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากพรรคชาติไทย และผู้สนับสนุนบางคน แม้จะอ้างว่าได้มาก่อนมีรธน. ปี 40 แต่เมื่อมีการใช้รธน.แล้ว ยังมีการเก็บเงินไว้ ถือว่ามีเจตนาที่จะปกปิดรายการทรัพย์สินใช่หรือไม่ และ นายไพโรจน์ เคยยื่นภาษีบุคคลธรรมดา หรือไม่ และได้แสดงรายได้ปีละเท่าไหร่ นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่า ถ้าเจตนานี้ถือว่าปกปิด ตนยอมรับว่าปกปิด เพราะไม่ได้แจ้ง และผลที่ปกปิด ตนก็ได้รับโทษอย่างสาหัสมาแล้ว ถือว่าได้ใช้กรรมไปแล้ว ส่วนเรื่องการยื่นภาษีของ นายไพโรจน์ ตนไม่ทราบ เพราะไม่กล้าไปก้าวล่วงในธุรกิจของทางโรงสี ว่าจะเสียภาษีหรือไม่ เท่าไหร่
**หาเสียงเกิน 1 ล้าน แต่แหกตา ผวจ.
ส่วนเรื่องการใช้ค่าใช้จ่ายเกินวงเงินกำหนด นายสมศักดิ์ ชี้แจงว่าผู้สมัครส่วนใหญ่ใช้เงินเกิน 1 ล้าน มีแต่ตัวเลขที่แจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่ไม่ถึง 1 ล้าน ซึ่งตนก็ใช้เกิน
หลังจากจบกระบวนการซักถามแล้ว นายสุรชัย กล่าวว่า ได้นัดให้คู่กรณีทั้งสองฝ่าย มาแถลงปิดสำนวนคดีอีกครั้ง ในวันที่ 12 พ.ย. โดยป.ป.ช. แจ้งว่า จะแถลงปิดสำนวนด้วยเอกสาร ขณะที่นายสมศักดิ์ จะเป็นผู้มาแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาเพียงฝ่ายเดียว โดยจะมีการลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนนายสมศักดิ์ ในวันที่ 13 พ.ย.นี้