นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำข้อเสนอของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รวม 6 ข้อ มายื่นต่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยใช้เวลาหารือร่วมกัน 10 นาที
ภายหลังการหารือ นายจุรินทร์ เปิดเผยว่าประเด็นที่ได้เสนอทั้ง 6 ข้อ ประกอบด้วย
1. ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน รวมทั้งการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้เสนอเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนว่าไม่ควรน้อยกว่ารธน.ปี 50 แต่อาจมีประเด็นอื่นๆ เสนอตามมาตามวาระที่คณะกรรมการพิจารณาในประเด็นนั้นๆ
2. ควรมีกลไกและมาตรการเกี่ยวกับการซื้อสิทธิ ขายเสียง และการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นธรรม รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เช่น การตัดสิทธิ์ผู้กระทำการทุจริตในการเข้าสู่อำนาจรัฐ ไม่ว่าในรูปแบบใด รวมทั้งการรับราชการ การสู่รัฐวิสาหกิจ หรือกลไกใดๆ ในภาครัฐหากมีการทุจริต ไม่ควรได้กับสู่ตำแหน่งตลอดชีวิต นอกจากนี้ ควรมีกรอบเวลาในการพิจารณาคดีทุจริต เช่น คดีที่ผ่านการตรวจสอบของระบบรัฐสภาแล้ว เมื่อไปสู่ ป.ป.ช. หรือกระบวนการยุติธรรม ควรมีกรอบเวลาชัดเจน เพื่อการดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลงโทษคนผิดอย่างทันท่วงที และควรเปิดโอกาสให้ประชาชน เป็นผู้เสียหายในคดีทุจริต คือ สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐได้ในกรณีที่มีการทุจริต
3. ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลต้องมีดุลยภาพ และประสิทธิภาพ ทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ และองค์กรอิสระ เช่น ในการถ่วงดุลระบบรัฐสภา รองประธานสภาควรมาจากฝ่ายค้านด้วย รวมทั้งประธานกรรมาธิการชุดสำคัญที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ เช่น กรรมาธิการป.ป.ช. หรือ กรรมาธิการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ก็ควรมาจากฝ่ายค้าน เพื่อให้การตรวจสบถ่วงดุล มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์กับประชาชน
4. ระบบเลือกตั้ง หัวหน้าพรรคเห็นว่าไม่มีระบบใดที่จะไม่มีข้อเสียเลย แต่ระบบจัดสรรปั่นส่วนผสม แม้ว่าจะเห็นด้วยในหลักการกับการให้ความสำคัญกับทุกคะแนนเสียงของประชาชน และต้องสะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง จึงเห็นว่ามีจุดอ่อนอยู่บางประการ คือ การให้ใช้บัตรใบเดียวลงคะแนน จะไม่สามารถสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้ เพราะการให้ลงคะแนนด้วยบัตรใบเดียว เป็นการกึ่งกำหนด กึ่งบังคับ ให้ประชาชนตัดสินใจเลือกคนกับพรรครวมกัน แต่ถ้าประชาชนต้องการเลือกคนกับพรรคแยกกัน ก็ไม่สามารถสะท้อนความต้องการนี้ได้ เพราะมีบัตรใบเดียว และยังทำให้คะแนนเสียงที่เลือกผู้สมัครคนหนึ่งถูกไปคำนวณทำให้ได้ผู้แทนอีกคนหนึ่ง จึงเท่ากับว่าคนที่ได้ที่สอง ก็ไมได้เป็นส.ส. ทั้งที่ประชาชนตั้งใจเลือกคนนี้ ดังนั้น หากมีการปรับปรุงให้เป็นการเลือกตั้งใช้บัตรสองใบ คือใบหนึ่งเลือกคน ส.ส.ระบบเขต อีกใบหนึ่งเลือกพรรค และใช้คะแนนมากำหนดเกณฑ์ ส.ส.ของพรรคที่จะได้ ซึ่งตนดีใจที่ทางคณะกรรมการเคยให้ความเห็นว่า ยินดีรับฟังทุกฝ่ายเพื่อไปประกอบการพิจารณา
5. เรื่องการปฏิรูป ควรกำหนดประเด็นปฏิรูปให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญว่า ต้องทำเรื่องอะไรบ้าง แล้วนำไปทำประชามติเพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศให้การรับรอง จากนั้นให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มาจากากรเลือกตั้งดำเนินการปฏิรูปให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
6. เรื่องของการปรองดอง ยังยืนยันว่าต้องยึดหลักกฎหมาย ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก เพื่อสร้างความปรองดองในระยะยาว หากจะมีการนิรโทษกรรม ต้องเฉพาะคดีเล็กน้อย ไม่ใช่คดีทุจริต หรือคดีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ความผิดเล็กน้อย
นายจุรินทร์ยังกล่าวถึงกรณีที่กรธ.มีแนวคิวด่า คะแนนของคนแพ้ถูกทิ้งน้ำไป จึงออกแบบให้มีการเลือกโดยใช้บัตรใบเดียว แล้วนำคะแนนดังกล่าวมาคำนวณว่า ต้องยอมรับความจริงว่า แม้แต่ประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยอย่างเยอรมัน คะแนนก็ถูกทิ้งน้ำไปเสีย เพราะคนที่ไมได้รับเลือกตั้ง ก็คือว่าปล่อยทิ้งไป แต่ที่พวกตนเสนอเพื่อให้พิจารณาถึงความเหมาะสมให้เป็นระบบเลือกตั้งระยะยาวของประเทศ และเป็นที่ยอมรับได้ ควรจะเป็นอย่างไร
" พรรคต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของความยั่งยืนของกฎเกณฑ์กติกาของประเทศ ไม่อยากให้ออกมาเฉพาะกาล เพื่อแก้ปัญหาเที่ยวนี้ แล้วเที่ยวหน้าค่อยมาคิดกันอีกที แต่ไมได้หมายความว่า ระบบของกรธ.จะเป็นอย่างนั้น ซึ่งข้อเสนอของพรรคคิดว่ามีข้อเสียน้อยระบบหนึ่ง และไม่ได้เสนอเพื่อความได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคใด เพราะคิดถึงประโยชน์ในการพัฒนาประชาธิปไตยระยะยาว ไม่เช่นนั้นก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ ประชาชนก็มองออกว่าใครเสนออะไรที่เป็นประโยชน์ส่วนตัว"
** เชื่อมีชัย-กรธ.มีเจตนาดี
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังยอมรับว่า ข้อเสนอที่กำหนดให้เลือกส.ส.ได้ 2 ใบ คล้ายกับแนวคิดในร่างรัฐธรรมนูญฉบับของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ แต่ไม่ใช่โอเพ่นลิสต์ ส่วนจะมีการคำนวณอย่างไร เป็นรายละเอียด ซึ่งกรธ.มีหน้าที่ไปคิด แต่ถ้าต้องการความเห็นเพิ่มเติม ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ
ส่วนที่มองกันว่า ระบบเลือกตั้งที่ออกแบบตั้งแต่ยุค นายบวรศักดิ์ มาถึงยุค นายมีชัย มีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดรัฐบาลผสมนั้น ตนยังเชื่อในเจตนาดีของ นายมีชัย และกรธ. หากจะรับฟังความเห็นเพื่อไปปรับจุดอ่อน และแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องได้ ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น เป็นการให้ความเห็นที่สร้างสรรค์ ไม่ได้ต้องการวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดปัญหา ทั้งนี้การจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว หรือรัฐบาลผสม เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยจากตัดสินใจของประชาชน หากประชาชนเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งชัดเจน เพื่อให้ไปบริหารประเทศ ก็ต้องยอมรับเพราะเป็นเจตนารมณ์ของประชาชน ถ้าไม่พอก็ต้องรวมเสียงข้างมาก ตั้งรัฐบาล แต่ถ้ากลัวว่ารัฐบาลจะเข้มแข็งเกินไป ควรจะมีการออกแบบระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่รัฐบาลตรวจสอบไม่ได้ รวมทั้งอุดช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญเดิม เพื่อให้การตรวจสอบถ่วงดุลได้ จนเกิดดุลยภาพในการตรวจสอบ ทั้งนี้คิดว่านายมีชัย คงมีความคิดเบื้องต้นอยู่ในใจแล้ว
ส่วนกรณีที่เสนอให้มีการระบุประเด็นปฏิรูปที่ชัดเจนแล้วนำไปสู่ประชามติ กำหนดในรัฐธรรมนูญเพ่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเดินหน้าต่อนั้น ยังจำเป็นต้องมีกลไกอื่นมารองรับอีกหรือไม่นั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ปฏิรูปประเทศ แต่ถ้ากลัวว่ารัฐบาลจะไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ก็เขียนข้อบังคับไว้ ถ้าประชาชนลงมติแล้วว่าต้องการให้ปฏิรูปอะไรบ้าง รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งไม่ทำตาม ก็มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าไม่ทำก็อยู่ไมได้ และมีความผิดด้วย จึงไม่จำเป็นต้องมีอะไรเพิ่มเติมอีก
สำหรับแนวทางปรองดองนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบแนวทางของกรรมการ แต่เราต้องยึดหลักกฎหมายเท่านั้นสังคมจึงจะสันติในระยะยาว และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ว่าถ้าไม่เคารพกฎหมายก็ต้องยอมรับผิดไม่มีกลไกใดมายกโทษให้ สังคมก็จะเดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน แต่ถ้าไม่บิดเบือน ใครทำผิดเปลี่ยนไปเป็นถูก ทุกคนก็จะไม่เคารพกฎหมาย สุดท้ายความปรงดองก็เกิดไม่ได้ สังคมวุ่นวายในระยะยาว จึงต้องยึดหลักกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม หลังจากเสนอความเห็นในครั้งนี้แล้ว หากมีประเด็นใดที่เห็นว่าต้องเสนอเพิ่มเติมก็จะเสนอมายัง กรธ.อีก โดยไม่ต้องรอให้ร้องขอ เพราะข้อเสนอนี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น และจากการยื่นหนังสือนี้ ก็ยังไม่ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับนายมีชัย มากนัก เพียงแต่พูดคุยกันกว้างๆ และขอบคุณที่ให้เกียรติรับเอกสารด้วยตนเอง
ส่วนหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติของประชาชน ก็เคยให้ความเห็นไปแล้วว่า ควรนำรัฐธรรมนูญปี 50 มาปรับปรุงแก้ไข ส่วนที่ไม่พูดถึงปี 40 เพราะมีการบังคับใช้ไปแล้ว และมีช่องโหว่ จึงเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 50 จึงถือว่ามีความสมบูรณ์ตามสมควรแต่ก็สามารถปรับปรุงแก้ไขเพื่อสอดคล้องกับอนาคตประเทศได้
"ผมคิดว่า คนที่มีอำนาจต้องคิดว่าหากทำประชามติไม่ผ่าน จะต้องมีคำตอบอย่างไร ซึ่งจะติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นผลประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องใหญ่ ไมใช่เรื่องกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวควรมีคำตอบเรื่องนั้นไว้ด้วย" นายจุรินทร์ กล่าว
**ตัวเลขสัดส่วนส.ส.ยังไร้ข้อยุติ
วานนี้ (4 พ.ย.) มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) วาระพิจารณาบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในส่วนขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
นายนรชิต สิงหเสนี โฆษก กรธ.แถลงผลการประชุมว่า เบื้องต้น กรธ.กำหนดหลักการว่า ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระควรเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความอิสระ ใช้อำนาจอย่างเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ กำหนดให้ผู้ที่ได้รับการสรรหา หรือคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา โดยให้ประธานวุฒิสภา นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของตัวเอง หรือกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมร่วมกัน และกำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญและประธานองค์กรอิสระแต่ละแห่ง มีหน่วยธุรการที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล และงบประมาณ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางกรธ. อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ อยู่หมวดเดียวกับองค์กรอิสระหรือไม่
นอกจากนี้ นายประพันธ์ นัยโกวิท ประธานอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ ได้รายงานความคืบหน้าผลการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ในส่วนของจำนวน ส.ส.ว่าควรมีจำนวนเท่าใด ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง เบื้องต้นกรอบของจำนวนตัวเลข ส.ส.ไม่น่าจะเกิน 500 คน ส่วนสัดส่วนของส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ กรธ.กำลังหาความเหมาะสมโดยมีข้อเสนอหลากหลาย เช่น 400 ต่อ 100 หรือ 375 ต่อ 125 แต่ที่เป็นข้อเสนอใหม่ คือสัดส่วน 350 ต่อ 150 เหตุผลของแนวคิดนี้คือ เป็นแนวคิดใหม่ที่ไม่เคยใช้กันมาก่อน เวลามีใครนำระบบ เลือกตั้งไปสำรวจว่า พรรคการเมืองใดจะได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งนั้นๆ ก็จะได้ผลลัพท์ใหม่ๆ ออกมา เบื้องต้นที่ประชุมยังไม่เคาะว่าจะใช้สัดส่วนแบบใด แต่โดยหลักการตัวเลข ส.ส.แบบแบ่งเขต ต้องมีจำนวนมากกว่าส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เพื่อเป็นการสะท้อนความต้องการของประชาชน
ภายหลังการหารือ นายจุรินทร์ เปิดเผยว่าประเด็นที่ได้เสนอทั้ง 6 ข้อ ประกอบด้วย
1. ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน รวมทั้งการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้เสนอเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนว่าไม่ควรน้อยกว่ารธน.ปี 50 แต่อาจมีประเด็นอื่นๆ เสนอตามมาตามวาระที่คณะกรรมการพิจารณาในประเด็นนั้นๆ
2. ควรมีกลไกและมาตรการเกี่ยวกับการซื้อสิทธิ ขายเสียง และการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นธรรม รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เช่น การตัดสิทธิ์ผู้กระทำการทุจริตในการเข้าสู่อำนาจรัฐ ไม่ว่าในรูปแบบใด รวมทั้งการรับราชการ การสู่รัฐวิสาหกิจ หรือกลไกใดๆ ในภาครัฐหากมีการทุจริต ไม่ควรได้กับสู่ตำแหน่งตลอดชีวิต นอกจากนี้ ควรมีกรอบเวลาในการพิจารณาคดีทุจริต เช่น คดีที่ผ่านการตรวจสอบของระบบรัฐสภาแล้ว เมื่อไปสู่ ป.ป.ช. หรือกระบวนการยุติธรรม ควรมีกรอบเวลาชัดเจน เพื่อการดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลงโทษคนผิดอย่างทันท่วงที และควรเปิดโอกาสให้ประชาชน เป็นผู้เสียหายในคดีทุจริต คือ สามารถฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐได้ในกรณีที่มีการทุจริต
3. ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลต้องมีดุลยภาพ และประสิทธิภาพ ทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ และองค์กรอิสระ เช่น ในการถ่วงดุลระบบรัฐสภา รองประธานสภาควรมาจากฝ่ายค้านด้วย รวมทั้งประธานกรรมาธิการชุดสำคัญที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐ เช่น กรรมาธิการป.ป.ช. หรือ กรรมาธิการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ก็ควรมาจากฝ่ายค้าน เพื่อให้การตรวจสบถ่วงดุล มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์กับประชาชน
4. ระบบเลือกตั้ง หัวหน้าพรรคเห็นว่าไม่มีระบบใดที่จะไม่มีข้อเสียเลย แต่ระบบจัดสรรปั่นส่วนผสม แม้ว่าจะเห็นด้วยในหลักการกับการให้ความสำคัญกับทุกคะแนนเสียงของประชาชน และต้องสะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง จึงเห็นว่ามีจุดอ่อนอยู่บางประการ คือ การให้ใช้บัตรใบเดียวลงคะแนน จะไม่สามารถสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้ เพราะการให้ลงคะแนนด้วยบัตรใบเดียว เป็นการกึ่งกำหนด กึ่งบังคับ ให้ประชาชนตัดสินใจเลือกคนกับพรรครวมกัน แต่ถ้าประชาชนต้องการเลือกคนกับพรรคแยกกัน ก็ไม่สามารถสะท้อนความต้องการนี้ได้ เพราะมีบัตรใบเดียว และยังทำให้คะแนนเสียงที่เลือกผู้สมัครคนหนึ่งถูกไปคำนวณทำให้ได้ผู้แทนอีกคนหนึ่ง จึงเท่ากับว่าคนที่ได้ที่สอง ก็ไมได้เป็นส.ส. ทั้งที่ประชาชนตั้งใจเลือกคนนี้ ดังนั้น หากมีการปรับปรุงให้เป็นการเลือกตั้งใช้บัตรสองใบ คือใบหนึ่งเลือกคน ส.ส.ระบบเขต อีกใบหนึ่งเลือกพรรค และใช้คะแนนมากำหนดเกณฑ์ ส.ส.ของพรรคที่จะได้ ซึ่งตนดีใจที่ทางคณะกรรมการเคยให้ความเห็นว่า ยินดีรับฟังทุกฝ่ายเพื่อไปประกอบการพิจารณา
5. เรื่องการปฏิรูป ควรกำหนดประเด็นปฏิรูปให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญว่า ต้องทำเรื่องอะไรบ้าง แล้วนำไปทำประชามติเพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศให้การรับรอง จากนั้นให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มาจากากรเลือกตั้งดำเนินการปฏิรูปให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
6. เรื่องของการปรองดอง ยังยืนยันว่าต้องยึดหลักกฎหมาย ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก เพื่อสร้างความปรองดองในระยะยาว หากจะมีการนิรโทษกรรม ต้องเฉพาะคดีเล็กน้อย ไม่ใช่คดีทุจริต หรือคดีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ความผิดเล็กน้อย
นายจุรินทร์ยังกล่าวถึงกรณีที่กรธ.มีแนวคิวด่า คะแนนของคนแพ้ถูกทิ้งน้ำไป จึงออกแบบให้มีการเลือกโดยใช้บัตรใบเดียว แล้วนำคะแนนดังกล่าวมาคำนวณว่า ต้องยอมรับความจริงว่า แม้แต่ประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยอย่างเยอรมัน คะแนนก็ถูกทิ้งน้ำไปเสีย เพราะคนที่ไมได้รับเลือกตั้ง ก็คือว่าปล่อยทิ้งไป แต่ที่พวกตนเสนอเพื่อให้พิจารณาถึงความเหมาะสมให้เป็นระบบเลือกตั้งระยะยาวของประเทศ และเป็นที่ยอมรับได้ ควรจะเป็นอย่างไร
" พรรคต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของความยั่งยืนของกฎเกณฑ์กติกาของประเทศ ไม่อยากให้ออกมาเฉพาะกาล เพื่อแก้ปัญหาเที่ยวนี้ แล้วเที่ยวหน้าค่อยมาคิดกันอีกที แต่ไมได้หมายความว่า ระบบของกรธ.จะเป็นอย่างนั้น ซึ่งข้อเสนอของพรรคคิดว่ามีข้อเสียน้อยระบบหนึ่ง และไม่ได้เสนอเพื่อความได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคใด เพราะคิดถึงประโยชน์ในการพัฒนาประชาธิปไตยระยะยาว ไม่เช่นนั้นก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ ประชาชนก็มองออกว่าใครเสนออะไรที่เป็นประโยชน์ส่วนตัว"
** เชื่อมีชัย-กรธ.มีเจตนาดี
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังยอมรับว่า ข้อเสนอที่กำหนดให้เลือกส.ส.ได้ 2 ใบ คล้ายกับแนวคิดในร่างรัฐธรรมนูญฉบับของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ แต่ไม่ใช่โอเพ่นลิสต์ ส่วนจะมีการคำนวณอย่างไร เป็นรายละเอียด ซึ่งกรธ.มีหน้าที่ไปคิด แต่ถ้าต้องการความเห็นเพิ่มเติม ก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ
ส่วนที่มองกันว่า ระบบเลือกตั้งที่ออกแบบตั้งแต่ยุค นายบวรศักดิ์ มาถึงยุค นายมีชัย มีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดรัฐบาลผสมนั้น ตนยังเชื่อในเจตนาดีของ นายมีชัย และกรธ. หากจะรับฟังความเห็นเพื่อไปปรับจุดอ่อน และแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องได้ ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น เป็นการให้ความเห็นที่สร้างสรรค์ ไม่ได้ต้องการวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดปัญหา ทั้งนี้การจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียว หรือรัฐบาลผสม เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยจากตัดสินใจของประชาชน หากประชาชนเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งชัดเจน เพื่อให้ไปบริหารประเทศ ก็ต้องยอมรับเพราะเป็นเจตนารมณ์ของประชาชน ถ้าไม่พอก็ต้องรวมเสียงข้างมาก ตั้งรัฐบาล แต่ถ้ากลัวว่ารัฐบาลจะเข้มแข็งเกินไป ควรจะมีการออกแบบระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่รัฐบาลตรวจสอบไม่ได้ รวมทั้งอุดช่องโหว่ของรัฐธรรมนูญเดิม เพื่อให้การตรวจสอบถ่วงดุลได้ จนเกิดดุลยภาพในการตรวจสอบ ทั้งนี้คิดว่านายมีชัย คงมีความคิดเบื้องต้นอยู่ในใจแล้ว
ส่วนกรณีที่เสนอให้มีการระบุประเด็นปฏิรูปที่ชัดเจนแล้วนำไปสู่ประชามติ กำหนดในรัฐธรรมนูญเพ่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเดินหน้าต่อนั้น ยังจำเป็นต้องมีกลไกอื่นมารองรับอีกหรือไม่นั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ปฏิรูปประเทศ แต่ถ้ากลัวว่ารัฐบาลจะไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ก็เขียนข้อบังคับไว้ ถ้าประชาชนลงมติแล้วว่าต้องการให้ปฏิรูปอะไรบ้าง รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งไม่ทำตาม ก็มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าไม่ทำก็อยู่ไมได้ และมีความผิดด้วย จึงไม่จำเป็นต้องมีอะไรเพิ่มเติมอีก
สำหรับแนวทางปรองดองนั้น นายจุรินทร์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบแนวทางของกรรมการ แต่เราต้องยึดหลักกฎหมายเท่านั้นสังคมจึงจะสันติในระยะยาว และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ว่าถ้าไม่เคารพกฎหมายก็ต้องยอมรับผิดไม่มีกลไกใดมายกโทษให้ สังคมก็จะเดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน แต่ถ้าไม่บิดเบือน ใครทำผิดเปลี่ยนไปเป็นถูก ทุกคนก็จะไม่เคารพกฎหมาย สุดท้ายความปรงดองก็เกิดไม่ได้ สังคมวุ่นวายในระยะยาว จึงต้องยึดหลักกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม หลังจากเสนอความเห็นในครั้งนี้แล้ว หากมีประเด็นใดที่เห็นว่าต้องเสนอเพิ่มเติมก็จะเสนอมายัง กรธ.อีก โดยไม่ต้องรอให้ร้องขอ เพราะข้อเสนอนี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น และจากการยื่นหนังสือนี้ ก็ยังไม่ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับนายมีชัย มากนัก เพียงแต่พูดคุยกันกว้างๆ และขอบคุณที่ให้เกียรติรับเอกสารด้วยตนเอง
ส่วนหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติของประชาชน ก็เคยให้ความเห็นไปแล้วว่า ควรนำรัฐธรรมนูญปี 50 มาปรับปรุงแก้ไข ส่วนที่ไม่พูดถึงปี 40 เพราะมีการบังคับใช้ไปแล้ว และมีช่องโหว่ จึงเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 50 จึงถือว่ามีความสมบูรณ์ตามสมควรแต่ก็สามารถปรับปรุงแก้ไขเพื่อสอดคล้องกับอนาคตประเทศได้
"ผมคิดว่า คนที่มีอำนาจต้องคิดว่าหากทำประชามติไม่ผ่าน จะต้องมีคำตอบอย่างไร ซึ่งจะติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นผลประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องใหญ่ ไมใช่เรื่องกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวควรมีคำตอบเรื่องนั้นไว้ด้วย" นายจุรินทร์ กล่าว
**ตัวเลขสัดส่วนส.ส.ยังไร้ข้อยุติ
วานนี้ (4 พ.ย.) มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) วาระพิจารณาบทบัญญัติร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในส่วนขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
นายนรชิต สิงหเสนี โฆษก กรธ.แถลงผลการประชุมว่า เบื้องต้น กรธ.กำหนดหลักการว่า ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระควรเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความอิสระ ใช้อำนาจอย่างเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ กำหนดให้ผู้ที่ได้รับการสรรหา หรือคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา โดยให้ประธานวุฒิสภา นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของตัวเอง หรือกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมร่วมกัน และกำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญและประธานองค์กรอิสระแต่ละแห่ง มีหน่วยธุรการที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล และงบประมาณ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางกรธ. อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ อยู่หมวดเดียวกับองค์กรอิสระหรือไม่
นอกจากนี้ นายประพันธ์ นัยโกวิท ประธานอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ ได้รายงานความคืบหน้าผลการศึกษาเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ในส่วนของจำนวน ส.ส.ว่าควรมีจำนวนเท่าใด ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง เบื้องต้นกรอบของจำนวนตัวเลข ส.ส.ไม่น่าจะเกิน 500 คน ส่วนสัดส่วนของส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ กรธ.กำลังหาความเหมาะสมโดยมีข้อเสนอหลากหลาย เช่น 400 ต่อ 100 หรือ 375 ต่อ 125 แต่ที่เป็นข้อเสนอใหม่ คือสัดส่วน 350 ต่อ 150 เหตุผลของแนวคิดนี้คือ เป็นแนวคิดใหม่ที่ไม่เคยใช้กันมาก่อน เวลามีใครนำระบบ เลือกตั้งไปสำรวจว่า พรรคการเมืองใดจะได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งนั้นๆ ก็จะได้ผลลัพท์ใหม่ๆ ออกมา เบื้องต้นที่ประชุมยังไม่เคาะว่าจะใช้สัดส่วนแบบใด แต่โดยหลักการตัวเลข ส.ส.แบบแบ่งเขต ต้องมีจำนวนมากกว่าส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เพื่อเป็นการสะท้อนความต้องการของประชาชน