นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงแนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่เสนอระบบเลือกตั้งส.ส. ที่ให้ประชาชนเลือกเพียง ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง และใช้คะแนนของผู้สมัครส.ส.เขต ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งมาคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ว่า ถ้ามองในเชิงการออกแบบถือเป็นหลักการที่ดี เพราะเป็นความพยายามในการทำให้ทุกคะแนนเสียงของประชาชนมีความหมาย ทำให้ประชาชนเกิดความสะดวก ไม่ซับซ้อน เพราะจะกาบัตร ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งเพียงใบเดียว ทำให้เกิดความสะดวกในการจัดเลือกตั้ง ที่จะประหยัดงบประมาณเฉพาะค่าบัตรเลือกตั้งไปกว่าหลักร้อยล้านบาท โดยรวมก็เห็นว่า เป็นการออกแบบที่ค่อนข้างน่าสนใจ กรธ.น่าจะมาถูกทาง เพราะเป็นการออกแบบที่อาจจะเหมาะสมกับประเทศไทย
แต่ระบบดังกล่าวก็มีจุดอ่อนคือ พรรคการเมืองขนาดเล็ก จะเสียเปรียบ เพราะถ้าพรรคเล็กอยากได้คะแนนในส่วนนี้ไปคำนวณ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ก็จำเป็นที่จะต้องส่งผู้สมัครลงในระบบเขตเลือกตั้งให้มากที่สุด ยกตัวอย่าง เช่น มีเขตเลือกตั้ง 400 เขต พรรคใหญ่ ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งครบทุกเขต แต่พรรคเล็กที่มีขีดความสามารถในการส่งผู้สมัครได้เพียงไม่กี่เขตนั้น ก็จะได้คะแนนในส่วนนี้น้อยกว่า จึงจะเกิดความได้เปรียบแก่พรรคใหญ่ในทันที
วิธีการคิดเช่นนี้ กรธ. อาจต้องการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา กรณีที่พรรคเล็กบางพรรคไม่ยอมส่งผู้สมัครลงในส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง แต่พยายามสร้างคะแนนนิยมในภาพรวม เพื่อไปหวังผลเอาคะแนนเฉพาะส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้เป็นการส่งเสริมพรรคใหญ่ทำให้ไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในจำนวนส.ส. ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคที่ได้คะแนนเป็นอันดับ 1-2 จะมีส.ส.ที่มีจำนวนใกล้เคียงกัน หาก กรธ.ออกแบบสัดส่วนระหว่าง ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง และระบบบัญชีรายชื่อ ที่มีจำนวนครึ่งๆ
ส่วนจะมองว่าเป็นปัญหาตอนจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่นั้น เห็นว่า เป็นเรื่องของการเมือง ที่ใครจะดึงใครได้มากกว่า
** หนุนส.ว.สังกัดพรรค-เลือกตั้ง
นายสมชัย ยังกล่าวถึงที่มาของส.ว.ว่า แม้ที่ผ่านมาอาจมองว่าส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง มีปัญหา ส่วนส.ว.สรรหา เหมือนจะมีบทบาทที่เข้าตาประชาชนมากกว่า แต่ถ้าจะให้ส.ว.มาจากการสรรหาทั้งหมด อาจสร้างข้อสงสัยถึงกระบวนการสรรหาว่า ใครจะเป็นผู้สรรหา วิธีการสรรหาจะเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น ถ้าจะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด น่าจะเหมาะสมกว่า อย่าไปกลัวเรื่องความเป็นกลางทางการเมืองของส.ว. ในหลายประเทศส.ว. ก็สามารถสังกัดพรรคการเมืองได้
ดังนั้น เราควรจะให้ส.ว.เปิดเผยตัวเองเลยว่า สังกัดพรรคใด และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะเลือกหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา แม้จะมีข้อห้ามไม่ให้ส.ว.สังกัดพรรค แต่ข้อเท็จจริงก็มักจะมีการวิ่งเข้าหาพรรค สุดท้ายก็ไม่ปลอดจากการเมือง และนำไปสู่การตอบแทนกัน จึงอยากให้ยอมรับความจริง โดยทำทุกอย่างให้เปิดเผยชัดเจน หรือหาแนวทางกำหนดที่จะทำอย่างไรให้ ส.ว.ทำหน้าที่ตามบทบาทที่กำหนด
** "ณัฐวุฒิ"ค้านแหลก
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. กล่าวว่า การพยายามเสนอสูตรนำคะแนนฝ่ายแพ้เลือกตั้งส.ส.เขต ไปนับเป็นคะแนนบัญชีรายชื่อโดยอ้างว่า เพื่อให้ทุกคะแนนเสียงไม่ถูกทิ้งนั้น เป็นการให้เหตุผลที่ขัดกับข้อเท็จจริง เพราะโดยหลักการ ทุกคะแนนมีความหมายอยู่ในตัวเอง ฝ่ายชนะได้ทำหน้าที่ ส่วนฝ่ายแพ้ ก็เห็นมติของประชาชน ทั้งฝ่ายแพ้และชนะ มีสิทธิ์แข่งขันกันทำงานในพื้นที่ แสดงบทบาทเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
การเลือกตั้งตามรธน.ปี 40 และ 50 มีคนจำนวนมากลงคะแนนให้ผู้สมัครเขต กับบัญชีรายชื่อ คนละพรรคกัน รัฐจะไปมั่วเจตนารมย์ของประชาชนเองไม่ได้ ว่าคะแนนเขตเป็นคะแนนบัญชีรายชื่อ ซึ่งถ้าให้ลงคะแนนเพียงใบเดียว ก็เท่ากับลิดรอนสิทธิของประชาชนที่จะได้เลือกตั้งส.ส.ทั้ง 2 ระบบ จึงน่าสงสัยว่า สูตรนี้ห่วงคะแนนฝ่ายแพ้ส.ส.เขต หรือห่วงพรรคที่ผูกปีแพ้มายาวนาน ให้มีโอกาสชนะ หรือลดความห่างของที่นั่งในสภาฯ สร้างอำนาจต่อรองตอนตั้งรัฐบาล เพื่อเปิดทางให้นายกฯ คนนอกกันแน่ ส่วนแนวคิดที่ให้ตัดสิทธิ์ผู้สมัครที่แพ้คะแนน โนโหวตตลอดชีวิตนั้น ก็เป็นวิธีคิดแบบ หลุดโลก ตนไม่อาจยอมรับได้ว่า การลงสมัครเลือกตั้งแล้วได้คะแนนน้อยนั้น เป็นความผิดฉกรรจ์ถึงขั้นไม่มีสิทธิ์ทางการเมืองต่อไป ประชาธิปไตยต้องเปิดกว้าง ไม่ได้รับเลือกวันนี้ไม่ได้แปลว่า จะพลาดตลอดไป หรือชนะวันนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะชนะได้ตลอดกาล ถ้ายึดวิธีคิดนี้ คนขัดขวางการเลือกตั้ง หรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารต่างหาก ที่ไม่ควรมีสิทธิ์ทางการเมือง
"อยากให้นายมีชัย และกรธ. ตรงไปตรงมา ถ้ารับงานแป๊ะ แล้วต้องตามใจแป๊ะ ก็ใส่เต็มที่ แล้วไปตัดสินกันในประชามติ การเปิดประเด็นใหม่ตลอดเวลา อย่าเข้าใจว่าประชาชนจะลืมเรื่อง คปป. กับนายกฯ คนนอก ถ้าคิดจะใส่แน่ ทั้งที่เป็นเหตุให้ฉบับ นายบวรศักดิ์ ถูกคว่ำ ก็พูดให้ชัด ดีกว่า กั๊กไว้แล้วประชาชนมาจับได้ทีหลัง" นายณัฐวุฒิ กล่าว
** ตัดตอนพรรคใหญ่ ดึงพรรคเล็ก
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. ด้านพรรคการเมือง และอดีต สภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (ส.ส.ร.) กล่าวว่า
ระบบการเลือกตั้งนี้ คล้ายกับระบบการเลือกตั้งของเยอรมัน และคล้ายกับแนวคิดของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุดนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน แต่ต่างกันตรงที่ชุดของนายบวรศักดิ์ ให้คำนวนโดยวิธีการแบ่งโซน แต่กรอบแนวคิดชุด นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. นำคะแนนเสียงของพรรคที่แพ้การเลือกตั้งเขต มาคำนวนเพื่อเปิดโอกาสให้พรรคเล็กพรรคน้อยเข้าไปมีที่นั่งในสภา ป้องกันพรรคการเมืองใหญ่ ที่เคยได้เสียงข้างมากในสภาดำเนินการได้อย่างสะดวก เชื่อว่าพรรคใหญ่ คงไม่ยอมรับแนวคิดนี้ เพราะทำให้เขาจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างลำบากมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งต่อไป จะมีระบบหลายพรรคในสภา
"เจตนารมณ์ของแนวคิดนี้ เป็นการป้องกันพรรคการเมืองใหญ่ที่เคยได้คะแนนเสียงข้างมากในการบริหารงานอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้รัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลผสมเป็น 10 พรรค ซึ่งส่งผลทำให้การเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นไปได้ยาก เราอาจจะเห็นรัฐธรรมนูญกำหนดว่า นายกรัฐมนตรีอาจจะมาจากคนนอก เป็นนายกฯ คนกลางก็ได้ ถ้าไม่สามารถเลือกนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งได้ ดังนั้นเชื่อว่าการตัดตอนพรรคการเมืองใหญ่ อาจจะเป็นปัญหาทางการเมืองในภายภาคหน้าแน่นอน"
สำหรับแนวคิดที่ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส. ต้องมีคะแนนมากกว่า โหวตโน ถึงจะได้เป็นส.ส. ถ้าหากแพ้คะแนนเสียงโหวตโน จะไม่มีสิทธิกลับมาลงสมัครอีกนั้น มองว่า การนำโหวตโนมาคำนวนเพื่อตัดสิทธิพรรคที่มีคะแนนเสียงข้างมากนั้น นานาประเทศเขาไม่ทำกัน เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวาย นักการเมืองหลายฝ่ายคงไม่เห็นด้วย และเมื่ออกมาเป็นกฎหมาย และทำประชามติคงจะผ่านไปได้ยาก เพราะอย่าลืมว่า นักการเมืองเหล่านี้มีความใกล้ชิดกับประชาชน คงต้องเกิดการล็อบบี้ให้โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญแน่นอน
**ปชป.บอกเอาไงก็ได้แล้วแต่กรธ.
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ระบบนี้อาจจะได้ ส.ส.ที่ไม่ตรงต่อเจตนารมณ์ของผู้เลือก เพราะประชาชนมาเลือกส.ส.เขต ส่วนใหญ่จะมีความใกล้ชิดกับตัวบุคคล การเลือกพรรค ก็มักจะเลือกจากนโยบายพรรค ดังนั้น การที่ใช้คะแนนเสียงของส.ส.เขต ที่แพ้เลือกตั้ง เพื่อมาคัดเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ มันค่อนข้างผิดฝา ผิดตัว คือไม่ตรงต่อเจตนารมณ์ของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ถามว่ามันจะตรงตามความประสงค์ของผู้เลือก ส.ส.หรือไม่ แต่ทั้งนี้ กรธ.จะเอาอย่างไรก็ได้ หากกรธ. บอกว่าดี ผมก็ไมได้ว่าอะไร เปรียบไปเราก็รำไปตามที่เขาเคาะจังหวะ เขาจะเคาะจังหวะตะลุง เราก็เต้นตะลุง เขาจะเคาะจังหวะรุมบ้า เราก็เต้นรุมบ้า ก็ไม่รู้ว่าจะค้านอย่างไร เพราะเป็นระบบที่ไม่เคยใช้มาก่อน
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่ กรธ. บอกว่า จะให้ประชาชนใช้ใบลงคะแนนเลือกส.ส.เขตเพียงใบเดียว แล้วนำคะแนนของผู้แพ้แต่ละเขตไปคิดเป็นคะแนนของส.ส.บัญชีรายชื่อ เพราะในความเป็นจริง ประชาชนต้องการลงคะแนนให้กับบุคคล แต่กลับถูกนำไปยัดใส่เป็นคะแนนพรรค ซึ่งไม่ตรงกับความตั้งใจของประชาชนในการลงคะแนน
** "วิษณุ"ค้านตัดสิทธิ์คนแพ้โหวตโน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่กรธ.เห็นในทิศทางเดียวกันว่า บุคคลที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.ต้องมีคะแนนมากกว่าคะแนน โหวตโน ว่า เป็นความคิดที่มีมานาน ตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 10 –20 ปีที่แล้วว่า เมื่อเรายอมรับให้มีคนไปโหวตโนแล้ว ต่อมามีคำถามมาตลอดว่า การไม่เอาพรรคไหนเลย มีความหมายอย่างไร คำตอบคือ ไม่เอาใคร แต่ถามต่อไปว่า แล้วที่ไม่เอาพรรคไหนเลย มีจำนวนมากกว่าผู้ชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น จะทำอย่างไร คำตอบในอดีตคือ ไม่เกิดอะไรขึ้น คะแนนโหวตโน จึงเป็นศูนย์
ดังนั้นจะทำอย่างไรเราจึงจะเคารพเจตนารมณ์ของประชาชนบ้าง วันนี้เกือบจะมีการคิดออก คือ คนชนะจะต้องมากกว่าคะแนนโหวตโน ไม่เช่นนั้นจะต้องเลือกใหม่ ถ้าอย่างนั้นอาจจะแฟร์ เพราะเป็นการเคารพเสียง เนื่องจากเรื่องนี้มีความสำคัญ จะต้องทำอย่างไรให้คะแนนที่เยอะ มีความหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า วิธีนี้ใช้ในประเทศไหนบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า นึกไม่ออก เพราะในหลายประเทศไม่ได้มีเรื่องโหวตโน แต่ประเทศไทยเรายอมรับให้มีการโหวตโน และส่วนตัวเห็นด้วยกับการให้เสียงโหวตโน มีความหมาย เพียงแต่ยังไม่คิดออกว่าจะเอามาใช้ประโยชน์อย่างไร
เมื่อถามว่า การตัดสิทธิบุคคลไม่ให้มีสิทธิ์กลับมาลงสมัครอีกหากแพ้คะแนนโหวตโน ในประเทศต่างๆ มีหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คิดว่าไม่มี และตนยังนึกไม่ออกว่า จะทำอย่างไร ให้เคารพคะแนนโหวตโน สูตรพิสดาร แต่อย่างไรก็ตาม การจะไปตัดสิทธิ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่แพ้คะแนนโหวตโนตลอดชีวิต คงไม่ได้ อย่างนั้นไม่เห็นด้วย เพราะถ้าเขาพลาดหนนี้ ก็ไม่ได้แปลว่าเขาชั่วร้ายอะไร
** ส.ส.พรรคเล็กมีโอาสแจ้งเกิด
รายงานข่าวแจ้งว่า ระบบการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ตามแนวคิดของกรธ.นั้น เบื้องต้นยังคงจะให้มี ส.ส. 500 คน โดยเป็น ส.ส.เขต 400 ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งรูปแบบการเลือกตั้งส.ส.ในประเทศ จะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือก ส.ส.เขตเพียงอย่างเดียว ขณะที่คนไทยในต่างประเทศ ที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง จะมีสิทธิลงคะแนนเลือกพรรคเท่านั้น ไม่ได้เลือกส.ส.เขต ซึ่งในการคำณวนจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคจะได้ ก็จะเป็นการนำคะแนนของผู้สมัคร ส.ส.เขต ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งของทั้งประเทศ มารวมกับคะแนนพรรค ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศได้ลงคะแนนไว้ แล้วคิดคำนวนออกมา
จากข้อมูลที่ กรธ.ได้รับจากสำนักงาน กกต. ที่เสนอตารางเปรียบเทียบการคำนวนจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จากคะแนนแบบแบ่งเขตเลือก ตั้งเมื่อ 6 ก.พ. 48 ที่กฎหมายเวลานั้นกำหนดให้มี ส.ส.เขต 400 คน และส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน โดยที่มีการตัดคะแนนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งออกแล้ว พบว่าจะทำให้จำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ที่ได้คะแนนมาเป็นที่หนึ่งในระบบการคิดคำนวนบัญชีรายชื่อแบบเดิม ได้ ส.ส. ลดลงเกินครึ่ง
กล่าวคือ ผลคะแนนรวมที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกพรรคเพื่อนำมาคำนวนคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม 25 พรรค ในปี 2548 มีคะแนนทั้งสิ้น 31,048,223 คะแนน ขณะที่ผลคะแนนรวมของผู้สมัครที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งของทั้งประเทศ เมื่อปี 2548 มีทั้งสิ้น 25 พรรค รวม 11,081,047 คะแนน เมื่อนำมาคำนวนกับจำนวน ส.ส.บัญชีฯ ที่พึงมี 100 คน ส.ส.บัญชีฯ 1 คน จะต้องมีคะแนน เฉลี่ย 100,810 คะแนน
ผลคะแนนแบ่งเขตที่ไม่รวมผู้ได้รับเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ได้4,065,059 คะแนน จะได้ ส.ส. 37 คน เพิ่มขึ้นจากการคิดคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งประชาธิปัตย์ได้ 7,210,742 คะแนน ได้ส.ส .เพียง 26 คน พรรคชาติไทย ได้ 2,326,043 คะแนน จะได้ส.ส. 21 คน เพิ่มขึ้นจากการคิดคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งพรรคชาติไทยได้ 2,061,559 คนได้ ส.ส.เพียง 7 คน
พรรคไทยรักไทย หรือพรรคเพื่อไทยปัจจุบัน ได้ 2,151,634 คะแนน จะได้ ส.ส. 20 คน เป็นพรรคเดียวที่จำนวน ส.ส.ที่จะได้ลดลง เมื่อเทียบกับการคิดคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งพรรคไทยรักไทย ได้ 18,993,073 คะแนน ได้
ส.ส. 67 คน เท่ากับลดลงถึง 47 คน และพรรคมหาชน ได้ 2,148,442 คะแนน จะได้ ส.ส. 19 คน จากที่การคิดคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค พรรคมหาชน ไม่มี ส.ส.บัญชีรายชื่อเลย เช่นเดียวกับ พรรคคนขอปลดหนี้ ผลคะแนนแบ่งเขตได้ 166,651 คะแนน จะได้ ส.ส. 2คน พรรคความหวังใหม่ ผลคะแนนแบ่งเขตได้คะแนน 133,935 คะแนน จะได้ ส.ส. 1 คน จากที่การคิดคำนวณแบบเดิม ไม่เคยได้ส.ส .บัญชีรายชื่อเลย
แต่ระบบดังกล่าวก็มีจุดอ่อนคือ พรรคการเมืองขนาดเล็ก จะเสียเปรียบ เพราะถ้าพรรคเล็กอยากได้คะแนนในส่วนนี้ไปคำนวณ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ก็จำเป็นที่จะต้องส่งผู้สมัครลงในระบบเขตเลือกตั้งให้มากที่สุด ยกตัวอย่าง เช่น มีเขตเลือกตั้ง 400 เขต พรรคใหญ่ ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งครบทุกเขต แต่พรรคเล็กที่มีขีดความสามารถในการส่งผู้สมัครได้เพียงไม่กี่เขตนั้น ก็จะได้คะแนนในส่วนนี้น้อยกว่า จึงจะเกิดความได้เปรียบแก่พรรคใหญ่ในทันที
วิธีการคิดเช่นนี้ กรธ. อาจต้องการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา กรณีที่พรรคเล็กบางพรรคไม่ยอมส่งผู้สมัครลงในส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง แต่พยายามสร้างคะแนนนิยมในภาพรวม เพื่อไปหวังผลเอาคะแนนเฉพาะส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้เป็นการส่งเสริมพรรคใหญ่ทำให้ไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในจำนวนส.ส. ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคที่ได้คะแนนเป็นอันดับ 1-2 จะมีส.ส.ที่มีจำนวนใกล้เคียงกัน หาก กรธ.ออกแบบสัดส่วนระหว่าง ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง และระบบบัญชีรายชื่อ ที่มีจำนวนครึ่งๆ
ส่วนจะมองว่าเป็นปัญหาตอนจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่นั้น เห็นว่า เป็นเรื่องของการเมือง ที่ใครจะดึงใครได้มากกว่า
** หนุนส.ว.สังกัดพรรค-เลือกตั้ง
นายสมชัย ยังกล่าวถึงที่มาของส.ว.ว่า แม้ที่ผ่านมาอาจมองว่าส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง มีปัญหา ส่วนส.ว.สรรหา เหมือนจะมีบทบาทที่เข้าตาประชาชนมากกว่า แต่ถ้าจะให้ส.ว.มาจากการสรรหาทั้งหมด อาจสร้างข้อสงสัยถึงกระบวนการสรรหาว่า ใครจะเป็นผู้สรรหา วิธีการสรรหาจะเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น ถ้าจะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด น่าจะเหมาะสมกว่า อย่าไปกลัวเรื่องความเป็นกลางทางการเมืองของส.ว. ในหลายประเทศส.ว. ก็สามารถสังกัดพรรคการเมืองได้
ดังนั้น เราควรจะให้ส.ว.เปิดเผยตัวเองเลยว่า สังกัดพรรคใด และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะเลือกหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา แม้จะมีข้อห้ามไม่ให้ส.ว.สังกัดพรรค แต่ข้อเท็จจริงก็มักจะมีการวิ่งเข้าหาพรรค สุดท้ายก็ไม่ปลอดจากการเมือง และนำไปสู่การตอบแทนกัน จึงอยากให้ยอมรับความจริง โดยทำทุกอย่างให้เปิดเผยชัดเจน หรือหาแนวทางกำหนดที่จะทำอย่างไรให้ ส.ว.ทำหน้าที่ตามบทบาทที่กำหนด
** "ณัฐวุฒิ"ค้านแหลก
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. กล่าวว่า การพยายามเสนอสูตรนำคะแนนฝ่ายแพ้เลือกตั้งส.ส.เขต ไปนับเป็นคะแนนบัญชีรายชื่อโดยอ้างว่า เพื่อให้ทุกคะแนนเสียงไม่ถูกทิ้งนั้น เป็นการให้เหตุผลที่ขัดกับข้อเท็จจริง เพราะโดยหลักการ ทุกคะแนนมีความหมายอยู่ในตัวเอง ฝ่ายชนะได้ทำหน้าที่ ส่วนฝ่ายแพ้ ก็เห็นมติของประชาชน ทั้งฝ่ายแพ้และชนะ มีสิทธิ์แข่งขันกันทำงานในพื้นที่ แสดงบทบาทเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
การเลือกตั้งตามรธน.ปี 40 และ 50 มีคนจำนวนมากลงคะแนนให้ผู้สมัครเขต กับบัญชีรายชื่อ คนละพรรคกัน รัฐจะไปมั่วเจตนารมย์ของประชาชนเองไม่ได้ ว่าคะแนนเขตเป็นคะแนนบัญชีรายชื่อ ซึ่งถ้าให้ลงคะแนนเพียงใบเดียว ก็เท่ากับลิดรอนสิทธิของประชาชนที่จะได้เลือกตั้งส.ส.ทั้ง 2 ระบบ จึงน่าสงสัยว่า สูตรนี้ห่วงคะแนนฝ่ายแพ้ส.ส.เขต หรือห่วงพรรคที่ผูกปีแพ้มายาวนาน ให้มีโอกาสชนะ หรือลดความห่างของที่นั่งในสภาฯ สร้างอำนาจต่อรองตอนตั้งรัฐบาล เพื่อเปิดทางให้นายกฯ คนนอกกันแน่ ส่วนแนวคิดที่ให้ตัดสิทธิ์ผู้สมัครที่แพ้คะแนน โนโหวตตลอดชีวิตนั้น ก็เป็นวิธีคิดแบบ หลุดโลก ตนไม่อาจยอมรับได้ว่า การลงสมัครเลือกตั้งแล้วได้คะแนนน้อยนั้น เป็นความผิดฉกรรจ์ถึงขั้นไม่มีสิทธิ์ทางการเมืองต่อไป ประชาธิปไตยต้องเปิดกว้าง ไม่ได้รับเลือกวันนี้ไม่ได้แปลว่า จะพลาดตลอดไป หรือชนะวันนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะชนะได้ตลอดกาล ถ้ายึดวิธีคิดนี้ คนขัดขวางการเลือกตั้ง หรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารต่างหาก ที่ไม่ควรมีสิทธิ์ทางการเมือง
"อยากให้นายมีชัย และกรธ. ตรงไปตรงมา ถ้ารับงานแป๊ะ แล้วต้องตามใจแป๊ะ ก็ใส่เต็มที่ แล้วไปตัดสินกันในประชามติ การเปิดประเด็นใหม่ตลอดเวลา อย่าเข้าใจว่าประชาชนจะลืมเรื่อง คปป. กับนายกฯ คนนอก ถ้าคิดจะใส่แน่ ทั้งที่เป็นเหตุให้ฉบับ นายบวรศักดิ์ ถูกคว่ำ ก็พูดให้ชัด ดีกว่า กั๊กไว้แล้วประชาชนมาจับได้ทีหลัง" นายณัฐวุฒิ กล่าว
** ตัดตอนพรรคใหญ่ ดึงพรรคเล็ก
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. ด้านพรรคการเมือง และอดีต สภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (ส.ส.ร.) กล่าวว่า
ระบบการเลือกตั้งนี้ คล้ายกับระบบการเลือกตั้งของเยอรมัน และคล้ายกับแนวคิดของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุดนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน แต่ต่างกันตรงที่ชุดของนายบวรศักดิ์ ให้คำนวนโดยวิธีการแบ่งโซน แต่กรอบแนวคิดชุด นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. นำคะแนนเสียงของพรรคที่แพ้การเลือกตั้งเขต มาคำนวนเพื่อเปิดโอกาสให้พรรคเล็กพรรคน้อยเข้าไปมีที่นั่งในสภา ป้องกันพรรคการเมืองใหญ่ ที่เคยได้เสียงข้างมากในสภาดำเนินการได้อย่างสะดวก เชื่อว่าพรรคใหญ่ คงไม่ยอมรับแนวคิดนี้ เพราะทำให้เขาจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างลำบากมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งต่อไป จะมีระบบหลายพรรคในสภา
"เจตนารมณ์ของแนวคิดนี้ เป็นการป้องกันพรรคการเมืองใหญ่ที่เคยได้คะแนนเสียงข้างมากในการบริหารงานอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้รัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลผสมเป็น 10 พรรค ซึ่งส่งผลทำให้การเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นไปได้ยาก เราอาจจะเห็นรัฐธรรมนูญกำหนดว่า นายกรัฐมนตรีอาจจะมาจากคนนอก เป็นนายกฯ คนกลางก็ได้ ถ้าไม่สามารถเลือกนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งได้ ดังนั้นเชื่อว่าการตัดตอนพรรคการเมืองใหญ่ อาจจะเป็นปัญหาทางการเมืองในภายภาคหน้าแน่นอน"
สำหรับแนวคิดที่ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส. ต้องมีคะแนนมากกว่า โหวตโน ถึงจะได้เป็นส.ส. ถ้าหากแพ้คะแนนเสียงโหวตโน จะไม่มีสิทธิกลับมาลงสมัครอีกนั้น มองว่า การนำโหวตโนมาคำนวนเพื่อตัดสิทธิพรรคที่มีคะแนนเสียงข้างมากนั้น นานาประเทศเขาไม่ทำกัน เพราะจะทำให้เกิดความวุ่นวาย นักการเมืองหลายฝ่ายคงไม่เห็นด้วย และเมื่ออกมาเป็นกฎหมาย และทำประชามติคงจะผ่านไปได้ยาก เพราะอย่าลืมว่า นักการเมืองเหล่านี้มีความใกล้ชิดกับประชาชน คงต้องเกิดการล็อบบี้ให้โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญแน่นอน
**ปชป.บอกเอาไงก็ได้แล้วแต่กรธ.
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ระบบนี้อาจจะได้ ส.ส.ที่ไม่ตรงต่อเจตนารมณ์ของผู้เลือก เพราะประชาชนมาเลือกส.ส.เขต ส่วนใหญ่จะมีความใกล้ชิดกับตัวบุคคล การเลือกพรรค ก็มักจะเลือกจากนโยบายพรรค ดังนั้น การที่ใช้คะแนนเสียงของส.ส.เขต ที่แพ้เลือกตั้ง เพื่อมาคัดเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ มันค่อนข้างผิดฝา ผิดตัว คือไม่ตรงต่อเจตนารมณ์ของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ถามว่ามันจะตรงตามความประสงค์ของผู้เลือก ส.ส.หรือไม่ แต่ทั้งนี้ กรธ.จะเอาอย่างไรก็ได้ หากกรธ. บอกว่าดี ผมก็ไมได้ว่าอะไร เปรียบไปเราก็รำไปตามที่เขาเคาะจังหวะ เขาจะเคาะจังหวะตะลุง เราก็เต้นตะลุง เขาจะเคาะจังหวะรุมบ้า เราก็เต้นรุมบ้า ก็ไม่รู้ว่าจะค้านอย่างไร เพราะเป็นระบบที่ไม่เคยใช้มาก่อน
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่ กรธ. บอกว่า จะให้ประชาชนใช้ใบลงคะแนนเลือกส.ส.เขตเพียงใบเดียว แล้วนำคะแนนของผู้แพ้แต่ละเขตไปคิดเป็นคะแนนของส.ส.บัญชีรายชื่อ เพราะในความเป็นจริง ประชาชนต้องการลงคะแนนให้กับบุคคล แต่กลับถูกนำไปยัดใส่เป็นคะแนนพรรค ซึ่งไม่ตรงกับความตั้งใจของประชาชนในการลงคะแนน
** "วิษณุ"ค้านตัดสิทธิ์คนแพ้โหวตโน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่กรธ.เห็นในทิศทางเดียวกันว่า บุคคลที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.ต้องมีคะแนนมากกว่าคะแนน โหวตโน ว่า เป็นความคิดที่มีมานาน ตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 10 –20 ปีที่แล้วว่า เมื่อเรายอมรับให้มีคนไปโหวตโนแล้ว ต่อมามีคำถามมาตลอดว่า การไม่เอาพรรคไหนเลย มีความหมายอย่างไร คำตอบคือ ไม่เอาใคร แต่ถามต่อไปว่า แล้วที่ไม่เอาพรรคไหนเลย มีจำนวนมากกว่าผู้ชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น จะทำอย่างไร คำตอบในอดีตคือ ไม่เกิดอะไรขึ้น คะแนนโหวตโน จึงเป็นศูนย์
ดังนั้นจะทำอย่างไรเราจึงจะเคารพเจตนารมณ์ของประชาชนบ้าง วันนี้เกือบจะมีการคิดออก คือ คนชนะจะต้องมากกว่าคะแนนโหวตโน ไม่เช่นนั้นจะต้องเลือกใหม่ ถ้าอย่างนั้นอาจจะแฟร์ เพราะเป็นการเคารพเสียง เนื่องจากเรื่องนี้มีความสำคัญ จะต้องทำอย่างไรให้คะแนนที่เยอะ มีความหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า วิธีนี้ใช้ในประเทศไหนบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า นึกไม่ออก เพราะในหลายประเทศไม่ได้มีเรื่องโหวตโน แต่ประเทศไทยเรายอมรับให้มีการโหวตโน และส่วนตัวเห็นด้วยกับการให้เสียงโหวตโน มีความหมาย เพียงแต่ยังไม่คิดออกว่าจะเอามาใช้ประโยชน์อย่างไร
เมื่อถามว่า การตัดสิทธิบุคคลไม่ให้มีสิทธิ์กลับมาลงสมัครอีกหากแพ้คะแนนโหวตโน ในประเทศต่างๆ มีหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คิดว่าไม่มี และตนยังนึกไม่ออกว่า จะทำอย่างไร ให้เคารพคะแนนโหวตโน สูตรพิสดาร แต่อย่างไรก็ตาม การจะไปตัดสิทธิ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่แพ้คะแนนโหวตโนตลอดชีวิต คงไม่ได้ อย่างนั้นไม่เห็นด้วย เพราะถ้าเขาพลาดหนนี้ ก็ไม่ได้แปลว่าเขาชั่วร้ายอะไร
** ส.ส.พรรคเล็กมีโอาสแจ้งเกิด
รายงานข่าวแจ้งว่า ระบบการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ตามแนวคิดของกรธ.นั้น เบื้องต้นยังคงจะให้มี ส.ส. 500 คน โดยเป็น ส.ส.เขต 400 ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งรูปแบบการเลือกตั้งส.ส.ในประเทศ จะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือก ส.ส.เขตเพียงอย่างเดียว ขณะที่คนไทยในต่างประเทศ ที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง จะมีสิทธิลงคะแนนเลือกพรรคเท่านั้น ไม่ได้เลือกส.ส.เขต ซึ่งในการคำณวนจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคจะได้ ก็จะเป็นการนำคะแนนของผู้สมัคร ส.ส.เขต ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งของทั้งประเทศ มารวมกับคะแนนพรรค ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศได้ลงคะแนนไว้ แล้วคิดคำนวนออกมา
จากข้อมูลที่ กรธ.ได้รับจากสำนักงาน กกต. ที่เสนอตารางเปรียบเทียบการคำนวนจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จากคะแนนแบบแบ่งเขตเลือก ตั้งเมื่อ 6 ก.พ. 48 ที่กฎหมายเวลานั้นกำหนดให้มี ส.ส.เขต 400 คน และส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน โดยที่มีการตัดคะแนนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งออกแล้ว พบว่าจะทำให้จำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง ที่ได้คะแนนมาเป็นที่หนึ่งในระบบการคิดคำนวนบัญชีรายชื่อแบบเดิม ได้ ส.ส. ลดลงเกินครึ่ง
กล่าวคือ ผลคะแนนรวมที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกพรรคเพื่อนำมาคำนวนคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม 25 พรรค ในปี 2548 มีคะแนนทั้งสิ้น 31,048,223 คะแนน ขณะที่ผลคะแนนรวมของผู้สมัครที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งของทั้งประเทศ เมื่อปี 2548 มีทั้งสิ้น 25 พรรค รวม 11,081,047 คะแนน เมื่อนำมาคำนวนกับจำนวน ส.ส.บัญชีฯ ที่พึงมี 100 คน ส.ส.บัญชีฯ 1 คน จะต้องมีคะแนน เฉลี่ย 100,810 คะแนน
ผลคะแนนแบ่งเขตที่ไม่รวมผู้ได้รับเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ได้4,065,059 คะแนน จะได้ ส.ส. 37 คน เพิ่มขึ้นจากการคิดคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งประชาธิปัตย์ได้ 7,210,742 คะแนน ได้ส.ส .เพียง 26 คน พรรคชาติไทย ได้ 2,326,043 คะแนน จะได้ส.ส. 21 คน เพิ่มขึ้นจากการคิดคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งพรรคชาติไทยได้ 2,061,559 คนได้ ส.ส.เพียง 7 คน
พรรคไทยรักไทย หรือพรรคเพื่อไทยปัจจุบัน ได้ 2,151,634 คะแนน จะได้ ส.ส. 20 คน เป็นพรรคเดียวที่จำนวน ส.ส.ที่จะได้ลดลง เมื่อเทียบกับการคิดคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งพรรคไทยรักไทย ได้ 18,993,073 คะแนน ได้
ส.ส. 67 คน เท่ากับลดลงถึง 47 คน และพรรคมหาชน ได้ 2,148,442 คะแนน จะได้ ส.ส. 19 คน จากที่การคิดคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค พรรคมหาชน ไม่มี ส.ส.บัญชีรายชื่อเลย เช่นเดียวกับ พรรคคนขอปลดหนี้ ผลคะแนนแบ่งเขตได้ 166,651 คะแนน จะได้ ส.ส. 2คน พรรคความหวังใหม่ ผลคะแนนแบ่งเขตได้คะแนน 133,935 คะแนน จะได้ ส.ส. 1 คน จากที่การคิดคำนวณแบบเดิม ไม่เคยได้ส.ส .บัญชีรายชื่อเลย