วานนี้ (29ต.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช. เป็นประธานในที่ประชุม ได้มีการแถลงเปิดสำนวนตามรายงาน และความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และการแถลงคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวน หรือรายงานพร้อมความเห็นของผู้ถูกกล่าวหา ในกระบวนการถอดถอน นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งตาม ตามข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ว่า ร่ำรวยผิดปกติ และจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ โดยไม่แสดงทรัพย์สิน บ้านพักอาศัย เลขที่ 5/5 ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
** แฉ"เสี่ยตือ"ซุกทั้งบ้านและเงินสด
ทั้งนี้ นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการป.ป.ช. แถลงเปิดคดีว่า ทางป.ป.ช. ตั้งข้อกล่าวหา นายสมศักดิ์ไว้ 2 ประเด็น เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยประเด็นการยื่นบัญชีแสดงบัญชีทรัพย์สินเท็จ ได้ตรวจสอบความถูกต้อง และมีอยู่จริงจากหลักฐานที่ยื่นไว้ สรุปได้ว่า นายสมศักดิ์ ได้ยื่นไว้ 8 ตำแหน่ง 21 กรณี ตั้งแต่ 11 ต.ค. 40 ถึ ง2 ธ.ค.51 ไม่ปรากฏว่า ไม่ได้แสดงบ้านพักอาศัย บ้านเลขที่ 5/5 ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ที่ปลูกบนโฉนดที่ดิน เลขที่ 14360 ตำบล อำเภอเดียวกัน ในทุกตำแหน่ง และทุกกรณีและไม่เคยแสดงเงินสดด้วย
ตลอดเวลาที่มีการไต่สวน นายสมศักดิ์ ยืนยันตลอดว่าบ้านพักดังกล่าวไม่ใช่ของตน แต่เป็นบ้านของ นายไพโรจน์ ฉัตรบริรักษ์ พี่ชายของนางระวีวรรณ ปริศนานันทกุล คู่สมรส โดยใช้เงินที่ได้จากการประกอบโรงสีวิเศษชัยชาญเจริญกิจ มาก่อสร้าง พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการไต่สวนฟังได้ว่า บ้านดังกล่าวเป็นของ นายสมศักดิ์ มีมูลค่า 16 ล้านเศษ รวมทั้งยังพบว่า นายสมศักดิ์ ไม่ได้แสดงรายการเงินฝากของตนและคู่สมรส ซึ่งฝากไว้ในชื่อคนอื่น
ทางคณะกรรมการป.ป.ช. จึงมีมติว่า นายสมศักดิ์ จงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินเป็นเท็จ และไม่แสดงรายการเรื่องบ้าน และเงินฝาก จึงมีมติส่งเรื่องให้ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณา มีคำพิพากษา ส่วนเรื่องรถเบ็นซ์ และร้านเอเอ็ม พีเอ็ม นั้น คณะกรรมการเห็นว่าไม่มีมูล จึงให้ตกไป
นายณรงค์กล่าวว่า ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ได้มีคำพิพากษาว่า บ้านดังกล่าวเป็นของนายสมศักดิ์ และมีคำพิพากษาว่า จงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินเท็จ มีผลทำให้นายสมศักดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง หรือห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี ตั้งแต่ 2 ธ.ค. 51 และมีโทษทางอาญา จำคุก 6 เดือน ปรับ 6 หมื่นบาท โดยศาลให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี ซึ่งทางคณะกรรมการฯ ได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหากรณีร่ำรวยผิดปกติ และให้โอกาสชี้แจงกรณีบ้านพัก โดยนายสมศักดิ์ ได้ชี้แจง 3 เหตุผล โดยครั้งแรกแจ้งว่า การปลูกสร้างบ้านใช้เงินหมุนเวียนของโรงสี ต่อมาเปลี่ยนคำชี้แจงว่า การจัดซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นเงินของตนที่ฝากไว้ในนามของโรงสี และอีกครั้งชี้แจงว่า เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างบ้านทั้งหมด โดยมอบหมายให้ นายไพโรจน์ ดำเนินการแทนทั้งหมด
" ทางป.ป.ช.วินิจฉัยว่า บ้านดังกล่าวได้ปลูกสร้างและเสร็จเมื่อไหร่ ซึ่งจากการไต่สวนได้ข้อเท็จจริงว่า มีการถมดิน เขียนแบบบ้าน ตอกเสาเข็ม และปลูกสร้างในช่วงนายสมศักดิ์ เป็นรมช.ศึกษาธิการ และสืบเนื่องมาจนถึง รมว.ศึกษาธิการ โดยช่วงปี 43 สื่อมีการเสนอข่าวระบุว่า บ้านดังกล่าวมีการปลูกสร้างมาตั้งแต่เป็นรมช.ศึกษาฯ จนถึงรมว.ศึกษาธิการ และมีการต่อเติมปรับปรุงตกแต่งภายใน ซื้อวัสดุจากการร้านเกลอหลี โดย ป.ป.ช. มีใบเสร็จทุกฉบับ จึงฟังได้ว่า บ้านดังกล่าวสร้างในช่วงเป็น รมว.ศึกษาธิการ"
** บอกที่มาของเงินไม่ได้
ส่วนประเด็น นายสมศักดิ์ นำเงินจากไหนมาปลูกสร้าง จากการไต่สวน เราดูจากบัญชีการแสดงทรัพย์สิน และหนี้สินที่แสดงไว้ 8 ตำแหน่ง พบว่า นายสมศักดิ์ และภรรยา ไม่ได้แสดงรายการเงินสดไว้มาตลอด เมื่อ ป.ป.ช.มีคำสั่งให้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 19 ซึ่งเป็นกระบวนการพิเศษ ที่จะชี้ว่าร่ำรวย หรือไม่ นายสมศักดิ์ ก็ไม่แสดง และช่วงปี 38 และปี 39 ที่นายสมศักดิ์ เข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองใหม่ๆ จากคำให้การของ นายธีระพันธ์ อรุณรัศมีโชติ และ นายสุรเชษฐ์ นิ่มกุล คนใกล้ชิด ก็ยืนยันว่า ช่วงนั้นยังไม่มีเงินทองเพียงพอมาหาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งการปลูกสร้างบ้านดังกล่าว ก็ยังมีการผ่อนซื้อสินค้ามาตลอด และคำเบิกความของนายสมศักดิ์ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ว่า บ้านหลังดังกล่าวไม่ใช่ของตน แต่หลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ มีคำพิพากษาแล้ว ก็มากลับคำให้การ ยืนยันว่าบ้านปลูกสร้างด้วยเงินสด และเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคชาติไทยในขณะนั้น ป.ป.ช.ได้พิจารณาข้อเท็จจริง และสำนวนแล้วเห็นว่า ประเด็นแรกพอฟังได้ว่าบ้านหลังดังกล่าว ปลูกสร้างช่วงเป็นรมช. ถึง รมว.ศึกษาธิการ
ส่วนที่อ้างเรื่องเงินสนับสนุนจากพรรคการเมือง ดูจากคำให้การของ นางพวงรัตน์ ชัยบุตร อดีตเหรัญญิกพรรคชาติไทย ที่เบิกความต่อศาลว่า ช่วงปลายปี 39 นายสมศักดิ์ รับเงินสนับสนุนจากพรรคการเมือง และบุคคลที่ไม่ทราบชื่อรวม 29 ล้านบาทเศษ แต่ไม่มีรายละเอียดการใช้จ่าย เป็นเหตุให้นายสมศักดิ์ เปลี่ยนคำให้การว่า ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง
แต่เมื่อตรวจสอบภาษีเงินได้พบว่า นายสมศักดิ์ มีรายได้ช่วงปี 41 จำนวน 2,438,700 บาท และ ปี 43 มีรายได้รวม 2,854,000 บาท รวมแล้ว 5.3 ล้านบาทเศษ ไม่สอดคล้องกับทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น ทางป.ป.ช. จึงมีมติว่า นายสมศักดิ์ ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือได้มาไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้อำนาจในตำแหน่ง จึงมีมติส่งรายงานเอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โดยล่าสุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ได้รับคำร้องแล้ว และส่งรายงานเอกสารมายังสภาสนช. เพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตาม พรบ. ป.ป.ช. มาตรา 56 (1)
**ใช้เงินหาเสียงที่พรรคให้มาสร้างบ้าน
ด้านนายสมศักดิ์ แถลงโต้ข้อกล่าวหาว่า ช่วงได้รับตำแหน่ง เป็นวิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศเข้าสู่ยุคไอเอ็มเอฟ รัฐบาลไม่มีการทำโครงการขนาดใหญ่ หรือการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างสักครั้งเดียว ไม่เคยไปใช้อำนาจหน้าที่ไปแสวงหาประโยชน์ โดยนโยบายกระทรวงไม่เน้นใช้เงิน แต่ใช้ปัญญาและหัวใจแก้ปัญหาการศึกษา อีกทั้งจะเห็นว่า การกล่าวหาเรื่องร่ำรวยผิดปกตินี้ ป.ป.ช.ไม่ได้เชิญข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาให้การ และในสมัยดำรงตำแหน่ง ยังไม่เคยถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือถูกร้องเรียนในประเด็นทุจริต
ส่วนเรื่องที่มาของบ้านหลังดังกล่าว ตนได้ซื้อที่ดินปี 39 ถมที่ดิน ปี 40 และก่อสร้างเสร็จปี 41 ในช่วงที่เป็นฝ่ายค้าน ก่อนดำรงตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ เรื่องนี้มีภาพถ่ายทางอากาศจากกองทัพบกยืนยันได้ รวมทั้งผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ให้การป.ป.ช. ก็ยืนยันว่า บ้านหลังนี้สร้างเสร็จ 8 เดือน
ส่วนใบเสร็จซื้อวัสดุก่อสร้าง 18 ใบ ช่วงปี 2543-44 รวม 1.4 ล้านบาท เป็นช่วงที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ต้องตกแต่งภายใน หรือในส่วนที่ต้องรื้อออก ทำใหม่ รวม 1.4 ล้านบาท แต่กลับถูกนำมาใช้ประกอบการชี้มูลร่ำรวยผิดปกติ 16 ล้านบาท ซึ่งกรรมการ ป.ป.ช. เสียงข้างน้อย ยัง
ได้มีความเห็นว่า ตนได้วางแผนการก่อสร้างตั้งแต่ซื้อที่ดินปี 39 แล้ว ไม่ใช่หาเงินไป ก่อสร้างไป โดยอาศัยหน้าที่แสวงหาประโยชน์ เพื่อสร้างบ้านดังกล่าว
" วิญญูชนทั่วไป การจะก่อสร้างบ้าน ซื้อที่ ออกแบบ ต้องรู้ว่ามีเงินพอหรือไม่ ไม่ใช่การสร้างวัด ที่ไม่พอก็ไปทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ชีวิตนักการเมือง ไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะได้รับเลือกตั้งกลับมาหรือไม่ จะได้รับเลือกเป็น รมต. หรือไม่ ผมไม่ใช่นายทุนพรรค แค่นักการเมืองบ้านนอกคนหนึ่ง ไม่สามารถกำหนดอะไรได้ จะรู้หรือว่า เดี๋ยวได้ตำแหน่งแล้ว ก่อสร้างให้เสร็จ ส่วนที่ว่าเงินมาจากไหน การเลือกตั้งแต่ละครั้ง ผมได้รับเงินสนับสนุนจากพรรคกว่า 20 ล้าน เพราะพรรคการเมืองมีนายทุน ก็จะดูว่า คนไหนมีแววได้รับเลือกสูง ถึงมีการแบ่งเป็น เกรด a b c แต่ เพราะผมเป็นคนบ้าน นอก และผูกพันกับชาวบ้าน เขาเลยสนับสนุน และก็ได้รับการเลือกตั้งมาทุกครั้ง ไม่เคยสอบตก ตั้งแต่ปี 39 เวลาเลือกตั้งเขาใช้เงินกัน ผมก็ใช้ แต่ตีตั๋วเด็ก แต่ละครั้งจึงเหลือมาตลอด และยังมีมุ้งต่างๆ คือ ผู้ใหญ่ภายในพรรค เขาอยากมีเสียงสนับสนุนให้เป็นรัฐมนตรี หรือจะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็จะดูแล สมาชิก ที่ไม่ได้เป็นนายทุนพรรค เวลาเลือกตั้ง ก็ช่วยเหลือกัน ซึ่งเหตุเกิดก่อนมีรัฐธรรมนูญปี 40 อีกทั้งการเลือกตั้งแต่ละครั้ง บางคนก็ใช้เงินสนับสนุนเยอะ บางคนก็ใช้น้อย ซ้ำร้ายบางคนกล้าสอบตก เพื่อที่จะกอดเงิน ที่ว่ารักเงินมากกว่าตำแหน่ง ผมจดไว้หมดว่าใครให้เงินมาเท่าไหร่ ไว้ทำกิจกรรมการเมือง ท่านไม่ใช่นักการเมือง ไม่รู้หรอกว่าเขาทำอย่างไร อย่าใช้ตรรกะแล้วอนุมานเอา"
ส่วนที่กล่าวหาว่า ตนกลับคำให้การนั้น ไม่ใช่เพราะจำนนต่อหลักฐาน แต่เป็นเพราะรัฐธรรมนูญประกาศใช้ใหม่ ในปี 40 และมีกฎหมายป.ป.ช. ใช้ปี 42 ท่ามกลางความใหม่ยอมรับว่า สำคัญผิดว่าทรัพย์สินที่ไม่ใช่ชื่อตนเอง ไม่ต้องแจ้ง ตนจึงไม่ได้แจ้งในกรณีเงินสด และแปรมาเป็นทรัพย์สินบางประการ โดยแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งนำไปมอบให้โรงสีวิเศษชัยชาญ เพื่อหมุนทำธุรกรรม เพราะสำนึกกตัญญูที่ยกลูกสาวให้ เนื่องจากครอบครัวตนเองและภรรยา แตกต่างสิ้นเชิง เมื่อโอนไปแล้ว จึงไม่ได้แจ้งให้ ป.ป.ช.ทราบ ซึ่งต่อมาเงินส่วนนี้ ทางโรงสีได้นำกลับมาซื้อที่ดินในการสร้างบ้าน
" ผมไม่ปฏิเสธกระบวนการประชาธิปไตย แต่ต้องขึ้นอยู่บนหลักการ ข้อเท็จจริง และความเป็นธรรมด้วย เอกสารทั้งหมดมีคำตอบว่าได้มาอย่างไร ใช้อำนาจหน้าที่หรือไม่ และได้มาเมื่อไหร่ ปรากฏการณ์เกิดขึ้นก่อนเป็นรัฐมนตรีด้วยซ้ำไป มีรายละเอียดเรื่องค่าใช้จ่าย ผู้สนับสนุนทางการเมือง และภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อตอกย้ำว่าสิ่งที่ผมแจ้ง คือข้อเท็จจริง ส่วนจะถอดถอนหรือไม่ อยู่ที่ดุลพินิจของพวกท่าน ผลเป็นอย่างไรผมยอมรับทุกกรณี แต่ไม่อยากให้การตัดสินใจของ สนช. ทำให้ต้องเสียหลักการ สังคมสูญเสียความยุติธรรม" นายสมศักดิ์ กล่าว
จากนั้น นายพีระศักดิ์ พอจิตต์ รองประธานสนช. คนที่ 2 ในฐานะประธานที่ประชุม ได้กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการซักถาม 7 คน โดยให้สนช. ยื่นญัตติตั้งคำถามได้ จนถึงวันที่ 30 ต.ค. เวลา 12.00 น. และจะนัดพิจารณาตั้งคำถาม ในวันที่ 5 พ.ย.
** แฉ"เสี่ยตือ"ซุกทั้งบ้านและเงินสด
ทั้งนี้ นายณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการป.ป.ช. แถลงเปิดคดีว่า ทางป.ป.ช. ตั้งข้อกล่าวหา นายสมศักดิ์ไว้ 2 ประเด็น เพราะมีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยประเด็นการยื่นบัญชีแสดงบัญชีทรัพย์สินเท็จ ได้ตรวจสอบความถูกต้อง และมีอยู่จริงจากหลักฐานที่ยื่นไว้ สรุปได้ว่า นายสมศักดิ์ ได้ยื่นไว้ 8 ตำแหน่ง 21 กรณี ตั้งแต่ 11 ต.ค. 40 ถึ ง2 ธ.ค.51 ไม่ปรากฏว่า ไม่ได้แสดงบ้านพักอาศัย บ้านเลขที่ 5/5 ต.ไผ่จำศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ที่ปลูกบนโฉนดที่ดิน เลขที่ 14360 ตำบล อำเภอเดียวกัน ในทุกตำแหน่ง และทุกกรณีและไม่เคยแสดงเงินสดด้วย
ตลอดเวลาที่มีการไต่สวน นายสมศักดิ์ ยืนยันตลอดว่าบ้านพักดังกล่าวไม่ใช่ของตน แต่เป็นบ้านของ นายไพโรจน์ ฉัตรบริรักษ์ พี่ชายของนางระวีวรรณ ปริศนานันทกุล คู่สมรส โดยใช้เงินที่ได้จากการประกอบโรงสีวิเศษชัยชาญเจริญกิจ มาก่อสร้าง พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการไต่สวนฟังได้ว่า บ้านดังกล่าวเป็นของ นายสมศักดิ์ มีมูลค่า 16 ล้านเศษ รวมทั้งยังพบว่า นายสมศักดิ์ ไม่ได้แสดงรายการเงินฝากของตนและคู่สมรส ซึ่งฝากไว้ในชื่อคนอื่น
ทางคณะกรรมการป.ป.ช. จึงมีมติว่า นายสมศักดิ์ จงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินเป็นเท็จ และไม่แสดงรายการเรื่องบ้าน และเงินฝาก จึงมีมติส่งเรื่องให้ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณา มีคำพิพากษา ส่วนเรื่องรถเบ็นซ์ และร้านเอเอ็ม พีเอ็ม นั้น คณะกรรมการเห็นว่าไม่มีมูล จึงให้ตกไป
นายณรงค์กล่าวว่า ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ได้มีคำพิพากษาว่า บ้านดังกล่าวเป็นของนายสมศักดิ์ และมีคำพิพากษาว่า จงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินเท็จ มีผลทำให้นายสมศักดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง หรือห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี ตั้งแต่ 2 ธ.ค. 51 และมีโทษทางอาญา จำคุก 6 เดือน ปรับ 6 หมื่นบาท โดยศาลให้รอลงอาญาไว้ 3 ปี ซึ่งทางคณะกรรมการฯ ได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหากรณีร่ำรวยผิดปกติ และให้โอกาสชี้แจงกรณีบ้านพัก โดยนายสมศักดิ์ ได้ชี้แจง 3 เหตุผล โดยครั้งแรกแจ้งว่า การปลูกสร้างบ้านใช้เงินหมุนเวียนของโรงสี ต่อมาเปลี่ยนคำชี้แจงว่า การจัดซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นเงินของตนที่ฝากไว้ในนามของโรงสี และอีกครั้งชี้แจงว่า เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างบ้านทั้งหมด โดยมอบหมายให้ นายไพโรจน์ ดำเนินการแทนทั้งหมด
" ทางป.ป.ช.วินิจฉัยว่า บ้านดังกล่าวได้ปลูกสร้างและเสร็จเมื่อไหร่ ซึ่งจากการไต่สวนได้ข้อเท็จจริงว่า มีการถมดิน เขียนแบบบ้าน ตอกเสาเข็ม และปลูกสร้างในช่วงนายสมศักดิ์ เป็นรมช.ศึกษาธิการ และสืบเนื่องมาจนถึง รมว.ศึกษาธิการ โดยช่วงปี 43 สื่อมีการเสนอข่าวระบุว่า บ้านดังกล่าวมีการปลูกสร้างมาตั้งแต่เป็นรมช.ศึกษาฯ จนถึงรมว.ศึกษาธิการ และมีการต่อเติมปรับปรุงตกแต่งภายใน ซื้อวัสดุจากการร้านเกลอหลี โดย ป.ป.ช. มีใบเสร็จทุกฉบับ จึงฟังได้ว่า บ้านดังกล่าวสร้างในช่วงเป็น รมว.ศึกษาธิการ"
** บอกที่มาของเงินไม่ได้
ส่วนประเด็น นายสมศักดิ์ นำเงินจากไหนมาปลูกสร้าง จากการไต่สวน เราดูจากบัญชีการแสดงทรัพย์สิน และหนี้สินที่แสดงไว้ 8 ตำแหน่ง พบว่า นายสมศักดิ์ และภรรยา ไม่ได้แสดงรายการเงินสดไว้มาตลอด เมื่อ ป.ป.ช.มีคำสั่งให้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 19 ซึ่งเป็นกระบวนการพิเศษ ที่จะชี้ว่าร่ำรวย หรือไม่ นายสมศักดิ์ ก็ไม่แสดง และช่วงปี 38 และปี 39 ที่นายสมศักดิ์ เข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองใหม่ๆ จากคำให้การของ นายธีระพันธ์ อรุณรัศมีโชติ และ นายสุรเชษฐ์ นิ่มกุล คนใกล้ชิด ก็ยืนยันว่า ช่วงนั้นยังไม่มีเงินทองเพียงพอมาหาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งการปลูกสร้างบ้านดังกล่าว ก็ยังมีการผ่อนซื้อสินค้ามาตลอด และคำเบิกความของนายสมศักดิ์ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ว่า บ้านหลังดังกล่าวไม่ใช่ของตน แต่หลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ มีคำพิพากษาแล้ว ก็มากลับคำให้การ ยืนยันว่าบ้านปลูกสร้างด้วยเงินสด และเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคชาติไทยในขณะนั้น ป.ป.ช.ได้พิจารณาข้อเท็จจริง และสำนวนแล้วเห็นว่า ประเด็นแรกพอฟังได้ว่าบ้านหลังดังกล่าว ปลูกสร้างช่วงเป็นรมช. ถึง รมว.ศึกษาธิการ
ส่วนที่อ้างเรื่องเงินสนับสนุนจากพรรคการเมือง ดูจากคำให้การของ นางพวงรัตน์ ชัยบุตร อดีตเหรัญญิกพรรคชาติไทย ที่เบิกความต่อศาลว่า ช่วงปลายปี 39 นายสมศักดิ์ รับเงินสนับสนุนจากพรรคการเมือง และบุคคลที่ไม่ทราบชื่อรวม 29 ล้านบาทเศษ แต่ไม่มีรายละเอียดการใช้จ่าย เป็นเหตุให้นายสมศักดิ์ เปลี่ยนคำให้การว่า ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง
แต่เมื่อตรวจสอบภาษีเงินได้พบว่า นายสมศักดิ์ มีรายได้ช่วงปี 41 จำนวน 2,438,700 บาท และ ปี 43 มีรายได้รวม 2,854,000 บาท รวมแล้ว 5.3 ล้านบาทเศษ ไม่สอดคล้องกับทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น ทางป.ป.ช. จึงมีมติว่า นายสมศักดิ์ ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ หรือได้มาไม่สมควร สืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้อำนาจในตำแหน่ง จึงมีมติส่งรายงานเอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน โดยล่าสุดศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ได้รับคำร้องแล้ว และส่งรายงานเอกสารมายังสภาสนช. เพื่อถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตาม พรบ. ป.ป.ช. มาตรา 56 (1)
**ใช้เงินหาเสียงที่พรรคให้มาสร้างบ้าน
ด้านนายสมศักดิ์ แถลงโต้ข้อกล่าวหาว่า ช่วงได้รับตำแหน่ง เป็นวิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศเข้าสู่ยุคไอเอ็มเอฟ รัฐบาลไม่มีการทำโครงการขนาดใหญ่ หรือการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างสักครั้งเดียว ไม่เคยไปใช้อำนาจหน้าที่ไปแสวงหาประโยชน์ โดยนโยบายกระทรวงไม่เน้นใช้เงิน แต่ใช้ปัญญาและหัวใจแก้ปัญหาการศึกษา อีกทั้งจะเห็นว่า การกล่าวหาเรื่องร่ำรวยผิดปกตินี้ ป.ป.ช.ไม่ได้เชิญข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาให้การ และในสมัยดำรงตำแหน่ง ยังไม่เคยถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือถูกร้องเรียนในประเด็นทุจริต
ส่วนเรื่องที่มาของบ้านหลังดังกล่าว ตนได้ซื้อที่ดินปี 39 ถมที่ดิน ปี 40 และก่อสร้างเสร็จปี 41 ในช่วงที่เป็นฝ่ายค้าน ก่อนดำรงตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ เรื่องนี้มีภาพถ่ายทางอากาศจากกองทัพบกยืนยันได้ รวมทั้งผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ให้การป.ป.ช. ก็ยืนยันว่า บ้านหลังนี้สร้างเสร็จ 8 เดือน
ส่วนใบเสร็จซื้อวัสดุก่อสร้าง 18 ใบ ช่วงปี 2543-44 รวม 1.4 ล้านบาท เป็นช่วงที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ต้องตกแต่งภายใน หรือในส่วนที่ต้องรื้อออก ทำใหม่ รวม 1.4 ล้านบาท แต่กลับถูกนำมาใช้ประกอบการชี้มูลร่ำรวยผิดปกติ 16 ล้านบาท ซึ่งกรรมการ ป.ป.ช. เสียงข้างน้อย ยัง
ได้มีความเห็นว่า ตนได้วางแผนการก่อสร้างตั้งแต่ซื้อที่ดินปี 39 แล้ว ไม่ใช่หาเงินไป ก่อสร้างไป โดยอาศัยหน้าที่แสวงหาประโยชน์ เพื่อสร้างบ้านดังกล่าว
" วิญญูชนทั่วไป การจะก่อสร้างบ้าน ซื้อที่ ออกแบบ ต้องรู้ว่ามีเงินพอหรือไม่ ไม่ใช่การสร้างวัด ที่ไม่พอก็ไปทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ชีวิตนักการเมือง ไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะได้รับเลือกตั้งกลับมาหรือไม่ จะได้รับเลือกเป็น รมต. หรือไม่ ผมไม่ใช่นายทุนพรรค แค่นักการเมืองบ้านนอกคนหนึ่ง ไม่สามารถกำหนดอะไรได้ จะรู้หรือว่า เดี๋ยวได้ตำแหน่งแล้ว ก่อสร้างให้เสร็จ ส่วนที่ว่าเงินมาจากไหน การเลือกตั้งแต่ละครั้ง ผมได้รับเงินสนับสนุนจากพรรคกว่า 20 ล้าน เพราะพรรคการเมืองมีนายทุน ก็จะดูว่า คนไหนมีแววได้รับเลือกสูง ถึงมีการแบ่งเป็น เกรด a b c แต่ เพราะผมเป็นคนบ้าน นอก และผูกพันกับชาวบ้าน เขาเลยสนับสนุน และก็ได้รับการเลือกตั้งมาทุกครั้ง ไม่เคยสอบตก ตั้งแต่ปี 39 เวลาเลือกตั้งเขาใช้เงินกัน ผมก็ใช้ แต่ตีตั๋วเด็ก แต่ละครั้งจึงเหลือมาตลอด และยังมีมุ้งต่างๆ คือ ผู้ใหญ่ภายในพรรค เขาอยากมีเสียงสนับสนุนให้เป็นรัฐมนตรี หรือจะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็จะดูแล สมาชิก ที่ไม่ได้เป็นนายทุนพรรค เวลาเลือกตั้ง ก็ช่วยเหลือกัน ซึ่งเหตุเกิดก่อนมีรัฐธรรมนูญปี 40 อีกทั้งการเลือกตั้งแต่ละครั้ง บางคนก็ใช้เงินสนับสนุนเยอะ บางคนก็ใช้น้อย ซ้ำร้ายบางคนกล้าสอบตก เพื่อที่จะกอดเงิน ที่ว่ารักเงินมากกว่าตำแหน่ง ผมจดไว้หมดว่าใครให้เงินมาเท่าไหร่ ไว้ทำกิจกรรมการเมือง ท่านไม่ใช่นักการเมือง ไม่รู้หรอกว่าเขาทำอย่างไร อย่าใช้ตรรกะแล้วอนุมานเอา"
ส่วนที่กล่าวหาว่า ตนกลับคำให้การนั้น ไม่ใช่เพราะจำนนต่อหลักฐาน แต่เป็นเพราะรัฐธรรมนูญประกาศใช้ใหม่ ในปี 40 และมีกฎหมายป.ป.ช. ใช้ปี 42 ท่ามกลางความใหม่ยอมรับว่า สำคัญผิดว่าทรัพย์สินที่ไม่ใช่ชื่อตนเอง ไม่ต้องแจ้ง ตนจึงไม่ได้แจ้งในกรณีเงินสด และแปรมาเป็นทรัพย์สินบางประการ โดยแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งนำไปมอบให้โรงสีวิเศษชัยชาญ เพื่อหมุนทำธุรกรรม เพราะสำนึกกตัญญูที่ยกลูกสาวให้ เนื่องจากครอบครัวตนเองและภรรยา แตกต่างสิ้นเชิง เมื่อโอนไปแล้ว จึงไม่ได้แจ้งให้ ป.ป.ช.ทราบ ซึ่งต่อมาเงินส่วนนี้ ทางโรงสีได้นำกลับมาซื้อที่ดินในการสร้างบ้าน
" ผมไม่ปฏิเสธกระบวนการประชาธิปไตย แต่ต้องขึ้นอยู่บนหลักการ ข้อเท็จจริง และความเป็นธรรมด้วย เอกสารทั้งหมดมีคำตอบว่าได้มาอย่างไร ใช้อำนาจหน้าที่หรือไม่ และได้มาเมื่อไหร่ ปรากฏการณ์เกิดขึ้นก่อนเป็นรัฐมนตรีด้วยซ้ำไป มีรายละเอียดเรื่องค่าใช้จ่าย ผู้สนับสนุนทางการเมือง และภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อตอกย้ำว่าสิ่งที่ผมแจ้ง คือข้อเท็จจริง ส่วนจะถอดถอนหรือไม่ อยู่ที่ดุลพินิจของพวกท่าน ผลเป็นอย่างไรผมยอมรับทุกกรณี แต่ไม่อยากให้การตัดสินใจของ สนช. ทำให้ต้องเสียหลักการ สังคมสูญเสียความยุติธรรม" นายสมศักดิ์ กล่าว
จากนั้น นายพีระศักดิ์ พอจิตต์ รองประธานสนช. คนที่ 2 ในฐานะประธานที่ประชุม ได้กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการซักถาม 7 คน โดยให้สนช. ยื่นญัตติตั้งคำถามได้ จนถึงวันที่ 30 ต.ค. เวลา 12.00 น. และจะนัดพิจารณาตั้งคำถาม ในวันที่ 5 พ.ย.