ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงภายหลังตรวจเยี่ยมศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิฤกตภัยแล้งระดับชาติ ถึงสถานการณ์น้ำว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ 481 แห่ง ซึ่งมีปริมาณน้ำใช้การได้ 1.98 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 39 สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในลุ่มเจ้าพระยา 4 อ่าง คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวม 4.04 พันล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22 โดยคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน จะได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 4.3 พันล้าน ลบ.ม. ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ตอนแรกที่ระดับ 3.7 พันล้านลบ.ม. อย่างไรก็ตามยังถือว่าปริมาณน้ำในลุ่มเจ้าพระยา ยังมีน้อยกว่าปี 2557 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันมีถึง 6 พันกว่าล้าน ลบ.ม.
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวต่อว่า ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลการใช้น้ำทุกมติ และรักษาปริมาณน้ำไว้เพื่ออุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ เป็นหลัก เพราะขณะนี้ยังยืนยันว่าน้ำเพื่อการเกษตร มีไม่เพียงพอให้ทำนาปรังซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคน ยังต้องลงพื้นที่ชี้แจงเกษตรกรให้เกิดความเข้าใจ อย่างต่องเนื่อง ไม่ใช่ออกไปประกาศอย่างเดียวแล้วกลับบ้านเลย ซึ่งการสร้างความเข้าใจเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยไม่จำเป็นต้องประกาศงดส่งน้ำทำนาปรังกันตลอด โดยพยายามให้เกษตรกรเข้าใจวิฤกติและหาทางแก้ไขไปด้วยกัน พร้อมกันนี้ให้นำมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลไปให้ถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และเกษตรกรที่งดเว้นปลูกข้าวนาปรังสามารถเข้าโครงการใน 8 มาตรการ ที่จะเริ่มวันที่ 1 พ.ย.นี้ โดยมีกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 4.1 แสนราย สามารถเลือกเมนู 4 ด้าน ปลูกพืชใช้น้ำน้อย อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว สัตว์ปีก กบ ปลาดุก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด พร้อมมาตรการลดค่าครองชีพ จัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้า 400 ครั้ง มาตรการจ้างงาน กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 1.6 แสนราย มาตรการตามความต้องการชุมชนที่กระทบภัยแล้งใน 77 จังหวัด 882 อำเภอ 6,816 ตำบล และมาตรการให้สินเชื่อและยกเว้นค่าเช่าในที่ดินรัฐ รวมวงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้มีพื้นที่ที่ปลูกข้าวไปแล้วทั่วประเทศทั้งนอกเขตและในเขตชลประทาน รวม 61.67 ล้านไร่ รอเก็บเกี่ยว 53.39 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 7.98 ล้านไร่ และมีพื้นที่ปลูกข้าวต่อเนื่อง 1.40 ล้านไร่ ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน ธ.ค.58-ม.ค.59 โดยจะมีการประเมินปริมาณน้ำอีกรอบสิ้นเดือนนี้ หากได้ปริมาณน้ำเกิน 4 พันล้าน ลบ.ม. คาดว่าจะส่งน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่เหล่านี้ ประมาณ 400 ล้านลบ.ม. เพื่อเลี้ยงต้นข้าวให้อยู่รอดถึงเก็บเกี่ยว โดยขณะนี้จะใช้ห้องวอร์รูมนี้ติดตามสถานการณ์ทุกวัน เพื่อดูจุดใดเก็บเกี่ยวข้าวแล้วบ้าง จุดใดต้องการน้ำเพิ่มเติม.
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวต่อว่า ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลการใช้น้ำทุกมติ และรักษาปริมาณน้ำไว้เพื่ออุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์ เป็นหลัก เพราะขณะนี้ยังยืนยันว่าน้ำเพื่อการเกษตร มีไม่เพียงพอให้ทำนาปรังซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคน ยังต้องลงพื้นที่ชี้แจงเกษตรกรให้เกิดความเข้าใจ อย่างต่องเนื่อง ไม่ใช่ออกไปประกาศอย่างเดียวแล้วกลับบ้านเลย ซึ่งการสร้างความเข้าใจเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยไม่จำเป็นต้องประกาศงดส่งน้ำทำนาปรังกันตลอด โดยพยายามให้เกษตรกรเข้าใจวิฤกติและหาทางแก้ไขไปด้วยกัน พร้อมกันนี้ให้นำมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลไปให้ถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และเกษตรกรที่งดเว้นปลูกข้าวนาปรังสามารถเข้าโครงการใน 8 มาตรการ ที่จะเริ่มวันที่ 1 พ.ย.นี้ โดยมีกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 4.1 แสนราย สามารถเลือกเมนู 4 ด้าน ปลูกพืชใช้น้ำน้อย อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว สัตว์ปีก กบ ปลาดุก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด พร้อมมาตรการลดค่าครองชีพ จัดจำหน่ายสินค้าธงฟ้า 400 ครั้ง มาตรการจ้างงาน กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 1.6 แสนราย มาตรการตามความต้องการชุมชนที่กระทบภัยแล้งใน 77 จังหวัด 882 อำเภอ 6,816 ตำบล และมาตรการให้สินเชื่อและยกเว้นค่าเช่าในที่ดินรัฐ รวมวงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้มีพื้นที่ที่ปลูกข้าวไปแล้วทั่วประเทศทั้งนอกเขตและในเขตชลประทาน รวม 61.67 ล้านไร่ รอเก็บเกี่ยว 53.39 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 7.98 ล้านไร่ และมีพื้นที่ปลูกข้าวต่อเนื่อง 1.40 ล้านไร่ ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือน ธ.ค.58-ม.ค.59 โดยจะมีการประเมินปริมาณน้ำอีกรอบสิ้นเดือนนี้ หากได้ปริมาณน้ำเกิน 4 พันล้าน ลบ.ม. คาดว่าจะส่งน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่เหล่านี้ ประมาณ 400 ล้านลบ.ม. เพื่อเลี้ยงต้นข้าวให้อยู่รอดถึงเก็บเกี่ยว โดยขณะนี้จะใช้ห้องวอร์รูมนี้ติดตามสถานการณ์ทุกวัน เพื่อดูจุดใดเก็บเกี่ยวข้าวแล้วบ้าง จุดใดต้องการน้ำเพิ่มเติม.