ASTVผู้จัดการรายวัน-สตง.ตรวจพบ สสส. มีความเสี่ยงเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน หลังมีคณะกรรมการบริหารแผนดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระ จี้ให้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคู่มือของ ก.พ.ร. เผยยังพบกิจการเพื่อสังคม ไม่บรรลุเป้าหมายเพียบ ด้านเครือข่ายองค์กรงดเหล้าผนึกกำลังเอ็นจีโอ นัดแถลงข่าวหนุน สสส. วันนี้ "วิษณุ"ระบุหากต้องปรับโครงสร้าง สสส. ก็ต้องแก้กฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ด สสส.) เรื่อง การตรวจสอบกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงวันที่ 19 ต.ค.2558 โดยระบุว่าพบการดำเนินงานของ สสส. ที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและความไม่โปร่งใส คือ
1.การจัดทำประมวลจริยธรรมไม่เป็นไปตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) โดยพบว่าระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยประมวลจริยธรรมของผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2553 ไม่มีในส่วนของคณะกรรมการต่างๆ
2.การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารแผนไม่เป็นไปตามคู่มือการบริหารและกำกับดูแลคณะกรรมการองค์การมหาชนของ ก.พ.ร. ซึ่งกำหนดให้มีวาระการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินคราวละ 4 ปี ห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ แต่จากหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ.2554 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารแผนมีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละ 3 ปี หรือตามที่บอร์ด สสส.กำหนด แต่ไม่มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง ทำให้คณะกรรมการบริหารแผนแต่ละคณะมีกรรมการบริหารแผนจำนวน 1-5 คน ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ
สตง. จึงมีข้อเสนอแนะให้ประธานบอร์ด สสส. พิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1.จัดทำประมวลจริยธรรมของคณะกรรมการต่างๆ ให้เป็นไปตามแนวทางของ ก.พ.ร. และ 2.กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารแผนและคณะกรรมการอื่นๆ ให้เป็นไปตามคู่มือของ ก.พ.ร.
นอกจากนี้ ยังพบว่า ก่อนหน้านี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ยังได้ส่งหนังสือตรวจสอบ สสส. ในประเด็นต่างๆ ส่งถึงผู้จัดการ สสส. โดยได้มีการตรวจสอบแผนงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม สสส. ในปีงบประมาณ 2553-2558 พบว่า 1.อัตราการเบิกจ่ายจริงต่ำกว่างบประมาณที่ได้รับ ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน เช่น แผนระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.2553-19 มี.ค.2555 มีการเบิกจ่ายจริงเพียง 20.18 ล้านบาทจากงบประมาณ 105.35 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.16 2.การรับรองกิจการเพื่อสังคมยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้กิจการต่างๆ เสียโอกาสในการได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เนื่องจากขาดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำขอหนังสือรับรองกิจการเพื่อสังคม
3.การดำเนินงานโครงการกองทุนสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อสังคมระยะเริ่มต้น ไม่บรรลุตามเป้าหมาย โดยพบว่า สสส.ได้อนุมัติงบประมาณ 14.90 ล้านบาท ให้กับสถาบัน Change Fusion เพื่อเป็นกองทุนต้นแบบพัฒนาศักยภาพและขยายเครือข่ายให้อยู่รอดและดำเนินธุรกิจได้นั้น ปรากฏว่าไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะมีกิจการบางส่วนไม่สามารถอยู่รอดและดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน คือมีการยกเลิกกิจการจำนวน 10 แห่งจาก 26 แห่ง และ 4.การดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมและองค์กรทางสังคม มีปัญหาความล่าช้ากว่าแผน โดยพบว่าวันที่ 31 ม.ค.2558 มีการเบิกจ่ายงบเพียง 1 แสนบาท จากทั้งหมด 35 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ทำให้โครงการอื่นที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเสียโอกาส และยังไม่มีการศึกษาข้อมูลเพื่อบริหารความเสี่ยงของการดำเนินงานให้ครบถ้วน
ทั้งนี้ สตง. มีความเห็น ดังนี้ 1.ควรควบคุมกำกับการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน พร้อมทั้งประเมินผลการจ่ายเงินโครงการอย่างสม่ำเสมอ 2.จัดเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับกิจการเพื่อสังคมตามหลักเกณฑ์ 3.กำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อติดตามโครงการโดยเฉพาะกิจการที่ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อให้ทราบสถานะของการดำเนินธุรกิจ ปัญหา แนวทางแก้ไข และการจ่ายเงินทุนหมุนเวียนให้กองทุน และ 4.พิจารณาทบทวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมและองค์กรทางสังคมโดยเร็ว เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อรัฐ นอกจากนี้ ในอนาคตควรมีการศึกษาข้อมูล เพื่อบริหารความเสี่ยงของการดำเนินงานให้ครบถ้วน
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า เรื่องกิจการเพื่อสังคม มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อดีตผู้จัดการ สสส. บริหารงานอย่างไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ เห็นได้จากมีการร้องเรียนผ่านจดหมายสนเท่ห์ และร้องเรียนไปยังศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามเฟซบุ๊กของ ทพ.กฤษดา ล่าสุด พบว่า ไม่มีการโพสต์ใดๆ มีแต่เครือข่ายต่างๆ แท็กข้อความให้กำลังใจ อาทิ เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ ทพ.กฤษดา แต่ไม่สามารถติดต่อได้
ด้าน ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า วันนี้ (22 ต.ค.) เวลา 10.30 น. กลุ่มเอ็นจีโอที่เป็นภาคีเครือข่าย สสส. เช่น เครือข่ายเหล้า แรงงาน ครอบครัว เกษตร เครือข่ายผู้หญิง และเยาวชน เป็นต้น จะมีการแถลงข่าวที่สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน สะพานหัวช้าง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการต่างๆ ว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพ และสุขภาวะอย่างไรและประชาชนได้ประโยชน์อะไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร ได้ออกแถลงการณ์ว่า จากการที่มีหลายฝ่ายเข้ามาตรวจสอบการการใช้งบประมาณของ สสส. นั้น เครือข่ายขอสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล เปิดโอกาสให้ผู้ถูกตรวจสอบได้ชี้แจง และสังคมมีส่วนร่วมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ส่วนการวินิจฉัยว่า สสส.ใช้จ่ายงบประมาณผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ต้องยึดถือตาม พ.ร.บ.สสส. และวัตถุประสงค์ 6 ข้อ และขอให้ สสส. นำเอาข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากทุกฝ่ายไปพัฒนาการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อสังคมมากขึ้น และใช้งบประมาณโดยคำนึงถึงการสร้างความเป็นธรรมและความยั่งยืนต่อสุขภาพสังคม เพิ่มบทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงาน สสส.ที่ไม่ใช่บุคลากรสายสาธารณสุขในสัดส่วนที่เหมาะสม ปรับปรุงระบบการประเมินผล การแต่งตั้งคณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี สตง. มีหนังสือให้ สสส. ปรับปรุงการการบริหารจัดการและตรวจสอบกองทุนให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามแนวทางของ ก.พ.ร. ว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้ แต่ สสส. ไม่ใช่องค์การมหาชน เพราะตั้งโดย พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ซึ่งอะไรก็ตามที่ตั้งโดยมี พ.ร.บ. จะมีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบของเขาเอง ส่วนเกณฑ์ของสำนักงาน ก.พ.ร.จะดูเฉพาะสิ่งที่เกิดจากกฎหมายแม่ คือ พ.ร.บ.แล้วไปออกกฎหมายลูก คือ พระราชกฤษฎีกาที่มีองค์กรต่างๆ อยู่ 39 แห่ง แต่ สสส.และตระกูล ส.ทั้งหลายไม่ได้อยู่ในนี้ และจะทำให้อยู่ในนี้ไม่ได้ ยกเว้นต้องแก้กฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำงานของ สสส.ที่ผ่านมา จำเป็นต้องปรับโครงสร้างหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เอาไว้ให้คนที่เขาศึกษาเรื่องนี้อยู่ เขาคงจะพูดคุยกันต่อ หากต้องปรับโครงสร้าง ก็ต้องแก้กฎหมาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึงประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ด สสส.) เรื่อง การตรวจสอบกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลงวันที่ 19 ต.ค.2558 โดยระบุว่าพบการดำเนินงานของ สสส. ที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและความไม่โปร่งใส คือ
1.การจัดทำประมวลจริยธรรมไม่เป็นไปตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) โดยพบว่าระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยประมวลจริยธรรมของผู้จัดการและเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2553 ไม่มีในส่วนของคณะกรรมการต่างๆ
2.การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารแผนไม่เป็นไปตามคู่มือการบริหารและกำกับดูแลคณะกรรมการองค์การมหาชนของ ก.พ.ร. ซึ่งกำหนดให้มีวาระการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินคราวละ 4 ปี ห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ แต่จากหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินเพื่อการสนับสนุนโครงการและกิจกรรม พ.ศ.2554 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารแผนมีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละ 3 ปี หรือตามที่บอร์ด สสส.กำหนด แต่ไม่มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง ทำให้คณะกรรมการบริหารแผนแต่ละคณะมีกรรมการบริหารแผนจำนวน 1-5 คน ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระ
สตง. จึงมีข้อเสนอแนะให้ประธานบอร์ด สสส. พิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1.จัดทำประมวลจริยธรรมของคณะกรรมการต่างๆ ให้เป็นไปตามแนวทางของ ก.พ.ร. และ 2.กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารแผนและคณะกรรมการอื่นๆ ให้เป็นไปตามคู่มือของ ก.พ.ร.
นอกจากนี้ ยังพบว่า ก่อนหน้านี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ยังได้ส่งหนังสือตรวจสอบ สสส. ในประเด็นต่างๆ ส่งถึงผู้จัดการ สสส. โดยได้มีการตรวจสอบแผนงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม สสส. ในปีงบประมาณ 2553-2558 พบว่า 1.อัตราการเบิกจ่ายจริงต่ำกว่างบประมาณที่ได้รับ ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน เช่น แผนระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.2553-19 มี.ค.2555 มีการเบิกจ่ายจริงเพียง 20.18 ล้านบาทจากงบประมาณ 105.35 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.16 2.การรับรองกิจการเพื่อสังคมยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้กิจการต่างๆ เสียโอกาสในการได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เนื่องจากขาดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำขอหนังสือรับรองกิจการเพื่อสังคม
3.การดำเนินงานโครงการกองทุนสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่อสังคมระยะเริ่มต้น ไม่บรรลุตามเป้าหมาย โดยพบว่า สสส.ได้อนุมัติงบประมาณ 14.90 ล้านบาท ให้กับสถาบัน Change Fusion เพื่อเป็นกองทุนต้นแบบพัฒนาศักยภาพและขยายเครือข่ายให้อยู่รอดและดำเนินธุรกิจได้นั้น ปรากฏว่าไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะมีกิจการบางส่วนไม่สามารถอยู่รอดและดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน คือมีการยกเลิกกิจการจำนวน 10 แห่งจาก 26 แห่ง และ 4.การดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมและองค์กรทางสังคม มีปัญหาความล่าช้ากว่าแผน โดยพบว่าวันที่ 31 ม.ค.2558 มีการเบิกจ่ายงบเพียง 1 แสนบาท จากทั้งหมด 35 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ทำให้โครงการอื่นที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเสียโอกาส และยังไม่มีการศึกษาข้อมูลเพื่อบริหารความเสี่ยงของการดำเนินงานให้ครบถ้วน
ทั้งนี้ สตง. มีความเห็น ดังนี้ 1.ควรควบคุมกำกับการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน พร้อมทั้งประเมินผลการจ่ายเงินโครงการอย่างสม่ำเสมอ 2.จัดเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับกิจการเพื่อสังคมตามหลักเกณฑ์ 3.กำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อติดตามโครงการโดยเฉพาะกิจการที่ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อให้ทราบสถานะของการดำเนินธุรกิจ ปัญหา แนวทางแก้ไข และการจ่ายเงินทุนหมุนเวียนให้กองทุน และ 4.พิจารณาทบทวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมและองค์กรทางสังคมโดยเร็ว เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อรัฐ นอกจากนี้ ในอนาคตควรมีการศึกษาข้อมูล เพื่อบริหารความเสี่ยงของการดำเนินงานให้ครบถ้วน
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า เรื่องกิจการเพื่อสังคม มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อดีตผู้จัดการ สสส. บริหารงานอย่างไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ เห็นได้จากมีการร้องเรียนผ่านจดหมายสนเท่ห์ และร้องเรียนไปยังศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามเฟซบุ๊กของ ทพ.กฤษดา ล่าสุด พบว่า ไม่มีการโพสต์ใดๆ มีแต่เครือข่ายต่างๆ แท็กข้อความให้กำลังใจ อาทิ เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ ทพ.กฤษดา แต่ไม่สามารถติดต่อได้
ด้าน ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า วันนี้ (22 ต.ค.) เวลา 10.30 น. กลุ่มเอ็นจีโอที่เป็นภาคีเครือข่าย สสส. เช่น เครือข่ายเหล้า แรงงาน ครอบครัว เกษตร เครือข่ายผู้หญิง และเยาวชน เป็นต้น จะมีการแถลงข่าวที่สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน สะพานหัวช้าง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการต่างๆ ว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพ และสุขภาวะอย่างไรและประชาชนได้ประโยชน์อะไร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร ได้ออกแถลงการณ์ว่า จากการที่มีหลายฝ่ายเข้ามาตรวจสอบการการใช้งบประมาณของ สสส. นั้น เครือข่ายขอสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล เปิดโอกาสให้ผู้ถูกตรวจสอบได้ชี้แจง และสังคมมีส่วนร่วมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
ส่วนการวินิจฉัยว่า สสส.ใช้จ่ายงบประมาณผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ต้องยึดถือตาม พ.ร.บ.สสส. และวัตถุประสงค์ 6 ข้อ และขอให้ สสส. นำเอาข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากทุกฝ่ายไปพัฒนาการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อสังคมมากขึ้น และใช้งบประมาณโดยคำนึงถึงการสร้างความเป็นธรรมและความยั่งยืนต่อสุขภาพสังคม เพิ่มบทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนงาน สสส.ที่ไม่ใช่บุคลากรสายสาธารณสุขในสัดส่วนที่เหมาะสม ปรับปรุงระบบการประเมินผล การแต่งตั้งคณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี สตง. มีหนังสือให้ สสส. ปรับปรุงการการบริหารจัดการและตรวจสอบกองทุนให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามแนวทางของ ก.พ.ร. ว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้ แต่ สสส. ไม่ใช่องค์การมหาชน เพราะตั้งโดย พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ซึ่งอะไรก็ตามที่ตั้งโดยมี พ.ร.บ. จะมีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบของเขาเอง ส่วนเกณฑ์ของสำนักงาน ก.พ.ร.จะดูเฉพาะสิ่งที่เกิดจากกฎหมายแม่ คือ พ.ร.บ.แล้วไปออกกฎหมายลูก คือ พระราชกฤษฎีกาที่มีองค์กรต่างๆ อยู่ 39 แห่ง แต่ สสส.และตระกูล ส.ทั้งหลายไม่ได้อยู่ในนี้ และจะทำให้อยู่ในนี้ไม่ได้ ยกเว้นต้องแก้กฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำงานของ สสส.ที่ผ่านมา จำเป็นต้องปรับโครงสร้างหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เอาไว้ให้คนที่เขาศึกษาเรื่องนี้อยู่ เขาคงจะพูดคุยกันต่อ หากต้องปรับโครงสร้าง ก็ต้องแก้กฎหมาย