ASTVผู้จัดการรายวัน- "ปิยสวสัสดิ์" เผยปตท.MOU กับปิโตรนาส มาเลเซียเพื่อเตรียมทำสัญญาระยะยาวนำเข้า LNG อีก 1 ล้านตัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น รอลุ้นกระทรวงพลังงานไฟเขียวสร้างคลัง LNG แห่งที่ 3 ย้ำระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติทั้งท่อและคลัง LNG ปตท.ควรเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวเพื่อความมั่นคงของระบบบริหารจัดการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ปตท.ได้ลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (MOU) กับ ปิโตรนาส แห่งมาเลเซีย เพื่อเตรียมพร้อมทำสัญญาระยะยาวนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) อีก 1 ล้านตัน/ปีหลังจากก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบให้ นำเข้ารายละ 1 ล้านตัน/ปี จากกาตาร์แก๊ส,เชลล์ และบีพีไปแล้ว ซึ่งตามแผน ปตท.ต้องจัดหาด้วยการทำสัญญาระยะยาวประมาณ 70% และการซื้อในราคาตลาดจร 30%
ปัจจุบันปตท.อยู่ในระหว่างการก่อสร้างสถานีรับ LNG ระยะที่ 2 ปริมาณ 5 ล้านตัน ในพื้นที่เดียวกับระยะที่ 1 รวมสามารถรับก๊าซได้ 10 ล้านตัน/ปี และวางแผนก่อสร้างสถานีรับ LNG ที่ 3 แต่ทางกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการพิจาณาว่าจะให้ ปตท.สร้างหรือไม่ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ได้เสนอสร้างสถานีรับ LNGเฉพาะโรงไฟฟ้าเอง เช่น โรงไฟฟ้าบางปะกง
"ขณะนี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)ได้จัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสถานีLNG แก่บุคคลที่ 3 ซึ่งจะทำให้มีการเปิดให้บริการกับผู้ใช้รายอื่นๆ ซึ่งเห็นว่าการให้บริการโครงข่ายก๊าซทั้งท่อและคลังLNG ควรเป็นผู้ให้บริการรายเดียวเพื่อให้เชื่อมต่อทั้งระบบป้องกันความสับสน เพราะไทยไม่ได้มีการนำเข้าที่สูงและคนใช้บริการก็ไม่ได้มากเหมือนยุโรปซึ่งกฟผ.ต้องการLNGราคาถูกก็ซื้อรายอื่นแล้วผ่านระบบโครงข่ายของปตท. จะทำให้ระบบมีความมั่นคงมากกว่า"นายปิยสวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ก่อนหน้ากพช.เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี 2015 )ปี 2558-2579 ประมาณการความต้องการก๊าซธรรมชาติและการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ในระยะยาว (ปี 2558 - 2579) ของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันความต้องการก๊าซของไทยอยู่ที่ 4,714ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่จากแผนลดการใช้ก๊าซและเพิ่มการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า รวมไปถึงแผนประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่คาดว่าจะมีการลด30% ในแผนพีดีพี 2015 จึงคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซในปี2579จะลดลงอยู่ที่ประมาณ 4,344 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อย่างไรก็ตามหากก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ก็คาดว่าต้องใช้ก๊าซที่ระดับประมาณ 5,652 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี2579
ดังนั้นจำนวนดังกล่าวคาดว่าจำเป็นต้องนำเข้า LNG อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของแหล่งในประเทศมีจำกัดและลดลงตามอายุการผลิต ประกอบกับเมียนมามีนโยบายที่จะไม่ส่งออกก๊าซธรรมชาติมายังประเทศไทยเพิ่มเติมทำให้ในปี 2579 คาดว่าจะต้องนำเข้า LNG สูงถึงประมาณ 31.4 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 4,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ภายใต้กรณีที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุด หรือ Most likely caseที่โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่สามารถสร้างได้ตามแผน)
นายปิยสวัสด์ยังกล่าวถึง ระดับราคาน้ำมันที่ลดลงกระทบต่อผลการดำเนินการของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่ธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นยังไปได้ดี และในอนาคต ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังเพิ่มสูงขึ้น ไทยยังจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้ารองรับความมั่นคงด้านพลังงาน ดังนั้น ความจำเป็นต้องสร้างโครงข่ายก๊าซธรรมชาติรองรับการนำเข้าLNGยังจำเป็น บอร์ด ปตท.จึงเห็นเสนอแผนลงทุนรวม 2 แสนล้านบาทใน 5 ปีไปก่อนหน้านี้แล้ว
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ปตท.ได้ลงนามข้อตกลงเบื้องต้น (MOU) กับ ปิโตรนาส แห่งมาเลเซีย เพื่อเตรียมพร้อมทำสัญญาระยะยาวนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) อีก 1 ล้านตัน/ปีหลังจากก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบให้ นำเข้ารายละ 1 ล้านตัน/ปี จากกาตาร์แก๊ส,เชลล์ และบีพีไปแล้ว ซึ่งตามแผน ปตท.ต้องจัดหาด้วยการทำสัญญาระยะยาวประมาณ 70% และการซื้อในราคาตลาดจร 30%
ปัจจุบันปตท.อยู่ในระหว่างการก่อสร้างสถานีรับ LNG ระยะที่ 2 ปริมาณ 5 ล้านตัน ในพื้นที่เดียวกับระยะที่ 1 รวมสามารถรับก๊าซได้ 10 ล้านตัน/ปี และวางแผนก่อสร้างสถานีรับ LNG ที่ 3 แต่ทางกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการพิจาณาว่าจะให้ ปตท.สร้างหรือไม่ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ได้เสนอสร้างสถานีรับ LNGเฉพาะโรงไฟฟ้าเอง เช่น โรงไฟฟ้าบางปะกง
"ขณะนี้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์)ได้จัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสถานีLNG แก่บุคคลที่ 3 ซึ่งจะทำให้มีการเปิดให้บริการกับผู้ใช้รายอื่นๆ ซึ่งเห็นว่าการให้บริการโครงข่ายก๊าซทั้งท่อและคลังLNG ควรเป็นผู้ให้บริการรายเดียวเพื่อให้เชื่อมต่อทั้งระบบป้องกันความสับสน เพราะไทยไม่ได้มีการนำเข้าที่สูงและคนใช้บริการก็ไม่ได้มากเหมือนยุโรปซึ่งกฟผ.ต้องการLNGราคาถูกก็ซื้อรายอื่นแล้วผ่านระบบโครงข่ายของปตท. จะทำให้ระบบมีความมั่นคงมากกว่า"นายปิยสวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ก่อนหน้ากพช.เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี 2015 )ปี 2558-2579 ประมาณการความต้องการก๊าซธรรมชาติและการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ในระยะยาว (ปี 2558 - 2579) ของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันความต้องการก๊าซของไทยอยู่ที่ 4,714ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่จากแผนลดการใช้ก๊าซและเพิ่มการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า รวมไปถึงแผนประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่คาดว่าจะมีการลด30% ในแผนพีดีพี 2015 จึงคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซในปี2579จะลดลงอยู่ที่ประมาณ 4,344 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน อย่างไรก็ตามหากก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้ก็คาดว่าต้องใช้ก๊าซที่ระดับประมาณ 5,652 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปี2579
ดังนั้นจำนวนดังกล่าวคาดว่าจำเป็นต้องนำเข้า LNG อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของแหล่งในประเทศมีจำกัดและลดลงตามอายุการผลิต ประกอบกับเมียนมามีนโยบายที่จะไม่ส่งออกก๊าซธรรมชาติมายังประเทศไทยเพิ่มเติมทำให้ในปี 2579 คาดว่าจะต้องนำเข้า LNG สูงถึงประมาณ 31.4 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 4,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ภายใต้กรณีที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุด หรือ Most likely caseที่โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่สามารถสร้างได้ตามแผน)
นายปิยสวัสด์ยังกล่าวถึง ระดับราคาน้ำมันที่ลดลงกระทบต่อผลการดำเนินการของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่ธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นยังไปได้ดี และในอนาคต ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังเพิ่มสูงขึ้น ไทยยังจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้ารองรับความมั่นคงด้านพลังงาน ดังนั้น ความจำเป็นต้องสร้างโครงข่ายก๊าซธรรมชาติรองรับการนำเข้าLNGยังจำเป็น บอร์ด ปตท.จึงเห็นเสนอแผนลงทุนรวม 2 แสนล้านบาทใน 5 ปีไปก่อนหน้านี้แล้ว