วานนี้ (7ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ว่า การประชุมนี้ เพื่อการเตรียมการพัฒนาประเทศในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ หรือแผนการปฏิบัติงานสหประชาชาติที่ตนได้ไปประชุมมา ซึ่งจากเดิมทั้งหมด 8 เป้าประสงค์ 167 ทาร์เก็ต ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา วันนี้เพิ่มเป็น 17 เป้าประสงค์ ซึ่งมีหลายสาขา ที่จะต้องพัฒนาร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งตนได้ใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อธิบายให้นานาประเทศรับทราบว่า เราดำเนินการอย่างไรในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ต่ำ เป็นประเทศรายได้ปานกลาง โดยส่งเสริมภาคประชาชนให้เกิดความเข้มแข็ง ช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งก็ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น และหลุดพ้นความยากจนมาได้
ขณะเดียวกันในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เป็นการปรับปรุงเศรษฐกิจแนวใหม่ของประเทศไทย มีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น กระทั่งมีโรงงานต่างๆ ทำให้เราหลุดพ้นความยากจน แต่วันนี้ปัญหาของเราคือ จากวันนั้นถึงวันนี้ เราไม่เคยจัดทำแผนเศรษฐกิจพัฒนาที่ยั่งยืน จึงทำให้เศรษฐกิจที่เราเริ่มมาแล้ว 30 ปี มีการปรับปรุงให้เกิดความทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยี วิจัยพัฒนา สร้างนวัตกรรมน้อยมาก จึงทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เขามีตัวเลขในการพัฒนาสูงขึ้น เพราะเขาพัฒนาจากฐานที่พัฒนามาน้อยกว่าเราในช่วงอดีตที่ผ่านมา เพราะเราเป็นฐานการลงทุนมาก่อน แต่วันนี้ฐานการลงทุนเปลี่ยนไป เพราะสิทธิประโยชน์ ในประเทศเพื่อนบ้านเขาให้มากขึ้น ขณะที่เราติดขัดหลายๆ อย่าง ให้ไม่ได้ขนาดนั้น
ฉะนั้น วันนี้เราต้องปรับเศรษฐกิจของเราใหม่ การจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 3 เสาหลัก สอดคล้องสหประชาชาติ คือ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ตรงนี้ต้องดำเนินการให้ได้
นายกฯ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมครั้งนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อที่จะดำเนินการให้ได้ และจะต้องเดินยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยใน 20 ปีข้างหน้า ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีประมาณ 6 ด้าน แต่จะเดินได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญที่จะเขียนออกมา และทำให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อน ต่อจากที่รัฐบาลทำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งวันหน้าต้องทำทั้งเรื่องการบริหาราชการแผ่นเดินในแนวใหม่ มีการบูรณาการ พัฒนาอย่างยั่งยืน และการสร้างความปรองดอง สร้างความสามัคคีคนในชาติ สร้างอุดมการณ์ อันนี้คือปรองดองอันที่หนึ่ง ส่วนปรองดองที่สองเป็นเรื่อง ของคดีความทางการเมืองต่างๆ เป็นปรองดองสองอย่างที่ต้องทำต่อในวันหน้า
" สำหรับการปรองดองของคดีที่ว่ากันในเรื่องนิรโทษกรรม ที่พูดกัน ผมยังไม่รู้ว่าจะไปได้แค่ไหน แต่ผมวางเป้าหมายหลักๆไว้ หนึ่ง-สอง-สาม โดยระยะที่หนึ่ง คือ คนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและมีการตัดสินแล้ว อันนี้ต้องพิจารณาก่อน อันที่สอง ที่กำลังอยู่ในกระบวนการ เมื่อได้ข้อยุติมาแล้ว ก็นำมาพิจารณาต่อ ส่วนที่สาม ใครที่ยังหลบหนีอยู่ ไม่เข้ากระบวนการยุติธรรม ก็ปรองดองไม่ได้อยู่แล้ว มันต้องเอากฎหมายมาเป็นเกณฑ์ไม่ใช่เอาตามความพอใจ ผมไม่ชอบให้ใครมาขู่ว่า ถ้าไม่ปรองดองแล้วไม่สงบ ก็ลองดูสิ กฎหมายเขามีไว้ทำอะไร มีไว้ให้ดูถูก มีไว้ให้เล่นหรือ" นายกฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาอยู่ตรงที่คนไม่รับขบวนการตัดสิน แล้วหนีไปอยู่ต่างประเทศ นายกฯ กล่าวว่า อยู่ต่างประเทศแล้วในประเทศไม่มีเลยหรือ ที่ไม่ค่อยปฏิบัติตามกฎหมาย พอจะทำอะไรก็อ้างเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งสิทธิมนุษยชนไม่ได้หมายความว่า ให้คนทำผิดกฎหมายได้ แต่สิทธิมนุษยชน เขาทำให้ดูแลสิทธิของผู้บริสุทธิ์ ไม่มีความผิด ถูกรังแก และเป็นไปตามประชาคมโลก แต่บ้านเรามีกฎหมายอยู่ ถ้ากฎหมายประกาศไปแล้วถ้าทำผิด ก็ถือว่าผิดกฎหมาย แต่พอทำไม่ได้ เพราะไม่ชอบทำตามกฎหมาย ทุกคนต้องมีสิทธิ์เท่าเทียม ทำอะไรก็ได้ เสรีภาพทุกอย่าง
"ถ้าแบบนี้ไม่มีทำอะไรได้ ทุกเรื่อง พัฒนาอะไรก็ไม่ได้ เศรษฐกิจมันก็เป็นอยู่อย่างนี้ แก้ไม่ได้ วันข้างหน้าก็เป็นอยู่อย่างนี้ แถมความขัดแย้ง ก็จะเกิดขึ้นมาอีก เพราะไม่ยุติกัน ทุกคนไม่มอง ไม่นึกถึงประเทศชาติ มันก็จบแค่นี้ มันมีคนสองข้างทะเลาะกันอยู่แล้ว ข้างที่สามก็มาประชาธิปไตย สรุปก็เหมือนเดิม และจะเอายังไงกับผมก็ไม่รู้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พร้อมกับถามสื่อว่า จะเอาอะไรอีกล่ะ ขณะที่สื่อตอบว่า พอแล้ว ทำให้นายกฯ ถึงกับกล่าวว่า “เอ้อ ขอบคุณเว้ย วันนี้ทำงานเยอะแล้ว เมื่อเช้าก็ประชุมเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องอะไรมาเยอะแยะ การประชุมวันนี้ได้บอกไปว่าต้องอธิบายให้สังคม โลกเข้าใจเรื่องการขับเคลื่อนจี 77 โดยวันนี้ได้สั่งการกระทรวงการต่างประเทศให้เป็นหลักในการจัดทำแผน ทำโรดแมป ว่าเราจะประชุมกับเขาอย่างไร ขับเคลื่อนด้วยวิธีไหน เข้าใจไหม" นายกฯกล่าวพร้อมกับโค้งตัว ขอบคุณ ครับ
ขณะเดียวกันในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เป็นการปรับปรุงเศรษฐกิจแนวใหม่ของประเทศไทย มีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น กระทั่งมีโรงงานต่างๆ ทำให้เราหลุดพ้นความยากจน แต่วันนี้ปัญหาของเราคือ จากวันนั้นถึงวันนี้ เราไม่เคยจัดทำแผนเศรษฐกิจพัฒนาที่ยั่งยืน จึงทำให้เศรษฐกิจที่เราเริ่มมาแล้ว 30 ปี มีการปรับปรุงให้เกิดความทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยี วิจัยพัฒนา สร้างนวัตกรรมน้อยมาก จึงทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เขามีตัวเลขในการพัฒนาสูงขึ้น เพราะเขาพัฒนาจากฐานที่พัฒนามาน้อยกว่าเราในช่วงอดีตที่ผ่านมา เพราะเราเป็นฐานการลงทุนมาก่อน แต่วันนี้ฐานการลงทุนเปลี่ยนไป เพราะสิทธิประโยชน์ ในประเทศเพื่อนบ้านเขาให้มากขึ้น ขณะที่เราติดขัดหลายๆ อย่าง ให้ไม่ได้ขนาดนั้น
ฉะนั้น วันนี้เราต้องปรับเศรษฐกิจของเราใหม่ การจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 3 เสาหลัก สอดคล้องสหประชาชาติ คือ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ตรงนี้ต้องดำเนินการให้ได้
นายกฯ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมครั้งนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อที่จะดำเนินการให้ได้ และจะต้องเดินยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทยใน 20 ปีข้างหน้า ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีประมาณ 6 ด้าน แต่จะเดินได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญที่จะเขียนออกมา และทำให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อน ต่อจากที่รัฐบาลทำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งวันหน้าต้องทำทั้งเรื่องการบริหาราชการแผ่นเดินในแนวใหม่ มีการบูรณาการ พัฒนาอย่างยั่งยืน และการสร้างความปรองดอง สร้างความสามัคคีคนในชาติ สร้างอุดมการณ์ อันนี้คือปรองดองอันที่หนึ่ง ส่วนปรองดองที่สองเป็นเรื่อง ของคดีความทางการเมืองต่างๆ เป็นปรองดองสองอย่างที่ต้องทำต่อในวันหน้า
" สำหรับการปรองดองของคดีที่ว่ากันในเรื่องนิรโทษกรรม ที่พูดกัน ผมยังไม่รู้ว่าจะไปได้แค่ไหน แต่ผมวางเป้าหมายหลักๆไว้ หนึ่ง-สอง-สาม โดยระยะที่หนึ่ง คือ คนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและมีการตัดสินแล้ว อันนี้ต้องพิจารณาก่อน อันที่สอง ที่กำลังอยู่ในกระบวนการ เมื่อได้ข้อยุติมาแล้ว ก็นำมาพิจารณาต่อ ส่วนที่สาม ใครที่ยังหลบหนีอยู่ ไม่เข้ากระบวนการยุติธรรม ก็ปรองดองไม่ได้อยู่แล้ว มันต้องเอากฎหมายมาเป็นเกณฑ์ไม่ใช่เอาตามความพอใจ ผมไม่ชอบให้ใครมาขู่ว่า ถ้าไม่ปรองดองแล้วไม่สงบ ก็ลองดูสิ กฎหมายเขามีไว้ทำอะไร มีไว้ให้ดูถูก มีไว้ให้เล่นหรือ" นายกฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาอยู่ตรงที่คนไม่รับขบวนการตัดสิน แล้วหนีไปอยู่ต่างประเทศ นายกฯ กล่าวว่า อยู่ต่างประเทศแล้วในประเทศไม่มีเลยหรือ ที่ไม่ค่อยปฏิบัติตามกฎหมาย พอจะทำอะไรก็อ้างเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งสิทธิมนุษยชนไม่ได้หมายความว่า ให้คนทำผิดกฎหมายได้ แต่สิทธิมนุษยชน เขาทำให้ดูแลสิทธิของผู้บริสุทธิ์ ไม่มีความผิด ถูกรังแก และเป็นไปตามประชาคมโลก แต่บ้านเรามีกฎหมายอยู่ ถ้ากฎหมายประกาศไปแล้วถ้าทำผิด ก็ถือว่าผิดกฎหมาย แต่พอทำไม่ได้ เพราะไม่ชอบทำตามกฎหมาย ทุกคนต้องมีสิทธิ์เท่าเทียม ทำอะไรก็ได้ เสรีภาพทุกอย่าง
"ถ้าแบบนี้ไม่มีทำอะไรได้ ทุกเรื่อง พัฒนาอะไรก็ไม่ได้ เศรษฐกิจมันก็เป็นอยู่อย่างนี้ แก้ไม่ได้ วันข้างหน้าก็เป็นอยู่อย่างนี้ แถมความขัดแย้ง ก็จะเกิดขึ้นมาอีก เพราะไม่ยุติกัน ทุกคนไม่มอง ไม่นึกถึงประเทศชาติ มันก็จบแค่นี้ มันมีคนสองข้างทะเลาะกันอยู่แล้ว ข้างที่สามก็มาประชาธิปไตย สรุปก็เหมือนเดิม และจะเอายังไงกับผมก็ไม่รู้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว พร้อมกับถามสื่อว่า จะเอาอะไรอีกล่ะ ขณะที่สื่อตอบว่า พอแล้ว ทำให้นายกฯ ถึงกับกล่าวว่า “เอ้อ ขอบคุณเว้ย วันนี้ทำงานเยอะแล้ว เมื่อเช้าก็ประชุมเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องอะไรมาเยอะแยะ การประชุมวันนี้ได้บอกไปว่าต้องอธิบายให้สังคม โลกเข้าใจเรื่องการขับเคลื่อนจี 77 โดยวันนี้ได้สั่งการกระทรวงการต่างประเทศให้เป็นหลักในการจัดทำแผน ทำโรดแมป ว่าเราจะประชุมกับเขาอย่างไร ขับเคลื่อนด้วยวิธีไหน เข้าใจไหม" นายกฯกล่าวพร้อมกับโค้งตัว ขอบคุณ ครับ