ASTVผู้จัดการรายวัน - ภาคเอกชนชงแผนยุทธศาสตร์ไบโอ ฮับเสนอรัฐ หวังผลักดันเป็นวาระแห่งชาติเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้พ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ดันภาคเอกชนเป็นหลักในการลงทุน โดยมีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนด้านนโยบายและความช่วยเหลือในระยะต้น
นางประไพ นำธวัช ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจรในระดับโลก (Bio Hub) ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งด้านนโยบาย การส่งเสริมการลงทุน และการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการผลิตภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และธุรกิจเพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและชีวมวลให้เป็นพลังงาน ด้วยการบูรณาการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและมีความคุ้มค่า
ดังน้นการจัดตั้งไบโอฮับ ควรอยู่ในพื้นที่เดียวกันเป็นคอมเพล็กซ์และอยู่ในแหล่งวัตถุดิบ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในนิคมฯ อย่างไรก็ตามอุปสรรคของการพัฒนาไบโอฮับ คือการขาดแผนแม่บทในการพัฒนาฯ นโยบายการดึงดูดการลงทุน เทคโนโลยี และหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการพัฒนาอุตสาหกรรม นอกจากนี้ตลาดไบโอเป็นตลาดใหม่ที่ต้องทำตลาดสร้างความต้องการใช้ ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องสนับสนุนให้เกิดความต้องการใช้ภายในประเทศด้วย
สำหรับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพให้เป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ภาคการเกษตร จำเป็นต้องบรรจุเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพให้เป็นแผนเร่งด่วน (ปี 2558-2559) ผ่านทางคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) และระยะยาวให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งชาติ ให้ภาคเอกชนเป็นแกนหลักในการผลักดันการลงทุน โดยมีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนด้านนโยบายและความช่วยเหลือในระยะต้น
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะเสนอรัฐบาลชุดใหม่เพื่อพิจารณารับฟังความคิดเห็นแนวทางแผนส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาBio Hub ดังกล่าวในวันที่ 26 ส.ค.นี้ แล้วนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุงแนวทางเพื่อผลักดันให้แผนยุทธศาสตร์ขวาระแห่งชาติ มีส่วนช่วยให้ไทยพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง(Middle Income Trap) ไปสู่ประเทศที่ประชากรมีรายได้สูง 1.5 หมื่นเหรียญสหรัฐ/คน/ปี
นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนเห็นความสำคัญที่จะต้องเร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบไบโอฮับ และสนับสนุนให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในการลงทุนสูง เนื่องจากเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการผลิตมีราคาสูงและผูกขาดโดยเจ้าของเทคโนโลยี
ซึ่งงไทยต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จึงต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากภาครัฐในระยะเริ่มต้นในหลายๆด้าน โดยให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกแก่ผู้บริโภคและการสร้างตลาดสำหรับสินค้าชีวภาพ
นางประไพ นำธวัช ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำอุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจรในระดับโลก (Bio Hub) ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งด้านนโยบาย การส่งเสริมการลงทุน และการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการผลิตภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และธุรกิจเพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและชีวมวลให้เป็นพลังงาน ด้วยการบูรณาการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและมีความคุ้มค่า
ดังน้นการจัดตั้งไบโอฮับ ควรอยู่ในพื้นที่เดียวกันเป็นคอมเพล็กซ์และอยู่ในแหล่งวัตถุดิบ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในนิคมฯ อย่างไรก็ตามอุปสรรคของการพัฒนาไบโอฮับ คือการขาดแผนแม่บทในการพัฒนาฯ นโยบายการดึงดูดการลงทุน เทคโนโลยี และหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการพัฒนาอุตสาหกรรม นอกจากนี้ตลาดไบโอเป็นตลาดใหม่ที่ต้องทำตลาดสร้างความต้องการใช้ ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องสนับสนุนให้เกิดความต้องการใช้ภายในประเทศด้วย
สำหรับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพให้เป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ภาคการเกษตร จำเป็นต้องบรรจุเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพให้เป็นแผนเร่งด่วน (ปี 2558-2559) ผ่านทางคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) และระยะยาวให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งชาติ ให้ภาคเอกชนเป็นแกนหลักในการผลักดันการลงทุน โดยมีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนด้านนโยบายและความช่วยเหลือในระยะต้น
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะเสนอรัฐบาลชุดใหม่เพื่อพิจารณารับฟังความคิดเห็นแนวทางแผนส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาBio Hub ดังกล่าวในวันที่ 26 ส.ค.นี้ แล้วนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุงแนวทางเพื่อผลักดันให้แผนยุทธศาสตร์ขวาระแห่งชาติ มีส่วนช่วยให้ไทยพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง(Middle Income Trap) ไปสู่ประเทศที่ประชากรมีรายได้สูง 1.5 หมื่นเหรียญสหรัฐ/คน/ปี
นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนเห็นความสำคัญที่จะต้องเร่งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมในรูปแบบไบโอฮับ และสนับสนุนให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในการลงทุนสูง เนื่องจากเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการผลิตมีราคาสูงและผูกขาดโดยเจ้าของเทคโนโลยี
ซึ่งงไทยต้องนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จึงต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากภาครัฐในระยะเริ่มต้นในหลายๆด้าน โดยให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกแก่ผู้บริโภคและการสร้างตลาดสำหรับสินค้าชีวภาพ