วานนี้ (13 ก.ย.) กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปราง กลุ่มพิษณุโลกฟอรั่ม เครือข่ายภาคประชาชน พร้อมกับชาวบ้านในเขต อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ได้จัดกิจกรรม “Bike for เนินมะปราง” ภายใต้แนวคิดปั่นเพื่ออนาคต ปั่นเพื่อรักษาทรัพยากร ปั่นเพื่อบอกว่าชาว อ.เนินมะปราง ไม่ต้องการเหมืองแร่ทองคำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นว่า ตลอดสองข้างทางของ อ.เนินมะปราง ในเส้นทางที่ปั่นจักรยานผ่านยังเป็นถิ่นอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีป่าต้นน้ำ และอาชีพเกษตรกรรมที่ควรหวงแหน
ทั้งนี้กิจกรรมการขี่จักรยานเริ่มจากโรงเรียนบ้านวังโพรง ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก มายังเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล อ.เนินมะปราง ระยะทาง 35 กิโลเมตร โดยมีกลุ่มนักปั่นจักยานทั้งในพื้นที่ ในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 400 คัน หลังจากที่ได้เสร็จสิ้นการปั่นจักรยาน ได้ร่วมกันทำกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “เนินมะปราง มั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน”
นางรจนา นันทกิจ แกนนำเครือข่ายกลุ่มบ้านเขาเขียว ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง กล่าวว่า เหตุผลที่จัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อต้องการสะท้อนให้บรรดานักปั่นจักรยาน ได้เห็นถึงทัศนียภาพ ความสวยงาม ความอุมดมสมบูรณ์ของพื้นที่ อ.เนินมะปราง โดยเฉพาะ บ้านเขาเขียวแห่งนี้ ที่กำลังได้รับให้สัมปทานเหมืองแร่ท้องคำ เหตุผลที่ต้องออกมาคัดค้าน เพราะจากบทเรียนผลกระทบต่อการทำเหมืองทองคำที่พิจิตร ทั้งสภาพแวดล้อม ประชาชน ยังไม่ได้รับการแก้ไข เป็นนโยบายที่ไม่คุ้มทุน ผู้ได้สิทธิ์มาลงทุนมาดำเนินการขุดแร่ทองคำได้มูลค่า 6,000 ล้านบาท แต่ภาครัฐได้คืนมาได้ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท
"ที่ดินในเขต อ.เนินมะปราง ชาวบ้านได้ทำการเกษตรมานานแล้ว หากเปิดให้มีการทำเหมืองทองคำ จะเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ที่ไม่สามารถเรียกร้องเอากลับคืนมาได้ เฉพาะในเขต อ.เนินมะปราง มีเทือกเขาหินปูนที่สวยงามอย่างมาก ทั้งนี้ขอบเขตของการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล จาก 7 ตำบลในเขต อ.เนินมะปราง ยกเว้นตำบลเนินมะปราง กับ ตำบลชมพู หากมีการมาลงทุนทำเหมืองแร่ทองคำในเขต อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก จะส่งผลกระทบกับชาว อ.เนินมะปรางอย่างมาก" นางรจนากล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ประชาชนในเขตพื้นที่ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก กำลังรวบรวมรายชื่อประชาชน สำเนาบัตรประชาชน ของชาวพิษณุโลก เพื่อเป็นแนวร่วมคัดค้านต่อร่างนโยบายสำรวจและการทำเหมืองแร่ทองคำ และ เตรียมนำรายชื่อข้อคัดค้านยื่นต่อนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขณะนี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กำลังดำเนินการเปิดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ ที่มีการขออนุญาตอาญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำในบริเวณ 12 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี เลย นครสวรรค์ สระบุรี ระยอง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี สระแก้ว และ สตูล เกี่ยวกับนโยบายการสำรวจและการทำเหมืองแร่ทองคำ เพื่อนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการพิจารณา
ทั้งนี้กิจกรรมการขี่จักรยานเริ่มจากโรงเรียนบ้านวังโพรง ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก มายังเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล อ.เนินมะปราง ระยะทาง 35 กิโลเมตร โดยมีกลุ่มนักปั่นจักยานทั้งในพื้นที่ ในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 400 คัน หลังจากที่ได้เสร็จสิ้นการปั่นจักรยาน ได้ร่วมกันทำกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “เนินมะปราง มั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน”
นางรจนา นันทกิจ แกนนำเครือข่ายกลุ่มบ้านเขาเขียว ต.วังโพรง อ.เนินมะปราง กล่าวว่า เหตุผลที่จัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อต้องการสะท้อนให้บรรดานักปั่นจักรยาน ได้เห็นถึงทัศนียภาพ ความสวยงาม ความอุมดมสมบูรณ์ของพื้นที่ อ.เนินมะปราง โดยเฉพาะ บ้านเขาเขียวแห่งนี้ ที่กำลังได้รับให้สัมปทานเหมืองแร่ท้องคำ เหตุผลที่ต้องออกมาคัดค้าน เพราะจากบทเรียนผลกระทบต่อการทำเหมืองทองคำที่พิจิตร ทั้งสภาพแวดล้อม ประชาชน ยังไม่ได้รับการแก้ไข เป็นนโยบายที่ไม่คุ้มทุน ผู้ได้สิทธิ์มาลงทุนมาดำเนินการขุดแร่ทองคำได้มูลค่า 6,000 ล้านบาท แต่ภาครัฐได้คืนมาได้ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท
"ที่ดินในเขต อ.เนินมะปราง ชาวบ้านได้ทำการเกษตรมานานแล้ว หากเปิดให้มีการทำเหมืองทองคำ จะเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ที่ไม่สามารถเรียกร้องเอากลับคืนมาได้ เฉพาะในเขต อ.เนินมะปราง มีเทือกเขาหินปูนที่สวยงามอย่างมาก ทั้งนี้ขอบเขตของการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล จาก 7 ตำบลในเขต อ.เนินมะปราง ยกเว้นตำบลเนินมะปราง กับ ตำบลชมพู หากมีการมาลงทุนทำเหมืองแร่ทองคำในเขต อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก จะส่งผลกระทบกับชาว อ.เนินมะปรางอย่างมาก" นางรจนากล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ประชาชนในเขตพื้นที่ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก กำลังรวบรวมรายชื่อประชาชน สำเนาบัตรประชาชน ของชาวพิษณุโลก เพื่อเป็นแนวร่วมคัดค้านต่อร่างนโยบายสำรวจและการทำเหมืองแร่ทองคำ และ เตรียมนำรายชื่อข้อคัดค้านยื่นต่อนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขณะนี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กำลังดำเนินการเปิดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ ที่มีการขออนุญาตอาญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำในบริเวณ 12 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี เลย นครสวรรค์ สระบุรี ระยอง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี สระแก้ว และ สตูล เกี่ยวกับนโยบายการสำรวจและการทำเหมืองแร่ทองคำ เพื่อนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการพิจารณา