"บิ๊กตู่" ชี้สปช.คว่ำร่างรธน. ส่อปรองดองเริ่มต้นไม่ได้ ปัดสั่งสปช.สายทหาร บอกอย่าดูถูกสมองเขา เผยสรรหากก.ร่างฯ ชุดใหม่แล้ว ระบุต้องเป็นตัวของตัวเอง ยันไม่เอาฉบับปี 40-50 มาใช้ เดือด!!ถูกเปรียบตัวเองยึดอำนาจเทียบเท่าทุจริต ลั่นคนละระดับ ขู่คนโกงรอถูกเช็กบิล "วิษณุ" เตรียมกางปฏิทินอธิบายครม.วันนี้ สูตร 6-4,6-4 หากประชามติผ่าน 20 เดือนจากนี้ มีเลือกตั้ง เชื่อมีการมองกรรมการร่างชุดใหม่ ที่มีแนวคิดตรงกันกับคสช.ไว้แล้ว แย้มถ้าไม่เอา คปป. ก็ต้องหามาตรการอื่นรองรับ
เมื่อเวลา 18.00น. วานนี้ (7ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ถึงการสรรหาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คนหลังหลังสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญว่า กำลังคิดอยู่ ยังไม่รู้ว่าจะมีใครบ้าง ซึ่งตนกำลังหาอยู่ ไม่ได้คิดคนเดียว โดยจะหารือกับคณะทำงานถึงเรื่องของความเหมาะสม ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า กรรมาธิการยกร่างฯชุดเก่านั้นไม่ดี แต่เมื่อเป็นบทเรียนว่า การร่างครั้งแรกโดยตนไม่ได้มองว่าดี หรือไม่ดี เป็นประชาธิปไตย หรือไม่เป็นประชาธิปไตย แต่มองว่าการเริ่มต้นการปรองดองไม่เกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนี้
"ผมถามว่าสถานการณ์มันจะเป็นอย่างไร การปรองดองของผมคือ คนในสปช.จากทุกจังหวัด จากแดง จากเหลือง มาหมด ผมไม่ได้ห้ามใครทั้งสิ้น และคนที่มาเป็นกรรมาธิการ ก็มาจากกลุ่มนี้ ผมถามว่าถ้ากลุ่มนี้เข้าใจ หรือไม่เข้าใจกัน จะผ่านหรือไม่ผ่าน ผมไม่สนใจ ผ่านผมก็ไม่ได้อะไร ไม่ผ่านผมก็ไม่ได้อะไร ทำงานมากกว่าเดิมด้วยซ้ำไป ผมคิดของผมแบบนี้ ฉะนั้นสิ่งที่เขาทำมาทั้งหมด ผมเรียนว่าเป็นความตั้งใจของทุกคน และต้องขอบคุณที่อุตสาห์อยู่มาได้ถึงทุกวันนี้ก็ 11 เดือน ท่ามกลางความกดดัน ความขัดแย้ง ความเห็นต่าง มากมาย ท่านก็อดทนขอท่านแล้ว และทำมาประเด็นของผมคือ คนที่ไม่ยอมทำอะไรสักอย่าง แต่ติอยู่นั้นแหล่ะ ติทุกวันๆ มันก็มีอารมณ์นะ ซึ่งทำให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นในเชิงความคิด จริงๆ แล้วเขามาด้วยกัน มาจากการคัดสรรแต่งตั้ง 250 คน ปกติแล้วรัฐธรรมนูญร่างโดยคณะกรรมการไม่กี่คน แต่นี่ร่างโดยกรรมการไม่ใช่แค่ 32 คน แต่ร่างโดย 250 คน ผมถามว่ามันจบลงง่ายๆได้ไหม นี่คือสิ่งที่ผมต้องการให้ 250 คน แสดงให้เห็นว่าบ้านเมือง มันควรจะเอาอย่างไร ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากนักประชาธิปไตย และพวกโลกสวย อยากให้เลือกตั้งเร็ว แต่ต้องดูว่า เขาโจมตีตั้งแต่ก่อนผ่าน หรือไม่ผ่าน หากผ่านผมก็โดน ไม่ผ่านผมก็โดน และตอนนี้กำลังโดนต่อ ถ้าไม่ผ่าน ผมต้องลาออก ต้องเอารัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ คนเหล่านี้พวกไหน แยกแยะให้ผมด้วยไม่ใช่เอาทุกอย่างมาพัลวันพัลเก กันหมด"
เดือดถูกเปรียบยึดอำนาจเหมือนทุจริต
นายกฯ กล่าวว่าการปรองดองคืออะไร เมื่อไหร่จะเข้าใจกันเสียที ไม่ใช่การยกโทษ เป็นเรื่องของกระบวนการ ทำให้ทุกพวก ทุกฝ่าย ลดระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น และแสวงหาทางออกร่วมกัน ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ ถ้าทำความผิดมันยกโทษให้ไม่ได้ ไม่มีใครยกโทษให้ได้ ฉะนั้นวันนี้ถ้าคุณมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ที่ผ่านมาเป็นไหม เป็นแล้วเกิดอะไรขึ้น ไปถามไอ้คนที่ออกมาพูดบ้าง มันเกิดอะไรขึ้น มีคนตาย คนเจ็บ มีระเบิด และทำอย่างที่ตนทำบ้างหรือเปล่า ตนเข้ามาแบบนี้ยังทำให้เลย ทำในสิ่งที่ดี จะอยู่มากอยู่น้อย อยู่กี่วัน แต่ก็อยู่เพื่อสร้างความดีให้กับประเทศนี้ บนดินแดนที่ทุกคนหากินอยู่ทุกวันนี้ แล้วคนอื่นทำหรือเปล่า และทำอะไรกันมาบ้าง
"วันนี้มาเป็นคนดีกันทุกคนเลย ก็รอคอยแล้วกัน กระบวนการยุติธรรมมันถึงกันหมด ถ้าสอบสวนเกี่ยวข้องกับใครก็โดนหมด ในคดีทุจริต อย่ามาบอกว่าไม่ทุจริตนะ ถ้าไม่ทุจริตคงไม่มีเรื่องหรอก และถ้าไม่มีเรื่องนี้ ก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 ผมไม่มีโอกาสเข้ามายืนตรงนี้อยู่แล้ว และเวลาผมเข้ามาสื่อก็พยายามจะเบียดผมออกไปให้ได้ และเอาไปเทียบกับคนเหล่านี้ ผมคงไม่ไปเทียบด้วย ผมไม่ใช่คนทำผิดกฎหมาย ผมผิดในฐานะที่เข้ามารับผิดชอบ ตรงนี้ ผิดรู้อยู่แล้ว แต่เอาผมไปผิดเหมือนคนทุจริตผิดกฎหมาย มันคนละระดับกับผม ผมไม่พูดด้วย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯได้ทาบทามคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไว้แล้วใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ทาบทามใคร สื่อจะเป็นหรือเปล่า ไม่ทาบใครทั้งนั้น ตนเขียนเอง เอารายชื่อมาคิด เพราะรู้ว่าคนนี้ บ้านนี้ เป็นอย่างไร วันนี้ต้องหาคนที่เป็นตัวของตัวเอง และเป็นคนที่จะต้องแสวงหาทางออกให้ได้ ในเมื่อบ้านเมืองมีปัญหาเหล่านี้ ไม่รู้จักว่ากระบวนการแสวงหาทางออกในความขัดแย้งทำอย่างไร ทำไม่เป็นหรอก มีแต่ให้คนนี้ทำ คนโน้นทำ ตนมาก็ให้ตนทำ ทำไมทำกันเองไม่ได้หรือ แล้วทำไมสื่อไม่ช่วยตน ต้องการความสงบเรียบร้อยหรือเปล่า ท่านก็ต้องลดระดับลงไปบ้าง เรื่องบางเรื่องไม่ใช่ต้องเอามาขุดคุยทุกวัน สื่อทีวี เอากันใหญ่โต มันใช่เวลาไหมวันนี้ การที่ตนอยู่ทุกวันๆ ทำอะไรให้พวกคุณ หรือตนมานั่งเฉยๆ นั่งกินผลประโยชน์หรือมาทุจริต ถ้าคุณไปเลือกมา แล้ววันหน้ามาทุจริต คุณอย่าไปโทษใคร วันหน้าถ้ามาโทษ ตนก็จะโทษท่านทุกคนที่ไปเลือกไอ้คนทุจริตมา
เมื่อถามว่าในแนวคิดของนายกฯ จะให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดิมที่ร่างไว้ มาเป็นแนวทาง หรือทำใหม่ทั้งหมด นายกฯ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญมันจะเป็นอย่างไร ก็เป็นได้แค่นี้ จะออกมากี่มาตรา ซึ่งอันไหนที่เป็นสากล ก็ต้องเป็นสากล และอันไหนที่ควรจะต้องปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสถานการณ์ ขอถามว่าต้องการปฏิรูปหรือไม่ ถ้าต้องการ ก็ไม่มีอะไรแตกต่าง
เมื่อถามว่าจะใช้โอกาสนี้กล่าวทำความเข้าใจกับประชาชนหรือไม่ หลังจากร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการเห็นชอบจากสปช. นายกฯ กล่าวว่า ก็พูดอยู่นี่ ทำไมต้องพูดทุกวัน ครั้งแรกครั้งสุดท้าย เรื่องรัฐธรรมนูญ ตนพอแล้ว
ยันไม่มีใบสั่งให้ทหารโหวตคว่ำ
เมื่อถามว่า สปช.สายทหารโหวตไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้คนเข้าใจผิดว่ามีใบสั่ง นายกฯ กล่าวเสียงดังว่า ทำไม เขาเป็นทหารมา และเกษียณไปแล้ว ตนไปสั่งได้หรือไม่ สื่อก็มองแต่แบบนี้ ดูถูกสมองเขานะ ตนตอบอยู่นี่ ไม่ได้สั่งไงล่ะ เมื่อถามว่าแต่การที่ทหารโหวตคว่ำ อาจถูกฝ่ายตรงข้ามนำไปโจมตีนายกฯได้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่สนใจ และสื่อจะไปขยายความให้เขาทำไม สื่อมองอย่างไร ที่มาถามตน
เมื่อถามว่า คาดหวังอย่างไรกับการร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ได้คาดหมายอะไรทั้งสิ้น ตนทำงาน และไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น รัฐธรรมนูญถ้าผ่าน ก็ไปทำประชามติ แล้วเลือกตั้ง เรียบร้อยแล้วตนก็จะกลับบ้าน ไม่ว่าเวลาจะยืด หรือสั้น ตนไม่มีผลประโยชน์ และวันนี้ทำงานมากี่วันแล้ว
เมื่อถามว่ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช.ถือว่าเหนื่อยเปล่าหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แล้วเหนื่อยเพื่อใคร มันก็ต้องอดทน สื่อก็อย่าทำให้ตนเส้นโลหิตแตกก่อนก็แล้วกัน 1. ถามว่าประเทศไทยต้องการการปฏิรูปหรือไม่ 2. เชื่อมั่นหรือไม่ว่ารัฐบาลใหม่ที่มาจากพรรคการเมืองจะทำการปฏิรูป ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อน ซึ่งถ้าสงสัยให้กลับไปดูข้อที่ 1 ว่าก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 นักการเมืองมีความดีทั้งหมดหรือไม่ 3. วันนี้ต้องมีกระบวนการไปสู่การปฏิรูปหรือไม่ 4. แน่ใจหรือไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้ง ต้องถามแบบนี้ ไม่ใช่มีโพลมายอกว่า วันนี้คะแนนนายกฯ ตกต่ำ คะแนนขึ้น เพราะตนไม่สนใจ เพราะสนใจแค่ว่าจะทำอะไรสำเร็จได้บ้าง
"ไปดูสิว่าประชุม ครม.เขามีอะไรบ้าง เขากับผมประชุม มันต่างกันอย่างไร รู้หรือไม่ครม.ทำอะไรให้ท่านบ้าง ไม่เคยรู้ มักเอาสิ่งที่เป็นอดีตมาเป็นปัจจุบันไปทั้งหมด ถามว่าจะหลุดจากความขัดแย้งตรงนี้ไปเมื่อไหร่ ต่างชาติเขารอท่านทั้งนั้นแหละ เขารอว่าเมื่อไหร่ไทยจะสงบสักที เขาถามผมก็บอกว่า เดินตามโรดแมปของผม ซึ่งมีรัฐธรรมนูญ ผ่านได้ก็ผ่านไป แล้วเขาก็หยุดถาม มีแต่ในประเทศนี่แหละถามอยู่นั่น ไม่เข้าใจภาษาไทยหรือยังไง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ไม่เอารธน.ปี 40-ปี 50 มาใช้
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ต้องแสวงหาความเข้าใจให้ได้ ตอนนี้มีคนอยู่แบบนี้ มีการตีกันไปมาและมักจะมีมือที่สามเข้ามา โดยต้องการให้กลีบไปเป็นเหมือนเดิม เรื่องรัฐธรรมนูญหากนำรัฐธรรมนูญปี 40 มาใช้ อีกพวกหนึ่งก็จะดีใจ แต่พวกที่ชอบรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ไม่ยอม ดังนั้นจึงต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
เมื่อถามว่ามั่นใจในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่จะตั้งขึ้นมาใหม่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไปดูคำถามข้อที่ 1. ใหม่ว่าก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 เกิดอะไรขึ้น แล้วต้องการให้แก้ไขหรือไม่ ถามว่าต้องการปฏิรูปหรือไม่ ไปถามว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งจะปฏิรูปไหม ไปถามเขาดู เพราะการผ่านรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวกับ คณะกรรมการ 21 คน ที่จะตั้งขึ้น แต่อยู่ที่ประชาชนทั้งประเทศว่า รู้ ตระหนักถึงภัยของตัวเองหรือยัง ถ้ายัง ตนก็ไม่เอาด้วยแล้ว เพราะช่วยไม่ได้แล้ว ต่อให้สิบประยุทธ์ ร้อยประยุทธ์ ก็ทำไม่ได้ ตนไม่ใช่วีรบุรุษ จึงไม่ต้องการทำคนเดียว แต่ต้องการให้คน 70 ล้านคน ช่วยประเทศให้หลุดพ้นเสียที เพราะถ้าเลือกตั้งวันนี้ อีกฝ่ายก็จะออกมาประท้วง แล้วมาหาว่าตนต้องการสืบทอดอำนาจ ยืนยันว่า ถ้าเลือกตั้งโดยไม่ทะเลาะกันก็ว่าไปเลย
เมื่อถามว่า แสดงว่าคิดว่าหากเลือกตั้งตอนนี้ก็จะกลับมาทะเลาะกัน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ต้องบอก พวกท่านก็จะตอบเหมือนตน
"วิษณุ"ชี้เลือกตั้งรอไปอีก 20 เดือน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า การตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตนยังไม่ได้รับมอบหมายให้เข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าใจว่าขณะนี้ยังไม่มีการเตรียมการอะไร เพราะมีเวลา 30 วัน และไม่ใช่อะไรที่หาง่ายๆ แต่ในที่สุดต้องหาจนได้ ส่วนกมธ.ชุดเก่าบางคนจะเข้ามาด้วยหรือไม่นั้น ไม่ทราบ รู้ว่าขณะนี้คสช. ยังไม่ได้หารือ เพราะยังเร็วไป แต่จากนี้ไปคงมีการดำเนินการ
นายวิษณุ กล่าวว่า ในวันที่ 8 ก.ย. ตนจะสรุปและชี้แจงโรดแมป แนวทางต่อจากนี้ต่อที่ประชุมครม. ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะกรรมการร่างฯ 21 คน การตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 200 คน และการบริหารเวลาจากนี้ โดยจะใช้สูตร 6 - 4, 6 - 4 คือ คณะกรรมการร่างฯ ใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญ 6 เดือน ทำประชามติ 4 เดือน หากประชามติผ่านจะใช้เวลาทำกฎหมายลูก และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา 6 เดือน ต่อจากนั้นอีก 4 เดือนสำหรับการเลือกตั้ง รวมแล้ว 20 เดือน นับจากที่มีคณะกรรมการร่างฯ แต่ในบางเรื่องสามารถทำให้สั้นลงได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากทำประชามติแล้วไม่ผ่าน จะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องเตรียมวิธีการเพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้คิดไกลถึงขณะนั้น วันนี้ไม่คิดแง่ร้ายขนาดนั้น แต่หากถึงจุดหนึ่ง ต้องคิดเตรียมไว้
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของคณะกรรมการร่างฯ นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องมีความรู้ในการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมาย แต่ต้องเข้าใจเรื่องการเมือง และสภาพเมืองไทยในหลายมิติ ส่วนจะเอาคนที่มีแนวคิดเดียวกับคสช.หรือไม่นั้น เขาคงไม่ถึงกับเอาคนที่มีแนวคิดตรงข้ามรัฐบาล เพียงแต่จะหาคนที่มีแนวคิดเดียวกับรัฐบาลยาก ยังเร็วไปที่จะพูดเรื่องนี้ เข้าใจว่าคนที่มีหน้าที่มีการมองไว้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ถึงกับทาบทาม พอถึงเวลาคสช. ทั้งคณะต้องคุยกัน ต้องดูว่าเขาพร้อมจะมาหรือไม่ เหมือนการหาคนเป็นครม.ที่บางคนมีภาระไม่สามารถเป็นได้ แต่ในที่สุดต้องหาจนได้ และต้องตั้ง 21 คน เพราะประธาน 1 กรรมการไม่เกิน 20 คน
เมื่อถามว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะมีการหยิบยกเนื้อหาเดิมมาพิจารณาหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า แล้วแต่การพิจารณาของคณะกรรมการร่างฯ อาจเอาเนื้อหาของร่างที่ถูกคว่ำไปมาพิจารณา เพราะมีทั้งข้อดี ข้อเสีย หรือเอาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 40 หรือปี 50 มาพิจารณาด้วยก็สามารถเสนอเข้ามาได้
ถ้าไม่เอาคปป.ก็ต้องมีอะไรมารองรับ
เมื่อถามว่า ประเด็นที่คนไม่พอใจอ ย่างคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) จะกลับมาได้อีกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า "จะกลับมาหรือไม่ ผมไม่ทราบ แต่คนที่เป็นคณะกรรมการร่างฯ ต้องคิด ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ถ้าไม่เอาตัวนี้แล้วปัญหามีอยู่ จะทำอย่างไร เพราะเรื่องนี้กมธ.ยกร่างฯชุดที่แล้วเขาดูที่ปัญหา แล้วหามาตรการรองรับ เมื่อคนไม่ชอบมาตรการที่รองรับ ปัญหาที่กลัวว่าจะเกิดยังกลัวอยู่หรือไม่ ถ้าไม่กลัว ก็ไม่ต้องมีมาตรการ แต่ถ้ากลัวอยู่ ก็ต้องคิดมาตรการอื่น"
ต่อข้อถามว่า ขณะนี้มีมาตรา 44 อยู่แล้ว เหตุใดต้องมีคปป. อีก รองนายกฯกล่าวว่า ต่อไปถ้ามีรัฐธรรมนูญใหม่ มาตรา 44 จะหมดไป การร่างรัฐธรรมนูญของ กมธ.ยกร่างฯ ชุดที่ผ่านมาจึงคิด คปป. ขึ้นมาแทน ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกัน แต่ให้คณะกรรมการเป็นพระเอก เพื่อทำให้เห็นว่าไม่มีการสร้างกลไกเพื่อสืบทอดอำนาจ คสช. ครม. ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงนักการเมือง ต้องแสดงให้เห็นว่า จะไม่สืบทอดภารกิจลักษณะความประพฤติแบบเก่าที่เคยทำ ถึงจะทำให้สังคมเกิดความไว้วางใจ การจะบอกว่าฝ่ายหนึ่งสืบทอดอำนาจนั้นไม่ได้ เพราะอีกฝ่ายก็ยังต้องสืบทอดเจตนารมณ์อยู่ ถ้าต่างฝ่ายต่างลดราวาศอก ยอมรับว่าประเทศบอบช้ำมามากควรตั้งใจทำอะไรให้ดี หันหน้าเข้าหากัน ปรองดองกันจะเกิด แต่วันนี้ดู กั๊กๆ กันอยู่
เมื่อถามถึงเหตุผลที่ สปช.คว่ำร่าง รธน. รองนายกฯ กล่าวว่า มีหลายสาเหตุไม่สามารถยกตัวอย่างได้ เพราะตนไม่รู้จริง จากนี้คงมีคนออกมาพูดถึงสาเหตุ ซึ่งแต่ละคน มีความแตกต่างกัน ส่วนขณะนี้ยังไม่ได้พูดคุยกับ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ แต่อย่างใด
นายกฯตั้งสภาขับเคลื่อนใน 30 วัน
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงการแต่งตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 200 คน ว่าหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แต่งตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ภายใน 30 วัน หลังจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หมดวาระลงแล้ว จะต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหน้าที่ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คือ ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูป ต่อจากสิ่งที่สปช.ทำไว้ โดยเลือกเอาบางเรื่องมาดำเนินการ เพราะต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการทำงาน แต่สภาขับเคลื่อนฯ ก็สามารถคิดเรื่องใหม่ได้ ไม่ได้ปิดกัน ทั้งนี้รัฐบาลจะเป็นผู้จัดลำดับไว้ให้ แต่จะทำอย่างไรนั้น เป็นสิ่งที่ สภาขับเคลื่อนฯ ต้องคิดขึ้นมา ส่วนอายุของสภาขับเคลื่อนฯรวมถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นั้น จะอยู่ตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนด อย่างเช่น ของเดิมที่ กมธ.ยกร่างฯ ก็กำหนดให้ สภาขับเคลื่อนฯ อยู่ถึงวันเลือกตั้ง ส่วนใครจะเข้ามาเป็นนั้นเป็นเรื่องที่นายกฯ จะเป็นผู้พิจารณา ส่วนคณะกรรมการร่างรธน.ชุดใหม่ จะเป็นหน้าที่ของหัวหน้า คสช. เป็นผู้แต่งตั้ง และใช้กรอบเวลาเดียวกันในการพิจารณาคือ 30 วัน จาก สปช.โหวดคว่ำร่างรธน.
"บวรศักดิ์"เก็บของอำลาสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า หลังจากที่สมาชิกสปช. มีมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ทั้ง 36 คน ต้องสิ้นสุดการทำหน้าที่ไปด้วยนั้น โดยบรรยากาศที่ห้องประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญตลอดทั้งวัน เป็นไปด้วยความเงียบเหงา มีสมาชิก กมธ.ยกร่างฯ ทยอยเดินทางมาเก็บอุปกรณ์การทำงานรวมทั้งเอกสาร และข้อมูลการประชุมที่สำคัญๆ อาทิ พล.ท.นคร สุขประเสริฐ นายปรีชา วัชราภัย ส่วนเจ้าหน้าที่ก็ได้ทยอยจัดเก็บเอกสารสำคัญๆ บรรจุลงกล่องกระดาษเพื่อเตรียมขนย้ายออกจากห้องประชุม
ส่วนบริเวณหน้าห้องวอร์รูม ของกมธ.ยกร่างฯ ที่ตั้งอยู่อาคาร รัฐสภา 3 นั้น ได้ปลดป้ายชื่อคำว่า "ห้องคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ" ออกแล้วเช่นเดียวกัน
เวลาประมาณ 15.00 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกมธ.ยกร่างฯ และรองประธานสปช. คนที่ 1 ได้เดินทางเข้ามาเก็บสิ่งของและเอกสารสำคัญๆ ที่ห้องทำงานส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ชั้น 3 ของอาคารรัฐสภา 1 โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ในส่วนของหนังสือกฎหมายต่างๆ รวมถึงหนังสือธรรมะจำนวนมาก นายบวรศักดิ์ ได้มอบให้ห้องสมุดของสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ยังได้มอบพระสมเด็จหลวงปู่ดี ธมมธีโร วัดเทพากร บางพลัด กรุงเทพฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานร่วมกันมาตลอด 11 เดือน โดยนายบวรศักดิ์ ได้กล่าวแบบติดตลกว่า วันนี้มาเป็นวันสุดท้ายแล้ว จึงขอมอบพระให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน โดยขอตั้งชื่อว่า"รุ่นโล่งอก" ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ได้ขอถ่ายรูปร่วมกับนายบวรศักดิ์ ไว้เป็นที่ระลึกด้วย
ทั้งนี้ ที่บริเวณหน้าห้องทำงานของนายบวรศักดิ์ พบว่าได้มีการนำป้ายชื่อ และป้ายตำแหน่งรองประธานสปช. คนที่ 1 ออกแล้ว ขณะที่ห้องทำงานของนายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตประธาน สปช. และห้องทำงานของ น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานสปช. คนที่ 2 ยังคงติดอยู่ตามปกติ
"รสนา"ชี้คสช.พลาดที่คว่ำร่างรธน.
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสปช. กล่าวว่า ขอให้จับตาการร่างรธน.ฉบับใหม่ ภายใต้กรรมการร่างฯ 21 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของคสช.ว่า จะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่ เพราะจากการประเมินของตน เสียงอดีต สปช. ที่ลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 135 คน ที่ผ่านมา พบว่า เป็นกลุ่มสปช.ที่อยู่ต่างขั้วกัน แต่กลับมีความเห็นไปในทิศทางเดียว หรือเรียกว่ามีเป้าหมายเดียวกัน อาทิ กลุ่มที่ต้องการให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และต้องการให้ส.ว.มาจากการสรรหาทั้งหมด กลับลงมติไม่ผ่านร่างรธน. หรือกลุ่มที่ไม่ต้องการให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ แต่ประเด็นดังกล่าวกลับเป็นที่ต้องการ นอกจากนั้นแล้วในกลุ่มที่ไม่รับร่างฯ จากการสังเคราะห์ของสื่อมวลชนที่แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มที่ต้องการให้ร่างรธน. มีความเป็นประชาธิปไตย 2. ต้องการยืดเวลาให้ คสช. อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และส่งผลให้การเลือกตั้งส.ส.ยืดเวลาออกไป และ 3. กลุ่มที่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน ซึ่งเกิดจากการต่อรองในเรื่องต่างๆ ดังนั้น ถือเป็นจุดที่ต้องจับตามองอย่างยิ่งว่า การยกร่างรธน.ฉบับใหม่นั้น อาจเกิดความขัดแย้ง เพราะความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
"การลงมติคว่ำร่างรธน.เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดพลาดครั้งใหญ่ของผู้มีอำนาจ เพราะหากคิดว่า การคว่ำร่างรธน. จะต่ออายุให้รัฐบาลได้ หรือต้องการแก้ไขร่างรธน.ให้เป็นประชาธิปไตย หรือตามความต้องการของตนเอง โดยไม่มี สปช. มาขัดขวางเหมือนรอบที่ผ่านมา แต่การกระทำในวันนี้ จะส่งผลเป็นปฏิกิริยาตอบกลับในอนาคต เมื่อการลงมติรอบนี้เพื่อผลประโยชน์ หรือคงอำนาจของตนเอง คิดหรือว่าในขั้นตอนของการทำประชามติ จะไม่มีความขัดแย้ง หากช่วงทำประชามติเป็นช่วงขาลงของรัฐบาล กระแสด้านลบอาจจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ อีกทั้งกระบวนการร่างรธน.ใหม่ต่อจากนี้ไป จะไม่มีกระบวนการเตรียมความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เหมือนที่ สปช.เคยทำมา อาจทำให้เป็นจุดที่อันตราย"
เมื่อเวลา 18.00น. วานนี้ (7ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ถึงการสรรหาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คนหลังหลังสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญว่า กำลังคิดอยู่ ยังไม่รู้ว่าจะมีใครบ้าง ซึ่งตนกำลังหาอยู่ ไม่ได้คิดคนเดียว โดยจะหารือกับคณะทำงานถึงเรื่องของความเหมาะสม ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า กรรมาธิการยกร่างฯชุดเก่านั้นไม่ดี แต่เมื่อเป็นบทเรียนว่า การร่างครั้งแรกโดยตนไม่ได้มองว่าดี หรือไม่ดี เป็นประชาธิปไตย หรือไม่เป็นประชาธิปไตย แต่มองว่าการเริ่มต้นการปรองดองไม่เกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนี้
"ผมถามว่าสถานการณ์มันจะเป็นอย่างไร การปรองดองของผมคือ คนในสปช.จากทุกจังหวัด จากแดง จากเหลือง มาหมด ผมไม่ได้ห้ามใครทั้งสิ้น และคนที่มาเป็นกรรมาธิการ ก็มาจากกลุ่มนี้ ผมถามว่าถ้ากลุ่มนี้เข้าใจ หรือไม่เข้าใจกัน จะผ่านหรือไม่ผ่าน ผมไม่สนใจ ผ่านผมก็ไม่ได้อะไร ไม่ผ่านผมก็ไม่ได้อะไร ทำงานมากกว่าเดิมด้วยซ้ำไป ผมคิดของผมแบบนี้ ฉะนั้นสิ่งที่เขาทำมาทั้งหมด ผมเรียนว่าเป็นความตั้งใจของทุกคน และต้องขอบคุณที่อุตสาห์อยู่มาได้ถึงทุกวันนี้ก็ 11 เดือน ท่ามกลางความกดดัน ความขัดแย้ง ความเห็นต่าง มากมาย ท่านก็อดทนขอท่านแล้ว และทำมาประเด็นของผมคือ คนที่ไม่ยอมทำอะไรสักอย่าง แต่ติอยู่นั้นแหล่ะ ติทุกวันๆ มันก็มีอารมณ์นะ ซึ่งทำให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นในเชิงความคิด จริงๆ แล้วเขามาด้วยกัน มาจากการคัดสรรแต่งตั้ง 250 คน ปกติแล้วรัฐธรรมนูญร่างโดยคณะกรรมการไม่กี่คน แต่นี่ร่างโดยกรรมการไม่ใช่แค่ 32 คน แต่ร่างโดย 250 คน ผมถามว่ามันจบลงง่ายๆได้ไหม นี่คือสิ่งที่ผมต้องการให้ 250 คน แสดงให้เห็นว่าบ้านเมือง มันควรจะเอาอย่างไร ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากนักประชาธิปไตย และพวกโลกสวย อยากให้เลือกตั้งเร็ว แต่ต้องดูว่า เขาโจมตีตั้งแต่ก่อนผ่าน หรือไม่ผ่าน หากผ่านผมก็โดน ไม่ผ่านผมก็โดน และตอนนี้กำลังโดนต่อ ถ้าไม่ผ่าน ผมต้องลาออก ต้องเอารัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ คนเหล่านี้พวกไหน แยกแยะให้ผมด้วยไม่ใช่เอาทุกอย่างมาพัลวันพัลเก กันหมด"
เดือดถูกเปรียบยึดอำนาจเหมือนทุจริต
นายกฯ กล่าวว่าการปรองดองคืออะไร เมื่อไหร่จะเข้าใจกันเสียที ไม่ใช่การยกโทษ เป็นเรื่องของกระบวนการ ทำให้ทุกพวก ทุกฝ่าย ลดระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น และแสวงหาทางออกร่วมกัน ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ ถ้าทำความผิดมันยกโทษให้ไม่ได้ ไม่มีใครยกโทษให้ได้ ฉะนั้นวันนี้ถ้าคุณมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ที่ผ่านมาเป็นไหม เป็นแล้วเกิดอะไรขึ้น ไปถามไอ้คนที่ออกมาพูดบ้าง มันเกิดอะไรขึ้น มีคนตาย คนเจ็บ มีระเบิด และทำอย่างที่ตนทำบ้างหรือเปล่า ตนเข้ามาแบบนี้ยังทำให้เลย ทำในสิ่งที่ดี จะอยู่มากอยู่น้อย อยู่กี่วัน แต่ก็อยู่เพื่อสร้างความดีให้กับประเทศนี้ บนดินแดนที่ทุกคนหากินอยู่ทุกวันนี้ แล้วคนอื่นทำหรือเปล่า และทำอะไรกันมาบ้าง
"วันนี้มาเป็นคนดีกันทุกคนเลย ก็รอคอยแล้วกัน กระบวนการยุติธรรมมันถึงกันหมด ถ้าสอบสวนเกี่ยวข้องกับใครก็โดนหมด ในคดีทุจริต อย่ามาบอกว่าไม่ทุจริตนะ ถ้าไม่ทุจริตคงไม่มีเรื่องหรอก และถ้าไม่มีเรื่องนี้ ก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 ผมไม่มีโอกาสเข้ามายืนตรงนี้อยู่แล้ว และเวลาผมเข้ามาสื่อก็พยายามจะเบียดผมออกไปให้ได้ และเอาไปเทียบกับคนเหล่านี้ ผมคงไม่ไปเทียบด้วย ผมไม่ใช่คนทำผิดกฎหมาย ผมผิดในฐานะที่เข้ามารับผิดชอบ ตรงนี้ ผิดรู้อยู่แล้ว แต่เอาผมไปผิดเหมือนคนทุจริตผิดกฎหมาย มันคนละระดับกับผม ผมไม่พูดด้วย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯได้ทาบทามคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไว้แล้วใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ทาบทามใคร สื่อจะเป็นหรือเปล่า ไม่ทาบใครทั้งนั้น ตนเขียนเอง เอารายชื่อมาคิด เพราะรู้ว่าคนนี้ บ้านนี้ เป็นอย่างไร วันนี้ต้องหาคนที่เป็นตัวของตัวเอง และเป็นคนที่จะต้องแสวงหาทางออกให้ได้ ในเมื่อบ้านเมืองมีปัญหาเหล่านี้ ไม่รู้จักว่ากระบวนการแสวงหาทางออกในความขัดแย้งทำอย่างไร ทำไม่เป็นหรอก มีแต่ให้คนนี้ทำ คนโน้นทำ ตนมาก็ให้ตนทำ ทำไมทำกันเองไม่ได้หรือ แล้วทำไมสื่อไม่ช่วยตน ต้องการความสงบเรียบร้อยหรือเปล่า ท่านก็ต้องลดระดับลงไปบ้าง เรื่องบางเรื่องไม่ใช่ต้องเอามาขุดคุยทุกวัน สื่อทีวี เอากันใหญ่โต มันใช่เวลาไหมวันนี้ การที่ตนอยู่ทุกวันๆ ทำอะไรให้พวกคุณ หรือตนมานั่งเฉยๆ นั่งกินผลประโยชน์หรือมาทุจริต ถ้าคุณไปเลือกมา แล้ววันหน้ามาทุจริต คุณอย่าไปโทษใคร วันหน้าถ้ามาโทษ ตนก็จะโทษท่านทุกคนที่ไปเลือกไอ้คนทุจริตมา
เมื่อถามว่าในแนวคิดของนายกฯ จะให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดิมที่ร่างไว้ มาเป็นแนวทาง หรือทำใหม่ทั้งหมด นายกฯ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญมันจะเป็นอย่างไร ก็เป็นได้แค่นี้ จะออกมากี่มาตรา ซึ่งอันไหนที่เป็นสากล ก็ต้องเป็นสากล และอันไหนที่ควรจะต้องปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสถานการณ์ ขอถามว่าต้องการปฏิรูปหรือไม่ ถ้าต้องการ ก็ไม่มีอะไรแตกต่าง
เมื่อถามว่าจะใช้โอกาสนี้กล่าวทำความเข้าใจกับประชาชนหรือไม่ หลังจากร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้รับการเห็นชอบจากสปช. นายกฯ กล่าวว่า ก็พูดอยู่นี่ ทำไมต้องพูดทุกวัน ครั้งแรกครั้งสุดท้าย เรื่องรัฐธรรมนูญ ตนพอแล้ว
ยันไม่มีใบสั่งให้ทหารโหวตคว่ำ
เมื่อถามว่า สปช.สายทหารโหวตไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้คนเข้าใจผิดว่ามีใบสั่ง นายกฯ กล่าวเสียงดังว่า ทำไม เขาเป็นทหารมา และเกษียณไปแล้ว ตนไปสั่งได้หรือไม่ สื่อก็มองแต่แบบนี้ ดูถูกสมองเขานะ ตนตอบอยู่นี่ ไม่ได้สั่งไงล่ะ เมื่อถามว่าแต่การที่ทหารโหวตคว่ำ อาจถูกฝ่ายตรงข้ามนำไปโจมตีนายกฯได้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่สนใจ และสื่อจะไปขยายความให้เขาทำไม สื่อมองอย่างไร ที่มาถามตน
เมื่อถามว่า คาดหวังอย่างไรกับการร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ได้คาดหมายอะไรทั้งสิ้น ตนทำงาน และไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น รัฐธรรมนูญถ้าผ่าน ก็ไปทำประชามติ แล้วเลือกตั้ง เรียบร้อยแล้วตนก็จะกลับบ้าน ไม่ว่าเวลาจะยืด หรือสั้น ตนไม่มีผลประโยชน์ และวันนี้ทำงานมากี่วันแล้ว
เมื่อถามว่ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน สปช.ถือว่าเหนื่อยเปล่าหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แล้วเหนื่อยเพื่อใคร มันก็ต้องอดทน สื่อก็อย่าทำให้ตนเส้นโลหิตแตกก่อนก็แล้วกัน 1. ถามว่าประเทศไทยต้องการการปฏิรูปหรือไม่ 2. เชื่อมั่นหรือไม่ว่ารัฐบาลใหม่ที่มาจากพรรคการเมืองจะทำการปฏิรูป ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อน ซึ่งถ้าสงสัยให้กลับไปดูข้อที่ 1 ว่าก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 นักการเมืองมีความดีทั้งหมดหรือไม่ 3. วันนี้ต้องมีกระบวนการไปสู่การปฏิรูปหรือไม่ 4. แน่ใจหรือไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้ง ต้องถามแบบนี้ ไม่ใช่มีโพลมายอกว่า วันนี้คะแนนนายกฯ ตกต่ำ คะแนนขึ้น เพราะตนไม่สนใจ เพราะสนใจแค่ว่าจะทำอะไรสำเร็จได้บ้าง
"ไปดูสิว่าประชุม ครม.เขามีอะไรบ้าง เขากับผมประชุม มันต่างกันอย่างไร รู้หรือไม่ครม.ทำอะไรให้ท่านบ้าง ไม่เคยรู้ มักเอาสิ่งที่เป็นอดีตมาเป็นปัจจุบันไปทั้งหมด ถามว่าจะหลุดจากความขัดแย้งตรงนี้ไปเมื่อไหร่ ต่างชาติเขารอท่านทั้งนั้นแหละ เขารอว่าเมื่อไหร่ไทยจะสงบสักที เขาถามผมก็บอกว่า เดินตามโรดแมปของผม ซึ่งมีรัฐธรรมนูญ ผ่านได้ก็ผ่านไป แล้วเขาก็หยุดถาม มีแต่ในประเทศนี่แหละถามอยู่นั่น ไม่เข้าใจภาษาไทยหรือยังไง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ไม่เอารธน.ปี 40-ปี 50 มาใช้
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ต้องแสวงหาความเข้าใจให้ได้ ตอนนี้มีคนอยู่แบบนี้ มีการตีกันไปมาและมักจะมีมือที่สามเข้ามา โดยต้องการให้กลีบไปเป็นเหมือนเดิม เรื่องรัฐธรรมนูญหากนำรัฐธรรมนูญปี 40 มาใช้ อีกพวกหนึ่งก็จะดีใจ แต่พวกที่ชอบรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ไม่ยอม ดังนั้นจึงต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
เมื่อถามว่ามั่นใจในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่จะตั้งขึ้นมาใหม่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไปดูคำถามข้อที่ 1. ใหม่ว่าก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 เกิดอะไรขึ้น แล้วต้องการให้แก้ไขหรือไม่ ถามว่าต้องการปฏิรูปหรือไม่ ไปถามว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้งจะปฏิรูปไหม ไปถามเขาดู เพราะการผ่านรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวกับ คณะกรรมการ 21 คน ที่จะตั้งขึ้น แต่อยู่ที่ประชาชนทั้งประเทศว่า รู้ ตระหนักถึงภัยของตัวเองหรือยัง ถ้ายัง ตนก็ไม่เอาด้วยแล้ว เพราะช่วยไม่ได้แล้ว ต่อให้สิบประยุทธ์ ร้อยประยุทธ์ ก็ทำไม่ได้ ตนไม่ใช่วีรบุรุษ จึงไม่ต้องการทำคนเดียว แต่ต้องการให้คน 70 ล้านคน ช่วยประเทศให้หลุดพ้นเสียที เพราะถ้าเลือกตั้งวันนี้ อีกฝ่ายก็จะออกมาประท้วง แล้วมาหาว่าตนต้องการสืบทอดอำนาจ ยืนยันว่า ถ้าเลือกตั้งโดยไม่ทะเลาะกันก็ว่าไปเลย
เมื่อถามว่า แสดงว่าคิดว่าหากเลือกตั้งตอนนี้ก็จะกลับมาทะเลาะกัน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ต้องบอก พวกท่านก็จะตอบเหมือนตน
"วิษณุ"ชี้เลือกตั้งรอไปอีก 20 เดือน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า การตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตนยังไม่ได้รับมอบหมายให้เข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าใจว่าขณะนี้ยังไม่มีการเตรียมการอะไร เพราะมีเวลา 30 วัน และไม่ใช่อะไรที่หาง่ายๆ แต่ในที่สุดต้องหาจนได้ ส่วนกมธ.ชุดเก่าบางคนจะเข้ามาด้วยหรือไม่นั้น ไม่ทราบ รู้ว่าขณะนี้คสช. ยังไม่ได้หารือ เพราะยังเร็วไป แต่จากนี้ไปคงมีการดำเนินการ
นายวิษณุ กล่าวว่า ในวันที่ 8 ก.ย. ตนจะสรุปและชี้แจงโรดแมป แนวทางต่อจากนี้ต่อที่ประชุมครม. ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะกรรมการร่างฯ 21 คน การตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 200 คน และการบริหารเวลาจากนี้ โดยจะใช้สูตร 6 - 4, 6 - 4 คือ คณะกรรมการร่างฯ ใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญ 6 เดือน ทำประชามติ 4 เดือน หากประชามติผ่านจะใช้เวลาทำกฎหมายลูก และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา 6 เดือน ต่อจากนั้นอีก 4 เดือนสำหรับการเลือกตั้ง รวมแล้ว 20 เดือน นับจากที่มีคณะกรรมการร่างฯ แต่ในบางเรื่องสามารถทำให้สั้นลงได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากทำประชามติแล้วไม่ผ่าน จะทำอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องเตรียมวิธีการเพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้คิดไกลถึงขณะนั้น วันนี้ไม่คิดแง่ร้ายขนาดนั้น แต่หากถึงจุดหนึ่ง ต้องคิดเตรียมไว้
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของคณะกรรมการร่างฯ นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องมีความรู้ในการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมาย แต่ต้องเข้าใจเรื่องการเมือง และสภาพเมืองไทยในหลายมิติ ส่วนจะเอาคนที่มีแนวคิดเดียวกับคสช.หรือไม่นั้น เขาคงไม่ถึงกับเอาคนที่มีแนวคิดตรงข้ามรัฐบาล เพียงแต่จะหาคนที่มีแนวคิดเดียวกับรัฐบาลยาก ยังเร็วไปที่จะพูดเรื่องนี้ เข้าใจว่าคนที่มีหน้าที่มีการมองไว้บ้างแล้ว แต่ยังไม่ถึงกับทาบทาม พอถึงเวลาคสช. ทั้งคณะต้องคุยกัน ต้องดูว่าเขาพร้อมจะมาหรือไม่ เหมือนการหาคนเป็นครม.ที่บางคนมีภาระไม่สามารถเป็นได้ แต่ในที่สุดต้องหาจนได้ และต้องตั้ง 21 คน เพราะประธาน 1 กรรมการไม่เกิน 20 คน
เมื่อถามว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะมีการหยิบยกเนื้อหาเดิมมาพิจารณาหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า แล้วแต่การพิจารณาของคณะกรรมการร่างฯ อาจเอาเนื้อหาของร่างที่ถูกคว่ำไปมาพิจารณา เพราะมีทั้งข้อดี ข้อเสีย หรือเอาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 40 หรือปี 50 มาพิจารณาด้วยก็สามารถเสนอเข้ามาได้
ถ้าไม่เอาคปป.ก็ต้องมีอะไรมารองรับ
เมื่อถามว่า ประเด็นที่คนไม่พอใจอ ย่างคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) จะกลับมาได้อีกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า "จะกลับมาหรือไม่ ผมไม่ทราบ แต่คนที่เป็นคณะกรรมการร่างฯ ต้องคิด ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ถ้าไม่เอาตัวนี้แล้วปัญหามีอยู่ จะทำอย่างไร เพราะเรื่องนี้กมธ.ยกร่างฯชุดที่แล้วเขาดูที่ปัญหา แล้วหามาตรการรองรับ เมื่อคนไม่ชอบมาตรการที่รองรับ ปัญหาที่กลัวว่าจะเกิดยังกลัวอยู่หรือไม่ ถ้าไม่กลัว ก็ไม่ต้องมีมาตรการ แต่ถ้ากลัวอยู่ ก็ต้องคิดมาตรการอื่น"
ต่อข้อถามว่า ขณะนี้มีมาตรา 44 อยู่แล้ว เหตุใดต้องมีคปป. อีก รองนายกฯกล่าวว่า ต่อไปถ้ามีรัฐธรรมนูญใหม่ มาตรา 44 จะหมดไป การร่างรัฐธรรมนูญของ กมธ.ยกร่างฯ ชุดที่ผ่านมาจึงคิด คปป. ขึ้นมาแทน ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกัน แต่ให้คณะกรรมการเป็นพระเอก เพื่อทำให้เห็นว่าไม่มีการสร้างกลไกเพื่อสืบทอดอำนาจ คสช. ครม. ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงนักการเมือง ต้องแสดงให้เห็นว่า จะไม่สืบทอดภารกิจลักษณะความประพฤติแบบเก่าที่เคยทำ ถึงจะทำให้สังคมเกิดความไว้วางใจ การจะบอกว่าฝ่ายหนึ่งสืบทอดอำนาจนั้นไม่ได้ เพราะอีกฝ่ายก็ยังต้องสืบทอดเจตนารมณ์อยู่ ถ้าต่างฝ่ายต่างลดราวาศอก ยอมรับว่าประเทศบอบช้ำมามากควรตั้งใจทำอะไรให้ดี หันหน้าเข้าหากัน ปรองดองกันจะเกิด แต่วันนี้ดู กั๊กๆ กันอยู่
เมื่อถามถึงเหตุผลที่ สปช.คว่ำร่าง รธน. รองนายกฯ กล่าวว่า มีหลายสาเหตุไม่สามารถยกตัวอย่างได้ เพราะตนไม่รู้จริง จากนี้คงมีคนออกมาพูดถึงสาเหตุ ซึ่งแต่ละคน มีความแตกต่างกัน ส่วนขณะนี้ยังไม่ได้พูดคุยกับ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ แต่อย่างใด
นายกฯตั้งสภาขับเคลื่อนใน 30 วัน
นายวิษณุ ยังกล่าวถึงการแต่งตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 200 คน ว่าหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แต่งตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ภายใน 30 วัน หลังจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หมดวาระลงแล้ว จะต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหน้าที่ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คือ ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูป ต่อจากสิ่งที่สปช.ทำไว้ โดยเลือกเอาบางเรื่องมาดำเนินการ เพราะต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการทำงาน แต่สภาขับเคลื่อนฯ ก็สามารถคิดเรื่องใหม่ได้ ไม่ได้ปิดกัน ทั้งนี้รัฐบาลจะเป็นผู้จัดลำดับไว้ให้ แต่จะทำอย่างไรนั้น เป็นสิ่งที่ สภาขับเคลื่อนฯ ต้องคิดขึ้นมา ส่วนอายุของสภาขับเคลื่อนฯรวมถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นั้น จะอยู่ตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนด อย่างเช่น ของเดิมที่ กมธ.ยกร่างฯ ก็กำหนดให้ สภาขับเคลื่อนฯ อยู่ถึงวันเลือกตั้ง ส่วนใครจะเข้ามาเป็นนั้นเป็นเรื่องที่นายกฯ จะเป็นผู้พิจารณา ส่วนคณะกรรมการร่างรธน.ชุดใหม่ จะเป็นหน้าที่ของหัวหน้า คสช. เป็นผู้แต่งตั้ง และใช้กรอบเวลาเดียวกันในการพิจารณาคือ 30 วัน จาก สปช.โหวดคว่ำร่างรธน.
"บวรศักดิ์"เก็บของอำลาสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า หลังจากที่สมาชิกสปช. มีมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ทั้ง 36 คน ต้องสิ้นสุดการทำหน้าที่ไปด้วยนั้น โดยบรรยากาศที่ห้องประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญตลอดทั้งวัน เป็นไปด้วยความเงียบเหงา มีสมาชิก กมธ.ยกร่างฯ ทยอยเดินทางมาเก็บอุปกรณ์การทำงานรวมทั้งเอกสาร และข้อมูลการประชุมที่สำคัญๆ อาทิ พล.ท.นคร สุขประเสริฐ นายปรีชา วัชราภัย ส่วนเจ้าหน้าที่ก็ได้ทยอยจัดเก็บเอกสารสำคัญๆ บรรจุลงกล่องกระดาษเพื่อเตรียมขนย้ายออกจากห้องประชุม
ส่วนบริเวณหน้าห้องวอร์รูม ของกมธ.ยกร่างฯ ที่ตั้งอยู่อาคาร รัฐสภา 3 นั้น ได้ปลดป้ายชื่อคำว่า "ห้องคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ" ออกแล้วเช่นเดียวกัน
เวลาประมาณ 15.00 น. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกมธ.ยกร่างฯ และรองประธานสปช. คนที่ 1 ได้เดินทางเข้ามาเก็บสิ่งของและเอกสารสำคัญๆ ที่ห้องทำงานส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ชั้น 3 ของอาคารรัฐสภา 1 โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ในส่วนของหนังสือกฎหมายต่างๆ รวมถึงหนังสือธรรมะจำนวนมาก นายบวรศักดิ์ ได้มอบให้ห้องสมุดของสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ยังได้มอบพระสมเด็จหลวงปู่ดี ธมมธีโร วัดเทพากร บางพลัด กรุงเทพฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานร่วมกันมาตลอด 11 เดือน โดยนายบวรศักดิ์ ได้กล่าวแบบติดตลกว่า วันนี้มาเป็นวันสุดท้ายแล้ว จึงขอมอบพระให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน โดยขอตั้งชื่อว่า"รุ่นโล่งอก" ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ได้ขอถ่ายรูปร่วมกับนายบวรศักดิ์ ไว้เป็นที่ระลึกด้วย
ทั้งนี้ ที่บริเวณหน้าห้องทำงานของนายบวรศักดิ์ พบว่าได้มีการนำป้ายชื่อ และป้ายตำแหน่งรองประธานสปช. คนที่ 1 ออกแล้ว ขณะที่ห้องทำงานของนายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตประธาน สปช. และห้องทำงานของ น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานสปช. คนที่ 2 ยังคงติดอยู่ตามปกติ
"รสนา"ชี้คสช.พลาดที่คว่ำร่างรธน.
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสปช. กล่าวว่า ขอให้จับตาการร่างรธน.ฉบับใหม่ ภายใต้กรรมการร่างฯ 21 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของคสช.ว่า จะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่ เพราะจากการประเมินของตน เสียงอดีต สปช. ที่ลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 135 คน ที่ผ่านมา พบว่า เป็นกลุ่มสปช.ที่อยู่ต่างขั้วกัน แต่กลับมีความเห็นไปในทิศทางเดียว หรือเรียกว่ามีเป้าหมายเดียวกัน อาทิ กลุ่มที่ต้องการให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และต้องการให้ส.ว.มาจากการสรรหาทั้งหมด กลับลงมติไม่ผ่านร่างรธน. หรือกลุ่มที่ไม่ต้องการให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ แต่ประเด็นดังกล่าวกลับเป็นที่ต้องการ นอกจากนั้นแล้วในกลุ่มที่ไม่รับร่างฯ จากการสังเคราะห์ของสื่อมวลชนที่แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มที่ต้องการให้ร่างรธน. มีความเป็นประชาธิปไตย 2. ต้องการยืดเวลาให้ คสช. อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และส่งผลให้การเลือกตั้งส.ส.ยืดเวลาออกไป และ 3. กลุ่มที่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน ซึ่งเกิดจากการต่อรองในเรื่องต่างๆ ดังนั้น ถือเป็นจุดที่ต้องจับตามองอย่างยิ่งว่า การยกร่างรธน.ฉบับใหม่นั้น อาจเกิดความขัดแย้ง เพราะความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
"การลงมติคว่ำร่างรธน.เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดพลาดครั้งใหญ่ของผู้มีอำนาจ เพราะหากคิดว่า การคว่ำร่างรธน. จะต่ออายุให้รัฐบาลได้ หรือต้องการแก้ไขร่างรธน.ให้เป็นประชาธิปไตย หรือตามความต้องการของตนเอง โดยไม่มี สปช. มาขัดขวางเหมือนรอบที่ผ่านมา แต่การกระทำในวันนี้ จะส่งผลเป็นปฏิกิริยาตอบกลับในอนาคต เมื่อการลงมติรอบนี้เพื่อผลประโยชน์ หรือคงอำนาจของตนเอง คิดหรือว่าในขั้นตอนของการทำประชามติ จะไม่มีความขัดแย้ง หากช่วงทำประชามติเป็นช่วงขาลงของรัฐบาล กระแสด้านลบอาจจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ อีกทั้งกระบวนการร่างรธน.ใหม่ต่อจากนี้ไป จะไม่มีกระบวนการเตรียมความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เหมือนที่ สปช.เคยทำมา อาจทำให้เป็นจุดที่อันตราย"