เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (31 ส.ค.) ที่รัฐสภา นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง "เล่าเรื่องยกร่างรัฐธรรมนูญ" ในกิจกรรมสัปดาห์แห่งการเรียนรู้ (วัน LO)ประจำปี 2558 จัดขึ้นโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญมา 2 ฉบับ คือ ฉบับปี 2540 และ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งมีบรรยากาศที่แตกต่างกันมาก เนื่องจากในปี 2540 ไม่มีความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างประชาชน สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยเต็มที่ ไม่มีข้อกำหนดว่า จะต้องเขียนรัฐธรรมนูญอย่างไร และการเคลื่อนไหวทางสังคมนำมาสู่การพิจารณาลงมติเห็นชอบในสภา แต่ฉบับปัจจุบันเกิดจากบรรยากาศอยู่ในความขัดแย้ง แบ่งฝ่ายมานานถึง 8 ปีเศษ มีการชุมนุมถึง 701 วัน เสียชีวิต 130 คน เสียหายกว่า 33,000 ล้านบาท จนถึงการรัฐประหารปกครองในระบอบรัฏฐาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57 ทำให้เกิดความสงบภายใต้กฎอัยการศึก และรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 ดังนั้น บรรยากาศปัจจุบันไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่ รัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35 มีข้อกำหนดให้ กมธ.ยกร่างฯ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามที่ขีดกรอบไว้ จะทำตามใจชอบไม่ได้
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาระบอบประชาธิปไตย กับความเหมาะสมของสังคมไทย 18 ปี ของประชาธิปไตยเต็มใบ มีความขัดแย้งแบ่งฝ่ายอย่างไม่เคยเกิดมาก่อน แก้ปัญหาไม่ได้ จึงมีการสถาปนาระบอบรัฏฐาธิปัตย์ ใช้ มาตรา 44 ถึงสงบอยู่ได้ พอใช้ประชาธิปไตยเต็มใบมาก็ขัดแย้ง ใช้รัฏฐาธิปัตย์ เกิดความสงบ แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ
"ถ้าเอาให้เท่ห์ ต้องเป็นประชาธิปไตยจ๋า เราก็กลัวความขัดแย้งกลับมาอีก ผู้นำทางการเมืองพูดภาษาเดิม ปี 2549 เป็นยังไง ปี 2558 ก็เป็นอีก ฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐบาล อีกฝ่ายหนึ่งก็ลงถนนมาขับไล่ สลับกันไปมา ประชาธิปไตยเต็มใบขัดแย้งจนต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ ส่วนระบอบรัฏฐาธิปัตย์ สร้างความสงบ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ ดังนั้นจึงต้องมี 2 ช่วง ช่วงเลิกรัฏฐาธิปัตย์ เรียกว่า ประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ให้เหมาะสมกับการปฏิรูป สร้างความปรองดอง พอจบ 5 ปี ค่อยเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างสากล" นายบวรศักดิ์ กล่าว
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่าน จะสามารถทำให้การปฏิรูปสำเร็จ สมัยก่อนมีรายงานการปฏิรูปโดยคณะกรรมการชุดของ นพ.ประเวศ วะสี และนายอานันท์ ปันยารชุน คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ แต่ก็เก็บไว้บนหิ้ง เพราะรัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่ทำ อยากให้ความขัดแย้งกลับไปเป็นเหมือนเดิม หรือจะป้องกันไม่ให้เกิดอีก 5 ปี ระยะเปลี่ยนผ่าน สิ่งที่จะทำคือ 1. กำหนดยุทธศาสตร์การปฏิรูป 2. สร้างความปรองดอง 3. หากเกิดความรุนแรง ต้องยับยั้งได้ทันที โดยไม่ต้องลากรถถังออกมายึดอำนาจ จึงเป็นที่มาของการตั้ง คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เพื่อกำกับ ซึ่งเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยขณะนี้
ประธาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ และการทำงานว่า ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่าน สปช. หรือไม่ ผ่านประชามติหรือไม่ ตนรับได้ทั้งนั้น ผ่านก็ดีใจ แต่เหนื่อยต้องทำกฎหมายลูกต่อ หากไม่ผ่าน ก็โล่งอกโล่งใจไปอยู่บ้านสอนหนังสือ ทุกสิ่งไม่มีอะไรเป็นของเรา ปลงได้ก็ไม่ทุกข์ กมธ.ยกร่างฯ ปีนี้โดนทุกรูปแบบ เป็นธรรมดาของการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะรับร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ อยากให้คิดให้ดี ว่าใครได้ใครเสีย คิดให้ลึกซึ้ง จะตอบตัวเองได้ หลายอย่างเราก็แก้ให้ตามข้อเรียกร้อง แต่ความเคลื่อนไหวทางสังคม จะมากเหมือนปี 2540 ไม่ได้ อำนาจแท้จริงขึ้น อยู่กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
ส่วนการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ นั้น นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า กมธ.ยกร่างฯ เป็นผู้นำแบบกลุ่ม 36 คน ตนไปลิขิตชี้ไม่ได้ ข้อสรุปต่างๆ ถ้าไม่มีใครขัดข้อง ก็ถือเป็นมติที่ประชุม มีการถามความคิดเห็นซาวเสียงเรียงคน คปป. หรือ ส.ว.สรรหา ก็มีคนไม่เห็นด้วย แต่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมสู้กันด้วยเหตุผลแล้ว ส่วนประเด็นคำปรารภไม่มีนั้น พบว่าตั้งแต่ปี 2475 ก็เขียนขึ้นภายหลัง คำปรารภ มีส่วนสำคัญคือ เจตนารมณ์และการบรรยายเหตุการณ์ การบรรยายเหตุการณ์เขียนไม่ได้ หากไปเขียนว่าสปช. เห็นชอบ ประชามติเห็นชอบ ก็จะถูกถามว่า รู้ล่วงหน้าได้อย่างไร ในส่วนเจตนารมย์ ก็มีการจัดทำรายมาตราเสร็จแล้ว
"ผมอยากให้ประชาชนตัดสินเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นของประชาชนที่จะยอมให้ใช้ หรือไม่ เสียงประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ การดูร่างรัฐธรรมนูญ อย่าไปดูทีละชิ้น ให้ดูภาพรวม เหมือนดูนางงามจะไปตัดแยกอวัยวะ 32 ส่วน มาแยกดู ก็ไม่สวย ให้ดูว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ 1. แก้ปัญหาบ้านเมืองได้หรือไม่ 2. สิทธิเสรีภาพของพลเมืองก้าวหน้าขึ้นหรือไม่ และ 3. สนองความคาดหวังการปฏิรูปและการปรองดอง ที่คนไทยเรียกร้องมากว่า 10 ปี ได้หรือไม่" นายบวรศักดิ์ กล่าว
**"วิษณุ"ชี้ทางออกคนต้านร่าง รธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. เรียกร้องให้ตนพูดถึงข้อเสียของ คปป. ว่าพูดไม่ได้ ทั้งข้อดีและข้อเสีย และจะไม่พูดแล้ว ทางกมธ.ยกร่างฯ ต้องเป็นคนพูด และใครพูดได้ ก็พูดไป แต่พอมีการประกาศให้ทำประชามติแล้วต้องระมัดระวังขึ้น
ส่วนที่มีความกังวลว่าอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งนั้น ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นได้ 2 ช่วง คือ ช่วงระหว่างการลงประชามติ กับช่วงที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และมีรัฐบาลแล้ว ทุกคนห่วงไม่ใช่ไม่ห่วง ทางกมธ.ยกร่างฯ ก็ห่วง ถึงได้คิดมาตรการแปลกๆ ใส่เอาไว้ ด้วยความเชื่อตามประสาของเขาว่า จะใช้รับมือปัญหาได้ แต่พูดกันตรงๆ มันใช้รับมือไม่ได้หมดร้อยเปอร์เซ็นต์ ยิ่งรู้ว่าใครเตรียมรับมือไว้อย่างไร ก็จะมีคนที่คิดจะออกนอกลู่นอกทาง อุดอย่างไรก็ไม่ได้ แต่อย่างน้อย จะมีมาตรการกันไว้สำหรับคนบางพวกที่อาจจะเกรง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถลด หรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. เพราะจะมีการลงมติในวันที่ 6 ก.ย. กันแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลหรือไม่ว่าหาก สปช. ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงระหว่างก่อนถึงวันประชามติ จะเกิดความวุ่นวาย นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เราเกรงอยู่ แต่น่าจะควบคุมได้ เพราะเป็นความวุ่นวายที่รู้เป้าหมายว่า คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เหมือนความวุ่นวายที่จะเกิดหลังจากมีรัฐธรรมนูญ และเลือกตั้งแล้ว ที่มองจากวันนี้ไปข้างหน้าเราไม่รู้เลยว่าจะมาจากทิศไหน ทางไหน มีตั้งแต่การคัดค้านผลการเลือกตั้ง คัดค้านองค์กรอิสระ คัดค้านรัฐธรรมนูญ หรือไม่พอใจการจัดตั้งรัฐบาล ความวุ่นวายเวลานั้น จะมากกว่าเวลานี้
" เวลานี้จะพูดอะไรก็เป็นการคัดค้านรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาศัยเหตุอาศัยผลอธิบายกันได้ ขณะเดียวกัน มันก็พูดได้ว่า ไม่ต้องค้านอะไรมากหรอกพ่อคุณเอ๋ย คว่ำมัน เสียเวลาลงประชามติก็เท่านั้น ซึ่งก็ยังพอพูดได้ แต่พอหลังเลือกตั้งแล้ว ใครที่ออกมาคัดค้าน คือ 1. เราไม่รู้ว่าเขาค้านอะไร และ 2. ถึงจะรู้ก็ไม่รู้จะระงับความขัดแย้งนั้นได้อย่างไร จะไปบอกให้เขารออะไร ก็ไม่รู้จะรออะไรแล้ว วันนี้ยังบอกได้ว่า ก็ล้มเสียสิ ในการลงประชามติ ถ้าไม่พอใจ อันนี้ไม่ได้ท้า แต่พูดถึงทางออกธรรมดา เดี๋ยวคุณจะไปพาดหัวว่า วิษณุ ท้าให้คว่ำอีก ซึ่งไม่ใช่ แต่ผมกำลังพูดถึงทางออก"
เมื่อถามว่า แสดงว่าจับจุดได้ว่า จะเกิดความขัดแย้งในอนาคต นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่เราจับ แต่ใครๆ ก็รู้ ว่ามีทั้งคนพอใจ และไม่พอใจ ส่วนอะไรมากกว่าหรือน้อยกว่า ตนไม่รู้ เมื่อถามว่าเกรงว่าความไม่พอใจจะเยอะขึ้นหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นไปได้ เพราะนับวัน ความไม่พอใจจะมากขึ้นด้วยความที่มองเห็นจุดอ่อนมากขึ้น เมื่อถามต่อว่า หากเป็นแบบนี้ฝ่ายที่รับผิดชอบ ทำไมจึงไม่รีบผ่อนให้เบาลง นายวิษณุ กล่าวว่า จะไปผ่อนอย่างไร เพราะร่างรัฐธรรมนูญเสร็จตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค.แล้ว เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าไม่มีทางออก นายวิษณุ กล่าวว่า ทางออกมีอยู่แล้ว คือโหวตกันในวันที่ 6 ก.ย. 1 รอบ และ วันที่ 10 ม.ค. 59 อีก 1 รอบ ซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุด
**"ประสาร"ยัน คปป.ไม่ใช่ใบสั่งคสช.
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. และแกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า มีการวิพากษ์กันมากว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ(คปป.) เป็นการสืบทอดอำนาจบ้าง เป็นอำนาจรัฐซ้อนรัฐบ้าง เป็นใบสั่ง คสช.บ้างผมมีความเห็นว่า ไม่ใช่เป็นใบสั่งของ คสช.แต่เป็นใบสั่งของสถานการณ์ในระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นการเริ่มต้นจากความเป็นจริงของประเทศไทย ที่ไม่เหมือนประเทศใดในโลก
ก่อนการยึดอำนาจ 22 พ.ค.57 ไม่ใช่อำนาจรัฐซ้อนรัฐ แต่เป็นนักโทษหนีอาญาแผ่นดินคนเดียว ที่มีอำนาจเหนือรัฐ บทบัญญัติ คปป.นี้เริ่มต้นจากความเป็นจริงที่ประเทศไทยเข้าสู่มุมอับ ซึ่งการเมืองในสภาวะปกติเป็นอัมพาต ทำให้ประชามหาชนแสดงถึงเจตจำนงทางการเมือง ( Political Will) ครั้งประวัติศาสตร์ว่า การเมืองเก่าเป็นกองขยะที่ต้องล้างทิ้ง เดินหน้าไปไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนต้องปฏิรูปอย่างทั่วด้าน ไม่เปลี่ยนไม่ได้ ปัญหาคือ พรรคการเมืองไทยนั้น นอกจากเล่นเกมอำนาจ แบ่งปันผลประโยชน์ ทำประชานิยมแบบล้นเกินอย่างไม่รับผิดชอบ มีพรรคไหนบ้าง ที่มีหัวใจและความมุ่งมั่น ที่จะปฏิรูปจริง
วันนี้ ผลงานการปฏิรูปประเทศไทยอย่างทั่วด้านของสปช. รวม 37 วาระ ส่งมอบให้นายกรัฐมนตรีไปแล้ว นายกฯ แสดงความพึงพอใจและกรุณารับไปขยายผลต่อให้เป็นจริง ซึ่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูก มีบทบัญญัติรองรับไว้แล้ว เพื่อตอบสนองเจตจำนงของประชาชนที่ไม่ต้องการคืนกลับไปสู่การเมืองน้ำเน่าแบบเดิมอีกต่อไป
คำถามคือ พรรคการเมืองจากการเลือกตั้ง จะเอาไหม พวกเขาคุ้นชินกับพื้นที่การเมืองแบบเก่าที่ประชาชนสิ้นหวังมาแล้ว ในยามปกติ คปป. จึงมาทำหน้าที่ผลักดันการปฏิรูป และการปรองดองตาม มาตรา 261 ซึ่งท้ายมาตราก็ระบุชัดว่า คณะกรรมการชุดนี้ "ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน" แต่ในยามที่เหลือกำลังจะลากไหว กล่าวคือ รัฐบาล "เอาไม่อยู่" คปป. จึงจะเข้ามาช่วย เป็นบันไดหนีไฟ เพราะถ้าไม่มีเครื่องมือนี้ไว้ ก็หลีกไม่พ้นที่จะต้องมีทหารเข้ามายึดอำนาจใหม่ เหตุการณ์วิกฤตเป็นสถานการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยมาหลายครั้งแล้ว
**ติงกมธ.ไม่เปิดโอกาสให้วิจารณ์ก่อน
นายนิรันดร์ พันทรกิจ สมาชิก สปช. กล่าวถึงการลงมติร่างรธน.ในวันที่ 6 ก.ย.ว่า เบื้องต้น สมาชิกสปช. มีการแบ่งเป็น 2 กลุ่มชัดเจน คือ เห็นชอบ และไม่เห็นชอบ ซึ่งมั่นใจว่าแต่ละคน มีเหตุผล มีวุฒิภาวะ ในการตัดสินใจเป็นของตัวเอง ส่วนตัวยังไม่ตัดสินใจว่าจะรับ หรือไม่รับ ซึ่งร่างรธน. ฉบับนี้ มีจุดเด่นในเรื่องของการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนมากขึ้น ส่วนจุดด้อยก็มีหลายเรื่อง ตั้งแต่กระบวนการยกร่างที่ขาดคำปรารภ กระบวนการเลือกตั้งต่างๆ เป็นต้น
ส่วนเรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ (คปป.)นั้น ตนเห็นด้วยที่ควรจะมีเครื่องมือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอนาคต เพราะความขัดแย้งที่ผ่านมายังไม่จบ แต่การมีคปป. ยังถือว่าไม่เป็นที่น่าพอใจ จะทำให้เกิดปัญหาระหว่าง คปป. กับรัฐบาลในอนาคต ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี ที่เป็นตัวแทนรัฐบาลคนเดียวไปนั่งอยู่ เกิดความขัดแย้งขึ้นมา จะแก้อย่างไร การมี คปป.ในร่างรธน. จึงเป็นตำบลกระสุนตก ที่ตอนนี้ใครก็รุมโจมตี เพราะเกรงว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจ การที่กมธ. ยกร่างฯ เอาเรื่องนี้เข้ามาช่วงท้ายก่อนทำเสร็จส่งให้ สปช. ลงมติ ถือว่าไม่สมเหตุสมผล แทนที่จะได้เปิดโอกาสให้สปช. ได้วิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านั้น เพื่อปรับเนื้อหาให้เหมาะสม
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ตนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญมา 2 ฉบับ คือ ฉบับปี 2540 และ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งมีบรรยากาศที่แตกต่างกันมาก เนื่องจากในปี 2540 ไม่มีความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างประชาชน สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยเต็มที่ ไม่มีข้อกำหนดว่า จะต้องเขียนรัฐธรรมนูญอย่างไร และการเคลื่อนไหวทางสังคมนำมาสู่การพิจารณาลงมติเห็นชอบในสภา แต่ฉบับปัจจุบันเกิดจากบรรยากาศอยู่ในความขัดแย้ง แบ่งฝ่ายมานานถึง 8 ปีเศษ มีการชุมนุมถึง 701 วัน เสียชีวิต 130 คน เสียหายกว่า 33,000 ล้านบาท จนถึงการรัฐประหารปกครองในระบอบรัฏฐาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57 ทำให้เกิดความสงบภายใต้กฎอัยการศึก และรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 ดังนั้น บรรยากาศปัจจุบันไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่ รัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35 มีข้อกำหนดให้ กมธ.ยกร่างฯ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญตามที่ขีดกรอบไว้ จะทำตามใจชอบไม่ได้
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาระบอบประชาธิปไตย กับความเหมาะสมของสังคมไทย 18 ปี ของประชาธิปไตยเต็มใบ มีความขัดแย้งแบ่งฝ่ายอย่างไม่เคยเกิดมาก่อน แก้ปัญหาไม่ได้ จึงมีการสถาปนาระบอบรัฏฐาธิปัตย์ ใช้ มาตรา 44 ถึงสงบอยู่ได้ พอใช้ประชาธิปไตยเต็มใบมาก็ขัดแย้ง ใช้รัฏฐาธิปัตย์ เกิดความสงบ แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ
"ถ้าเอาให้เท่ห์ ต้องเป็นประชาธิปไตยจ๋า เราก็กลัวความขัดแย้งกลับมาอีก ผู้นำทางการเมืองพูดภาษาเดิม ปี 2549 เป็นยังไง ปี 2558 ก็เป็นอีก ฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐบาล อีกฝ่ายหนึ่งก็ลงถนนมาขับไล่ สลับกันไปมา ประชาธิปไตยเต็มใบขัดแย้งจนต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ ส่วนระบอบรัฏฐาธิปัตย์ สร้างความสงบ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ ดังนั้นจึงต้องมี 2 ช่วง ช่วงเลิกรัฏฐาธิปัตย์ เรียกว่า ประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ให้เหมาะสมกับการปฏิรูป สร้างความปรองดอง พอจบ 5 ปี ค่อยเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างสากล" นายบวรศักดิ์ กล่าว
นายบวรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่าน จะสามารถทำให้การปฏิรูปสำเร็จ สมัยก่อนมีรายงานการปฏิรูปโดยคณะกรรมการชุดของ นพ.ประเวศ วะสี และนายอานันท์ ปันยารชุน คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ แต่ก็เก็บไว้บนหิ้ง เพราะรัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่ทำ อยากให้ความขัดแย้งกลับไปเป็นเหมือนเดิม หรือจะป้องกันไม่ให้เกิดอีก 5 ปี ระยะเปลี่ยนผ่าน สิ่งที่จะทำคือ 1. กำหนดยุทธศาสตร์การปฏิรูป 2. สร้างความปรองดอง 3. หากเกิดความรุนแรง ต้องยับยั้งได้ทันที โดยไม่ต้องลากรถถังออกมายึดอำนาจ จึงเป็นที่มาของการตั้ง คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เพื่อกำกับ ซึ่งเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยขณะนี้
ประธาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ และการทำงานว่า ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่าน สปช. หรือไม่ ผ่านประชามติหรือไม่ ตนรับได้ทั้งนั้น ผ่านก็ดีใจ แต่เหนื่อยต้องทำกฎหมายลูกต่อ หากไม่ผ่าน ก็โล่งอกโล่งใจไปอยู่บ้านสอนหนังสือ ทุกสิ่งไม่มีอะไรเป็นของเรา ปลงได้ก็ไม่ทุกข์ กมธ.ยกร่างฯ ปีนี้โดนทุกรูปแบบ เป็นธรรมดาของการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะรับร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ อยากให้คิดให้ดี ว่าใครได้ใครเสีย คิดให้ลึกซึ้ง จะตอบตัวเองได้ หลายอย่างเราก็แก้ให้ตามข้อเรียกร้อง แต่ความเคลื่อนไหวทางสังคม จะมากเหมือนปี 2540 ไม่ได้ อำนาจแท้จริงขึ้น อยู่กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
ส่วนการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ นั้น นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า กมธ.ยกร่างฯ เป็นผู้นำแบบกลุ่ม 36 คน ตนไปลิขิตชี้ไม่ได้ ข้อสรุปต่างๆ ถ้าไม่มีใครขัดข้อง ก็ถือเป็นมติที่ประชุม มีการถามความคิดเห็นซาวเสียงเรียงคน คปป. หรือ ส.ว.สรรหา ก็มีคนไม่เห็นด้วย แต่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมสู้กันด้วยเหตุผลแล้ว ส่วนประเด็นคำปรารภไม่มีนั้น พบว่าตั้งแต่ปี 2475 ก็เขียนขึ้นภายหลัง คำปรารภ มีส่วนสำคัญคือ เจตนารมณ์และการบรรยายเหตุการณ์ การบรรยายเหตุการณ์เขียนไม่ได้ หากไปเขียนว่าสปช. เห็นชอบ ประชามติเห็นชอบ ก็จะถูกถามว่า รู้ล่วงหน้าได้อย่างไร ในส่วนเจตนารมย์ ก็มีการจัดทำรายมาตราเสร็จแล้ว
"ผมอยากให้ประชาชนตัดสินเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นของประชาชนที่จะยอมให้ใช้ หรือไม่ เสียงประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ การดูร่างรัฐธรรมนูญ อย่าไปดูทีละชิ้น ให้ดูภาพรวม เหมือนดูนางงามจะไปตัดแยกอวัยวะ 32 ส่วน มาแยกดู ก็ไม่สวย ให้ดูว่าร่างรัฐธรรมนูญนี้ 1. แก้ปัญหาบ้านเมืองได้หรือไม่ 2. สิทธิเสรีภาพของพลเมืองก้าวหน้าขึ้นหรือไม่ และ 3. สนองความคาดหวังการปฏิรูปและการปรองดอง ที่คนไทยเรียกร้องมากว่า 10 ปี ได้หรือไม่" นายบวรศักดิ์ กล่าว
**"วิษณุ"ชี้ทางออกคนต้านร่าง รธน.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. เรียกร้องให้ตนพูดถึงข้อเสียของ คปป. ว่าพูดไม่ได้ ทั้งข้อดีและข้อเสีย และจะไม่พูดแล้ว ทางกมธ.ยกร่างฯ ต้องเป็นคนพูด และใครพูดได้ ก็พูดไป แต่พอมีการประกาศให้ทำประชามติแล้วต้องระมัดระวังขึ้น
ส่วนที่มีความกังวลว่าอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งนั้น ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นได้ 2 ช่วง คือ ช่วงระหว่างการลงประชามติ กับช่วงที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และมีรัฐบาลแล้ว ทุกคนห่วงไม่ใช่ไม่ห่วง ทางกมธ.ยกร่างฯ ก็ห่วง ถึงได้คิดมาตรการแปลกๆ ใส่เอาไว้ ด้วยความเชื่อตามประสาของเขาว่า จะใช้รับมือปัญหาได้ แต่พูดกันตรงๆ มันใช้รับมือไม่ได้หมดร้อยเปอร์เซ็นต์ ยิ่งรู้ว่าใครเตรียมรับมือไว้อย่างไร ก็จะมีคนที่คิดจะออกนอกลู่นอกทาง อุดอย่างไรก็ไม่ได้ แต่อย่างน้อย จะมีมาตรการกันไว้สำหรับคนบางพวกที่อาจจะเกรง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถลด หรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค. เพราะจะมีการลงมติในวันที่ 6 ก.ย. กันแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลหรือไม่ว่าหาก สปช. ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ช่วงระหว่างก่อนถึงวันประชามติ จะเกิดความวุ่นวาย นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เราเกรงอยู่ แต่น่าจะควบคุมได้ เพราะเป็นความวุ่นวายที่รู้เป้าหมายว่า คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เหมือนความวุ่นวายที่จะเกิดหลังจากมีรัฐธรรมนูญ และเลือกตั้งแล้ว ที่มองจากวันนี้ไปข้างหน้าเราไม่รู้เลยว่าจะมาจากทิศไหน ทางไหน มีตั้งแต่การคัดค้านผลการเลือกตั้ง คัดค้านองค์กรอิสระ คัดค้านรัฐธรรมนูญ หรือไม่พอใจการจัดตั้งรัฐบาล ความวุ่นวายเวลานั้น จะมากกว่าเวลานี้
" เวลานี้จะพูดอะไรก็เป็นการคัดค้านรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาศัยเหตุอาศัยผลอธิบายกันได้ ขณะเดียวกัน มันก็พูดได้ว่า ไม่ต้องค้านอะไรมากหรอกพ่อคุณเอ๋ย คว่ำมัน เสียเวลาลงประชามติก็เท่านั้น ซึ่งก็ยังพอพูดได้ แต่พอหลังเลือกตั้งแล้ว ใครที่ออกมาคัดค้าน คือ 1. เราไม่รู้ว่าเขาค้านอะไร และ 2. ถึงจะรู้ก็ไม่รู้จะระงับความขัดแย้งนั้นได้อย่างไร จะไปบอกให้เขารออะไร ก็ไม่รู้จะรออะไรแล้ว วันนี้ยังบอกได้ว่า ก็ล้มเสียสิ ในการลงประชามติ ถ้าไม่พอใจ อันนี้ไม่ได้ท้า แต่พูดถึงทางออกธรรมดา เดี๋ยวคุณจะไปพาดหัวว่า วิษณุ ท้าให้คว่ำอีก ซึ่งไม่ใช่ แต่ผมกำลังพูดถึงทางออก"
เมื่อถามว่า แสดงว่าจับจุดได้ว่า จะเกิดความขัดแย้งในอนาคต นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ใช่เราจับ แต่ใครๆ ก็รู้ ว่ามีทั้งคนพอใจ และไม่พอใจ ส่วนอะไรมากกว่าหรือน้อยกว่า ตนไม่รู้ เมื่อถามว่าเกรงว่าความไม่พอใจจะเยอะขึ้นหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นไปได้ เพราะนับวัน ความไม่พอใจจะมากขึ้นด้วยความที่มองเห็นจุดอ่อนมากขึ้น เมื่อถามต่อว่า หากเป็นแบบนี้ฝ่ายที่รับผิดชอบ ทำไมจึงไม่รีบผ่อนให้เบาลง นายวิษณุ กล่าวว่า จะไปผ่อนอย่างไร เพราะร่างรัฐธรรมนูญเสร็จตั้งแต่วันที่ 22 ส.ค.แล้ว เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าไม่มีทางออก นายวิษณุ กล่าวว่า ทางออกมีอยู่แล้ว คือโหวตกันในวันที่ 6 ก.ย. 1 รอบ และ วันที่ 10 ม.ค. 59 อีก 1 รอบ ซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุด
**"ประสาร"ยัน คปป.ไม่ใช่ใบสั่งคสช.
นายประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. และแกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า มีการวิพากษ์กันมากว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ(คปป.) เป็นการสืบทอดอำนาจบ้าง เป็นอำนาจรัฐซ้อนรัฐบ้าง เป็นใบสั่ง คสช.บ้างผมมีความเห็นว่า ไม่ใช่เป็นใบสั่งของ คสช.แต่เป็นใบสั่งของสถานการณ์ในระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นการเริ่มต้นจากความเป็นจริงของประเทศไทย ที่ไม่เหมือนประเทศใดในโลก
ก่อนการยึดอำนาจ 22 พ.ค.57 ไม่ใช่อำนาจรัฐซ้อนรัฐ แต่เป็นนักโทษหนีอาญาแผ่นดินคนเดียว ที่มีอำนาจเหนือรัฐ บทบัญญัติ คปป.นี้เริ่มต้นจากความเป็นจริงที่ประเทศไทยเข้าสู่มุมอับ ซึ่งการเมืองในสภาวะปกติเป็นอัมพาต ทำให้ประชามหาชนแสดงถึงเจตจำนงทางการเมือง ( Political Will) ครั้งประวัติศาสตร์ว่า การเมืองเก่าเป็นกองขยะที่ต้องล้างทิ้ง เดินหน้าไปไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนต้องปฏิรูปอย่างทั่วด้าน ไม่เปลี่ยนไม่ได้ ปัญหาคือ พรรคการเมืองไทยนั้น นอกจากเล่นเกมอำนาจ แบ่งปันผลประโยชน์ ทำประชานิยมแบบล้นเกินอย่างไม่รับผิดชอบ มีพรรคไหนบ้าง ที่มีหัวใจและความมุ่งมั่น ที่จะปฏิรูปจริง
วันนี้ ผลงานการปฏิรูปประเทศไทยอย่างทั่วด้านของสปช. รวม 37 วาระ ส่งมอบให้นายกรัฐมนตรีไปแล้ว นายกฯ แสดงความพึงพอใจและกรุณารับไปขยายผลต่อให้เป็นจริง ซึ่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูก มีบทบัญญัติรองรับไว้แล้ว เพื่อตอบสนองเจตจำนงของประชาชนที่ไม่ต้องการคืนกลับไปสู่การเมืองน้ำเน่าแบบเดิมอีกต่อไป
คำถามคือ พรรคการเมืองจากการเลือกตั้ง จะเอาไหม พวกเขาคุ้นชินกับพื้นที่การเมืองแบบเก่าที่ประชาชนสิ้นหวังมาแล้ว ในยามปกติ คปป. จึงมาทำหน้าที่ผลักดันการปฏิรูป และการปรองดองตาม มาตรา 261 ซึ่งท้ายมาตราก็ระบุชัดว่า คณะกรรมการชุดนี้ "ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน" แต่ในยามที่เหลือกำลังจะลากไหว กล่าวคือ รัฐบาล "เอาไม่อยู่" คปป. จึงจะเข้ามาช่วย เป็นบันไดหนีไฟ เพราะถ้าไม่มีเครื่องมือนี้ไว้ ก็หลีกไม่พ้นที่จะต้องมีทหารเข้ามายึดอำนาจใหม่ เหตุการณ์วิกฤตเป็นสถานการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยมาหลายครั้งแล้ว
**ติงกมธ.ไม่เปิดโอกาสให้วิจารณ์ก่อน
นายนิรันดร์ พันทรกิจ สมาชิก สปช. กล่าวถึงการลงมติร่างรธน.ในวันที่ 6 ก.ย.ว่า เบื้องต้น สมาชิกสปช. มีการแบ่งเป็น 2 กลุ่มชัดเจน คือ เห็นชอบ และไม่เห็นชอบ ซึ่งมั่นใจว่าแต่ละคน มีเหตุผล มีวุฒิภาวะ ในการตัดสินใจเป็นของตัวเอง ส่วนตัวยังไม่ตัดสินใจว่าจะรับ หรือไม่รับ ซึ่งร่างรธน. ฉบับนี้ มีจุดเด่นในเรื่องของการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนมากขึ้น ส่วนจุดด้อยก็มีหลายเรื่อง ตั้งแต่กระบวนการยกร่างที่ขาดคำปรารภ กระบวนการเลือกตั้งต่างๆ เป็นต้น
ส่วนเรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ (คปป.)นั้น ตนเห็นด้วยที่ควรจะมีเครื่องมือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอนาคต เพราะความขัดแย้งที่ผ่านมายังไม่จบ แต่การมีคปป. ยังถือว่าไม่เป็นที่น่าพอใจ จะทำให้เกิดปัญหาระหว่าง คปป. กับรัฐบาลในอนาคต ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี ที่เป็นตัวแทนรัฐบาลคนเดียวไปนั่งอยู่ เกิดความขัดแย้งขึ้นมา จะแก้อย่างไร การมี คปป.ในร่างรธน. จึงเป็นตำบลกระสุนตก ที่ตอนนี้ใครก็รุมโจมตี เพราะเกรงว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจ การที่กมธ. ยกร่างฯ เอาเรื่องนี้เข้ามาช่วงท้ายก่อนทำเสร็จส่งให้ สปช. ลงมติ ถือว่าไม่สมเหตุสมผล แทนที่จะได้เปิดโอกาสให้สปช. ได้วิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านั้น เพื่อปรับเนื้อหาให้เหมาะสม