เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้( 25ส.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการทำประชามติ ร่าง รัฐธรรมนูญ เข้าประชุม ประกอบด้วย กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำประชามติ ร่าง รัฐธรรมนูญ โดยนายวิษณุ กล่าวก่อนเข้าประชุมว่า การทำประชามติ ตนมีความเป็นห่วงเรื่องการประชาสัมพันธ์ว่า จะมีการเปิดโอกาสให้กลุ่มที่เห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ดี จนออกมารณรงค์ จะสามารถทำได้หรือไม่ จึงจะสอบถามประเด็นนี้ต่อ กกต.
ต่อมาเวลา 15.45 น. นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวภายหลังการประชุมว่า มีการพูดถึงความพร้อมในการจัดทำประชามติ ว่าได้เตรียมการอะไรไปถึงไหน ส่วนวันที่จะประกาศทำประชามติ จากเดิมกำหนดไว้วันที่ 10 ม.ค. 59 แต่สามารถขยับได้ ขึ้นอยู่กับว่าสามารถส่งร่าง รัฐธรรมนูญได้ร้อยละ 80 จากครัวเรือนทั้งหมด หรือประมาณ 13.3 ล้านครัวเรือน จากครัวเรือนทั้งหมดมี 16.58 ล้านครัวเรือนเมื่อใด เพราะตามรัฐธรรมนูญ กำหนดว่าการทำประชามติจะเกิดขึ้นหลังแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญครบตามกำหนดไปแล้ว ภายในระยะเวลา 30 - 45 วัน แต่คิดว่าไม่มีปัญหา เพราะจะทยอยส่งไป ส่วนเรื่องงบประมาณกำหนดไว้ 3,000 ล้านบาท อาจมีขยับขึ้นนิดหน่อยตามเนื้องาน แต่จะใช้งบประมาณอย่างประหยัดที่สุด ขณะที่เรื่องกระดาษและโรงพิมพ์ไม่มีปัญหา บุคลากรประจำหน่วยมีความพร้อม ส่วนเรื่องของเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยจะเป็นตำรวจ ไม่มีทหาร ขณะที่เรื่องรณรงค์ชี้นำการลงประชามติ ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะให้รับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หากมีกลุ่มคนกลุ่มใดออกมารณรงค์เรื่องประชามติ จะขัดต่อประกาศคสช. ฉบับที่ 7 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมือง
นายประวิช รัตนเพียร กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวว่า กกต. จะเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติ พ.ศ. … ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 7 ก.ย. หลังจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว โดยในร่างดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีการออกเสียงประชามติล่วงหน้า และการออกเสียงประชามตินอกราชอาณาจักร ส่วนเรื่องบัตรออกเสียง จะมี 2 ใบ เพื่อแยกกันให้ชัดเจน ซึ่งใบหนึ่งถามว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และอีกใบ เป็นคำถามพ่วงที่ สนช.และ สปช. ส่งไปให้ครม.เลือกเพียง 1 คำถาม โดยคำตอบแต่ละใบ จะยึดเสียงข้างมาก
นายประวิช กล่าวว่า สำหรับเรื่องการประชาสัมพันธ์ กกต. จะใช้ผ่านสื่อเป็นหลัก โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมาขึ้นทะเบียนว่าสนใจจะแสดงความคิดเห็นเรื่องอะไรบ้าง จากนั้น จะจัดเวทีแสดงความคิดเห็น โดยมีการบันทึกเทปและนำออกเผยแพร่ผ่านสื่อ เพื่อให้สามารถควบคุมเวลาของทั้งสองฝ่ายได้อย่างเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ ขอความร่วมมือสื่อมวลชน หลังจากวันที่ 7 ก.ย. เป็นต้นไป ในการสัมภาษณ์ใคร อยากให้มีความสมดุลระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนการให้ความเห็นในภาคประชาชน เป็นเรื่องยากมากในการควบคุม โดยเฉพาะในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน แต่การใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม และการกล่าวร้าย ถือเป็นความผิดในกฎหมายสื่อสารอยู่แล้ว และกกต.จะนำไปเขียนไว้ในระเบียบนี้ด้วย
ด้านพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า หากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน สปช. ในวันที่ 6 ก.ย. แล้ว ในวันที่ 7 ก.ย. จะเป็นวันแรกที่ทุกฝ่ายจะเริ่มงาน ในส่วนของกกต. จะต้องไปหาโรงพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ ด้าน กมธ.ยกร่างฯ จะไปจัดทำสาระของรัฐธรรมนูญ และ วันที่ 15 พ.ย. กกต .จะเริ่มแจกให้กับประชาชนผ่านทางไปรษณีย์ไทย หากสามารถแจกได้ครบร้อยละ 80 ตามที่กำหนดไว้ในการประชามติจะสามารถกำหนดวันทำประชามติได้ในวันที่ 10 ม.ค. 59 ถ้าช้าออกไปอีก จะเป็นวันที่ 17 ม.ค. 59 หรือ 24 ม.ค.59 ทั้งนี้ ในส่วนของคำถามที่ ครม.ให้ถามเพิ่ม ก็จะมีคำอธิบายอยู่ในสาระของรัฐธรรมนูญที่กมธ.ยกร่างฯจัดทำ
**"บวรศักดิ์"อโหสิกรรมให้ "วันชัย"
เวลา 09.00 น. วันเดียวกันนี้ ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จัดโครงการสัมนาหารือระหว่างสมาชิก สปช. นำโดย นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญบางส่วน นำโดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ. ยกร่างฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้ ได้จัดเก้าอี้ห้องประชุมเป็นลักษณะตัวยู โดยในช่วงแรก นายเทียนฉาย กล่าวเปิดพิธีทักทายสมาชิก จากนั้น นายบวรศักดิ์ ทำการชี้แจงประเด็นสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ แล้วเปิดโอกาสให้สมาชิก สปช.ซักถามประเด็นสำคัญของหลักการใน ร่าง รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนและข้าราชการผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในที่ประชุม นายวันชัย สอนศิริ สปช. ได้คัดค้าน ร่าง รธน. ในช่วงการประชุมหารือระหว่าง สปช. กับ กมธ.ยกร่างฯ เกี่ยวกับเนื้อหาร่าง รธน.
ต่อมาระหว่างรับประทานอาหารร่วมกัน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ได้สอบถามหาตัวนายวันชัย ว่าอยู่ไหน จากนั้นนายบวรศักดิ์ ได้เดินไปหานายวันชัย พร้อมกล่าวว่า " ขออโหสิกรรม ให้แก่นายวันชัย อาจเป็นเพราะชาติที่แล้ว เราสองคนได้มีเวรกรรมต่อกัน" จากนั้นนายบวรศักดิ์ ได้เดินออกจากห้องรับประทานอาหาร
เมื่อ ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงเรื่องดังกล่าว นายบวรศักดิ์ บอกว่า ไม่ได้โกรธอะไรกับนายวันชัย และได้อโหสิกรรม พร้อมแจ้งให้นายวันชัยทราบไปเรียบร้อยแล้ว
รายงานข่าวจาก กมธ. ยกร่างฯ เปิดเผยว่า ภายหลังได้พูดคุยกับ สปช.แล้ว ยืนยันว่าร่าง รธน. จะผ่านความเห็นชอบในการลงมติ ในวันที่ 6 ก.ย. แน่ เว้นแต่ คสช. มีสัญญาณให้สปช. มีความเห็นเป็นอย่างอื่น
ส่วนการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ หรือ คปป. ที่ถูกโจมตีอยู่ในขณะนี้ ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวครม. เป็นผู้เสนอมา และ กมธ.ยกร่างฯ ก็นำมายกร่างฯ และปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของครม. เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองที่อาจเกิดช่องว่างขึ้นได้ในอนาคต
ขณะที่ การประชุมดังกล่าวในช่วงเช้า นายบวรศักดิ์ ได้ชี้แจงเรื่องที่กมธ.ยกร่างฯไม่ได้บัญญัติคำปรารภในร่างรัฐธรรมนูญเพราะเป็นเรื่องของพระราชอำนาจที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2475 และยืนยันว่า กมธ.ยกร่างฯ ได้ทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่ติดใจที่สปช. จะยื่นเรื่องให้ศาลรธน. ตีความ
ต่อมาเวลา 15.45 น. นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวภายหลังการประชุมว่า มีการพูดถึงความพร้อมในการจัดทำประชามติ ว่าได้เตรียมการอะไรไปถึงไหน ส่วนวันที่จะประกาศทำประชามติ จากเดิมกำหนดไว้วันที่ 10 ม.ค. 59 แต่สามารถขยับได้ ขึ้นอยู่กับว่าสามารถส่งร่าง รัฐธรรมนูญได้ร้อยละ 80 จากครัวเรือนทั้งหมด หรือประมาณ 13.3 ล้านครัวเรือน จากครัวเรือนทั้งหมดมี 16.58 ล้านครัวเรือนเมื่อใด เพราะตามรัฐธรรมนูญ กำหนดว่าการทำประชามติจะเกิดขึ้นหลังแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญครบตามกำหนดไปแล้ว ภายในระยะเวลา 30 - 45 วัน แต่คิดว่าไม่มีปัญหา เพราะจะทยอยส่งไป ส่วนเรื่องงบประมาณกำหนดไว้ 3,000 ล้านบาท อาจมีขยับขึ้นนิดหน่อยตามเนื้องาน แต่จะใช้งบประมาณอย่างประหยัดที่สุด ขณะที่เรื่องกระดาษและโรงพิมพ์ไม่มีปัญหา บุคลากรประจำหน่วยมีความพร้อม ส่วนเรื่องของเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยจะเป็นตำรวจ ไม่มีทหาร ขณะที่เรื่องรณรงค์ชี้นำการลงประชามติ ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะให้รับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หากมีกลุ่มคนกลุ่มใดออกมารณรงค์เรื่องประชามติ จะขัดต่อประกาศคสช. ฉบับที่ 7 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมือง
นายประวิช รัตนเพียร กกต. ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวว่า กกต. จะเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติ พ.ศ. … ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 7 ก.ย. หลังจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว โดยในร่างดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีการออกเสียงประชามติล่วงหน้า และการออกเสียงประชามตินอกราชอาณาจักร ส่วนเรื่องบัตรออกเสียง จะมี 2 ใบ เพื่อแยกกันให้ชัดเจน ซึ่งใบหนึ่งถามว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และอีกใบ เป็นคำถามพ่วงที่ สนช.และ สปช. ส่งไปให้ครม.เลือกเพียง 1 คำถาม โดยคำตอบแต่ละใบ จะยึดเสียงข้างมาก
นายประวิช กล่าวว่า สำหรับเรื่องการประชาสัมพันธ์ กกต. จะใช้ผ่านสื่อเป็นหลัก โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมาขึ้นทะเบียนว่าสนใจจะแสดงความคิดเห็นเรื่องอะไรบ้าง จากนั้น จะจัดเวทีแสดงความคิดเห็น โดยมีการบันทึกเทปและนำออกเผยแพร่ผ่านสื่อ เพื่อให้สามารถควบคุมเวลาของทั้งสองฝ่ายได้อย่างเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ ขอความร่วมมือสื่อมวลชน หลังจากวันที่ 7 ก.ย. เป็นต้นไป ในการสัมภาษณ์ใคร อยากให้มีความสมดุลระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนการให้ความเห็นในภาคประชาชน เป็นเรื่องยากมากในการควบคุม โดยเฉพาะในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน แต่การใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม และการกล่าวร้าย ถือเป็นความผิดในกฎหมายสื่อสารอยู่แล้ว และกกต.จะนำไปเขียนไว้ในระเบียบนี้ด้วย
ด้านพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า หากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน สปช. ในวันที่ 6 ก.ย. แล้ว ในวันที่ 7 ก.ย. จะเป็นวันแรกที่ทุกฝ่ายจะเริ่มงาน ในส่วนของกกต. จะต้องไปหาโรงพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ ด้าน กมธ.ยกร่างฯ จะไปจัดทำสาระของรัฐธรรมนูญ และ วันที่ 15 พ.ย. กกต .จะเริ่มแจกให้กับประชาชนผ่านทางไปรษณีย์ไทย หากสามารถแจกได้ครบร้อยละ 80 ตามที่กำหนดไว้ในการประชามติจะสามารถกำหนดวันทำประชามติได้ในวันที่ 10 ม.ค. 59 ถ้าช้าออกไปอีก จะเป็นวันที่ 17 ม.ค. 59 หรือ 24 ม.ค.59 ทั้งนี้ ในส่วนของคำถามที่ ครม.ให้ถามเพิ่ม ก็จะมีคำอธิบายอยู่ในสาระของรัฐธรรมนูญที่กมธ.ยกร่างฯจัดทำ
**"บวรศักดิ์"อโหสิกรรมให้ "วันชัย"
เวลา 09.00 น. วันเดียวกันนี้ ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จัดโครงการสัมนาหารือระหว่างสมาชิก สปช. นำโดย นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญบางส่วน นำโดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ. ยกร่างฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครั้งนี้ ได้จัดเก้าอี้ห้องประชุมเป็นลักษณะตัวยู โดยในช่วงแรก นายเทียนฉาย กล่าวเปิดพิธีทักทายสมาชิก จากนั้น นายบวรศักดิ์ ทำการชี้แจงประเด็นสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ แล้วเปิดโอกาสให้สมาชิก สปช.ซักถามประเด็นสำคัญของหลักการใน ร่าง รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนและข้าราชการผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในที่ประชุม นายวันชัย สอนศิริ สปช. ได้คัดค้าน ร่าง รธน. ในช่วงการประชุมหารือระหว่าง สปช. กับ กมธ.ยกร่างฯ เกี่ยวกับเนื้อหาร่าง รธน.
ต่อมาระหว่างรับประทานอาหารร่วมกัน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ได้สอบถามหาตัวนายวันชัย ว่าอยู่ไหน จากนั้นนายบวรศักดิ์ ได้เดินไปหานายวันชัย พร้อมกล่าวว่า " ขออโหสิกรรม ให้แก่นายวันชัย อาจเป็นเพราะชาติที่แล้ว เราสองคนได้มีเวรกรรมต่อกัน" จากนั้นนายบวรศักดิ์ ได้เดินออกจากห้องรับประทานอาหาร
เมื่อ ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงเรื่องดังกล่าว นายบวรศักดิ์ บอกว่า ไม่ได้โกรธอะไรกับนายวันชัย และได้อโหสิกรรม พร้อมแจ้งให้นายวันชัยทราบไปเรียบร้อยแล้ว
รายงานข่าวจาก กมธ. ยกร่างฯ เปิดเผยว่า ภายหลังได้พูดคุยกับ สปช.แล้ว ยืนยันว่าร่าง รธน. จะผ่านความเห็นชอบในการลงมติ ในวันที่ 6 ก.ย. แน่ เว้นแต่ คสช. มีสัญญาณให้สปช. มีความเห็นเป็นอย่างอื่น
ส่วนการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ หรือ คปป. ที่ถูกโจมตีอยู่ในขณะนี้ ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวครม. เป็นผู้เสนอมา และ กมธ.ยกร่างฯ ก็นำมายกร่างฯ และปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของครม. เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการเมืองที่อาจเกิดช่องว่างขึ้นได้ในอนาคต
ขณะที่ การประชุมดังกล่าวในช่วงเช้า นายบวรศักดิ์ ได้ชี้แจงเรื่องที่กมธ.ยกร่างฯไม่ได้บัญญัติคำปรารภในร่างรัฐธรรมนูญเพราะเป็นเรื่องของพระราชอำนาจที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2475 และยืนยันว่า กมธ.ยกร่างฯ ได้ทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และไม่ติดใจที่สปช. จะยื่นเรื่องให้ศาลรธน. ตีความ