xs
xsm
sm
md
lg

สปช.สัมมนาพร้อม กมธ.ยกร่างฯ แจกมาตรการแก้วิกฤตชาติพิจารณาควบคู่ รธน.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


สปช. จัดสัมมนาหารือสมาชิก พร้อม กมธ. ยกร่างฯ ห้ามสื่อร่วมรับฟัง กมธ. ยกร่างฯ แจกมาตรการแก้วิกฤตชาติ 17 ปัญหาให้ สปช. พิจารณาควบคู่รธน.

วันนี้ (25 ส.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จัดโครงการสัมมนาหารือระหว่างสมาชิก สปช. นำโดย นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. และกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญบางส่วน นำโดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ. ยกร่างฯ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมในวันนี้ ได้จัดเก้าอี้ห้องประชุมเป็นลักษณะตัวยู โดยในช่วงแรก นายเทียนฉาย จะกล่าวเปิดพิธีทักทายสมาชิก จากนั้น นายบวรศักดิ์ จะทำการชี้แจงประเด็นสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง แล้วจะเปิดโอกาสให้สมาชิก สปช. ซักถามประเด็นสำคัญของหลักการในร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม การประชุมดังกล่าวไม่อนุญาตให้สื่อมวลชน และข้าราชการผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ภายในการประชุม กมธ. ยกร่างฯ ได้แจกมาตรการแก้ไขวิกฤตประเทศไทยที่เกิดขึ้นในอดีต 17 ปัญหา เพื่อให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณาควบคู่กับร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีประเด็นที่สำคัญ อาทิ 1. เมื่อเกิดความไม่สงบและมีความรุนแรงเกิดขึ้น เสนอตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์และการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) และให้อำนาจดำเนินการ หรือสั่งให้มีการดำเนินการเพื่อป้องกันและระงับความขัดแย้ง รวมทั้งให้อำนาจในการระงับยับยั้ง ตรวจสอบไต่สวน ส่งปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและรักษาความสงบเรียบร้อยตามแผนและขั้นตอนของ คปป.

2. หากเกิดปัญหาการเรียกร้องนายกฯคนกลางตามมาตรา 7 แต่ไม่มีองค์ใดวินิจฉัย ซึ่ง กมธ. ยกร่างฯ เสนอทางแก้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าใช้ได้หรือไม่อย่างไร 3. เมื่อเกิดกรณียุบสภาและรัฐบาลรักษาการ อ้างว่า รัฐมนตรีไม่สามารถลาออกได้ ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบังคับรัฐธรรมนูญ กมธ. ยกร่างฯ เสนอกำหนดให้ลาออกได้ หากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลาออกจนเหลือครึ่งหนึ่งของสมาชิก ก็ให้ปลัดกระทรวงร่วมขึ้นเป็นคณะรักษาการแทน โดยให้เลือกปลัดกระทรวงหนึ่งคนปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และเลือกอีก 2 คน ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรี

4. ปัญหารัฐบาลพยายามแก้รัฐธรรมนูญหลังเลือกตั้งแล้ว กมธ. ยกร่างฯ ระบุ 1. ห้ามแก้เรื่องระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ห้ามแก้เรื่องเป็นรัฐเดี่ยว 2. หากต้องการแก้ไขหลักสำคัญ เช่น สิทธิเสรีภาพ เรื่องศาล องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จะต้องใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิก เพื่อให้แก้รัฐธรรมนูญยาก ปัญหาที่ 5 การให้บทบาทฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร โดยเสนอให้ฝ่ายค้านเป็นประธานกรรมการตรวจสอบการทุจริตและติดตามการใช้งบประมาณ 6. เรื่องที่มาทรัพย์สินของผู้ที่จะเข้าวงการการเมือง เสนอให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกระดับต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีย้อนหลังสามปีเพื่อตรวจสอบ

7. ปัญหาฝ่ายการเมืองแทรกแซงการทำงานของราชการ ระบุข้อแก้ไขให้การแต่งตั้งข้าราชการต้องใช้ระบบคุณธรรมและห้ามแทรกแซงการแต่งตั้งและโยกย้าย เว้นแต่ทำตามกฎหมาย 8. ปัญหาคดีล้น ป.ป.ช. เสนอแก้ให้ ป.ป.ช. มีอำนาจตรวจสอบการทุจริตผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง และหัวหน้าส่วนราชการเท่านั้น และให้เจ้าหน้าที่ระดับรองตรวจสอบหน่วยงานอื่น และปัญหาที่น่าสนใจ 9. ร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอมักไม่ได้รับการตอบรับ เสนอให้หน่วยงานของรัฐช่วยประชาชนจัดทำร่างกฎหมาย และสภาต้องพิจารณากฎหมายของประชาชนภายใน 180 วัน

























กำลังโหลดความคิดเห็น