ASTVผู้จัดการรายวัน - รมว.คลังเผยเตรียมออกมาตรการช่วยเอสเอ็มอี ช่วยแก้ปัญหารายอุตสาหกรรม เข้า ครม.วันที่ 8 ก.ย. พร้อมเร่งสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริมการลงทุน แย้มเลิกภาษีย้อนหลัง ด้าน "สมคิด" ลั่นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.36 แสนล้าน ไม่ใช่โครงการประชานิยม แต่เป็นหน้าที่รัฐบาลต้องดูแลความเดือร้อนของประชาชน กระทรวงอุตฯชงอุ้ม 1 หมื่นรายโยกเงินสสว.ตั้งกองทุนฯช่วยSMEsวงเงินพันล้าน
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาและนิทรรศการ "ศาสตราจารย์สังเวียนฟอรั่ม 2015" เมื่อวานนี้ (3 ก.ย.) ว่า เตรียมหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ และช่วยแก้ปัญหากลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังประสบปัญหาประมาณ 2-3 กลุ่ม เพื่อให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้
รมว.คลังกล่าวว่า รัฐบาลมีแนวคิดในการดูแลเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ ประการแรกช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งล่าสุด ครม.ได้อนุมัติแพ็คเกจช่วยเหลือไปแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในเวลา 3 เดือน ประการที่สอง คือ การสร้างระบบเศรษฐกิจไทยให้เกิดความสมดุลทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยให้ภาคเอกชนเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากใกล้ชิดข้อมูลและมีความเข้าใจต่อสถานการณ์ ขณะที่รัฐบาลจะมีหน้าที่คอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดี เช่น การให้สิทธิประโยชน์จูงใจการลงทุน และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
และประการที่สาม กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะร่วมกันผลักดันให้มีการใช้ระบบชำระเงินด้วยอิเลคทรอนิกส์ e-payment เพื่อช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในอนาคต รวมทั้งผลักดันให้บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางจัดทำระบบบัญชีเดียว ซึ่งต้องหามาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบมากขึ้นเพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้นและมีงบประมาณเพียงพอสำหรับใช้ในการลงทุน
นายอภิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาล จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชน ด้วยการหาแนวทางส่งเสริมการลงทุน ในการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากกว่าที่ได้รับอยู่ในปัจจุบันจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ซึ่งในเรื่องดังกล่าว นายกรัฐมนตรีสั่งให้เร่งดำเนินการ ส่วนข้อเสนอของภาคเอกชน ให้นิรโทษกรรมภาษีกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยไม่เรียกเก็บภาษีย้อนหลังนั้น ต้องรอให้มีความชัดเจนก่อน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รายละเอียดมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดทำ และจะเสนอ ครม.ในวันที่ 8 กันยายน 58 นับเป็นเรื่องในระยะเร่งด่วนให้ ครม. พิจารณาและอนุมัติ ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล 1.36 แสนล้านบาทที่เพิ่งผ่าน มติ ครม.นั้น ยืนยันว่าไม่ใช่โครงการประชานิยม ที่มุ่งตอบสนองความต้องการคนโดยไม่มีเหตุผล เพราะขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเดือดร้อน นายกรัฐมนตรีทราบดี ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแล ดังนั้นรัฐบาลจึงออกมาตรการ
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า เม็ดเงินตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะจัดสรรลงไปยังกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในส่วนที่ธนาคารออมสินรับผิดชอบนั้น คาดว่าก้อนแรกประมาณ 5,000-10,000 ล้านบาทจะเข้าสู่ระบบได้ภายในเดือน ก.ย.นี้ และภายใน 3 เดือนจะทยอยเข้าสู่ระบบได้ทั้งหมด 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะดูแลสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้อยู่ในระดับประมาณ 1% ในช่วง 7 ปี.
กระทรวงอุตฯชงตั้งกองทุนพันล้าน
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้(4ก.ย.)นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีในหัวหน้าทีมเศรษฐกิจจะหารือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs)ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะสรุปเป็นแพคเกจในการช่วยดำเนินการเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 8 ก.ย.นี้ โดยในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมเบื้องต้นจะเสนอแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับSMEsที่ประสบปัญหาประมาณ 10,000รายโดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(สสว.)
“ตามแผนเบื้องต้นในแพคเกจช่วยเหลือ SMEs ของรัฐบาลจะประกอบด้วย 4 ด้านได้แก่ การเงิน การคลัง การเพิ่มรายได้ และมาตรการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยในส่วนของด้านการเงินกรอบใหญ่จะแบ่งเป็น 3 แนวทางคือ 1. สินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูจากสถาบันการเงินวงเงิน 1 แสนล้านบาท 2.กองทุนพลิกฟื้นSMEsที่ประสบปัญหาทางการเงิน 1,000ล้านบาท และ3.กองทุนสตาร์ทอัพนักรบใหม่ วงเงิน 1,500 ล้านบาทซึ่งจะเป็นการพัฒนาSMEs ใหม่ๆ ”นางอรรชกากล่าว
ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงอุตฯเสนอช่วยเหลือ SMEs 10,000 รายโดยให้สสว.คัดเลือกและแยกกลุ่ม SMEs ดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1 SMEs ที่ประสบปัญหาทางการเงินค่อนข้างมากหรือค่อนข้างวิกฤต 10% ก็จะต้องช่วยเหลือระยะด่วนในทุกๆด้าน โดยเฉพาะทางด้านการเงินซึ่งจะมีการดึงเงินมาจากสสว.ที่เดิมได้รับงบประมาณมาดำเนินกองทุนตั้งตัวได้1,000 ล้านบาทโดยจะขอครม.อนุมัติโยกงบมาตั้งเป็นกองทุนพลิกฟื้น SMEs ที่ประสบปัญหาการเงิน 2. SMEsที่มีปัญหาไม่มาก 40% ก็จะต้องเยียวยา 3. SMEs 50% มีปัญหาไม่มากแต่ต้องการพัฒนา
สำหรับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม(Cluster) 7 กลุ่มที่จะต้องเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย เชื่อมโยงกับ SMEs และธุรกิจท้องถิ่น ฯลฯ นั้นจะมีการเสนอให้นายสมคิดพิจารณาในสัปดาห์ต่อไปโดยจะมองการพัฒนาพื้นที่ของแต่ละอุตสาหกรรม ส่วนงานเร่งด่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ การปรับโครงสร้างอ้อย
การแก้ไขปัญหาผังเมืองที่มีผลกระทบต่อการขยายโรงงาน ศูนย์ทดสอบรถยนต์ การใช้งบประมาณขนาดเล็กไม่เกิน 1 ล้านบาท ระยะกลางได้แก่ การกำจัดกากอุตสาหกรรม น้ำเสีย
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาและนิทรรศการ "ศาสตราจารย์สังเวียนฟอรั่ม 2015" เมื่อวานนี้ (3 ก.ย.) ว่า เตรียมหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ และช่วยแก้ปัญหากลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังประสบปัญหาประมาณ 2-3 กลุ่ม เพื่อให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้
รมว.คลังกล่าวว่า รัฐบาลมีแนวคิดในการดูแลเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ ประการแรกช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งล่าสุด ครม.ได้อนุมัติแพ็คเกจช่วยเหลือไปแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในเวลา 3 เดือน ประการที่สอง คือ การสร้างระบบเศรษฐกิจไทยให้เกิดความสมดุลทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยให้ภาคเอกชนเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากใกล้ชิดข้อมูลและมีความเข้าใจต่อสถานการณ์ ขณะที่รัฐบาลจะมีหน้าที่คอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดี เช่น การให้สิทธิประโยชน์จูงใจการลงทุน และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
และประการที่สาม กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะร่วมกันผลักดันให้มีการใช้ระบบชำระเงินด้วยอิเลคทรอนิกส์ e-payment เพื่อช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในอนาคต รวมทั้งผลักดันให้บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางจัดทำระบบบัญชีเดียว ซึ่งต้องหามาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบมากขึ้นเพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้นและมีงบประมาณเพียงพอสำหรับใช้ในการลงทุน
นายอภิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาล จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชน ด้วยการหาแนวทางส่งเสริมการลงทุน ในการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากกว่าที่ได้รับอยู่ในปัจจุบันจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ซึ่งในเรื่องดังกล่าว นายกรัฐมนตรีสั่งให้เร่งดำเนินการ ส่วนข้อเสนอของภาคเอกชน ให้นิรโทษกรรมภาษีกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยไม่เรียกเก็บภาษีย้อนหลังนั้น ต้องรอให้มีความชัดเจนก่อน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รายละเอียดมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดทำ และจะเสนอ ครม.ในวันที่ 8 กันยายน 58 นับเป็นเรื่องในระยะเร่งด่วนให้ ครม. พิจารณาและอนุมัติ ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล 1.36 แสนล้านบาทที่เพิ่งผ่าน มติ ครม.นั้น ยืนยันว่าไม่ใช่โครงการประชานิยม ที่มุ่งตอบสนองความต้องการคนโดยไม่มีเหตุผล เพราะขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเดือดร้อน นายกรัฐมนตรีทราบดี ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแล ดังนั้นรัฐบาลจึงออกมาตรการ
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า เม็ดเงินตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะจัดสรรลงไปยังกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในส่วนที่ธนาคารออมสินรับผิดชอบนั้น คาดว่าก้อนแรกประมาณ 5,000-10,000 ล้านบาทจะเข้าสู่ระบบได้ภายในเดือน ก.ย.นี้ และภายใน 3 เดือนจะทยอยเข้าสู่ระบบได้ทั้งหมด 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะดูแลสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้อยู่ในระดับประมาณ 1% ในช่วง 7 ปี.
กระทรวงอุตฯชงตั้งกองทุนพันล้าน
นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้(4ก.ย.)นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีในหัวหน้าทีมเศรษฐกิจจะหารือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs)ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะสรุปเป็นแพคเกจในการช่วยดำเนินการเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 8 ก.ย.นี้ โดยในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมเบื้องต้นจะเสนอแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับSMEsที่ประสบปัญหาประมาณ 10,000รายโดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(สสว.)
“ตามแผนเบื้องต้นในแพคเกจช่วยเหลือ SMEs ของรัฐบาลจะประกอบด้วย 4 ด้านได้แก่ การเงิน การคลัง การเพิ่มรายได้ และมาตรการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยในส่วนของด้านการเงินกรอบใหญ่จะแบ่งเป็น 3 แนวทางคือ 1. สินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูจากสถาบันการเงินวงเงิน 1 แสนล้านบาท 2.กองทุนพลิกฟื้นSMEsที่ประสบปัญหาทางการเงิน 1,000ล้านบาท และ3.กองทุนสตาร์ทอัพนักรบใหม่ วงเงิน 1,500 ล้านบาทซึ่งจะเป็นการพัฒนาSMEs ใหม่ๆ ”นางอรรชกากล่าว
ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงอุตฯเสนอช่วยเหลือ SMEs 10,000 รายโดยให้สสว.คัดเลือกและแยกกลุ่ม SMEs ดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1 SMEs ที่ประสบปัญหาทางการเงินค่อนข้างมากหรือค่อนข้างวิกฤต 10% ก็จะต้องช่วยเหลือระยะด่วนในทุกๆด้าน โดยเฉพาะทางด้านการเงินซึ่งจะมีการดึงเงินมาจากสสว.ที่เดิมได้รับงบประมาณมาดำเนินกองทุนตั้งตัวได้1,000 ล้านบาทโดยจะขอครม.อนุมัติโยกงบมาตั้งเป็นกองทุนพลิกฟื้น SMEs ที่ประสบปัญหาการเงิน 2. SMEsที่มีปัญหาไม่มาก 40% ก็จะต้องเยียวยา 3. SMEs 50% มีปัญหาไม่มากแต่ต้องการพัฒนา
สำหรับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม(Cluster) 7 กลุ่มที่จะต้องเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย เชื่อมโยงกับ SMEs และธุรกิจท้องถิ่น ฯลฯ นั้นจะมีการเสนอให้นายสมคิดพิจารณาในสัปดาห์ต่อไปโดยจะมองการพัฒนาพื้นที่ของแต่ละอุตสาหกรรม ส่วนงานเร่งด่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ การปรับโครงสร้างอ้อย
การแก้ไขปัญหาผังเมืองที่มีผลกระทบต่อการขยายโรงงาน ศูนย์ทดสอบรถยนต์ การใช้งบประมาณขนาดเล็กไม่เกิน 1 ล้านบาท ระยะกลางได้แก่ การกำจัดกากอุตสาหกรรม น้ำเสีย