ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกฯ ระบุถอดยศทักษิณ รอส่งเรื่องตามขั้นตอนพร้อมลงนาม ไม่จำเป็นต้องเข้าที่ประชุม ครม. ขณะที่เสื้อแดงในคราบประธานชมรมข้าราชการตำรวจบำนาญ ยื่นศาลปกครอง เพิกถอนระเบียบถอดยศตำรวจ ชี้ขัดกฎหมาย
วานนี้ (1 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงความคืบหน้าการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า กำลังเข้ามา โดยไม่จำเป็นต้องเข้าที่ประชุม ครม. เมื่อมีการรายงานถึงตนเมื่อไร จะมีการลงนามตามขั้นตอน กติกา ขอให้รอ อย่าตื่นเต้น จะทำวันไหนก็เหมือนกันทุกอย่างเป็นไปตามหลักกฎหมาย กติกา เมื่อมีการพิจารณาหมดแล้วจากคณะกรรมการหลายๆ คณะแล้วเป็นที่พอใจก็พร้อมที่จะปฏิบัติในทุกเรื่อง วันเดียวกัน พ.ต.อ.บรรจบ สุดใจ ประธานชมรมข้าราชการตำรวจบำนาญ 4
1 พร้อมทนาย เข้ายื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้มีคำสั่งเพิ่กถอนระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 โดย พ.ต.อ.บรรจบ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่มีอำนาจในการออกระเบียบดัวกล่าว เพื่อถอดยศนายตำรวจนอกราชการ หรือที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยการลาออก หรือเกษียณอายุ เนื่องจากระเบียบดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 ในหลายมาตรา เช่น มาตรา 11 ที่แม้บัญญัติให้ ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการบริหารงานตำรวจ แต่การกำหนดอำนาจดังกล่าว ก็เป็นกำหนดอำนาจการบริหารงานบุคคลในสำนักงานตำรวจเท่านั้น ไม่เกี่ยวถึงตำรวจนอกราชการ การจะยก มาตรา 11 มาอ้าง เพื่อออกระเบียบการถอดยศนั้น ไม่ว่าจะมีผลบังคับกับตำรวจใน หรือนอกราชการ ก็ไม่มีอำนาจในการออกระเบียบนี้ได้ มาตรา 28 ที่มีการบัญญัติถึงการถอดยศโดยตรง ก็ไม่ได้บัญญัติถึงตำรวจสัญญบัตินอกราชการไว้ ถือเป็นขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง
นอกจากนี้ระเบียบดังกล่าวยังไม่ได้นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่ มาตรา 28 พ.ร.บ.ตำรวจกำหนด และ มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารบัญญัติไว้ จึงถือว่าระเบียบดังกล่าวเป็นโมฆะ
"ที่สำคัญระเบียบนี้ออกในปี 2547 โดยข้อ 1(6) ได้ระบุเงื่อนไขที่จะถูกถอดยศว่า ต้องหาคดีอาญาแล้วหลบหนีไป แต่ในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ 40 ได้มีผลใช้บังคับ และ มาตรา 33 ของรัฐธรรมนูญ 40 บัญญัติว่าในคดีอาญาต้องสัญนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหารือจำเลยไม่มีความผิดก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด แสดงว่า บุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นอย่างผู้กระทำผิดมิได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญในฉบับต่อๆ มา ก็มีการบัญญัติในลักษณะเช่นนี้ ฉะนั้นเมื่อได้ความว่าระเบียบดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียแล้ว ย่อมไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ ศาลปกครองสมควรที่จะสั่งให้ยกเลิก หรือระงับการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเสีย เพราะการดำเนินการเพื่อถอดยศตำรวจนอกราชการ ไม่เคยมีการกระทำมาก่อน พึ่งเกิดขึ้นกับกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นนายตำรวจสัญญาบัตร นอกราชการรายแรก หากถอดยศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยกรณีนี้ ก็จะเกิดผลผูกพันเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีและตำรวจสัญญาบัตรนอกราชการอื่นๆ ด้วย อย่างไม่เป็นธรรม" คำฟ้อง ระบุ
ทั้งนี้ ในคำฟ้องยังระบุด้วยว่า เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ทางชมรมได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ก.ต.ช. ผ่าน พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. ว่าการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะพิจารณาถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตรนอกราชการ จากเหตุต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และกรณีเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนี ในนามชมรมข้าราชการตำรวจบำนาญ ซึ่งเป็นตำรวจที่เกษียณราชการไปแล้ว และอาจเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เกี่ยวกับระเบียบกฎหมายดังกล่าว ต่างไม่เห็นด้วย ที่ สตช. จะใช้ระเบียบดังกล่าว มาดำเนินการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นตำรวจสัญญาบัตรนอกราชการ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาทบทวน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าในเว็บไซต์ prachatouch.com ระบุว่า พ.ต.อ.บรรจบ สุดใจ อดีตสารวัตรใหญ่ สน.พญาไท ผู้กำกับการ สน.จักรวรรดิ์ เคยขึ้นเวทีสภาสนามหลวงของคนเสื้อแดง โดยกล่าวถึง น.พ.ประเวศ วสี ที่เสนอแก้ไขปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ด้วยการขอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ว่า เป็นข้อเสนอที่รุนแรงเกินจริง เพราะการจะมีรัฐบาลแห่งชาติ สถานการณ์บ้านเมืองต้องเข้าขั้นวิกฤติจนเกินกว่าจะควบคุมได้ จึงสมควรแล้วหรือที่จะออกมาพูดเช่นนั้น
“การตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ยังเป็นขั้นตอนช่วงกลางที่จะนำไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ แสดงว่า หมอประเวศ ออกมากล่าวเช่นนี้ต้องมีนัยแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่เป็นแน่”
พ.ต.อ.บรรจบกล่าวด้วยว่า นับแต่กลุ่มพันธมิตรฯออกมาชุมนุมและกล่าวอ้างเรื่องที่ไม่เหมาะสมหลายเรื่อง กลับไม่เห็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง โดยเฉพาะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ออกมาตักเตือนว่ากล่าวกลับบอกได้แต่เพียงแค่ให้สมานฉันท์เท่านั้น ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯก็ไม่เคยรับฟังหรือปฏิบัติตามแต่อย่างใด ขณะที่สื่อบ้างฉบับยังนำไปเผยแพร่ขยายความบิดเบือนให้เป็นประโยชน์แก่กลุ่ม พันธมิตรฯ จนรัฐบาลถูกมองในแง่ลบ
“ผมอยากถามว่า สื่อทำไม่ต้องทำเรื่องเลวๆ เช่นนี้ เพียงเพื่อการขายข่าวเท่านั้น หรือหาก ผบ.ทบ.ออกมาตักเตือนอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เชื่อว่าเรื่องก็จะจบ และสิ่งที่ผมไปแจ้งความกับสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้นต้องแสดงให้เห็นว่า ถ้าสามารถจับแกนนำพันธมิตรฯได้สักคนเรื่องก็จะสามารถยุติได้โดยเร็วอย่างแน่ นอน”
พ.ต.อ.บรรจบยังกล่าวด้วยว่า การกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยเฉพาะ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ถือว่าเหิมเกริมอย่างยิ่ง ที่ประชาชนควรออกมาแจ้งความดำเนินคดีให้มากๆ เพื่อให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการทำหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายได้
พ.ต.อ.บรรจบเคยได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินคดีกับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ พร้อมพวกรวม 9 คน จากกรณีที่นายสนธิ และพวก เป็นแกนนำชุมนุมขับไล่รัฐบาลซึ่งมี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง.
วานนี้ (1 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงความคืบหน้าการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า กำลังเข้ามา โดยไม่จำเป็นต้องเข้าที่ประชุม ครม. เมื่อมีการรายงานถึงตนเมื่อไร จะมีการลงนามตามขั้นตอน กติกา ขอให้รอ อย่าตื่นเต้น จะทำวันไหนก็เหมือนกันทุกอย่างเป็นไปตามหลักกฎหมาย กติกา เมื่อมีการพิจารณาหมดแล้วจากคณะกรรมการหลายๆ คณะแล้วเป็นที่พอใจก็พร้อมที่จะปฏิบัติในทุกเรื่อง วันเดียวกัน พ.ต.อ.บรรจบ สุดใจ ประธานชมรมข้าราชการตำรวจบำนาญ 4
1 พร้อมทนาย เข้ายื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้มีคำสั่งเพิ่กถอนระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 โดย พ.ต.อ.บรรจบ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่มีอำนาจในการออกระเบียบดัวกล่าว เพื่อถอดยศนายตำรวจนอกราชการ หรือที่พ้นจากราชการตำรวจไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยการลาออก หรือเกษียณอายุ เนื่องจากระเบียบดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 ในหลายมาตรา เช่น มาตรา 11 ที่แม้บัญญัติให้ ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการบริหารงานตำรวจ แต่การกำหนดอำนาจดังกล่าว ก็เป็นกำหนดอำนาจการบริหารงานบุคคลในสำนักงานตำรวจเท่านั้น ไม่เกี่ยวถึงตำรวจนอกราชการ การจะยก มาตรา 11 มาอ้าง เพื่อออกระเบียบการถอดยศนั้น ไม่ว่าจะมีผลบังคับกับตำรวจใน หรือนอกราชการ ก็ไม่มีอำนาจในการออกระเบียบนี้ได้ มาตรา 28 ที่มีการบัญญัติถึงการถอดยศโดยตรง ก็ไม่ได้บัญญัติถึงตำรวจสัญญบัตินอกราชการไว้ ถือเป็นขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง
นอกจากนี้ระเบียบดังกล่าวยังไม่ได้นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่ มาตรา 28 พ.ร.บ.ตำรวจกำหนด และ มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารบัญญัติไว้ จึงถือว่าระเบียบดังกล่าวเป็นโมฆะ
"ที่สำคัญระเบียบนี้ออกในปี 2547 โดยข้อ 1(6) ได้ระบุเงื่อนไขที่จะถูกถอดยศว่า ต้องหาคดีอาญาแล้วหลบหนีไป แต่ในขณะนั้นรัฐธรรมนูญ 40 ได้มีผลใช้บังคับ และ มาตรา 33 ของรัฐธรรมนูญ 40 บัญญัติว่าในคดีอาญาต้องสัญนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหารือจำเลยไม่มีความผิดก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด แสดงว่า บุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นอย่างผู้กระทำผิดมิได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญในฉบับต่อๆ มา ก็มีการบัญญัติในลักษณะเช่นนี้ ฉะนั้นเมื่อได้ความว่าระเบียบดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียแล้ว ย่อมไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ ศาลปกครองสมควรที่จะสั่งให้ยกเลิก หรือระงับการปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเสีย เพราะการดำเนินการเพื่อถอดยศตำรวจนอกราชการ ไม่เคยมีการกระทำมาก่อน พึ่งเกิดขึ้นกับกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นนายตำรวจสัญญาบัตร นอกราชการรายแรก หากถอดยศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยกรณีนี้ ก็จะเกิดผลผูกพันเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีและตำรวจสัญญาบัตรนอกราชการอื่นๆ ด้วย อย่างไม่เป็นธรรม" คำฟ้อง ระบุ
ทั้งนี้ ในคำฟ้องยังระบุด้วยว่า เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ทางชมรมได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ก.ต.ช. ผ่าน พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร. ว่าการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะพิจารณาถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตรนอกราชการ จากเหตุต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และกรณีเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาแล้วหลบหนี ในนามชมรมข้าราชการตำรวจบำนาญ ซึ่งเป็นตำรวจที่เกษียณราชการไปแล้ว และอาจเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เกี่ยวกับระเบียบกฎหมายดังกล่าว ต่างไม่เห็นด้วย ที่ สตช. จะใช้ระเบียบดังกล่าว มาดำเนินการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นตำรวจสัญญาบัตรนอกราชการ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาทบทวน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าในเว็บไซต์ prachatouch.com ระบุว่า พ.ต.อ.บรรจบ สุดใจ อดีตสารวัตรใหญ่ สน.พญาไท ผู้กำกับการ สน.จักรวรรดิ์ เคยขึ้นเวทีสภาสนามหลวงของคนเสื้อแดง โดยกล่าวถึง น.พ.ประเวศ วสี ที่เสนอแก้ไขปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ด้วยการขอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ว่า เป็นข้อเสนอที่รุนแรงเกินจริง เพราะการจะมีรัฐบาลแห่งชาติ สถานการณ์บ้านเมืองต้องเข้าขั้นวิกฤติจนเกินกว่าจะควบคุมได้ จึงสมควรแล้วหรือที่จะออกมาพูดเช่นนั้น
“การตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ยังเป็นขั้นตอนช่วงกลางที่จะนำไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ แสดงว่า หมอประเวศ ออกมากล่าวเช่นนี้ต้องมีนัยแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่เป็นแน่”
พ.ต.อ.บรรจบกล่าวด้วยว่า นับแต่กลุ่มพันธมิตรฯออกมาชุมนุมและกล่าวอ้างเรื่องที่ไม่เหมาะสมหลายเรื่อง กลับไม่เห็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง โดยเฉพาะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ออกมาตักเตือนว่ากล่าวกลับบอกได้แต่เพียงแค่ให้สมานฉันท์เท่านั้น ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯก็ไม่เคยรับฟังหรือปฏิบัติตามแต่อย่างใด ขณะที่สื่อบ้างฉบับยังนำไปเผยแพร่ขยายความบิดเบือนให้เป็นประโยชน์แก่กลุ่ม พันธมิตรฯ จนรัฐบาลถูกมองในแง่ลบ
“ผมอยากถามว่า สื่อทำไม่ต้องทำเรื่องเลวๆ เช่นนี้ เพียงเพื่อการขายข่าวเท่านั้น หรือหาก ผบ.ทบ.ออกมาตักเตือนอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เชื่อว่าเรื่องก็จะจบ และสิ่งที่ผมไปแจ้งความกับสำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้นต้องแสดงให้เห็นว่า ถ้าสามารถจับแกนนำพันธมิตรฯได้สักคนเรื่องก็จะสามารถยุติได้โดยเร็วอย่างแน่ นอน”
พ.ต.อ.บรรจบยังกล่าวด้วยว่า การกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยเฉพาะ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ถือว่าเหิมเกริมอย่างยิ่ง ที่ประชาชนควรออกมาแจ้งความดำเนินคดีให้มากๆ เพื่อให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการทำหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายได้
พ.ต.อ.บรรจบเคยได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินคดีกับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ พร้อมพวกรวม 9 คน จากกรณีที่นายสนธิ และพวก เป็นแกนนำชุมนุมขับไล่รัฐบาลซึ่งมี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง.