วานนี้ (30 ส.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เขียนข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้มีแค่ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) อำนาจพิเศษ นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้บังคับว่าต้องมาจากส.ส.ทุกกรณี ส.ว. ที่ไม่ได้มาแต่เฉพาะจากการเลือกตั้งทางตรง และฯลฯ ที่กินพื้นที่ข่าวพื้นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นส่วนใหญ่เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายต่อหลายมาตรการใหม่ ๆ ที่จะทำให้การเมืองระบบรัฐสภา มีประสิทธิภาพขึ้น มีดุลยภาพขึ้น และสามารถแก้ปัญหาภายในระบบได้มากขึ้น
นายคำนูณ ระบุว่า ลองดูมาตรการที่ขอสกัดมาให้ดูเป็นตัวอย่าง 9 ประการ
1. กำหนดให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 มาจากส.ส.พรรคฝ่ายค้าน และให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้าไปอยู่ในที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานกมธ.สามัญของสภาฯในการวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.ใดเป็น ร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ด้วย มาตรา 129 วรรคสอง และ มาตรา 144 วรรคสอง
2. กำหนดให้ประธานสภาฯ ประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภา รวมทั้งผู้ทำหน้าที่แทน ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ยกระดับมาตรฐานจากเดิมที่ให้วางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น ห้ามประธาน และรองประธานสภาฯ ดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมือง และห้ามเข้าร่วมประชุมพรรคการเมืองด้วย มาตรา 97 วรรคสาม มาตรา 129 วรรคหก และ มาตรา 130 วรรคสอง
3. กำหนดให้ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน เป็นประธานกมธ.สามัญของสภาผู้แทนราษฎร ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือทำหน้าที่กำกับติดตามเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ มาตรา 138 วรรคสอง
4. กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น มาตรา 96 วรรคสาม
5. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องตอบกระทู้ถามโดยเร็ว มาตรา 159 วรรคแรก
6. กำหนดให้ครม.ที่พ้นจากตำแหน่งแต่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนั้น สามารถลาออกได้ หรือพ้นจากการต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพราะเหตุอื่นได้ และถ้าเหลือจำนวน ครม.ปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่ถึงครึ่ง ก็ให้ครม.ที่เหลืออยู่พ้นหน้าที่ไปทั้งหมด ให้ปลัดกระทรวงร่วมกันรักษาราชการแทนจนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ มาตรา 174
7. กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เพิ่มเติมให้วุฒิสภาประชุมได้ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ คือ กรณีที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งซึ่งมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้งานของวุฒิสภาหรืองานด้านนิติบัญญัติสามารถดำเนินต่อไปได้ในระหว่างที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีนี้ให้ประธานวุฒิสภา นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมวุฒิสภา และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโอการ มาตรา 137
8. กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เพิ่มเติมปิดช่องว่างมิให้ขาดผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภา มาตรา 97 วรรคสอง
9. กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เพิ่มเติมให้ ส.ส.และส.ว. มีอิสระจากมติพรรคการเมือง หรืออาณัติอื่นใดในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย การลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งใด และการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง โดยได้มีการปรับคำปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ใหม่ด้วย มาตรา127 และ มาตรา 128
"ทั้ง 9 มาตรการนี้ เป็นเพียงตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ในมาตรการใหม่ที่ 6,7 และ 8 นั้นหากเกิดสถานการณ์วิกฤตรัฐสภา อย่างช่วงเดือนธ.ค.2556 จนถึงวันที่ 22 พ.ค.2557 ที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรอยู่เป็นเวลานาน มาตรการทั้งสาม จะทำให้ระบบรัฐสภายังดำรงอยู่ได้ แก้ปัญหาได้ ไม่ถึงทางตัน หรือเกิดข้อถกเถียงหาข้อสรุปไม่ได้อย่างที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว" โฆษกกมธ.ยกร่างฯระบุ
**ปัด คปป.ใบสั่งทหาร
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณี นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) มหาวิทยาลัยรังสิต ออกมาวิพากษ์รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ที่ระบุว่า การตั้ง คปป. เป็นใบสั่งจากทหารว่า ตรงนี้เป็นข้อเสนอตามคำขอแก้ไขของ ครม. ที่มาพร้อมกับ 9 คำขอ ที่มาในช่วงที่ กมธ.ยกร่างฯ เปิดให้มีผู้เสนอคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีทั้งสมาชิกสปช. และ ครม. ในช่วงต้นเดือนมิ.ย.58 ซึ่งไม่ได้มาจากทหาร ตามที่มีผู้ออกมาวิจารณ์
ทั้งนี้ อยากให้ดูไปที่อำนาจของคปป. เพราะกลไกนี้จะทำให้การปฏิรูปเดินหน้า ไม่สะดุดลงในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นกลไกที่ตอบโจทย์ ป้องกันระงับความขัดแย้งที่วันนี้ยังมีสัญญาณที่เรายังต้องให้ความสำคัญ ส่วนอำนาจที่เรียกว่า อำนาจพิเศษ ที่อยู่ในบทเฉพาะกาล มาตรา 280 จะต่อไม่ได้อีกใช้ได้ 5 ปีเท่านั้น และถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด มาตรานี้ อาจจะไม่ต้องถูกใช้เลยซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
"การจะใช้อำนาจพิเศษ หมายความว่าบ้านเมืองเกิดวิกฤต เกิดความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงในระดับที่สถาบันการเมืองปกติ ครม. ไม่สามารถที่จะดูแลแก้ไขปัญหานั้นได้ ผมตอบได้เลยว่า ไม่มีใครอยากเห็นตรงนี้เหมือนกับที่เราเปรียบเปรยกันว่า ในบ้านในอาคาร มีถังดับเพลิงเอาไว้ใช้ในยามวิกฤต ถ้าไม่เกิดเหตุก็เป็นเรื่องดี เพราะจะดีกว่าที่เราจะหยิบถังดับเพลิงมาใช้ ซึ่งเราอยากจะโยนถังดับเพลิงที่หมดอายุแล้วทิ้งไป ดีกว่าให้เกิดไฟไหม้" นายบัณฑูร กล่าว
เมื่อถามว่า หลายฝ่ายยังแสดงความเป็นห่วงในเรื่องโครงสร้างของ คปป. ที่ดูเหมือนการปฏิวัติซ้อน หากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตไม่ทำตามได้ นายบัณฑูร กล่าวยืนยันว่า ตรงนี้ไม่ใช่การปฏิวัติซ้อน ตามที่วิจารณ์กันในขณะนี้อย่างแน่นอน เพราะด้วยตัวองค์ประกอบของคณะกรรมการ คปป. จะมีประมุขฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ส่วนตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ก็เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในกำกับดูและของนายกรัฐมนตรี และถือเป็นกลไกการทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า อยากจะฝากอะไรถึงสมาชิกสปช. ที่จะดุลยพินิจในการโหวต ร่างรธน.ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ นายบัณฑูร กล่าวว่า เนื้อหาของรธน.ในทุกส่วน ทั้ง 4 ภาค มุ่งไปสู่การตอบโจทย์การปฏิรูป การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งอาจจะมีบางส่วนที่มองโดยสายตา ทฤษฎีเสรีประชาธิปไตย อาจจะไม่ได้ตรงตามมาตรฐานของสากล หรือโลกตะวันตก แต่ก็เป็นความจำเป็นของสังคมไทย ที่เราต้องการกลไกบางอย่างในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน ประมาณ 5 ปี ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง ทำให้การปฏิรูปที่เป็นสิ่งที่สังคมเรียกร้องสามารถเดินหน้าได้ต่อไป โดยอยากให้ดู ภาพรวม และเจตนารมณ์ เป้าหมายโดยรวม เป็นสิ่งที่ฝากให้ช่วยพิจารณาว่าสิ่งนี้คือ รัฐธรรมนูญ ที่ตอบโจทย์สังคมไทยในเวลานี้ และนำพาสังคมไทยให้ก้าวพ้นระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ ในระยะต่อไปได้หรือไม่
** โยนคสช.-กกต.ดูรณรงค์ประชามติ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ หากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รับร่างฯในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะเป็นผู้พิจารณาว่า จะให้บรรดาพรรคการเมืองได้แสดงออกในรูปแบบใดได้บ้าง โดยเบื้องต้น กกต.ได้ส่งรายละเอียดเรื่องดังกล่าวถึงตนแล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม การปลุกระดม ไม่ว่าจะให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นเรื่องไม่สมควร แต่สามารถแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ที่ไม่ใช่การชี้นำผู้อื่นให้คล้อยตาม แม้การพูดของคนๆ หนึ่ง จะเหมือนการชี้นำ ก็ต้องเอาตัวเองเป็นจุดตั้งต้น ไม่ใช่ไปชวนให้คนอื่นเห็นพ้องด้วยกับตัวเอง ที่สำคัญ ต้องไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ แล้วเรียกให้คนหันมาสนใจ ซึ่งในการรณรงค์ในช่วงทำประชามตินั้น ไม่สามารถทำในลักษณะเดียวกันกับช่วงเลือกตั้ง เพราะแม้แต่การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ก็ไม่มีการหาเสียง ดังนั้นครั้งนี้หากเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว จึงไม่เป็นอะไร แต่อย่าไปปลุกระดมคนอื่น โดยกกต.จะเป็นผู้กำหนดกรอบว่า การปลุกระดมนั้นมีขอบข่ายอย่างไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในช่วงการรณรงค์ประชามติ จะมีการผ่อนปรนประกาศ คสช. เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่ายหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่การพิจาณาของ คสช. อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้หารือถึง การโฆษณา รณรงค์ ไม่ว่าจะเป็นการติดสติ๊กเกอร์ การใช้ธงสัญลักษณ์ โดย กกต.ระบุว่า จะเร่งพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ทั้งหมดรัฐบาลได้พยายามให้กกต.เป็นคนจัดการควบคุมกฎ และเป็นฝ่ายจัดเวทีรับฟังและแสดงความคิดเห็นของทั้งฝ่ายเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย กับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ยังมีข้อถกเถียงในประเด็นที่ว่า ผู้ที่ต้องการจัดเวที เพื่อแสดงความคิดเห็นกันเองจะสามารถทำได้หรือไม่ เพราะหากไม่มีกติกาควบคุมในส่วนนี้ ก็อาจเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เช่นเดียวกับรายการโทรทัศน์ หากเชิญเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมาร่วมรายการ ถือว่าอันตราย ส่วนการทำโพลของแต่ละสำนักนั้น สามารถทำได้ แต่ก็มีช่วงเวลากำหนดว่า ห้ามเปิดเผยผลโพลก่อนการลงประชามติกี่วัน เพราะจะเกิดการชี้นำ
"แต่ถึงจะห้าม ก็จะมีคนพูดอยู่ดี แล้วใครจะใจไม้ใส้ระกำไปตามจับ เราก็ต้องตั้งกติกาเพื่อให้ดูน่ากลัวไว้ก่อน ผมนึกไม่ออกว่า เมื่อพูดไปแล้ว ใครจะไปตามจับ แล้วจับข้อหาอะไร หรือจะเป็นข้อหาไม่ชอบในมาตรานู้น มาตรานี้ ของมันขึ้นอยู่ที่ทำเป็นหรือไม่เป็นเท่านั้นเอง เหมือนแก้รัฐธรรมนูญนั่นแหละ ถ้าแก้เป็น มันก็ไม่เกิดเรื่อง" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า เวลาในการรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชนก่อนการลงประชามติ เพียงพอหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงคาดหวังไม่ได้ว่าจะให้ความรู้ได้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องหวังจากผู้ที่จะมาช่วยกันอธิบายเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ โดยปราศจากการชี้นำ ซึ่งในขั้นตอนประชามติก็มีการตั้งงบประมาณในส่วนของการเผยแพร่ และมีคณะทำงานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ทำเข้าใจเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศเกิดความเข้ารู้ความเข้าใจมากที่สุด
** ปชป.แนะ สปช. คว่ำร่างรธน.
นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ สปช. กำลังจะลงมติในวันที่ 6 ก.ย.นี้ว่า แม้จะมีข้อดีอยู่ แต่ก็เป็นสิ่งที่กำหนดไว้อยู่แล้วในรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 ถึงจะมีเพิ่มบ้างก็ไม่มาก แต่มีข้อเสียที่ไปทำลายข้อดีจนหมดสิ้น จนมีข้อเสนอจากหลายฝ่ายว่า สปช.ไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประชามติ แม้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองจะออกมาบอกว่า ไม่มีสิทธิเสนอแนะ แต่เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ต้องรับฟังทุกฝ่าย ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอเกี่ยวกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ส่วนตนเห็นว่ามีอีกเรื่องที่น่า สนใจ คือ หมวดการได้มาซึ่งวุฒิสภา เพราะเพิ่งเคยพบว่า ส.ว.จากการเลือกตั้ง 77 คน ทำอะไรไม่ได้ เพราะมีส.ว. 200 คน มาจากการสรรหา 123 คน ซึ่งกลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ และเท่าที่ติดตามมาก็มีการวิจารณ์ว่า เป็นการสืบทอดอำนาจ ดังนั้นกรรมการสรรหาที่จะเกิดขึ้น ก็จะส่อว่าเอื้อประโยชน์สืบทอดอำนาจ
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สืบทอดอำนาจ แต่โดยหลักการจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อให้ ส.ว.สรรหา มากกว่า มาจากการเลือกตั้ง เวลาจะทำอะไร ก็เป็นไปตามใบสั่งได้หมด ดังนั้นเฉพาะแค่หมวดนี้ ก็ไม่น่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว โดยต้องไม่รับตั้งแต่ในชั้นสปช. จึงขอเสนอให้สปช.ใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบว่า ที่อ้างปชต.จะทำให้รัฐธรรมนูญมีข้อดี ไม่ทำให้เกิดรัฐประหาร มีการบังคับให้ปฏิรูป จะทำได้จริงหรือไม่
"ถ้าเขียนแบบนี้ จะเป็นตัวเร่งให้เกิดรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นไปได้ สปช. จะไม่รับเสียตั้งแต่ต้น จะมีข้อดี คือ 1 .ประหยัดเงินทำประชามติ 3,300 ล้าน 2. จะมีการตั้งคกก.ชุดใหม่ มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อหยิบข้อดีมาพิจารณา ซึ่งอาจจะใช้เวลาแค่เดือนเดียว 3. เป็นการทบทวนร่างรัฐธรรมนูญว่ามีเนื้อหาใดที่ควรปรับปรุง แต่กมธ.ยกร่างฯ ไม่เคยพิจารณามาก่อน ที่สำคัญคือ มีการอ้างปฏิรูปทุกอย่าง แต่ไม่มีการปฏิรูปทหาร เช่น กรณีทหารรับใช้ที่ ผบ.ทบ. อ้างว่าไม่มีแล้ว มีแต่ทหารรับบริการ" นายวิลาศ กล่าว
นายวิลาศ กล่าวว่า ต้องทบทวนอาชีพทหารว่า แตกต่างจากข้าราชการทั่วไปอย่างไร ทำไมต้องมีทหารรับใช้ จนแม้กระทั่งเกษียณอายุราชการ บ้านพักควรมีต่อจนปลดเกษียณหรือไม่ ซึ่งจะมีเรื่องเสนอแนะเพิ่มอีก อาจได้ร่างรัฐธรรมนูญสมบูรณ์มากขึ้น จึงไม่ต้องห่วงโรดแมปจะช้าไปสองเดือนสามเดือน ไม่มีปัญหา ดังนั้นถ้าสปช.เห็นด้วย ก็อย่ารับ แต่ถ้ารับก็ไปว่ากันที่ประชามติ ซึ่งผมมองว่าที่อ้างเพื่อให้เกิดความปรองดอง แต่ตอนนี้ซัดกันนัวเนียไปหมด ถ้าผ่าน สปช. แล้วต้องรณรงค์กับประชาชน ผมไม่มั่นใจจะปรองดองกันอีท่าไหน ถ้าห้ามรณรงค์ ก็เป็นประเด็นกฎหมายว่าจะขัด กฎหมายประชามติ หรือไม่ แต่มีการอ้างประกาศ คสช. มาตรา 44 รณรงค์ไม่ได้ ก็คงต้องให้ประชาชนตัดสินว่า อันไหนเป็นสิ่งที่ควร อันไหนเป็นสิ่งที่ไม่ควร" นายวิลาศ กล่าว
ทั้งนี้ การทำประชามติ จำเป็นต้องให้ความรู้ประชาชนทั้งข้อดีข้อเสียเพื่อตัดสินใจ หากห้ามไม่ให้มีการรณรงค์ ก็จะขัดกฎหมายประชามติ ที่ให้รณรงค์ จะเอากฎหมายอื่นมาแทรกแซงทำไม ไม่เช่นนั้นต้องออกคำสั่งเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติใหม่ แต่หากถึงกับออกคำสั่งไม่ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ก็อย่าทำเลย
ดังนั้น เห็นว่าการทำประชามติครั้งนี้ แตกต่างจากปี 50 เพราะที่ผ่านมาไม่เคยห้ามรณรงค์เลย แต่เพิ่งจะมาเกิดขึ้นหลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงไม่รู้ว่ามีอะไรซ่อนอยู่ข้างในหรือไม่ เพราะทำแบบนี้ ไม่เรียกว่า ประชามติ
นายวิลาศ ยังระบุด้วยว่า ตนมั่นใจว่า หากมีหารทำประชามติ มีคนออกมาโหวตไม่เกิน 60 เปอร์เซนต์ เพราะขนาดเลือกตั้งทั่วไป มีการเสนอผลประโยชน์ ยังออกมาแค่ 57 เปอร์เซนต์ แต่รัฐธรรมนูญเขามองว่า เป็นเรื่องไกลตัว และ ในพื้นที่ กทม.ไม่ผ่านอย่างแน่นอน เพราะเท่าที่ลงพื้นที่ประชาชนถามตนถึงเรื่อง คปป. ก็อธิบายไปว่า เป็นซุปเปอร์บอร์ด คุมรัฐบาลอีกที เมื่อเขาเข้าใจก็บอกว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่เอา การห้ามหัวคะแนนไปรณรงค์กับชาวบ้าน ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเมื่อเขาอ่านร่าง รธน.แล้ว ไม่เข้าใจก็ต้องมาถาม ก็เข้าทางทันที ปิดกั้นไม่ได้แน่นอน
"ผมว่ารัฐบาลชุดนี้เผด็จการที่สุด โกงที่สุด เพราะไม่มีใครกล้าชี้หน้าว่าโกง และเล่นพรรคเล่นพวกมากที่สุด" นายวิลาศ กล่าว
**พรรคการเมืองอย่าจุ้น ให้ปชช.คิดเอง
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะ 2 พรรคการเมืองใหญ่ ที่แสดงท่าทีไม่ยอมรับร่างรธน.ว่า โดยส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของร่างรธน.ในหลายประเด็น โดยเฉพาะในส่วนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) และการได้มาซึ่ง ส.ส. และ ส.ว. แต่ขณะเดียวกัน ก็มองว่าฝ่ายการเมืองไม่ควรออกมาแสดงท่าที หรือเรียกร้องให้มีการลงประชามติ เพื่อรับหรือไม่รับร่างรธน. ฉบับนี้ ควรอยู่เฉยๆ มองดูห่างๆ เพราะอาจถูกกล่าวหาว่า ออกมาเคลื่อนไหว เนื่องจากมีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องการ ความได้เปรียบในการเลือกตั้ง ที่สำคัญหากร่าง รธน. ผ่าน สปช. และการลงประชามติไปได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็จะบอกว่า ประชาชนสนับสนุน และเห็นดีด้วย ในทางกลับกัน หากผลประชามติไม่เห็นชอบ ก็อาจจะถูกนำมาอ้างว่าไม่ต้องการเลือกตั้ง ไม่ต้องการนักการเมือง และยังอยากให้ คสช. อยู่บริหารประเทศต่อไป
"ประชาชนต่างมีหูมีตา และคิดเองได้ ไม่จำเป็นต้องไปชี้นำใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเช่นไร ก็เข้าทางคสช. ที่จะหยิบไปเป็นข้ออ้างที่เข้าข้างตัวเองได้ เพราะต้องการใช้ประชาชนเป็นตัวประกันอยู่แล้ว ขณะที่ผลเสีย ก็จะตกกับฝ่ายการเมืองเท่านั้น" นายอุเทน กล่าว
นายอุเทน ยังกล่าวฝากไปถึงสปช.ว่า อยากให้ สปช. คิดไตร่ตรองให้ดี ถึงเนื้อหาของร่างรธน. การร่างออกมาในลักษณะนี้ ที่มีหลายมาตราเปิดทางให้หัวหน้าคสช. สืบทอดอำนาจต่อไป ซึ่งจะทำให้ คสช. เป็นเป้าโจมตี และหมดความสง่างาม โดยที่คสช.อาจไม่ทราบก็เป็นได้ ส่วนตัวยังเชื่อมั่นในตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ว่าต้องการเห็นบ้านเมืองสุขสงบร่มเย็น แต่เกรงว่าจะเสียคน เพราะมีพวกช่างคิด ช่างประจบ มากเกินไป ที่สำคัญรธน. ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงต้องใตร่ตรองให้มาก คิดให้หนัก ก่อนรับหรือไม่รับ ต้องนึกถึงผลประโยชน์ ชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว เพราะหากมีการประกาศใช้ ก็จะถือเป็นตัวกำหนดทิศทางของประเทศที่สำคัญไปอีกหลายปี ดังนั้น สปช.จึงควรคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดต่อประเทศชาติ มากกว่าใบสั่งของใคร หรือเป็นการตอบแทน ที่คสช.แต่งตั้งเข้ามา รวมทั้งความหวังที่จะได้มีงานทำต่อในยุคของคสช.
"ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีแนวโน้มที่จะสร้างความแตกแยกของคนในชาติต่อไป ไม่สามารถสร้างความปรองดองได้ ตามที่ คสช. เคยประกาศไว้แต่ต้น ขอเตือนอีกครั้งว่า ไม่มีที่ไหนประเทศใด เขียนรัฐธรรมนูญลักษณะนี้ ที่ผ่านมาการเขียนรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ได้สร้างความสับสน และความเสียหายให้กับบ้านเมืองมากพอแล้ว" นายอุเทน ระบุ
**ใครไม่พอใจรธน.ก็ไม่ต้องลงเลือกตั้ง
นายสิระ เจนจาคะ สมาชิกสปช. กล่าวถึงการลงประชามติว่า หากสปช.โหวตรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว อยากจะให้ประชาชน นำร่างรธน.ไปศึกษา แล้วจะเห็นว่ามีประโยชน์กับประชาชนอย่างไร อย่าหลงฟังแต่คำกล่าวอ้างของบรรดานักการเมือง เพราะคนเหล่านี้ คือผู้เสียประโยชน์ ย่อมที่จะพูดจาเอาดีใส่ตัวเองอยู่แล้ว
"ร่างรธน.ฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่ให้อำนาจและยึดโยงประชาชนมากที่สุดแล้ว ถ้านักการเมืองเห็นว่าไม่ดี ก็ต้องตอบให้ได้ว่า ไม่ดีต่อประชาชนอย่างไร ไม่ใช่ว่าไม่ดี เพราะนักการเมืองถูกตรวจสอบ เพราะถ้าคิดกันแบบนี้ก็อย่าเข้ามาทำร้ายประเทศอีกเลยจะดีกว่า" นายสิระ กล่าว
ทั้งนี้ หากประชาชนตัดสินใจให้รธน.ฉบับนี้ผ่าน นักการเมืองที่ไม่เห็นด้วยก็สามารถแสดงออกได้โดยการไม่ต้องลงรับสมัครเลือกตั้ง หรือถ้าเห็นว่ารธน.ฉบับนี้แย่มากนัก ขอแนะนำว่าให้ย้ายออกไปอยู่ประเทศอื่น เพราะคนไทยทั้งประเทศ ต้องใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ที่จะมีการลงมติ หวังว่า สปช.ที่ถูกคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศ จะตัดสินใจไปในทางที่ถูกต้อง และมีอิสรภาพในการตัดสินใจด้วย
**ซัดพรรคการเมืองกลัวอำนาจปชช.
พล.ท.นคร สุขประเสริฐ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กระแสการคัดค้านร่างรธน.ว่า ได้พูดคุยกับ สปช.บางส่วน เขาก็บอกว่าพอใจภาพรวมของร่างรธน.ฉบับนี้ เสียงคัดค้านที่ออกมา เพราะว่าร่างฯนี้ ส่งผลต่อการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคการเมืองใหญ่ เพราะ กมธ.ยกร่างฯ ได้เขียนให้อำนาจแก่ประชาชนมากขึ้นกว่าฉบับที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพ และอำนาจการตรวจสอบ ทำให้พวกนักการเมืองกลัวว่าจะถูกตรวจสอบกลัวอำนาจของประชาชน และการให้เสรีภาพ ส.ส.มากขึ้น ไม่ต้องยึดติดกับมติพรรค ทำให้การบริหารพรรคไม่ได้ผูกขาดที่นายทุน และเจ้าของพรรคเหมือนอดีตที่ผ่านมา
พล.ท.นคร กล่าวต่อว่า หาก สปช.ใช้วิจารณญาณภายใต้จิตสำนึก และคำนึงถึงประชาชน ตนมั่นใจว่า สปช.จะผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะภาพรวมของร่างฯ ทั้งฉบับ มีการพัฒนามากขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 อย่างขัดเจน กลุ่มที่คัดค้านก็ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับร่างฯนี้มาตั้งแต่ ต้น แต่กลุ่มที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเมื่อได้อ่านร่างฯ อย่างละเอียดแล้ว ก็คงจะเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น และมีบางส่วนที่สอบถามในข้อสงสัยเราก็อธิบายให้เข้าใจทั้งหมดแล้ว จากนี้ยังมีเวลาอีกหนึ่งสัปดาห์พวกเขาก็สามารถจะทำความเข้าใจได้มากขึ้น แต่อย่าดูประเด็นย่อยๆ ต้องดูภาพรวมและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้
**"เต้น"ลั่นรณรงค์คว่ำร่างรธน.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวกรณีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี หลีกเลี่ยงที่กล่าวถึงข้อเสียของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ในร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ในเมื่อนายวิษณุ ซึ่งเป็นเนติบริกรใหญ่ ที่อยู่ในรัฐบาลยังไม่พูดความจริงกับประชาชนทั้งหมดว่า สาระในรัฐธรรมนูญนี้มีข้อดีหรือไม่ อย่างไร แล้วจะอธิบายความชอบธรรมให้ประชาชนทราบเพื่อตัดสินใจได้อย่างไร
ดังนั้น นายวิษณุ ควรพูดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อดีและข้อเสีย ให้ให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ตัดสินใจด้วย ในหลายประเทศที่เป็นเผด็จการ ก็เคยมีการทำประชามติในเรื่องรัฐธรรมนูญ และเรื่องอื่นๆ โดยผู้มีอำนาจมักใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้ผ่าน เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ไม่มีความชอบธรรมตั้งแต่ต้น ทั้งยังมีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ดังนั้นใครที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญนี้เป็นการสืบทอดอำนาจ จึงต้องสื่อสารกับสังคมให้เกิดความตื่นตัว
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า หากสปช.รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นปช.จะแถลงท่าทีโดยเร็วที่สุดโดยจะรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในขั้นตอนของการทำประชามติ แต่สิ่งที่เป็นห่วงก็คือ เมื่อรัฐบาลเห็นว่าหลายฝ่ายไม่พอใจในร่างฯ ก็อาจจะใช้อำนาจบังคับส่วนราชการให้เป็นเครื่องมือ และใครที่รณรงค์ไม่รับร่างฯ ก็จะเผชิญกับอำนาจรัฐหลายรูปแบบ แต่นปช.ไม่เป็นกังวล เพราะหากประเทศไทยประเชิญกับความไม่เป็นประชาธิปไตยอีกยาวนาน ก็จะส่งผลให้เกิดความเสียหายมากกว่า
นายคำนูณ ระบุว่า ลองดูมาตรการที่ขอสกัดมาให้ดูเป็นตัวอย่าง 9 ประการ
1. กำหนดให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 มาจากส.ส.พรรคฝ่ายค้าน และให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้าไปอยู่ในที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานกมธ.สามัญของสภาฯในการวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.ใดเป็น ร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ด้วย มาตรา 129 วรรคสอง และ มาตรา 144 วรรคสอง
2. กำหนดให้ประธานสภาฯ ประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภา รวมทั้งผู้ทำหน้าที่แทน ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ยกระดับมาตรฐานจากเดิมที่ให้วางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น ห้ามประธาน และรองประธานสภาฯ ดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมือง และห้ามเข้าร่วมประชุมพรรคการเมืองด้วย มาตรา 97 วรรคสาม มาตรา 129 วรรคหก และ มาตรา 130 วรรคสอง
3. กำหนดให้ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน เป็นประธานกมธ.สามัญของสภาผู้แทนราษฎร ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือทำหน้าที่กำกับติดตามเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ มาตรา 138 วรรคสอง
4. กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น มาตรา 96 วรรคสาม
5. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องตอบกระทู้ถามโดยเร็ว มาตรา 159 วรรคแรก
6. กำหนดให้ครม.ที่พ้นจากตำแหน่งแต่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนั้น สามารถลาออกได้ หรือพ้นจากการต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพราะเหตุอื่นได้ และถ้าเหลือจำนวน ครม.ปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่ถึงครึ่ง ก็ให้ครม.ที่เหลืออยู่พ้นหน้าที่ไปทั้งหมด ให้ปลัดกระทรวงร่วมกันรักษาราชการแทนจนกว่าจะมีครม.ชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่ มาตรา 174
7. กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เพิ่มเติมให้วุฒิสภาประชุมได้ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ คือ กรณีที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งซึ่งมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อให้งานของวุฒิสภาหรืองานด้านนิติบัญญัติสามารถดำเนินต่อไปได้ในระหว่างที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีนี้ให้ประธานวุฒิสภา นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมวุฒิสภา และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโอการ มาตรา 137
8. กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เพิ่มเติมปิดช่องว่างมิให้ขาดผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภา มาตรา 97 วรรคสอง
9. กำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เพิ่มเติมให้ ส.ส.และส.ว. มีอิสระจากมติพรรคการเมือง หรืออาณัติอื่นใดในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย การลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งใด และการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง โดยได้มีการปรับคำปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ใหม่ด้วย มาตรา127 และ มาตรา 128
"ทั้ง 9 มาตรการนี้ เป็นเพียงตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ในมาตรการใหม่ที่ 6,7 และ 8 นั้นหากเกิดสถานการณ์วิกฤตรัฐสภา อย่างช่วงเดือนธ.ค.2556 จนถึงวันที่ 22 พ.ค.2557 ที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรอยู่เป็นเวลานาน มาตรการทั้งสาม จะทำให้ระบบรัฐสภายังดำรงอยู่ได้ แก้ปัญหาได้ ไม่ถึงทางตัน หรือเกิดข้อถกเถียงหาข้อสรุปไม่ได้อย่างที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว" โฆษกกมธ.ยกร่างฯระบุ
**ปัด คปป.ใบสั่งทหาร
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณี นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) มหาวิทยาลัยรังสิต ออกมาวิพากษ์รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ที่ระบุว่า การตั้ง คปป. เป็นใบสั่งจากทหารว่า ตรงนี้เป็นข้อเสนอตามคำขอแก้ไขของ ครม. ที่มาพร้อมกับ 9 คำขอ ที่มาในช่วงที่ กมธ.ยกร่างฯ เปิดให้มีผู้เสนอคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีทั้งสมาชิกสปช. และ ครม. ในช่วงต้นเดือนมิ.ย.58 ซึ่งไม่ได้มาจากทหาร ตามที่มีผู้ออกมาวิจารณ์
ทั้งนี้ อยากให้ดูไปที่อำนาจของคปป. เพราะกลไกนี้จะทำให้การปฏิรูปเดินหน้า ไม่สะดุดลงในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นกลไกที่ตอบโจทย์ ป้องกันระงับความขัดแย้งที่วันนี้ยังมีสัญญาณที่เรายังต้องให้ความสำคัญ ส่วนอำนาจที่เรียกว่า อำนาจพิเศษ ที่อยู่ในบทเฉพาะกาล มาตรา 280 จะต่อไม่ได้อีกใช้ได้ 5 ปีเท่านั้น และถ้าไม่เกิดเหตุการณ์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด มาตรานี้ อาจจะไม่ต้องถูกใช้เลยซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี
"การจะใช้อำนาจพิเศษ หมายความว่าบ้านเมืองเกิดวิกฤต เกิดความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงในระดับที่สถาบันการเมืองปกติ ครม. ไม่สามารถที่จะดูแลแก้ไขปัญหานั้นได้ ผมตอบได้เลยว่า ไม่มีใครอยากเห็นตรงนี้เหมือนกับที่เราเปรียบเปรยกันว่า ในบ้านในอาคาร มีถังดับเพลิงเอาไว้ใช้ในยามวิกฤต ถ้าไม่เกิดเหตุก็เป็นเรื่องดี เพราะจะดีกว่าที่เราจะหยิบถังดับเพลิงมาใช้ ซึ่งเราอยากจะโยนถังดับเพลิงที่หมดอายุแล้วทิ้งไป ดีกว่าให้เกิดไฟไหม้" นายบัณฑูร กล่าว
เมื่อถามว่า หลายฝ่ายยังแสดงความเป็นห่วงในเรื่องโครงสร้างของ คปป. ที่ดูเหมือนการปฏิวัติซ้อน หากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตไม่ทำตามได้ นายบัณฑูร กล่าวยืนยันว่า ตรงนี้ไม่ใช่การปฏิวัติซ้อน ตามที่วิจารณ์กันในขณะนี้อย่างแน่นอน เพราะด้วยตัวองค์ประกอบของคณะกรรมการ คปป. จะมีประมุขฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ส่วนตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ ก็เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่อยู่ในกำกับดูและของนายกรัฐมนตรี และถือเป็นกลไกการทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า อยากจะฝากอะไรถึงสมาชิกสปช. ที่จะดุลยพินิจในการโหวต ร่างรธน.ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ นายบัณฑูร กล่าวว่า เนื้อหาของรธน.ในทุกส่วน ทั้ง 4 ภาค มุ่งไปสู่การตอบโจทย์การปฏิรูป การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งอาจจะมีบางส่วนที่มองโดยสายตา ทฤษฎีเสรีประชาธิปไตย อาจจะไม่ได้ตรงตามมาตรฐานของสากล หรือโลกตะวันตก แต่ก็เป็นความจำเป็นของสังคมไทย ที่เราต้องการกลไกบางอย่างในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน ประมาณ 5 ปี ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง ทำให้การปฏิรูปที่เป็นสิ่งที่สังคมเรียกร้องสามารถเดินหน้าได้ต่อไป โดยอยากให้ดู ภาพรวม และเจตนารมณ์ เป้าหมายโดยรวม เป็นสิ่งที่ฝากให้ช่วยพิจารณาว่าสิ่งนี้คือ รัฐธรรมนูญ ที่ตอบโจทย์สังคมไทยในเวลานี้ และนำพาสังคมไทยให้ก้าวพ้นระยะเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ ในระยะต่อไปได้หรือไม่
** โยนคสช.-กกต.ดูรณรงค์ประชามติ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ หากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รับร่างฯในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะเป็นผู้พิจารณาว่า จะให้บรรดาพรรคการเมืองได้แสดงออกในรูปแบบใดได้บ้าง โดยเบื้องต้น กกต.ได้ส่งรายละเอียดเรื่องดังกล่าวถึงตนแล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจ
อย่างไรก็ตาม การปลุกระดม ไม่ว่าจะให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นเรื่องไม่สมควร แต่สามารถแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ที่ไม่ใช่การชี้นำผู้อื่นให้คล้อยตาม แม้การพูดของคนๆ หนึ่ง จะเหมือนการชี้นำ ก็ต้องเอาตัวเองเป็นจุดตั้งต้น ไม่ใช่ไปชวนให้คนอื่นเห็นพ้องด้วยกับตัวเอง ที่สำคัญ ต้องไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ แล้วเรียกให้คนหันมาสนใจ ซึ่งในการรณรงค์ในช่วงทำประชามตินั้น ไม่สามารถทำในลักษณะเดียวกันกับช่วงเลือกตั้ง เพราะแม้แต่การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ก็ไม่มีการหาเสียง ดังนั้นครั้งนี้หากเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว จึงไม่เป็นอะไร แต่อย่าไปปลุกระดมคนอื่น โดยกกต.จะเป็นผู้กำหนดกรอบว่า การปลุกระดมนั้นมีขอบข่ายอย่างไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในช่วงการรณรงค์ประชามติ จะมีการผ่อนปรนประกาศ คสช. เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่ายหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่การพิจาณาของ คสช. อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้หารือถึง การโฆษณา รณรงค์ ไม่ว่าจะเป็นการติดสติ๊กเกอร์ การใช้ธงสัญลักษณ์ โดย กกต.ระบุว่า จะเร่งพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ทั้งหมดรัฐบาลได้พยายามให้กกต.เป็นคนจัดการควบคุมกฎ และเป็นฝ่ายจัดเวทีรับฟังและแสดงความคิดเห็นของทั้งฝ่ายเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย กับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ยังมีข้อถกเถียงในประเด็นที่ว่า ผู้ที่ต้องการจัดเวที เพื่อแสดงความคิดเห็นกันเองจะสามารถทำได้หรือไม่ เพราะหากไม่มีกติกาควบคุมในส่วนนี้ ก็อาจเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เช่นเดียวกับรายการโทรทัศน์ หากเชิญเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมาร่วมรายการ ถือว่าอันตราย ส่วนการทำโพลของแต่ละสำนักนั้น สามารถทำได้ แต่ก็มีช่วงเวลากำหนดว่า ห้ามเปิดเผยผลโพลก่อนการลงประชามติกี่วัน เพราะจะเกิดการชี้นำ
"แต่ถึงจะห้าม ก็จะมีคนพูดอยู่ดี แล้วใครจะใจไม้ใส้ระกำไปตามจับ เราก็ต้องตั้งกติกาเพื่อให้ดูน่ากลัวไว้ก่อน ผมนึกไม่ออกว่า เมื่อพูดไปแล้ว ใครจะไปตามจับ แล้วจับข้อหาอะไร หรือจะเป็นข้อหาไม่ชอบในมาตรานู้น มาตรานี้ ของมันขึ้นอยู่ที่ทำเป็นหรือไม่เป็นเท่านั้นเอง เหมือนแก้รัฐธรรมนูญนั่นแหละ ถ้าแก้เป็น มันก็ไม่เกิดเรื่อง" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า เวลาในการรณรงค์ทำความเข้าใจกับประชาชนก่อนการลงประชามติ เพียงพอหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงคาดหวังไม่ได้ว่าจะให้ความรู้ได้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องหวังจากผู้ที่จะมาช่วยกันอธิบายเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ โดยปราศจากการชี้นำ ซึ่งในขั้นตอนประชามติก็มีการตั้งงบประมาณในส่วนของการเผยแพร่ และมีคณะทำงานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ทำเข้าใจเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศเกิดความเข้ารู้ความเข้าใจมากที่สุด
** ปชป.แนะ สปช. คว่ำร่างรธน.
นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ สปช. กำลังจะลงมติในวันที่ 6 ก.ย.นี้ว่า แม้จะมีข้อดีอยู่ แต่ก็เป็นสิ่งที่กำหนดไว้อยู่แล้วในรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 ถึงจะมีเพิ่มบ้างก็ไม่มาก แต่มีข้อเสียที่ไปทำลายข้อดีจนหมดสิ้น จนมีข้อเสนอจากหลายฝ่ายว่า สปช.ไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประชามติ แม้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองจะออกมาบอกว่า ไม่มีสิทธิเสนอแนะ แต่เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ต้องรับฟังทุกฝ่าย ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอเกี่ยวกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ส่วนตนเห็นว่ามีอีกเรื่องที่น่า สนใจ คือ หมวดการได้มาซึ่งวุฒิสภา เพราะเพิ่งเคยพบว่า ส.ว.จากการเลือกตั้ง 77 คน ทำอะไรไม่ได้ เพราะมีส.ว. 200 คน มาจากการสรรหา 123 คน ซึ่งกลายเป็นเสียงส่วนใหญ่ และเท่าที่ติดตามมาก็มีการวิจารณ์ว่า เป็นการสืบทอดอำนาจ ดังนั้นกรรมการสรรหาที่จะเกิดขึ้น ก็จะส่อว่าเอื้อประโยชน์สืบทอดอำนาจ
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สืบทอดอำนาจ แต่โดยหลักการจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อให้ ส.ว.สรรหา มากกว่า มาจากการเลือกตั้ง เวลาจะทำอะไร ก็เป็นไปตามใบสั่งได้หมด ดังนั้นเฉพาะแค่หมวดนี้ ก็ไม่น่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว โดยต้องไม่รับตั้งแต่ในชั้นสปช. จึงขอเสนอให้สปช.ใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบว่า ที่อ้างปชต.จะทำให้รัฐธรรมนูญมีข้อดี ไม่ทำให้เกิดรัฐประหาร มีการบังคับให้ปฏิรูป จะทำได้จริงหรือไม่
"ถ้าเขียนแบบนี้ จะเป็นตัวเร่งให้เกิดรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นไปได้ สปช. จะไม่รับเสียตั้งแต่ต้น จะมีข้อดี คือ 1 .ประหยัดเงินทำประชามติ 3,300 ล้าน 2. จะมีการตั้งคกก.ชุดใหม่ มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อหยิบข้อดีมาพิจารณา ซึ่งอาจจะใช้เวลาแค่เดือนเดียว 3. เป็นการทบทวนร่างรัฐธรรมนูญว่ามีเนื้อหาใดที่ควรปรับปรุง แต่กมธ.ยกร่างฯ ไม่เคยพิจารณามาก่อน ที่สำคัญคือ มีการอ้างปฏิรูปทุกอย่าง แต่ไม่มีการปฏิรูปทหาร เช่น กรณีทหารรับใช้ที่ ผบ.ทบ. อ้างว่าไม่มีแล้ว มีแต่ทหารรับบริการ" นายวิลาศ กล่าว
นายวิลาศ กล่าวว่า ต้องทบทวนอาชีพทหารว่า แตกต่างจากข้าราชการทั่วไปอย่างไร ทำไมต้องมีทหารรับใช้ จนแม้กระทั่งเกษียณอายุราชการ บ้านพักควรมีต่อจนปลดเกษียณหรือไม่ ซึ่งจะมีเรื่องเสนอแนะเพิ่มอีก อาจได้ร่างรัฐธรรมนูญสมบูรณ์มากขึ้น จึงไม่ต้องห่วงโรดแมปจะช้าไปสองเดือนสามเดือน ไม่มีปัญหา ดังนั้นถ้าสปช.เห็นด้วย ก็อย่ารับ แต่ถ้ารับก็ไปว่ากันที่ประชามติ ซึ่งผมมองว่าที่อ้างเพื่อให้เกิดความปรองดอง แต่ตอนนี้ซัดกันนัวเนียไปหมด ถ้าผ่าน สปช. แล้วต้องรณรงค์กับประชาชน ผมไม่มั่นใจจะปรองดองกันอีท่าไหน ถ้าห้ามรณรงค์ ก็เป็นประเด็นกฎหมายว่าจะขัด กฎหมายประชามติ หรือไม่ แต่มีการอ้างประกาศ คสช. มาตรา 44 รณรงค์ไม่ได้ ก็คงต้องให้ประชาชนตัดสินว่า อันไหนเป็นสิ่งที่ควร อันไหนเป็นสิ่งที่ไม่ควร" นายวิลาศ กล่าว
ทั้งนี้ การทำประชามติ จำเป็นต้องให้ความรู้ประชาชนทั้งข้อดีข้อเสียเพื่อตัดสินใจ หากห้ามไม่ให้มีการรณรงค์ ก็จะขัดกฎหมายประชามติ ที่ให้รณรงค์ จะเอากฎหมายอื่นมาแทรกแซงทำไม ไม่เช่นนั้นต้องออกคำสั่งเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติใหม่ แต่หากถึงกับออกคำสั่งไม่ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ก็อย่าทำเลย
ดังนั้น เห็นว่าการทำประชามติครั้งนี้ แตกต่างจากปี 50 เพราะที่ผ่านมาไม่เคยห้ามรณรงค์เลย แต่เพิ่งจะมาเกิดขึ้นหลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงไม่รู้ว่ามีอะไรซ่อนอยู่ข้างในหรือไม่ เพราะทำแบบนี้ ไม่เรียกว่า ประชามติ
นายวิลาศ ยังระบุด้วยว่า ตนมั่นใจว่า หากมีหารทำประชามติ มีคนออกมาโหวตไม่เกิน 60 เปอร์เซนต์ เพราะขนาดเลือกตั้งทั่วไป มีการเสนอผลประโยชน์ ยังออกมาแค่ 57 เปอร์เซนต์ แต่รัฐธรรมนูญเขามองว่า เป็นเรื่องไกลตัว และ ในพื้นที่ กทม.ไม่ผ่านอย่างแน่นอน เพราะเท่าที่ลงพื้นที่ประชาชนถามตนถึงเรื่อง คปป. ก็อธิบายไปว่า เป็นซุปเปอร์บอร์ด คุมรัฐบาลอีกที เมื่อเขาเข้าใจก็บอกว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่เอา การห้ามหัวคะแนนไปรณรงค์กับชาวบ้าน ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเมื่อเขาอ่านร่าง รธน.แล้ว ไม่เข้าใจก็ต้องมาถาม ก็เข้าทางทันที ปิดกั้นไม่ได้แน่นอน
"ผมว่ารัฐบาลชุดนี้เผด็จการที่สุด โกงที่สุด เพราะไม่มีใครกล้าชี้หน้าว่าโกง และเล่นพรรคเล่นพวกมากที่สุด" นายวิลาศ กล่าว
**พรรคการเมืองอย่าจุ้น ให้ปชช.คิดเอง
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะ 2 พรรคการเมืองใหญ่ ที่แสดงท่าทีไม่ยอมรับร่างรธน.ว่า โดยส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของร่างรธน.ในหลายประเด็น โดยเฉพาะในส่วนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) และการได้มาซึ่ง ส.ส. และ ส.ว. แต่ขณะเดียวกัน ก็มองว่าฝ่ายการเมืองไม่ควรออกมาแสดงท่าที หรือเรียกร้องให้มีการลงประชามติ เพื่อรับหรือไม่รับร่างรธน. ฉบับนี้ ควรอยู่เฉยๆ มองดูห่างๆ เพราะอาจถูกกล่าวหาว่า ออกมาเคลื่อนไหว เนื่องจากมีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องการ ความได้เปรียบในการเลือกตั้ง ที่สำคัญหากร่าง รธน. ผ่าน สปช. และการลงประชามติไปได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็จะบอกว่า ประชาชนสนับสนุน และเห็นดีด้วย ในทางกลับกัน หากผลประชามติไม่เห็นชอบ ก็อาจจะถูกนำมาอ้างว่าไม่ต้องการเลือกตั้ง ไม่ต้องการนักการเมือง และยังอยากให้ คสช. อยู่บริหารประเทศต่อไป
"ประชาชนต่างมีหูมีตา และคิดเองได้ ไม่จำเป็นต้องไปชี้นำใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเช่นไร ก็เข้าทางคสช. ที่จะหยิบไปเป็นข้ออ้างที่เข้าข้างตัวเองได้ เพราะต้องการใช้ประชาชนเป็นตัวประกันอยู่แล้ว ขณะที่ผลเสีย ก็จะตกกับฝ่ายการเมืองเท่านั้น" นายอุเทน กล่าว
นายอุเทน ยังกล่าวฝากไปถึงสปช.ว่า อยากให้ สปช. คิดไตร่ตรองให้ดี ถึงเนื้อหาของร่างรธน. การร่างออกมาในลักษณะนี้ ที่มีหลายมาตราเปิดทางให้หัวหน้าคสช. สืบทอดอำนาจต่อไป ซึ่งจะทำให้ คสช. เป็นเป้าโจมตี และหมดความสง่างาม โดยที่คสช.อาจไม่ทราบก็เป็นได้ ส่วนตัวยังเชื่อมั่นในตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ว่าต้องการเห็นบ้านเมืองสุขสงบร่มเย็น แต่เกรงว่าจะเสียคน เพราะมีพวกช่างคิด ช่างประจบ มากเกินไป ที่สำคัญรธน. ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงต้องใตร่ตรองให้มาก คิดให้หนัก ก่อนรับหรือไม่รับ ต้องนึกถึงผลประโยชน์ ชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว เพราะหากมีการประกาศใช้ ก็จะถือเป็นตัวกำหนดทิศทางของประเทศที่สำคัญไปอีกหลายปี ดังนั้น สปช.จึงควรคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดต่อประเทศชาติ มากกว่าใบสั่งของใคร หรือเป็นการตอบแทน ที่คสช.แต่งตั้งเข้ามา รวมทั้งความหวังที่จะได้มีงานทำต่อในยุคของคสช.
"ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีแนวโน้มที่จะสร้างความแตกแยกของคนในชาติต่อไป ไม่สามารถสร้างความปรองดองได้ ตามที่ คสช. เคยประกาศไว้แต่ต้น ขอเตือนอีกครั้งว่า ไม่มีที่ไหนประเทศใด เขียนรัฐธรรมนูญลักษณะนี้ ที่ผ่านมาการเขียนรัฐธรรมนูญของประเทศไทย ได้สร้างความสับสน และความเสียหายให้กับบ้านเมืองมากพอแล้ว" นายอุเทน ระบุ
**ใครไม่พอใจรธน.ก็ไม่ต้องลงเลือกตั้ง
นายสิระ เจนจาคะ สมาชิกสปช. กล่าวถึงการลงประชามติว่า หากสปช.โหวตรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว อยากจะให้ประชาชน นำร่างรธน.ไปศึกษา แล้วจะเห็นว่ามีประโยชน์กับประชาชนอย่างไร อย่าหลงฟังแต่คำกล่าวอ้างของบรรดานักการเมือง เพราะคนเหล่านี้ คือผู้เสียประโยชน์ ย่อมที่จะพูดจาเอาดีใส่ตัวเองอยู่แล้ว
"ร่างรธน.ฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่ให้อำนาจและยึดโยงประชาชนมากที่สุดแล้ว ถ้านักการเมืองเห็นว่าไม่ดี ก็ต้องตอบให้ได้ว่า ไม่ดีต่อประชาชนอย่างไร ไม่ใช่ว่าไม่ดี เพราะนักการเมืองถูกตรวจสอบ เพราะถ้าคิดกันแบบนี้ก็อย่าเข้ามาทำร้ายประเทศอีกเลยจะดีกว่า" นายสิระ กล่าว
ทั้งนี้ หากประชาชนตัดสินใจให้รธน.ฉบับนี้ผ่าน นักการเมืองที่ไม่เห็นด้วยก็สามารถแสดงออกได้โดยการไม่ต้องลงรับสมัครเลือกตั้ง หรือถ้าเห็นว่ารธน.ฉบับนี้แย่มากนัก ขอแนะนำว่าให้ย้ายออกไปอยู่ประเทศอื่น เพราะคนไทยทั้งประเทศ ต้องใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในวันที่ 6 ก.ย.นี้ ที่จะมีการลงมติ หวังว่า สปช.ที่ถูกคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศ จะตัดสินใจไปในทางที่ถูกต้อง และมีอิสรภาพในการตัดสินใจด้วย
**ซัดพรรคการเมืองกลัวอำนาจปชช.
พล.ท.นคร สุขประเสริฐ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กระแสการคัดค้านร่างรธน.ว่า ได้พูดคุยกับ สปช.บางส่วน เขาก็บอกว่าพอใจภาพรวมของร่างรธน.ฉบับนี้ เสียงคัดค้านที่ออกมา เพราะว่าร่างฯนี้ ส่งผลต่อการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคการเมืองใหญ่ เพราะ กมธ.ยกร่างฯ ได้เขียนให้อำนาจแก่ประชาชนมากขึ้นกว่าฉบับที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพ และอำนาจการตรวจสอบ ทำให้พวกนักการเมืองกลัวว่าจะถูกตรวจสอบกลัวอำนาจของประชาชน และการให้เสรีภาพ ส.ส.มากขึ้น ไม่ต้องยึดติดกับมติพรรค ทำให้การบริหารพรรคไม่ได้ผูกขาดที่นายทุน และเจ้าของพรรคเหมือนอดีตที่ผ่านมา
พล.ท.นคร กล่าวต่อว่า หาก สปช.ใช้วิจารณญาณภายใต้จิตสำนึก และคำนึงถึงประชาชน ตนมั่นใจว่า สปช.จะผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะภาพรวมของร่างฯ ทั้งฉบับ มีการพัฒนามากขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 อย่างขัดเจน กลุ่มที่คัดค้านก็ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับร่างฯนี้มาตั้งแต่ ต้น แต่กลุ่มที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเมื่อได้อ่านร่างฯ อย่างละเอียดแล้ว ก็คงจะเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น และมีบางส่วนที่สอบถามในข้อสงสัยเราก็อธิบายให้เข้าใจทั้งหมดแล้ว จากนี้ยังมีเวลาอีกหนึ่งสัปดาห์พวกเขาก็สามารถจะทำความเข้าใจได้มากขึ้น แต่อย่าดูประเด็นย่อยๆ ต้องดูภาพรวมและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้
**"เต้น"ลั่นรณรงค์คว่ำร่างรธน.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวกรณีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี หลีกเลี่ยงที่กล่าวถึงข้อเสียของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ในร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ในเมื่อนายวิษณุ ซึ่งเป็นเนติบริกรใหญ่ ที่อยู่ในรัฐบาลยังไม่พูดความจริงกับประชาชนทั้งหมดว่า สาระในรัฐธรรมนูญนี้มีข้อดีหรือไม่ อย่างไร แล้วจะอธิบายความชอบธรรมให้ประชาชนทราบเพื่อตัดสินใจได้อย่างไร
ดังนั้น นายวิษณุ ควรพูดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อดีและข้อเสีย ให้ให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ตัดสินใจด้วย ในหลายประเทศที่เป็นเผด็จการ ก็เคยมีการทำประชามติในเรื่องรัฐธรรมนูญ และเรื่องอื่นๆ โดยผู้มีอำนาจมักใช้ทุกวิถีทางเพื่อให้ผ่าน เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ไม่มีความชอบธรรมตั้งแต่ต้น ทั้งยังมีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ดังนั้นใครที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญนี้เป็นการสืบทอดอำนาจ จึงต้องสื่อสารกับสังคมให้เกิดความตื่นตัว
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า หากสปช.รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นปช.จะแถลงท่าทีโดยเร็วที่สุดโดยจะรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในขั้นตอนของการทำประชามติ แต่สิ่งที่เป็นห่วงก็คือ เมื่อรัฐบาลเห็นว่าหลายฝ่ายไม่พอใจในร่างฯ ก็อาจจะใช้อำนาจบังคับส่วนราชการให้เป็นเครื่องมือ และใครที่รณรงค์ไม่รับร่างฯ ก็จะเผชิญกับอำนาจรัฐหลายรูปแบบ แต่นปช.ไม่เป็นกังวล เพราะหากประเทศไทยประเชิญกับความไม่เป็นประชาธิปไตยอีกยาวนาน ก็จะส่งผลให้เกิดความเสียหายมากกว่า