xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.ยก3เหตุผลควรรับร่าง รธน.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ (26ส.ค.) คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดกิจกรรม "กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพบสื่อมวลชน" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้สื่อมวลชน ซักถามประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไข ร่าง รธน. ซึ่งมีประเด็นคำถามที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ อาทิ "เหตุใดถึงคิดว่า คนไทยควรเลือกรับร่าง รธน. ฉบับนี้ "
โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ถือเป็นวิจารณญาณของผู้มีสิทธิเลือกตั้งพิจารณา รธน.ในภาพรวมให้ได้ด้วยตัวเอง อย่าดูเฉพาะบางส่วน หากตัดบางท่อนไป อาจบิดเบี้ยว เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์ 100% ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้คิดว่า 1. แก้ปัญหาบ้านเมืองได้ ตามเหตุผลที่ กมธ.ยกร่างฯ ชี้แจง 2. รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก้าวหน้ากว่า รธน. 40 และรธน. 50 ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และ 3. ก่อให้เกิดการปฏิรูปตามทุกฝ่ายเรียก ร้องก่อนหน้า วันที่ 22 พ.ค.57
"รธน. ต้องแก้ปัญหาในอดีต ก้าวหน้ากว่ารธน.เก่า ก่อให้เกิดความสมหวัง ปฏิรูปไม่ได้จบไป เป็นเพียงวาทะกรรม และถ้าผมในฐานะประชาชนคนหนึ่ง จะใช้เหตุผลนี้ในการรับ หรือไม่ เพราะถ้าเป็นนักการเมือง จะให้ความสำคัญแก้ปัญหาอดีตน้อยกว่า ก้าวหน้าน้อยกว่า หรือ ไม่สนใจปฏิรูป เพราะฝ่ายการเมืองวิจารณ์ถึงโครงสร้างอำนาจ เช่น ส.ส.-ส.ว. มายังไง กรรมการยุทธศาสตร์ฯ แย่งอำนาจรัฐ ซึ่งไม่เกี่ยวกับประชาชน ซึ่งคิดว่า 3 ข้อนี้ เป็นเกณฑ์หลัก" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ขณะที่ นายคำนูณ สิทธิสมาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศเกิดความขัดแย้ง จนทำให้แบ่งความคิดของประชาชนออกเป็น 2 ฝ่าย ซึ่งร่าง รธน.ที่ออกมา ตอบโจทย์ประเทศได้หรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ แต่การแก้ปัญหาประเทศ ได้วิเคราะห์รากฐานมาจากความเหลือล้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความขัดแย้ง แม้การชุมนุมทุกฝ่ายแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องเหมือนกัน คือ ปฏิรูป หรือเปลี่ยนแปลง
ส่วนร่าง รธน.ประชาธิปไตย และเหมาะสมกับสังคมไทย รวมถึงตอบโจทย์ได้ ถือเป็นนวัตกรรมสำคัญ และถือเป็นหัวใจรธน.นี้ คือการปฏิรูป และสร้างความปรองดอง เพราะถือกลไกพิเศษในการบริหารราชการแผ่นดิน และบัญญัติให้คงอยู่ 5 ปี หรือให้ต่อต้องเกินกึ่งหนึ่งจำนวนเสียงของสภาผู้แทนราษฎร
ด้านประธานกมธ.ยกร่างฯ กล่าวเสริมว่า กฎหมายสำคัญต่อการปฏิรูป ไม่ได้มาจากการเมืองปกติ แต่มาจากรัฐบาลพิเศษ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ มีการถกเถียงรอบด้าน และ อยู่ในบทเฉพาะกาล 5 ปี ตายตัว ไม่มีสิทธิต่ออายุ และคิดว่าเป็นทางออกบ้านเมือง ซึ่งพร้อมเปิดเผยต่อสาธารณะ หากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โหวตผ่าน เพราะสถานการณ์ไทยไม่เหมือชาติใดในโลก และถ้าประชาชนเห็นด้วย ก็เดินต่อ แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ก็พร้อมเคารพต่อการตัดสินใจ
ส่วนคำถามการพิจารณารัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ที่เหมาะกับสังคมไทย และตอบโจทย์ รวมถึงอำนาจพิเศษ ที่อาจดูกว้างในรธน.จะไปอยู่ในกฎหมายประกอบหรือไม่ นายบวรศักดิ์ อธิบายว่า รัฐธรรมนูญที่เหมาะกับสภาพสังคมไทย ซึ่งมีการทุจริต ขัดแย้ง และถึงทางตันมาแล้วในอดีต จบด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญมา 2 ครั้ง 2. สังคมไทยภายใต้รัฐประหาร และปกครองด้วยรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรง
อย่างไรก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะสร้างประชาธิปไตยเหมาะสมกับสังคมไทย โดยระบบตะวันตกเต็มที่ เมื่อพ้น 5 ปีไปแล้ว ที่มีการเลือกตั้งส.ส. และ ส.ว. แต่ในระหว่างนี้ ต้องสร้างประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่านจากระบอบรัฏฐาธิปัตย์ ไปสู่ประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่าน โดยมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูป และการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) มาทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูป และกำกับการปฏิรูปไปได้ รวมทั้งสร้างความปรองดองคูขนานไปกับรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง หากรัฐบาลปกติคุมสถานการณ์ไม่อยู่ ก็สามารถใช้อำนาจพิเศษนั้นได้ โดยไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญครั้งที่สาม ภายใน10 ปี
"องค์กรนี้ชั่วคราว และไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่ กึ่งๆ แต่มีประธานสภา ประธานวุฒิสภา อดีตประธานสภาและประธานวุฒิ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 61 คน เพราะฉะนั้น ประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่าน 5 ปี เพื่อดูแลไม่ให้ประชาชนกลับไปฆ่ากัน" นายบวรศักดิ์ กล่าว
นายบวรศักดิ์ อธิบายความหมาย ประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่าน คือ ต้องการไม่ให้เคยกิดความขัดแย้งรุนแรง และเสริมสร้างความปรองดอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเสนอคำถามประชามติ ว่า ประชาชนต้องการรัฐบาลปรองดองแห่งชาติหรือไม่ เพื่อให้สองพรรคใหญ่ได้ร่วมกันทำงาน อีกทั้ง เพื่อผลักดันให้กลไก

** 2 กมธ.ยื่นตีความร่างรธน.

นายนิรันดร์ พันทรกิจ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงว่า คณะกมธ.ปฏิรูปการเมือง และ กมธ.กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้ส่งหนังสือต่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ผ่านสำนักเลขาสปช. พร้อมแนบรายชื่อสมาชิกสปช.จำนวน 13 คนแล้ว เพื่อขอให้ส่งประเด็นปัญหาร่างรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ปัญหาความแล้วเสร็จของ ร่าง รธน. เนื่องจากร่าง รธน.ฉบับนี้ ไม่มีคำปรารภ ทั้งๆ ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญปี 40 หรือ ปี 50 มีคำปรารภ โดยเฉพาะ ร่าง รธน.ปี 50 ฉบับประชามติ ที่มีการเว้นว่างไว้ให้ใส่ วันที่
และข้อความหลังการทำประชามติ นอกจากนี้ตนยังได้ตรวจสอบพบหนังสือแบบเรียนกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เขียนเอง พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 2530 ในหน้าที่ 275 ย่อหน้าที่ 5 ที่นายวิษณุ เขียนระบุว่า "ในบางประเทศที่มีประเพณีในการร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องมีคำปรารภต้นตัวบทรัฐธรรมนูญอยู่เสมอ เช่น ประเพณีออกกฎหมายของไทย จะต้องมีคำพระราชปรารภเสมอ แม้จะเป็นเพียงข้อความสั้นๆ"
ดังนั้น จึงต้องการให้ประธาน สปช. ส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อให้ครม. ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าเป็นร่างที่สมบูรณ์หรือไม่ เพื่อป้องกันเกิดปัญหาในอนาคต เพราะหากร่าง รธน. ผ่านการทำประชามติแล้ว มีบุคคลที่ไม่เห็นด้วย หยิบยกขึ้นมายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง รธน.นี้ไม่สมบูรณ์ อาจทำให้เสียเวลา เสียงบประมาณ และเสียเกียรติของ สปช. ทั้งนี้ถือว่าทั้ง 2 คณะกมธ.ได้ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว จากนี้ไปขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของประธาน สปช. -ครม. และ ศาลรัฐธรรมนูญ จะเป็นผู้พิจารณา เพราะหากเกิดอะไรขึ้น ก็ต้องตอบสังคมให้ได้
กำลังโหลดความคิดเห็น