xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.ยกร่างฯ แจงสื่อมี คปป.ไม่ต้องฉีก รธน.-กัน ปชช.ฆ่ากัน ยก รธน.เหมาะสังคมไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กมธ.ยกร่างฯ จัดกิจกรรมพบสื่อ “บวรศักดิ์” วอนผู้ใช้สิทธิมองภาพรวม ไม่มีอะไรสมบูรณ์ ยันก้าวหน้ากว่า รธน.40-50 พร้อมปฏิรูป ชี้เรื่องการเมืองวิจารณ์ ไม่เกี่ยว ปชช. ชี้ กม.สำคัญปฏิรูปมาจาก รบ.พิเศษ แจง รธน.สร้าง ปชต.ที่เหมาะสังคมไทย มี คปป.จะได้ไม่ต้องฉีก รธน.ซ้ำซาก รับช่วง ปชต.เปลี่ยนผ่าน 5 ปีไม่ให้ฆ่ากัน “คำนูณ” แจงยึดเหลื่อมล้ำแก้ปัญหา ยก รธน.เหมาะสมตอบโจทย์



วันนี้ (26 ส.ค.) คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดกิจกรรม “กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพบสื่อมวลชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถามประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีประเด็นคำถามที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ อาทิ “เหตุใดถึงคิดว่าคนไทยควรเลือกรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้” โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ถือเป็นวิจารณญาณของผู้มีสิทธิเลือกตั้งพิจารณารัฐธรรมนูญในภาพรวมให้ได้ด้วยตัวเอง อย่าดูเฉพาะบางส่วน หากตัดบางท่อนไปอาจบิดเบี้ยว เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์ 100%ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ คิดว่าแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ตามเหตุผลที่ กมธ.ยกร่างฯ ชี้แจง 2. รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก้าวหน้ากว่า รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และ 3. ก่อให้เกิดการปฏิรูปตามทุกฝ่ายเรียกร้องก่อนหน้าวันที่ 22 พ.ค. 2557

“รัฐธรรมนูญต้องแก้ปัญหาในอดีต ก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญเก่า ก่อให้เกิดความสมหวังปฏิรูป ไม่ได้จบไปเป็นเพียงวาทะกรรม และถ้าผมในฐานะประชาชนคนหนึ่ง จะใช้เหตุผลนี้ในการรับหรือไม่ เพราะถ้าเป็นนักการเมืองจะให้ความสำคัญแก้ปัญหาอดีตน้อยกว่า ก้าวหน้าน้อยกว่า หรือไม่สนใจปฏิรูป เพราะฝ่ายการเมืองวิจารณ์ถึงโครงสร้างอำนาจ เช่น ส.ส.และ ส.ว.มายังไง กรรมการยุทธศาสตร์ฯ แย่งอำนาจรัฐ ซึ่งไม่เกี่ยวกับประชาชน คิดว่า 3 ข้อนี้เป็นเกณฑ์หลัก” นายบวรศักดิ์กล่าว

ขณะที่ นายคำนูณ สิทธิสมาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศเกิดความขัดแย้งจนทำให้แบ่งความคิดของประชาชนออกเป็นสองฝ่าย ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมาตอบโจทย์ประเทศได้หรือไม่ ไม่สามารถตอบไม่ได้ แต่การแก้ปัญหาประเทศ ได้วิเคราะห์รากฐานมาจากความเหลือมล้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของความขัดแย้ง แม้การชุมนุมทุกฝ่ายแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องเหมือนกัน คือ ปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลง ส่วนร่างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยและเหมาะสมกับสังคมไทยรวมถึงตอบโจทย์ได้ ถือเป็นนวัตกรรมสำคัญและถือเป็นหัวใจรัฐธรรมนูญนี้ คือ การปฏิรูปและสร้างความปรองดอง เพราะถือกลไกพิเศษในการบริหารราชการแผ่นดิน และบัญญัติให้คงอยู่ 5 ปี หรือให้ต่อต้องเกินกึ่งหนึ่งจำนวนเสียงของสภาผู้แทนราษฎร

ด้านประธาน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวเสริมว่า กฎหมายสำคัญต่อการปฏิรูป ไม่ได้มาจากการเมืองปกติ แต่มาจากรัฐบาลพิเศษ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้มีการถกเถียงรอบด้าน และอยู่ในบทเฉพาะกาล 5 ปีตายตัว ไม่มีสิทธิต่ออายุ และคิดว่าเป็นทางออกบ้านเมือง ซึ่งพร้อมเปิดเผยต่อสาธารณะ หากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โหวตผ่าน เพราะสถานการณ์ไทยไม่เหมือนชาติใดในโลก และถ้าประชาชนเห็นด้วยก็เดินต่อ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยก็พร้อมเคารพต่อการตัดสินใจ

ส่วนคำถามการพิจารณารัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่เหมาะกับสังคมไทย และตอบโจทย์ รวมถึงอำนาจพิเศษที่อาจดูกว้างในรัฐธรรมนูญจะไปอยู่ในกฎหมายประกอบหรือไม่ นายบวรศักดิ์ อธิบายว่า รัฐธรรมนูญที่เหมาะกับสภาพสังคมไทยซึ่งมีการทุจริต ขัดแย้ง และถึงทางตันมาแล้วในอดีต จบด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญมา 2 ครั้ง 2. สังคมไทยภายใต้รัฐประหาร และปกครองด้วยรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะสร้างประชาธิปไตยเหมาะสมกับสังคมไทย โดยระบบตะวันตกเต็มที่เมื่อพ้น 5 ปีไปแล้ว ที่มีการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. แต่ในระหว่างนี้ ต้องสร้างประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่านจากระบอบรัฏฐาธิปัตย์ ไปสู่ประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่าน โดยมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) มาทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูป และกำกับการปฏิรูปไปได้ รวมทั้งสร้างความปรองดองคูขนานไปกับรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง หากรัฐบาลปกติคุมสถานการณ์ไม่อยู่ ก็สามารถใช้อำนาจพิเศษนั้นได้ โดยไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญครั้งที่สาม ภายใน 10 ปี

“องค์กรนี้ชั่วคราวและไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่ กึ่งๆ แต่มีประธานสภาฯ ประธานวุฒิสภา อดีตประธานสภาฯ และประธานวุฒิสภา รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 61 คน เพราะฉะนั้น ประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่าน 5 ปี เพื่อดูแลไม่ให้ประชาชนกลับไปฆ่ากัน” นายบวรศักดิ์กล่าว

นายบวรศักดิ์อธิบายความหมายประชาธิปไตยเปลี่ยนผ่าน คือ ต้องการไม่ให้เคยกิดความขัดแย้งรุนแรง และเสริมสร้างความปรองดอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเสนอคำถามประชามติ ว่าประชาชนต้องการรัฐบาลปรองดองแห่งชาติหรือไม่ เพื่อให้สองพรรคใหญ่ได้ร่วมกันทำงาน อีกทั้ง เพื่อผลักดันให้กลไกการปฏิรูป และส่งต่อประชาธิปไตย เต็มรูปแบบภายหลัง 5 ปีไปแล้ว





























กำลังโหลดความคิดเห็น