ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยโละทิ้งทีมเศรษฐกิจที่นำโดย “คุณชายอุ๋ย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล แล้วหันไปดันดรีมทีมเศรษฐกิจ ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ผู้ซึ่งอยู่หลังฉากในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของ คสช. ขึ้นมาแทนที่ตามคาดหมาย
ถามว่า มีอะไรใหม่
ตอบได้ทันทีว่า ไม่มี เหมือนเดิม เพราะที่ผ่านมา นายสมคิด ก็เป็นกุนซือด้านเศรษฐกิจให้กับคสช.ไม่ว่า “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ หรือ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงกลาโหม ต่างก็เงี่ยหูฟังนายสมคิด มาตลอดอยู่แล้วในเรื่องเศรษฐกิจ
ที่ใหม่ก็เพียง นายสมคิดถูกดึงออกจากฉากหลังมายืนอยู่กลางแสงไฟ ให้ได้รู้กันไปเลยว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติที่ผ่านมาและต่อไปอยู่ภายใต้การผลักดันของนายสมคิด ตัวจริงเสียงจริง ส่วน “หม่อมอุ๋ย” และทีมงานที่เคยเป็นหนังหน้าไฟเต้นอยู่กลางฟลอร์ถึงเวลาก็ต้องลงจากเวที ให้ตัวจริงเขาแสดงฝีมือดูว่าจะนำพาเศรษฐกิจไปรอดหรือไม่
ไม่ต้องมาเกี่ยงงอนโทษนี่นั่นกันอีกต่อไปว่าที่ผ่านมา นายสมคิดเป็นคนออกหัวคิดก็ใช่แต่ทำอะไรได้ไม่ถนัดเพราะไม่มีอำนาจ คราวนี้ มีทั้งอำนาจ และมากันทั้งทีมครบครัน พร้อมกับมีแรงสนับสนุนอย่างเต็มเปี่ยมจากพี่น้องบูรพาพยัคฆ์ ทั้งบิ๊กป้อมและบิ๊กตู่ จะเหลือก็แต่ฝีมือจะสมราคาคุยหรือไม่เท่านั้น
จะว่าไป หากเคยติดตามผลงานของหัวหน้าทีมเศรษฐกิจใหม่ ก็จะเห็นว่า มีความโดดเด่นเป็นพิเศษก็แต่งานตีปี๊บโฆษณาประชาสัมพันธ์ งานอีเว้นต์ มาร์เก็ตติ้ง สร้างภาพ สร้างฝัน วิสัยทัศน์อันยาวไกล ประมาณนั้น แต่ผลงานที่ฝากไว้ในแผ่นดินที่เป็นชิ้นเป็นอันซึ่งจดจารจารึกในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนคนไทย มีผลงานเอกอุให้ใครๆ จดจำอะไรได้บ้าง?
ไทยแลนด์ อิงค์. หรือบริษัทประเทศไทย จำกัด ที่นายสมคิด เคยคิดแปลงประเทศไทยให้เป็นบริษัทจำกัด ผ่านมาเกือบสองทศวรรษจนบัดนี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
แต่ก่อนจะไปรู้จักตัวตนของนายสมคิด หัวหน้าดรีมทีมเศรษฐกิจคนใหม่ ย้อนกลับมาดูการอำลาที่ไม่อาลัยในทำนอง ถ้าจะไปก็ขอไปให้พ้น ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล “หม่อมอุ๋ย” อดีตรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กันสักเล็กน้อย
หม่อมอุ๋ย เลือกตัดบัวแบบไม่เหลือใย ยืนยันไม่รับตำแหน่งใดๆ ที่พล.อ.ประยุทธ์หยิบยื่นไมตรีให้ โดยเฉพาะตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี มิหนำซ้ำ ยังเหน็บกลับอีกด้วยว่า “ไม่ชอบการแบ่งแยกแล้วปกครอง”
อดีตรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ แถลงปฏิเสธข่าวที่ว่าจะไปรับตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ว่าไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีเคยมีใครมาทาบทาม และหากมีใครมาทาบทามก็คงไม่รับ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับหลักการแบ่งแยกแล้วปกครอง หากเห็นว่านายสมคิด เหมาะเป็นรองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ ก็ควรให้เขาทำงานเต็มที่ สนับสนุนเต็มที่ ไม่ใช่ตั้งที่ปรึกษามาคอยจับผิด อย่างนั้นมันไม่ดี
“ผมกับคุณสมคิดก็รู้จักกัน ถ้าอะไรไม่เหมาะผมก็โทรฯ บอกเขาตรงๆได้อยู่แล้ว แต่ระหว่างนี้เราต้องสนับสนุนเขาเต็มที่ ไม่ควรแบ่งแยกและปกครองอีกต่อไป ประเทศไทยทะเลาะกันไม่ได้อีกแล้ว ตอนนี้ต้องช่วยกันทำให้เศรษฐกิจมันเดินไปให้ดี ..... ”
เมื่อถามว่าทำไมถึงมองว่าเป็นการแบ่งแยกและปกครอง ม.ร.ว.ปรีดียาธร ตอบทันทีว่า “ก็ผมโดนมาแล้วไง ผมทำงานก็โดนนั่งตามจับผิดมาโดยตลอด ซึ่งคนทำงานมันหมดแรง ผมไม่อยากให้คุณสมคิดหมดแรง ให้เขาทำเต็มที่ ไม่ควรจะมีที่ปรึกษานายกฯ ไปคอยตามงานคุณสมคิด ใครเข้ามาทำผมเองก็สนับสนุนเต็มที่ เพื่อให้เศรษฐกิจดีให้ได้ อะไรไม่ดีก็โทรฯบอกกัน แอบเตือนกัน ตามดูกันแบบนี้ ไอ้คนทำงานมันไม่มีความสุขหรอก”
“..... วิธีการที่คอยมาตามงานตน คอยจี้งาน แล้วคอยบอกว่าผิดหรือถูก ทั้งที่ไม่เข้าใจ ต่างหากที่มันน่ารำคาญ นี่คืออุปสรรคในการทำงาน ที่ทำให้การทำงานไม่มีความสุข”
ต้องบอกว่า การตอบคำถามผู้สื่อข่าวของคุณชายอุ๋ย นับว่าห้าวเป้งได้ระดับ โดยเฉพาะคำถามต่อที่ว่า จากนี้ไปหากนายกรัฐมนตรี เชิญไปคุยเพื่อทำความเข้าใจ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ตอบทันทีว่า ไม่ไป ตนเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีใครมาเป็นเจ้าหัวใจ
เมื่อถามว่า หากนายกรัฐมนตรี จะมาขอคำปรึกษา ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าวว่า ไม่ให้
สำหรับตำแหน่งที่ปรึกษา คสช. ที่เป็นอยู่ด้วยนั้น จะยังคงอยู่หรือไม่ หม่อมอุ๋ย บอกว่า ยังไม่ได้คิดเพราะตำแหน่งนี้ตนไม่ได้ทำมานานแล้ว ไม่เคยไปให้คำปรึกษามานานแล้ว นี่ตนก็ลืมไปแล้ว ขอบคุณมากที่มาเตือน
ส่วนการประเมินผลงานตัวเองที่ผ่านมาเป็นอย่างไรนั้น หม่อมอุ๋ย ตอบคำถามอย่างภาคภูมิใจชนิดเสียดแทงความรู้สึกของท่านผู้นำว่า “ทำงานดีมาก”
เมื่อคุณชายอุ๋ย จัดหนักขนาดนี้มีหรือที่ชายชาติทหารอย่างพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรี จะรับได้ คล้อยหลังการแถลงของคุณชายอุ๋ย ที่เมินไม่ไมตรีไม่รับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สื่อมวลชนก็ยิงคำถามต่อพล.อ.ประยุทธ์ และคำตอบที่ได้ก็ไม่เกินคาดหมาย “ไม่รับก็อย่ารับสิ ผมไม่ได้อะไรนี่ ก็ผมจะให้รับแต่เมื่อไม่รับก็ไม่รับ”
เมื่อถามว่าไม่มีอะไรติดใจใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “ผมจะไปขัดใจอะไรกับท่านล่ะ ท่านเองก็ร่วมเป็นร่วมตายมากับผม เว้นแต่ท่านจะขัดใจผมเท่านั้นเอง ท่านจะน้อยใจผม โกรธผม ก็ต้องด้วยความเคารพนั่นแหละ เพราะผมไม่มีอะไรอยู่แล้ว ผมไม่ได้เคยบอกใครนี่ ท่านถามเท่าไหร่ผมก็ไม่ตอบ ผมเองก็ต้องวางระยะของผมไว้ อยู่ไปงานก็ต้องหนักขึ้นเรื่อยๆ ก็โอเคมีการเริ่มต้นไว้ให้แล้ว ระยะที่ 2 ก็ต้องมาขับเคลื่อนถ้ามันมีเวลาเพียงพอก็จะทำให้ดี..... ”
หากมองย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ หม่อมอุ๋ย เคยวิจารณ์พล.อ.ประยุทธ์ ชนิดที่เชื่อได้ว่าหากมีการปรับ ครม. หม่อมอุ๋ยมีหวังโดนเด้งเป็นแน่แท้ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2558 สมาคมธนาคารไทย ได้จัดประชุมประจำเดือน โดยมีกรรมการผู้จัดการใหญ่และซีอีโอธนาคารทั้งไทยและต่างชาติ ราว 30-40 คน ร่วมประชุม และรับประทานอาหารค่ำ ในวันนั้น มีการเชิญ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ มาบรรยายสรุปภาวะเศรษฐกิจให้ฟังด้วย
มีรายงานข่าวว่า ในบางช่วงบางตอนระหว่างอธิบายการทำงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า “ผมพูดเรื่องเศรษฐกิจ คิดว่าทุกคนในนี้เข้าใจ แต่คุยกับนายกรัฐมนตรีไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ แล้วยังนำไปพูดตอบนักข่าวทุกเรื่องWถ้อยคำดังกล่าว ทำเอานายแบงก์อึ้งกันทั้งห้องประชุมเลยทีเดียว
เมื่อรู้จักตัวตนของผู้ที่จากไป มาสนใจคนใหม่ที่กำลังจะมากันบ้าง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นใคร มาจากไหน มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้มากบารมีและกี่ขั้วอำนาจ สกู๊ปข่าว “มารู้จักตัวตนคนชื่อ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ที่ “สำนักข่าวอิศรา” เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2558 ได้ร่ายยาวมาตั้งแต่ครั้งที่นายสมคิด รับใช้ใกล้ชิดครอบครัวชินวัตร มาจนถึงการเป็นแก้วสารพัดนึกของ คสช. ในเวลานี้ โดยสำนักข่าวอิศรา ฉายภาพว่านายสมคิด ดีแต่สร้างภาพไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
เนื้อหาบางตอนของสกู๊ปชิ้นดังกล่าว วิจารณ์ว่า “..... ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ (รองนายกรัฐมนตรี รมว.กระทรวงการคลัง และรมว.กระทรวงพาณิชย์) ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่ปรากฏว่า ดร.สมคิดจะมีผลงานอะไรโดดเด่นหรือประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาใดๆ ให้แก่ประเทศชาติและประชาชน นอกจากนโยบายประชานิยมและนโยบายครัวไทยไปครัวโลก ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าประสบความสำเร็จยิ่งในด้านการประชาสัมพันธ์ แต่หาได้เกิดมรรคผลอันใดต่อการค้าขายอาหารไทยในต่างประเทศแม้แต่น้อย”
“ภายหลังรัฐประหารในปี 2549 ด้วยสายสัมพันธ์อันดีของ ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ ผู้พี่ชายที่มีต่อพวกแม่ทัพนายกองเหล่าทหารผู้มีอำนาจน้อยใหญ่ ประกอบกับ ดร.สมคิด ได้เปลี่ยนท่าทีจากการที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาสนับสนุนทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มที่ จึงได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีผลงานในด้านเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์ ประกอบกับภาพลักษณ์ของการเป็นมือไม้ให้แก่ทักษิณ ชินวัตร มาก่อน ดร.สมคิด จึงถูกสังคมกดดันจนต้องลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในที่สุด”
แม้แต่การเข้าไปฟื้นฟูหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ของนายสมคิด สำนักข่าวอิศรา ก็วิจารณ์ว่า “.... การตัดสินใจเข้าไปบริหารและร่วมฟื้นฟูหนังสือพิมพ์สยามรัฐของ ดร.สมคิด กลายเป็นความคาดหวังที่บรรดาคนหนังสือพิมพ์ที่สังกัดหนังสือพิมพ์สยามรัฐไม่เคยคิดว่าจะพบกับความผิดหวังและได้สัมผัสกับความล้มเหลวอีกครั้งหนึ่งของคนภาพลักษณ์ดีอย่าง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์”
ต่อมา เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ ยึดอำนาจ นายสมคิด ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา คสช. จากการมีสายสัมพันธ์อันดีกับทหารหาญของ ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ อีกเช่นเคย และเมื่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ พยายามทำงานแก้ปัญหาและขับเคลื่อนการทำงานให้รุดหน้า ทุกอย่างก็ยังคงติดขัดไม่ราบรื่น เพราะความไม่กล้าตัดสินใจของผู้มีอำนาจบางคนที่คอยฟังคนโน้นทีคนนี้ทีแล้วโทษปี่โทษกลองไปเรื่อย เลยต้องตั้งคณะกรรมการไม่รู้กี่คณะขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาตามคำแนะนำของ ดร.สมคิด และกรรมการที่ คสช.ตั้งมาทุกชุดก็ล้วนแต่มี ดร.สมคิดร่วมอยู่ด้วยทุกคณะ แต่ก็ยังไม่ปรากฏผลงานอันเด่นชัดของกรรมการชุดต่างๆ เหล่านั้นเลย
อย่างไรก็ตาม เพื่อความเป็นธรรมต่อนายสมคิด คงต้องให้โอกาสและรอดูผลงานกันอีกครั้งเสียก่อนแล้วค่อยกดไลค์หรือกดลบทิ้งไปจากสาระบบ และคราวนี้ดรีมทีมเศรษฐกิจคนอื่นๆ ในกระทรวงสำคัญๆ ก็ต้องบอกว่าเป็นเนื้อเดียวกันกับนายสมคิด และผ่านการกลั่นกรองของสองบิ๊กผู้ยิ่งใหญ่มากับมือทั้งสิ้น
สำหรับการปรับครม. คราวนี้ ทีมเศรษฐกิจก๊วนหม่อมอุ๋ย ที่ต้องอำลาตำแหน่งไปพร้อมๆ กันนั้น ประกอบด้วย นายสมหมาย ภาษี รมว.กระทรวงการคลัง, นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม, นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอำนวย ปะติเส รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายพรชัย รุจิประภา รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.กระทรวงพลังงาน
ส่วนรัฐมนตรีสายสังคมที่หลุดออกไปเลย คือ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านสังคม, ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.กระทรวงสาธารณสุข, นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.กระทรวงสาธารณสุข และนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.กระทรวงศึกษาธิการ
ขณะที่ แกนนำหลัก คสช. ยังนั่งเก้าอี้ตัวเดิมต่อไป เช่น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เป็นต้น
ส่วนดรีมทีมเศรษฐกิจใหม่ ประกอบด้วย นายสมคิด นั่งตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ เข้ามาเป็น รมว.กระทรวงการคลัง นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็น รมช.กระทรวงพาณิชย์ นายอุตตม สาวนายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะเกษียณอายุราชการสิ้นเดือน ก.ย.นี้ เข้ามาทำหน้าที่เป็น รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ยังมีรัฐมนตรีสายทหารและข้าราชการประจำที่ถูกสลับโยกย้าย เช่น พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ จาก รมว.พาณิชย์ ไปเป็น รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.พาณิชย์ ขึ้นเป็น รมว.กระทรวงพาณิชย์ ขณะที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.กระทรวงคมนาคม เหลือเพียงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โดยให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.กระทรวงคมนาคม ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการแทน และนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.กระทรวงคมนาคม
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โยกมาเป็น รมว.กระทรวงศึกษาธิการ แทน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ที่ขยับไปเป็นรองนายกฯ นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.กระทรวงศึกษาธิการ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตอธิการมหาวิทยาลัยมหดิล เป็น รมว.กระทรวงสาธารณสุข
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ถูกปรับเหลือตำแหน่งรองนายกฯตำแหน่งเดียว แล้วให้นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมช.กระทรวงการต่างประเทศ ขึ้นนั่งรมว.กระทรวงต่างประเทศ แทน ขณะที่ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม มากินตำแหน่ง รมว.กระทรวงแรงงาน และพล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็น รมว.กระทรวงพลังงาน
การปรับครม.คราวนี้นอกจากจะมาพร้อมข่าวร้ายระเบิดใจกลางเมืองหลวงแล้ว ยังมีการแถลงตัวเลขของสภาพัฒน์ที่ปรับเป้าจีดีพีใหม่ลดต่ำลงจากเดิม เป็นภาระหนักหน่วงยังรออยู่เบื้องหน้า และงานนี้จะวัดฝีมือดรีมทีมเศรษฐกิจใหม่ ว่าจะนำพาประเทศชาติไปรอดหรือไม่ในปีนี้ก่อน ยังไม่ต้องคิดไกลไปถึง “วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศไทย” ภายในปี พ.ศ.2575 ต้องมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างที่นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ วาดฝันอะไรนั่น
การแถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2/2558 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงขาลง โดยสภาพัฒน์ ระบุว่า ผลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/58 เติบโตชะลอลงมาที่ 2.8% เทียบกับ 3% ในไตรมาส 1/58 เนื่องจากเศรษฐกิจภาคนอกเกษตรชะลอลง 3.5% ส่วนภาคเกษตรหดตัว 5.9% ขณะที่ GDP ปรับฤดูกาลทรงตัวที่ 0.4% เทียบกับที่ขยายตัว 0.3% ในไตรมาสที่แล้ว
ด้านการใช้จ่ายในประเทศ การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ขยายตัว 1.5% ชะลอจากที่ขยายตัว 2.4% ในไตรมาสที่แล้ว จากอำนาจซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าคงทน และค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการหดตัว
ส่วนการบริโภคสินค้ากึ่งคงทนและไม่คงทนยังคงเพิ่มขึ้น และการอุปโภคขั้นสุดท้ายของภาครัฐ เพิ่มขึ้น 4.6% ตามการค่าใช้จ่ายหมวดค่าตอบแทนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการสุทธิชะลอลง ส่วนการลงทุนรวม ชะลอลง 2.5% เทียบกับที่ขยายตัว 10.7% ในไตรมาสที่แล้ว โดยการลงทุนภาครัฐชะลอลง 24.7% การลงทุนภาคเอกชน หดตัว 3.4% ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าและดุลบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 291.1 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 261.9 พันล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 29.2 พันล้านบาท
สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง คือ ตัวเลขการท่องเที่ยวขยายตัวอัตราสูง เนื่องจากยอดนักท่องเที่ยวยังสูงกว่า 7 ล้านคน ขยายตัว 37.6% นับว่าเป็นการเพิ่มตัวแบบเร่งขึ้นจากไตรมาส 1 เป็นปัจจัยมาทดแทนการส่งออก ซึ่งหดหายไป 4% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวในภูมิภาคจีน ฮ่องกง มาเลเซีย ขยายตัวถึง 61.9% ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐครึ่งปีหลังทั้งโครงการที่มีอยู่และโครงการใหม่ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะการสร้างมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 14,000 ล้านบาท จะลงนามได้ภายในสิ้นปีนี้
นายปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่า สศช.ยังคาดจีดีพีขยายตัวร้อยละ 3 แต่ลดช่วงคาดการณ์ลดเหลือ 2.7-3.2% จากเดิมช่วงคาดการณ์ 3-4% หลังจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 2.8% อัตราเงินเฟ้อหดตัว 0.2-0.7% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 4.8% ส่วนกรณีเงินเฟ้อติดลบขณะนี้ยังไม่ถือว่าอยู่ในภาวะเงินฝืด เนื่องจากเป็นผลราคาน้ำมันลดลงและภาคครัฐปรับลดค่าโดยสารสาธารณะ
การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้เหลือโตร้อยละ 2.7-3.2 เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้
ปรับ ครม.ใหม่แล้ว ดรีมทีมเศรษฐกิจใหม่มาแล้ว จะเป็นแก้วสารพัดนึกช่วยแก้วิกฤตให้รอดพ้นไปได้ หรือว่าจะเป็นเพียงแค่การสลับเก้าอี้ดนตรีเพียงเท่านั้น อีกไม่นานก็ได้รู้กัน
ถามว่า มีอะไรใหม่
ตอบได้ทันทีว่า ไม่มี เหมือนเดิม เพราะที่ผ่านมา นายสมคิด ก็เป็นกุนซือด้านเศรษฐกิจให้กับคสช.ไม่ว่า “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ หรือ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงกลาโหม ต่างก็เงี่ยหูฟังนายสมคิด มาตลอดอยู่แล้วในเรื่องเศรษฐกิจ
ที่ใหม่ก็เพียง นายสมคิดถูกดึงออกจากฉากหลังมายืนอยู่กลางแสงไฟ ให้ได้รู้กันไปเลยว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติที่ผ่านมาและต่อไปอยู่ภายใต้การผลักดันของนายสมคิด ตัวจริงเสียงจริง ส่วน “หม่อมอุ๋ย” และทีมงานที่เคยเป็นหนังหน้าไฟเต้นอยู่กลางฟลอร์ถึงเวลาก็ต้องลงจากเวที ให้ตัวจริงเขาแสดงฝีมือดูว่าจะนำพาเศรษฐกิจไปรอดหรือไม่
ไม่ต้องมาเกี่ยงงอนโทษนี่นั่นกันอีกต่อไปว่าที่ผ่านมา นายสมคิดเป็นคนออกหัวคิดก็ใช่แต่ทำอะไรได้ไม่ถนัดเพราะไม่มีอำนาจ คราวนี้ มีทั้งอำนาจ และมากันทั้งทีมครบครัน พร้อมกับมีแรงสนับสนุนอย่างเต็มเปี่ยมจากพี่น้องบูรพาพยัคฆ์ ทั้งบิ๊กป้อมและบิ๊กตู่ จะเหลือก็แต่ฝีมือจะสมราคาคุยหรือไม่เท่านั้น
จะว่าไป หากเคยติดตามผลงานของหัวหน้าทีมเศรษฐกิจใหม่ ก็จะเห็นว่า มีความโดดเด่นเป็นพิเศษก็แต่งานตีปี๊บโฆษณาประชาสัมพันธ์ งานอีเว้นต์ มาร์เก็ตติ้ง สร้างภาพ สร้างฝัน วิสัยทัศน์อันยาวไกล ประมาณนั้น แต่ผลงานที่ฝากไว้ในแผ่นดินที่เป็นชิ้นเป็นอันซึ่งจดจารจารึกในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนคนไทย มีผลงานเอกอุให้ใครๆ จดจำอะไรได้บ้าง?
ไทยแลนด์ อิงค์. หรือบริษัทประเทศไทย จำกัด ที่นายสมคิด เคยคิดแปลงประเทศไทยให้เป็นบริษัทจำกัด ผ่านมาเกือบสองทศวรรษจนบัดนี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
แต่ก่อนจะไปรู้จักตัวตนของนายสมคิด หัวหน้าดรีมทีมเศรษฐกิจคนใหม่ ย้อนกลับมาดูการอำลาที่ไม่อาลัยในทำนอง ถ้าจะไปก็ขอไปให้พ้น ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล “หม่อมอุ๋ย” อดีตรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กันสักเล็กน้อย
หม่อมอุ๋ย เลือกตัดบัวแบบไม่เหลือใย ยืนยันไม่รับตำแหน่งใดๆ ที่พล.อ.ประยุทธ์หยิบยื่นไมตรีให้ โดยเฉพาะตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี มิหนำซ้ำ ยังเหน็บกลับอีกด้วยว่า “ไม่ชอบการแบ่งแยกแล้วปกครอง”
อดีตรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ แถลงปฏิเสธข่าวที่ว่าจะไปรับตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯ ว่าไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีเคยมีใครมาทาบทาม และหากมีใครมาทาบทามก็คงไม่รับ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับหลักการแบ่งแยกแล้วปกครอง หากเห็นว่านายสมคิด เหมาะเป็นรองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ ก็ควรให้เขาทำงานเต็มที่ สนับสนุนเต็มที่ ไม่ใช่ตั้งที่ปรึกษามาคอยจับผิด อย่างนั้นมันไม่ดี
“ผมกับคุณสมคิดก็รู้จักกัน ถ้าอะไรไม่เหมาะผมก็โทรฯ บอกเขาตรงๆได้อยู่แล้ว แต่ระหว่างนี้เราต้องสนับสนุนเขาเต็มที่ ไม่ควรแบ่งแยกและปกครองอีกต่อไป ประเทศไทยทะเลาะกันไม่ได้อีกแล้ว ตอนนี้ต้องช่วยกันทำให้เศรษฐกิจมันเดินไปให้ดี ..... ”
เมื่อถามว่าทำไมถึงมองว่าเป็นการแบ่งแยกและปกครอง ม.ร.ว.ปรีดียาธร ตอบทันทีว่า “ก็ผมโดนมาแล้วไง ผมทำงานก็โดนนั่งตามจับผิดมาโดยตลอด ซึ่งคนทำงานมันหมดแรง ผมไม่อยากให้คุณสมคิดหมดแรง ให้เขาทำเต็มที่ ไม่ควรจะมีที่ปรึกษานายกฯ ไปคอยตามงานคุณสมคิด ใครเข้ามาทำผมเองก็สนับสนุนเต็มที่ เพื่อให้เศรษฐกิจดีให้ได้ อะไรไม่ดีก็โทรฯบอกกัน แอบเตือนกัน ตามดูกันแบบนี้ ไอ้คนทำงานมันไม่มีความสุขหรอก”
“..... วิธีการที่คอยมาตามงานตน คอยจี้งาน แล้วคอยบอกว่าผิดหรือถูก ทั้งที่ไม่เข้าใจ ต่างหากที่มันน่ารำคาญ นี่คืออุปสรรคในการทำงาน ที่ทำให้การทำงานไม่มีความสุข”
ต้องบอกว่า การตอบคำถามผู้สื่อข่าวของคุณชายอุ๋ย นับว่าห้าวเป้งได้ระดับ โดยเฉพาะคำถามต่อที่ว่า จากนี้ไปหากนายกรัฐมนตรี เชิญไปคุยเพื่อทำความเข้าใจ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ตอบทันทีว่า ไม่ไป ตนเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีใครมาเป็นเจ้าหัวใจ
เมื่อถามว่า หากนายกรัฐมนตรี จะมาขอคำปรึกษา ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าวว่า ไม่ให้
สำหรับตำแหน่งที่ปรึกษา คสช. ที่เป็นอยู่ด้วยนั้น จะยังคงอยู่หรือไม่ หม่อมอุ๋ย บอกว่า ยังไม่ได้คิดเพราะตำแหน่งนี้ตนไม่ได้ทำมานานแล้ว ไม่เคยไปให้คำปรึกษามานานแล้ว นี่ตนก็ลืมไปแล้ว ขอบคุณมากที่มาเตือน
ส่วนการประเมินผลงานตัวเองที่ผ่านมาเป็นอย่างไรนั้น หม่อมอุ๋ย ตอบคำถามอย่างภาคภูมิใจชนิดเสียดแทงความรู้สึกของท่านผู้นำว่า “ทำงานดีมาก”
เมื่อคุณชายอุ๋ย จัดหนักขนาดนี้มีหรือที่ชายชาติทหารอย่างพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งเป็นถึงนายกรัฐมนตรี จะรับได้ คล้อยหลังการแถลงของคุณชายอุ๋ย ที่เมินไม่ไมตรีไม่รับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี สื่อมวลชนก็ยิงคำถามต่อพล.อ.ประยุทธ์ และคำตอบที่ได้ก็ไม่เกินคาดหมาย “ไม่รับก็อย่ารับสิ ผมไม่ได้อะไรนี่ ก็ผมจะให้รับแต่เมื่อไม่รับก็ไม่รับ”
เมื่อถามว่าไม่มีอะไรติดใจใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “ผมจะไปขัดใจอะไรกับท่านล่ะ ท่านเองก็ร่วมเป็นร่วมตายมากับผม เว้นแต่ท่านจะขัดใจผมเท่านั้นเอง ท่านจะน้อยใจผม โกรธผม ก็ต้องด้วยความเคารพนั่นแหละ เพราะผมไม่มีอะไรอยู่แล้ว ผมไม่ได้เคยบอกใครนี่ ท่านถามเท่าไหร่ผมก็ไม่ตอบ ผมเองก็ต้องวางระยะของผมไว้ อยู่ไปงานก็ต้องหนักขึ้นเรื่อยๆ ก็โอเคมีการเริ่มต้นไว้ให้แล้ว ระยะที่ 2 ก็ต้องมาขับเคลื่อนถ้ามันมีเวลาเพียงพอก็จะทำให้ดี..... ”
หากมองย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ หม่อมอุ๋ย เคยวิจารณ์พล.อ.ประยุทธ์ ชนิดที่เชื่อได้ว่าหากมีการปรับ ครม. หม่อมอุ๋ยมีหวังโดนเด้งเป็นแน่แท้ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2558 สมาคมธนาคารไทย ได้จัดประชุมประจำเดือน โดยมีกรรมการผู้จัดการใหญ่และซีอีโอธนาคารทั้งไทยและต่างชาติ ราว 30-40 คน ร่วมประชุม และรับประทานอาหารค่ำ ในวันนั้น มีการเชิญ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ มาบรรยายสรุปภาวะเศรษฐกิจให้ฟังด้วย
มีรายงานข่าวว่า ในบางช่วงบางตอนระหว่างอธิบายการทำงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า “ผมพูดเรื่องเศรษฐกิจ คิดว่าทุกคนในนี้เข้าใจ แต่คุยกับนายกรัฐมนตรีไม่เข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ แล้วยังนำไปพูดตอบนักข่าวทุกเรื่องWถ้อยคำดังกล่าว ทำเอานายแบงก์อึ้งกันทั้งห้องประชุมเลยทีเดียว
เมื่อรู้จักตัวตนของผู้ที่จากไป มาสนใจคนใหม่ที่กำลังจะมากันบ้าง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นใคร มาจากไหน มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้มากบารมีและกี่ขั้วอำนาจ สกู๊ปข่าว “มารู้จักตัวตนคนชื่อ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ที่ “สำนักข่าวอิศรา” เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2558 ได้ร่ายยาวมาตั้งแต่ครั้งที่นายสมคิด รับใช้ใกล้ชิดครอบครัวชินวัตร มาจนถึงการเป็นแก้วสารพัดนึกของ คสช. ในเวลานี้ โดยสำนักข่าวอิศรา ฉายภาพว่านายสมคิด ดีแต่สร้างภาพไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
เนื้อหาบางตอนของสกู๊ปชิ้นดังกล่าว วิจารณ์ว่า “..... ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ (รองนายกรัฐมนตรี รมว.กระทรวงการคลัง และรมว.กระทรวงพาณิชย์) ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่ปรากฏว่า ดร.สมคิดจะมีผลงานอะไรโดดเด่นหรือประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาใดๆ ให้แก่ประเทศชาติและประชาชน นอกจากนโยบายประชานิยมและนโยบายครัวไทยไปครัวโลก ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าประสบความสำเร็จยิ่งในด้านการประชาสัมพันธ์ แต่หาได้เกิดมรรคผลอันใดต่อการค้าขายอาหารไทยในต่างประเทศแม้แต่น้อย”
“ภายหลังรัฐประหารในปี 2549 ด้วยสายสัมพันธ์อันดีของ ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ ผู้พี่ชายที่มีต่อพวกแม่ทัพนายกองเหล่าทหารผู้มีอำนาจน้อยใหญ่ ประกอบกับ ดร.สมคิด ได้เปลี่ยนท่าทีจากการที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาสนับสนุนทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเต็มที่ จึงได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีผลงานในด้านเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์ ประกอบกับภาพลักษณ์ของการเป็นมือไม้ให้แก่ทักษิณ ชินวัตร มาก่อน ดร.สมคิด จึงถูกสังคมกดดันจนต้องลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในที่สุด”
แม้แต่การเข้าไปฟื้นฟูหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ของนายสมคิด สำนักข่าวอิศรา ก็วิจารณ์ว่า “.... การตัดสินใจเข้าไปบริหารและร่วมฟื้นฟูหนังสือพิมพ์สยามรัฐของ ดร.สมคิด กลายเป็นความคาดหวังที่บรรดาคนหนังสือพิมพ์ที่สังกัดหนังสือพิมพ์สยามรัฐไม่เคยคิดว่าจะพบกับความผิดหวังและได้สัมผัสกับความล้มเหลวอีกครั้งหนึ่งของคนภาพลักษณ์ดีอย่าง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์”
ต่อมา เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ ยึดอำนาจ นายสมคิด ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา คสช. จากการมีสายสัมพันธ์อันดีกับทหารหาญของ ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ อีกเช่นเคย และเมื่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ พยายามทำงานแก้ปัญหาและขับเคลื่อนการทำงานให้รุดหน้า ทุกอย่างก็ยังคงติดขัดไม่ราบรื่น เพราะความไม่กล้าตัดสินใจของผู้มีอำนาจบางคนที่คอยฟังคนโน้นทีคนนี้ทีแล้วโทษปี่โทษกลองไปเรื่อย เลยต้องตั้งคณะกรรมการไม่รู้กี่คณะขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาตามคำแนะนำของ ดร.สมคิด และกรรมการที่ คสช.ตั้งมาทุกชุดก็ล้วนแต่มี ดร.สมคิดร่วมอยู่ด้วยทุกคณะ แต่ก็ยังไม่ปรากฏผลงานอันเด่นชัดของกรรมการชุดต่างๆ เหล่านั้นเลย
อย่างไรก็ตาม เพื่อความเป็นธรรมต่อนายสมคิด คงต้องให้โอกาสและรอดูผลงานกันอีกครั้งเสียก่อนแล้วค่อยกดไลค์หรือกดลบทิ้งไปจากสาระบบ และคราวนี้ดรีมทีมเศรษฐกิจคนอื่นๆ ในกระทรวงสำคัญๆ ก็ต้องบอกว่าเป็นเนื้อเดียวกันกับนายสมคิด และผ่านการกลั่นกรองของสองบิ๊กผู้ยิ่งใหญ่มากับมือทั้งสิ้น
สำหรับการปรับครม. คราวนี้ ทีมเศรษฐกิจก๊วนหม่อมอุ๋ย ที่ต้องอำลาตำแหน่งไปพร้อมๆ กันนั้น ประกอบด้วย นายสมหมาย ภาษี รมว.กระทรวงการคลัง, นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม, นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอำนวย ปะติเส รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายพรชัย รุจิประภา รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.กระทรวงพลังงาน
ส่วนรัฐมนตรีสายสังคมที่หลุดออกไปเลย คือ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านสังคม, ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.กระทรวงสาธารณสุข, นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.กระทรวงสาธารณสุข และนายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.กระทรวงศึกษาธิการ
ขณะที่ แกนนำหลัก คสช. ยังนั่งเก้าอี้ตัวเดิมต่อไป เช่น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม เป็นต้น
ส่วนดรีมทีมเศรษฐกิจใหม่ ประกอบด้วย นายสมคิด นั่งตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ เข้ามาเป็น รมว.กระทรวงการคลัง นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็น รมช.กระทรวงพาณิชย์ นายอุตตม สาวนายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะเกษียณอายุราชการสิ้นเดือน ก.ย.นี้ เข้ามาทำหน้าที่เป็น รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ยังมีรัฐมนตรีสายทหารและข้าราชการประจำที่ถูกสลับโยกย้าย เช่น พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ จาก รมว.พาณิชย์ ไปเป็น รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.พาณิชย์ ขึ้นเป็น รมว.กระทรวงพาณิชย์ ขณะที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.กระทรวงคมนาคม เหลือเพียงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โดยให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.กระทรวงคมนาคม ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการแทน และนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.กระทรวงคมนาคม
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โยกมาเป็น รมว.กระทรวงศึกษาธิการ แทน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ที่ขยับไปเป็นรองนายกฯ นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.กระทรวงศึกษาธิการ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตอธิการมหาวิทยาลัยมหดิล เป็น รมว.กระทรวงสาธารณสุข
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ ถูกปรับเหลือตำแหน่งรองนายกฯตำแหน่งเดียว แล้วให้นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมช.กระทรวงการต่างประเทศ ขึ้นนั่งรมว.กระทรวงต่างประเทศ แทน ขณะที่ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม มากินตำแหน่ง รมว.กระทรวงแรงงาน และพล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็น รมว.กระทรวงพลังงาน
การปรับครม.คราวนี้นอกจากจะมาพร้อมข่าวร้ายระเบิดใจกลางเมืองหลวงแล้ว ยังมีการแถลงตัวเลขของสภาพัฒน์ที่ปรับเป้าจีดีพีใหม่ลดต่ำลงจากเดิม เป็นภาระหนักหน่วงยังรออยู่เบื้องหน้า และงานนี้จะวัดฝีมือดรีมทีมเศรษฐกิจใหม่ ว่าจะนำพาประเทศชาติไปรอดหรือไม่ในปีนี้ก่อน ยังไม่ต้องคิดไกลไปถึง “วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศไทย” ภายในปี พ.ศ.2575 ต้องมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างที่นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ วาดฝันอะไรนั่น
การแถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2/2558 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงขาลง โดยสภาพัฒน์ ระบุว่า ผลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/58 เติบโตชะลอลงมาที่ 2.8% เทียบกับ 3% ในไตรมาส 1/58 เนื่องจากเศรษฐกิจภาคนอกเกษตรชะลอลง 3.5% ส่วนภาคเกษตรหดตัว 5.9% ขณะที่ GDP ปรับฤดูกาลทรงตัวที่ 0.4% เทียบกับที่ขยายตัว 0.3% ในไตรมาสที่แล้ว
ด้านการใช้จ่ายในประเทศ การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ขยายตัว 1.5% ชะลอจากที่ขยายตัว 2.4% ในไตรมาสที่แล้ว จากอำนาจซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าคงทน และค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการหดตัว
ส่วนการบริโภคสินค้ากึ่งคงทนและไม่คงทนยังคงเพิ่มขึ้น และการอุปโภคขั้นสุดท้ายของภาครัฐ เพิ่มขึ้น 4.6% ตามการค่าใช้จ่ายหมวดค่าตอบแทนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการสุทธิชะลอลง ส่วนการลงทุนรวม ชะลอลง 2.5% เทียบกับที่ขยายตัว 10.7% ในไตรมาสที่แล้ว โดยการลงทุนภาครัฐชะลอลง 24.7% การลงทุนภาคเอกชน หดตัว 3.4% ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าและดุลบริการ ณ ราคาประจำปี เกินดุล 291.1 พันล้านบาท โดยดุลการค้าเกินดุล 261.9 พันล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 29.2 พันล้านบาท
สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง คือ ตัวเลขการท่องเที่ยวขยายตัวอัตราสูง เนื่องจากยอดนักท่องเที่ยวยังสูงกว่า 7 ล้านคน ขยายตัว 37.6% นับว่าเป็นการเพิ่มตัวแบบเร่งขึ้นจากไตรมาส 1 เป็นปัจจัยมาทดแทนการส่งออก ซึ่งหดหายไป 4% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวในภูมิภาคจีน ฮ่องกง มาเลเซีย ขยายตัวถึง 61.9% ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐครึ่งปีหลังทั้งโครงการที่มีอยู่และโครงการใหม่ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะการสร้างมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 14,000 ล้านบาท จะลงนามได้ภายในสิ้นปีนี้
นายปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่า สศช.ยังคาดจีดีพีขยายตัวร้อยละ 3 แต่ลดช่วงคาดการณ์ลดเหลือ 2.7-3.2% จากเดิมช่วงคาดการณ์ 3-4% หลังจีดีพีไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 2.8% อัตราเงินเฟ้อหดตัว 0.2-0.7% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 4.8% ส่วนกรณีเงินเฟ้อติดลบขณะนี้ยังไม่ถือว่าอยู่ในภาวะเงินฝืด เนื่องจากเป็นผลราคาน้ำมันลดลงและภาคครัฐปรับลดค่าโดยสารสาธารณะ
การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปีนี้เหลือโตร้อยละ 2.7-3.2 เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้
ปรับ ครม.ใหม่แล้ว ดรีมทีมเศรษฐกิจใหม่มาแล้ว จะเป็นแก้วสารพัดนึกช่วยแก้วิกฤตให้รอดพ้นไปได้ หรือว่าจะเป็นเพียงแค่การสลับเก้าอี้ดนตรีเพียงเท่านั้น อีกไม่นานก็ได้รู้กัน