วานนี้ (11ส.ค.) มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยมี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสปช. คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานในการประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณารายงานการจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจ ตามที่คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปตำรวจ ที่มี นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ สปช. เป็นประธานฯ ได้เสนอมาโดยมีสาระสำคัญ คือ การแก้ปัญหาการแทรกแซงกิจการตำรวจ จนกระทบต่อการบริหารงานในองค์กรและทำให้ผบ.ตร. ขาดความเป็นอิสระ อยู่ในการครอบงำของฝ่ายการเมือง จึงเสนอให้ปฏิรูปองค์กรตำรวจที่สำคัญ อาทิ
1. การปฏิรูปโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีจำนวน 16 คน เพื่อให้การบริหารงานของก.ตร. มีความเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยฝ่ายการเมือง มีการกำหนดอำนาจเพิ่มเติมให้ก.ตร. มีหน้าที่พิจารณาแต่งตั้ง ผบ.ตร. โดยตำแหน่งประธานก.ตร. ให้คัดเลือกจากอดีตข้าราชการตำรวจ ระดับรอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยการลงคะแนนเลือกจากตำรวจระดับยศ พ.ต.อ.ขึ้นไป มีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี และอยู่ในตำแหน่งติดกันไม่เกิน 2 วาระ
2. การปฏิรูปคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มี 11 คน มีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งฝ่ายการเมือง กระบวนการยุติธรรม ภาคประชาชน ร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่เฉพาะการกำหนดนโยบายการทำงานในองค์กร ไม่มีอำนาจแต่งตั้ง ผบ.ตร. เพื่อไม่ให้มีการแทรกแซงทางการเมือง
3. การปฏิรูปการแต่งตั้ง ผบ.ตร. โดยให้ดำเนินการโดย ก.ตร.เพียงองค์กรเดียว ด้วยการคัดเลือกจากข้าราชการตำรวจในตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ รอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่า (ยศ พล.ต.อ.) จำนวน 3 คน แล้วให้ข้าราชการตำรวจระดับ พ.ต.อ.ขึ้นไปลงคะแนนเลือกเหลือ 1 คน เพื่อเสนอ ก.ตร. พิจารณานำเสนอนายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป เพื่อให้คนเป็น ผบ.ตร. ต้องสั่งสมผลงานมาเป็นระยะยาว เป็นผู้ประพฤติดีมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่วิ่งเต้นรับใช้นักการเมืองอย่างเดียว และให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการเลือกผู้บังคับบัญชา
4. การวางมาตรฐานแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ให้พิจารณาโดยยึดความอาวุโส ประกอบความรู้ความสามารถ
5. การถ่ายโอนภารกิจที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของตำรวจให้หน่วยงานที่มีภารกิจโดยตรงรับไปดูแล อาทิ การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยงานจราจรไปให้ กทม. เมืองพัทยา และองค์กรปกครองท้องถิ่นดูแล การตรวจคนเข้าเมือง ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม หรือกระทรวงต่างประเทศ ดูแล
นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. อภิปรายว่า รายงานฉบับนี้ เป็นการรายงานปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นกับตำรวจทั้งระบบ ซึ่งในรายงานส่วนใหญ่นั้น ตนเห็นด้วย และอยากให้ปฏิรูปอย่างจริงจัง แต่ไม่เห็นด้วยในบางส่วน อาทิ การแต่งตั้ง ผบ.ตร.โดย ก.ตร. ที่ให้จเรตำรวจและ รองผบ.ตร. มีส่วนร่วม เพราะอาจเกิดปัญหาเนื่องจากจะเกิดการวิ่งเต้น และมีระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้น
ส่วนเรื่องการแยกงานสอบสวนออกจากสตช.นั้น ตนมองว่าไม่ควรแยก เพราะจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ แต่ควรแก้ปัญหาในเรื่องของจิตวิญญาณของตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการหาผลประโยชน์ รีดไถ ที่จะต้องเลิกให้ได้ โดย ผบ.ตร.ที่จะเข้ามารับตำแหน่งใหม่นั้น ต้องประกาศให้ชัดเจน รวมถึงมีบทลงโทษที่รุนแรงและจริงจังด้วย อีกทั้งต้องให้ประชาชนมีโอกาสประเมินการทำหน้าที่ของตำรวจในทุกปี
** จวกปฏิรูปเพื่อตร. ไม่ใช่เพื่อปชช.
พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สปช. อภิปรายว่า ตนรู้สึกผิดหวังกับรายงานฉบับนี้ ที่ทำเหมือนรายงานส่งครูประจำชั้น เพราะไม่ใช่การปฏิรูป หรือเป็นเพราะว่าพวกท่านใส่สูท ใส่รองเท้าหนังต่างประเทศ จึงไม่เห็นใจคนจน ว่าเขาจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ลำบากยากเย็นอะไร โดยเฉพาะการแยกการสอบสวนออกจากสตช.นั้น ต่างประเทศเขาทำกันมานานแล้ว ทั้งนี้การแยกการสอบสวนนั้น เด็กๆ ที่ดูหนังต่างประเทศก็ยังรู้เลยว่าสามารถทำได้ ในต่างประเทศเขาก็ทำกัน และมีประสิทธิภาพด้วย ดังนั้น ถ้ารายงานออกมาแบบนี้ ก็ไม่ต้องปฏิรูปจะดีกว่า
"รายงานแบบนี้ไม่ต้องเอาออกไป อายประชาชน ให้ลืมไปเลยว่ามีการปฏิรูป เพราะรายงานนี้ผิดเพี้ยนมาตั้งแต่เริ่มตั้งคณะกรรมการฯ แล้ว รายงานนี้ไม่มีเจตนาที่จะช่วยประชาชนที่ยากไร้ ประชาชนที่ด้อยโอกาส เราไม่ได้ให้ปฏิรูปตำรวจเพื่อให้ตำรวจเจริญก้าวหน้า หรือมีอะไรดีๆ มากมาย แต่อยากให้ปฏิรูปเพื่อประชาชน ถ้าทำไม่ได้ สักวันจะให้พวกเขาลุกขึ้นมาเอง วันนั้นพวกเขาก็คงจะทำได้"
นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สปช. อภิปรายว่า อาชีพอื่นก็มีศักดิ์ศรีของเขาเหมือนกัน แต่ทำไมอาชีพเหล่านั้นจึงไม่ถูกมองว่ามีการรีดไถ ตรงนี้อาจจะต้องดูในเรื่องของสวัสดิการและรายได้เสริมด้วย ขณะที่ระบบการถ่ายโอนภารกิจนั้น ก็ถือว่ายังไม่ดีเท่าที่ควร ยังไม่ได้มองภาพรวมว่าการชำแหละสตช.นั้น ก็เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ และถ่วงดุลในอนาคต
นายณรงค์ พุทธิชีวิน สปช. อภิปรายว่า ตนอาจจะตั้งความหวังไว้มากเกินไป เพราะเท่าที่ฟังมีเพียงเรื่องเดียวคือการถ่ายโอนอำนาจ นอกนั้นไม่เห็นว่าจะเป็นการปฏิรูปตรงไหน อย่างไร ทั้งนี้ เรื่องของความเป็นอิสระที่พูดกันว่า ต้องปลอดจากการเมืองนั้น ตนมองว่า ควรให้มีตัวแทนของประชาชน ซึ่งก็คือนักการเมืองที่ดีได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ไม่ควรที่จะปฏิเสธไปเลย สำหรับเรื่องการประเมินและการพัฒนาตำรวจนั้น วันนี้ควรจะมีกลไกที่เรียกว่าสำนักประเมินและพัฒนาตำรวจขึ้นมาประเมิน และรายงานผลทุกปี เชื่อว่าตำรวจจะดีขึ้น ระมัดระวังและวิ่งหาสิ่งที่เรียกว่าความดีงามมากขึ้น ที่สำคัญคือ ตำรวจที่ไม่ดีต้องถูกซักฟอก ขณะที่ตำรวจที่เลวจะต้องเอาออกไป ไม่ให้มีที่ยืน ไม่ใช่แค่ถูกโยกย้ายเท่านั้น
**"นวยนิ่ม"ยันรูปแบบนี้ดีที่สุด
ขณะที่พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผบช. ภาค1 ในฐานะกรรมการฯชี้แจงว่า หากย้อนไป10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีความพยายามทำให้ตำรวจอ่อนแอ ต้องแทรกแซง และต้องตั้งรัฐตำรวจ จนมีคำพูดว่า ตำรวจเป็นเครื่องมือนักการเมือง ไม่รับใช้ จะไม่โต จนมีบางคำว่า มีวันนี้ได้เพราะอะไร ที่เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ หากเอาตำรวจออกมาจากการเมืองอย่างแท้จริง ตำรวจก็จะกลับไปเป็นตำรวจของพระมหากษัตริย์เหมือนตามเจตนารมณ์ของ ร.4 อีกครั้ง ยืนตนยันว่า รูปแบบที่เสนอดีที่สุดแล้ว
พล.ต.อ.อำนวย กล่าวว่า ตนรับราชการมาถึงวันนี้เหลือ 49 วัน จะเห็นว่างานการสืบสวน มันคือเหรียญเดียวกัน แต่อยู่คนละด้าน ทำให้มีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง เราจึงทำให้อยู่เหรียญเดียวกัน อยู่ในหลังคาเดียวกัน แต่ไม่ขึ้นต่อกัน ต่อไปนี้ผู้กำกับโรงพักไม่ยิง เขามาจะมาสั่งพนักงานหรือลูกน้องไม่ได้แล้ว ใครที่ระแวงเรื่องนี้ว่าไม่มีอิสระ มันเริ่มจากตำรวจไม่เป็นตัวของตัวเอง จึงต้องทำตรงนี้ก่อน ส่วนเรื่องภายใน นิสัย ศีลธรรมจริยธรรมนั้น เป็นเรื่องการปฏิบัติ
พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร กรรมารจัดการฯ ชี้แจงเสริมว่าการแบ่งแยกอำนาจเพราะที่ผ่านมาปัญหาคือกระจายคำสั่ง แต่ไม่กระจายการพิจารณา ก.ตร. มีการล็อกตั้งแต่หัวลงมา ไปอยู่กับการเมือง ได้ทุกอย่างจบ กก.จึงเสนอว่า ผบ.ตร. ต้องมีความมั่นคงในตำแหน่งพอสมควร และ มีที่มาสง่างาม ไม่เหมือนทุกวันนี้แต่ละคนยายามหาทางเติบโต แล้วไปหาอำนาจเพื่อเข้ามาเป็น ผบ.ตร. ความผูกพันกับหน่วยงานน้อยลง ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ และกลุ่มพวก
** "วสิษฐ"คาดหวังกก.รับร้องทุกข์เรื่องตร.
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ในฐานะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า เรื่องงานสอบสวนที่บอกว่าในต่างประเทศมีหลายประเทศที่แยกงานสอบสวนออกมานั้น แต่ก็ยังมีต่างประเทศอีกจำนวนมาก ที่ไม่ได้แยกงานสอบสวนออกมาเช่นกัน ทั้งนี้ หากเราไม่สร้างพนักงานสอบสวนให้เติบโตในสายงานของเขา และไม่ป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีอำนาจแทรกแซงการทำงานแล้ว เราก็อาจจะได้กรมตำรวจใหม่ขึ้นมาที่มีปัญหาเหมือนกับกรมตำรวจเดิมก็เป็นได้ ขณะที่คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของตำรวจนั้น ถือเป็นหน่วยงานอิสระ ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศเช่นกัน ตรงนี้จะยังความเป็นธรรมให้ กับประชาชนได้จริงๆ เพราะปัจจุบันเวลาที่มีการกล่าวโทษร้องทุกข์ตำรวจนั้น ตำรวจจะเป็นผู้ที่พิจารณาความผิดของตำรวจด้วยกันเอง โอกาสที่จะเกิดการลูบหน้าปะจมูกขึ้น จึงมีอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น ถ้าหากมีหน่วยงานอิสระที่ไม่ได้ขึ้นตรงกับสตช.ขึ้นมา ประชาชนจะได้รับความเป็นธรรมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยังหวังว่า เรื่องนี้จะผ่านที่ประชุม สปช.ไปสู่ครม. เพื่อที่เราจะได้เห็นเงาของการปฏิรูปตำรวจบ้างในที่สุด
จากนั้นประชุมได้ลงมติเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปตำรวจด้วยคะแนน 125 เสียง ไม่เห็นด้วย 28 เสียง และงดออกเสียง 31 เสียง พร้อมทั้งส่งให้ ครม.พิจารณาต่อไป
1. การปฏิรูปโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) มีจำนวน 16 คน เพื่อให้การบริหารงานของก.ตร. มีความเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำโดยฝ่ายการเมือง มีการกำหนดอำนาจเพิ่มเติมให้ก.ตร. มีหน้าที่พิจารณาแต่งตั้ง ผบ.ตร. โดยตำแหน่งประธานก.ตร. ให้คัดเลือกจากอดีตข้าราชการตำรวจ ระดับรอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยการลงคะแนนเลือกจากตำรวจระดับยศ พ.ต.อ.ขึ้นไป มีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี และอยู่ในตำแหน่งติดกันไม่เกิน 2 วาระ
2. การปฏิรูปคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มี 11 คน มีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งฝ่ายการเมือง กระบวนการยุติธรรม ภาคประชาชน ร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่เฉพาะการกำหนดนโยบายการทำงานในองค์กร ไม่มีอำนาจแต่งตั้ง ผบ.ตร. เพื่อไม่ให้มีการแทรกแซงทางการเมือง
3. การปฏิรูปการแต่งตั้ง ผบ.ตร. โดยให้ดำเนินการโดย ก.ตร.เพียงองค์กรเดียว ด้วยการคัดเลือกจากข้าราชการตำรวจในตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ รอง ผบ.ตร. หรือเทียบเท่า (ยศ พล.ต.อ.) จำนวน 3 คน แล้วให้ข้าราชการตำรวจระดับ พ.ต.อ.ขึ้นไปลงคะแนนเลือกเหลือ 1 คน เพื่อเสนอ ก.ตร. พิจารณานำเสนอนายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป เพื่อให้คนเป็น ผบ.ตร. ต้องสั่งสมผลงานมาเป็นระยะยาว เป็นผู้ประพฤติดีมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่วิ่งเต้นรับใช้นักการเมืองอย่างเดียว และให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการเลือกผู้บังคับบัญชา
4. การวางมาตรฐานแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ให้พิจารณาโดยยึดความอาวุโส ประกอบความรู้ความสามารถ
5. การถ่ายโอนภารกิจที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของตำรวจให้หน่วยงานที่มีภารกิจโดยตรงรับไปดูแล อาทิ การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยงานจราจรไปให้ กทม. เมืองพัทยา และองค์กรปกครองท้องถิ่นดูแล การตรวจคนเข้าเมือง ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม หรือกระทรวงต่างประเทศ ดูแล
นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. อภิปรายว่า รายงานฉบับนี้ เป็นการรายงานปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นกับตำรวจทั้งระบบ ซึ่งในรายงานส่วนใหญ่นั้น ตนเห็นด้วย และอยากให้ปฏิรูปอย่างจริงจัง แต่ไม่เห็นด้วยในบางส่วน อาทิ การแต่งตั้ง ผบ.ตร.โดย ก.ตร. ที่ให้จเรตำรวจและ รองผบ.ตร. มีส่วนร่วม เพราะอาจเกิดปัญหาเนื่องจากจะเกิดการวิ่งเต้น และมีระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้น
ส่วนเรื่องการแยกงานสอบสวนออกจากสตช.นั้น ตนมองว่าไม่ควรแยก เพราะจะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ แต่ควรแก้ปัญหาในเรื่องของจิตวิญญาณของตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการหาผลประโยชน์ รีดไถ ที่จะต้องเลิกให้ได้ โดย ผบ.ตร.ที่จะเข้ามารับตำแหน่งใหม่นั้น ต้องประกาศให้ชัดเจน รวมถึงมีบทลงโทษที่รุนแรงและจริงจังด้วย อีกทั้งต้องให้ประชาชนมีโอกาสประเมินการทำหน้าที่ของตำรวจในทุกปี
** จวกปฏิรูปเพื่อตร. ไม่ใช่เพื่อปชช.
พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สปช. อภิปรายว่า ตนรู้สึกผิดหวังกับรายงานฉบับนี้ ที่ทำเหมือนรายงานส่งครูประจำชั้น เพราะไม่ใช่การปฏิรูป หรือเป็นเพราะว่าพวกท่านใส่สูท ใส่รองเท้าหนังต่างประเทศ จึงไม่เห็นใจคนจน ว่าเขาจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ลำบากยากเย็นอะไร โดยเฉพาะการแยกการสอบสวนออกจากสตช.นั้น ต่างประเทศเขาทำกันมานานแล้ว ทั้งนี้การแยกการสอบสวนนั้น เด็กๆ ที่ดูหนังต่างประเทศก็ยังรู้เลยว่าสามารถทำได้ ในต่างประเทศเขาก็ทำกัน และมีประสิทธิภาพด้วย ดังนั้น ถ้ารายงานออกมาแบบนี้ ก็ไม่ต้องปฏิรูปจะดีกว่า
"รายงานแบบนี้ไม่ต้องเอาออกไป อายประชาชน ให้ลืมไปเลยว่ามีการปฏิรูป เพราะรายงานนี้ผิดเพี้ยนมาตั้งแต่เริ่มตั้งคณะกรรมการฯ แล้ว รายงานนี้ไม่มีเจตนาที่จะช่วยประชาชนที่ยากไร้ ประชาชนที่ด้อยโอกาส เราไม่ได้ให้ปฏิรูปตำรวจเพื่อให้ตำรวจเจริญก้าวหน้า หรือมีอะไรดีๆ มากมาย แต่อยากให้ปฏิรูปเพื่อประชาชน ถ้าทำไม่ได้ สักวันจะให้พวกเขาลุกขึ้นมาเอง วันนั้นพวกเขาก็คงจะทำได้"
นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล สปช. อภิปรายว่า อาชีพอื่นก็มีศักดิ์ศรีของเขาเหมือนกัน แต่ทำไมอาชีพเหล่านั้นจึงไม่ถูกมองว่ามีการรีดไถ ตรงนี้อาจจะต้องดูในเรื่องของสวัสดิการและรายได้เสริมด้วย ขณะที่ระบบการถ่ายโอนภารกิจนั้น ก็ถือว่ายังไม่ดีเท่าที่ควร ยังไม่ได้มองภาพรวมว่าการชำแหละสตช.นั้น ก็เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ และถ่วงดุลในอนาคต
นายณรงค์ พุทธิชีวิน สปช. อภิปรายว่า ตนอาจจะตั้งความหวังไว้มากเกินไป เพราะเท่าที่ฟังมีเพียงเรื่องเดียวคือการถ่ายโอนอำนาจ นอกนั้นไม่เห็นว่าจะเป็นการปฏิรูปตรงไหน อย่างไร ทั้งนี้ เรื่องของความเป็นอิสระที่พูดกันว่า ต้องปลอดจากการเมืองนั้น ตนมองว่า ควรให้มีตัวแทนของประชาชน ซึ่งก็คือนักการเมืองที่ดีได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย ไม่ควรที่จะปฏิเสธไปเลย สำหรับเรื่องการประเมินและการพัฒนาตำรวจนั้น วันนี้ควรจะมีกลไกที่เรียกว่าสำนักประเมินและพัฒนาตำรวจขึ้นมาประเมิน และรายงานผลทุกปี เชื่อว่าตำรวจจะดีขึ้น ระมัดระวังและวิ่งหาสิ่งที่เรียกว่าความดีงามมากขึ้น ที่สำคัญคือ ตำรวจที่ไม่ดีต้องถูกซักฟอก ขณะที่ตำรวจที่เลวจะต้องเอาออกไป ไม่ให้มีที่ยืน ไม่ใช่แค่ถูกโยกย้ายเท่านั้น
**"นวยนิ่ม"ยันรูปแบบนี้ดีที่สุด
ขณะที่พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผบช. ภาค1 ในฐานะกรรมการฯชี้แจงว่า หากย้อนไป10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีความพยายามทำให้ตำรวจอ่อนแอ ต้องแทรกแซง และต้องตั้งรัฐตำรวจ จนมีคำพูดว่า ตำรวจเป็นเครื่องมือนักการเมือง ไม่รับใช้ จะไม่โต จนมีบางคำว่า มีวันนี้ได้เพราะอะไร ที่เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ หากเอาตำรวจออกมาจากการเมืองอย่างแท้จริง ตำรวจก็จะกลับไปเป็นตำรวจของพระมหากษัตริย์เหมือนตามเจตนารมณ์ของ ร.4 อีกครั้ง ยืนตนยันว่า รูปแบบที่เสนอดีที่สุดแล้ว
พล.ต.อ.อำนวย กล่าวว่า ตนรับราชการมาถึงวันนี้เหลือ 49 วัน จะเห็นว่างานการสืบสวน มันคือเหรียญเดียวกัน แต่อยู่คนละด้าน ทำให้มีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง เราจึงทำให้อยู่เหรียญเดียวกัน อยู่ในหลังคาเดียวกัน แต่ไม่ขึ้นต่อกัน ต่อไปนี้ผู้กำกับโรงพักไม่ยิง เขามาจะมาสั่งพนักงานหรือลูกน้องไม่ได้แล้ว ใครที่ระแวงเรื่องนี้ว่าไม่มีอิสระ มันเริ่มจากตำรวจไม่เป็นตัวของตัวเอง จึงต้องทำตรงนี้ก่อน ส่วนเรื่องภายใน นิสัย ศีลธรรมจริยธรรมนั้น เป็นเรื่องการปฏิบัติ
พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร กรรมารจัดการฯ ชี้แจงเสริมว่าการแบ่งแยกอำนาจเพราะที่ผ่านมาปัญหาคือกระจายคำสั่ง แต่ไม่กระจายการพิจารณา ก.ตร. มีการล็อกตั้งแต่หัวลงมา ไปอยู่กับการเมือง ได้ทุกอย่างจบ กก.จึงเสนอว่า ผบ.ตร. ต้องมีความมั่นคงในตำแหน่งพอสมควร และ มีที่มาสง่างาม ไม่เหมือนทุกวันนี้แต่ละคนยายามหาทางเติบโต แล้วไปหาอำนาจเพื่อเข้ามาเป็น ผบ.ตร. ความผูกพันกับหน่วยงานน้อยลง ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์ และกลุ่มพวก
** "วสิษฐ"คาดหวังกก.รับร้องทุกข์เรื่องตร.
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ในฐานะกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า เรื่องงานสอบสวนที่บอกว่าในต่างประเทศมีหลายประเทศที่แยกงานสอบสวนออกมานั้น แต่ก็ยังมีต่างประเทศอีกจำนวนมาก ที่ไม่ได้แยกงานสอบสวนออกมาเช่นกัน ทั้งนี้ หากเราไม่สร้างพนักงานสอบสวนให้เติบโตในสายงานของเขา และไม่ป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีอำนาจแทรกแซงการทำงานแล้ว เราก็อาจจะได้กรมตำรวจใหม่ขึ้นมาที่มีปัญหาเหมือนกับกรมตำรวจเดิมก็เป็นได้ ขณะที่คณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของตำรวจนั้น ถือเป็นหน่วยงานอิสระ ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศเช่นกัน ตรงนี้จะยังความเป็นธรรมให้ กับประชาชนได้จริงๆ เพราะปัจจุบันเวลาที่มีการกล่าวโทษร้องทุกข์ตำรวจนั้น ตำรวจจะเป็นผู้ที่พิจารณาความผิดของตำรวจด้วยกันเอง โอกาสที่จะเกิดการลูบหน้าปะจมูกขึ้น จึงมีอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น ถ้าหากมีหน่วยงานอิสระที่ไม่ได้ขึ้นตรงกับสตช.ขึ้นมา ประชาชนจะได้รับความเป็นธรรมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยังหวังว่า เรื่องนี้จะผ่านที่ประชุม สปช.ไปสู่ครม. เพื่อที่เราจะได้เห็นเงาของการปฏิรูปตำรวจบ้างในที่สุด
จากนั้นประชุมได้ลงมติเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปตำรวจด้วยคะแนน 125 เสียง ไม่เห็นด้วย 28 เสียง และงดออกเสียง 31 เสียง พร้อมทั้งส่งให้ ครม.พิจารณาต่อไป