“หมอหทัย” แฉบริษัทบุหรี่ข้ามชาติจ้องล้มภาษีบาป ล็อบบี้ 3 คน "คนชอบอ้างนายกฯ-คนชง-คนทำงานยาสูบ" โยกภาษีบาปตราไว้ใน รธน. จวกมีพิรุธชัดเจน ทำแบบต่างประเทศอาศัยติดสินบน เพราะมีทุนมหาศาล วอน “บิ๊กตู่” ช่วยทบทวน ด้านเยาวชนวอนคนอยู่เบื้องหลังหยุดล้ม "ภาษีบาป" หวั่นกระทบคนทำงานรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง "เหล้า-บุหรี่" เข้าไม่ถึงงบ ชี้รัฐบาลต้องไม่หลงทิศ ไม่หลงตามเกมธุรกิจบาป ภาคประชาชนชี้ สสส.ช่วยคืนชีวิตที่ผิดพลาดจากบุหรี่-เหล้า หวัง กมธ.ยกร่างฯ ไม่ทำให้ ปชช.ผิดหวัง ขณะที่กมธ.ยกร่างฯ จ่อทบทวนเงิน สสส.-TPBS เป็นแบบจ่ายภาษีผ่านระบบงบประมาณ 10-11 ส.ค. สกัดช่องนักการเมืองหาประโยชน์ ก่อปัญหาด้านคลัง ขณะที่ สสส.ย้ำ ยกเลิกภาษีบาปทำรัฐสูญภาษีไปกว่าหมื่นล้านบาท ด้านไทยพีบีเอสชี้ทำงานสื่อสาธารณะไม่ได้ หากถูกคุม บอกเป็นสื่อครบวงจร
วานนี้ (9 ส.ค.) นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า การมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณภาษีบาป โดยให้ความสำคัญถึงขั้นนำไปตราไว้ในรัฐธรรมนูญ ถือเป็นความผิดปกติที่สะท้อนว่ามีเบื้องหลังชัดเจน สถานการณ์เช่นนี้คือกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่จะจัดการกับหน่วยงานที่ทำงานรณรงค์ด้านบุหรี่ ด้วยการเริ่มจากเสนอให้ยกเลิกภาษีบาป เมื่อถูกเปิดเผยความจริงว่า การยกเลิกภาษีบาปเงินทุกบาททุกสตางค์ จะกลับคืนสู่บริษัทเหล้า บุหรี่ ก็พยายามให้ข้อมูลบิดเบือนว่าองค์กรเหล่านี้ ตรวจสอบไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีระบบตรวจสอบเข้มข้นเช่นเดียวกับระบบราชการ ซึ่งข้อเสนอที่จะให้หน่วยงานที่รับงบประมาณตรงจากภาษีบาป ปรับไปใช้ระบบงบประมาณปกติ คือการถอยหลังเข้าคลอง ผิดหลักการการใช้ภาษีในวัตถุประสงค์เฉพาะที่ทั่วโลกกระทำ เพราะการออกกฎหมายให้ใช้ภาษีเฉพาะในเรื่องการควบคุมยาสูบ สุรา หรือในสื่อสาธารณะ เพื่อต้องการให้ปราศจากการแทรกแซง ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
“ผมขอพูดโดยใช้ศักดิ์ศรีของผมเป็นประกันว่า เรื่องนี้เกิดจากการล็อบบี้คน 3 คน คือ 1.คนที่ชอบแอบอ้างว่าเป็นบัญชาจากนายกฯ 2.คนที่พยายามชงเรื่องนี้ 3.คนที่ทำงานเรื่องยาสูบ ผมเชื่อว่า คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ แต่ท่านไม่รู้ว่าบริษัทบุหรี่ข้ามชาติมันเลวร้ายแค่ไหน ผมยกตัวอย่างจากข้อเท็จจริงเลยว่า บริษัทบุหรี่ข้ามชาติรายเดียวมีรายได้ถึง 80 พันล้านเหรียญต่อปี หรือเกือบ 1 ใน 5 ของรายได้ทั้งปีที่ประเทศไทยได้คือ 373.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลองคิดดูว่าเค้าจะมีทุนมหาศาลขนาดไหนเพื่อใช้ล็อบบี้ เฉพาะตัวเลขที่ตรวจสอบได้ในยุโรปบริษัทบุหรี่ใช้เงินล็อบบี้แต่ละปีถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การล็อบบี้คือการติดสินบน แล้วในไทยตรวจสอบไม่ได้จะเป็นเงินเท่าไร” นพ.หทัย กล่าว
นพ.หทัย กล่าวอีกว่า การล็อบบี้เกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน หากองค์กรอย่าง สสส. ถูกตัดแขน ตัดขา ไทยจะได้รับผลกระทบร้ายแรงในด้านสุขภาพจากสินค้าอันตรายทั้ง 2 ชนิดนี้ ดังนี้ 1.อัตราการสูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล ส่งผลให้คนไทยจะเจ็บป่วยจาก 6 โรคร้ายแรง คือ โรคหัวใจหลอดเลือด โรคเส้นเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (ถุงลมโป่งพอง) โรคมะเร็งปอดและหลอดอาหาร โรคติดเชื้อในเด็ก และวัณโรค ซึ่งโรคเหล่านี้มีค่ารักษาสูงมาก รัฐบาลจะต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลหมดไปค่าใช้จ่ายรักษาสุขภาพของคนไทยที่เกิดจากบุหรี่แทนที่จะได้นำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศ 2.จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการดื่มสุราจะเพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินสินอย่างมาหาศาล ทั้งหมดนี้ เป็นผลกระทบร้ายแรงเพียงพอที่ผู้มีอำนาจพิจารณาตัดสินใจเรื่องนี้จะคิดทบทวนการแก้ไขร่าง รธน. มาตรา 190 หรือไม่
“ผมขอความกรุณาท่านนายกฯ ขอให้ท่านช่วยพิจารณาทบทวนเรื่องการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ภาษีบาป ทุกวันศุกร์พวกเราฟังท่านนายกฯ ปราศรัยเรื่องคืนความสุขให้คนไทย ผมชื่นชมท่าน ที่ท่านทำงานหนัก ทำงานเหนื่อย เพื่อให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขมากขึ้น ปัญหาโหลยโท่ยหลายเรื่องที่คาราคาซังมาทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น เรื่องประมง เรื่องการบิน ท่านพยายามแก้ไข ผมขอละครับ อย่าสร้างความสะเทือนใจ สร้างความทุกข์ให้กับคนไทย ด้วยการเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษีบาปเลย” นพ.หทัย กล่าว
ซัดไอ้โม่งหยุดล้ม "ภาษีบาป"
วานนี้ (9 ส.ค.) นายอัครพงษ์ บุญมี อดีตเยาวชนที่เคยก้าวพลาด จากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษก กล่าวในเวที “สรุปงานเครือข่ายแผนงานลดผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ว่า จากกรณีมีข้อเสนอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ใช้งบประมาณโดยตรงจากการจัดเก็บภาษีบาป (Earmarked Tax) หากเกิดการปรับโครงสร้างด้านการบริหารจัดการขึ้นกับ สสส. คงกระทบต่อการทำงานของกลุ่มคนเล็กคนน้อยที่รับทุนสนับสนุนจาก สสส. เพราะมิติการทำงานของ สสส.สามารถช่วยเปิดพื้นที่พัฒนาเด็กที่ก้าวพลาดและเยาวชนกลุ่มต่างๆในทางสร้างสรรค์ ยื่นมือเข้ามาช่วยทำให้คนกลุ่มนี้ได้คืนกลับสู่สังคมอย่างภาคภูมิใจ อย่างตนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสจากบ้านกาญฯ และ สสส.ที่สนับสนุนให้เราได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ พัฒนาศักยภาพตัวเอง จนทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น สุดท้ายก็กลับมาตอบแทนสังคม ชักชวนเยาวชนมาร่วมกันทำงานรณรงค์ลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งในประเทศไทยมีหน่วยงานน้อยมากที่ทำงานในลักษณะนี้ เนื่องจากงบประมาณจำกัดและเป็นระบบราชการ
นายสุรนาถ แป้นประเสริฐ แกนนำเครือข่ายเกสรชุมชน บางกอกน้อย กรุงเทพฯ กล่าวว่า ในนามเยาวชนที่ทำงานรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในชุมชน มองว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับ สสส.เกรงว่าจะกระทบกับการทำงาน เพราะกิจกรรมรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชนจำเป็นต้องใช้งบประมาณ และทำอย่างต่อเนื่อง เพราะชุมชนสามารถเข้าถึงงบประมาณตรงนี้ได้ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ กิจกรรมที่ทำอยู่คือการพัฒนาศักยภาพเยาวชนจากที่เคยเป็นกลุ่มเสี่ยงให้กลับคืนสู่สังคมได้ เช่นเดียวกับตนเองที่จากแต่ก่อนเคยยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด สุรา บุหรี่ แต่ตอนนี้สามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาดและหันมาทำงานเพื่อสังคม เป็นแกนนำรณรงค์ต่อต้านอบายมุขในชุมชนได้อย่างภาคภูมิใจ
“สสส.มีแนวคิดหนักแน่นชัดเจน เป็นกองทุนที่เข้าถึงได้ง่ายและมีประโยชน์กับชุมชน ทำให้ชุมชนตื่นตัว ตระหนัก ห่างไกลจากอบายมุข เด็กๆ ได้รับการเสริมสร้างสุขภาพมีภูมิคุ้นกันมากขึ้น สามารถต่อยอดสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่างเห็นได้ชัด จึงขอฝากความหวังกับผู้ที่เกี่ยวข้อง วอนขอโอกาสให้คนที่อยากทำงานได้เข้าถึงกองทุนนี้อย่างต่อเนื่องด้วย ส่วนคนที่อยู่เบื้องหลังที่พยายามจะยกเลิกภาษีบาป ควรหยุดพฤติกรรมดังกล่าว ที่ทำลายความเข้มแข็งของประชาชน แต่สมประโยชน์กับนายทุนสินค้าที่ทำลายสุขภาพ รัฐบาลต้องไม่หลงทิศหลงทาง หลังจากนี้หากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่มีความชัดเจน เยาวชนจำเป็นต้องแสดงจุดยืนทวงถามความคืบหน้า เพื่อต่อสู้และคืนผลประโยชน์ให้กับชาวชุมชนต่อไป” นายสุรนาถ กล่าว
นายพรณรง ปั้นทอง ผู้ประสานงานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนลดละเลิกเหล้าลดความรุนแรง หมู่บ้านคำกลาง จ.อำนาจเจริญ กล่าวว่า สมัยก่อนตนเป็นคนที่ชอบดื่มสุรา ดื่มหนักแบบหัวราน้ำทุกวัน ทั้งยังชอบใช้ความรุนแรงกับครอบครัว เงินแต่ละเดือนไม่เหลือเก็บ มีหนี้สินเพราะสุรา กระทั่งได้ร่วมงานกับ สสส.เมื่อปี 2545 โดยการเข้าโครงการลดละเลิกเหล้าและความรุนแรง สุดท้ายสามารถเลิกเหล้าได้ จากนั้นก็เริ่มเปลี่ยนตัวเองมาเป็นนักรณรงค์ในชุมชน เนื่องจากค่านิยมการดื่มสุราสูบบุหรี่ยังน่าห่วง โดยเฉพาะกับเยาวชนที่เริ่มสิ่งนี้แล้วไปต่อที่ยาเสพติดผิดกฎหมาย ตั้งแต่มีกระบวนการเกิดขึ้นในชุมชน สร้างความตระหนักรับรู้โทษผลกระทบ ควบคู่ไปกับกิจกรรมรณรงค์ลดละเลิก จึงทำให้เกิดกฎกติการ่วมกันคนในชุมชนหลายคนได้ชีวิตใหม่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้อีกเลย อย่างไรก็ตาม หากไม่มี สสส.คงไม่มีตนในวันนี้ เพราะเป็นองค์กรเดียวที่ช่วยให้ชีวิตเปลี่ยนไป จากที่เคยไม่มีอะไร ครอบครัวแตกแยก สสส.ช่วยให้คนในชุมชนเป็นคนใหม่ คืนความสุขสู่ครอบครัว อีกทั้งชุมชนไม่ได้ทำเฉพาะเรื่องนี้แต่ยังมีเกษตรอินทรีย์ เกษตรพอเพียงตามนโยบายของนายกฯ หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสสส.งบประมาณคงไม่ลงสู่ชุมชนคนรากหญ้า เพราะถูกบริษัทเหล้าบุหรี่นักการเมืองควบคุม ชุมชนคงไม่อยากให้ใครมากีดกันการเข้าถึงการเสริมสร้างสุขภาพคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
นายสุทิน กรีโรจนี คนขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ย่านพระประแดง จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สสส.มีโครงการดีๆ เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานมากมาย เช่น โครงการลดละเลิกเหล้าในโรงงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง และตนเป็นหนึ่งคนที่ผ่านจุดเลวร้ายที่สุดนั้นมาได้ เคยตกเป็นทาสสุรามาก่อน ชีวิตช่วงนั้นย่ำแย่ตกงานมีปัญหาสุขภาพ เงินไม่เหลือเก็บหนี้สินล้นพ้น ครอบครัวล้มสลาย แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการทำให้ชีวิตดีขึ้น สุขภาพกลับมาแข็งแรง และได้หันมาทำงานตอบแทนสังคมด้วยการเป็นบุคคลต้นแบบเลิกเหล้า หากเป็นไปได้ก็อยากให้สสส.ต่อยอดโครงการและทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ต้องการการเข้าถึงโครงการดีๆแบบนี้ และฝากถึงรัฐบาลว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานยังต้องการโอกาส ต้องการการยอมรับจากสังคม อย่างไรก็ตาม เรายังไม่เห็นกองทุนไหนอยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้านได้เท่ากองทุนสสส. หวังว่ากมธ.จะไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง
จ่อทบทวนเงินสสส-TPBSอิงจ่ายผ่านงบประมาณ
วานนี้ (9 ส.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ศ.จรัส สุวรรณมาลา คณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวในงานราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ภาษีบาป ผลกระทบ สสส.-ไทยพีบีเอส" ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ว่า กมธ.ยกร่างฯ ต้องการให้รัฐบาลในอนาคตดำเนินนโยบายด้านการคลังอย่างมีวินัย เนื่องจากที่ผ่านมามีตัวอย่างจากหลายประเทศที่มีปัญหาด้านการคลัง ทั้งกรีซ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ เป็นต้น ประเทศไทยจะประมาทโดยปล่อยให้รัฐบาลไม่มีวินัยทางการคลังไม่ได้ ซึ่งไทยมีช่องโหว่มาก สิ่งสำคัญต้องปิดช่องทางที่จะทำให้รัฐบาลในอนาคตใช้นโยบายการคลังไปเป็น นโยบายประชานิยม หรือหาประโยชน์จากจุดนี้ให้น้อยลง จึงมีการยกร่างฯ ในส่วนของการเงินการคลัง
ศ.จรัส กล่าวว่า สำหรับการเก็บภาษีนั้น มี 2 ประเภท คือ 1.ภาษีทั่วไปที่เก็บ ซึ่งนำไปใช้กิจการพื้นฐานสาธารณะ เป็นเงินรายได้แผ่นดินและไปทำงบประมาณออกมา และ 2. ภาษีที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีหลายแบบ โดยเฉพาะการเก็บภาษีแบบ Earmarked tax ซึ่งรัฐบาลจัดเก็บภาษีเพิ่มเข้ามา เหมือนการเก็บภาษีจากธุรกิจเหล้าและยาสูบเพิ่มร้อยละ 2 เพื่อเข้ากองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร้อยละ 1.5 เข้าองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส) หรือร้อยละ 2 เข้ากองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ โดยหลักการจะเก็บภาษีจากคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนั้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งตรงนี้ตัวอย่างชัดจาก สสส. แต่ไทยพีบีเอส และกองทุนกีฬาฯ ยังไม่ชัดเจน หากจะเป็น Earmarked Tax ก็ควรเอารายได้จากสื่อที่คิดว่าประชาชนไม่ได้ประโยชน์ มาให้ไทยพีบีเอส เพราะบอกว่าเป็นสื่อที่ดี แบบนี้จะเข้าข่ายมากกว่า
"การที่กมธ.ยกร่างฯเห็นควรปรับแก้นั้น ไม่ได้บอกว่าจะยุบ สสส. หรือหน่วยงานที่ใช้งบลักษณะนี้ เพราะข้อดีก็มี แต่ที่กังวลคือ การเก็บเช่นนี้อาจนำไปสู่กลุ่มอื่นๆที่ต้องการเข้ามาใช้งบลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้น เพราะแม้จะมีระบบตรวจสอบดีแค่ไหน แต่ก็เป็นช่องทางที่นำงบไปใช้แล้ว เอากลับคืนไม่ได้เลย อย่างสหรัฐอเมริกามีการใช้งบประมาณลักษณะนี้เยอะมาก และเพิ่มขึ้นทุกวัน เมื่อจะควบคุมก็ทำไม่ได้ ขนาด บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ เคยบอกจะควบคุมก็ยังทำไม่ได้ ดังนั้น ต้องพิจารณาให้ดี และหาหนทางเพื่อป้องกันปัญหาดีกว่าหรือไม่ กมธ.ยกร่างฯ เห็นว่าจากที่จ่ายภาษีแบบ Earmarked Tax ให้นั้น อาจต้องทบทวนเป็นการจ่ายภาษีผ่านระบบงบประมาณให้กับองค์กรเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า การเก็บแบบ Earmarked bugget ซึ่งจะมีการพิจารณาในการยกร่างวันที่ 10-11 สิงหาคมนี้ แต่ในรายละเอียดก็ต้องมาพิจารณา เพราะต้องเข้าใจว่าหากจะป้องกันปัญหา จะห้ามไม่ให้องค์กรอื่นทำแบบสสส.คงไม่ได้ เพราะเขาก็จะอ้างว่า สสส.ยังทำ เราจึงต้องหาจุดร่วมที่ดีทุกฝ่าย" ศ.จรัส กล่าว
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า หากมีการทบทวนการจัดเก็บภาษีระบบใหม่จริง จะส่งผลกระทบต่อรัฐบาล ทำให้สูญเงินจากการเก็บภาษี 10,000-12,000 ล้านบาท โดยเงินก้อนนี้จะกลับไปเป็นโบนัสให้กลุ่มธุรกิจยาสูบและเหล้า ยกเว้นโรงงานยาสูบของรัฐ ขณะที่ สสส.ทำให้รัฐเก็บภาษีเพิ่มได้ เพราะเมื่อไรที่มีการเก็บภาษีบุหรี่หรือเหล้าเพิ่มมักเกิดแรงต้าน แต่ สสส.ขับเคลื่อนข้อเท็จจริงมาตลอด ทำให้เก็บภาษีได้ จากเดิมปี 2546 เก็บภาษีบุหรี่ได้ 33,582 ล้านบาท ก็เพิ่มอย่างต่อเนื่อง จนปี 2558 เก็บได้ถึง 67,000 ล้านบาท ขณะที่ภาษีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่า 120,000 ล้านบาท และยังสามารถลดปริมาณนักสูบลงได้ โมเดลของสสส.จึงเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ส่วนกรณีที่คนมองว่า สสส.มุ่งแต่โฆษณารณรงค์ จริงๆ แล้วเราใช้งบแค่ 200 ล้านบาทเท่านั้น และเราทำงานด้านอื่นๆเพื่อขับเคลื่อนอีก ขณะที่สหรัฐใช้งบรณรงค์ 115,000 ล้านบาท แต่มีการศึกษาว่าแม้การออกแคมเปญต่างๆไม่ช่วยลดนักสูบนักดื่มมากนัก แต่ทำให้สังคมตระหนัก และส่งผลต่อการเก็บภาษีบาปได้ ซึ่งรัฐบาลไทยต้องพิจารณาว่า งบสสส.ราว 4,000 ล้านบาท แต่ทำให้สถานะการคลังของรัฐบาลดีขึ้น และองค์การอนามัย ยังชูโมเดลลักษณะนี้ โดยปัจจุบันมี 30 กว่าประเทศดำเนินการ ไทยก็เช่นกัน
นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส กล่าวว่า การตรวจสอบและเรื่องวินัยทางการคลังนั้น ไทยพีบีเอส ไม่เคยขัดข้อง แต่ขอให้ตรวจสอบหน่วยงานลักษณะนี้ให้เหมือนกันด้วย เพราะที่ผ่านมาสถานีฯ ทำงานชัดเจนว่าเป็นสื่อสาธารณะ ทั้งการอนุรักษ์น้ำ ป่าไม้ อย่างกรณีเขาหัวโล้น ก็นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทำมากกว่าแหล่งอื่นอีก แต่ไม่ได้บอกว่าดีกว่า ดังนั้น หากมีกลไกบางอย่างทำให้ไม่สามารถทำงานแบบนี้ได้อีก จะกล้าทำข่าวที่ตั้งคำถามใดๆ ได้ ทั้งที่นี่คือ หัวใจของการเป็นสื่อสาธารณะด้วยซ้ำ ยกตัวอย่าง ประชาชนคนไทยประมาณ 40 ล้านคนจ่ายภาษีเข้ารัฐ หากคิดต่อหัวที่ส่งเข้าไทยพีบีเอสประมาณ 50 บาทต่อคนต่อปี ในราคา 50 บาทซื้อมติชนสุดสัปดาห์ได้ 1 เล่ม ขณะที่สถานีไทยพีบีเอสฯ มีรายการทีวีตั้งแต่ตี 5 ถึงตี 2 มีรายการตอบโจทย์ มีรายการอาหาร มีรายการผู้สูงอายุ มีรายการเพื่อเด็กและเยาวชน มีสถานีร้องทุกข์ ตามหาเด็กหาย คนหาย ปีละหลายสิบคน ทำให้ครอบครัวที่จากกันได้มาเจอกันอีก ไทยพีบีเอสออกข่าวตามคนเจอได้ ลักษณะนี้ตีค่าเป็นเงินได้หรือไม่
วานนี้ (9 ส.ค.) นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า การมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณภาษีบาป โดยให้ความสำคัญถึงขั้นนำไปตราไว้ในรัฐธรรมนูญ ถือเป็นความผิดปกติที่สะท้อนว่ามีเบื้องหลังชัดเจน สถานการณ์เช่นนี้คือกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่จะจัดการกับหน่วยงานที่ทำงานรณรงค์ด้านบุหรี่ ด้วยการเริ่มจากเสนอให้ยกเลิกภาษีบาป เมื่อถูกเปิดเผยความจริงว่า การยกเลิกภาษีบาปเงินทุกบาททุกสตางค์ จะกลับคืนสู่บริษัทเหล้า บุหรี่ ก็พยายามให้ข้อมูลบิดเบือนว่าองค์กรเหล่านี้ ตรวจสอบไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีระบบตรวจสอบเข้มข้นเช่นเดียวกับระบบราชการ ซึ่งข้อเสนอที่จะให้หน่วยงานที่รับงบประมาณตรงจากภาษีบาป ปรับไปใช้ระบบงบประมาณปกติ คือการถอยหลังเข้าคลอง ผิดหลักการการใช้ภาษีในวัตถุประสงค์เฉพาะที่ทั่วโลกกระทำ เพราะการออกกฎหมายให้ใช้ภาษีเฉพาะในเรื่องการควบคุมยาสูบ สุรา หรือในสื่อสาธารณะ เพื่อต้องการให้ปราศจากการแทรกแซง ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
“ผมขอพูดโดยใช้ศักดิ์ศรีของผมเป็นประกันว่า เรื่องนี้เกิดจากการล็อบบี้คน 3 คน คือ 1.คนที่ชอบแอบอ้างว่าเป็นบัญชาจากนายกฯ 2.คนที่พยายามชงเรื่องนี้ 3.คนที่ทำงานเรื่องยาสูบ ผมเชื่อว่า คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ แต่ท่านไม่รู้ว่าบริษัทบุหรี่ข้ามชาติมันเลวร้ายแค่ไหน ผมยกตัวอย่างจากข้อเท็จจริงเลยว่า บริษัทบุหรี่ข้ามชาติรายเดียวมีรายได้ถึง 80 พันล้านเหรียญต่อปี หรือเกือบ 1 ใน 5 ของรายได้ทั้งปีที่ประเทศไทยได้คือ 373.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลองคิดดูว่าเค้าจะมีทุนมหาศาลขนาดไหนเพื่อใช้ล็อบบี้ เฉพาะตัวเลขที่ตรวจสอบได้ในยุโรปบริษัทบุหรี่ใช้เงินล็อบบี้แต่ละปีถึง 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การล็อบบี้คือการติดสินบน แล้วในไทยตรวจสอบไม่ได้จะเป็นเงินเท่าไร” นพ.หทัย กล่าว
นพ.หทัย กล่าวอีกว่า การล็อบบี้เกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอน หากองค์กรอย่าง สสส. ถูกตัดแขน ตัดขา ไทยจะได้รับผลกระทบร้ายแรงในด้านสุขภาพจากสินค้าอันตรายทั้ง 2 ชนิดนี้ ดังนี้ 1.อัตราการสูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล ส่งผลให้คนไทยจะเจ็บป่วยจาก 6 โรคร้ายแรง คือ โรคหัวใจหลอดเลือด โรคเส้นเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (ถุงลมโป่งพอง) โรคมะเร็งปอดและหลอดอาหาร โรคติดเชื้อในเด็ก และวัณโรค ซึ่งโรคเหล่านี้มีค่ารักษาสูงมาก รัฐบาลจะต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลหมดไปค่าใช้จ่ายรักษาสุขภาพของคนไทยที่เกิดจากบุหรี่แทนที่จะได้นำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศ 2.จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการดื่มสุราจะเพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินสินอย่างมาหาศาล ทั้งหมดนี้ เป็นผลกระทบร้ายแรงเพียงพอที่ผู้มีอำนาจพิจารณาตัดสินใจเรื่องนี้จะคิดทบทวนการแก้ไขร่าง รธน. มาตรา 190 หรือไม่
“ผมขอความกรุณาท่านนายกฯ ขอให้ท่านช่วยพิจารณาทบทวนเรื่องการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ภาษีบาป ทุกวันศุกร์พวกเราฟังท่านนายกฯ ปราศรัยเรื่องคืนความสุขให้คนไทย ผมชื่นชมท่าน ที่ท่านทำงานหนัก ทำงานเหนื่อย เพื่อให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขมากขึ้น ปัญหาโหลยโท่ยหลายเรื่องที่คาราคาซังมาทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น เรื่องประมง เรื่องการบิน ท่านพยายามแก้ไข ผมขอละครับ อย่าสร้างความสะเทือนใจ สร้างความทุกข์ให้กับคนไทย ด้วยการเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษีบาปเลย” นพ.หทัย กล่าว
ซัดไอ้โม่งหยุดล้ม "ภาษีบาป"
วานนี้ (9 ส.ค.) นายอัครพงษ์ บุญมี อดีตเยาวชนที่เคยก้าวพลาด จากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษก กล่าวในเวที “สรุปงานเครือข่ายแผนงานลดผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ว่า จากกรณีมีข้อเสนอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ใช้งบประมาณโดยตรงจากการจัดเก็บภาษีบาป (Earmarked Tax) หากเกิดการปรับโครงสร้างด้านการบริหารจัดการขึ้นกับ สสส. คงกระทบต่อการทำงานของกลุ่มคนเล็กคนน้อยที่รับทุนสนับสนุนจาก สสส. เพราะมิติการทำงานของ สสส.สามารถช่วยเปิดพื้นที่พัฒนาเด็กที่ก้าวพลาดและเยาวชนกลุ่มต่างๆในทางสร้างสรรค์ ยื่นมือเข้ามาช่วยทำให้คนกลุ่มนี้ได้คืนกลับสู่สังคมอย่างภาคภูมิใจ อย่างตนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสจากบ้านกาญฯ และ สสส.ที่สนับสนุนให้เราได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ พัฒนาศักยภาพตัวเอง จนทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น สุดท้ายก็กลับมาตอบแทนสังคม ชักชวนเยาวชนมาร่วมกันทำงานรณรงค์ลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งในประเทศไทยมีหน่วยงานน้อยมากที่ทำงานในลักษณะนี้ เนื่องจากงบประมาณจำกัดและเป็นระบบราชการ
นายสุรนาถ แป้นประเสริฐ แกนนำเครือข่ายเกสรชุมชน บางกอกน้อย กรุงเทพฯ กล่าวว่า ในนามเยาวชนที่ทำงานรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในชุมชน มองว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับ สสส.เกรงว่าจะกระทบกับการทำงาน เพราะกิจกรรมรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชนจำเป็นต้องใช้งบประมาณ และทำอย่างต่อเนื่อง เพราะชุมชนสามารถเข้าถึงงบประมาณตรงนี้ได้ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ กิจกรรมที่ทำอยู่คือการพัฒนาศักยภาพเยาวชนจากที่เคยเป็นกลุ่มเสี่ยงให้กลับคืนสู่สังคมได้ เช่นเดียวกับตนเองที่จากแต่ก่อนเคยยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด สุรา บุหรี่ แต่ตอนนี้สามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาดและหันมาทำงานเพื่อสังคม เป็นแกนนำรณรงค์ต่อต้านอบายมุขในชุมชนได้อย่างภาคภูมิใจ
“สสส.มีแนวคิดหนักแน่นชัดเจน เป็นกองทุนที่เข้าถึงได้ง่ายและมีประโยชน์กับชุมชน ทำให้ชุมชนตื่นตัว ตระหนัก ห่างไกลจากอบายมุข เด็กๆ ได้รับการเสริมสร้างสุขภาพมีภูมิคุ้นกันมากขึ้น สามารถต่อยอดสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่างเห็นได้ชัด จึงขอฝากความหวังกับผู้ที่เกี่ยวข้อง วอนขอโอกาสให้คนที่อยากทำงานได้เข้าถึงกองทุนนี้อย่างต่อเนื่องด้วย ส่วนคนที่อยู่เบื้องหลังที่พยายามจะยกเลิกภาษีบาป ควรหยุดพฤติกรรมดังกล่าว ที่ทำลายความเข้มแข็งของประชาชน แต่สมประโยชน์กับนายทุนสินค้าที่ทำลายสุขภาพ รัฐบาลต้องไม่หลงทิศหลงทาง หลังจากนี้หากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่มีความชัดเจน เยาวชนจำเป็นต้องแสดงจุดยืนทวงถามความคืบหน้า เพื่อต่อสู้และคืนผลประโยชน์ให้กับชาวชุมชนต่อไป” นายสุรนาถ กล่าว
นายพรณรง ปั้นทอง ผู้ประสานงานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนลดละเลิกเหล้าลดความรุนแรง หมู่บ้านคำกลาง จ.อำนาจเจริญ กล่าวว่า สมัยก่อนตนเป็นคนที่ชอบดื่มสุรา ดื่มหนักแบบหัวราน้ำทุกวัน ทั้งยังชอบใช้ความรุนแรงกับครอบครัว เงินแต่ละเดือนไม่เหลือเก็บ มีหนี้สินเพราะสุรา กระทั่งได้ร่วมงานกับ สสส.เมื่อปี 2545 โดยการเข้าโครงการลดละเลิกเหล้าและความรุนแรง สุดท้ายสามารถเลิกเหล้าได้ จากนั้นก็เริ่มเปลี่ยนตัวเองมาเป็นนักรณรงค์ในชุมชน เนื่องจากค่านิยมการดื่มสุราสูบบุหรี่ยังน่าห่วง โดยเฉพาะกับเยาวชนที่เริ่มสิ่งนี้แล้วไปต่อที่ยาเสพติดผิดกฎหมาย ตั้งแต่มีกระบวนการเกิดขึ้นในชุมชน สร้างความตระหนักรับรู้โทษผลกระทบ ควบคู่ไปกับกิจกรรมรณรงค์ลดละเลิก จึงทำให้เกิดกฎกติการ่วมกันคนในชุมชนหลายคนได้ชีวิตใหม่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้อีกเลย อย่างไรก็ตาม หากไม่มี สสส.คงไม่มีตนในวันนี้ เพราะเป็นองค์กรเดียวที่ช่วยให้ชีวิตเปลี่ยนไป จากที่เคยไม่มีอะไร ครอบครัวแตกแยก สสส.ช่วยให้คนในชุมชนเป็นคนใหม่ คืนความสุขสู่ครอบครัว อีกทั้งชุมชนไม่ได้ทำเฉพาะเรื่องนี้แต่ยังมีเกษตรอินทรีย์ เกษตรพอเพียงตามนโยบายของนายกฯ หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสสส.งบประมาณคงไม่ลงสู่ชุมชนคนรากหญ้า เพราะถูกบริษัทเหล้าบุหรี่นักการเมืองควบคุม ชุมชนคงไม่อยากให้ใครมากีดกันการเข้าถึงการเสริมสร้างสุขภาพคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
นายสุทิน กรีโรจนี คนขับวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ย่านพระประแดง จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สสส.มีโครงการดีๆ เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานมากมาย เช่น โครงการลดละเลิกเหล้าในโรงงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง และตนเป็นหนึ่งคนที่ผ่านจุดเลวร้ายที่สุดนั้นมาได้ เคยตกเป็นทาสสุรามาก่อน ชีวิตช่วงนั้นย่ำแย่ตกงานมีปัญหาสุขภาพ เงินไม่เหลือเก็บหนี้สินล้นพ้น ครอบครัวล้มสลาย แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการทำให้ชีวิตดีขึ้น สุขภาพกลับมาแข็งแรง และได้หันมาทำงานตอบแทนสังคมด้วยการเป็นบุคคลต้นแบบเลิกเหล้า หากเป็นไปได้ก็อยากให้สสส.ต่อยอดโครงการและทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ต้องการการเข้าถึงโครงการดีๆแบบนี้ และฝากถึงรัฐบาลว่า กลุ่มผู้ใช้แรงงานยังต้องการโอกาส ต้องการการยอมรับจากสังคม อย่างไรก็ตาม เรายังไม่เห็นกองทุนไหนอยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้านได้เท่ากองทุนสสส. หวังว่ากมธ.จะไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง
จ่อทบทวนเงินสสส-TPBSอิงจ่ายผ่านงบประมาณ
วานนี้ (9 ส.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ศ.จรัส สุวรรณมาลา คณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวในงานราชดำเนินเสวนา หัวข้อ "ภาษีบาป ผลกระทบ สสส.-ไทยพีบีเอส" ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวฯ ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ว่า กมธ.ยกร่างฯ ต้องการให้รัฐบาลในอนาคตดำเนินนโยบายด้านการคลังอย่างมีวินัย เนื่องจากที่ผ่านมามีตัวอย่างจากหลายประเทศที่มีปัญหาด้านการคลัง ทั้งกรีซ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ เป็นต้น ประเทศไทยจะประมาทโดยปล่อยให้รัฐบาลไม่มีวินัยทางการคลังไม่ได้ ซึ่งไทยมีช่องโหว่มาก สิ่งสำคัญต้องปิดช่องทางที่จะทำให้รัฐบาลในอนาคตใช้นโยบายการคลังไปเป็น นโยบายประชานิยม หรือหาประโยชน์จากจุดนี้ให้น้อยลง จึงมีการยกร่างฯ ในส่วนของการเงินการคลัง
ศ.จรัส กล่าวว่า สำหรับการเก็บภาษีนั้น มี 2 ประเภท คือ 1.ภาษีทั่วไปที่เก็บ ซึ่งนำไปใช้กิจการพื้นฐานสาธารณะ เป็นเงินรายได้แผ่นดินและไปทำงบประมาณออกมา และ 2. ภาษีที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีหลายแบบ โดยเฉพาะการเก็บภาษีแบบ Earmarked tax ซึ่งรัฐบาลจัดเก็บภาษีเพิ่มเข้ามา เหมือนการเก็บภาษีจากธุรกิจเหล้าและยาสูบเพิ่มร้อยละ 2 เพื่อเข้ากองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร้อยละ 1.5 เข้าองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส) หรือร้อยละ 2 เข้ากองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ โดยหลักการจะเก็บภาษีจากคนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนั้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งตรงนี้ตัวอย่างชัดจาก สสส. แต่ไทยพีบีเอส และกองทุนกีฬาฯ ยังไม่ชัดเจน หากจะเป็น Earmarked Tax ก็ควรเอารายได้จากสื่อที่คิดว่าประชาชนไม่ได้ประโยชน์ มาให้ไทยพีบีเอส เพราะบอกว่าเป็นสื่อที่ดี แบบนี้จะเข้าข่ายมากกว่า
"การที่กมธ.ยกร่างฯเห็นควรปรับแก้นั้น ไม่ได้บอกว่าจะยุบ สสส. หรือหน่วยงานที่ใช้งบลักษณะนี้ เพราะข้อดีก็มี แต่ที่กังวลคือ การเก็บเช่นนี้อาจนำไปสู่กลุ่มอื่นๆที่ต้องการเข้ามาใช้งบลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้น เพราะแม้จะมีระบบตรวจสอบดีแค่ไหน แต่ก็เป็นช่องทางที่นำงบไปใช้แล้ว เอากลับคืนไม่ได้เลย อย่างสหรัฐอเมริกามีการใช้งบประมาณลักษณะนี้เยอะมาก และเพิ่มขึ้นทุกวัน เมื่อจะควบคุมก็ทำไม่ได้ ขนาด บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ เคยบอกจะควบคุมก็ยังทำไม่ได้ ดังนั้น ต้องพิจารณาให้ดี และหาหนทางเพื่อป้องกันปัญหาดีกว่าหรือไม่ กมธ.ยกร่างฯ เห็นว่าจากที่จ่ายภาษีแบบ Earmarked Tax ให้นั้น อาจต้องทบทวนเป็นการจ่ายภาษีผ่านระบบงบประมาณให้กับองค์กรเหล่านี้ หรือที่เรียกว่า การเก็บแบบ Earmarked bugget ซึ่งจะมีการพิจารณาในการยกร่างวันที่ 10-11 สิงหาคมนี้ แต่ในรายละเอียดก็ต้องมาพิจารณา เพราะต้องเข้าใจว่าหากจะป้องกันปัญหา จะห้ามไม่ให้องค์กรอื่นทำแบบสสส.คงไม่ได้ เพราะเขาก็จะอ้างว่า สสส.ยังทำ เราจึงต้องหาจุดร่วมที่ดีทุกฝ่าย" ศ.จรัส กล่าว
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า หากมีการทบทวนการจัดเก็บภาษีระบบใหม่จริง จะส่งผลกระทบต่อรัฐบาล ทำให้สูญเงินจากการเก็บภาษี 10,000-12,000 ล้านบาท โดยเงินก้อนนี้จะกลับไปเป็นโบนัสให้กลุ่มธุรกิจยาสูบและเหล้า ยกเว้นโรงงานยาสูบของรัฐ ขณะที่ สสส.ทำให้รัฐเก็บภาษีเพิ่มได้ เพราะเมื่อไรที่มีการเก็บภาษีบุหรี่หรือเหล้าเพิ่มมักเกิดแรงต้าน แต่ สสส.ขับเคลื่อนข้อเท็จจริงมาตลอด ทำให้เก็บภาษีได้ จากเดิมปี 2546 เก็บภาษีบุหรี่ได้ 33,582 ล้านบาท ก็เพิ่มอย่างต่อเนื่อง จนปี 2558 เก็บได้ถึง 67,000 ล้านบาท ขณะที่ภาษีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่า 120,000 ล้านบาท และยังสามารถลดปริมาณนักสูบลงได้ โมเดลของสสส.จึงเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ส่วนกรณีที่คนมองว่า สสส.มุ่งแต่โฆษณารณรงค์ จริงๆ แล้วเราใช้งบแค่ 200 ล้านบาทเท่านั้น และเราทำงานด้านอื่นๆเพื่อขับเคลื่อนอีก ขณะที่สหรัฐใช้งบรณรงค์ 115,000 ล้านบาท แต่มีการศึกษาว่าแม้การออกแคมเปญต่างๆไม่ช่วยลดนักสูบนักดื่มมากนัก แต่ทำให้สังคมตระหนัก และส่งผลต่อการเก็บภาษีบาปได้ ซึ่งรัฐบาลไทยต้องพิจารณาว่า งบสสส.ราว 4,000 ล้านบาท แต่ทำให้สถานะการคลังของรัฐบาลดีขึ้น และองค์การอนามัย ยังชูโมเดลลักษณะนี้ โดยปัจจุบันมี 30 กว่าประเทศดำเนินการ ไทยก็เช่นกัน
นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส กล่าวว่า การตรวจสอบและเรื่องวินัยทางการคลังนั้น ไทยพีบีเอส ไม่เคยขัดข้อง แต่ขอให้ตรวจสอบหน่วยงานลักษณะนี้ให้เหมือนกันด้วย เพราะที่ผ่านมาสถานีฯ ทำงานชัดเจนว่าเป็นสื่อสาธารณะ ทั้งการอนุรักษ์น้ำ ป่าไม้ อย่างกรณีเขาหัวโล้น ก็นำเสนอข้อมูลรอบด้าน ทำมากกว่าแหล่งอื่นอีก แต่ไม่ได้บอกว่าดีกว่า ดังนั้น หากมีกลไกบางอย่างทำให้ไม่สามารถทำงานแบบนี้ได้อีก จะกล้าทำข่าวที่ตั้งคำถามใดๆ ได้ ทั้งที่นี่คือ หัวใจของการเป็นสื่อสาธารณะด้วยซ้ำ ยกตัวอย่าง ประชาชนคนไทยประมาณ 40 ล้านคนจ่ายภาษีเข้ารัฐ หากคิดต่อหัวที่ส่งเข้าไทยพีบีเอสประมาณ 50 บาทต่อคนต่อปี ในราคา 50 บาทซื้อมติชนสุดสัปดาห์ได้ 1 เล่ม ขณะที่สถานีไทยพีบีเอสฯ มีรายการทีวีตั้งแต่ตี 5 ถึงตี 2 มีรายการตอบโจทย์ มีรายการอาหาร มีรายการผู้สูงอายุ มีรายการเพื่อเด็กและเยาวชน มีสถานีร้องทุกข์ ตามหาเด็กหาย คนหาย ปีละหลายสิบคน ทำให้ครอบครัวที่จากกันได้มาเจอกันอีก ไทยพีบีเอสออกข่าวตามคนเจอได้ ลักษณะนี้ตีค่าเป็นเงินได้หรือไม่