สสส. แจงงบภาษีบาป 2% เป็นภาษีส่วนที่เก็บเพิ่มจากปกติ ชี้ดึงเงินกลับสู่ระบบราชการ ทำรัฐเสียประโยชน์ เหตุเก็บภาษีส่วนพิเศษเพิ่มไม่ได้ หวั่นงบประมาณไม่ยืดหยุ่นคล่องตัวแบบเดิม ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานลดลง กระทบการสนับสนุนเครือข่ายกว่าล้านคน เชื่อเชื่อมโยงธุรกิจเหล้า บุหรี่ จ้องล้มองค์กร
จากกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ. ยกร่างฯ) ได้ปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการคลัง และงบประมาณ โดยแก้ไขไม่ให้มีการตรากฎหมายให้หน่วยงานรัฐจัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และจะมีผลบังคับใช้กับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินดังกล่าวอีก 4 ปี หลังประกาศใช้ เพื่อป้องกันการกู้นอกระบบงบประมาณ ตามที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ. ยกร่างฯ ซึ่งเท่ากับว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และองค์กรสนับสนุนการกีฬาฯ ที่เพิ่งผ่านมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งได้รับงบประมาณจากภาษีบาป คือ เหล้าและบุหรี่ จะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ด้วย
วันนี้ (4 ส.ค.) ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า เรื่องนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดในระบบการเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) ซึ่ง กมธ. ยกร่างฯ และประชาชนทั่วไปอาจยังไม่เข้าใจ เพราะคิดว่าภาษีที่เก็บจากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ 100% นั้น จัดสรรให้ สสส. นำไปใช้ 2% และไทยพีบีเอส อีก 1.5% แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นการเก็บพิเศษเพิ่มจากภาษีปกติที่ต้องจ่าย ดังนั้น การดึงเงินกลับไปสู่ระบบงบประมาณที่ต้องผ่านรัฐสภา ก็จะทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง เพราะธุรกิจดังกล่าวไม่ต้องจ่ายภาษีส่วนพิเศษตรงนี้เพิ่ม แต่รัฐบาลกลับต้องนำภาษีปกติมาจัดสรรให้ สสส. ไทยพีบีเอส และองค์กรสนับสนุนการกีฬาฯ แทน กลุ่มธุรกิจดังกล่าวจึงได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ และการที่ไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มก็อาจทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้นำเงินดังกล่าวไปใช้ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มองว่าการกลับไปสู่ระบบงบประมาณก็ทำให้มีโอกาสถูกการเมืองแทรกแซงได้
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า สสส. กำลังสรุปเรื่องดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการ สสส. โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่เบื้องต้นคาดว่าคงต้องส่งหนังสือชี้แจงไปยัง กมธ. ยกร่างฯ เพื่อทำความเข้าใจต่อกรณี Earmarked Tax ว่า การดึงงบกลับไปสู่ระบบงบประมาณปกติไม่เกิดประโยชน์ต่อรัฐบาล และทำให้การดำเนินงานของ สสส. ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากการบริหารจัดการงบประมาณไม่คล่องตัว และไม่มีความยืดหยุ่น เพราะทุกอย่างกลับไปสู่ระบบงบประมาณ ซึ่งบางครั้งต้องตั้งงบประมาณล่วงหน้าถึง 3 ปี แต่การทำงานด้านสุขภาพทำเช่นนั้นไม่ได้ ซึ่งในต่างประเทศการเก็บภาษีแบบ Earmarked Tax มักจะใช้กับเรื่องสำคัญ ๆ เช่น สุขภาพ สื่อ และกีฬา
“หากดูงบประมาณด้านการรณรงค์ จัดแคมเปญ และประชาสัมพันธ์ สสส. ใช้เพียงประมาณ 200 ล้านบาทเท่านั้น แต่ผลการดำเนินงานดีเทียบเท่าหน่วยงานรัฐในระบบราชการที่ใช้งบประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท เห็นได้จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงกว่า 1.2 ล้านคน คนดื่มเหล้าลดลง ช่วยประหยัดงบประมาณไปมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรืออย่างเรื่องอุบัติเหตุก็ช่วยลดปัญหาลงได้ถึง 48% ช่วยลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นไปกว่าแสนล้านบาท ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวคงเกิดขึ้นไม่ได้ หากอยู่ในระบบราชการ เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจาก สสส. แต่เกิดจากการทำงานลงไปสนับสนุนเครือข่าย ภาคประชาสังคม และชุมชนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน ซึ่งมีมากกว่า 10,000 องค์กร คนทำงานขับเคลื่อนมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งหากดึงงบประมาณกลับไปสู่ระบบราชการปกติก็จะกระทบกับเครือข่ายเหล่านี้ได้ เพราะอย่าลืมว่าองค์กรเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีระบบบัญชีที่เหมือนแบบภาครัฐ” ผู้จัดการ สสส. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสว่าอาจเป็นความพยายามในการล้ม สสส. ทพ.กฤษดา กล่าวว่า อาจมีความเชื่อมโยง เพราะการดำเนินงาน สสส. เชื่อมโยงกับธุรกิจเหล้าและบุหรี่ ทำให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวเสียประโยชน์ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ อย่างในต่างประเทศก็พบว่าบริษัทบุหรี่ก็จะเข้ามาเล่นการเมืองในลักษณะนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา องค์กรลักษณะแบบ สสส. ก็ถูกยุบไปหลายองค์กรแล้ว ส่วนที่คนมองว่า สสส. รณรงค์ทำงานไม่ได้ผล ขอถามว่าหาก สสส. ทำงานไม่ได้ผลจริง เหตุใดกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ถึงจ้องเล่นงาน เพราะการทำงานของ สสส. ไปก่อให้เกิดผลกระทบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 5 ส.ค. เวลา 12.00 น. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ จะเดินทางไปยังรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ ถึงกรณีดังกล่าวด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ. ยกร่างฯ) ได้ปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการคลัง และงบประมาณ โดยแก้ไขไม่ให้มีการตรากฎหมายให้หน่วยงานรัฐจัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และจะมีผลบังคับใช้กับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินดังกล่าวอีก 4 ปี หลังประกาศใช้ เพื่อป้องกันการกู้นอกระบบงบประมาณ ตามที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ. ยกร่างฯ ซึ่งเท่ากับว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และองค์กรสนับสนุนการกีฬาฯ ที่เพิ่งผ่านมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งได้รับงบประมาณจากภาษีบาป คือ เหล้าและบุหรี่ จะได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ด้วย
วันนี้ (4 ส.ค.) ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า เรื่องนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดในระบบการเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) ซึ่ง กมธ. ยกร่างฯ และประชาชนทั่วไปอาจยังไม่เข้าใจ เพราะคิดว่าภาษีที่เก็บจากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ 100% นั้น จัดสรรให้ สสส. นำไปใช้ 2% และไทยพีบีเอส อีก 1.5% แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นการเก็บพิเศษเพิ่มจากภาษีปกติที่ต้องจ่าย ดังนั้น การดึงเงินกลับไปสู่ระบบงบประมาณที่ต้องผ่านรัฐสภา ก็จะทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง เพราะธุรกิจดังกล่าวไม่ต้องจ่ายภาษีส่วนพิเศษตรงนี้เพิ่ม แต่รัฐบาลกลับต้องนำภาษีปกติมาจัดสรรให้ สสส. ไทยพีบีเอส และองค์กรสนับสนุนการกีฬาฯ แทน กลุ่มธุรกิจดังกล่าวจึงได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ และการที่ไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มก็อาจทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้นำเงินดังกล่าวไปใช้ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มองว่าการกลับไปสู่ระบบงบประมาณก็ทำให้มีโอกาสถูกการเมืองแทรกแซงได้
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า สสส. กำลังสรุปเรื่องดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการ สสส. โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่เบื้องต้นคาดว่าคงต้องส่งหนังสือชี้แจงไปยัง กมธ. ยกร่างฯ เพื่อทำความเข้าใจต่อกรณี Earmarked Tax ว่า การดึงงบกลับไปสู่ระบบงบประมาณปกติไม่เกิดประโยชน์ต่อรัฐบาล และทำให้การดำเนินงานของ สสส. ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากการบริหารจัดการงบประมาณไม่คล่องตัว และไม่มีความยืดหยุ่น เพราะทุกอย่างกลับไปสู่ระบบงบประมาณ ซึ่งบางครั้งต้องตั้งงบประมาณล่วงหน้าถึง 3 ปี แต่การทำงานด้านสุขภาพทำเช่นนั้นไม่ได้ ซึ่งในต่างประเทศการเก็บภาษีแบบ Earmarked Tax มักจะใช้กับเรื่องสำคัญ ๆ เช่น สุขภาพ สื่อ และกีฬา
“หากดูงบประมาณด้านการรณรงค์ จัดแคมเปญ และประชาสัมพันธ์ สสส. ใช้เพียงประมาณ 200 ล้านบาทเท่านั้น แต่ผลการดำเนินงานดีเทียบเท่าหน่วยงานรัฐในระบบราชการที่ใช้งบประมาณมากกว่า 1,000 ล้านบาท เห็นได้จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงกว่า 1.2 ล้านคน คนดื่มเหล้าลดลง ช่วยประหยัดงบประมาณไปมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรืออย่างเรื่องอุบัติเหตุก็ช่วยลดปัญหาลงได้ถึง 48% ช่วยลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นไปกว่าแสนล้านบาท ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวคงเกิดขึ้นไม่ได้ หากอยู่ในระบบราชการ เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจาก สสส. แต่เกิดจากการทำงานลงไปสนับสนุนเครือข่าย ภาคประชาสังคม และชุมชนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน ซึ่งมีมากกว่า 10,000 องค์กร คนทำงานขับเคลื่อนมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งหากดึงงบประมาณกลับไปสู่ระบบราชการปกติก็จะกระทบกับเครือข่ายเหล่านี้ได้ เพราะอย่าลืมว่าองค์กรเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีระบบบัญชีที่เหมือนแบบภาครัฐ” ผู้จัดการ สสส. กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสว่าอาจเป็นความพยายามในการล้ม สสส. ทพ.กฤษดา กล่าวว่า อาจมีความเชื่อมโยง เพราะการดำเนินงาน สสส. เชื่อมโยงกับธุรกิจเหล้าและบุหรี่ ทำให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวเสียประโยชน์ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ อย่างในต่างประเทศก็พบว่าบริษัทบุหรี่ก็จะเข้ามาเล่นการเมืองในลักษณะนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา องค์กรลักษณะแบบ สสส. ก็ถูกยุบไปหลายองค์กรแล้ว ส่วนที่คนมองว่า สสส. รณรงค์ทำงานไม่ได้ผล ขอถามว่าหาก สสส. ทำงานไม่ได้ผลจริง เหตุใดกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ถึงจ้องเล่นงาน เพราะการทำงานของ สสส. ไปก่อให้เกิดผลกระทบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 5 ส.ค. เวลา 12.00 น. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ จะเดินทางไปยังรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ ถึงกรณีดังกล่าวด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่