สสส.-ไทยพีบีเอส-กองทุนพัฒนากีฬา เตรียมหนาว หลังกมธ.ยกร่างฯ เห็นชอบตาม"หม่อมอุ๋ย" วางหลักองค์กรนอกงบประมาณ ใช้เงิน ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา หลังพบอู้ฟู้ ใช้จ่างเงินแบบไร้การตรวจสอบมานาน ด้าน"วรากรณ์" ปรับแก้ร่างรธน. มาตรา 190 ระบุผิดเพี้ยนหวั่นระบบคลังเกิดปัญหา ส่งผลให้ยกเลิกระบบภาษีบาป อาจถึงขั้นตองยุบ สสส.-ไทยพีบีเอส ในอีก 4 ปีข้างหน้า ด้านกมธ. ยกร่างฯ แจงวางหลักการเพื่อป้องกันการกู้นอกระบบงบประมาณ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อไม่นานมานี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนึงสือถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อขอเสนอการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับการคลัง และงบประมาณ จำนวน 5 ประเด็น โดยเฉพาะประเด็นสำคัญ ในมาตรา 204 วรรคสอง ที่เกี่ยวกับการใช้เงินของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่แบ่งรายได้จากภาษีบาปไป 2% องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) แบ่งรายได้ไป 1.5% แต่ไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ต่อปี และล่าสุดกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ขอแบ่งไป 2% ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ ออกกฎหมายแบ่งรายได้ไปใช้โดยตรง
ทั้งนี้ ต่อไปภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ การใช้จ่าย การก่อหนี้ และภาระผูกพัน ของ 3 องค์กรดังกล่าว จะกระทำโดย พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลัง และการงบประมาณภาครัฐ หรือหมายถึง ต้องนำเสนอ และผ่านความเห็นชอบจาก รัฐสภา แตกต่างจากเดิมที่หน่วยงานดังกล่าวใช้จ่ายงบประมาณอย่างอิสระ และไร้การตรวจสอบจากตัวแทนประชาชน
สำหรับ มาตรา 204 นั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้เสนอตัดข้อความทิ้งทั้งหมด และบัญญัติใหม่ โดยวรรคแรก " การกำหนดให้เงินรายได้แผ่นดิน จะกระทำได้ก็แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และการตรากฎหมายให้หน่วยงานของรัฐ ไม่ต้องนำเงินรายได้ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ต้องมีขอบเขตและกรอบวงเงินเท่าที่ไม่กระทบต่อการรักษาวินัยการคลัง และต้องคำนึงถึงประสิทธิ ภาพ ความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน และความจำเป็นของการใช้เงินของหน่วยงานของรัฐ
"วรรคสอง การใช้จ่าย การก่อหนี้ และภาระผูกพันที่มีผลต่อเงินรายได้ตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ภายใต้หลักความคุมค่า ความโปร่งใส ตามวินัยการคลังตามหมวดนี้ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ"
วรรคสาม เงินรายได้ของหน่วยงานรัฐใดที่กำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เงินนอกงบประมาณ และเงินอื่นใดที่หน่วยงานรัฐนั้นมีอยู่ ให้หน่วยงานรัฐนั้น ทำรายงานและรายรับ และการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เสนอต่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทุกสิ้นปีงบประมาณ และให้ครม.รายงานให้สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทราบ
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กมธ.ยกร่างฯได้รับทราบถึงหนังสือดังกล่าวแล้ว โดยหลักการเห็นว่าการใช้งบขององค์กรต่างๆ จะต้องกระทำโดยผ่านวิธีการงบประมาณ หรือ ผ่านพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ส่วนหน่วยงานของรัฐที่กฎหมายไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน ที่ขณะนี้ มี 2-3 องค์กร แม้จะไม่สามารถแก้ไขเรื่องการหักภาษีมาให้หน่วยงานโดยตรงได้ แต่ต่อไปการใช้งบประมาณต่างๆจะต้องกระทำตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย โดยจะบัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญ
ในขณะที่องค์กรใหม่ๆในลักษณะดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาของ สนช.นั้น กมธ.ยกร่างฯอาจจะไม่ยอมให้มีการหักภาษีไปให้หน่วยงานนั้นๆได้โดยตรงอีกต่อไป รวมทั้งการใช้งบประมาณ ก็ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งจะบัญญัติในหลักการของรัฐธรรมนูญ หรือบางส่วนก็อยู่ในบทเฉพาะกาลเช่นกัน
ผวา"สสส.-ไทยพีบีเอส"ถูกยุบ
ด้านนายวรากรณ์ สามโกเศศ นักเศรษฐศาสตร์การคลัง และ อธิการบดี ม.ธุรกิจบัญฑิต กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วย ที่กมธ.ยกร่างฯ ปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ในมาตรา 190 โดยบัญญัติให้การจัดเก็บภาษีอากรเพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน จะต้องจัดเก็บจากฐานภาษีต่างๆให้ครบฐาน ทั้งจากฐานรายได้ ฐานการซื้อขาย และจากฐานทรัพย์สิน การกำหนดนโยบาย และอัตราภาษี ต้องคำนึงถึงความเป็นกลาง ความเป็นธรรมในสังคม ความทั่วถึง ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลัง และข้อผูกพันระหว่างประเทศ ให้มีการจัดระดับของภาษีเป็นสองระดับ คือ ภาษีระดับชาติ และ ภาษีระดับท้องถิ่น และการตรากฎหมายให้หน่วยงานรัฐจัดเก็บภาษี และจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรตามกฎหมาย ซึ่งมิใช่การจัดสรรภาษีหรืออากรให้องค์การบริหารท้องถิ่น หรือมิใช่การจัดสรรเงินให้พรรคการเมืองตามกฎหมาย จะกระทำมิได้ ซึ่งจะเป็นการยกเลิก ระบบ Earmarked Tax หรือที่คนไทยรู้จักกันในส่วนที่เป็นกองทุนจากค่าธรรมเนียม และ ภาษีสุรา และบุหรี่ หรือเรียกกันว่าภาษีบาป ซึ่งมีผลเสียคือ ทำให้เกิดการมัดมือตนเองให้เสียความยืดหยุ่น ความคล่องตัวในการทำงานในโลกที่มีความหลากหลาย และซับซ้อนมากขึ้น และองค์กรที่รับผลกระทบโดยตรง คือ สสส. และไทยพีบีเอส รวมทั้งกองทุนกีฬาแห่งชาติ ที่ สนช.เพิ่งผ่านกฎหมายให้จัดตั้งขึ้น
" ทราบมาว่า เบื้องหลังมีอีกหลายแห่งที่อยากจะขอใช้กองทุนจาก Earmarked Tex แบบนี้ โดยการจัดสรรพิเศษจากส่วนหนึ่งของภาษีอะไรก็แล้วแต่ เขาก็เลยกลัวว่า ระบบการคลังจะเป็นปัญหา จึงขอให้ยกเลิกเด็ดขาด ซึ่งจะส่งผลให้ สสส. กับ ไทยพีบีเอส จะถูกยุบไปด้วย ซึ่งผมว่ามันเพี้ยน เพราะ Earmarked Tex มันไม่ผู้ร้ายนะ และมีการใช้กันมายาวนาน และไม่ได้ใช้เฉพาะในประเทศไทย คือทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ว่า โครงการที่รัฐจะทำมีการทำจริงจัง เช่น โครงการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม เป็นต้น"
นายวรากรณ์ กล่าวด้วยว่าแนวคิดที่ว่าจะให้ทุกอย่างเข้าสู่การควบคุมด้วย พรบ.งบประมาณมันเป็นไปไม่ได้ อย่างกองทุนหมุนเวียนก็ควบคุมไม่ได้ รัฐวิสาหกิจเองก็ไม่ได้อยู่ในระบบงบประมาณ คือในธรรมชาติมันไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบที่จะให้รายได้ทั้งหมดเข้ามาสู่รัฐอย่างเดียว มันยังมีองค์กรมหาชนที่เขาได้เงินของเขาเองมา โลกปัจจุบันมันก็ไม่ใช่โลกของการควบคุมแล้ว แต่เป็นเรื่องการการบริหารจัดการภายใน โดยภาครัฐตรวจสอบอีกชั้น ขณะที่การควบคุมทั้งหมดโดยภาครัฐมันเป็นโลกการคลังสมัยก่อน และสมัยนี้วิธีการคลังที่ก้าวหน้าคือต้องปล่อยให้บริหารเอง ประเมินเองแล้วรัฐมาตรวจสอบ เพียงแต่สามารถควบคุมได้ในระดับรองคือเรื่องของภาษีอากร การดูแลกำกับให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะบังคับได้ว่าการตั้งกองทุน Earmarked Tex จะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติแทนการออกเป็นกฎกระทรวง
ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ภายใน 4 ปี
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ทางกมธ.ยกร่างฯ ยังได้กำหนดในบทเฉพาะกาล ในมาตรา 281(1) ระบุไว้ว่า ให้ชะลอการบังคับตามรัฐธรรมนูญนี้ไปอีก 4 ปี หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับ โดยในระหว่าง 4 ปีดังกล่าว ก็ยังสามารถออกกฎหมายเพื่อรองรับให้ สสส. หรือ ไทยพีบีเอส ให้ปรับสถานะเพื่อให้ยังคงดำรงอยู่ได้ ซึ่งเจตนารมณ์เดิมที่จะให้รายได้แผ่นดิน เข้าสู่ระบบงบประมาณที่ผ่านรัฐสภา ก็เพื่อป้องกันกรณีการใช้รูปแบบการออกกฎหมายพิเศษ เพื่อใช้จ่ายเงินกู้โดยไม่ผ่านระบบงบประมาณ เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบ เช่น พ.ร.บ.เงินกู้โครงการไทยเข้มแข็ง และ พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อบริหารจัดการน้ำ 2 ล้านล้านบาท
"หลักการคือ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี ต้องแสดงภาพรวมการใช้จ่าย แสดงงบดุลของประเทศทั้งหมด ไม่ใช่ซุกไว้ในพ.ร.บ.ใช้จ่ายงบประมาณอื่นๆ และเห็นว่าแม้จะนำงบประมาณการใช้จ่ายขององค์การมหาชนต่างๆ มาไว้ในระบบงบประมาณ ไม่น่าจะเกิดผลทำให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงได้โดยง่าย เพราะเป็นประเพณีที่ฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ จะไม่เข้าไปแตะต้อง เช่นเดียวกับ กรณีงบประมาณของศาล และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ซึ่งก็ไม่ได้ถูกแทรกแซงได้โดยระบบงบประมาณ ในระหว่าง 4 ปี ตามบทเฉพาะกาล ก็สามารถแก้พ.ร.บ.ให้ทั้งสององค์กร ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยแปรให้เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐจ่ายผ่านระบบงบประมาณแผ่นดินแทน
"อันที่จริง เป็นหลักการเดิมที่มีมาตั้งแต่ในร่างแรก คือ บัญญัติไว้ว่าการจ่ายเงินแผ่นดินต้องผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณฯ เป็นหลัก โดยพยายามนิยามคำว่า เงินแผ่นดิน ให้หมายรวมถึงภาษีอากรด้วย เพราะในระยะหลังๆ มีการก่อตั้งองค์กรใหม่ ที่หักเงินจากต้นทางภาษีก่อนเข้าคลังจำนวนมาก เงินเหล่านี้จะไม่ปรากฏใน พ.ร.บ.งบประมาณฯ ประจำปี ต่อมามีข้อเสนอให้ทบทวนตัดนิยามของเงินแผ่นดินออก จึงเขียนใหม่อย่างที่เห็น" แหล่งข่าวระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อไม่นานมานี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนึงสือถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อขอเสนอการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับการคลัง และงบประมาณ จำนวน 5 ประเด็น โดยเฉพาะประเด็นสำคัญ ในมาตรา 204 วรรคสอง ที่เกี่ยวกับการใช้เงินของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่แบ่งรายได้จากภาษีบาปไป 2% องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) แบ่งรายได้ไป 1.5% แต่ไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ต่อปี และล่าสุดกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ขอแบ่งไป 2% ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ ออกกฎหมายแบ่งรายได้ไปใช้โดยตรง
ทั้งนี้ ต่อไปภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ การใช้จ่าย การก่อหนี้ และภาระผูกพัน ของ 3 องค์กรดังกล่าว จะกระทำโดย พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลัง และการงบประมาณภาครัฐ หรือหมายถึง ต้องนำเสนอ และผ่านความเห็นชอบจาก รัฐสภา แตกต่างจากเดิมที่หน่วยงานดังกล่าวใช้จ่ายงบประมาณอย่างอิสระ และไร้การตรวจสอบจากตัวแทนประชาชน
สำหรับ มาตรา 204 นั้น ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้เสนอตัดข้อความทิ้งทั้งหมด และบัญญัติใหม่ โดยวรรคแรก " การกำหนดให้เงินรายได้แผ่นดิน จะกระทำได้ก็แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และการตรากฎหมายให้หน่วยงานของรัฐ ไม่ต้องนำเงินรายได้ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ต้องมีขอบเขตและกรอบวงเงินเท่าที่ไม่กระทบต่อการรักษาวินัยการคลัง และต้องคำนึงถึงประสิทธิ ภาพ ความคุ้มค่าของการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน และความจำเป็นของการใช้เงินของหน่วยงานของรัฐ
"วรรคสอง การใช้จ่าย การก่อหนี้ และภาระผูกพันที่มีผลต่อเงินรายได้ตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ภายใต้หลักความคุมค่า ความโปร่งใส ตามวินัยการคลังตามหมวดนี้ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและการงบประมาณภาครัฐ"
วรรคสาม เงินรายได้ของหน่วยงานรัฐใดที่กำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน เงินนอกงบประมาณ และเงินอื่นใดที่หน่วยงานรัฐนั้นมีอยู่ ให้หน่วยงานรัฐนั้น ทำรายงานและรายรับ และการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เสนอต่อ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทุกสิ้นปีงบประมาณ และให้ครม.รายงานให้สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทราบ
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กมธ.ยกร่างฯได้รับทราบถึงหนังสือดังกล่าวแล้ว โดยหลักการเห็นว่าการใช้งบขององค์กรต่างๆ จะต้องกระทำโดยผ่านวิธีการงบประมาณ หรือ ผ่านพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ส่วนหน่วยงานของรัฐที่กฎหมายไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน ที่ขณะนี้ มี 2-3 องค์กร แม้จะไม่สามารถแก้ไขเรื่องการหักภาษีมาให้หน่วยงานโดยตรงได้ แต่ต่อไปการใช้งบประมาณต่างๆจะต้องกระทำตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย โดยจะบัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญ
ในขณะที่องค์กรใหม่ๆในลักษณะดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาของ สนช.นั้น กมธ.ยกร่างฯอาจจะไม่ยอมให้มีการหักภาษีไปให้หน่วยงานนั้นๆได้โดยตรงอีกต่อไป รวมทั้งการใช้งบประมาณ ก็ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งจะบัญญัติในหลักการของรัฐธรรมนูญ หรือบางส่วนก็อยู่ในบทเฉพาะกาลเช่นกัน
ผวา"สสส.-ไทยพีบีเอส"ถูกยุบ
ด้านนายวรากรณ์ สามโกเศศ นักเศรษฐศาสตร์การคลัง และ อธิการบดี ม.ธุรกิจบัญฑิต กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วย ที่กมธ.ยกร่างฯ ปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ในมาตรา 190 โดยบัญญัติให้การจัดเก็บภาษีอากรเพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน จะต้องจัดเก็บจากฐานภาษีต่างๆให้ครบฐาน ทั้งจากฐานรายได้ ฐานการซื้อขาย และจากฐานทรัพย์สิน การกำหนดนโยบาย และอัตราภาษี ต้องคำนึงถึงความเป็นกลาง ความเป็นธรรมในสังคม ความทั่วถึง ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลัง และข้อผูกพันระหว่างประเทศ ให้มีการจัดระดับของภาษีเป็นสองระดับ คือ ภาษีระดับชาติ และ ภาษีระดับท้องถิ่น และการตรากฎหมายให้หน่วยงานรัฐจัดเก็บภาษี และจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรตามกฎหมาย ซึ่งมิใช่การจัดสรรภาษีหรืออากรให้องค์การบริหารท้องถิ่น หรือมิใช่การจัดสรรเงินให้พรรคการเมืองตามกฎหมาย จะกระทำมิได้ ซึ่งจะเป็นการยกเลิก ระบบ Earmarked Tax หรือที่คนไทยรู้จักกันในส่วนที่เป็นกองทุนจากค่าธรรมเนียม และ ภาษีสุรา และบุหรี่ หรือเรียกกันว่าภาษีบาป ซึ่งมีผลเสียคือ ทำให้เกิดการมัดมือตนเองให้เสียความยืดหยุ่น ความคล่องตัวในการทำงานในโลกที่มีความหลากหลาย และซับซ้อนมากขึ้น และองค์กรที่รับผลกระทบโดยตรง คือ สสส. และไทยพีบีเอส รวมทั้งกองทุนกีฬาแห่งชาติ ที่ สนช.เพิ่งผ่านกฎหมายให้จัดตั้งขึ้น
" ทราบมาว่า เบื้องหลังมีอีกหลายแห่งที่อยากจะขอใช้กองทุนจาก Earmarked Tex แบบนี้ โดยการจัดสรรพิเศษจากส่วนหนึ่งของภาษีอะไรก็แล้วแต่ เขาก็เลยกลัวว่า ระบบการคลังจะเป็นปัญหา จึงขอให้ยกเลิกเด็ดขาด ซึ่งจะส่งผลให้ สสส. กับ ไทยพีบีเอส จะถูกยุบไปด้วย ซึ่งผมว่ามันเพี้ยน เพราะ Earmarked Tex มันไม่ผู้ร้ายนะ และมีการใช้กันมายาวนาน และไม่ได้ใช้เฉพาะในประเทศไทย คือทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ว่า โครงการที่รัฐจะทำมีการทำจริงจัง เช่น โครงการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม เป็นต้น"
นายวรากรณ์ กล่าวด้วยว่าแนวคิดที่ว่าจะให้ทุกอย่างเข้าสู่การควบคุมด้วย พรบ.งบประมาณมันเป็นไปไม่ได้ อย่างกองทุนหมุนเวียนก็ควบคุมไม่ได้ รัฐวิสาหกิจเองก็ไม่ได้อยู่ในระบบงบประมาณ คือในธรรมชาติมันไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบที่จะให้รายได้ทั้งหมดเข้ามาสู่รัฐอย่างเดียว มันยังมีองค์กรมหาชนที่เขาได้เงินของเขาเองมา โลกปัจจุบันมันก็ไม่ใช่โลกของการควบคุมแล้ว แต่เป็นเรื่องการการบริหารจัดการภายใน โดยภาครัฐตรวจสอบอีกชั้น ขณะที่การควบคุมทั้งหมดโดยภาครัฐมันเป็นโลกการคลังสมัยก่อน และสมัยนี้วิธีการคลังที่ก้าวหน้าคือต้องปล่อยให้บริหารเอง ประเมินเองแล้วรัฐมาตรวจสอบ เพียงแต่สามารถควบคุมได้ในระดับรองคือเรื่องของภาษีอากร การดูแลกำกับให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะบังคับได้ว่าการตั้งกองทุน Earmarked Tex จะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติแทนการออกเป็นกฎกระทรวง
ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ภายใน 4 ปี
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ทางกมธ.ยกร่างฯ ยังได้กำหนดในบทเฉพาะกาล ในมาตรา 281(1) ระบุไว้ว่า ให้ชะลอการบังคับตามรัฐธรรมนูญนี้ไปอีก 4 ปี หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับ โดยในระหว่าง 4 ปีดังกล่าว ก็ยังสามารถออกกฎหมายเพื่อรองรับให้ สสส. หรือ ไทยพีบีเอส ให้ปรับสถานะเพื่อให้ยังคงดำรงอยู่ได้ ซึ่งเจตนารมณ์เดิมที่จะให้รายได้แผ่นดิน เข้าสู่ระบบงบประมาณที่ผ่านรัฐสภา ก็เพื่อป้องกันกรณีการใช้รูปแบบการออกกฎหมายพิเศษ เพื่อใช้จ่ายเงินกู้โดยไม่ผ่านระบบงบประมาณ เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบ เช่น พ.ร.บ.เงินกู้โครงการไทยเข้มแข็ง และ พ.ร.ก.เงินกู้เพื่อบริหารจัดการน้ำ 2 ล้านล้านบาท
"หลักการคือ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี ต้องแสดงภาพรวมการใช้จ่าย แสดงงบดุลของประเทศทั้งหมด ไม่ใช่ซุกไว้ในพ.ร.บ.ใช้จ่ายงบประมาณอื่นๆ และเห็นว่าแม้จะนำงบประมาณการใช้จ่ายขององค์การมหาชนต่างๆ มาไว้ในระบบงบประมาณ ไม่น่าจะเกิดผลทำให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงได้โดยง่าย เพราะเป็นประเพณีที่ฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ จะไม่เข้าไปแตะต้อง เช่นเดียวกับ กรณีงบประมาณของศาล และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ซึ่งก็ไม่ได้ถูกแทรกแซงได้โดยระบบงบประมาณ ในระหว่าง 4 ปี ตามบทเฉพาะกาล ก็สามารถแก้พ.ร.บ.ให้ทั้งสององค์กร ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยแปรให้เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐจ่ายผ่านระบบงบประมาณแผ่นดินแทน
"อันที่จริง เป็นหลักการเดิมที่มีมาตั้งแต่ในร่างแรก คือ บัญญัติไว้ว่าการจ่ายเงินแผ่นดินต้องผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณฯ เป็นหลัก โดยพยายามนิยามคำว่า เงินแผ่นดิน ให้หมายรวมถึงภาษีอากรด้วย เพราะในระยะหลังๆ มีการก่อตั้งองค์กรใหม่ ที่หักเงินจากต้นทางภาษีก่อนเข้าคลังจำนวนมาก เงินเหล่านี้จะไม่ปรากฏใน พ.ร.บ.งบประมาณฯ ประจำปี ต่อมามีข้อเสนอให้ทบทวนตัดนิยามของเงินแผ่นดินออก จึงเขียนใหม่อย่างที่เห็น" แหล่งข่าวระบุ