วานนี้ (6 ก.ค.) ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญ ในหมวดรัฐสภา เฉพาะในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร โดยที่ประชุมคณะกมธ.ยกร่างฯ มีความเห็นร่วมกันว่า ควรใช้ระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนผสม และกำหนดให้ ส.ส.มีจำนวน 450-470 คน แบ่งเป็น ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจำนวน 300 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อจำนวน 150-170 คน ซึ่งในส่วนของการเลือกตั้งส.ส.บัญชีรายชื่อนั้น เห็นควรให้ชะลอการใช้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิดออกไปก่อน
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นสำคัญของการเลือกตั้ง ส.ส. ที่คณะกมธ.ยกร่างฯ เตรียมปรับถ้อยคำในร่างรัฐธรรมนูญ คือ การกำหนดกระบวนการให้มีการเลือกตั้งใหม่ หากเกิดกรณีที่ผู้สมัครส.ส. ได้รับคะแนนของผู้ประสงค์ไม่ลงคะแนน (โหวตโน) มากกว่าคะแนนเห็นชอบให้เป็นส.ส.
โดยคณะกมธ.ยกร่างฯ อภิปรายแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นว่า โดยหลักแล้วหากเกิดกรณีดังกล่าว ก็มีความจำเป็นที่ต้องเลือกตั้งส.ส.ใหม่ แต่ประเด็นที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนคือ หากผู้สมัครคนนั้นแพ้คะแนนโหวตโนอีก ควรจะมีกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกตั้งซ้ำแล้วซ้ำอีกจนสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ ดังนั้น คณะกมธ.ยกร่างฯ จึงเห็นควรให้มีการเพิ่มเนื้อหาด้วยการกำหนดคะแนนขั้นต่ำเอาไว้ สำหรับกรณีที่เกิดการเลือกตั้งใหม่ หลังจากมีผู้สมัคร ส.ส.แพ้คะแนนโหวตโน ต่อไป
ขณะเดียวกัน เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ส.ส. เป็นอีกประเด็นที่คณะกมธ.ยกร่างฯ อภิปรายค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ มาตรา 111 (15) ซึ่งระบุว่า ผู้สมัคร ส.ส.ต้องไม่เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือในการดำรงตำแหน่งอื่น ซึ่งคณะกมธ.ยกร่างฯได้หยิบคำขอแก้ไขของคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มาพิจารณา โดยคณะกมธ.ยกร่างฯ ยังไม่สามารถมีข้อสรุปได้ว่า จะแก้ไขถ้อยคำหรือไม่ เนื่องจากมีข้อเสนอให้ คณะกมธ.ยกร่างฯ ควรกำหนดลงไปให้ชัดเจนว่า ต้องเป็นบุคคลที่ถูกถอดถอนตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น ถึงจะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส.ได้ ซึ่งที่สุดแล้วคณะกมธ.ยกร่างฯ จึงได้ชะลอการพิจารณา มาตรา 111 (15) ออกไปก่อน
สำหรับการประชุมคณะกมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 7 ก.ค. จะยังคงพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร โดยจะเริ่มต้นที่มาตรา 117 ว่าด้วยการกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ภายใน 45 วัน ตั้งแต่วันที่อายุของสภาฯสิ้นสุดลง หรือสภาฯถูกยุบ
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า คณะกมธ.ยกร่างฯ จะนำประเด็นเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครส.ส.ไปหารือให้ได้ข้อสรุปในการประชุมนอกสถานที่ ระหว่างวันที่ 13-19 ก.ค. 57 ที่พัทยา จ.ชลบุรี อย่างไรก็ตาม ในหลักการแล้ว คณะกมธ.ยกร่างฯ จะบัญญัติห้ามบุคคลที่เป็นตัวการหลักในการทุจริตการเลือกตั้ง จะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส.ได้ ส่วนบุคคลที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยผลของกฎหมายอย่างกรณีบ้านเลขที่ 111 บ้านเลขที่ 109 นั้น จะไม่ขาดคุณสมบัติในการลงสมัครส.ส.
** "เทียนฉาย"ไม่เห็นด้วยลงมติลับ
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (6 ก.ค.) ที่รัฐสภา กลุ่มสันนิบาตเทศบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ นำโดยนายรัตนชัย ไชยคำมี ประธานสันนิบาตฯ เข้าให้กำลังใจนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พร้อมยื่นหนังสือสนับสนุน ร่างรัฐธรรมนูญ ที่บรรจุการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น
จากนั้นนายเทียนฉาย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าสมาชิกสปช. เสนอให้การโหวตร่างรัฐธรรมนูญเป็นการลงมติแบบลับ ว่า หากจะมีการลงมติลับ จะต้องแก้ไขข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ที่มีการแก้ไขก่อน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 57 เดิมกำหนดให้ลงมติ 3 วาระ แต่ที่แก้ไขใหม่กำหนดให้เพียงลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการประชุม สปช. ก่อน เพื่อที่จะแก้ไขข้อบังคับ ซึ่งจะต้องมีการประชุมกันก่อนวันที่ 17 ส.ค. เนื่องจากวันที่ 22 ส.ค. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่งร่างรัฐธรรมนูญให้สปช.แล้ว
ทั้งนี้ การจะลงมติลับหรือไม่นั้น สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับที่ประชุมว่าจะเห็นชอบหรือไม่ แต่ส่วนตัวเห็นว่า การลงมติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่น่าจะลงมติลับ
เมื่อถามว่าส่วนตัวเห็นควรจะลงมติลับหรือเปิดเผย นายเทียนฉาย กล่าวว่า ควรจะลงแบบปกติ ซึ่งจะทำให้รู้ว่า ใครลงมติอย่างไร ส่วนการลงมติลับหรือไม่ลับ ขณะนี้ไม่อยากให้วิพากษ์วิจารณ์กัน เพราะยังไม่ถึงเวลา
นายเทียนฉาย กล่าวต่อว่า จากข่าวที่ระบุว่า คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน จะส่งรายงานมาในวันนี้ (6 ก.ค.) นั้น ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับรายงาน ซึ่งหากส่งรายงานมา ก็ต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) ก่อน เพื่อจัดระเบียบวาระ ซึ่งขณะนี้ สปช.ได้จัดระเบียบวาระการประชุมหมดแล้ว เหลือว่างเพียงวันที่ 17-19 ส.ค. ซึ่งถือเป็นสัปดาห์สุดท้ายในการทำงานของสปช. ก่อนลงคะแนนเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเรื่องนี้จะเข้าสู่ที่ประชุม สปช. ได้ในช่วงวันดังกล่าว หากให้เร็วกว่าอาจนี้ อาจเสนอเป็นวาระแทรก แต่ต้องให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปฯ ที่อยู่ในวาระวันนั้นๆ ยินยอมก่อน
**ตัดโอเพ่นลิสต์ คงระบบหยั่งเสียง
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ วันนี้ จะเป็นการพิจารณาแก้ไขรายมาตรา ในหมวดรัฐสภา โดยจะเริ่มตั้งแต่การพิจารณาในบททั่วไป ตั้งแต่ มาตรา 96 ถึง มาตรา102 และ สภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่มาตรา 103 ถึงมาตรา 120
ทั้งนี้ การปรับในเรื่องสภาผู้แทนราษฎร เบื้องต้นแล้วจะมีการปรับเปลี่ยนในบางประเด็น เช่น การเลือกตั้งที่ง่ายขึ้น ไม่ซับซ้อน ทั้งการตัดเรื่องโอเพ่นลิสต์ ที่ให้ประชาชนเลือกบุคคลในระบบบัญชีรายชื่อ โดยถือให้ใช้วิธีการหยั่งเสียงจากสมาชิกพรรคการเมือง เพื่อเลือกผู้สมัครทั้งแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อแทน
ขณะที่โครงสร้างของสภาผู้แทนราษฎร ให้ระบบบัญชีรายชื่อ เป็นบัญชีเดียว จากเดิมที่กำหนดไว้ 6 ภาค เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อน แต่ก็ยังคงวิธีการคำนวณแบบสัดส่วนผสม ที่ใช้คะแนนนิยมจากการเลือกบัญชีรายชื่อ พรรคการเมือง มากำหนดจำนวนส.ส.ทั้งหมดที่พึงจะได้ รวมทั้งมีการปรับเรื่องจำนวน โดยส.ส.บัญชีรายชื่อ จากเดิม 200 คน เป็น 150 คน และแบบเบ่งเขตจาก 250 คน เป็น 300 คน
ส่วนการพิจารณาเรื่องวุฒิสภา พล.อ.เลิศรัตน์ คาดว่าจะมีการพิจารณาในวันพุธ ซึ่งจะต้องมีการพิจาณาว่าจะยืนไว้ตามเดิมหรือไม่ ทั้งเรื่องจำนวน ที่มาที่มีความสัมพันธ์กับอำนาจหน้าที่ในการถอดถอน แต่คงแก้ไขไม่ยาก เพราะมีเพียงไม่กี่มาตรา ซึ่งขณะนี้มีความชัดเจนแล้วในหลักการที่จะตัดเรื่องการไม่เสนอกฎหมาย และการกลั่นกรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี
พล.อ.เลิศรัตน์ ยังกล่าวถึงความต้องการของ สปช.บางฝ่าย ที่ต้องการให้รายงานความคืบหน้าการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่า ทางคณะกรรมาธิการฯต้องเร่งทำร่างให้เสร็จในสิ้นเดือนนี้ และตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม จะเชิญสปช. มารับฟังการชี้แจง ขณะที่การรายงานความคืบหน้า ก็มีการแจ้งให้ วิป สปช. ทราบมาโดยตลอด
** ยังไม่ต้องแก้รธน.ชั่วคราวเพื่อปฏิรูป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ระบุว่า การจะให้การปฏิรูปสำเร็จต้องมีการปรับแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวอีกครั้งว่า เรื่องดังกล่าวมีการคุยมานานแล้ว แต่วันนี้ยังไม่เห็นความเร่งด่วนที่จะทำเช่นนั้น ถ้าถึงจุดหนึ่ง มีความจำเป็นก็ทำได้ โดยสิ่งที่อาจต้องปรับคือ ต้องระบุให้ชัดเจนว่า ต้องการอะไร แต่ขณะนี้ไม่จำเป็นถึงขั้นแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว คิดว่าการปฏิรูป สามารถดำเนินได้ โดยไม่ต้องใช้รัฐธรรมนูญมาบีบ ทั้งความเต็มใจ ความสมัครใจ และความเข้าใจของผู้เกี่ยวข้องซึ่งสามารถทำได้
** คงกระจายอำนาจ-สิทธิชุมชน
วานนี้ สภาองค์กรชุมชนตำบล และสภาพัฒนาการเมือง นำโดย น.ส.วิภาศศิ ช้างทอง รองประธานที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล เข้ายื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสนับสนุนคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ให้คงหลักการสำคัญใน 2 เรื่อง คือ 1. การกระจายอำนาจ ตามมาตรา 82 (3) , มาตรา 211 มาตรา 215 และ มาตรา 285 ไว้ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินการที่มีผลกระทบต่อประชาชน และ 2. สิทธิชุมชน โดยให้คง มาตรา 63 และ มาตรา 64 ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ชุมชนมีสิทธิในการปกป้อง ดูแลรักษา ผลประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางวัฒนธรรม และชีวภาพอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ นายบวรศักดิ์ กล่าวยืนยันว่า เรื่องสิทธิชุมชน ยังคงไว้ และจะมีมากกว่าเดิมด้วย ส่วนเรื่องการกระจายอำนาจ ไม่ต้องกังวล เพราะไม่มีการปรับแก้อะไร ยกเว้นเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิรูป จะนำไปใส่ไว้ในกฎหมายลูกแทน
**ข้อเสนอปรองดองถึงมือ"เทียนฉาย"
นายอลงกรณ์ พลบุตร วิป สปช. กล่าวว่า คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สปช. เป็นประธาน ได้ส่งรายงาน และข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างความปรองดองที่ได้พิจารณาเสร็จแล้ว ให้แก่ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.เรียบร้อยแล้ว เมื่อช่วงบ่าย วันที่ 6 ก.ค. หลังจากนี้ นายเทียนฉาย จะพิจารณาว่า จะส่งรายงานดังกล่าวเข้าสู่ระเบียบวาระต่อที่ประชุมสปช.เมื่อใด และจะส่งต่อรายงานให้รัฐบาลหรือไม่ แม้ขณะนี้ สปช. มีวาระพิจารณาโรดแมปการปฏิรูปด้านต่างๆ ในที่ประชุมสปช. ยาวถึงกลางเดือนส.ค. แต่นายเทียนฉายสามารถจัดระเบียบวาระเรื่องนี้เป็นวาระเพิ่มเติม หรือเรียกประชุม สปช. เป็นวาระพิเศษ เพื่อพิจารณารายงานสร้างความปรองดองได้
** กกต.ร่างระเบียบทำประชามติ
วานนี้ (6 ก.ค.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ที่ประชุมกกต.ได้มีการพิจารณา ร่างประกาศ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่สำนักงาน กกต. เสนอเป็นร่างแรก โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะอธิบายรายละเอียดถึงกระบวนการในการออกเสียงประชามติ และที่จะมีเพิ่มเติมเข้ามา คือ การให้อำนาจ กกต.สามารถเรียกหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือตอนทำประชามติได้ เมื่อที่ประชุม กกต.พิจารณาแล้วก็ได้ให้คณะกรรมการยกร่างประกาศดังกล่าว กลับไปดูความเรียบร้อยอีกครั้ง รวมทั้งให้ข้อสังเกตว่า หากเกิดกรณีที่มีการจลาจลตอนทำประชามติ เหมือนเหตุการณ์เลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 จะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ซึ่งในประเด็นนี้ได้ระบุในร่างประกาศฯแล้วว่า กกต.มีอำนาจในการเลื่อนการออกเสียงประชามติได้ แต่เนื้อหาโดยหลัก น่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก คาดว่า ร่าง ประกาศดังกล่าว จะเข้าที่ประชุม กกต. อีกครั้งในสัปดาห์หน้า
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า หากให้สำนักงาน กกต. เป็นฝ่ายออกประกาศ และระเบียบในการทำประชามติ มีความเสี่ยงว่าหากเกิดความผิดพลาด จะทำให้สำนักงานกกต.ถูกฟ้องนั้น ตนขอบคุณสำหรับผู้ที่ตั้งข้อสังเกตุ และมีความห่วงใยต่อสำนักงานฯ แต่ประเด็นนี้ ถ้าสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ทางรัฐบาลได้แนะนำว่า กกต.ก็ต้องส่งร่างประกาศฯ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก็เท่ากับว่าร่างประกาศฯ นี้จะมีลักษณะเหมือนเป็นพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นสำคัญของการเลือกตั้ง ส.ส. ที่คณะกมธ.ยกร่างฯ เตรียมปรับถ้อยคำในร่างรัฐธรรมนูญ คือ การกำหนดกระบวนการให้มีการเลือกตั้งใหม่ หากเกิดกรณีที่ผู้สมัครส.ส. ได้รับคะแนนของผู้ประสงค์ไม่ลงคะแนน (โหวตโน) มากกว่าคะแนนเห็นชอบให้เป็นส.ส.
โดยคณะกมธ.ยกร่างฯ อภิปรายแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นว่า โดยหลักแล้วหากเกิดกรณีดังกล่าว ก็มีความจำเป็นที่ต้องเลือกตั้งส.ส.ใหม่ แต่ประเด็นที่ต้องกำหนดให้ชัดเจนคือ หากผู้สมัครคนนั้นแพ้คะแนนโหวตโนอีก ควรจะมีกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกตั้งซ้ำแล้วซ้ำอีกจนสิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ ดังนั้น คณะกมธ.ยกร่างฯ จึงเห็นควรให้มีการเพิ่มเนื้อหาด้วยการกำหนดคะแนนขั้นต่ำเอาไว้ สำหรับกรณีที่เกิดการเลือกตั้งใหม่ หลังจากมีผู้สมัคร ส.ส.แพ้คะแนนโหวตโน ต่อไป
ขณะเดียวกัน เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ ส.ส. เป็นอีกประเด็นที่คณะกมธ.ยกร่างฯ อภิปรายค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ มาตรา 111 (15) ซึ่งระบุว่า ผู้สมัคร ส.ส.ต้องไม่เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือในการดำรงตำแหน่งอื่น ซึ่งคณะกมธ.ยกร่างฯได้หยิบคำขอแก้ไขของคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มาพิจารณา โดยคณะกมธ.ยกร่างฯ ยังไม่สามารถมีข้อสรุปได้ว่า จะแก้ไขถ้อยคำหรือไม่ เนื่องจากมีข้อเสนอให้ คณะกมธ.ยกร่างฯ ควรกำหนดลงไปให้ชัดเจนว่า ต้องเป็นบุคคลที่ถูกถอดถอนตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น ถึงจะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส.ได้ ซึ่งที่สุดแล้วคณะกมธ.ยกร่างฯ จึงได้ชะลอการพิจารณา มาตรา 111 (15) ออกไปก่อน
สำหรับการประชุมคณะกมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 7 ก.ค. จะยังคงพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร โดยจะเริ่มต้นที่มาตรา 117 ว่าด้วยการกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ภายใน 45 วัน ตั้งแต่วันที่อายุของสภาฯสิ้นสุดลง หรือสภาฯถูกยุบ
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า คณะกมธ.ยกร่างฯ จะนำประเด็นเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครส.ส.ไปหารือให้ได้ข้อสรุปในการประชุมนอกสถานที่ ระหว่างวันที่ 13-19 ก.ค. 57 ที่พัทยา จ.ชลบุรี อย่างไรก็ตาม ในหลักการแล้ว คณะกมธ.ยกร่างฯ จะบัญญัติห้ามบุคคลที่เป็นตัวการหลักในการทุจริตการเลือกตั้ง จะไม่สามารถลงสมัคร ส.ส.ได้ ส่วนบุคคลที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยผลของกฎหมายอย่างกรณีบ้านเลขที่ 111 บ้านเลขที่ 109 นั้น จะไม่ขาดคุณสมบัติในการลงสมัครส.ส.
** "เทียนฉาย"ไม่เห็นด้วยลงมติลับ
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (6 ก.ค.) ที่รัฐสภา กลุ่มสันนิบาตเทศบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ นำโดยนายรัตนชัย ไชยคำมี ประธานสันนิบาตฯ เข้าให้กำลังใจนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พร้อมยื่นหนังสือสนับสนุน ร่างรัฐธรรมนูญ ที่บรรจุการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่น
จากนั้นนายเทียนฉาย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าสมาชิกสปช. เสนอให้การโหวตร่างรัฐธรรมนูญเป็นการลงมติแบบลับ ว่า หากจะมีการลงมติลับ จะต้องแก้ไขข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ที่มีการแก้ไขก่อน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 57 เดิมกำหนดให้ลงมติ 3 วาระ แต่ที่แก้ไขใหม่กำหนดให้เพียงลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการประชุม สปช. ก่อน เพื่อที่จะแก้ไขข้อบังคับ ซึ่งจะต้องมีการประชุมกันก่อนวันที่ 17 ส.ค. เนื่องจากวันที่ 22 ส.ค. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่งร่างรัฐธรรมนูญให้สปช.แล้ว
ทั้งนี้ การจะลงมติลับหรือไม่นั้น สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับที่ประชุมว่าจะเห็นชอบหรือไม่ แต่ส่วนตัวเห็นว่า การลงมติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่น่าจะลงมติลับ
เมื่อถามว่าส่วนตัวเห็นควรจะลงมติลับหรือเปิดเผย นายเทียนฉาย กล่าวว่า ควรจะลงแบบปกติ ซึ่งจะทำให้รู้ว่า ใครลงมติอย่างไร ส่วนการลงมติลับหรือไม่ลับ ขณะนี้ไม่อยากให้วิพากษ์วิจารณ์กัน เพราะยังไม่ถึงเวลา
นายเทียนฉาย กล่าวต่อว่า จากข่าวที่ระบุว่า คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน จะส่งรายงานมาในวันนี้ (6 ก.ค.) นั้น ขณะนี้ตนยังไม่ได้รับรายงาน ซึ่งหากส่งรายงานมา ก็ต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) ก่อน เพื่อจัดระเบียบวาระ ซึ่งขณะนี้ สปช.ได้จัดระเบียบวาระการประชุมหมดแล้ว เหลือว่างเพียงวันที่ 17-19 ส.ค. ซึ่งถือเป็นสัปดาห์สุดท้ายในการทำงานของสปช. ก่อนลงคะแนนเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเรื่องนี้จะเข้าสู่ที่ประชุม สปช. ได้ในช่วงวันดังกล่าว หากให้เร็วกว่าอาจนี้ อาจเสนอเป็นวาระแทรก แต่ต้องให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปฯ ที่อยู่ในวาระวันนั้นๆ ยินยอมก่อน
**ตัดโอเพ่นลิสต์ คงระบบหยั่งเสียง
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างฯ วันนี้ จะเป็นการพิจารณาแก้ไขรายมาตรา ในหมวดรัฐสภา โดยจะเริ่มตั้งแต่การพิจารณาในบททั่วไป ตั้งแต่ มาตรา 96 ถึง มาตรา102 และ สภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่มาตรา 103 ถึงมาตรา 120
ทั้งนี้ การปรับในเรื่องสภาผู้แทนราษฎร เบื้องต้นแล้วจะมีการปรับเปลี่ยนในบางประเด็น เช่น การเลือกตั้งที่ง่ายขึ้น ไม่ซับซ้อน ทั้งการตัดเรื่องโอเพ่นลิสต์ ที่ให้ประชาชนเลือกบุคคลในระบบบัญชีรายชื่อ โดยถือให้ใช้วิธีการหยั่งเสียงจากสมาชิกพรรคการเมือง เพื่อเลือกผู้สมัครทั้งแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อแทน
ขณะที่โครงสร้างของสภาผู้แทนราษฎร ให้ระบบบัญชีรายชื่อ เป็นบัญชีเดียว จากเดิมที่กำหนดไว้ 6 ภาค เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อน แต่ก็ยังคงวิธีการคำนวณแบบสัดส่วนผสม ที่ใช้คะแนนนิยมจากการเลือกบัญชีรายชื่อ พรรคการเมือง มากำหนดจำนวนส.ส.ทั้งหมดที่พึงจะได้ รวมทั้งมีการปรับเรื่องจำนวน โดยส.ส.บัญชีรายชื่อ จากเดิม 200 คน เป็น 150 คน และแบบเบ่งเขตจาก 250 คน เป็น 300 คน
ส่วนการพิจารณาเรื่องวุฒิสภา พล.อ.เลิศรัตน์ คาดว่าจะมีการพิจารณาในวันพุธ ซึ่งจะต้องมีการพิจาณาว่าจะยืนไว้ตามเดิมหรือไม่ ทั้งเรื่องจำนวน ที่มาที่มีความสัมพันธ์กับอำนาจหน้าที่ในการถอดถอน แต่คงแก้ไขไม่ยาก เพราะมีเพียงไม่กี่มาตรา ซึ่งขณะนี้มีความชัดเจนแล้วในหลักการที่จะตัดเรื่องการไม่เสนอกฎหมาย และการกลั่นกรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี
พล.อ.เลิศรัตน์ ยังกล่าวถึงความต้องการของ สปช.บางฝ่าย ที่ต้องการให้รายงานความคืบหน้าการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ว่า ทางคณะกรรมาธิการฯต้องเร่งทำร่างให้เสร็จในสิ้นเดือนนี้ และตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม จะเชิญสปช. มารับฟังการชี้แจง ขณะที่การรายงานความคืบหน้า ก็มีการแจ้งให้ วิป สปช. ทราบมาโดยตลอด
** ยังไม่ต้องแก้รธน.ชั่วคราวเพื่อปฏิรูป
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ระบุว่า การจะให้การปฏิรูปสำเร็จต้องมีการปรับแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวอีกครั้งว่า เรื่องดังกล่าวมีการคุยมานานแล้ว แต่วันนี้ยังไม่เห็นความเร่งด่วนที่จะทำเช่นนั้น ถ้าถึงจุดหนึ่ง มีความจำเป็นก็ทำได้ โดยสิ่งที่อาจต้องปรับคือ ต้องระบุให้ชัดเจนว่า ต้องการอะไร แต่ขณะนี้ไม่จำเป็นถึงขั้นแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว คิดว่าการปฏิรูป สามารถดำเนินได้ โดยไม่ต้องใช้รัฐธรรมนูญมาบีบ ทั้งความเต็มใจ ความสมัครใจ และความเข้าใจของผู้เกี่ยวข้องซึ่งสามารถทำได้
** คงกระจายอำนาจ-สิทธิชุมชน
วานนี้ สภาองค์กรชุมชนตำบล และสภาพัฒนาการเมือง นำโดย น.ส.วิภาศศิ ช้างทอง รองประธานที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล เข้ายื่นหนังสือต่อ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสนับสนุนคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ให้คงหลักการสำคัญใน 2 เรื่อง คือ 1. การกระจายอำนาจ ตามมาตรา 82 (3) , มาตรา 211 มาตรา 215 และ มาตรา 285 ไว้ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินการที่มีผลกระทบต่อประชาชน และ 2. สิทธิชุมชน โดยให้คง มาตรา 63 และ มาตรา 64 ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ชุมชนมีสิทธิในการปกป้อง ดูแลรักษา ผลประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางวัฒนธรรม และชีวภาพอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ นายบวรศักดิ์ กล่าวยืนยันว่า เรื่องสิทธิชุมชน ยังคงไว้ และจะมีมากกว่าเดิมด้วย ส่วนเรื่องการกระจายอำนาจ ไม่ต้องกังวล เพราะไม่มีการปรับแก้อะไร ยกเว้นเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิรูป จะนำไปใส่ไว้ในกฎหมายลูกแทน
**ข้อเสนอปรองดองถึงมือ"เทียนฉาย"
นายอลงกรณ์ พลบุตร วิป สปช. กล่าวว่า คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. ที่มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สปช. เป็นประธาน ได้ส่งรายงาน และข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างความปรองดองที่ได้พิจารณาเสร็จแล้ว ให้แก่ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.เรียบร้อยแล้ว เมื่อช่วงบ่าย วันที่ 6 ก.ค. หลังจากนี้ นายเทียนฉาย จะพิจารณาว่า จะส่งรายงานดังกล่าวเข้าสู่ระเบียบวาระต่อที่ประชุมสปช.เมื่อใด และจะส่งต่อรายงานให้รัฐบาลหรือไม่ แม้ขณะนี้ สปช. มีวาระพิจารณาโรดแมปการปฏิรูปด้านต่างๆ ในที่ประชุมสปช. ยาวถึงกลางเดือนส.ค. แต่นายเทียนฉายสามารถจัดระเบียบวาระเรื่องนี้เป็นวาระเพิ่มเติม หรือเรียกประชุม สปช. เป็นวาระพิเศษ เพื่อพิจารณารายงานสร้างความปรองดองได้
** กกต.ร่างระเบียบทำประชามติ
วานนี้ (6 ก.ค.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ที่ประชุมกกต.ได้มีการพิจารณา ร่างประกาศ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่สำนักงาน กกต. เสนอเป็นร่างแรก โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะอธิบายรายละเอียดถึงกระบวนการในการออกเสียงประชามติ และที่จะมีเพิ่มเติมเข้ามา คือ การให้อำนาจ กกต.สามารถเรียกหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือตอนทำประชามติได้ เมื่อที่ประชุม กกต.พิจารณาแล้วก็ได้ให้คณะกรรมการยกร่างประกาศดังกล่าว กลับไปดูความเรียบร้อยอีกครั้ง รวมทั้งให้ข้อสังเกตว่า หากเกิดกรณีที่มีการจลาจลตอนทำประชามติ เหมือนเหตุการณ์เลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 จะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ซึ่งในประเด็นนี้ได้ระบุในร่างประกาศฯแล้วว่า กกต.มีอำนาจในการเลื่อนการออกเสียงประชามติได้ แต่เนื้อหาโดยหลัก น่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก คาดว่า ร่าง ประกาศดังกล่าว จะเข้าที่ประชุม กกต. อีกครั้งในสัปดาห์หน้า
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า หากให้สำนักงาน กกต. เป็นฝ่ายออกประกาศ และระเบียบในการทำประชามติ มีความเสี่ยงว่าหากเกิดความผิดพลาด จะทำให้สำนักงานกกต.ถูกฟ้องนั้น ตนขอบคุณสำหรับผู้ที่ตั้งข้อสังเกตุ และมีความห่วงใยต่อสำนักงานฯ แต่ประเด็นนี้ ถ้าสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ทางรัฐบาลได้แนะนำว่า กกต.ก็ต้องส่งร่างประกาศฯ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก็เท่ากับว่าร่างประกาศฯ นี้จะมีลักษณะเหมือนเป็นพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา