ASTVผู้จัดการรายวัน- กมธ.ยกร่างฯยอมถอยให้ ไทยพีบีเอส สสส. และ กองทุนกีฬา ใช้ภาษีบาปโดยตรงชั่วนิรันดร์ ด้าน"4 สปช." ป้อง สสส.-ไทยพีบีเอส ชงกมธ.ยกร่างฯ ทบทวนข้อเสนอของ"หม่อมอุ๋ย" เครือข่ายสุขภาพต้าน "หม่อมอุ๋ย" ห้าม สสส.ใช้เงินภาษีบาป ผจก.กองทุนสสส. ระบุ กมธ.เข้าใจคลาดเคลื่อน แจงภาษีบาปแค่ส่วนเพิ่มจากภาษีปกติ “ยงยุทธ”ขวางแก้ร่างรธน.“สสส.-ไทยพีบีเอส”
วานนี้ (4 ส.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง การเขียนบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ ให้ ไทยพีบีเอส สสส. และกองทุนกีฬา สามารถใช้ภาษีบาปได้โดยตรงอีกแค่ 4 ปี ว่า เมื่อช่วงเช้าได้มีโอกาสสนทนาอย่างไม่เป็นทางการกับ กมธ.ยกร่างฯ บางคน เห็นร่วมกันว่าจะเสนอทบทวนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกรณี สสส., ThaiPBS และกองทุนกีฬา โดยน่าจะทบทวนเป็น 2 ระดับ
ระดับแรก ที่ต้องทบทวนแน่ๆ คือทบทวนบทเฉพาะกาล จากเดิมที่มีระยะหน่วง 4 ปี เป็นการยกเว้นถาวรให้ 3 องค์กรที่เกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้ และการใช้งบประมาณ ก็ไม่ต้องผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี เช่นเดิม ซึ่งแนวทางนี้อาจจะมากกว่า 3 องค์กร หากก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้ มีกฎหมายใหม่ออกมาอีก ทราบจากสมาชิก สนช.ว่า มีร่างกฎหมายทำนองนี้อยู่อีกสองสามฉบับ
ระดับต่อมาคือ อาจทบทวนบทบัญญัติปกติในหมวดการคลังการงบประมาณด้วย โดยอาจปรับข้อความให้คลายตัวลงไม่ห้าม (ออกกฎหมายตั้งหน่วยงานเก็บภาษีต้นทาง มาเป็นทุนดำเนินงาน หรือ Earmarked Tax เด็ดขาด แต่ให้คำนึงถึงวินัยการเงินการคลังในระดับหลังที่อาจมีการทบทวน เพราะกรรมาธิการเคยเข้าใจว่า Earmarked Tax เป็นการหักภาษีที่้เก็บได้ไปใช้ก่อนส่งเข้าคลัง แต่แท้จริงแล้ว เป็นการให้อำนาจหน่วยงานนั้นเก็บเพิ่มเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดภาษีที่ส่งเข้าคลัง คือ ไม่ใช่เก็บมาได้ 100 % หักออก 2 % เข้าคลัง 98% แต่เป็นเสียภาษีเข้าคลัง 100 % เสียเพิ่มให้องค์กรอีก 2% การห้ามจึงไม่มีผลกระทบต่อ ยอดภาษีที่ส่งเข้าคลัง คลังไม่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น ได้เท่าเดิม แต่บริษัทเหล้า บุหรี่ประหยัดค่าภาษีที่ต้องเสียเพิ่มให้องค์กรนั้นๆไป
" ถ้าบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้นใหม่ ทำให้รัฐได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจริง เราก็จะยืนหยัดคงไว้ แต่ถ้านอกจากรัฐไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แล้วบริษัทเหล้า บุหรี่ ยังได้ประโยชน์โดยเสียเงินน้อยลง ขณะที่องค์กรที่มีเป้าหมายทำสาธารณะประโยชน์ต้องได้รับผลกระทบ เราก็จำเป็นต้องทบทวน "
นายคำนูณ กล่าวและว่า สำหรับ ตัวอย่าง Earmarked tax ของ 2 องค์กร โดยกฎหมายของ ส.ส.ส. ปี 2544 มาตรา 11 ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษี ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ ให้ปัดทิ้ง
ขณะที่กฎหมาย ไทยพีบีเอส ปี 2551 มาตรา 12 ให้องค์การมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละหนึ่งจุดห้าของภาษีที่เก็บจากสุรา และยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกินสองพันล้านบาท และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจในการปรับเพิ่มรายได้สูงสุดตามมาตรานี้ทุกสามปี เพื่อให้องค์การมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ โดยให้พิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อของปีที่ผ่านมา ประกอบกับขอบเขตการดำเนินงานขององค์กร
"จะเห็นได้ว่า จากกฎหมายของทั้ง 2 องค์กร เงิน 2% และ 1.5% ที่เขาได้ไป ไม่ได้มาจากการหักออกจากภาษีที่บริษัทเหล้า บุหรี่ เสียให้รัฐแต่เป็นการเก็บเพิ่ม ถ้าห้าม รัฐก็ได้เท่าเดิม แต่บริษัทเหล้าบุหรี่ประหยัดเงินลง เพราะไม่ต้องเสียอีก 2 % และ 1.5%" โฆษกกมธ.ยกร่างฯ ระบุ
**"4สปช."โดดป้องสสส.-ไทยพีบีเอส
เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ ที่รัฐสภา นายประสาร มฤคพิทักษ์ น.ส.รสนา โตสิตระกูล นายวิทยา กุลสมบูรณ์ และ นายวินัย ดะห์ลัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) เสนอให้ทบทวนข้อเสนอของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 และ มาตรา 204 วรรคสอง เกี่ยวกับการใช้งบประมาณให้เป็นตามวินัยการเงินการคลัง ที่เสนอให้ไม่นำภาษีบาปมาอุดหนุนกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) โดยให้ทั้ง 2 องค์กรของบประมาณจากรัฐสภาแทน โดยน.ส.รสนา กล่าวว่า จุดประสงค์ของภาษีบาปที่ใช้อุดหนุนกับกองทุน ก็เพื่อต่อกรบรรษัทต่างชาติ ที่ทำอบายมุขทั้งบุหรี่ และเหล้า ซึ่งมีอิทธิพลกับนักการเมือง การให้ทั้ง 2 องค์กร และกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ที่ สนช. เพิ่งผ่านเป็นกฎหมายของบประมาณจากรัฐสภา อาจถูกนักการเมืองปรับลด หรือตัดงบประมาณได้ จึงขอให้กมธ.ยกร่างฯ ทบทวนเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
นายประสาร กล่าวว่า งบประมาณที่ สสส.ใช้ 2 พันล้านบาท มีส่วนทำให้การบริโภคบุหรี่ลดลง 1.3 หมื่นล้านบาท และ เหล้า 1.7 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ทั้ง สสส. และไทยพีบีเอส ก็ได้รับการตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างละเอียดอยู่แล้ว จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) และรัฐสภา รับทราบอยู่แล้ว
**** เครือข่ายสุขภาพต้าน "หม่อมอุ๋ย"
นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวถึงกรณีข้อเสนอของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวกับการใช้งบประมาณ โดยไม่ให้นำภาษีบาปมาอุดหนุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) โดยให้ของบประมาณจากรัฐสภาแทน ว่า เรื่องนี้ไม่สมควร เพราะเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ทั้งนี้ สสส.เกิดมาจาก พ.ร.บ.ที่ถือเป็นนวัตกรรมในการทำงานควบคุมปัญหาจากเหล้า บุหรี่ และปัญหาสุขภาพต่างๆ ซึ่งสามารถควบคุมปัญหาได้ดี ซึ่งในโลกนี้มีไม่กี่ประเทศที่ทำงานลักษณะ สสส. โดยนำเงินจากภาษีบาป คือธุรกิจเหล้าและบุหรี่มารณรงค์และป้องกันปัญหา ที่สำคัญภาษีที่ดึงมา 2% เป็นการเก็บเพิ่มจากภาษีปกติที่ให้รัฐบาล ดังนั้น ไม่กระทบภาครัฐ หนำซ้ำยังก่อประโยชน์ในภาพรวม จึงไม่เห็นด้วยที่จะมีการปรับแก้การใช้งบฯ ของสสส. เพราะจะกระทบต่อประชาชน
นพ.หทัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาชัดเจนว่า สสส.มีระบบตรวจสอบถี่ถ้วน โดยเฉพาะสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบตลอด หากสงสัยก็ไปถาม สตง.ได้
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า การทำงานควบคุมปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ หากจะให้รัฐดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเต็มที่คงทำไม่ได้จริงจัง เพราะต้องยอมรับว่ารัฐได้ประโยชน์จากภาษี ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาจึงมีการศึกษาแนวทางแก้ปัญหาจนพบว่า ต้องใช้วิธีเกลือจิ้มเกลือ โดยการนำเงินของธุรกิจเหล้าและบุหรี่มาควบคุมตัวเอง ผ่านการทำงานรณรงค์อย่างเข้มข้น ซึ่ง สสส.ทำมาตลอด ผลงานมีให้เห็น โดย สคล.เป็นเครือข่ายที่ได้รับทุนสนับสนุนก็ทำงานมาตลอดด้วย ซึ่งสามารถรวบรวมผลงานให้ดูได้
***ผจก.กองทุนสสส. ระบุ กมธ.เข้าใจคลาดเคลื่อน
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 กำหนดไม่ให้มีการตรากฎหมายให้หน่วยงานรัฐจัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และให้มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินดังกล่าวอีก 4 ปีหลังประกาศใช้ ว่า ขณะนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องระบบการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) หรือภาษีบาปรวมร้อยละ 5.5 แต่ความจริงไม่ใช่ โดยสัดส่วนภาษีจำนวนดังกล่าว เป็นการเก็บภาษีพิเศษเพิ่มจากภาษีปกติที่ต้องจ่าย
“ผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้ อาจมีความเข้าใจผิด หรือได้รับข้อมูลเพียงบางส่วนว่า การดึงเงินภาษีบาปส่วนนี้ กลับไปสู่ระบบงบประมาณราชการจะทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง ประเทศเสียประโยชน์ เพราะรัฐบาลกลับต้องนำภาษีปกติมาจัดสรรให้แทน ขณะที่ธุรกิจบาปจะเป็นผู้รับประโยชน์จากการยกเลิกEarmarked Tax โดยตรง เพราะไม่ต้องจ่ายภาษีพิเศษตรงนี้เพิ่มที่มีมูลค่านับ10,000 ล้านบาท เงินเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดกับประเทศไทย ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งรายได้จากภาษีบาปส่วนใหญ่ มาจากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบข้ามชาติ ขณะที่รายได้ภาษีจากโรงงานยาสูบ มีเพียงส่วนน้อยมาก” ผจก. สสส. กล่าว
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า ขณะนี้ สสส. อยู่ระหว่างการสรุปเรื่องดังกล่าวรายงานให้แก่คณะกรรมการกองทุน สสส. โดยเร็วที่สุด เพื่อรับทราบข้อเสนอแนะและความเห็นว่า ควรจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร พร้อมเตรียมทำหนังสือชี้แจงไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบของการยกเลิก Earmarked Tax ซึ่งในต่างประเทศการเก็บภาษีแบบEarmarked Tax มักจะใช้กับเรื่องสำคัญๆ เช่น สุขภาพ สื่อ และกีฬา ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์ ประเทศที่มีระบบ Earmarked Tax ตามระเบียบวินัยทางการเงินจะร้อยละ 5 ของงบประมาณแผ่นดิน แต่ประเทศไทยขณะนี้ อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ของงบประมาณแผ่นดินเท่านั้น
ทั้งนี้ การบริหารงาน สสส. ในปัจจุบัน ถือว่ามีดำเนินงานเทียบเท่าหน่วยงานรัฐต่างๆ เห็นได้จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงกว่า 1.2 ล้านคน คนดื่มเหล้าลดลง ช่วยประหยัดงบประมาณไปมากกว่า 20,000 ล้านบาท งานลดอุบัติเหตุ ช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตร้อยละ 48 ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นมากกว่า แสนล้านบาท ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวคงเกิดขึ้นไม่ได้ หากอยู่ในระบบราชการ และความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจาก สสส. แต่เกิดจากการทำงานลงไปสนับสนุนเครือข่าย ภาคประชาสังคม และชุมชนต่างๆ ในการขับเคลื่อน ซึ่งมีมากกว่า 10,000 องค์กร และคนทำงานมากกว่า 1 ล้านคนซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นได้คือ ความคล่องตัวในการบริหารจัดการและความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า จากตัวอย่างในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา องค์กรที่มีลักษณะเดียวกับ สสส. ก็ถูกกลุ่มธุรกิจโจมตีและยุบองค์กรไป เกิดจากการทำงานขับเคลื่อนด้านการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ส่งผลโดยตรงกับกลุ่มธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจและอิทธิพลอย่างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทำงานที่ได้ผล ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงพิษภัยของสิ่งเหล่านี้ และตระหนักถึงสุขภาพมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสว่าอาจเป็นความพยายามในการล้ม สสส. ทพ.กฤษดา กล่าวว่า อาจมีความเชื่อมโยง เพราะการดำเนินงาน สสส.เชื่อมโยงกับธุรกิจเหล้าและบุหรี่ ทำให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวเสียประโยชน์
*** “ยงยุทธ”ขวางแก้ร่างรธน.“
เมื่อเวลา 15.20 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านสังคม กล่าวถึงกรณีที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวถึงข้อเสนอกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้มีการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของที่เกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ ในมาตรา 204 วรรคสอง ว่าด้วยการใช้เงินของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส) และกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่แบ่งรายได้จากภาษีสุราและยาสูบจากที่ใช้โดยตรง เปลี่ยนเป็นต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาว่า เป็นเรื่องที่ทางกมธ.ยกร่างฯบางท่านได้เสนอเช่นนี้ เป็นเรื่องที่กมธ.ยกร่างฯจะไปพิจารณา รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้เสนอ โดยมีผู้ที่เป็นห่วงว่าจะมีหน่วยงานที่ขอใช้ภาษีสรรพสามิตมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขณะนี้มีแค่ 2 หน่วยเท่านั้น คือสสส.กับไทยพีบีเอส และกำลังจะมีการเสนอในส่วนของกองทุนการกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสร้างการเรียนรู้ ขอใช้ภาษีนี้ ดังนั้น หากมีมากขึ้นจะกลายเป็นการผิดหลักการในการใช้ภาษีบาป
“ แต่เราได้บอกว่าที่ทำมา 2 หน่วยงานนั้นก็ทำมาได้อย่างดี ถ้าเผื่อจะไม่มีใหม่ก็ไม่ว่ากัน แต่ 2 หน่วยงานก็น่าจะยังคงอยู่ แต่ตรงนี้เป็นความเห็นส่วนตัว”นายยงยุทธ กล่าวและเมื่อถามว่า มีการเกรงกันว่า หากมีการให้มีการใช้งบประมาณนี้ โดยผ่านรัฐสภา โดยบัญญัติไว้ในหลักการของรัฐธรรมนูญ จะทำให้การเมืองสามารถแทรกแซงการทำงานได้นั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า อันนั้นก็เป็นสิ่งที่ตนเป็นห่วง
วานนี้ (4 ส.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง การเขียนบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ ให้ ไทยพีบีเอส สสส. และกองทุนกีฬา สามารถใช้ภาษีบาปได้โดยตรงอีกแค่ 4 ปี ว่า เมื่อช่วงเช้าได้มีโอกาสสนทนาอย่างไม่เป็นทางการกับ กมธ.ยกร่างฯ บางคน เห็นร่วมกันว่าจะเสนอทบทวนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกรณี สสส., ThaiPBS และกองทุนกีฬา โดยน่าจะทบทวนเป็น 2 ระดับ
ระดับแรก ที่ต้องทบทวนแน่ๆ คือทบทวนบทเฉพาะกาล จากเดิมที่มีระยะหน่วง 4 ปี เป็นการยกเว้นถาวรให้ 3 องค์กรที่เกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้ และการใช้งบประมาณ ก็ไม่ต้องผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี เช่นเดิม ซึ่งแนวทางนี้อาจจะมากกว่า 3 องค์กร หากก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้ มีกฎหมายใหม่ออกมาอีก ทราบจากสมาชิก สนช.ว่า มีร่างกฎหมายทำนองนี้อยู่อีกสองสามฉบับ
ระดับต่อมาคือ อาจทบทวนบทบัญญัติปกติในหมวดการคลังการงบประมาณด้วย โดยอาจปรับข้อความให้คลายตัวลงไม่ห้าม (ออกกฎหมายตั้งหน่วยงานเก็บภาษีต้นทาง มาเป็นทุนดำเนินงาน หรือ Earmarked Tax เด็ดขาด แต่ให้คำนึงถึงวินัยการเงินการคลังในระดับหลังที่อาจมีการทบทวน เพราะกรรมาธิการเคยเข้าใจว่า Earmarked Tax เป็นการหักภาษีที่้เก็บได้ไปใช้ก่อนส่งเข้าคลัง แต่แท้จริงแล้ว เป็นการให้อำนาจหน่วยงานนั้นเก็บเพิ่มเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดภาษีที่ส่งเข้าคลัง คือ ไม่ใช่เก็บมาได้ 100 % หักออก 2 % เข้าคลัง 98% แต่เป็นเสียภาษีเข้าคลัง 100 % เสียเพิ่มให้องค์กรอีก 2% การห้ามจึงไม่มีผลกระทบต่อ ยอดภาษีที่ส่งเข้าคลัง คลังไม่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น ได้เท่าเดิม แต่บริษัทเหล้า บุหรี่ประหยัดค่าภาษีที่ต้องเสียเพิ่มให้องค์กรนั้นๆไป
" ถ้าบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้นใหม่ ทำให้รัฐได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจริง เราก็จะยืนหยัดคงไว้ แต่ถ้านอกจากรัฐไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แล้วบริษัทเหล้า บุหรี่ ยังได้ประโยชน์โดยเสียเงินน้อยลง ขณะที่องค์กรที่มีเป้าหมายทำสาธารณะประโยชน์ต้องได้รับผลกระทบ เราก็จำเป็นต้องทบทวน "
นายคำนูณ กล่าวและว่า สำหรับ ตัวอย่าง Earmarked tax ของ 2 องค์กร โดยกฎหมายของ ส.ส.ส. ปี 2544 มาตรา 11 ให้กองทุนมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษี ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในการคำนวณเงินบำรุงกองทุนตามอัตราที่กำหนดในวรรคหนึ่ง หากมีเศษของหนึ่งสตางค์ ให้ปัดทิ้ง
ขณะที่กฎหมาย ไทยพีบีเอส ปี 2551 มาตรา 12 ให้องค์การมีอำนาจจัดเก็บเงินบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ในอัตราร้อยละหนึ่งจุดห้าของภาษีที่เก็บจากสุรา และยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ โดยให้มีรายได้สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกินสองพันล้านบาท และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจในการปรับเพิ่มรายได้สูงสุดตามมาตรานี้ทุกสามปี เพื่อให้องค์การมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ โดยให้พิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อของปีที่ผ่านมา ประกอบกับขอบเขตการดำเนินงานขององค์กร
"จะเห็นได้ว่า จากกฎหมายของทั้ง 2 องค์กร เงิน 2% และ 1.5% ที่เขาได้ไป ไม่ได้มาจากการหักออกจากภาษีที่บริษัทเหล้า บุหรี่ เสียให้รัฐแต่เป็นการเก็บเพิ่ม ถ้าห้าม รัฐก็ได้เท่าเดิม แต่บริษัทเหล้าบุหรี่ประหยัดเงินลง เพราะไม่ต้องเสียอีก 2 % และ 1.5%" โฆษกกมธ.ยกร่างฯ ระบุ
**"4สปช."โดดป้องสสส.-ไทยพีบีเอส
เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ ที่รัฐสภา นายประสาร มฤคพิทักษ์ น.ส.รสนา โตสิตระกูล นายวิทยา กุลสมบูรณ์ และ นายวินัย ดะห์ลัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) เสนอให้ทบทวนข้อเสนอของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 และ มาตรา 204 วรรคสอง เกี่ยวกับการใช้งบประมาณให้เป็นตามวินัยการเงินการคลัง ที่เสนอให้ไม่นำภาษีบาปมาอุดหนุนกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) โดยให้ทั้ง 2 องค์กรของบประมาณจากรัฐสภาแทน โดยน.ส.รสนา กล่าวว่า จุดประสงค์ของภาษีบาปที่ใช้อุดหนุนกับกองทุน ก็เพื่อต่อกรบรรษัทต่างชาติ ที่ทำอบายมุขทั้งบุหรี่ และเหล้า ซึ่งมีอิทธิพลกับนักการเมือง การให้ทั้ง 2 องค์กร และกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ที่ สนช. เพิ่งผ่านเป็นกฎหมายของบประมาณจากรัฐสภา อาจถูกนักการเมืองปรับลด หรือตัดงบประมาณได้ จึงขอให้กมธ.ยกร่างฯ ทบทวนเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
นายประสาร กล่าวว่า งบประมาณที่ สสส.ใช้ 2 พันล้านบาท มีส่วนทำให้การบริโภคบุหรี่ลดลง 1.3 หมื่นล้านบาท และ เหล้า 1.7 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ทั้ง สสส. และไทยพีบีเอส ก็ได้รับการตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างละเอียดอยู่แล้ว จากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และต้องรายงานให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) และรัฐสภา รับทราบอยู่แล้ว
**** เครือข่ายสุขภาพต้าน "หม่อมอุ๋ย"
นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวถึงกรณีข้อเสนอของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวกับการใช้งบประมาณ โดยไม่ให้นำภาษีบาปมาอุดหนุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) โดยให้ของบประมาณจากรัฐสภาแทน ว่า เรื่องนี้ไม่สมควร เพราะเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ทั้งนี้ สสส.เกิดมาจาก พ.ร.บ.ที่ถือเป็นนวัตกรรมในการทำงานควบคุมปัญหาจากเหล้า บุหรี่ และปัญหาสุขภาพต่างๆ ซึ่งสามารถควบคุมปัญหาได้ดี ซึ่งในโลกนี้มีไม่กี่ประเทศที่ทำงานลักษณะ สสส. โดยนำเงินจากภาษีบาป คือธุรกิจเหล้าและบุหรี่มารณรงค์และป้องกันปัญหา ที่สำคัญภาษีที่ดึงมา 2% เป็นการเก็บเพิ่มจากภาษีปกติที่ให้รัฐบาล ดังนั้น ไม่กระทบภาครัฐ หนำซ้ำยังก่อประโยชน์ในภาพรวม จึงไม่เห็นด้วยที่จะมีการปรับแก้การใช้งบฯ ของสสส. เพราะจะกระทบต่อประชาชน
นพ.หทัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาชัดเจนว่า สสส.มีระบบตรวจสอบถี่ถ้วน โดยเฉพาะสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบตลอด หากสงสัยก็ไปถาม สตง.ได้
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า การทำงานควบคุมปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ หากจะให้รัฐดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเต็มที่คงทำไม่ได้จริงจัง เพราะต้องยอมรับว่ารัฐได้ประโยชน์จากภาษี ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาจึงมีการศึกษาแนวทางแก้ปัญหาจนพบว่า ต้องใช้วิธีเกลือจิ้มเกลือ โดยการนำเงินของธุรกิจเหล้าและบุหรี่มาควบคุมตัวเอง ผ่านการทำงานรณรงค์อย่างเข้มข้น ซึ่ง สสส.ทำมาตลอด ผลงานมีให้เห็น โดย สคล.เป็นเครือข่ายที่ได้รับทุนสนับสนุนก็ทำงานมาตลอดด้วย ซึ่งสามารถรวบรวมผลงานให้ดูได้
***ผจก.กองทุนสสส. ระบุ กมธ.เข้าใจคลาดเคลื่อน
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 กำหนดไม่ให้มีการตรากฎหมายให้หน่วยงานรัฐจัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และให้มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินดังกล่าวอีก 4 ปีหลังประกาศใช้ ว่า ขณะนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องระบบการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) หรือภาษีบาปรวมร้อยละ 5.5 แต่ความจริงไม่ใช่ โดยสัดส่วนภาษีจำนวนดังกล่าว เป็นการเก็บภาษีพิเศษเพิ่มจากภาษีปกติที่ต้องจ่าย
“ผู้มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้ อาจมีความเข้าใจผิด หรือได้รับข้อมูลเพียงบางส่วนว่า การดึงเงินภาษีบาปส่วนนี้ กลับไปสู่ระบบงบประมาณราชการจะทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง ประเทศเสียประโยชน์ เพราะรัฐบาลกลับต้องนำภาษีปกติมาจัดสรรให้แทน ขณะที่ธุรกิจบาปจะเป็นผู้รับประโยชน์จากการยกเลิกEarmarked Tax โดยตรง เพราะไม่ต้องจ่ายภาษีพิเศษตรงนี้เพิ่มที่มีมูลค่านับ10,000 ล้านบาท เงินเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดกับประเทศไทย ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งรายได้จากภาษีบาปส่วนใหญ่ มาจากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบข้ามชาติ ขณะที่รายได้ภาษีจากโรงงานยาสูบ มีเพียงส่วนน้อยมาก” ผจก. สสส. กล่าว
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า ขณะนี้ สสส. อยู่ระหว่างการสรุปเรื่องดังกล่าวรายงานให้แก่คณะกรรมการกองทุน สสส. โดยเร็วที่สุด เพื่อรับทราบข้อเสนอแนะและความเห็นว่า ควรจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร พร้อมเตรียมทำหนังสือชี้แจงไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบของการยกเลิก Earmarked Tax ซึ่งในต่างประเทศการเก็บภาษีแบบEarmarked Tax มักจะใช้กับเรื่องสำคัญๆ เช่น สุขภาพ สื่อ และกีฬา ซึ่งตามหลักเศรษฐศาสตร์ ประเทศที่มีระบบ Earmarked Tax ตามระเบียบวินัยทางการเงินจะร้อยละ 5 ของงบประมาณแผ่นดิน แต่ประเทศไทยขณะนี้ อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ของงบประมาณแผ่นดินเท่านั้น
ทั้งนี้ การบริหารงาน สสส. ในปัจจุบัน ถือว่ามีดำเนินงานเทียบเท่าหน่วยงานรัฐต่างๆ เห็นได้จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงกว่า 1.2 ล้านคน คนดื่มเหล้าลดลง ช่วยประหยัดงบประมาณไปมากกว่า 20,000 ล้านบาท งานลดอุบัติเหตุ ช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตร้อยละ 48 ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นมากกว่า แสนล้านบาท ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวคงเกิดขึ้นไม่ได้ หากอยู่ในระบบราชการ และความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจาก สสส. แต่เกิดจากการทำงานลงไปสนับสนุนเครือข่าย ภาคประชาสังคม และชุมชนต่างๆ ในการขับเคลื่อน ซึ่งมีมากกว่า 10,000 องค์กร และคนทำงานมากกว่า 1 ล้านคนซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดขึ้นได้คือ ความคล่องตัวในการบริหารจัดการและความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า จากตัวอย่างในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา องค์กรที่มีลักษณะเดียวกับ สสส. ก็ถูกกลุ่มธุรกิจโจมตีและยุบองค์กรไป เกิดจากการทำงานขับเคลื่อนด้านการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ ส่งผลโดยตรงกับกลุ่มธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจและอิทธิพลอย่างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทำงานที่ได้ผล ทำให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงพิษภัยของสิ่งเหล่านี้ และตระหนักถึงสุขภาพมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสว่าอาจเป็นความพยายามในการล้ม สสส. ทพ.กฤษดา กล่าวว่า อาจมีความเชื่อมโยง เพราะการดำเนินงาน สสส.เชื่อมโยงกับธุรกิจเหล้าและบุหรี่ ทำให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวเสียประโยชน์
*** “ยงยุทธ”ขวางแก้ร่างรธน.“
เมื่อเวลา 15.20 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านสังคม กล่าวถึงกรณีที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวถึงข้อเสนอกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้มีการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของที่เกี่ยวกับการคลังและงบประมาณ ในมาตรา 204 วรรคสอง ว่าด้วยการใช้เงินของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส) และกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ที่แบ่งรายได้จากภาษีสุราและยาสูบจากที่ใช้โดยตรง เปลี่ยนเป็นต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาว่า เป็นเรื่องที่ทางกมธ.ยกร่างฯบางท่านได้เสนอเช่นนี้ เป็นเรื่องที่กมธ.ยกร่างฯจะไปพิจารณา รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้เสนอ โดยมีผู้ที่เป็นห่วงว่าจะมีหน่วยงานที่ขอใช้ภาษีสรรพสามิตมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขณะนี้มีแค่ 2 หน่วยเท่านั้น คือสสส.กับไทยพีบีเอส และกำลังจะมีการเสนอในส่วนของกองทุนการกีฬาแห่งชาติ การส่งเสริมสร้างการเรียนรู้ ขอใช้ภาษีนี้ ดังนั้น หากมีมากขึ้นจะกลายเป็นการผิดหลักการในการใช้ภาษีบาป
“ แต่เราได้บอกว่าที่ทำมา 2 หน่วยงานนั้นก็ทำมาได้อย่างดี ถ้าเผื่อจะไม่มีใหม่ก็ไม่ว่ากัน แต่ 2 หน่วยงานก็น่าจะยังคงอยู่ แต่ตรงนี้เป็นความเห็นส่วนตัว”นายยงยุทธ กล่าวและเมื่อถามว่า มีการเกรงกันว่า หากมีการให้มีการใช้งบประมาณนี้ โดยผ่านรัฐสภา โดยบัญญัติไว้ในหลักการของรัฐธรรมนูญ จะทำให้การเมืองสามารถแทรกแซงการทำงานได้นั้น นายยงยุทธ กล่าวว่า อันนั้นก็เป็นสิ่งที่ตนเป็นห่วง