นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง ความคืบหน้าในการปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญว่า ภายในสองสัปดาห์นี้ อะไรที่เป็นปัญหาต้องตัดสินใจให้ได้ทั้งหมด โดยวางแผนว่าจะเริ่มพิจารณาในวันที่ 10 และ 11 ส.ค.นี้ เป็นหลัก เช่น เรื่องที่มาของส.ว. ว่าจะมาจากสรรหาอย่างเดียวหรือแบบผสมผสานซึ่งต้องหารือกัน คาดว่าน่าจะได้บทสรุป พร้อมยืนยันว่าไม่มีแรงกดดันจากคสช.ให้ส.ว.มาจากการสรรหาทั้งหมด
ทั้งนี้กรรมาธิการยกร่างฯ ต้องการให้ที่มา ส.ว.เป็นแบบพหุนิยม คือ มาจากหลากหลายอาชีพ ซึ่งไม่มีโอกาสเข้ามาจากการเลือกตั้งจึงออกแบบให้มีการสรรหา 123 คน ส่วนเรื่องส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ก็เป็นตัวแทนจังหวัดมีเสียงเรียกร้องว่า ควรมีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งด้วย แต่ก็มีความเห็นแตกต่างจากหลายฝ่ายว่าในส่วนสรรหา ควรจะมีรูปแบบอย่างไร จากที่กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา 4 ชุด ก็ยังมีเสียงวิจารณ์ว่า ไม่เหมาะก็คงต้องมาพิจารณาอีกที ดังนั้นเรื่องหลักการ “พหุนิยม”คือมี ส.ว.ทั้งจากสรรหาและเลือกตั้งไว้ เพราะถือว่าเป็นเจตนมรมณ์หลัก ให้มีความแตก ต่างจากสภาผู้แทนราษฎร โดยให้สะท้อนความหลากหลายของสังคม แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนเรื่องวิธีการสรรหา
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า ประเด็นสำคัญที่จะมีการพิจารณา คือคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูป เพราะไม่เคยมีมาก่อน แต่คณะกรรมการชุดนี้ จะไม่เกี่ยวเนื่องกับสภาขับเคลื่อนฯ ตามที่มีการแก้ไขในรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยต้องมีการระบุในบทเฉพาะกาล ว่า จะทำหน้าที่เท่ากับวาระของ สปช.เดิม ไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญใหม่ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคิดต่อคือ สภาขับเคลื่อนฯ ที่จะตั้งใหม่ในรัฐธรรมนูญใหม่ ควรจะเป็นอย่างไร รวมถึงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งจะใช้ตัวแบบคำแก้ไขของครม. ขอมา 20 คน ก็บวกลบประมาณนื้ โดยไม่อยากให้เป็นกลไกให้อยู่เหนือใครทั้งสิ้น เพราะจะมี
นายกรัฐมนตรี และประธานสภาฯ รวมอยู่ด้วย ไม่ให้ใครมีอำนาจอยู่เหนือใคร เพราะมีเสียงสะท้อนว่า กลไกนี้จะกลายเป็นการสร้างอำนาจรัฐซ้อนรัฐ จึงอาจปรับเปลี่ยนเพื่อให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนร่วม แต่จะออกแบบอย่างไร มีวิธีการทำงานแบบใด ยังต้องหารือในที่ประชุมให้ได้ข้อสรุปก่อน
สำหรับร่างสุดท้าย จะเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้หลังวันที่ 23 ส.ค. หลังจากส่งให้สปช.ในวันที่ 22 ส.ค.แล้ว โดยยืนยันว่า จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด และน้อมรับผลที่ออกมาทุกประการ
**ประชุมลับ 3ปมร้อน 10-11ส.ค.
นายมานิจ สุขสมจิตร รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2 เปิดเผยว่า การประชุม กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 10-11 ส.ค.นี้ จะประชุมลับเพื่อพิจารณาเรื่องที่ค้างการพิจารณาโดยเฉพาะเรื่องที่มาของ ส.ว. ซึ่งจะดูในส่วนของเนื้อหาและบทเฉพาะกาล โครงสร้างคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดองประเด็นปัญหาที่ขอให้ทบทวนการใช้ภาษีบาปโดยตรงของสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส และ สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) โดยกมธ.ยกร่างฯ กำหนดจะส่งร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ เพื่อให้สมาชิกนำไปศึกษาใน15วัน ก่อนลงมติ ทั้งนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะมีทั้งหมด 285 มาตรา หรือไม่ เพราะการพิจารณาในช่วง 1-2 วันนี้ เชื่อว่าเลขมาตราน่าจะเคลื่อนไปอีก เพราะมีบางมาตราได้นำไปไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่จำเป็น
ส่วนกรณีที่มีสมาชิก สปช. ออกมาขู่จะลงมติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนตัวเชื่อว่า สมาชิกสปช.จะใช้วิจารณญาณ และวุฒิภาวะ ในการตัดสินใจลงมติ โดยไม่กังวลแม้ผลออกมาจะว่าไม่เห็นชอบ เพราะตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2558 แก้ไขเพิ่มเติมก็ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญ และเชื่อว่าจะนำข้อเสนอของสปช. มาพิจารณาในร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนกมธ.ยกร่างฯ จะมีการแถลงเนื้อหาภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายหรือไม่นั้น ก็คิดว่าจะสามารถทำได้ โดยหากร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากสปช. ทางกมธ.ยกร่างฯ ก็จะต้องชี้แจงให้ประชาชนรับทราบ ก่อนออกเสียงประชามติ
** เผยท่าทีสปช.ต่อการโหวตร่างรธน.
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ( สปช. ) และ นายนิมิต สิทธิไตรย์ สปช. จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันแถลงว่า ได้รับการสอบถามจากสื่อมวลชนจำนวนมาก ถึงจุดยืนว่าในวันที่ 7 ก.ย. ตนทั้งสองจะลงมติร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร จะให้ผ่าน หรือจะคว่ำ รวมไปถึงการสอบถามว่า แนวโน้มการลงมติของสปช. จะเป็นอย่างไร ซึ่งตนทั้งสองได้แจ้งว่ายังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ถึงเวลา ขอพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ตนประเมินท่าทีหรือจุดยืนของ สปช. 249 คน แบ่งได้ 6 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1. สปช. 20 คน ที่เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างฯ ตัดสินใจนานแล้ว จะให้ผ่านแน่นอน
กลุ่มที่ 2. สปช.ที่ตัดสินใจแล้วจะลงมติให้ผ่านอย่างแน่นอน โดยมีเหตุผลว่า เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญดีทั้งหมด หรือดีเป็นส่วนใหญ่ มีไม่ดี ไม่ถูกใจอยู่บ้างเพียงเล็กน้อย สปช.กลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกรรมาธิการยกร่างฯ บางส่วนเข้าไปเป็นอนุกรรมาธิการยก ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกลุ่มที่ไม่ชอบความขัดแย้ง ถือว่าร่วมงานปฏิรูป และการจัดทำรัฐธรรมนูญด้วยกันกันมาแต่ต้น จะให้คว่ำ จึงเป็นไปไม่ได้
กลุ่มที่ 3. กลุ่ม 22 สปช. ที่เสนอญัตติให้ตั้งประเด็นสอบถามการออกเสียงประชามติประเด็นให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 2 ปี กลุ่มนี้จะลงมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้นำกลุ่มเป็นกรรมาธิการยกร่างฯ
กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ตัดสินใจแล้วว่าจะลงมติไม่ไม่ให้ผ่านอย่างแน่นอน มีเหตุผลว่า เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญบางส่วน แม้จะเป็นส่วนน้อยแต่จะเกิดปัญหาในวันข้างหน้า การที่ คสช.และรัฐบาล จับแยกสปช. กับกรรมาธิการยกร่างฯ ออกจากกัน นอกจากนี้ยังประเมินว่า เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญและสถานการณ์ของประเทศยังวางใจไม่ได้ว่าเมื่อ สปช.ให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติ หรือแม้กระทั่ง ผ่านประชามติก็ตาม แต่ก็จะเกิดปัญหาในอนาคต จึงต้องตัดไฟเสียแต่ต้นลม ด้วยการคว่ำในขั้นตอนลงมติของ สปช.
กลุ่มที่ 5. กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจ แต่จะขอดูเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญก่อน
กลุ่มที่ 6 . กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจ ขอดูเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ และบรรยากาศทางการเมือง โดยเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญอาจมีไม่ดี ไม่ถูกใจอยู่บ้าง แต่ถ้าเป็นเรื่องหลักการสำคัญ และจะเป็นชนวนนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงจนเป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมประท้วง กดดัน ขับไล่ มีคนบาด เจ็บล้มตายกันอีก สุดท้ายรัฐธรรมนูญอาจถูกฉีกอีกครั้ง
นายบุญเลิศ กล่าวว่าตนและนายนิมิต เห็นตรงกันว่า จริงอยู่ร่างรัฐธรรมนูญมีความสำคัญสำคัญ แต่ความอยู่รอดและสันติสุขของบ้านเมือง การสามัคคีปรองดองของคนไทยต้องมาก่อน รัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นต้นเหตุ หรือตัวปัญหา ถ้าไม่มีคำตอบในส่วนนี้ ก็ไม่มีประโยชน์สำหรับการปฏิรูปประเทศที่อยู่ในขั้นตอนของการเริ่มต้น การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และประเด็นคำถามพ่วงอีก 1 คำถาม ถ้าจะมีหลัง สปช.ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องไม่เป็นเงื่อนไขที่สร้างความขัดแย้งให้ยืดเยื้อ ฉุดรั้งการพัฒนาบ้านเมืองเหมือนกับที่เคยเกิดมาแล้วกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
นายบุญเลิศ กล่าวว่า หากประเมินเสียง สปช.ตอนนี้คิดว่า สปช.ที่จะให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ มีมากกว่า ประกอบด้วยกลุ่ม 1+กลุ่ม 3+กลุ่ม 4 เป็นหลัก ส่วนกลุ่ม 5 เป็นกลุ่มผันแปร ดังนั้น จึงยังไม่อาจคาดเดาได้ว่าผลการลงมติของ สปช.จะออกมาอย่างไร
ด้านนายนิมิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องเอาบ้านเมืองและเหตุผลเป็นตัวตั้ง การลงมติจะต้องเข้าใจเนื้อหา ต้องรอบคอบและคำนึงถึงทุกมิติ ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมสาเหตุหลักว่า ทำไมถึงต้องปฏิรูปประเทศ และทำไมจึงต้องทำรัฐธรรมนูญใหม่ ถ้ารัฐธรรมนูญดีจริง ตอบโจทย์ได้ ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ผ่าน ถึงแม้ไม่ผ่าน ก็ไม่ใช่ทางตัน เพราะรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้เขียนทางออกไว้แล้ว
" เรื่องการลงมติไม่น่าจะถือเป็นความขัดแย้ง เพราะ สปช. ทั้งหมดกำลังพิจารณา อนาคตของประเทศชาติไม่ใช่เรื่องความแพ้ชนะ ประเทศต้องมีสันติสุข เดินหน้าได้ ปฏิรูปสำเร็จ ความขัดแย้งต้องไม่หวนคืนกลับมาอีก" นายนิมิต กล่าว
**แนะสปช.ให้ความเห็นส่วนตัวก่อนโหวต
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยโดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เดินทางมาถึงเดือนสุดท้าย ก่อนจะลงมติกันว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ในวันที่ 7 ก.ย.นี้ เนื่องจาก สปช. ถูกสังคมคาดหวังสูงว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรม
การลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นหลักไมล์สำคัญของเส้นทางการปฏิรูป และในขณะเดียวกันก็เป็นตัวแปรของโรดแมปทางการเมืองด้วย จึงเสนอให้ สปช.ทั้ง 250 คน ทำความเห็นส่วนตัว เพื่อแถลงต่อสาธารณะประกอบการลงมติว่า ทำไมต้องตัดสินใจรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
แม้กระบวนการลงมติครั้งนี้จะทำโดยเปิดเผย ขานชื่อเรียงตัวก็ตาม แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า สปช.หลายคน อาจโหวตตามกระแสหรือตามการล็อบบี้ ซึ่งประชาชนจะไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ว่า แรงจูงใจในการโหวตเกิดจากอะไร เป็นตัวของตัวเองหรือไม่
แต่ถ้าหาก สปช. ทุกคนจัดทำคำแถลงส่วนตนแล้วเปิดเผยผ่านสาธารณะ อธิบายเหตุผลประกอบในการลงมติ ก็จะทำให้การลงมติมีความสง่าสงาม ไม่ถูกมองเป็นเกม หรือมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ไม่ว่าผลการลงมติจะออกมาทางใดก็ตาม คล้ายๆ กับกระบวนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ตุลาการแต่ละท่าน ทำคำวินิจฉัยส่วนตน และคำวินิจฉัยกลางด้วย ทำให้ประชาชนตรวจสอบเหตุผล และที่มาที่ไปการลงมติของแต่ละท่านได้ เพราะการลงมติครั้งนี้ ถือเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย และ สปช.ทั้ง 250 คน ก็ถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
" ผมเป็นห่วงว่า สุดท้ายแล้วการลงมติของ สปช. อาจไม่ได้ยืนอยู่บนฐานของการปฏิรูปอย่างเดียว แต่อาจมีแรงจูงใจทางอื่นเข้ามาเจือปนจนอาจทำให้การลงมติเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะทำก็เป็นไปได้เช่นกัน" นายสุริยะใส กล่าว
**หนุนยึดโรดแมป ดีกว่าคว่ำรธน.
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการ วิปสปช. ได้เขียนข้อความลงในทวิตเตอร์ส่วนตัว ว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่เดือนสุดท้ายของหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญอีกครั้ง เมื่อ สปช.จะต้องลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ การเคลื่อนไหวทางการเมืองเริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น เมื่อใกล้ถึงวันลงมติรัฐธรรมนูญ ทั้งการคว่ำรัฐธรรมนูญ จนถึงประชามติให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 2 ปี ซึ่งการกระทำใดๆในช่วงนี้ ล้วนมีผลต่ออนาคตของประเทศทั้งสิ้น ถ้าทุกคนทุกฝ่าย คิดถึงประเทศมากกว่าอนาคตของตัวเอง ว่าจะมีได้ใคร่ดี ประเทศก็มีอนาคต เพราะเราต้องเดินหน้าด้วยระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และพิมพ์เขียวปฏิรูป เพื่ออัพเกรดประเทศสู่ศักยภาพ และอนาคตใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจุดยืนของนายกรัฐมนตรี ที่ยึดมั่นการเดินตามโรดแมปนั้น ถูกต้องแล้ว เพื่อช่วยให้ประเทศไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน และไม่แน่นอน เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะกระทบต่อโรดแมป มีแต่จะสร้างความขัดแย้ง ซ้ำเติมประเทศ และยากที่ประเทศจะตั้งลำ เดินหน้าใหม่บนเส้นทางการปฏิรูปอย่างที่หวัง
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ปฏิรูปประเทศมาโดยตลอดหลังรัฐประหาร ตั้งแต่การนำประเทศสู่ความสงบสุข การบังคับใช้กฎหมายจัดระเบียบบ้านเมือง การปราบทุจริต และธุรกิจมืด การปราบผู้มีอิทธิพล การคืนผืนป่า การออกกฎหมายภาษีมรดก การปฏิรูปเศรษฐกิจระดับโครงสร้าง การสร้างศักยภาพใหม่บนฐานเขตเศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยงอาเซียน การแก้ปัญหาค้ามนุษย์ ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่ารัฐบาลปฏิรูปประเทศมาปีกว่า และมีเวลาอีก 1 ปี ที่จะปฏิรูปประเทศ ก่อนมอบหน้าที่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งรับผิดชอบประเทศต่อไปตามโรดแมป ยิ่งกว่านั้น ยังมีพิมพ์เขียวปฏิรูป ที่สปช.ทำเสร็จในวันที่ 13 ส.ค. นี้ และรัฐธรรมนูญที่จะลงมติ และทำประชามติ เพื่อความชอบธรรมเป็นรากฐานของประชาธิปไตยและการปฏิรูป
"ปัญหาที่สะสม หมักหมมมานาน จะแก้ให้หมดในรัฐบาลเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั้งโลกเช่นนี้ ขอแต่คนอื่นอย่าสร้างปัญหาซ้ำเติมก็เป็นพอ ซึ่งการเดินตามโรดแมป และร่วมกันขับเคลื่อนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรัฐบาลนี้ และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งปลายปีหน้า จะดีที่สุดสำหรับประเทศ ดังนั้นข้อเสนอให้คว่ำรัฐธรรมนูญ หรือปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 2 ปี แฝงความพยายามหาทางออกให้ประเทศ แต่เกรงว่าจะก่อวิกฤติความขัดแย้งครั้งใหม่ สู้ให้ประเทศเดินตามโรดแมปจะดีกว่า" นายอลงกรณ์ กล่าว
**ยันปฏิรูปก่อนลต.ไม่ทำให้แตกแยก
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิกสปช. ในฐานะผู้ร่วมลงชื่อเสนอญัตติประเด็นขอให้มีการปฏิรูปประเทศ 2 ปี ก่อนจัดการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่ขณะนี้มีความเห็นแตกต่าง ต่อประเด็นการปฏิรูป ที่บางส่วนออกมาระบุว่า ควรยึดตามโรดแมป ว่าวัตถุประสงค์ของการเสนอญัตติดังกล่าว เพื่อที่เราต้องการให้มีการแนบไปกับคำถามประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เพราะต้องเข้าใจว่า คนที่ลงประชามติ เป็นประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถ้าเสียงส่วนใหญ่ออกมายอมรับเรื่องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เท่ากับเป็นการสะท้อนความเห็นของประชาชน ซึ่งมีความชอบธรรม แต่ถ้าประชาชนส่วนใหญ่บอกว่า ไม่เห็นชอบที่จะให้มีการปฏิรูปก่อน ก็ไม่ต้องทำ ตนยืนยันว่า การนำเสนอประเด็นดังกล่าวจะไม่สร้างความสับสนแก่ประชาชน
อย่างไรก็ตาม คิดว่าขณะนี้หลายคนไปยึดติดเรื่องการเลือกตั้ง ว่าเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งที่จริงแล้วเรื่องดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ หมวดว่าด้วยการเลือกตั้งอยู่แล้วส่วนหนึ่ง
** ดุสิตโพลหนุนปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
สวนดุสิตโพล ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,204 คน ระหว่างวันที่ 3-8 ส.ค.58 เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยเฉพาะกรณีการปฏิรูปประเทศ การเลือกตั้งครั้งใหม่ และการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณี บ้านเมือง ณ วันนี้ ประชาชนอยากให้การเมืองไทยดำเนินไปในทิศทางใด อันดับ 1 ปฏิรูปประเทศให้เสร็จก่อน แล้วจึงมีการเลือกตั้ง 47.06% เพราะ บ้านเมืองขณะนี้ประสบปัญหาหลายด้าน ควรจะแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ให้แล้วเสร็จก่อน จะได้ไม่มีความขัดแย้งหรือเกิดปัญหาภายหลัง อยากเห็นประเทศมีเสถียรภาพ มีรากฐานที่มั่นคง การเลือกตั้งอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ฯลฯ
อันดับ 2 เดินตามโรดแมป (Road Map)โดยมีการเลือกตั้งในปีหน้า (ปี 2559)22.07% เพราะระยะเวลาตามโรดแมปมีความเหมาะสม คิดว่าไม่ใช่ปัญหาและไม่นานเกินไป บ้านเมืองมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก ขึ้นอยู่กับความพยายามและความตั้งใจจริงในการทำเพื่อชาติบ้านเมือง ฯลฯ
อันดับ 3 อย่างไรก็ได้ แล้วแต่นายกรัฐมนตรี 14.83% เพราะเชื่อมั่นในตัวนายกฯ การตัดสินใจต่างๆน่าจะผ่านการพิจารณาคัดกรองมาอย่างดีแล้ว ตั้งแต่มีคสช. และรัฐบาลทหารเข้ามาดูแล บ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 4 เลือกตั้งให้เร็วที่สุดก่อนโรดแมปกำหนดไว้ 9.31% เพราะอยากได้นายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้งในบ้านเมือง เศรษฐกิจจะได้ดีขึ้น ต่างชาติให้การยอมรับ ฯลฯ
อื่นๆ อยากให้เดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องประชาชนก่อน, ดำเนินการกับข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริต คอร์รัปชันสร้างความเสียหายให้กับบ้านเมือง , ควรประเมินจากสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน , ไม่ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเสมอ ฯลฯ 6.73%
** แนะ"บิ๊กตู่"ตั้งครม.ปรองดอง
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ กรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า กรณีที่ สปช.บางคนเสนอให้ล้มรัฐธรรมนูญ หรือให้คสช.อยู่เพื่อปฎิรูปต่อไปอีก 2 ปี เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจแต่สิ่งที่สำคัญกว่าควรอยู่ต่อหรือไม่ คือ จะอยู่เพื่ออะไร ในฐานะที่ตนเป็นกรรมการปรองดองเห็นว่า การสร้างความปรองดองเป็นหัวใจของการปฏิรูป และเป็นการวางรากฐานที่ดีในทางการเมือง หากเร่งรีบเลือกตั้งโดยที่ความปรองดองยังไม่เกิด สังคมก็จะกลับสู่วงจรความขัดแย้งแบบไม่รู้จบ วันนี้ต้องยอมรับว่าเรามาถึงจุดที่ฝ่ายที่ขัดแย้งกันไม่สามารถเอาชนะกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อยู่ในภาวะที่เรียกว่า ฝ่ายหนึ่งอาจจะชนะได้ แต่ปกครองประเทศนี้ไม่ได้
ดังนั้น หากคสช. จะอยู่ต่อ ก็ต้องมีเงื่อนไขว่าเมื่อกลับไปเลือกตั้งแล้วสังคมจะไม่กลับไปขัดแย้งแบบเดิมอีก จึงขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่งสัญญาณความปรองดองตามที่สัญญาไว้ในการทำรัฐประหาร โดยควรปรับครม. ดึงคนที่มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถจากทุกกลุ่ม ทุกขั้วสี เข้ามาช่วยงานรัฐบาล เป็นลักษณะรัฐบาลช่วยชาติ หรือ ครม.ปรองดอง แนวทางนี้จะช่วยละลายความขัดแย้งในบ้านเมืองลงได้ และเอาคนเหล่านี้ มาปฏิรูปในเรื่องสำคัญๆ ที่ประชาชนเรียกร้อง เช่นความเหลื่อมล้ำ หรือการปฏิรูปตำรวจ
"สิ่งสำคัญกว่า คสช. จะอยู่ต่อหรือไม่ คือ จะอยู่เพื่ออะไร วันนี้ถ้าการเมืองยังไม่มีความปรองดอง เราจะเจอกับความขัดแย้งไม่สิ้นสุด ฉะนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ต้องสร้างครม.ปรองดอง ขึ้นมาเป็นรัฐบาลช่วยชาติ เพื่อเปิดทางให้ทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันมาช่วยกันฉุดประเทศไทยให้พ้นจากปากเหว พลิกวิกฤตด้านต่างๆโดยเฉพาะเศรษฐกิจ สร้างความปรองดองให้เป็นเครื่องมือในการสร้างชาติให้มันคงแข็งแรงก่อนจะกลับไปสู่การเลือกตั้ง" นายอดุลย์ กล่าว
** ตอก"สุเทพ"อย่าทำตัวเป็นคนแก่ขี้บ่น
นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวตอบโต้กรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมู่ลนิธิมวลมหาประชาชน ออกมาวิพากษ์ วิจารณ์การทำงานของกกต.ทุกชุดที่ผ่านมาว่า มีความบกพร่อง ไม่โปร่งใส ปล่อยให้มีการทุจริต ซื้อเสียง เป็นองค์กรอิสระ ที่แย่ที่สุด ทำงานไม่ได้ผล ต้องมีการยกเครื่องใหม่หมดว่า ที่จริงแล้วกกต.ชุดนี้ เป็นชุดที่ 4 ที่เข้ามารับหน้าที่ และเกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองอย่างรุนแรง จนทำให้การเลือกตั้ง เกิดขึ้นไม่ได้ นั้น
"เราก็มีความเห็น และจุดยืน ที่ไม่ต่างกับท่านสุเทพ ที่อยากเห็นการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม เราจึงได้พยายามหามาตรการใหม่ๆนำเสนอต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่อง อำนาจในการออกใบเหลือง ใบแดง ใบส้ม รวมทั้งการตั้งหน่วยข่าวกรอง เพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง เพื่อให้ผู้สมัครที่คิดทุจริตการเลือกตั้งได้เลิกล้มความคิดไม่กล้ากระทำผิด รวมทั้งหาวิธีลงโทษผู้สมัครที่จงใจใช้เงิน ซื้อเสียง ฯลฯ โดยขอให้ กกต. กลับมามีอำนาจ มีความเด็ดขาดเป็นยักษ์ที่มีกระบองเหมือนกกต.ชุดแรกเมื่อปี 40 แต่ที่ผ่านมากรรมาธิการยกร่างฯ เหมือนไม่สนใจไม่ยอมรับฟัง
"ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านสุเทพว่าถ้าไม่ปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะระบบการเลือกตั้งเสียก่อนแล้วปล่อยให้มีการเลือกตั้งแบบเดิม
ก็หนีไม่พ้นการเมืองน้ำเน่าอย่างเดิม แต่ท่านสุเทพและคณะมูลนิธิฯ ก็ต้องไม่เพียงแต่พูด แต่บ่น ตำหนิคนอื่น แต่ต้องช่วยกันเสนอแนวความคิด ทางออก ให้กับประเทศในเรื่องนี้ด้วย มิฉะนั้นแทนที่ท่านจะใช้ประสบการณ์ทางการเมืองของท่านที่มีอย่างโชกโชนล้นเหลือให้เกิดประโยชน์กับบ้านเมืองในยามวิกฤต ก็จะกลายเป็นคนแก่ขี้บ่นอีกคนหนึ่งที่หาสาระไม่ได้เลย" นายประวิช กล่าว
ทั้งนี้กรรมาธิการยกร่างฯ ต้องการให้ที่มา ส.ว.เป็นแบบพหุนิยม คือ มาจากหลากหลายอาชีพ ซึ่งไม่มีโอกาสเข้ามาจากการเลือกตั้งจึงออกแบบให้มีการสรรหา 123 คน ส่วนเรื่องส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ก็เป็นตัวแทนจังหวัดมีเสียงเรียกร้องว่า ควรมีตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งด้วย แต่ก็มีความเห็นแตกต่างจากหลายฝ่ายว่าในส่วนสรรหา ควรจะมีรูปแบบอย่างไร จากที่กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา 4 ชุด ก็ยังมีเสียงวิจารณ์ว่า ไม่เหมาะก็คงต้องมาพิจารณาอีกที ดังนั้นเรื่องหลักการ “พหุนิยม”คือมี ส.ว.ทั้งจากสรรหาและเลือกตั้งไว้ เพราะถือว่าเป็นเจตนมรมณ์หลัก ให้มีความแตก ต่างจากสภาผู้แทนราษฎร โดยให้สะท้อนความหลากหลายของสังคม แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนเรื่องวิธีการสรรหา
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า ประเด็นสำคัญที่จะมีการพิจารณา คือคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูป เพราะไม่เคยมีมาก่อน แต่คณะกรรมการชุดนี้ จะไม่เกี่ยวเนื่องกับสภาขับเคลื่อนฯ ตามที่มีการแก้ไขในรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยต้องมีการระบุในบทเฉพาะกาล ว่า จะทำหน้าที่เท่ากับวาระของ สปช.เดิม ไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญใหม่ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคิดต่อคือ สภาขับเคลื่อนฯ ที่จะตั้งใหม่ในรัฐธรรมนูญใหม่ ควรจะเป็นอย่างไร รวมถึงคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งจะใช้ตัวแบบคำแก้ไขของครม. ขอมา 20 คน ก็บวกลบประมาณนื้ โดยไม่อยากให้เป็นกลไกให้อยู่เหนือใครทั้งสิ้น เพราะจะมี
นายกรัฐมนตรี และประธานสภาฯ รวมอยู่ด้วย ไม่ให้ใครมีอำนาจอยู่เหนือใคร เพราะมีเสียงสะท้อนว่า กลไกนี้จะกลายเป็นการสร้างอำนาจรัฐซ้อนรัฐ จึงอาจปรับเปลี่ยนเพื่อให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนร่วม แต่จะออกแบบอย่างไร มีวิธีการทำงานแบบใด ยังต้องหารือในที่ประชุมให้ได้ข้อสรุปก่อน
สำหรับร่างสุดท้าย จะเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้หลังวันที่ 23 ส.ค. หลังจากส่งให้สปช.ในวันที่ 22 ส.ค.แล้ว โดยยืนยันว่า จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด และน้อมรับผลที่ออกมาทุกประการ
**ประชุมลับ 3ปมร้อน 10-11ส.ค.
นายมานิจ สุขสมจิตร รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2 เปิดเผยว่า การประชุม กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 10-11 ส.ค.นี้ จะประชุมลับเพื่อพิจารณาเรื่องที่ค้างการพิจารณาโดยเฉพาะเรื่องที่มาของ ส.ว. ซึ่งจะดูในส่วนของเนื้อหาและบทเฉพาะกาล โครงสร้างคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดองประเด็นปัญหาที่ขอให้ทบทวนการใช้ภาษีบาปโดยตรงของสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส และ สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) โดยกมธ.ยกร่างฯ กำหนดจะส่งร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ เพื่อให้สมาชิกนำไปศึกษาใน15วัน ก่อนลงมติ ทั้งนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะมีทั้งหมด 285 มาตรา หรือไม่ เพราะการพิจารณาในช่วง 1-2 วันนี้ เชื่อว่าเลขมาตราน่าจะเคลื่อนไปอีก เพราะมีบางมาตราได้นำไปไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่จำเป็น
ส่วนกรณีที่มีสมาชิก สปช. ออกมาขู่จะลงมติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนตัวเชื่อว่า สมาชิกสปช.จะใช้วิจารณญาณ และวุฒิภาวะ ในการตัดสินใจลงมติ โดยไม่กังวลแม้ผลออกมาจะว่าไม่เห็นชอบ เพราะตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2558 แก้ไขเพิ่มเติมก็ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญ และเชื่อว่าจะนำข้อเสนอของสปช. มาพิจารณาในร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนกมธ.ยกร่างฯ จะมีการแถลงเนื้อหาภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายหรือไม่นั้น ก็คิดว่าจะสามารถทำได้ โดยหากร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากสปช. ทางกมธ.ยกร่างฯ ก็จะต้องชี้แจงให้ประชาชนรับทราบ ก่อนออกเสียงประชามติ
** เผยท่าทีสปช.ต่อการโหวตร่างรธน.
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ( สปช. ) และ นายนิมิต สิทธิไตรย์ สปช. จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันแถลงว่า ได้รับการสอบถามจากสื่อมวลชนจำนวนมาก ถึงจุดยืนว่าในวันที่ 7 ก.ย. ตนทั้งสองจะลงมติร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร จะให้ผ่าน หรือจะคว่ำ รวมไปถึงการสอบถามว่า แนวโน้มการลงมติของสปช. จะเป็นอย่างไร ซึ่งตนทั้งสองได้แจ้งว่ายังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ถึงเวลา ขอพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ตนประเมินท่าทีหรือจุดยืนของ สปช. 249 คน แบ่งได้ 6 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1. สปช. 20 คน ที่เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างฯ ตัดสินใจนานแล้ว จะให้ผ่านแน่นอน
กลุ่มที่ 2. สปช.ที่ตัดสินใจแล้วจะลงมติให้ผ่านอย่างแน่นอน โดยมีเหตุผลว่า เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญดีทั้งหมด หรือดีเป็นส่วนใหญ่ มีไม่ดี ไม่ถูกใจอยู่บ้างเพียงเล็กน้อย สปช.กลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกรรมาธิการยกร่างฯ บางส่วนเข้าไปเป็นอนุกรรมาธิการยก ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกลุ่มที่ไม่ชอบความขัดแย้ง ถือว่าร่วมงานปฏิรูป และการจัดทำรัฐธรรมนูญด้วยกันกันมาแต่ต้น จะให้คว่ำ จึงเป็นไปไม่ได้
กลุ่มที่ 3. กลุ่ม 22 สปช. ที่เสนอญัตติให้ตั้งประเด็นสอบถามการออกเสียงประชามติประเด็นให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 2 ปี กลุ่มนี้จะลงมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้นำกลุ่มเป็นกรรมาธิการยกร่างฯ
กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ตัดสินใจแล้วว่าจะลงมติไม่ไม่ให้ผ่านอย่างแน่นอน มีเหตุผลว่า เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญบางส่วน แม้จะเป็นส่วนน้อยแต่จะเกิดปัญหาในวันข้างหน้า การที่ คสช.และรัฐบาล จับแยกสปช. กับกรรมาธิการยกร่างฯ ออกจากกัน นอกจากนี้ยังประเมินว่า เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญและสถานการณ์ของประเทศยังวางใจไม่ได้ว่าเมื่อ สปช.ให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติ หรือแม้กระทั่ง ผ่านประชามติก็ตาม แต่ก็จะเกิดปัญหาในอนาคต จึงต้องตัดไฟเสียแต่ต้นลม ด้วยการคว่ำในขั้นตอนลงมติของ สปช.
กลุ่มที่ 5. กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจ แต่จะขอดูเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญก่อน
กลุ่มที่ 6 . กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจ ขอดูเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ และบรรยากาศทางการเมือง โดยเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญอาจมีไม่ดี ไม่ถูกใจอยู่บ้าง แต่ถ้าเป็นเรื่องหลักการสำคัญ และจะเป็นชนวนนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงจนเป็นเหตุให้เกิดการชุมนุมประท้วง กดดัน ขับไล่ มีคนบาด เจ็บล้มตายกันอีก สุดท้ายรัฐธรรมนูญอาจถูกฉีกอีกครั้ง
นายบุญเลิศ กล่าวว่าตนและนายนิมิต เห็นตรงกันว่า จริงอยู่ร่างรัฐธรรมนูญมีความสำคัญสำคัญ แต่ความอยู่รอดและสันติสุขของบ้านเมือง การสามัคคีปรองดองของคนไทยต้องมาก่อน รัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นต้นเหตุ หรือตัวปัญหา ถ้าไม่มีคำตอบในส่วนนี้ ก็ไม่มีประโยชน์สำหรับการปฏิรูปประเทศที่อยู่ในขั้นตอนของการเริ่มต้น การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และประเด็นคำถามพ่วงอีก 1 คำถาม ถ้าจะมีหลัง สปช.ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องไม่เป็นเงื่อนไขที่สร้างความขัดแย้งให้ยืดเยื้อ ฉุดรั้งการพัฒนาบ้านเมืองเหมือนกับที่เคยเกิดมาแล้วกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
นายบุญเลิศ กล่าวว่า หากประเมินเสียง สปช.ตอนนี้คิดว่า สปช.ที่จะให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ มีมากกว่า ประกอบด้วยกลุ่ม 1+กลุ่ม 3+กลุ่ม 4 เป็นหลัก ส่วนกลุ่ม 5 เป็นกลุ่มผันแปร ดังนั้น จึงยังไม่อาจคาดเดาได้ว่าผลการลงมติของ สปช.จะออกมาอย่างไร
ด้านนายนิมิต กล่าวเพิ่มเติมว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ต้องเอาบ้านเมืองและเหตุผลเป็นตัวตั้ง การลงมติจะต้องเข้าใจเนื้อหา ต้องรอบคอบและคำนึงถึงทุกมิติ ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมสาเหตุหลักว่า ทำไมถึงต้องปฏิรูปประเทศ และทำไมจึงต้องทำรัฐธรรมนูญใหม่ ถ้ารัฐธรรมนูญดีจริง ตอบโจทย์ได้ ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ผ่าน ถึงแม้ไม่ผ่าน ก็ไม่ใช่ทางตัน เพราะรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้เขียนทางออกไว้แล้ว
" เรื่องการลงมติไม่น่าจะถือเป็นความขัดแย้ง เพราะ สปช. ทั้งหมดกำลังพิจารณา อนาคตของประเทศชาติไม่ใช่เรื่องความแพ้ชนะ ประเทศต้องมีสันติสุข เดินหน้าได้ ปฏิรูปสำเร็จ ความขัดแย้งต้องไม่หวนคืนกลับมาอีก" นายนิมิต กล่าว
**แนะสปช.ให้ความเห็นส่วนตัวก่อนโหวต
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยโดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เดินทางมาถึงเดือนสุดท้าย ก่อนจะลงมติกันว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ในวันที่ 7 ก.ย.นี้ เนื่องจาก สปช. ถูกสังคมคาดหวังสูงว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรม
การลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นหลักไมล์สำคัญของเส้นทางการปฏิรูป และในขณะเดียวกันก็เป็นตัวแปรของโรดแมปทางการเมืองด้วย จึงเสนอให้ สปช.ทั้ง 250 คน ทำความเห็นส่วนตัว เพื่อแถลงต่อสาธารณะประกอบการลงมติว่า ทำไมต้องตัดสินใจรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
แม้กระบวนการลงมติครั้งนี้จะทำโดยเปิดเผย ขานชื่อเรียงตัวก็ตาม แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า สปช.หลายคน อาจโหวตตามกระแสหรือตามการล็อบบี้ ซึ่งประชาชนจะไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ว่า แรงจูงใจในการโหวตเกิดจากอะไร เป็นตัวของตัวเองหรือไม่
แต่ถ้าหาก สปช. ทุกคนจัดทำคำแถลงส่วนตนแล้วเปิดเผยผ่านสาธารณะ อธิบายเหตุผลประกอบในการลงมติ ก็จะทำให้การลงมติมีความสง่าสงาม ไม่ถูกมองเป็นเกม หรือมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ไม่ว่าผลการลงมติจะออกมาทางใดก็ตาม คล้ายๆ กับกระบวนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ตุลาการแต่ละท่าน ทำคำวินิจฉัยส่วนตน และคำวินิจฉัยกลางด้วย ทำให้ประชาชนตรวจสอบเหตุผล และที่มาที่ไปการลงมติของแต่ละท่านได้ เพราะการลงมติครั้งนี้ ถือเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย และ สปช.ทั้ง 250 คน ก็ถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
" ผมเป็นห่วงว่า สุดท้ายแล้วการลงมติของ สปช. อาจไม่ได้ยืนอยู่บนฐานของการปฏิรูปอย่างเดียว แต่อาจมีแรงจูงใจทางอื่นเข้ามาเจือปนจนอาจทำให้การลงมติเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะทำก็เป็นไปได้เช่นกัน" นายสุริยะใส กล่าว
**หนุนยึดโรดแมป ดีกว่าคว่ำรธน.
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการ วิปสปช. ได้เขียนข้อความลงในทวิตเตอร์ส่วนตัว ว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่เดือนสุดท้ายของหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญอีกครั้ง เมื่อ สปช.จะต้องลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ การเคลื่อนไหวทางการเมืองเริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น เมื่อใกล้ถึงวันลงมติรัฐธรรมนูญ ทั้งการคว่ำรัฐธรรมนูญ จนถึงประชามติให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 2 ปี ซึ่งการกระทำใดๆในช่วงนี้ ล้วนมีผลต่ออนาคตของประเทศทั้งสิ้น ถ้าทุกคนทุกฝ่าย คิดถึงประเทศมากกว่าอนาคตของตัวเอง ว่าจะมีได้ใคร่ดี ประเทศก็มีอนาคต เพราะเราต้องเดินหน้าด้วยระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และพิมพ์เขียวปฏิรูป เพื่ออัพเกรดประเทศสู่ศักยภาพ และอนาคตใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจุดยืนของนายกรัฐมนตรี ที่ยึดมั่นการเดินตามโรดแมปนั้น ถูกต้องแล้ว เพื่อช่วยให้ประเทศไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน และไม่แน่นอน เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะกระทบต่อโรดแมป มีแต่จะสร้างความขัดแย้ง ซ้ำเติมประเทศ และยากที่ประเทศจะตั้งลำ เดินหน้าใหม่บนเส้นทางการปฏิรูปอย่างที่หวัง
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ปฏิรูปประเทศมาโดยตลอดหลังรัฐประหาร ตั้งแต่การนำประเทศสู่ความสงบสุข การบังคับใช้กฎหมายจัดระเบียบบ้านเมือง การปราบทุจริต และธุรกิจมืด การปราบผู้มีอิทธิพล การคืนผืนป่า การออกกฎหมายภาษีมรดก การปฏิรูปเศรษฐกิจระดับโครงสร้าง การสร้างศักยภาพใหม่บนฐานเขตเศรษฐกิจชายแดนเชื่อมโยงอาเซียน การแก้ปัญหาค้ามนุษย์ ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่ารัฐบาลปฏิรูปประเทศมาปีกว่า และมีเวลาอีก 1 ปี ที่จะปฏิรูปประเทศ ก่อนมอบหน้าที่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งรับผิดชอบประเทศต่อไปตามโรดแมป ยิ่งกว่านั้น ยังมีพิมพ์เขียวปฏิรูป ที่สปช.ทำเสร็จในวันที่ 13 ส.ค. นี้ และรัฐธรรมนูญที่จะลงมติ และทำประชามติ เพื่อความชอบธรรมเป็นรากฐานของประชาธิปไตยและการปฏิรูป
"ปัญหาที่สะสม หมักหมมมานาน จะแก้ให้หมดในรัฐบาลเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั้งโลกเช่นนี้ ขอแต่คนอื่นอย่าสร้างปัญหาซ้ำเติมก็เป็นพอ ซึ่งการเดินตามโรดแมป และร่วมกันขับเคลื่อนการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรัฐบาลนี้ และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งปลายปีหน้า จะดีที่สุดสำหรับประเทศ ดังนั้นข้อเสนอให้คว่ำรัฐธรรมนูญ หรือปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 2 ปี แฝงความพยายามหาทางออกให้ประเทศ แต่เกรงว่าจะก่อวิกฤติความขัดแย้งครั้งใหม่ สู้ให้ประเทศเดินตามโรดแมปจะดีกว่า" นายอลงกรณ์ กล่าว
**ยันปฏิรูปก่อนลต.ไม่ทำให้แตกแยก
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิกสปช. ในฐานะผู้ร่วมลงชื่อเสนอญัตติประเด็นขอให้มีการปฏิรูปประเทศ 2 ปี ก่อนจัดการเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่ขณะนี้มีความเห็นแตกต่าง ต่อประเด็นการปฏิรูป ที่บางส่วนออกมาระบุว่า ควรยึดตามโรดแมป ว่าวัตถุประสงค์ของการเสนอญัตติดังกล่าว เพื่อที่เราต้องการให้มีการแนบไปกับคำถามประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เพราะต้องเข้าใจว่า คนที่ลงประชามติ เป็นประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถ้าเสียงส่วนใหญ่ออกมายอมรับเรื่องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เท่ากับเป็นการสะท้อนความเห็นของประชาชน ซึ่งมีความชอบธรรม แต่ถ้าประชาชนส่วนใหญ่บอกว่า ไม่เห็นชอบที่จะให้มีการปฏิรูปก่อน ก็ไม่ต้องทำ ตนยืนยันว่า การนำเสนอประเด็นดังกล่าวจะไม่สร้างความสับสนแก่ประชาชน
อย่างไรก็ตาม คิดว่าขณะนี้หลายคนไปยึดติดเรื่องการเลือกตั้ง ว่าเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งที่จริงแล้วเรื่องดังกล่าวได้บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ หมวดว่าด้วยการเลือกตั้งอยู่แล้วส่วนหนึ่ง
** ดุสิตโพลหนุนปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
สวนดุสิตโพล ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,204 คน ระหว่างวันที่ 3-8 ส.ค.58 เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยเฉพาะกรณีการปฏิรูปประเทศ การเลือกตั้งครั้งใหม่ และการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณี บ้านเมือง ณ วันนี้ ประชาชนอยากให้การเมืองไทยดำเนินไปในทิศทางใด อันดับ 1 ปฏิรูปประเทศให้เสร็จก่อน แล้วจึงมีการเลือกตั้ง 47.06% เพราะ บ้านเมืองขณะนี้ประสบปัญหาหลายด้าน ควรจะแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ให้แล้วเสร็จก่อน จะได้ไม่มีความขัดแย้งหรือเกิดปัญหาภายหลัง อยากเห็นประเทศมีเสถียรภาพ มีรากฐานที่มั่นคง การเลือกตั้งอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ฯลฯ
อันดับ 2 เดินตามโรดแมป (Road Map)โดยมีการเลือกตั้งในปีหน้า (ปี 2559)22.07% เพราะระยะเวลาตามโรดแมปมีความเหมาะสม คิดว่าไม่ใช่ปัญหาและไม่นานเกินไป บ้านเมืองมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก ขึ้นอยู่กับความพยายามและความตั้งใจจริงในการทำเพื่อชาติบ้านเมือง ฯลฯ
อันดับ 3 อย่างไรก็ได้ แล้วแต่นายกรัฐมนตรี 14.83% เพราะเชื่อมั่นในตัวนายกฯ การตัดสินใจต่างๆน่าจะผ่านการพิจารณาคัดกรองมาอย่างดีแล้ว ตั้งแต่มีคสช. และรัฐบาลทหารเข้ามาดูแล บ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 4 เลือกตั้งให้เร็วที่สุดก่อนโรดแมปกำหนดไว้ 9.31% เพราะอยากได้นายกฯที่มาจากการเลือกตั้ง ควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้งในบ้านเมือง เศรษฐกิจจะได้ดีขึ้น ต่างชาติให้การยอมรับ ฯลฯ
อื่นๆ อยากให้เดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องประชาชนก่อน, ดำเนินการกับข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริต คอร์รัปชันสร้างความเสียหายให้กับบ้านเมือง , ควรประเมินจากสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน , ไม่ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเสมอ ฯลฯ 6.73%
** แนะ"บิ๊กตู่"ตั้งครม.ปรองดอง
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ กรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า กรณีที่ สปช.บางคนเสนอให้ล้มรัฐธรรมนูญ หรือให้คสช.อยู่เพื่อปฎิรูปต่อไปอีก 2 ปี เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจแต่สิ่งที่สำคัญกว่าควรอยู่ต่อหรือไม่ คือ จะอยู่เพื่ออะไร ในฐานะที่ตนเป็นกรรมการปรองดองเห็นว่า การสร้างความปรองดองเป็นหัวใจของการปฏิรูป และเป็นการวางรากฐานที่ดีในทางการเมือง หากเร่งรีบเลือกตั้งโดยที่ความปรองดองยังไม่เกิด สังคมก็จะกลับสู่วงจรความขัดแย้งแบบไม่รู้จบ วันนี้ต้องยอมรับว่าเรามาถึงจุดที่ฝ่ายที่ขัดแย้งกันไม่สามารถเอาชนะกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อยู่ในภาวะที่เรียกว่า ฝ่ายหนึ่งอาจจะชนะได้ แต่ปกครองประเทศนี้ไม่ได้
ดังนั้น หากคสช. จะอยู่ต่อ ก็ต้องมีเงื่อนไขว่าเมื่อกลับไปเลือกตั้งแล้วสังคมจะไม่กลับไปขัดแย้งแบบเดิมอีก จึงขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่งสัญญาณความปรองดองตามที่สัญญาไว้ในการทำรัฐประหาร โดยควรปรับครม. ดึงคนที่มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถจากทุกกลุ่ม ทุกขั้วสี เข้ามาช่วยงานรัฐบาล เป็นลักษณะรัฐบาลช่วยชาติ หรือ ครม.ปรองดอง แนวทางนี้จะช่วยละลายความขัดแย้งในบ้านเมืองลงได้ และเอาคนเหล่านี้ มาปฏิรูปในเรื่องสำคัญๆ ที่ประชาชนเรียกร้อง เช่นความเหลื่อมล้ำ หรือการปฏิรูปตำรวจ
"สิ่งสำคัญกว่า คสช. จะอยู่ต่อหรือไม่ คือ จะอยู่เพื่ออะไร วันนี้ถ้าการเมืองยังไม่มีความปรองดอง เราจะเจอกับความขัดแย้งไม่สิ้นสุด ฉะนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ต้องสร้างครม.ปรองดอง ขึ้นมาเป็นรัฐบาลช่วยชาติ เพื่อเปิดทางให้ทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันมาช่วยกันฉุดประเทศไทยให้พ้นจากปากเหว พลิกวิกฤตด้านต่างๆโดยเฉพาะเศรษฐกิจ สร้างความปรองดองให้เป็นเครื่องมือในการสร้างชาติให้มันคงแข็งแรงก่อนจะกลับไปสู่การเลือกตั้ง" นายอดุลย์ กล่าว
** ตอก"สุเทพ"อย่าทำตัวเป็นคนแก่ขี้บ่น
นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวตอบโต้กรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมู่ลนิธิมวลมหาประชาชน ออกมาวิพากษ์ วิจารณ์การทำงานของกกต.ทุกชุดที่ผ่านมาว่า มีความบกพร่อง ไม่โปร่งใส ปล่อยให้มีการทุจริต ซื้อเสียง เป็นองค์กรอิสระ ที่แย่ที่สุด ทำงานไม่ได้ผล ต้องมีการยกเครื่องใหม่หมดว่า ที่จริงแล้วกกต.ชุดนี้ เป็นชุดที่ 4 ที่เข้ามารับหน้าที่ และเกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองอย่างรุนแรง จนทำให้การเลือกตั้ง เกิดขึ้นไม่ได้ นั้น
"เราก็มีความเห็น และจุดยืน ที่ไม่ต่างกับท่านสุเทพ ที่อยากเห็นการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม เราจึงได้พยายามหามาตรการใหม่ๆนำเสนอต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่อง อำนาจในการออกใบเหลือง ใบแดง ใบส้ม รวมทั้งการตั้งหน่วยข่าวกรอง เพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง เพื่อให้ผู้สมัครที่คิดทุจริตการเลือกตั้งได้เลิกล้มความคิดไม่กล้ากระทำผิด รวมทั้งหาวิธีลงโทษผู้สมัครที่จงใจใช้เงิน ซื้อเสียง ฯลฯ โดยขอให้ กกต. กลับมามีอำนาจ มีความเด็ดขาดเป็นยักษ์ที่มีกระบองเหมือนกกต.ชุดแรกเมื่อปี 40 แต่ที่ผ่านมากรรมาธิการยกร่างฯ เหมือนไม่สนใจไม่ยอมรับฟัง
"ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านสุเทพว่าถ้าไม่ปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะระบบการเลือกตั้งเสียก่อนแล้วปล่อยให้มีการเลือกตั้งแบบเดิม
ก็หนีไม่พ้นการเมืองน้ำเน่าอย่างเดิม แต่ท่านสุเทพและคณะมูลนิธิฯ ก็ต้องไม่เพียงแต่พูด แต่บ่น ตำหนิคนอื่น แต่ต้องช่วยกันเสนอแนวความคิด ทางออก ให้กับประเทศในเรื่องนี้ด้วย มิฉะนั้นแทนที่ท่านจะใช้ประสบการณ์ทางการเมืองของท่านที่มีอย่างโชกโชนล้นเหลือให้เกิดประโยชน์กับบ้านเมืองในยามวิกฤต ก็จะกลายเป็นคนแก่ขี้บ่นอีกคนหนึ่งที่หาสาระไม่ได้เลย" นายประวิช กล่าว