อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ขณะนี้กลุ่มตระกูล ส ทางสุขภาพ (อันได้แก่ สปสช. สวรส. สพฉ. สสส. สช.) ร่วมกับ TDRI สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย TDRI ได้เปิดประชาพิจารณ์พรบ เพื่อรวมกองทุนสุขภาพทั้งหมดของประเทศไทย www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000081155 อันได้แก่ 1. สิทธิเบิกจ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาลของราชการซึ่งปัจจุบันดูแลโดยกรมบัญชีกลาง มีข้าราชการและผู้มีสิทธิรวมประมาณหกล้านคน มีเงินงบประมาณประมาณปีละ 60,000 ล้านบาท 2. สิทธิของกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีผู้ประกันตนประมาณ 11 ล้านคน มีเงินงบประมาณการใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี
3. กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งดูแลโดย สปสช. ได้รับงบประมาณปีละ 155,000 ล้านบาทต่อปี มีผู้มีสิทธิ 48 ล้านคน และปกติจะได้เงินงบประมาณเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 10,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสวัสดิการรักษาพยาบาลอื่นๆ เช่น พนักงานมหาวิทยาลัย อปท. ต่างๆ และ พ.ร.บ. ฉบับนี้กำลังจะนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผมจึงขอร่วมด้วยช่วยประชาพิจารณ์ สามารถดาวน์โหลดเพื่ออ่านร่างพรบดังกล่าวได้ที่ www.dropbox.com/s/1zuqivq2w2sg2bt/Attach%203.pdf?dl=0 และ สามารถอ่านแนวความคิดที่นำเสนอโดย TDRI (การศึกษาและการจัดทำข้อเสนอการพัฒนากลไกกลาง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ) ได้ที่ www.dropbox.com/s/er85t31i2oku30z/Attach%202.pdf?dl=0
และที่ tdri.or.th/tdri-insight/20150605/
การรวมกองทุนสามกองทุนดังกล่าวทำให้การรวมกองทุนมีผู้มีสิทธิ์ต้องดูแลทั้งสิ้น 65 ล้านคน มีเงินงบประมาณที่ต้องบริหารมากกว่า 255,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็น 10-15% ของเงินงบประมาณแผ่นดิน
การตั้งสภาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ร.บ.นี้มีอำนาจล้นฟ้า เป็นรัฐประหารทางการแพทย์ เนื่องจากมีอำนาจควบคุม
1) นโยบายประกันสุขภาพทั้งประเทศ ตามมาตรา 11 ข้อ1
2) งบประมาณประกันสุขภาพทั้งประเทศตามมาตรา 11 ข้อ2
3) การกำกับดูแลหน่วยงานให้บริการทั้งประเทศ ตามมาตรา 11 ข้อ3 และ ข้อ 5
4) กำหนดมาตรฐานในการรักษาพยาบาลทั้งประเทศ ตามมาตรา 11 ข้อ4 และมาตรา 14 ข้อ 4 โดยกำหนดชุดสิทธิประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจะทำให้มาตรฐานทางการแพทย์ตกต่ำลงไปโดยเฉพาะสิทธิราชการ
5) ควบคุมการเบิกจ่ายเงินการระบบบริการสุขภาพทั้งประเทศทั้งหมด ตามมาตรา 14 ข้อ 4
6) ควบคุมข้อมูลทั้งหมดของระบบประกันสุขภาพทั้งประเทศ ตามมาตรา 14 ข้อ 7
7) ตรวจสอบการทำงานของสถานพยาบาลทุกประเภท ทั้งรัฐและเอกชน ทั้งประเทศ ตามมาตรา 29 และถือเป็นคดีอาญาหากผู้ใดไม่ทำตาม
8) มีอำนาจลงโทษสถานพยาบาล หน่วยงานผู้ให้บริการทุกชนิดทั้งประเทศ ถึงขั้นเพิกถอน สั่งปิด หรือเข้าไปดำเนินการแทนสถานพยาบาลได้ทั่วทั้งประเทศตาม มาตรา 30 วรรค 1 และ 2 สำหรับโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลับก็ถูกลงโทษฐานละเมิดตามมาตรา 32
9) มีอำนาจลงโทษเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเอกชนที่ให้บริการสุขภาพ ทั้งประเทศ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ตามมาตรา 33
หากพิจารณาจะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. นี้ มีอำนาจล้นฟ้า ไม่แตกต่างจากการทำรัฐประหารทางการแพทย์ บางมาตรามีอำนาจแทบจะเท่ากับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่กำลังใช้ในปัจจุบัน (สำหรับวงการแพทย์) และก้าวล่วง override กฎหมายอื่นๆ เช่น พ.ร.บ.แพทยสภา พ.ร.บ.สถานพยาบาล อีกมากมายหลายฉบับ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่หน้าที่ ของ สำนักงานสภาประกันสุขภาพเลย
นอกจากนี้สำนักงานสภาประกันสุขภาพแห่งชาติยังได้เงินค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.5 ของงบประมาณด้านสุขภาพทั้งหมดของประเทศ (หรือ 2,000 ล้านบาทในปีแรก และมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ) ตามมาตรา 12 วรรค 2 ทั้งเลขาธิการสภาประกันสุขภาพแห่งชาติยังดำรงตำแหน่งได้ถึง 10 ปี ตามมาตรา 17
มีผู้มาแสดงความเห็นใน “ใช้บัตรทองตายเยอะกว่า ขรก.? เรื่องวุ่นๆ ของการตีความงานวิจัย” ในwww.hfocus.org/content/2015/07/10400 เอาไว้อย่างแหลมคมว่า
วิจัย...วิบัติ • 2 days ago ผลงานวิจัยสุขภาพของ TDRI จากการรายงานของ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านประกันสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ กล่าวว่า เมื่อ เปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำด้านผลลัพธ์ทางสุขภาพ ระหว่างระบบสวัสดิการถ้วนหน้า กับระบบข้าราชการ ของโอกาสการอยู่รอดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ติดตามตั้งแต่อายุ 60 ปี หลังจากเข้ารับการรักษา 10 วัน พบว่า 82% ผู้ป่วยระบบข้าราชการ ยังคงมีชีวิตอยู่ และ 68% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้ายังคงมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าหลัง 40 วัน พบว่า 57% ผู้ป่วยระบบข้าราชการ ยังคงมีชีวิตอยู่ และ 29% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้า ยังคงมีชีวิตอยู่ นั้น http://www.hfocus.org/content/... ขบวนการเครือข่ายบัตรทองสามสิบบาทนายหน้าค้าประกันกินหัวคิวหลักประกันสุขภาพสุขภาคภาครัฐ พวกเขาแค่ต้องการใช้การตีความงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อเป็นข้ออ้าง เป็นหลักฐานทางวิชาการ เป็นหลักการและเหตุผลในการดันตั้งองค์กรกลางคุม 3 กองทุนประกันสุขภาพรัฐ รวมสามกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และบัตรทองสามสิบบาทเข้าด้วยกันเท่านั้น โดยข้ออ้างว่าจะสามารถขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางด้านบริการสุขภาพในสังคมไทยได้...ทั้ง ๆ ที่มันไม่เป็นความจริง เพราะสวัสดิการสุขภาพภาครัฐมันไม่ได้มีแค่สามกองทุนนี้เท่านั้น แต่มันยังมีกองทุนอื่น ๆ อีกหลาย ๆ กองทุน เช่น สวัสดิการพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ พนักงานส่วนท้องถิ่น ครูโรงเรียนเอกชน พนักงานองค์การมหาชน พนักงานองค์กรอิสระของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ฯลฯ..........การรวมแค่สามกองทุนดังกล่าวมันจะไปสร้างความเป็นธรรมและขจัดความเหลื่อมล้ำทางด้านสวัสดิการสุขภาพของรัฐทั้งหมดในสังคมไทยได้ยังไง คำถามคือ.....แล้วทำไมขบวนการเครือข่ายบัตรทองสามสิบบาท เครือข่ายนายหน้าค้าประกันกินหัวคิวหลักประกันสุขภาพภาครัฐจึงกระเหี้ยนกระหือรือที่จะพยายามรวมสามกองทุนนี้ให้ได้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันไม่สามารถสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำได้ทั้งหมดจริง ? คำตอบที่พอจะมองเห็นได้ก็น่าจะมีสองประการใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ ประการแรก สามกองทุนนี้มียอดเงินงบประมาณแผ่นดินรวมกันหลายแสนล้านบาท หากรวมกันได้ก็จะเป็นที่อิ่มหนำสำราญของเครือข่ายพรรคพวกนายหน้านักค้าประกันกินหัวคิวประกันสุขภาพภาครัฐจากงบประมาณแผ่นดินหลายแสนล้านบาทดังกล่าวแล้ว อีกประการหนึ่ง พวกเครือข่ายบัตรทองสามสิบบาทนายหน้าค้าประกันกินหัวคิวหลักประกันสุขภาพภาครัฐเหล่านี้ ก็น่าจะตระหนักรู้อยู่แล้วว่า หากงบประมาณบัตรทองยังมีอัตราเพิ่มอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ในอนาคตข้างหน้างบประมาณไม่พอแน่ ๆ กองทุนนี้มีหวังล่มสลายแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว ไปไม่รอดแน่ ๆ การเอางบประมาณอีกหลายแสนล้านบาทของประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการเข้ามารวมเข้าด้วยกันกับกองทุนสามสิบบาท ก็น่าจะยืดอายุของบัตรทองไปได้อีกสักระยะหนึ่ง และกลุ่มผู้ใช้สวัสดิการข้าราชการและประกันสังคมนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่มคนที่มีสุขภาพดี มีอัตราการเจ็บป่วยโดยเฉลี่ยน่าจะน้อยกว่ากลุ่มบัตรทอง ยอดเเงินที่เหลือของกลุ่มนี้จึงน่าจะเข้ามาช่วยพยุงฐานะของกองทุนบัตรทองให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ยาวนานอีกระยะหนึ่ง การนำผลงานวิจัยไปใช้ตีความแค่เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องเครือข่ายฯ อย่างที่ตั้งธงเอาไว้แล้วนั้น นับเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจน่าละอายอย่างยิ่งสำหรับวงการการนักวิจัยของประเทศไทยเรา อย่าคิดว่าชาวบ้านเขาไม่รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายวาระซ่อนเร้นผลประโยชน์ทับซ้อนแอบแฝงของเครือข่ายนายหน้าค้าประกันกินหัวคิวประกันสุขภาพภาครัฐ เครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนปัจจัยแจกจ่ายจาก สปสช. |
สำหรับผมมีความเห็นคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ เพราะผิดหลักการประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาล เป็นการรวบอำนาจสู่ศูนย์กลาง ไม่ใช่การกระจายอำนาจเพื่อให้คนกลุ่มเดียวกุมสาธารณสุขของชาติ ไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุล มีผลประโยชน์จากการดูแลงบประมาณมหาศาลอันอาจจะนำไปสู่การทุจริตได้โดยง่าย และดูแลชีวิตคนไทยจำนวนมากมาย ทั้งๆที่ การบริหารงานสาธารณสุขของคนกลุ่มนี้ ตระกูล ส และ สปสช มีผลงานที่ไม่น่าพอใจเลย มีอัตราการตายสูงมากกว่าปกติถึง 70% ในบางโรค โปรดดูใน ผู้ถือบัตรทอง ตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง โรคมะเร็งมากกว่าปกติถึง ร้อยละ 70 เพราะเหตุใด? ผู้เกี่ยวข้องโปรดเร่งหาคำตอบ! www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000066299 และ “สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยบัตรทองตายมากผิดปกติหลายหมื่นคนต่อปีคืออะไร? ป้องกันได้หรือไม่? การแก้ไขปัญหาจะทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามั่นคง ผู้ใช้สิทธิบัตรทองได้รับการดูแลอย่างดี และควรทำอย่างเร่งด่วนเพื่อหยุดการตายที่ป้องกันได้” manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000069318
และอัตราการตายในภาพรวมของบัตรทองก็สูงกว่ามากมายดังที่นางวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ได้ออกมาพูดว่า “หลังจากเข้ารับการรักษา 10 วัน พบว่า 82% ผู้ป่วยระบบข้าราชการ ยังคงมีชีวิตอยู่ และ 68% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้ายังคงมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าหลัง 40 วัน พบว่า 57% ผู้ป่วยระบบข้าราชการ ยังคงมีชีวิตอยู่ และ 29% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้า ยังคงมีชีวิตอยู่” (ที่มา : www.hfocus.org/content/2015/06/10108)
หรือเรากำลังจะทำให้ระบบประกันสุขภาพบางส่วนที่ดีอยู่แล้วลงมาแย่เท่าๆ กันหมด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเราจะไว้ใจคนที่บริหารระบบสุขภาพแล้วล้มเหลว มีอัตราการตายสูงมากมาย แต่กลับมานำเสนอให้รวมกองทุนทั้งหมด เราจะไว้ใจผู้ที่ทำงานล้มเหลวทำให้คนไทยตายสูงกว่ากันมากมาย มาบริหารชีวิตสุขภาพคนไทยทั้งประเทศได้อย่างไร เราจะทำของที่ดีอยู่ให้ลงมาเลวเท่าๆ กัน เช่นนั้นหรือ? ถ้าเลือกได้ ถามจริงๆ เถิดว่าถ้าพ่อแม่ของผู้ทำวิจัยจาก TDRI เองเจ็บป่วยจะรักษาด้วยบัตรทองหรือส่งเข้ารับการรักษาด้วยสิทธิราชการ
นอกจากนี้การรวมอำนาจขนาดนี้ทั้งประเทศมีปัญหาแน่ เป็นภัยความมั่นคงของชาติ จะเกิดภาวะรัฐซ้อนรัฐได้โดยง่าย นอกจากนี้ Absolute power corrupts absolutely. เราไม่ควรให้ใครทั้งนั้นมีอำนาจล้นฟ้าขนาดนี้ แต่ควรเน้นการกระจายอำนาจ การตรวจสอบและถ่วงดุล เพื่อให้เกิด ธรรมาธิปไตยในระบบสาธารณสุข
โดยเฉพาะข้าราชการ ควรออกมาพิทักษ์สิทธิ์ของตน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่เสียเงินก็เช่นกันไม่ควรนิ่งเฉย ถ้าไม่อยากให้ชีวิตตนเองมีโอกาสเสี่ยงตายมากขึ้น และสปสช ควรกลับไปทบทวนตัวเองว่าจะทำเช่นไรให้อัตราการตายลดลง ส่วน TDRI ควรกลับไปถามตัวเองว่าจะ ปกป้องหน่วยงานผู้ให้ทุนวิจัย หรือ ปกป้องประชาชนให้พ้นจากการเสียชีวิต? โปรดดูได้ใน www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000075449