เรียน สื่อมวลชน ทุกท่าน
เมื่อ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง ผลลัพธ์ทางสุขภาพและความเป็นธรรมทางสุขภาพ จาก TDRI ได้ออกมาเผยแพร่งานวิจัยของตนเอง โดยกล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำด้านผลลัพธ์ทางสุขภาพ ระหว่างระบบสวัสดิการถ้วนหน้า กับระบบข้าราชการ ของโอกาสการอยู่รอดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ติดตามตั้งแต่อายุ 60 ปี หลังจากเข้ารับการรักษา 10 วัน พบว่า 82% ผู้ป่วยระบบข้าราชการ ยังคงมีชีวิตอยู่ และ 68% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้ายังคงมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าหลัง 40 วัน พบว่า 57% ผู้ป่วยระบบข้าราชการ ยังคงมีชีวิตอยู่ และ 29% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้า ยังคงมีชีวิตอยู่” (ที่มา : www.hfocus.org/content/2015/06/10108)
เมื่อทราบเช่นนี้เราได้ติดตามอ่านรายงานของทีดีอาร์ไอดังกล่าวและศึกษา จัดกลุ่มย่อยว่า 5 โรคนั้นมีสัดส่วนการตายต่างกันอย่างไร เพื่อสอบถามแพทย์เฉพาะทางที่รักษาผู้ป่วยในโรคนั้นๆว่าสาเหตุที่อัตราการตายของผู้ที่อยู่ในระบบสวัสดิการถ้วนหน้าสูงเพราะอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการสูญเสียที่น่าจะป้องกันได้ www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000066299
อย่างไรก็ดีมีคำถามจากทีดีอาร์ไอหลายข้อ www.isranews.org/isra-news/item/39492-tdri_39492.html เช่น ถามว่าผู้เขียนทำอย่างนี้ถูกหรือผิดตามหลักจริยธรรมงานวิจัยหรือไม่ เพราะผู้เขียนไม่ได้อ้างอิงหรือศึกษาต่อจากทีดีอาร์ไอในเรื่องความเหลื่อมล้ำแต่กลับศึกษาเรื่อง การตาย (ความหมายใช้สลับกับอัตราการอยู่รอดได้)
ผู้เขียนขอตอบว่าวิธีการนี้เป็นลักษณะปกติที่จะพบได้จากงานวิจัยทางการแพทย์แทบจะทุกชิ้น กล่าวคือการศึกษาต่อเนื่องไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาแต่เฉพาะวัตถุประสงค์เดิม และอันที่จริงเป็นลักษณะปกติที่สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดการแตกแขนงต่อยอดความรู้ เช่น
Joshua Lederberg ได้ค้นพบโครโมโซมเล็กๆ ที่เรียกว่า Plasmid ในแบคทีเรีย และพบว่าสามารถใส่ยีนเล็กๆ ลงไปในโครโมโซมของแบคทีเรียนั้นได้ ก็มีคนมาค้นคิดต่อว่าสามารถตัดต่อยีนบางอย่างทางการแพทย์ ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (Genetic Engineering) ทำให้สามารถผลิตโปรตีนอินซูลินช่วยผู้ป่วยเบาหวานจากแบคทีเรียได้
Joseph Lister ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษได้สังเกตว่ากรด Carbolic สามารถบรรเทากลิ่นเน่าเหม็นของน้ำเสียที่ระบายออกมาได้และอาศัยความรู้จากการศึกษางานเรื่องจุลินทรีย์ของ Louis Pasteur เลยทดลองให้ใช้ Carbolic acid เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับการผ่าตัด ทำให้คนไข้ที่รับการผ่าตัดรอดตายจากการติดเชื้อ
Alexander Fleming ค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดแรกของโลกคือ Penicillin จากการไม่ยอมโยนทิ้งแผ่นเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่ขึ้นราทำให้สามารถช่วยรักษาชีวิตมนุษย์ได้มากมาย
เรามาลองคิดกันว่าหากครูบาอาจารย์นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ชั้นยอดเหล่านี้ไม่สังเกต ไม่วิเคราะห์ ข้อมูลทุติยภูมิหรือสังเกตความแตกต่างดังกล่าวแล้ววิเคราะห์ด้วยจินตนาการหรือต่อยอดความรู้ออกไป จดจ่ออยู่แค่ข้อมูลนั้นๆ ทื่อๆ ไม่คิดนอกกรอบ ไม่พยายามหาคำอธิบายอื่นหรือนำไปประยุกต์อย่างอื่นเลย จะทำให้เราเกิดองค์ความรู้ด้านพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่นำมาสู่การรักษาโรคต่างๆ มากมาย การผลิตโปรตีนอินซูลินจากแบคทีเรีย การป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัด การค้นพบยาปฏิชีวนะที่ช่วยชีวิตคนทั้งโลกได้มากมายเพียงใด โลกคงไม่ก้าวไปข้างหน้า
ผู้เขียนทราบดีว่า ทีดีอาร์ไอต้องการศึกษาความเหลื่อมล้ำ แต่ผู้เขียนมองเห็นว่า การตายที่สูงกว่าของผู้ใช้สิทธิระบบสวัสดิการถ้วนหน้ามีความสำคัญ การศึกษาต่อเนื่องของผู้เขียนจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้
คำถามสุดท้ายที่สำคัญคือคุณค่าของงานวิจัย คุณค่าของงานวิจัยจะถูกจำกัดอยู่เพียงข้อสรุปของชิ้นงานนั้นๆ หรือไม่ คำตอบคือคุณค่าของงานวิจัยอยู่ที่ความรู้จากงานวิจัยนั้นๆ ได้ถูกนำไปใช้ในกรณีใด เช่น งานวิจัยของทีดีอาร์ไอชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ความเหลื่อมล้ำ แต่ปรากฏว่าผู้เขียนเห็นว่าอัตราการตายที่รายงานในงานวิจัยนี้มีความสำคัญ ถ้าหากมีการศึกษาต่อเนื่องจนสามารถหามาตรการในการแก้ไขจนสามารถป้องกันการตายของผู้ใช้สิทธิระบบสวัสดิการถ้วนหน้าที่สูงกว่าสิทธิข้าราชการได้ คุณงามความดีจากการช่วยชีวิตคนหลายล้านคนในอนาคตนี้ก็ตกแก่ทีดีอาร์ไอและคณะผู้วิจัยด้วยเช่นกัน
ขณะนี้งานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเรื่อง ผลลัพธ์ทางสุขภาพและความเป็นธรรมทางสุขภาพ ได้เปิดให้ดาวน์โหลดได้แล้วทั้งฉบับ tdri.or.th/research/just_health/ จากเดิมที่ดาวน์โหลดได้เพียงบทสรุปผู้บริหารและสารบัญเท่านั้น และผู้เขียนได้ไปขอร้องเพื่อนใน TDRI ให้ส่งรายงานการวิจัยฉบับเต็มมาให้อ่าน นักวิจัยและแพทย์ทุกคนต่างปรารถนาที่จะอ่านรายงานตัวเต็มฉบับนี้ทั้งสิ้น เมื่อผู้เขียนได้มาก็ส่งต่อให้นักวิจัย แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิต นักระบาดวิทยา อาจารย์โรงเรียนแพทย์ ให้ช่วยกันอ่านและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะล้มล้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับคนไทย โดยเฉพาะคนยากจนหรือทำลายเครดิตของ TDRI แต่อย่างใด แต่มีเจตนาให้ประเทศไทยปรับปรุงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ดีขึ้น ไม่มีคนตายมากมายเช่นนี้ และมีความสมเหตุสมผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องขอบคุณ TDRI เป็นอย่างยิ่ง ณ ที่นี้
ในทางวิชาการและการทำงานวิจัยนั้น การโต้แย้งทางวิชาการและนำข้อมูลที่เผยแพร่แล้วมาวิเคราะห์ใหม่ เป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติ ดังนั้นการที่ TDRI รู้สึกไม่สบายใจและออกมาโต้แย้งไม่ให้คนตีความงานวิจัยของตนเอง จึงเป็นเรื่องที่ผิดไปจากปกติวิสัยทางวิชาการ ซึ่งผู้ที่เป็นนักวิจัยมืออาชีพทั้งหลายล้วนตระหนักว่าวิชาการจะมีความงอกงามได้นั้นเกิดจากวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์
แม้กระทั่ง TDRI เองก็วิจารณ์วิเคราะห์งานวิจัยของผู้เขียนทั้งสองเรื่อง “1.3% หรือ 4% ของ GDP สำหรับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่เป็นภาระทางการคลังจริงหรือ?” www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000058739 ด้วยบทความ ข้อคิดเห็นบางประการต่อบทวิจารณ์โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค tdri.or.th/tdri-insight/30bahtscheme/
การที่ TDRI ออกมาห้ามวิจารณ์ อย่าสรุปงานวิจัยของคนอื่น ไปเป็นอย่างอื่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเพราะตัว TDRI เองก็ทำสิ่งที่ตนห้ามคนอื่นทำอยู่ จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะห้ามนักวิจัยอื่นทำ จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่าประเด็นนี้ค่อนข้างจะขัดกับแนวทางเสรีนิยมและแนวทางประชาธิปไตยที่ TDRI ส่งเสริมมาโดยตลอด นักวิชาการที่ดีควรดำรงตนให้สมกับที่ตัวเองสอนสั่ง Teach but not preach เป็นหลักการที่อาจารย์มหาวิทยาลัยระมัดระวังอย่างมากในการสอนนักศึกษา เพราะตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน
ในทางวิชาการและการวิจัยนั้น เมื่อใครก็ตามตีพิมพ์สิ่งใดออกมาแล้วใครๆ มีสิทธิ์จะทราบได้ โดยเฉพาะ งานวิจัยของ TDRI ที่ได้ทุนวิจัยมาจาก สปสช. ซึ่งใช้เงินงบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ทั้งงานวิจัยนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชนย่อมเป็นเรื่องที่ควรเปิดเผยให้ประชาชนผู้เสียภาษีได้รับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสปสช. มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพการรักษาพยาบาลของคนไทยทั้งประเทศและ TDRI ก็มีฐานะเป็น Think Tank ของประเทศไทย ซึ่งเราก็อยากจะช่วยทำหน้าที่ดังกล่าวด้วยในฐานะนักวิชาการ
การโต้แย้ง การวิเคราะห์ใหม่ การสังเคราะห์ใหม่ การวิพากษ์วิจารณ์เมื่อนักวิชาการท่านใดส่งงานวิจัยของตนไปตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการนั้นเป็นเรื่องปกติ หากเคยอ่านวารสารวิชาการในต่างประเทศจะมีทั้งคนที่สนับสนุนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่เรียกว่า Rejoinder และมีคนที่คัดค้านที่เรียกว่า Rebuttal บางฉบับมี feature article เพียงบทความเดียว มีบทความโต้มากกว่า 20 บทความพวกเราต่างก็เคยเห็นมาแล้ว
ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือในต่างประเทศมีความนิยมกันแพร่หลายที่จะให้เผยแพร่ข้อมูลดิบให้สามารถดาวน์โหลดไปได้ฟรีๆ เพื่อให้นักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา นำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการใหม่เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ หรือความงอกงามทางวิชาการ สิ่งที่ผู้เขียนทำจึงไม่ได้ผิดจากวัฒนธรรมทางวิชาการในระดับสากลแต่อย่างใด และ ถ้า TDRI จะเปิดเผยข้อมูลดิบ (Raw data) ของงานวิจัยชิ้นนี้ให้แพทย์ นักวิชาการระบาดวิทยา นักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือนักวิชาการด้านอื่นๆ ได้นำมาวิเคราะห์ในแง่มุมที่แตกต่างหรือวิเคราะห์ซ้ำย่อมเป็นการทำให้เกิดความงอกงามทางวิชาการและได้งานวิจัยทางการแพทย์ งานวิจัยเชิงนโยบายที่จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทยและคนไทยทั้งมวล ทั้งยังเป็นการพิสูจน์ความแข็งแกร่งทางวิชาการของ TDRI ด้วยเช่นกันอย่างที่ผู้เขียนเชื่อมั่น
โดยเฉพาะงานวิจัยนี้พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตที่แตกต่างกันมาก และนี่คือชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด ผู้เขียนคงปล่อยให้มีการเสียชีวิตโดยไม่ศึกษาวิเคราะห์และพยายามทำความเข้าใจสาเหตุไม่ได้ แม้ TDRI เองก็พยายามทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยชิ้นนี้ว่าจำนวนเงิน ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ มีผลต่ออัตราการเสียชีวิต เมื่อ TDRI เองก็ยังสามารถตั้งสมมุติฐานได้เช่นนี้ เราก็มีสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการที่จะตั้งสมมุติฐานแตกต่างไปจาก TDRI ได้เช่นกัน
นอกจากนี้การที่ TDRI ออกมาห้ามอ้างอิงงานวิจัยของตน ว่าอย่านำมาใช้ในการโจมตีบัตรทอง ดังนี้ www.hfocus.org/content/2015/06/10195 ก็เป็นเรื่องที่แปลกมากในทางวิชาการ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ราชบัณฑิต ได้ให้ความคิดเห็นว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก นักวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานก็เพราะต้องการให้คนอ้างอิงถึง ต้องการให้มี Citation index นับว่างานนั้นๆ มีการอ้างอิงมากเพียงใด วารสารวิชาการชั้นดีจะมี citation index หรือมี impact factor มากๆ และอาจารย์ยงยังกล่าวกับผู้เขียนอีกว่า TDRI น่าจะดีใจที่มีคนอ้างอิงมีคนพูดถึงงานวิจัยของตน อาจารย์ยงเล่าว่าเมื่อทำวิจัยเรื่องวัคซีนในเด็กแล้วมีกรมอนามัยนำไปใช้ ทำให้เด็กมีสุขภาพดีขึ้น เรื่องนี้ทำให้อาจารย์ดีใจที่สุด
การที่ TDRI ให้ตีความหรือสรุปผลว่าเงินไม่เท่ากันคือความเหลื่อมล้ำและตายมากกว่ากันเพียงอย่างเดียวไม่ได้ตายมากผิดปกตินั้นออกจะไม่เป็นธรรม ขาดความใจกว้างทางวิชาการ และสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์อย่างรุนแรง ในทางวิชาการผู้ใดก็ตามจะตีพิมพ์ต้องชี้แจงว่าตัวเองมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือไม่ เช่นการที่ TDRI มีนักวิชาการจำนวนมากได้หรือได้ทุนวิจัยจำนวนมากจาก สปสช. เคยเป็นกรรมการสปสช. น่าจะเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ยิ่งงานวิจัยที่มีเงินทุนจากภาษีประชาชนและเกี่ยวกับชีวิตประชาชนแล้วยิ่งต้องเปิดให้มหาชนถกเถียงกันได้อย่างกว้างขวางที่สุด
นอกจากนี้อาจารย์ยงยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในอดีตที่ผ่านมางานวิจัยทางการแพทย์โดยเฉพาะจากบริษัทยามักเป็นที่สงสัยของนักวิชาการทางการแพทย์ เพราะอาจจะมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่องยาที่บริษัทยาให้ทุนนั้น หากทำทั้งสิ้น 10 ชิ้น และเลือกมาตีพิมพ์แค่ 2 ชิ้นที่พบว่ายาได้ผลในการรักษาดี และอีก 8 ชิ้นที่ยาไม่ได้ผลดีในการรักษา ไม่ยอมส่งไปตีพิมพ์ ย่อมมีปัญหาเพราะโดยข้อเท็จจริงก็คือยาไม่ได้ผล องค์การอนามัยโลกส่งเสริมให้ตีพิมพ์งานวิจัยที่เสนอทั้งด้านดี (ยาได้ผล) และด้านไม่ดี (ยาไม่ได้ผล) เพื่อไม่ให้มีอคติหรือความลำเอียง ยิ่งไปกว่านั้นในวงการแพทย์ยังนิยมให้ทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ (Systematic review) หรือการสังเคราะห์รวมผลการวิจัยเชิงปริมาณหลายๆ ชิ้น รวมกันซึ่งเรียกว่า meta-analysis เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่างานวิจัยไม่มีอคติจากการตีพิมพ์ (Publication bias) คือเลือกแต่งานวิจัยที่ส่งผลดีต่อบริษัทยามาตีพิมพ์ เท่านั้น และมั่นใจว่าทำซ้ำ (Replication) กี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิมตลอดจนเข้าใจได้ว่าทำไมงานวิจัยเรื่องเดียวกันทำไมจึงได้ผลแตกต่างกันมีปัจจัยใดเป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องบ้าง
ด้วยเหตุที่ สปสช. ไม่ใช่บริษัทยา และ TDRI ก็ไม่ใช่มือปืนรับจ้างทำวิจัยตามใบสั่งที่ใช้เงินภาษีของประชาชนจึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ TDRI จะต้องขอร้องให้ทุกคนต้องตีความงานวิจัยไปในทิศทางที่ส่งผลดีต่อสปสช. ผู้ให้ทุนวิจัยแต่ถ่ายเดียว เช่น บอกว่ามีความเหลื่อมล้ำ ต้องให้รัฐบาลจ่ายเงินให้สปสช เยอะๆ อย่างที่ ศาสตราจารย์ ดร. อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณของ TDRI เรียกร้องจากรัฐบาลมาโดยตลอด หรือการตายมากนั้นเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสปสช ไม่ใช่ความผิดสปสช แต่ประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทองนั้นตายเพราะมีการศึกษาต่ำกว่า ความรู้น้อยกว่า ไม่รู้จักดูแลตัวเอง อย่างที่ TDRI และนักวิชาการท่านอื่นๆ พยายามชี้แจงปัจจัยอื่นๆ ที่ว่านั้น แต่อย่างใด
เพราะนี่คือเสรีภาพและความงอกงามทางวิชาการที่ TDRI ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในประเทศไทยในฐานะของคลังสมอง (Think Tank) ของชาติ และงานวิจัยนี้คือชีวิตของประชาชนคนไทยซึ่งสำคัญยิ่ง TDRI เองก็ได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอดในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้เขียนคิดว่า TDRI ควรตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์และการวิจัย เช่นเดียวกันกับประชาธิปไตยที่ TDRI ต้องไม่มีปัญหาความแตกต่างทางความคิด ซึ่งแน่นอนว่าเราย่อมมีสิทธิ์ที่จะคิดต่างจาก TDRI และในเวลาเดียวกัน เราก็รับผิดชอบต่อการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการของตนเองด้วยเช่นกัน
ด้วยจิตคารวะและปรารถนาดีต่อประเทศไทยและชีวิตของคนไทยทุกคน
เมื่อ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง ผลลัพธ์ทางสุขภาพและความเป็นธรรมทางสุขภาพ จาก TDRI ได้ออกมาเผยแพร่งานวิจัยของตนเอง โดยกล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำด้านผลลัพธ์ทางสุขภาพ ระหว่างระบบสวัสดิการถ้วนหน้า กับระบบข้าราชการ ของโอกาสการอยู่รอดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ติดตามตั้งแต่อายุ 60 ปี หลังจากเข้ารับการรักษา 10 วัน พบว่า 82% ผู้ป่วยระบบข้าราชการ ยังคงมีชีวิตอยู่ และ 68% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้ายังคงมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าหลัง 40 วัน พบว่า 57% ผู้ป่วยระบบข้าราชการ ยังคงมีชีวิตอยู่ และ 29% ผู้ป่วยระบบสวัสดิการถ้วนหน้า ยังคงมีชีวิตอยู่” (ที่มา : www.hfocus.org/content/2015/06/10108)
เมื่อทราบเช่นนี้เราได้ติดตามอ่านรายงานของทีดีอาร์ไอดังกล่าวและศึกษา จัดกลุ่มย่อยว่า 5 โรคนั้นมีสัดส่วนการตายต่างกันอย่างไร เพื่อสอบถามแพทย์เฉพาะทางที่รักษาผู้ป่วยในโรคนั้นๆว่าสาเหตุที่อัตราการตายของผู้ที่อยู่ในระบบสวัสดิการถ้วนหน้าสูงเพราะอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการสูญเสียที่น่าจะป้องกันได้ www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000066299
อย่างไรก็ดีมีคำถามจากทีดีอาร์ไอหลายข้อ www.isranews.org/isra-news/item/39492-tdri_39492.html เช่น ถามว่าผู้เขียนทำอย่างนี้ถูกหรือผิดตามหลักจริยธรรมงานวิจัยหรือไม่ เพราะผู้เขียนไม่ได้อ้างอิงหรือศึกษาต่อจากทีดีอาร์ไอในเรื่องความเหลื่อมล้ำแต่กลับศึกษาเรื่อง การตาย (ความหมายใช้สลับกับอัตราการอยู่รอดได้)
ผู้เขียนขอตอบว่าวิธีการนี้เป็นลักษณะปกติที่จะพบได้จากงานวิจัยทางการแพทย์แทบจะทุกชิ้น กล่าวคือการศึกษาต่อเนื่องไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาแต่เฉพาะวัตถุประสงค์เดิม และอันที่จริงเป็นลักษณะปกติที่สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดการแตกแขนงต่อยอดความรู้ เช่น
Joshua Lederberg ได้ค้นพบโครโมโซมเล็กๆ ที่เรียกว่า Plasmid ในแบคทีเรีย และพบว่าสามารถใส่ยีนเล็กๆ ลงไปในโครโมโซมของแบคทีเรียนั้นได้ ก็มีคนมาค้นคิดต่อว่าสามารถตัดต่อยีนบางอย่างทางการแพทย์ ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (Genetic Engineering) ทำให้สามารถผลิตโปรตีนอินซูลินช่วยผู้ป่วยเบาหวานจากแบคทีเรียได้
Joseph Lister ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษได้สังเกตว่ากรด Carbolic สามารถบรรเทากลิ่นเน่าเหม็นของน้ำเสียที่ระบายออกมาได้และอาศัยความรู้จากการศึกษางานเรื่องจุลินทรีย์ของ Louis Pasteur เลยทดลองให้ใช้ Carbolic acid เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับการผ่าตัด ทำให้คนไข้ที่รับการผ่าตัดรอดตายจากการติดเชื้อ
Alexander Fleming ค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดแรกของโลกคือ Penicillin จากการไม่ยอมโยนทิ้งแผ่นเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่ขึ้นราทำให้สามารถช่วยรักษาชีวิตมนุษย์ได้มากมาย
เรามาลองคิดกันว่าหากครูบาอาจารย์นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ชั้นยอดเหล่านี้ไม่สังเกต ไม่วิเคราะห์ ข้อมูลทุติยภูมิหรือสังเกตความแตกต่างดังกล่าวแล้ววิเคราะห์ด้วยจินตนาการหรือต่อยอดความรู้ออกไป จดจ่ออยู่แค่ข้อมูลนั้นๆ ทื่อๆ ไม่คิดนอกกรอบ ไม่พยายามหาคำอธิบายอื่นหรือนำไปประยุกต์อย่างอื่นเลย จะทำให้เราเกิดองค์ความรู้ด้านพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่นำมาสู่การรักษาโรคต่างๆ มากมาย การผลิตโปรตีนอินซูลินจากแบคทีเรีย การป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัด การค้นพบยาปฏิชีวนะที่ช่วยชีวิตคนทั้งโลกได้มากมายเพียงใด โลกคงไม่ก้าวไปข้างหน้า
ผู้เขียนทราบดีว่า ทีดีอาร์ไอต้องการศึกษาความเหลื่อมล้ำ แต่ผู้เขียนมองเห็นว่า การตายที่สูงกว่าของผู้ใช้สิทธิระบบสวัสดิการถ้วนหน้ามีความสำคัญ การศึกษาต่อเนื่องของผู้เขียนจึงเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้
คำถามสุดท้ายที่สำคัญคือคุณค่าของงานวิจัย คุณค่าของงานวิจัยจะถูกจำกัดอยู่เพียงข้อสรุปของชิ้นงานนั้นๆ หรือไม่ คำตอบคือคุณค่าของงานวิจัยอยู่ที่ความรู้จากงานวิจัยนั้นๆ ได้ถูกนำไปใช้ในกรณีใด เช่น งานวิจัยของทีดีอาร์ไอชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ความเหลื่อมล้ำ แต่ปรากฏว่าผู้เขียนเห็นว่าอัตราการตายที่รายงานในงานวิจัยนี้มีความสำคัญ ถ้าหากมีการศึกษาต่อเนื่องจนสามารถหามาตรการในการแก้ไขจนสามารถป้องกันการตายของผู้ใช้สิทธิระบบสวัสดิการถ้วนหน้าที่สูงกว่าสิทธิข้าราชการได้ คุณงามความดีจากการช่วยชีวิตคนหลายล้านคนในอนาคตนี้ก็ตกแก่ทีดีอาร์ไอและคณะผู้วิจัยด้วยเช่นกัน
ขณะนี้งานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเรื่อง ผลลัพธ์ทางสุขภาพและความเป็นธรรมทางสุขภาพ ได้เปิดให้ดาวน์โหลดได้แล้วทั้งฉบับ tdri.or.th/research/just_health/ จากเดิมที่ดาวน์โหลดได้เพียงบทสรุปผู้บริหารและสารบัญเท่านั้น และผู้เขียนได้ไปขอร้องเพื่อนใน TDRI ให้ส่งรายงานการวิจัยฉบับเต็มมาให้อ่าน นักวิจัยและแพทย์ทุกคนต่างปรารถนาที่จะอ่านรายงานตัวเต็มฉบับนี้ทั้งสิ้น เมื่อผู้เขียนได้มาก็ส่งต่อให้นักวิจัย แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิต นักระบาดวิทยา อาจารย์โรงเรียนแพทย์ ให้ช่วยกันอ่านและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะล้มล้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับคนไทย โดยเฉพาะคนยากจนหรือทำลายเครดิตของ TDRI แต่อย่างใด แต่มีเจตนาให้ประเทศไทยปรับปรุงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ดีขึ้น ไม่มีคนตายมากมายเช่นนี้ และมีความสมเหตุสมผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องขอบคุณ TDRI เป็นอย่างยิ่ง ณ ที่นี้
ในทางวิชาการและการทำงานวิจัยนั้น การโต้แย้งทางวิชาการและนำข้อมูลที่เผยแพร่แล้วมาวิเคราะห์ใหม่ เป็นเรื่องที่ทำกันเป็นปกติ ดังนั้นการที่ TDRI รู้สึกไม่สบายใจและออกมาโต้แย้งไม่ให้คนตีความงานวิจัยของตนเอง จึงเป็นเรื่องที่ผิดไปจากปกติวิสัยทางวิชาการ ซึ่งผู้ที่เป็นนักวิจัยมืออาชีพทั้งหลายล้วนตระหนักว่าวิชาการจะมีความงอกงามได้นั้นเกิดจากวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์
แม้กระทั่ง TDRI เองก็วิจารณ์วิเคราะห์งานวิจัยของผู้เขียนทั้งสองเรื่อง “1.3% หรือ 4% ของ GDP สำหรับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่เป็นภาระทางการคลังจริงหรือ?” www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000058739 ด้วยบทความ ข้อคิดเห็นบางประการต่อบทวิจารณ์โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค tdri.or.th/tdri-insight/30bahtscheme/
การที่ TDRI ออกมาห้ามวิจารณ์ อย่าสรุปงานวิจัยของคนอื่น ไปเป็นอย่างอื่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเพราะตัว TDRI เองก็ทำสิ่งที่ตนห้ามคนอื่นทำอยู่ จึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะห้ามนักวิจัยอื่นทำ จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่าประเด็นนี้ค่อนข้างจะขัดกับแนวทางเสรีนิยมและแนวทางประชาธิปไตยที่ TDRI ส่งเสริมมาโดยตลอด นักวิชาการที่ดีควรดำรงตนให้สมกับที่ตัวเองสอนสั่ง Teach but not preach เป็นหลักการที่อาจารย์มหาวิทยาลัยระมัดระวังอย่างมากในการสอนนักศึกษา เพราะตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน
ในทางวิชาการและการวิจัยนั้น เมื่อใครก็ตามตีพิมพ์สิ่งใดออกมาแล้วใครๆ มีสิทธิ์จะทราบได้ โดยเฉพาะ งานวิจัยของ TDRI ที่ได้ทุนวิจัยมาจาก สปสช. ซึ่งใช้เงินงบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีของประชาชน ทั้งงานวิจัยนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของประชาชนย่อมเป็นเรื่องที่ควรเปิดเผยให้ประชาชนผู้เสียภาษีได้รับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสปสช. มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพการรักษาพยาบาลของคนไทยทั้งประเทศและ TDRI ก็มีฐานะเป็น Think Tank ของประเทศไทย ซึ่งเราก็อยากจะช่วยทำหน้าที่ดังกล่าวด้วยในฐานะนักวิชาการ
การโต้แย้ง การวิเคราะห์ใหม่ การสังเคราะห์ใหม่ การวิพากษ์วิจารณ์เมื่อนักวิชาการท่านใดส่งงานวิจัยของตนไปตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการนั้นเป็นเรื่องปกติ หากเคยอ่านวารสารวิชาการในต่างประเทศจะมีทั้งคนที่สนับสนุนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่เรียกว่า Rejoinder และมีคนที่คัดค้านที่เรียกว่า Rebuttal บางฉบับมี feature article เพียงบทความเดียว มีบทความโต้มากกว่า 20 บทความพวกเราต่างก็เคยเห็นมาแล้ว
ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือในต่างประเทศมีความนิยมกันแพร่หลายที่จะให้เผยแพร่ข้อมูลดิบให้สามารถดาวน์โหลดไปได้ฟรีๆ เพื่อให้นักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา นำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ด้วยวิธีการใหม่เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ หรือความงอกงามทางวิชาการ สิ่งที่ผู้เขียนทำจึงไม่ได้ผิดจากวัฒนธรรมทางวิชาการในระดับสากลแต่อย่างใด และ ถ้า TDRI จะเปิดเผยข้อมูลดิบ (Raw data) ของงานวิจัยชิ้นนี้ให้แพทย์ นักวิชาการระบาดวิทยา นักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือนักวิชาการด้านอื่นๆ ได้นำมาวิเคราะห์ในแง่มุมที่แตกต่างหรือวิเคราะห์ซ้ำย่อมเป็นการทำให้เกิดความงอกงามทางวิชาการและได้งานวิจัยทางการแพทย์ งานวิจัยเชิงนโยบายที่จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทยและคนไทยทั้งมวล ทั้งยังเป็นการพิสูจน์ความแข็งแกร่งทางวิชาการของ TDRI ด้วยเช่นกันอย่างที่ผู้เขียนเชื่อมั่น
โดยเฉพาะงานวิจัยนี้พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตที่แตกต่างกันมาก และนี่คือชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด ผู้เขียนคงปล่อยให้มีการเสียชีวิตโดยไม่ศึกษาวิเคราะห์และพยายามทำความเข้าใจสาเหตุไม่ได้ แม้ TDRI เองก็พยายามทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยชิ้นนี้ว่าจำนวนเงิน ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ มีผลต่ออัตราการเสียชีวิต เมื่อ TDRI เองก็ยังสามารถตั้งสมมุติฐานได้เช่นนี้ เราก็มีสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการที่จะตั้งสมมุติฐานแตกต่างไปจาก TDRI ได้เช่นกัน
นอกจากนี้การที่ TDRI ออกมาห้ามอ้างอิงงานวิจัยของตน ว่าอย่านำมาใช้ในการโจมตีบัตรทอง ดังนี้ www.hfocus.org/content/2015/06/10195 ก็เป็นเรื่องที่แปลกมากในทางวิชาการ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ราชบัณฑิต ได้ให้ความคิดเห็นว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก นักวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานก็เพราะต้องการให้คนอ้างอิงถึง ต้องการให้มี Citation index นับว่างานนั้นๆ มีการอ้างอิงมากเพียงใด วารสารวิชาการชั้นดีจะมี citation index หรือมี impact factor มากๆ และอาจารย์ยงยังกล่าวกับผู้เขียนอีกว่า TDRI น่าจะดีใจที่มีคนอ้างอิงมีคนพูดถึงงานวิจัยของตน อาจารย์ยงเล่าว่าเมื่อทำวิจัยเรื่องวัคซีนในเด็กแล้วมีกรมอนามัยนำไปใช้ ทำให้เด็กมีสุขภาพดีขึ้น เรื่องนี้ทำให้อาจารย์ดีใจที่สุด
การที่ TDRI ให้ตีความหรือสรุปผลว่าเงินไม่เท่ากันคือความเหลื่อมล้ำและตายมากกว่ากันเพียงอย่างเดียวไม่ได้ตายมากผิดปกตินั้นออกจะไม่เป็นธรรม ขาดความใจกว้างทางวิชาการ และสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์อย่างรุนแรง ในทางวิชาการผู้ใดก็ตามจะตีพิมพ์ต้องชี้แจงว่าตัวเองมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือไม่ เช่นการที่ TDRI มีนักวิชาการจำนวนมากได้หรือได้ทุนวิจัยจำนวนมากจาก สปสช. เคยเป็นกรรมการสปสช. น่าจะเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ยิ่งงานวิจัยที่มีเงินทุนจากภาษีประชาชนและเกี่ยวกับชีวิตประชาชนแล้วยิ่งต้องเปิดให้มหาชนถกเถียงกันได้อย่างกว้างขวางที่สุด
นอกจากนี้อาจารย์ยงยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในอดีตที่ผ่านมางานวิจัยทางการแพทย์โดยเฉพาะจากบริษัทยามักเป็นที่สงสัยของนักวิชาการทางการแพทย์ เพราะอาจจะมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่องยาที่บริษัทยาให้ทุนนั้น หากทำทั้งสิ้น 10 ชิ้น และเลือกมาตีพิมพ์แค่ 2 ชิ้นที่พบว่ายาได้ผลในการรักษาดี และอีก 8 ชิ้นที่ยาไม่ได้ผลดีในการรักษา ไม่ยอมส่งไปตีพิมพ์ ย่อมมีปัญหาเพราะโดยข้อเท็จจริงก็คือยาไม่ได้ผล องค์การอนามัยโลกส่งเสริมให้ตีพิมพ์งานวิจัยที่เสนอทั้งด้านดี (ยาได้ผล) และด้านไม่ดี (ยาไม่ได้ผล) เพื่อไม่ให้มีอคติหรือความลำเอียง ยิ่งไปกว่านั้นในวงการแพทย์ยังนิยมให้ทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ (Systematic review) หรือการสังเคราะห์รวมผลการวิจัยเชิงปริมาณหลายๆ ชิ้น รวมกันซึ่งเรียกว่า meta-analysis เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่างานวิจัยไม่มีอคติจากการตีพิมพ์ (Publication bias) คือเลือกแต่งานวิจัยที่ส่งผลดีต่อบริษัทยามาตีพิมพ์ เท่านั้น และมั่นใจว่าทำซ้ำ (Replication) กี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิมตลอดจนเข้าใจได้ว่าทำไมงานวิจัยเรื่องเดียวกันทำไมจึงได้ผลแตกต่างกันมีปัจจัยใดเป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องบ้าง
ด้วยเหตุที่ สปสช. ไม่ใช่บริษัทยา และ TDRI ก็ไม่ใช่มือปืนรับจ้างทำวิจัยตามใบสั่งที่ใช้เงินภาษีของประชาชนจึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ TDRI จะต้องขอร้องให้ทุกคนต้องตีความงานวิจัยไปในทิศทางที่ส่งผลดีต่อสปสช. ผู้ให้ทุนวิจัยแต่ถ่ายเดียว เช่น บอกว่ามีความเหลื่อมล้ำ ต้องให้รัฐบาลจ่ายเงินให้สปสช เยอะๆ อย่างที่ ศาสตราจารย์ ดร. อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณของ TDRI เรียกร้องจากรัฐบาลมาโดยตลอด หรือการตายมากนั้นเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสปสช ไม่ใช่ความผิดสปสช แต่ประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทองนั้นตายเพราะมีการศึกษาต่ำกว่า ความรู้น้อยกว่า ไม่รู้จักดูแลตัวเอง อย่างที่ TDRI และนักวิชาการท่านอื่นๆ พยายามชี้แจงปัจจัยอื่นๆ ที่ว่านั้น แต่อย่างใด
เพราะนี่คือเสรีภาพและความงอกงามทางวิชาการที่ TDRI ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในประเทศไทยในฐานะของคลังสมอง (Think Tank) ของชาติ และงานวิจัยนี้คือชีวิตของประชาชนคนไทยซึ่งสำคัญยิ่ง TDRI เองก็ได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอดในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้เขียนคิดว่า TDRI ควรตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์และการวิจัย เช่นเดียวกันกับประชาธิปไตยที่ TDRI ต้องไม่มีปัญหาความแตกต่างทางความคิด ซึ่งแน่นอนว่าเราย่อมมีสิทธิ์ที่จะคิดต่างจาก TDRI และในเวลาเดียวกัน เราก็รับผิดชอบต่อการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการของตนเองด้วยเช่นกัน
ด้วยจิตคารวะและปรารถนาดีต่อประเทศไทยและชีวิตของคนไทยทุกคน
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย
และ
อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย
สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย
และ
อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย
สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์