เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (2ก.ค.) ที่รัฐสภา น.ส.สุภัทรา นาคะผิว โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ นางถวิลวดี บุรีกุล ประธานอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกันแถลงถึงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 ซึ่งทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-31 พ.ค. 58 โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสถาบันพระปกเกล้า โดยดำเนินการสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 77,160 ราย
สรุปผลสำรวจรอบ 2 ซึ่งการแยกเป็นประเด็น ดังนี้
1. ประเด็นเรื่องความเป็นพลเมือง สิทธิ และหน้าที่พลเมือง ผลสำรวจพบว่า ประชาชน ร้อยละ 97.8 เห็นด้วยว่า พลเมืองต้องไม่กระทำที่ทำให้เกิดความเกลียดชังระหว่างคนในชาติ หรือศาสนา ร้อยละ 96.7 เห็นว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพ และรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนร้อยละ 96.9 เห็นด้วย ควรเสียภาษีโดยสุจริต ร้อยละ 95.7 เห็นด้วยว่า บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีเสรีภาพที่จะกระทำการใด เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ส่วนร้อยละ 94.1 เห็นด้วยว่า บุคคลห้ามใช้สิทธิ หรือเสรีภาพในลักษณะที่จะก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ร้อยละ 91.2 เห็นด้วย ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ปี ร้อยละ 84.6 เห็นด้วยว่า ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติของคู่สมรส และบุตร ของผู้สมัครรับเลือกตั้งย้อนหลัง เป็นต้น
2. ประเด็นระบบผู้แทน และผู้นำการเมืองที่ดี แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 94.7 เห็นว่า ควรมีคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม ร้อยละ 93.5 เห็นว่า เมื่อส.ส.ไปเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ร้อยละ 92 เห็นว่า ส.ว.มีอำนาจร่วมกับ ส.ส. ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 90.6 เห็นว่าประชาชน นอกจากเลือกพรรคการเมืองที่ชอบได้แล้ว ยังสามารถเลือกผู้สมัครที่ตนเองชอบ กับบัญชีรายชื่อพรรคได้อีกด้วย ร้อยละ 89.3 เห็นว่า ส.ส.มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการลงมติเรื่องต่างๆ ร้อยละ 88.7 เห็นว่า ส.ว.มีจำนวนไม่เกิน 200 คน
นอกจากนี้ ร้อยละ 86.6 เห็นว่า ในกรณีบ้านเมืองเกิดวิกฤต ส.ส.สามารถลงมติ ให้คนที่มีความสามารถเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องเป็น ส.ส. ด้วยคะแนนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด ส่วนร้อยละ 83.9 เห็นว่า การส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็น ส.ส.ต้องจัดให้มีการหยั่งเสียงของประชาชน หรือสมาชิกพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งหรือในภาคนั้นๆ ก่อน ส่วนร้อยละ 77.1 เห็นว่า ส.ว.มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ส่วนจำนวนที่เหลือ ให้มาจากการสรรหา และ ร้อยละ 77 เห็นว่า ส.ส.ควรเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี
3. ประเด็นนิติธรรม ศาล และองค์กรการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 98.1 เห็นควรกำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณาคดีของศาลให้ชัดเจน และเปิดเผยต่อสาธารณะ ร้อยละ 97.6 เห็นว่าดำรงตำแหน่งทางการเมือง และกรรมการองค์กรตรวจสอบต่างๆ ยื่นบัญชีทรัพย์สิน และเปิดเผยต่อสาธารณะ ร้อยละ 96.6 เห็นว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีสิทธิเข้าชื่อเสนอถอดถอนนักการเมือง และกรรมการองค์กรตรวจสอบ ร้อยละ 93 เห็นว่า เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่องค์กรต่างๆ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด ร้อยละ 92.8 เห็นว่า ห้ามข้าราชการ อัยการ ดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ใดในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ หรือบริษัทเอกชน และร้อยละ 89.5 เห็นว่า การชี้ขาดการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์
4. ประเด็นการปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง ผลสำรวจ พบว่า ร้อยละ 98.4 เห็นด้วยให้มีการจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายและคดี แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ร้อยละ 98.1 เห็นว่า การปฎิรูป การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากร และความยั่งยืน ร้อยละ 95.8 เห็นว่า ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เสริมสร้าง และประสานงานกับทุกภาคส่วนให้เกิดความสมานฉันท์และความปรองดองในชาติ และ ร้อยละ 93.7 เห็นว่า ควรมีมาตรการเยียวยาความเสียหาย รวมทั้ง ฟื้นฟูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และจิตใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง
สำหรับคำถามปลายเปิดในประเด็นการปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง มีคำถามที่น่าสนใจอยู่ 3 คำถาม โดยคำถามที่ 1. หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้วยังคงเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายเหมือน เช่น10 ปีที่ผ่านมาควรทำอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยะ 17.3 เห็นว่า ให้ตั้งรัฐบาลผสม ร้อยละ 11 ให้ทหารปฏิวัติ เพื่อมีรัฐประหารอีก ร้อยละ 10.3 ให้ยุบสภา แล้วจัดเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 9.8 ให้ออกกฎหมายบังคับอย่างเด็ดขาด / ออกกฎอัยการศึก ร้อยละ 2 เห็นว่า ให้สร้างสำนึกให้รู้รักชาติ รักแผ่นดิน
คำถามที่ 2. มีแนวทางอย่างไร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงอย่างเช่นในอดีต ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 12.5 เห็นว่า ต้องปลุกจิตสำนึกให้รักชาติ สามัคคี ปรองดอง รณรงค์ ลดความรุนแรงทางการเมือง ร้อยละ 10.2 ออกกฎหมายควบคุมล่วงหน้า / ออกกฎอัยการศึก ร้อยละ 3.5 หาคนกลางเข้ามาแก้ปัญหาและหันหน้าคุยกัน ร้อยละ 2.5 ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันยอมรับฟังความคิดเห็นและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ร้อยะ 2.4 ลดความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย
คำถามที่ 3 ควรมีการนิรโทษกรรมให้กับการประท้วงทางการเมืองในช่วงปี 2548-2557 ที่ได้กระทำผิดตามกฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ยกเว้น ผู้กระทำผิดคคีทุจริต หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คดีวางเพลิงฆ่าทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ และแกนนำการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ผลสำรวจพบว่า ประชาชน ร้อยละ 52.9 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมในกรณีดังกล่าว ขณะที่ ร้อยละ 43.9 ไม่เห็นด้วย
ทั้งนี้ ผลสำรวจในคำถามที่ 3 มีความแตกต่างจากผลสำรวจในครั้งที่ 1 ในช่วงเดือน ก.พ.58 เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำผลสำรวจช่วงแรก มีประชาชนเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ถึงร้อยละ 90.5
**ผู้สมัครส.ส.ต้องมีสัดส่วนสตรี 1 ใน 3
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกมธ. เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบกับร่าง รธน. มาตรา 76 ว่าด้วยการให้พรรคการเมืองต้องจัดองค์กรภายใน ให้สอดคล้องกับหลักการพื้นฐาน แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสส.ในฐานะที่เป็นปวงชนชาวไทย และมีหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติและประชาชน ซึ่งคณะกมธ.ยกร่างฯยังคงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวไว้ครบถ้วนทุกประการ
ทั้งนี้ แหล่งข่าวในที่ประชุมคณะกมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการถกเถียงในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และบัญชีรายชื่อ จะต้องมีการหยั่งเสียงประชาชน หรือสมาชิกพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งหรือในภาคก่อน โดยต้องมีเงื่อนไข ว่า ต้องมีสัดส่วนสตรี ไม่น้อยกว่า 1 ใ น3ในบัญชีของการทำการหยั่งเสียงดังกล่าว ซึ่งการประชุมของคณะกมธ.ยกร่างฯในเรื่องนี้ปรากฏว่ามีกมธ.ยกร่างฯจำนวนหนึ่งเสนอให้ตัดเรื่องการกำหนดสัดส่วนสตรีออกไปจากร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากอาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น บางพรรคไม่สามารถหาผู้สมัครที่เป็นสตรีได้ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ที่สุดแล้วที่ประชุต้องตัดสินด้วยการลงมติ ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 20 ต่อ 9 เสียง ให้ยังคงสัดส่วนสตรีจำนวน 1 ใน 3 เอาไว้ตามเดิม
จากนั้นที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าในมาตรา 76 ควรตัดคำว่ากลุ่มการเมืองออกไปจากการอยู่ภายใต้สภาพบังคับตามมาตรา 76 ที่ต้องมีการจัดองค์กรภายในต่างๆตามที่ร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากในเมื่อคณะกมธ.ยกร่างฯมีความเห็นในเบื้องต้นแล้วว่ากลุ่มการเมืองไม่สามารถส่งผู้สมัครสส.ได้ ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องคงคำว่ากลุ่มการเมืองเอาไว้ในมาตรานี้อีก
ขณะเดียวกัน คณะกมธ.ยกร่างฯ ได้ตัด มาตรา 75 ของร่างรัฐธรรมนูญออก ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดแนวทางปฏิบัติตนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้นำอื่นในภาครัฐควรกระทำ จำนวน 5 ประการ อาทิ ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตำแหน่ง แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเมื่อตนกระทำผิด เป็นต้น และแนวทางที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้นำอื่นในภาครัฐไม่ควรกระทำจำนวน 6 ประการ เช่น ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ของพรรคการเมือง หรือ ชี้นำให้บุคคลอื่นเลี่ยงการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยคณะกมธ.ยกร่างฯเห็นว่า ควรนำบทบัญญัติเหล่านี้ ไปอยู่ในประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้นำอื่นในภาครัฐแทน
สรุปผลสำรวจรอบ 2 ซึ่งการแยกเป็นประเด็น ดังนี้
1. ประเด็นเรื่องความเป็นพลเมือง สิทธิ และหน้าที่พลเมือง ผลสำรวจพบว่า ประชาชน ร้อยละ 97.8 เห็นด้วยว่า พลเมืองต้องไม่กระทำที่ทำให้เกิดความเกลียดชังระหว่างคนในชาติ หรือศาสนา ร้อยละ 96.7 เห็นว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพ และรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนร้อยละ 96.9 เห็นด้วย ควรเสียภาษีโดยสุจริต ร้อยละ 95.7 เห็นด้วยว่า บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีเสรีภาพที่จะกระทำการใด เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ส่วนร้อยละ 94.1 เห็นด้วยว่า บุคคลห้ามใช้สิทธิ หรือเสรีภาพในลักษณะที่จะก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ร้อยละ 91.2 เห็นด้วย ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ปี ร้อยละ 84.6 เห็นด้วยว่า ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติของคู่สมรส และบุตร ของผู้สมัครรับเลือกตั้งย้อนหลัง เป็นต้น
2. ประเด็นระบบผู้แทน และผู้นำการเมืองที่ดี แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 94.7 เห็นว่า ควรมีคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม ร้อยละ 93.5 เห็นว่า เมื่อส.ส.ไปเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ร้อยละ 92 เห็นว่า ส.ว.มีอำนาจร่วมกับ ส.ส. ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 90.6 เห็นว่าประชาชน นอกจากเลือกพรรคการเมืองที่ชอบได้แล้ว ยังสามารถเลือกผู้สมัครที่ตนเองชอบ กับบัญชีรายชื่อพรรคได้อีกด้วย ร้อยละ 89.3 เห็นว่า ส.ส.มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการลงมติเรื่องต่างๆ ร้อยละ 88.7 เห็นว่า ส.ว.มีจำนวนไม่เกิน 200 คน
นอกจากนี้ ร้อยละ 86.6 เห็นว่า ในกรณีบ้านเมืองเกิดวิกฤต ส.ส.สามารถลงมติ ให้คนที่มีความสามารถเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องเป็น ส.ส. ด้วยคะแนนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนส.ส.ทั้งหมด ส่วนร้อยละ 83.9 เห็นว่า การส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็น ส.ส.ต้องจัดให้มีการหยั่งเสียงของประชาชน หรือสมาชิกพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งหรือในภาคนั้นๆ ก่อน ส่วนร้อยละ 77.1 เห็นว่า ส.ว.มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ส่วนจำนวนที่เหลือ ให้มาจากการสรรหา และ ร้อยละ 77 เห็นว่า ส.ส.ควรเป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี
3. ประเด็นนิติธรรม ศาล และองค์กรการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 98.1 เห็นควรกำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณาคดีของศาลให้ชัดเจน และเปิดเผยต่อสาธารณะ ร้อยละ 97.6 เห็นว่าดำรงตำแหน่งทางการเมือง และกรรมการองค์กรตรวจสอบต่างๆ ยื่นบัญชีทรัพย์สิน และเปิดเผยต่อสาธารณะ ร้อยละ 96.6 เห็นว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีสิทธิเข้าชื่อเสนอถอดถอนนักการเมือง และกรรมการองค์กรตรวจสอบ ร้อยละ 93 เห็นว่า เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่องค์กรต่างๆ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด ร้อยละ 92.8 เห็นว่า ห้ามข้าราชการ อัยการ ดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ใดในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ หรือบริษัทเอกชน และร้อยละ 89.5 เห็นว่า การชี้ขาดการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์
4. ประเด็นการปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง ผลสำรวจ พบว่า ร้อยละ 98.4 เห็นด้วยให้มีการจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายและคดี แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ร้อยละ 98.1 เห็นว่า การปฎิรูป การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากร และความยั่งยืน ร้อยละ 95.8 เห็นว่า ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เสริมสร้าง และประสานงานกับทุกภาคส่วนให้เกิดความสมานฉันท์และความปรองดองในชาติ และ ร้อยละ 93.7 เห็นว่า ควรมีมาตรการเยียวยาความเสียหาย รวมทั้ง ฟื้นฟูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และจิตใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง
สำหรับคำถามปลายเปิดในประเด็นการปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง มีคำถามที่น่าสนใจอยู่ 3 คำถาม โดยคำถามที่ 1. หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้วยังคงเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายเหมือน เช่น10 ปีที่ผ่านมาควรทำอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยะ 17.3 เห็นว่า ให้ตั้งรัฐบาลผสม ร้อยละ 11 ให้ทหารปฏิวัติ เพื่อมีรัฐประหารอีก ร้อยละ 10.3 ให้ยุบสภา แล้วจัดเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 9.8 ให้ออกกฎหมายบังคับอย่างเด็ดขาด / ออกกฎอัยการศึก ร้อยละ 2 เห็นว่า ให้สร้างสำนึกให้รู้รักชาติ รักแผ่นดิน
คำถามที่ 2. มีแนวทางอย่างไร เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงอย่างเช่นในอดีต ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 12.5 เห็นว่า ต้องปลุกจิตสำนึกให้รักชาติ สามัคคี ปรองดอง รณรงค์ ลดความรุนแรงทางการเมือง ร้อยละ 10.2 ออกกฎหมายควบคุมล่วงหน้า / ออกกฎอัยการศึก ร้อยละ 3.5 หาคนกลางเข้ามาแก้ปัญหาและหันหน้าคุยกัน ร้อยละ 2.5 ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันยอมรับฟังความคิดเห็นและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ร้อยะ 2.4 ลดความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย
คำถามที่ 3 ควรมีการนิรโทษกรรมให้กับการประท้วงทางการเมืองในช่วงปี 2548-2557 ที่ได้กระทำผิดตามกฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ยกเว้น ผู้กระทำผิดคคีทุจริต หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คดีวางเพลิงฆ่าทำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ และแกนนำการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ผลสำรวจพบว่า ประชาชน ร้อยละ 52.9 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมในกรณีดังกล่าว ขณะที่ ร้อยละ 43.9 ไม่เห็นด้วย
ทั้งนี้ ผลสำรวจในคำถามที่ 3 มีความแตกต่างจากผลสำรวจในครั้งที่ 1 ในช่วงเดือน ก.พ.58 เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำผลสำรวจช่วงแรก มีประชาชนเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ถึงร้อยละ 90.5
**ผู้สมัครส.ส.ต้องมีสัดส่วนสตรี 1 ใน 3
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกมธ. เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้เห็นชอบกับร่าง รธน. มาตรา 76 ว่าด้วยการให้พรรคการเมืองต้องจัดองค์กรภายใน ให้สอดคล้องกับหลักการพื้นฐาน แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสส.ในฐานะที่เป็นปวงชนชาวไทย และมีหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติและประชาชน ซึ่งคณะกมธ.ยกร่างฯยังคงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวไว้ครบถ้วนทุกประการ
ทั้งนี้ แหล่งข่าวในที่ประชุมคณะกมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการถกเถียงในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และบัญชีรายชื่อ จะต้องมีการหยั่งเสียงประชาชน หรือสมาชิกพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งหรือในภาคก่อน โดยต้องมีเงื่อนไข ว่า ต้องมีสัดส่วนสตรี ไม่น้อยกว่า 1 ใ น3ในบัญชีของการทำการหยั่งเสียงดังกล่าว ซึ่งการประชุมของคณะกมธ.ยกร่างฯในเรื่องนี้ปรากฏว่ามีกมธ.ยกร่างฯจำนวนหนึ่งเสนอให้ตัดเรื่องการกำหนดสัดส่วนสตรีออกไปจากร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากอาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น บางพรรคไม่สามารถหาผู้สมัครที่เป็นสตรีได้ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ที่สุดแล้วที่ประชุต้องตัดสินด้วยการลงมติ ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 20 ต่อ 9 เสียง ให้ยังคงสัดส่วนสตรีจำนวน 1 ใน 3 เอาไว้ตามเดิม
จากนั้นที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าในมาตรา 76 ควรตัดคำว่ากลุ่มการเมืองออกไปจากการอยู่ภายใต้สภาพบังคับตามมาตรา 76 ที่ต้องมีการจัดองค์กรภายในต่างๆตามที่ร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากในเมื่อคณะกมธ.ยกร่างฯมีความเห็นในเบื้องต้นแล้วว่ากลุ่มการเมืองไม่สามารถส่งผู้สมัครสส.ได้ ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องคงคำว่ากลุ่มการเมืองเอาไว้ในมาตรานี้อีก
ขณะเดียวกัน คณะกมธ.ยกร่างฯ ได้ตัด มาตรา 75 ของร่างรัฐธรรมนูญออก ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดแนวทางปฏิบัติตนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้นำอื่นในภาครัฐควรกระทำ จำนวน 5 ประการ อาทิ ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตำแหน่ง แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเมื่อตนกระทำผิด เป็นต้น และแนวทางที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้นำอื่นในภาครัฐไม่ควรกระทำจำนวน 6 ประการ เช่น ใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ของพรรคการเมือง หรือ ชี้นำให้บุคคลอื่นเลี่ยงการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยคณะกมธ.ยกร่างฯเห็นว่า ควรนำบทบัญญัติเหล่านี้ ไปอยู่ในประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้นำอื่นในภาครัฐแทน