กมธ.วิสามัญศึกษา กม.ปิโตรเลียมเสนอ สนช. ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติคุมเบ็ดเสร็จ แนะควรชะลอเปิดสัมปทานรอบ 21 จนกว่าจะแก้ กม. สำคัญเสร็จ แต่หากจำเป็นต้องเปิดประมูล เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายด้านพลังงานของประเทศ ควรใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ มีวาระการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สนช. ที่มี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ สมาชิก สนช. เป็นประธาน
สำหรับข้อเสนอของคณะกมธ.ที่สำคัญ คือ การให้ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Company) ให้มีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ เป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจ และให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียมในการดำเนินการบริหารจัดการปิโตรเลียมและการบังคับบริษัทน้ำมันเอกชนในฐานะคู่สัญญา
โดยตราเป็นกฎหมายในระดับ พ.ร.บ. ให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติมีสภาพนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการสัญญาที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการพัสดุของส่วนราชการหรือกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐและบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้ถือสิทธิทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐ ในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียม ควบคุมดูแลระบบการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิตและสัญญาจ้างผลิต
การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม คณะกมธ.เห็นสมควรที่จะดำเนินการเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย 1. ในระยะยาว เพื่อวางระบบให้เป็นที่ยอมรับทุกภาคส่วนและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน จึงควรศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอื่นๆ ที่มีลักษณะของแหล่งปิโตรเลียม สภาพสังคม และสภาพเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับประเทศไทย
2. ในระยะเร่งด่วน เพื่อให้การสำรวจปิโตรเลียมดำเนินการไปได้ในระหว่างที่มีการปรับปรุงกฎหมายทั้งฉบับ โดยจะเป็นต้องพิจารณาแก้ไขรายมาตรา แต่เฉพาะมาตราที่สำคัญ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตและสัญญาจ้างบริการมาใช้บังคับได้ไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการจากหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ในการบริหารสัญญาแบ่งปันและผลผลิตและสัญญาจ้างผลิตปิโตรเลียม และแก้ไขปัญหากรณีที่สัมปทานผลิตปิโตรเลียมจะหมดอายุลง
ส่วนการเปิดประมูลสำรวจปิโตรเลียมรอบ 21 คณะกมธ.เห็นว่า มีความสำคัญเร่งด่วนต่อความมั่นคงทางพลังงาน แต่จากการศึกษาปัญหาการใช้กฎหมายปิโตรเลียม ทำให้มีความเห็นว่า การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่กระจายตัวในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งมีศักยภาพเชิงพาณิชย์สูงต่ำ
ต่างกัน จึงควรมีระบบในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมที่เปิดกว้าง สอดคล้องกับศักยภาพนั้น จึงต้องแก้ไขกฎหมายจากเดิม ที่ระบุว่า "กำหนดให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ และผู้ใดจะสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมต้องได้รับสัมปทาน" โดยการบัญญัติเพิ่มเติมให้มีรูปแบบอื่นนอกจากสัมปทานด้วย
การที่รัฐบาลจะใช้ระบบสัมปทานไปก่อน โดยมีข้อตกลงในสัญญาสัมปทานว่า รัฐสามารถทำความตกลงในการเปลี่ยนแปลงระบบเบ่งปันผลผลิตได้ภายหลังนั้น มีข้อควรระวัง คือ อาจทำให้เสียบรรยากาศการลงทุน เพราะเอกชนเกิดความไม่มั่นใจในการลงทุนซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยอาจทำให้การคำนวณต้นทุนไม่ชัดเจน ดังนั้น จึงควรชะลอการเปิดสัมปทานไปจนกว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบธุรกรรมที่ยังไม่บัญญัตินี้ให้เรียบร้อยก่อนทำสัญญา
ถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเปิดประมูลแปลงปิโตรเลียม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในด้านพลังงานของประเทศ คณะ กมธ.เห็นควรให้ทำการเปิดประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิต คราวละ 4-5 แปลง ในแปลงที่มีข้อมูลมากพอสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและรัฐได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงขึ้น หรือดำเนินการสำรวจในเบื้องต้นในแปลงที่มีศักยภาพสูง โดยเป็นการ สำรวจเพื่อความมั่นคง ซึงอาจมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่มีขีดความสามารถและประสบการณ์ร่วมกับกรมพลังงานเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้ดำเนินการ
ขณะที่ ปัญหาความไม่ไว้วางใจของประชาชนต่อผู้บริหารภาคพลังงานนั้น รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 87 โดยกำหนดให้คณะกรรมการปิโตรเลียม มีสัดส่วนของตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยแก้ไขเพิ่มเติมความใน หมวด 2 คณะกรรมการปิโตรเลียม มาตรา 15 ของพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 นอกจากนี้ควรแก้ไขมาตรา 76 ของ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เรื่องเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ ความไม่ไว้วางใจของประชาชน มาจากการเข้าถึงข้อมูลได้ยาก ประกอบกับความสามารถของรัฐในการสื่อสาร ทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียศรัทธาไปอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และต้องนำเสนอข้อมูลบนพื้นฐานความต้องการของประชาชน และตอบคำถามของประชาชนอย่างตรงประเด็น ที่แสดงถึงประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการรับรู้ข้อมูลของประชาชน เพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจของประชาชนต่อรัฐ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ มีวาระการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สนช. ที่มี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ สมาชิก สนช. เป็นประธาน
สำหรับข้อเสนอของคณะกมธ.ที่สำคัญ คือ การให้ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Company) ให้มีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ เป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจ และให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียมในการดำเนินการบริหารจัดการปิโตรเลียมและการบังคับบริษัทน้ำมันเอกชนในฐานะคู่สัญญา
โดยตราเป็นกฎหมายในระดับ พ.ร.บ. ให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติมีสภาพนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการสัญญาที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการพัสดุของส่วนราชการหรือกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐและบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้ถือสิทธิทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐ ในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียม ควบคุมดูแลระบบการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิตและสัญญาจ้างผลิต
การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม คณะกมธ.เห็นสมควรที่จะดำเนินการเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย 1. ในระยะยาว เพื่อวางระบบให้เป็นที่ยอมรับทุกภาคส่วนและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน จึงควรศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอื่นๆ ที่มีลักษณะของแหล่งปิโตรเลียม สภาพสังคม และสภาพเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับประเทศไทย
2. ในระยะเร่งด่วน เพื่อให้การสำรวจปิโตรเลียมดำเนินการไปได้ในระหว่างที่มีการปรับปรุงกฎหมายทั้งฉบับ โดยจะเป็นต้องพิจารณาแก้ไขรายมาตรา แต่เฉพาะมาตราที่สำคัญ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตและสัญญาจ้างบริการมาใช้บังคับได้ไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการจากหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ในการบริหารสัญญาแบ่งปันและผลผลิตและสัญญาจ้างผลิตปิโตรเลียม และแก้ไขปัญหากรณีที่สัมปทานผลิตปิโตรเลียมจะหมดอายุลง
ส่วนการเปิดประมูลสำรวจปิโตรเลียมรอบ 21 คณะกมธ.เห็นว่า มีความสำคัญเร่งด่วนต่อความมั่นคงทางพลังงาน แต่จากการศึกษาปัญหาการใช้กฎหมายปิโตรเลียม ทำให้มีความเห็นว่า การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมที่กระจายตัวในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งมีศักยภาพเชิงพาณิชย์สูงต่ำ
ต่างกัน จึงควรมีระบบในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมที่เปิดกว้าง สอดคล้องกับศักยภาพนั้น จึงต้องแก้ไขกฎหมายจากเดิม ที่ระบุว่า "กำหนดให้ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ และผู้ใดจะสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมต้องได้รับสัมปทาน" โดยการบัญญัติเพิ่มเติมให้มีรูปแบบอื่นนอกจากสัมปทานด้วย
การที่รัฐบาลจะใช้ระบบสัมปทานไปก่อน โดยมีข้อตกลงในสัญญาสัมปทานว่า รัฐสามารถทำความตกลงในการเปลี่ยนแปลงระบบเบ่งปันผลผลิตได้ภายหลังนั้น มีข้อควรระวัง คือ อาจทำให้เสียบรรยากาศการลงทุน เพราะเอกชนเกิดความไม่มั่นใจในการลงทุนซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยอาจทำให้การคำนวณต้นทุนไม่ชัดเจน ดังนั้น จึงควรชะลอการเปิดสัมปทานไปจนกว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบธุรกรรมที่ยังไม่บัญญัตินี้ให้เรียบร้อยก่อนทำสัญญา
ถ้ามีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเปิดประมูลแปลงปิโตรเลียม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในด้านพลังงานของประเทศ คณะ กมธ.เห็นควรให้ทำการเปิดประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิต คราวละ 4-5 แปลง ในแปลงที่มีข้อมูลมากพอสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและรัฐได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงขึ้น หรือดำเนินการสำรวจในเบื้องต้นในแปลงที่มีศักยภาพสูง โดยเป็นการ สำรวจเพื่อความมั่นคง ซึงอาจมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่มีขีดความสามารถและประสบการณ์ร่วมกับกรมพลังงานเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้ดำเนินการ
ขณะที่ ปัญหาความไม่ไว้วางใจของประชาชนต่อผู้บริหารภาคพลังงานนั้น รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 87 โดยกำหนดให้คณะกรรมการปิโตรเลียม มีสัดส่วนของตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมในสัดส่วนที่เหมาะสม โดยแก้ไขเพิ่มเติมความใน หมวด 2 คณะกรรมการปิโตรเลียม มาตรา 15 ของพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 นอกจากนี้ควรแก้ไขมาตรา 76 ของ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เรื่องเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ ความไม่ไว้วางใจของประชาชน มาจากการเข้าถึงข้อมูลได้ยาก ประกอบกับความสามารถของรัฐในการสื่อสาร ทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียศรัทธาไปอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และต้องนำเสนอข้อมูลบนพื้นฐานความต้องการของประชาชน และตอบคำถามของประชาชนอย่างตรงประเด็น ที่แสดงถึงประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการรับรู้ข้อมูลของประชาชน เพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจของประชาชนต่อรัฐ.