สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการดำเนินการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับองค์กรเครือข่ายทางด้านสิทธิฯ องค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สำนักงาน กสม.
เนื่องจากคณะกรรมการ กสม.ชุดปัจจุบัน จะหมดวาระในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ และจะต้องดำเนินการสรรหาคณะกรรมการ กสม.ชุดใหม่ มาทำหน้าที่แทน ตามหลักเกณฑ์การสรรหาที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งนี้ จึงมีการจัดสัมมนาดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักการข้อกฎหมายในการสรรหา กสม. เพื่อให้มีผู้สมัครที่มีความหลากหลาย รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมได้มีส่วนร่วม และนำผลที่ได้จากการสัมมนาดังกล่าวรายงานต่อคณะกรรมการ กสม. และใช้ประโยชน์ทางวิชาการต่อไป
นางหรรษา บุญรัตน์ ที่ปรึกษาสำนักงาน กสม. กล่าวว่า ในการสรรหา กสม. นอกจากจะต้องทำตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว จะต้องคำนึงถึงหลักการปารีส ที่มีหลักในการสรรหาให้ยึดความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร และรัฐบาล เพื่อการทำงานที่สามารถตรวจสอบทุกฝ่ายได้ รวมทั้งความหลากหลายในทุกวิชาชีพ เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหา และทำหน้าที่ถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี โดยแนวทางในการสรรหานั้น ICC ได้มีการกำหนดไว้แล้วว่า จะต้องทำการสรรหาโดยเปิดเผย รับฟังความเห็นจากกลุ่มต่างๆ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้มากที่สุด และในการคัดเลือกให้พิจารณาจากคุณสมบัติ เพื่อการสรรหา กสม. มาทำหน้าที่อย่างอิสระ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการสรรหา กสม.ในครั้งนี้
ด้านน.ส.นัยนา สุภาพึ่ง อดีตกรรมการ กสม. กล่าวว่า กรรมการ กสม. ต้องแยกให้ออกระหว่างหลักการทางกฎหมาย และหลักการทางสิทธิมนุษยชน เพราะเข้ามาทำหน้าที่นั้นต่างกันอย่างไร เพราะมีทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงต้องสรรหา กสม.ที่หลากหลาย เพื่อที่จะเข้ามาแก้ปัญหาที่ทับซ้อนได้ และให้ความช่วยเหลือได้หรือไม่ คนที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ต้องมีความกล้าหาญที่จะยอมรับว่า ไม่รู้เรื่องอะไร และต้องเปลี่ยนแปลงเรื่องอะไรบ้าง
ด้านนายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ คอลัมนิสต์อาวุโส กล่าวว่า ในการสรรหา กสม. ต้องตั้งคำถามว่า เราอยากได้คนที่คุณสมบัติอย่างไรมาเป็น กสม. หากดูตามรัฐธรรมนูญ คุณสมบัติที่เขียนไว้ว่าง่ายๆ คือ อยากได้คนดี ตนคิดว่าคับแคบเกินไป และควรมีมากกว่า 7 คน
ทั้งนี้ มองว่าคนที่จะมาเป็นกสม. ต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ 1. ต้องมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนดีพอ 2. ต้องมี หิริ โอตัปปะ รู้ดีรู้ชอบ เพราะถ้าไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตในตัวเอง ต่อให้มีความรู้ ก็ไม่มีประโยชน์ 3. ต้องมีความคิดริเริ่มในการทำงานเชิงรุกให้มากกว่าปัจจุบัน เพราะตามกฎหมายงานของ กสม. ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย ทำได้แต่ข้อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. ต้องมีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน มุ่งมั่นที่จะทำงาน ไม่ใช่ทำงานเป็นเสือกระดาษ
"ส่วนตัวเห็นว่า ระบบการสรรหาของไทยเป็นช่องโหวของระบอบประชาธิปไตย การสรรหาทุกระดับ เต็มไปด้วยระบบอุปถัมภ์ มีคนของฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซง ทำให้เราได้ กสม. ที่ไม่เป็นสับปะรดมาทำงาน มีแต่พวกอยากได้ตำแหน่ง เครื่องราช ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การสรรหาสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ก่อนถูกยุบทิ้งก็ฉาวเรื่องกระบวนการสรรหา ซึ่งลักษณะอย่างนี้ไม่อยากให้เป็นกระบวนการสรรหา กสม." นายเกียรติชัย กล่าว
ทั้งนี้ ขณะนี้สำนักงานกสม. ได้มีการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น กสม.แทนชุดปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 24มิ.ย.โดยเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค-15 มิ.ย ซึ่งผู้ที่สนใจจะต้องเดินทางมาสมัครด้วยตนเอง ในวันเวลาราชการ ที่สำนักงาน กสม. อาคารบี ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
เนื่องจากคณะกรรมการ กสม.ชุดปัจจุบัน จะหมดวาระในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ และจะต้องดำเนินการสรรหาคณะกรรมการ กสม.ชุดใหม่ มาทำหน้าที่แทน ตามหลักเกณฑ์การสรรหาที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทั้งนี้ จึงมีการจัดสัมมนาดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักการข้อกฎหมายในการสรรหา กสม. เพื่อให้มีผู้สมัครที่มีความหลากหลาย รวมทั้งส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมได้มีส่วนร่วม และนำผลที่ได้จากการสัมมนาดังกล่าวรายงานต่อคณะกรรมการ กสม. และใช้ประโยชน์ทางวิชาการต่อไป
นางหรรษา บุญรัตน์ ที่ปรึกษาสำนักงาน กสม. กล่าวว่า ในการสรรหา กสม. นอกจากจะต้องทำตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว จะต้องคำนึงถึงหลักการปารีส ที่มีหลักในการสรรหาให้ยึดความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร และรัฐบาล เพื่อการทำงานที่สามารถตรวจสอบทุกฝ่ายได้ รวมทั้งความหลากหลายในทุกวิชาชีพ เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหา และทำหน้าที่ถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี โดยแนวทางในการสรรหานั้น ICC ได้มีการกำหนดไว้แล้วว่า จะต้องทำการสรรหาโดยเปิดเผย รับฟังความเห็นจากกลุ่มต่างๆ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้มากที่สุด และในการคัดเลือกให้พิจารณาจากคุณสมบัติ เพื่อการสรรหา กสม. มาทำหน้าที่อย่างอิสระ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการสรรหา กสม.ในครั้งนี้
ด้านน.ส.นัยนา สุภาพึ่ง อดีตกรรมการ กสม. กล่าวว่า กรรมการ กสม. ต้องแยกให้ออกระหว่างหลักการทางกฎหมาย และหลักการทางสิทธิมนุษยชน เพราะเข้ามาทำหน้าที่นั้นต่างกันอย่างไร เพราะมีทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงต้องสรรหา กสม.ที่หลากหลาย เพื่อที่จะเข้ามาแก้ปัญหาที่ทับซ้อนได้ และให้ความช่วยเหลือได้หรือไม่ คนที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ต้องมีความกล้าหาญที่จะยอมรับว่า ไม่รู้เรื่องอะไร และต้องเปลี่ยนแปลงเรื่องอะไรบ้าง
ด้านนายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ คอลัมนิสต์อาวุโส กล่าวว่า ในการสรรหา กสม. ต้องตั้งคำถามว่า เราอยากได้คนที่คุณสมบัติอย่างไรมาเป็น กสม. หากดูตามรัฐธรรมนูญ คุณสมบัติที่เขียนไว้ว่าง่ายๆ คือ อยากได้คนดี ตนคิดว่าคับแคบเกินไป และควรมีมากกว่า 7 คน
ทั้งนี้ มองว่าคนที่จะมาเป็นกสม. ต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ 1. ต้องมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนดีพอ 2. ต้องมี หิริ โอตัปปะ รู้ดีรู้ชอบ เพราะถ้าไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตในตัวเอง ต่อให้มีความรู้ ก็ไม่มีประโยชน์ 3. ต้องมีความคิดริเริ่มในการทำงานเชิงรุกให้มากกว่าปัจจุบัน เพราะตามกฎหมายงานของ กสม. ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย ทำได้แต่ข้อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. ต้องมีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน มุ่งมั่นที่จะทำงาน ไม่ใช่ทำงานเป็นเสือกระดาษ
"ส่วนตัวเห็นว่า ระบบการสรรหาของไทยเป็นช่องโหวของระบอบประชาธิปไตย การสรรหาทุกระดับ เต็มไปด้วยระบบอุปถัมภ์ มีคนของฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซง ทำให้เราได้ กสม. ที่ไม่เป็นสับปะรดมาทำงาน มีแต่พวกอยากได้ตำแหน่ง เครื่องราช ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การสรรหาสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ก่อนถูกยุบทิ้งก็ฉาวเรื่องกระบวนการสรรหา ซึ่งลักษณะอย่างนี้ไม่อยากให้เป็นกระบวนการสรรหา กสม." นายเกียรติชัย กล่าว
ทั้งนี้ ขณะนี้สำนักงานกสม. ได้มีการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น กสม.แทนชุดปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 24มิ.ย.โดยเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค-15 มิ.ย ซึ่งผู้ที่สนใจจะต้องเดินทางมาสมัครด้วยตนเอง ในวันเวลาราชการ ที่สำนักงาน กสม. อาคารบี ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ