เมื่อเวลา 13.00 น. วานนี้ (25พ.ค.) ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาความเห็น ข้อเสนอแนะแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของแต่ละกระทรวง รวมไปถึงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เอกชน และประชาชน ส่งไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ และนำส่งความเห็นต่อ กมธ.ยกร่างฯ เรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อเสนอแนะให้ กมธ.ยกร่างฯ ปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรนูญใหม่จำนวนกว่า 120 ประเด็น โดยครึ่งหนึ่งเสนอให้แก้ไขถ้อยคำที่ไม่มีความชัดเจน อ่านแล้วทำให้เกิดความสับสน ขอให้ไปเรียงประโยคใหม่ อีกส่วนเป็นเรื่องที่กระทบกับหลักการ โดยยึด 3 วัตถุประสงค์ คือ 1. ทำอย่างไรให้สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วได้รับการสานต่อ 2. ทำอย่างไรให้บ้านเมืองในอนาคตสงบเรียบร้อยไม่แตกแยก ไม่ให้เหตุการณ์กลับไป ก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 และ 3. ทำอย่างไรให้การเมืองในอนาคตดีขึ้นได้ พัฒนาก้าวหน้า และให้ความเป็นธรรม เป็นที่พอใจ
ทั้ง 3 ข้อควรเป็นคำตอบในร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี้ ต้องไม่เสียของ เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐบาลใหม่ สภาใหม่ จะต้องไม่เปิดโอกาสให้ทุจริต ใช้อำนาจที่ผิดครรลองครองธรรม หรือใช้ประชานิยมแบบไม่ถูกต้อง
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอแนะของ ครม. ยังยึดตามแนวทาง 315 มาตรา ที่ กมธ.ยกร่างฯได้ร่างไว้ ไม่ได้มีการเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น เพราะไม่ต้องการให้ถูกมองว่า เป็นพิมพ์เขียว หาก กมธ.ยกร่างฯ เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย โดยเนื้อหาข้อเสนอส่วนใหญ่เป็นขององค์กรอิสระ เพื่อให้การทำงานสะดวกขึ้น ขณะที่องค์กร หรือคณะกรรมการที่เกิดขึ้นมาใหม่เกือบ 30 องค์กร บางส่วนเสนอให้ไปเขียนในกฎหมายลูก หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ จะกลายเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ แต่ขอไม่ลงรายละเอียด เกรงว่าจะเกิดความสับสน
ทั้งนี้ ในส่วนของหลักการบางอย่าง ครม.เห็นว่า เนื้อหาของเดิมที่มีอยู่ดีกว่า หรือบางหลักการปฏิบัติได้ยาก เช่น หาก ครม.สิ้นสุดลง แล้วให้ปลัดกระทรวงรักษาการแทน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ เพราะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี จึงได้เสนอให้ตัดออก แล้วปรับปรุงใหม่ หรือที่กำหนดให้นักการการเมือง ผู้นำภาครัฐ ซึ่งหมายรวมไปถึง ปลัดกระทรวง และอธิบดีด้วยนั้น ต้องไม่ผิดประเพณี ศาสนา พูดจาสุภาพ ตรงนี้ไม่ชัดเจน และยากที่จะตีความ อาจทำให้เกิดการฟ้องร้องค้าความกันได้ จึงเสนอให้ตัดออก และควรไปเขียนไว้ในประมวลจริยธรรมต่างๆ แทน
สำหรับมาตรา 181 กับ 182 ในร่างรัฐธรรมนูญนั้น ครม.ได้เสนอให้ตัดทิ้ง ส่วนที่เสนอให้ทบทวน อาทิ การจัดเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ กรณีให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) จัดเลือกตั้ง แทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รวมไปถึงอำนาจต่างๆ ของส.ว.
ส่วนหมวดของการปฏิรูป ก็เสนอให้ทบทวนใหม่ในหลายจุด เพราะลงรายละเอียดมาก ทำให้การปฏิบัติเป็นไปได้ยาก หากปฏิบัติไม่ได้ ก็จะผิด ขณะที่เรื่ององค์กรอิสระคิดว่า ไม่ควรลงรายละเอียดมากเกินไป นอกจากนี้ยังเสนอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแยกกันเช่นเดิม ส่วนเรื่องนายกฯ คนนอกไม่ได้หารือกัน
โดยภาพรวม ครม.มีประโยคสำคัญประโยคหนึ่งต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า มีส่วนที่ดีอยู่มาก สามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องบางเรื่องในอดีตได้ วางบทคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพประชาชนได้ แต่เพื่อความสมบูรณ์ขอให้ กมธ.ยกร่างฯ ช่วยพิจารณาว่า จะปรับปรุงแก้ไขในบางส่วน หรือตัดทอนบางส่วนออกไป เพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น บางส่วนแก้ไขเพื่อให้ชัดเจน หรือไปใส่ในกฎหมายอื่นได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะได้สั้นลง จาก 315 มาตรา ไม่ใช่ว่าจะเอาทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ใส่ในรัฐธรรมนูญ
นายวิษณุ กล่าวว่า ทั้งนี้ อะไรที่ครม.ไม่ได้เสนอแก้ กมธ.ยกร่างฯ สามารถแก้ได้เองอยู่แล้ว วันนี้เสียงสะท้อนต่างๆ เชื่อว่ากมธ.ยกร่างฯได้ยิน ข้อเสนอต่างๆ สปช.อาจเสนอให้เลี้ยวซ้าย ครม.ให้เลี้ยวขวา แต่ถ้าเขาบอกว่าไม่เอาทั้งซ้าย และขวา จะเอาอีกแบบก็ได้ ใน 36 คน ไม่ได้ดีเลวอะไรไปหมด น่าจะมีบางคนที่สำเหนียกและหยิบยกขึ้นมา ถ้าคนสองคนเราอาจจะหมดหวัง ตนยังเชื่อใจใน กมธ.ยกร่างฯ หลายคน ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จากนี้จะเริ่มยกร่างฉบับแก้ไขก่อนจะเสนอกลับเข้ามาให้ ครม. พิจารณาอีกครั้ง คงไปคิดมา 3-4 แบบ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ และนำส่งความเห็นต่อ กมธ.ยกร่างฯ เรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อเสนอแนะให้ กมธ.ยกร่างฯ ปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรนูญใหม่จำนวนกว่า 120 ประเด็น โดยครึ่งหนึ่งเสนอให้แก้ไขถ้อยคำที่ไม่มีความชัดเจน อ่านแล้วทำให้เกิดความสับสน ขอให้ไปเรียงประโยคใหม่ อีกส่วนเป็นเรื่องที่กระทบกับหลักการ โดยยึด 3 วัตถุประสงค์ คือ 1. ทำอย่างไรให้สิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วได้รับการสานต่อ 2. ทำอย่างไรให้บ้านเมืองในอนาคตสงบเรียบร้อยไม่แตกแยก ไม่ให้เหตุการณ์กลับไป ก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 และ 3. ทำอย่างไรให้การเมืองในอนาคตดีขึ้นได้ พัฒนาก้าวหน้า และให้ความเป็นธรรม เป็นที่พอใจ
ทั้ง 3 ข้อควรเป็นคำตอบในร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี้ ต้องไม่เสียของ เมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐบาลใหม่ สภาใหม่ จะต้องไม่เปิดโอกาสให้ทุจริต ใช้อำนาจที่ผิดครรลองครองธรรม หรือใช้ประชานิยมแบบไม่ถูกต้อง
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอแนะของ ครม. ยังยึดตามแนวทาง 315 มาตรา ที่ กมธ.ยกร่างฯได้ร่างไว้ ไม่ได้มีการเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น เพราะไม่ต้องการให้ถูกมองว่า เป็นพิมพ์เขียว หาก กมธ.ยกร่างฯ เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย โดยเนื้อหาข้อเสนอส่วนใหญ่เป็นขององค์กรอิสระ เพื่อให้การทำงานสะดวกขึ้น ขณะที่องค์กร หรือคณะกรรมการที่เกิดขึ้นมาใหม่เกือบ 30 องค์กร บางส่วนเสนอให้ไปเขียนในกฎหมายลูก หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ จะกลายเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ แต่ขอไม่ลงรายละเอียด เกรงว่าจะเกิดความสับสน
ทั้งนี้ ในส่วนของหลักการบางอย่าง ครม.เห็นว่า เนื้อหาของเดิมที่มีอยู่ดีกว่า หรือบางหลักการปฏิบัติได้ยาก เช่น หาก ครม.สิ้นสุดลง แล้วให้ปลัดกระทรวงรักษาการแทน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ เพราะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี จึงได้เสนอให้ตัดออก แล้วปรับปรุงใหม่ หรือที่กำหนดให้นักการการเมือง ผู้นำภาครัฐ ซึ่งหมายรวมไปถึง ปลัดกระทรวง และอธิบดีด้วยนั้น ต้องไม่ผิดประเพณี ศาสนา พูดจาสุภาพ ตรงนี้ไม่ชัดเจน และยากที่จะตีความ อาจทำให้เกิดการฟ้องร้องค้าความกันได้ จึงเสนอให้ตัดออก และควรไปเขียนไว้ในประมวลจริยธรรมต่างๆ แทน
สำหรับมาตรา 181 กับ 182 ในร่างรัฐธรรมนูญนั้น ครม.ได้เสนอให้ตัดทิ้ง ส่วนที่เสนอให้ทบทวน อาทิ การจัดเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ กรณีให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) จัดเลือกตั้ง แทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รวมไปถึงอำนาจต่างๆ ของส.ว.
ส่วนหมวดของการปฏิรูป ก็เสนอให้ทบทวนใหม่ในหลายจุด เพราะลงรายละเอียดมาก ทำให้การปฏิบัติเป็นไปได้ยาก หากปฏิบัติไม่ได้ ก็จะผิด ขณะที่เรื่ององค์กรอิสระคิดว่า ไม่ควรลงรายละเอียดมากเกินไป นอกจากนี้ยังเสนอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแยกกันเช่นเดิม ส่วนเรื่องนายกฯ คนนอกไม่ได้หารือกัน
โดยภาพรวม ครม.มีประโยคสำคัญประโยคหนึ่งต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า มีส่วนที่ดีอยู่มาก สามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องบางเรื่องในอดีตได้ วางบทคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพประชาชนได้ แต่เพื่อความสมบูรณ์ขอให้ กมธ.ยกร่างฯ ช่วยพิจารณาว่า จะปรับปรุงแก้ไขในบางส่วน หรือตัดทอนบางส่วนออกไป เพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น บางส่วนแก้ไขเพื่อให้ชัดเจน หรือไปใส่ในกฎหมายอื่นได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะได้สั้นลง จาก 315 มาตรา ไม่ใช่ว่าจะเอาทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ใส่ในรัฐธรรมนูญ
นายวิษณุ กล่าวว่า ทั้งนี้ อะไรที่ครม.ไม่ได้เสนอแก้ กมธ.ยกร่างฯ สามารถแก้ได้เองอยู่แล้ว วันนี้เสียงสะท้อนต่างๆ เชื่อว่ากมธ.ยกร่างฯได้ยิน ข้อเสนอต่างๆ สปช.อาจเสนอให้เลี้ยวซ้าย ครม.ให้เลี้ยวขวา แต่ถ้าเขาบอกว่าไม่เอาทั้งซ้าย และขวา จะเอาอีกแบบก็ได้ ใน 36 คน ไม่ได้ดีเลวอะไรไปหมด น่าจะมีบางคนที่สำเหนียกและหยิบยกขึ้นมา ถ้าคนสองคนเราอาจจะหมดหวัง ตนยังเชื่อใจใน กมธ.ยกร่างฯ หลายคน ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จากนี้จะเริ่มยกร่างฉบับแก้ไขก่อนจะเสนอกลับเข้ามาให้ ครม. พิจารณาอีกครั้ง คงไปคิดมา 3-4 แบบ