xs
xsm
sm
md
lg

พลังงานเร่งหาแหล่งปิโตรใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน- กระทรวงพลังงานกางสำรองก๊าซฯไทยที่พิสูจน์แล้ว(P 1)เหลือแค่ 6 ปีกว่าๆ ย้ำไทยจำเป็นต้องเร่งเปิดให้เอกชนสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 แต่จะเปิดได้มิ.ย.นี้หรือไม่ต้องรอแก้ไขกม.ปิโตรเลียมก่อน พร้อมกับเร่งบริหารจัดการแหล่งสัมปทานเอราวัณ-บงกชที่จะหมดอายุปี2565-2566 ภายใน1ปีเบรกค่าไฟพุ่ง85สต./หน่วยปี 65ขณะที่แผนรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนยอมรับอีสานลำบากสายส่งไม่พอรองรับ
นายคุรุจิต นาครทรรพ รักษาการปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า มีความจำเป็นที่ไทยจะต้องเร่งบริหารจัดการกับแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในประเทศทั้งการเปิดสำรวจแหล่งปิโตรเลียมรอบที่ 21 และการบริหารจัดการสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณและบงกชที่จะหมดอายุปี 2565-66 เนื่องจากพบว่าปริมาณก๊าซฯเริ่มลดลงโดยสิ้นปี 2557 พบว่าปริมาณสำรองก๊าซฯที่พิสูจน์ได้(P1) เหลือเพียง 6 ปีกว่า และเมื่อรวมกับสำรองก๊าซฯที่คาดว่าจะพบ(P2) เหลือใช้เพียง 13 ปี ขณะที่การใช้ก๊าซฯปัจุบันอยู่ที่ประมาณ 5,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน(ประมาณ1.8ล้านล้านลบ.ฟุตต่อปี)
อย่างไรก็ตามการเปิดให้เอกชนสำรวจแหล่งปิโตรเลียมรอบ21 ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะเปิดได้เมื่อใดและจะทันกับมิ.ย. 58 ที่เคยวางเป้าหมายไว้หรือไม่เนื่องจากต้องรอให้การแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสียก่อน โดยในขณะนี้การแก้ไขกฏหมายนี้ ทาง ครม.ได้เห็นชอบและให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณารายละเอียด ซึ่งรูปแบบใหม่จะมีเปิดให้ใช้ระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต(PSC) แต่ที่สุดจะเป็นแบบใดเรื่องนี้ ครม.จะเป็นผู้ตัดสินใจทางกระทรวงพลังงานคงแค่ได้เสนอแนะเท่านั้น
ปัจจุบันไทยผลิตก๊าซฯในประเทศ 78% (3,750 ล้านลูกบาศ์ฟุ/วัน) นำเข้าจากเมียนมาร์ 19.% (1,100 ล้านลูกบาศ์กฟุต/วัน)และนำเข้าLNG 3% (200 ล้านลูกบาศ์กฟุต/วัน) ขณะที่สัมปทานแหล่งใหญ่คือเอราวัณ ของเชฟรอน- บงกชของปตท.สผ. จะหมดอายุ ในปี2565-2566 ผลิตรวม 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือการผลิตของแหล่งนี้คิดเป็น 59% ของกำลังผลิตในอ่าวไทยรวมแหล่งพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซียหรือJDA
ดังนั้นสิ่งสำคัญคือจะต้องทำอย่างไรให้การลงทุนใน 2 แหล่งนี้มีต่อเนื่องเพราะเมื่อแปลงสัมปทานหมดอายุลงและตามกฏหมายก็ต่ออายุไม่ได้แล้วนั้นก็ต้องชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไรไม่เช่นนั้นเอกชนจะไม่ลงทุนเจาะหลุมต่อซึ่งจะทำให้สำรองก๊าซฯจาก 2 แหล่งทยอยลดลงในปี 2560 และจะกระทบหนักปี 2565 ที่อาจหายจนเหลือเพียง 300-400ล้านลบ.ฟุตต่อวันและส่วนที่หายต้องทดแทนด้วยการนำเข้าLNGที่ราคาแพงหากคิดที่ราคา 15 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียูจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 85 สตางค์ต่อหน่วยในปี 2565
" แหล่งสัมปทานหมดอายุ กำหนดต้องแก้ไขกฏหมายให้รัฐเข้าไปถือหุ้นเพิ่มมากขึ้นอาจจะเป็นกระทรวงการคลังหรือบริษัทที่รัฐถือหุ้นก็ต้องพิจารณาให้เสร็จใน1 ปี ซึ่งต้องแก้ไขกฏหมายด้วย รวมไปถึงการแก้ไขสัญญาเรื่องราคาก๊าซ และหากจะแก้ไขโดยมุ่งหวังรัฐได้ประโยชน์สูงสุด อาจจะกระทบต่อผุ้บริโภคราคาก๊าซขยับขึ้น "นายคุรุจิตกล่าว
นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แผนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในปี 2558-59 คาดว่าจะรับซื้อเพิ่มขึ้นอีก 3,000 เมกะวัตต์ส่วนพื้นที่ก็คาดว่าจะอยู่บริเวณกทม.และปริมณฑล 1,700 เมกะวัตต์ซึ่งคาดว่าจะเป็นไฟฟ้าจากขยะ และการผลิตไฟแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนดินของหน่วยราชการและสหกรณ์ แต่ยอมรับว่าพื้นที่ภาคอีสานสายส่งค่อนข้างจะเต็มโดยจะต้องรอการก่อสร้างสายส่ง 500 KV 3 โครงการที่จะทยอยเสร็จปี 61 -62 จะได้รับเป็นหมื่นเมกะวัตต์
"ก็กำลังรอความชัดเจนในเรื่องระบบส่ง คาดว่าจะเสร็จภายในมิ.ย.-ก.ค.นี้เพื่อที่จะสามารถเปิด FiT Bidding ซึ่งจะแบ่งเป็น ขยะอุตสาหกรรม น้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ลม "นายทวารัฐกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น