นายคุรุจิต นาครทรรพ รักษาการปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ไทยควรเร่งเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบ 21 และบริหารจัดการแหล่งสัมปทานขนาดใหญ่ที่จะหมดอายุปี 2565-2566 หลังสำรองก๊าซไทยที่พิสูจน์แล้ว เหลือเพียง 6 ปีครึ่ง ส่วนข้อเสนอให้รัฐถือหุ้นอาจจะเป็นทั้งกระทรวงการคลังหรือบริษัทที่รัฐถือหุ้นก็ได้
ทั้งนี้ การเปิดให้เอกชนสำรวจแหล่งปิโตรเลียมรอบ21 นั้น ยังไม่ทราบว่าจะเปิดได้เมื่อใด เพราะต้องรอให้การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อน โดยในขณะนี้การแก้ไขกฏหมายทางคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณารายละเอียด ซึ่งรูปแบบใหม่เปิดให้เอกชนเข้ามาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะเปลี่ยนไปจากเดิมใช้เฉพาะสัมปทาน เป็นสามารถใช้สัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) การรับจ้างผลิต หรือรูปแบบใดๆก็ได้แล้วแต่พื้นที่ โดยเรื่องนี้คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจ
นายคุรุจิต กล่าวว่า ทุกฝ่ายต่างเห็นร่วมกันว่า เรื่องปิโตรเลียมจะต้องเร่งบริหารจัดการ เพราะในสิ้นปี 2557 ก๊าซไทยที่พิสูจน์ได้เหลือเพียง 6 ปีครึ่ง จาก 7-8 ปีก่อนมีถึง 12 ปี โดยสิ้นปี 2557 ไทยมีการใช้ก๊าซรวมประมาณกว่า 5,000 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน(ประมาณ1.8 ล้านล้านลูกบาศ์ฟุต/ปี)มาจากในประเทศร้อยละ 78 (3,750 ล้านลูกบาศ์ฟุต่อวัน หรือ 1.3-1.4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี),นำเข้าจากพม่าร้อยละ 19. (1,100 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน)และนำเข้าแอลเอ็นจี ร้อยละ 3 (200 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน)ขณะที่สัมปทานแหล่งใหญ่ของเชฟรอน- บงกชจะหมดอายุ ในปี 2565-2566 รวม 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือร้อยละ 59 ของกำลังผลิตในอ่าวไทยรวมแหล่งเจดีเอ หากไม่พิจารณาให้เอกชนเข้ามาผลิตต่อ ก็ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีทดแทนค่าไฟฟ้าอาจแพงอีก 85 สตางค์ต่อหน่วย
ดังนั้นจึงต้องเร่งบริหารจัดการทั้ง 2 เรื่องนี้ เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานความเชื่อมั่นของทุกภาคส่วน เพราะก๊าซฯเป็นต้นทุนของทั้งการผลิตไฟฟ้า เชื้อเพลิงรถยนต์. ครัวเรือน ซึ่งในแหล่งสัมปทานหมดอายุ กำหนดต้องแก้ไขกฏหมายให้รัฐเข้าไปถือหุ้นมากขึ้นอาจจะเป็นกระทรวงการคลังหรือบริษัทที่รัฐถือหุ้นก็ต้องพิจารณาให้เสร็จใน 1 ปี ซึ่งต้องแก้ไขกฏหมายด้วย รวมถึงการแก้ไขสัญญาเรื่องราคาก๊าซ และหากจะแก้ไขโดยมุ่งหวังรัฐได้ประโยชน์สูงสุด อาจจะกระทบต่อผุ้บริโภคราคาก๊าซขยับขึ้น ยกตัวอย่างที่มาเลเซียเมื่อสัญญาเอสโซ่ เชลล์หมด ก็ให้บริษัทในเครือปิโตรนาสถือหุ้นร้อยละ50
ทั้งนี้ การเปิดให้เอกชนสำรวจแหล่งปิโตรเลียมรอบ21 นั้น ยังไม่ทราบว่าจะเปิดได้เมื่อใด เพราะต้องรอให้การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อน โดยในขณะนี้การแก้ไขกฏหมายทางคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณารายละเอียด ซึ่งรูปแบบใหม่เปิดให้เอกชนเข้ามาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะเปลี่ยนไปจากเดิมใช้เฉพาะสัมปทาน เป็นสามารถใช้สัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต (พีเอสซี) การรับจ้างผลิต หรือรูปแบบใดๆก็ได้แล้วแต่พื้นที่ โดยเรื่องนี้คณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจ
นายคุรุจิต กล่าวว่า ทุกฝ่ายต่างเห็นร่วมกันว่า เรื่องปิโตรเลียมจะต้องเร่งบริหารจัดการ เพราะในสิ้นปี 2557 ก๊าซไทยที่พิสูจน์ได้เหลือเพียง 6 ปีครึ่ง จาก 7-8 ปีก่อนมีถึง 12 ปี โดยสิ้นปี 2557 ไทยมีการใช้ก๊าซรวมประมาณกว่า 5,000 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน(ประมาณ1.8 ล้านล้านลูกบาศ์ฟุต/ปี)มาจากในประเทศร้อยละ 78 (3,750 ล้านลูกบาศ์ฟุต่อวัน หรือ 1.3-1.4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อปี),นำเข้าจากพม่าร้อยละ 19. (1,100 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน)และนำเข้าแอลเอ็นจี ร้อยละ 3 (200 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน)ขณะที่สัมปทานแหล่งใหญ่ของเชฟรอน- บงกชจะหมดอายุ ในปี 2565-2566 รวม 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือร้อยละ 59 ของกำลังผลิตในอ่าวไทยรวมแหล่งเจดีเอ หากไม่พิจารณาให้เอกชนเข้ามาผลิตต่อ ก็ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีทดแทนค่าไฟฟ้าอาจแพงอีก 85 สตางค์ต่อหน่วย
ดังนั้นจึงต้องเร่งบริหารจัดการทั้ง 2 เรื่องนี้ เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานความเชื่อมั่นของทุกภาคส่วน เพราะก๊าซฯเป็นต้นทุนของทั้งการผลิตไฟฟ้า เชื้อเพลิงรถยนต์. ครัวเรือน ซึ่งในแหล่งสัมปทานหมดอายุ กำหนดต้องแก้ไขกฏหมายให้รัฐเข้าไปถือหุ้นมากขึ้นอาจจะเป็นกระทรวงการคลังหรือบริษัทที่รัฐถือหุ้นก็ต้องพิจารณาให้เสร็จใน 1 ปี ซึ่งต้องแก้ไขกฏหมายด้วย รวมถึงการแก้ไขสัญญาเรื่องราคาก๊าซ และหากจะแก้ไขโดยมุ่งหวังรัฐได้ประโยชน์สูงสุด อาจจะกระทบต่อผุ้บริโภคราคาก๊าซขยับขึ้น ยกตัวอย่างที่มาเลเซียเมื่อสัญญาเอสโซ่ เชลล์หมด ก็ให้บริษัทในเครือปิโตรนาสถือหุ้นร้อยละ50