วานนี้ (19 พ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมร่วมระหว่าง คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ว่า ที่ประชุมร่วมมีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติ เพราะเป็นขั้นตอนต่อไปที่ต้องดำเนินการตั้งแต่วันนี้ และยืนยันว่าทันเวลา ถ้าสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้ความเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องมีการทำประชามติ หน้าที่ของเราก็คือแก้รัฐธรรมนูญให้สามารถทำได้
พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า คสช.จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก คสช.ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมารับผิดชอบแล้วคือ สปช. ซึ่งมาจากหลายพวก หลายฝ่าย มีทั้งต่างจังหวัด หลายกลุ่มการเมือง นักวิชาการ และคนเหล่านี้ก็คัดเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา 36 คนเพื่อทำการยกร่าง และรับผิดชอบในการแก้ไข ปรับปรุง ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามข้อเสนอของ สปช. และ ครม. แต่ คสช.จะไม่มีการเสนอข้อพิจารณาขึ้นไป เพราะมันจะเป็นการชี้นำ และจะถูกกล่าวหาว่าต้องการสืบทอดอำนาจ
ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมกันอีกครั้งว่า จะมีการดำเนินการแก้ไขอย่างไรในบทบาทของ ครม. โดยมีตนนั่งประชุมในฐานะนายกฯ เพื่อรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
"ขอร้องสื่อมวลชนอย่าเพิ่งไปตีความยาวเหยียดไปข้างหน้า วันนี้ขอให้รอก่อนว่า สปช. จะผ่านหรือไม่ผ่าน รัฐธรรมนูญจะแก้ หรือไม่แก้ ก็อยู่ที่ว่า ถ้าผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ก็ทำประชามติ ต้องไปว่ากันมาวันนี้เขาเสนอมาว่า จะทำประชามติ ผมก็ต้องเตรียมตั้งหลักไว้ก่อน เพราะต้องร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า มีการกำหนดกรอบระยะเวลาไว้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขามีระยะเวลาอยู่แล้ว ซึ่งรายละเอียดและความชัดเจน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย มีรายละเอียดอยู่ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย ไม่ใช่ตามใจตน มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องใช้เวลากี่วัน 60 วัน 120 วัน มีการระบุไว้ชัดเจน การทำประชามติก็ใช้เวลา 3 เดือน จากนั้น ก็มีเรื่องของการทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (กฎหมายลูก) มีกติกากำหนดไว้ทุกอย่างแล้ว ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำรัฐธรรมนูญ หรือการทำประชามติที่ผ่านมาเลย
ทั้งนี้ ในการทำประชามติ จะถามเพียงว่า ควรผ่าน หรือไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว หรือจะมีการถามในเรื่องอื่นด้วยหรือไม่ ก็ให้เป็นเรื่องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ไปดำเนินการ ก็ต้องแบ่งงานให้เขาทำ เขาก็จะเสนอเข้ามาว่า จะทำประชามติเรื่องอะไร ซึ่งก็ต้องใช้ทั้งเวลา และงบประมาณ ถ้ารับกันได้ ก็รับกันไป
เมื่อถามว่า หากการทำประชามติแล้วประชาชนไม่เห็นด้วย จะทำอย่างไร และจะนำรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือปี 2550 มาใช้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยกล่าวว่า " จะมาถามผมทำไม ให้ไปถามประชาชนเขาโน่น"
**แก้รธน.เพิ่มเวลายกร่างฯเป็น 90 วัน
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมร่วม คสช. และครม. มีมติเอกฉันท์ ให้มีแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 โดยอาศัยความตาม มาตรา 46 แก้ไขเนื้อหาใน มาตรา 37-38 เพื่อเปิดทางให้สามารถทำการลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ซึ่งตนและคณะทำงาน จะดำเนินการจัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แล้วเสร็จก่อนนำเข้าที่ประชุมครม. เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่ง สนช.จะต้องพิจารณาภายใน 15 วัน หลังจากได้รับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เมื่อผ่านความเห็นชอบจากสนช.แล้ว จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ก่อนประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยคาดว่า กระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย.นี้
นอกเหนือจากการแก้ไขในส่วนของการทำประชามติแล้ว ที่ประชุมยังมีมติให้แก้ไขเนื้อหาในส่วนของขยายเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ของ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพิ่มขึ้นอีก 30 วัน จากเดิมที่ กมธ.ยกร่างฯ มีเวลา 60 วัน ในการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ตามความเห็นของภาคส่วนต่างๆ ก่อนส่งให้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณาลงมติ เมื่อแก้ไขเพิ่มเติม กมธ.ยกร่างฯ จะมีเวลาเพิ่มเป็นไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากเห็นว่า ข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆ มีค่อนข้างมาก เกรงว่า กมธ.ยกร่างฯ จะพิจารณาไม่ทันตามเวลาที่กำหนด
การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เป็นเพียงการเปิดทางให้มีการทำประชามติเท่านั้น ส่วนจะทำหรือไม่นั้น จะมีขั้นตอนในการพิจารณาอีกครั้ง ภายหลังจากที่ สปช. มีมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว โดยต้องมาพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลานั้นหากกระแสสังคมยอมรับร่างรัฐธรรมนูยฉบับใหม่ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำประชามติ แต่ในเวลานี้ กระแสสังคม รวมไปถึงสปช. - กมธ.ยกร่างฯ และสนช. ล้วนเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ต้องมีการทำประชามติ จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทางไว้ก่อน
อย่างไรก็ตาม ยังต้องพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย ในการทำหรือไม่ทำประชามติอีกครั้ง นอกเหนือจากเรื่องงบประมาณในการจัดการทำประชามติแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะผู้รับผิดชอบ ยังต้องจัดพิมพ์เอกสารร่างรัฐธรรมนูญ แจกจ่ายประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 47 ล้านฉบับ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนอีกด้วย โดยส่วนนี้ คาดว่าจะใช้เวลาราว 3 –4 เดือน
** เสนอแก้ไขร่างรธน.หลายสิบประเด็น
นอกจากนี้ ในส่วนของที่ประชุม ครม. ได้มีการพิจารณาข้อสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มาจากแต่ละกระทรวง รวมทั้งความเห็นจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่ไม่ได้จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ ประชาชน นักวิชาการ และนักธุรกิจ โดยมีประเด็นที่จะแจ้งไปยัง กมธ.ยกร่างฯ หลายสิบประเด็น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. เรื่องถ้อยคำที่กำกวม เช่น คำว่า พลเมือง ปวงชนชาวไทย ประชาชน ราษฎร และบุคคล 2. ข้อความไม่ควรอยู่ในมาตรานั้นๆ หรือควรจะบัญญัติเพิ่มเติม และ 3. เนื้อหาที่อาจกระทบต่อหลักการสำคัญ หลายเรื่องจะเสนอให้ตัดออก ปรับปรุง หรือทบทวน ซึ่งในวันนี้ตนได้นำเสนอต่อที่ประชุมได้ประมาณ 80% แต่ ครม.อยากพิจารณาละเอียดกว่านี้ จึงได้นัดประชุม ครม.วาระพิเศษ ในวันที่ 25 พ.ค. เพื่อหากันเรื่องร่างรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ จากนั้นจะมีการนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างฯ ในวันเดียวกัน เพราะเป็นวันสุดท้ายแล้ว
อย่างไรก็ตาม สำหรับเนื้อหาที่กระทรวงต่างๆ ส่งมานั้น ส่วนหนึ่งมีการเสนอให้ตัดเนื้อหาที่กลุ่มการเมืองสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ด้วย
สำหรับในมาตรา 36 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว กำหนดให้ สปช.- คสช. และครม. เป็นผู้เสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กมธ.ยกร่างฯ แต่คสช.ได้หารือกับครม.ว่า ในส่วนของ คสช. จะไม่เสนอความเห็น และไม่มีข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากคสช.แม้จะเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง แต่เปรียบเสมือนมหานทีสีทันดร ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำทั้งหลาย มีอำนาจอยู่ในตัว หากเสนอความเห็น หรือขอแก้ไขแล้ว กมธ.ยกร่างฯ เห็นด้วย และแก้ไขตาม จะเป็นช่องทางให้ถูกกล่าวหาว่า ทำตามใบสั่งคสช.ได้ หรือหาก กมธ.ยกร่างฯไม่ทำตาม จะเป็นช่องทางให้เกิดการประชดประชัน ส่อเสียดต่อไปได้ว่า มีการแข็งข้อ คสช.แพ้ เสียของ หน้าแตก ส่วนหากจะมีสมาชิก คสช. คนใดคนหนึ่งมีความเห็น ถือเป็นเรื่องส่วนตัวที่ให้แจ้งยัง ครม. เพื่อรวบรวมส่งให้กมธ.ยกร่างฯได้
** ประชามติ ม.ค.-เลือกตั้ง ส.ค.59
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการตัดสินใจทำประชามติ จะสามารถดำเนินการในช่วงเดือนใด นายวิษณุ กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวซึ่งไม่ผูกมัดกับ ครม. และ คสช. หากมีการตัดสินใจว่าต้องทำประชามติ ก็คาดว่าการทำประชามติจะเกิดขึ้นภายในเดือน ม.ค. 59 หากผ่านการทำประชามติ ก็จะมีการทูลเกล้าฯ และประกาศรัฐธรรมนูญต่อไป
เมื่อถามต่อว่า หากมีการทำประชามติ จะส่งผลให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปหรือไม่ และจะสามารถเลือกตั้งได้ในช่วงใด นายวิษณุ กล่าวว่า หากมีการทำประชามติ การเลือกตั้งก็จะต้องเลื่อนออกไปโดยปริยาย ส่วนกำหนดการเลือกตั้ง ในร่างรัฐธรรมนูญที่ได้เขียนไว้ในบทเฉพาะกาล ว่า เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว กมธ.ยกร่างฯ จะต้องร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป. ) ว่าด้วย การเลือกตั้ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และ พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยขั้นตอนของ กมธ.ยกร่างฯ จะใช้เวลาราว 1 เดือน หรือเร็วกว่านั้น หากทำการร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ คู่ขนานไปในช่วงนี้ หลังจากได้ร่างกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับแล้ว ต้องส่งต่อให้สนช. พิจารณาโดยใช้เวลาไม่เกิน 60 วัน หรือ 2 เดือน เมื่อ สนช.เห็นชอบ ก็จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอีกราว 1 เดือน แล้วจึงสามารถทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้กฎหมายลูกในการจัดการเลือกตั้งได้ โดยในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดไว้ว่า ต้องมีการจัดการเลือกตั้งภายใน 3 เดือน หลังมีการประกาศใช้กฎหมายลูก รวมระยะเวลา 7 เดือน ภายหลังจากการทำประมติ จึงจะมีการเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกำหนดเวลาที่นายวิษณุชี้แจงดังกล่าว คาดว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างเร็วที่สุดในเดือนส.ค.59
เมื่อถามว่า ถ้าการทำประชามติไม่ผ่าน ขั้นตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร จะเขียนระบุในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่จะแก้ไขด้วยหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องเขียนไว้ เพราะถ้าไม่เขียนจะทะเลาะกันตาย ซึ่งเนื้อหาในคณะทำงานที่ตนพิจารณานั้น จะเสนอให้ ครม.และ คสช. ก่อนที่จะเสนอให้ กมธ.ยกร่างฯ ส่วนคำถามหากมีการทำประชามติ จะมีแค่รับ หรือไม่รับ หรือจะมีคำถามอย่างอื่นอีกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ในที่ประชุมร่วมก็มีการตั้งประเด็นว่า การทำประชามติจะถามหลายอย่างได้หรือไม่ ถ้าได้จะถามเรื่องอะไร
เมื่อถามว่า ถ้ามีการทำประชามติจริง ต้องมีการรุณรงค์ให้รับหรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะมีการพิจารณาผ่อนปรนการห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นจุดหนึ่งที่ยังไม่พูดในวันนี้ แต่ถ้าไปถึงจุดที่จะทำประชามติ ตนเชื่อว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาต่อไป เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการทำประชามติอย่างแม้จริง
** กกต.แจงรายละเอียดทำประชามติ
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ที่ประชุมกกต. ได้หารือเตรียมการตั้งรับการทำประชามติ หากสปช. เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ส.ค.58 แล้ว สำหรับการเตรียมการของ กกต. จะขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. ประเด็นที่รัฐบาลตั้งมา เช่น ทำประชามติทั้งร่าง หรือบางประเด็น มีเงื่อนไขหรือไม่ 2. หากรัฐบาลไม่ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดวันลงประชามติ กกต. ก็จะต้องเสนอวันไปให้ครม. ประกาศ พ.ร.ฎ. 3. การเตรียมเผยแพร่เนื้อหาสาระ ส่วนตัวเห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของกรรมาธิการยกร่างฯ ร่วมกับสปช. ในขณะที่กกต.จะทำรายละเอียดในส่วนของแผนขั้นตอนการทำประชามติเท่านั้น 4. กกต.จะเชิญสถานีวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อของรัฐ มาหารือเพื่อจัดให้มีการออกสื่อโดยเท่าเทียมกัน ระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วย กับไม่เห็นด้วย กับร่างรัฐธรรมนูญ 5. กกต. จัดทำเอกสารส่งถึงเจ้าบ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้รู้ถึงขั้นตอนกระบวนการการลงประชามติ โดยในเอกสาร จะมีพื้นที่สำหรับเผยแพร่ข้อมูลของฝ่ายที่เห็นด้วย กับไม่เห็นด้วยโดยเท่าเทียมกัน และ 6. ตาม พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 การทำประชามติ จะต้องจัดให้มีการลงคะแนนล่วงหน้า ทั้งในเขตและนอกเขต รวมทั้งการลงคะแนนนอกราชอาณาจักร ที่ผู้มีสิทธิ์จะต้องไปจดแจ้งขอใช้สิทธิ์กับสถานทูต หรือกงสุลไทยในประเทศนั้นๆก่อน เว้นแต่ว่ามีการระบุรายละเอียดใน พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 46 เป็นอย่างอื่น เช่น ให้ยกเว้นบางมาตราของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ เป็นต้น
เมื่อถามว่า หากกลุ่มที่คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ มีหลายกลุ่ม จะกำหนดอย่างไรว่า กลุ่มใดมีสิทธิ์ที่จะใช้สื่อของรัฐ ที่กกต.จัดสรรให้ นายสมชัย กล่าวว่า ในระบบของต่างประเทศจะต้องให้มีการจดแจ้งเป็นองค์กร กับกกต.ก่อน จากนั้นมีการประชุมหารือ แล้วกำหนดประเด็น และตัวแทนมาใช้สิทธิดังกล่าว แต่โดยพื้นฐาน กกต.จะยึดหลักความเท่าเทียมกันในการใช้สิทธิของทั้งสองฝ่ายก่อน
** คาดพิจารณาแก้รธน. 3 วาระรวด
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยถึงขั้นตอนการแก้รธน.ชั่วคราวว่า เมื่อมีการส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาให้ สนช. โดยสนช. มีเวลาการพิจาณาให้เสร็จ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ สนช.จะไม่มีอำนาจในการแก้ไขเนื้อหา หรือ เสนอคำแปรญัตติแต่อย่างใด จึง คาดว่าจะไม่มีการพิจารณาเป็น 3 วาระ เหมือนกับการพิจารณากฎหมายปกติ ดังนั้น สนช.อาจจะใช้วิธีการตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภา เพื่อพิจารณาให้เสร็จในคราวเดียวกัน แต่ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ให้สมาชิกสนช. ได้มีเวลาศึกษาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความรอบคอบด้วย
ทั้งนี้ ส่วนตัวคิดว่า เนื้อหาในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องระบุถึงเงื่อนไขต่างๆ ของการทำประชามติ เช่น หาหากเกิดกรณีที่ประชาชนไม่ให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ จะมีผลอย่างไร โดยเฉพาะการกลับไปเริ่มต้นกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นต้น
เมื่อถามว่า หากมีการประกาศให้ทำประชามติ จำเป็นหรือไม่ ที่รัฐบาล และคสช. ต้องผ่อนปรนข้อห้ามการเคลื่อนไหวทางการเมือง นายสุรชัย กล่าวว่า คิดว่าต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการประชามติ ที่ต้องมีการเปิดเวทีให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคิดว่า ฝ่ายที่จะเป็นเจ้าภาพในการเปิดเวทีดังกล่าว คือ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ในฐานะผู้เขียนรัฐธรรมนูญ
พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า คสช.จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก คสช.ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมารับผิดชอบแล้วคือ สปช. ซึ่งมาจากหลายพวก หลายฝ่าย มีทั้งต่างจังหวัด หลายกลุ่มการเมือง นักวิชาการ และคนเหล่านี้ก็คัดเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา 36 คนเพื่อทำการยกร่าง และรับผิดชอบในการแก้ไข ปรับปรุง ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามข้อเสนอของ สปช. และ ครม. แต่ คสช.จะไม่มีการเสนอข้อพิจารณาขึ้นไป เพราะมันจะเป็นการชี้นำ และจะถูกกล่าวหาว่าต้องการสืบทอดอำนาจ
ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมกันอีกครั้งว่า จะมีการดำเนินการแก้ไขอย่างไรในบทบาทของ ครม. โดยมีตนนั่งประชุมในฐานะนายกฯ เพื่อรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
"ขอร้องสื่อมวลชนอย่าเพิ่งไปตีความยาวเหยียดไปข้างหน้า วันนี้ขอให้รอก่อนว่า สปช. จะผ่านหรือไม่ผ่าน รัฐธรรมนูญจะแก้ หรือไม่แก้ ก็อยู่ที่ว่า ถ้าผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ก็ทำประชามติ ต้องไปว่ากันมาวันนี้เขาเสนอมาว่า จะทำประชามติ ผมก็ต้องเตรียมตั้งหลักไว้ก่อน เพราะต้องร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า มีการกำหนดกรอบระยะเวลาไว้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขามีระยะเวลาอยู่แล้ว ซึ่งรายละเอียดและความชัดเจน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย มีรายละเอียดอยู่ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย ไม่ใช่ตามใจตน มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องใช้เวลากี่วัน 60 วัน 120 วัน มีการระบุไว้ชัดเจน การทำประชามติก็ใช้เวลา 3 เดือน จากนั้น ก็มีเรื่องของการทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (กฎหมายลูก) มีกติกากำหนดไว้ทุกอย่างแล้ว ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำรัฐธรรมนูญ หรือการทำประชามติที่ผ่านมาเลย
ทั้งนี้ ในการทำประชามติ จะถามเพียงว่า ควรผ่าน หรือไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว หรือจะมีการถามในเรื่องอื่นด้วยหรือไม่ ก็ให้เป็นเรื่องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ไปดำเนินการ ก็ต้องแบ่งงานให้เขาทำ เขาก็จะเสนอเข้ามาว่า จะทำประชามติเรื่องอะไร ซึ่งก็ต้องใช้ทั้งเวลา และงบประมาณ ถ้ารับกันได้ ก็รับกันไป
เมื่อถามว่า หากการทำประชามติแล้วประชาชนไม่เห็นด้วย จะทำอย่างไร และจะนำรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือปี 2550 มาใช้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยกล่าวว่า " จะมาถามผมทำไม ให้ไปถามประชาชนเขาโน่น"
**แก้รธน.เพิ่มเวลายกร่างฯเป็น 90 วัน
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมร่วม คสช. และครม. มีมติเอกฉันท์ ให้มีแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 โดยอาศัยความตาม มาตรา 46 แก้ไขเนื้อหาใน มาตรา 37-38 เพื่อเปิดทางให้สามารถทำการลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ซึ่งตนและคณะทำงาน จะดำเนินการจัดทำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แล้วเสร็จก่อนนำเข้าที่ประชุมครม. เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่ง สนช.จะต้องพิจารณาภายใน 15 วัน หลังจากได้รับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เมื่อผ่านความเห็นชอบจากสนช.แล้ว จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ก่อนประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยคาดว่า กระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย.นี้
นอกเหนือจากการแก้ไขในส่วนของการทำประชามติแล้ว ที่ประชุมยังมีมติให้แก้ไขเนื้อหาในส่วนของขยายเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ของ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพิ่มขึ้นอีก 30 วัน จากเดิมที่ กมธ.ยกร่างฯ มีเวลา 60 วัน ในการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ตามความเห็นของภาคส่วนต่างๆ ก่อนส่งให้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณาลงมติ เมื่อแก้ไขเพิ่มเติม กมธ.ยกร่างฯ จะมีเวลาเพิ่มเป็นไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากเห็นว่า ข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆ มีค่อนข้างมาก เกรงว่า กมธ.ยกร่างฯ จะพิจารณาไม่ทันตามเวลาที่กำหนด
การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เป็นเพียงการเปิดทางให้มีการทำประชามติเท่านั้น ส่วนจะทำหรือไม่นั้น จะมีขั้นตอนในการพิจารณาอีกครั้ง ภายหลังจากที่ สปช. มีมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว โดยต้องมาพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลานั้นหากกระแสสังคมยอมรับร่างรัฐธรรมนูยฉบับใหม่ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำประชามติ แต่ในเวลานี้ กระแสสังคม รวมไปถึงสปช. - กมธ.ยกร่างฯ และสนช. ล้วนเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ต้องมีการทำประชามติ จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทางไว้ก่อน
อย่างไรก็ตาม ยังต้องพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย ในการทำหรือไม่ทำประชามติอีกครั้ง นอกเหนือจากเรื่องงบประมาณในการจัดการทำประชามติแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะผู้รับผิดชอบ ยังต้องจัดพิมพ์เอกสารร่างรัฐธรรมนูญ แจกจ่ายประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 47 ล้านฉบับ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนอีกด้วย โดยส่วนนี้ คาดว่าจะใช้เวลาราว 3 –4 เดือน
** เสนอแก้ไขร่างรธน.หลายสิบประเด็น
นอกจากนี้ ในส่วนของที่ประชุม ครม. ได้มีการพิจารณาข้อสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มาจากแต่ละกระทรวง รวมทั้งความเห็นจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่ไม่ได้จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ ประชาชน นักวิชาการ และนักธุรกิจ โดยมีประเด็นที่จะแจ้งไปยัง กมธ.ยกร่างฯ หลายสิบประเด็น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. เรื่องถ้อยคำที่กำกวม เช่น คำว่า พลเมือง ปวงชนชาวไทย ประชาชน ราษฎร และบุคคล 2. ข้อความไม่ควรอยู่ในมาตรานั้นๆ หรือควรจะบัญญัติเพิ่มเติม และ 3. เนื้อหาที่อาจกระทบต่อหลักการสำคัญ หลายเรื่องจะเสนอให้ตัดออก ปรับปรุง หรือทบทวน ซึ่งในวันนี้ตนได้นำเสนอต่อที่ประชุมได้ประมาณ 80% แต่ ครม.อยากพิจารณาละเอียดกว่านี้ จึงได้นัดประชุม ครม.วาระพิเศษ ในวันที่ 25 พ.ค. เพื่อหากันเรื่องร่างรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ จากนั้นจะมีการนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างฯ ในวันเดียวกัน เพราะเป็นวันสุดท้ายแล้ว
อย่างไรก็ตาม สำหรับเนื้อหาที่กระทรวงต่างๆ ส่งมานั้น ส่วนหนึ่งมีการเสนอให้ตัดเนื้อหาที่กลุ่มการเมืองสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ด้วย
สำหรับในมาตรา 36 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว กำหนดให้ สปช.- คสช. และครม. เป็นผู้เสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กมธ.ยกร่างฯ แต่คสช.ได้หารือกับครม.ว่า ในส่วนของ คสช. จะไม่เสนอความเห็น และไม่มีข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากคสช.แม้จะเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง แต่เปรียบเสมือนมหานทีสีทันดร ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำทั้งหลาย มีอำนาจอยู่ในตัว หากเสนอความเห็น หรือขอแก้ไขแล้ว กมธ.ยกร่างฯ เห็นด้วย และแก้ไขตาม จะเป็นช่องทางให้ถูกกล่าวหาว่า ทำตามใบสั่งคสช.ได้ หรือหาก กมธ.ยกร่างฯไม่ทำตาม จะเป็นช่องทางให้เกิดการประชดประชัน ส่อเสียดต่อไปได้ว่า มีการแข็งข้อ คสช.แพ้ เสียของ หน้าแตก ส่วนหากจะมีสมาชิก คสช. คนใดคนหนึ่งมีความเห็น ถือเป็นเรื่องส่วนตัวที่ให้แจ้งยัง ครม. เพื่อรวบรวมส่งให้กมธ.ยกร่างฯได้
** ประชามติ ม.ค.-เลือกตั้ง ส.ค.59
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการตัดสินใจทำประชามติ จะสามารถดำเนินการในช่วงเดือนใด นายวิษณุ กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวซึ่งไม่ผูกมัดกับ ครม. และ คสช. หากมีการตัดสินใจว่าต้องทำประชามติ ก็คาดว่าการทำประชามติจะเกิดขึ้นภายในเดือน ม.ค. 59 หากผ่านการทำประชามติ ก็จะมีการทูลเกล้าฯ และประกาศรัฐธรรมนูญต่อไป
เมื่อถามต่อว่า หากมีการทำประชามติ จะส่งผลให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปหรือไม่ และจะสามารถเลือกตั้งได้ในช่วงใด นายวิษณุ กล่าวว่า หากมีการทำประชามติ การเลือกตั้งก็จะต้องเลื่อนออกไปโดยปริยาย ส่วนกำหนดการเลือกตั้ง ในร่างรัฐธรรมนูญที่ได้เขียนไว้ในบทเฉพาะกาล ว่า เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว กมธ.ยกร่างฯ จะต้องร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป. ) ว่าด้วย การเลือกตั้ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และ พ.ร.ป. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยขั้นตอนของ กมธ.ยกร่างฯ จะใช้เวลาราว 1 เดือน หรือเร็วกว่านั้น หากทำการร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ คู่ขนานไปในช่วงนี้ หลังจากได้ร่างกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับแล้ว ต้องส่งต่อให้สนช. พิจารณาโดยใช้เวลาไม่เกิน 60 วัน หรือ 2 เดือน เมื่อ สนช.เห็นชอบ ก็จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอีกราว 1 เดือน แล้วจึงสามารถทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้กฎหมายลูกในการจัดการเลือกตั้งได้ โดยในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดไว้ว่า ต้องมีการจัดการเลือกตั้งภายใน 3 เดือน หลังมีการประกาศใช้กฎหมายลูก รวมระยะเวลา 7 เดือน ภายหลังจากการทำประมติ จึงจะมีการเลือกตั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกำหนดเวลาที่นายวิษณุชี้แจงดังกล่าว คาดว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างเร็วที่สุดในเดือนส.ค.59
เมื่อถามว่า ถ้าการทำประชามติไม่ผ่าน ขั้นตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร จะเขียนระบุในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่จะแก้ไขด้วยหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องเขียนไว้ เพราะถ้าไม่เขียนจะทะเลาะกันตาย ซึ่งเนื้อหาในคณะทำงานที่ตนพิจารณานั้น จะเสนอให้ ครม.และ คสช. ก่อนที่จะเสนอให้ กมธ.ยกร่างฯ ส่วนคำถามหากมีการทำประชามติ จะมีแค่รับ หรือไม่รับ หรือจะมีคำถามอย่างอื่นอีกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ในที่ประชุมร่วมก็มีการตั้งประเด็นว่า การทำประชามติจะถามหลายอย่างได้หรือไม่ ถ้าได้จะถามเรื่องอะไร
เมื่อถามว่า ถ้ามีการทำประชามติจริง ต้องมีการรุณรงค์ให้รับหรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะมีการพิจารณาผ่อนปรนการห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นจุดหนึ่งที่ยังไม่พูดในวันนี้ แต่ถ้าไปถึงจุดที่จะทำประชามติ ตนเชื่อว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาต่อไป เพื่อให้เกิดบรรยากาศของการทำประชามติอย่างแม้จริง
** กกต.แจงรายละเอียดทำประชามติ
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ที่ประชุมกกต. ได้หารือเตรียมการตั้งรับการทำประชามติ หากสปช. เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ส.ค.58 แล้ว สำหรับการเตรียมการของ กกต. จะขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. ประเด็นที่รัฐบาลตั้งมา เช่น ทำประชามติทั้งร่าง หรือบางประเด็น มีเงื่อนไขหรือไม่ 2. หากรัฐบาลไม่ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดวันลงประชามติ กกต. ก็จะต้องเสนอวันไปให้ครม. ประกาศ พ.ร.ฎ. 3. การเตรียมเผยแพร่เนื้อหาสาระ ส่วนตัวเห็นว่าควรเป็นหน้าที่ของกรรมาธิการยกร่างฯ ร่วมกับสปช. ในขณะที่กกต.จะทำรายละเอียดในส่วนของแผนขั้นตอนการทำประชามติเท่านั้น 4. กกต.จะเชิญสถานีวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อของรัฐ มาหารือเพื่อจัดให้มีการออกสื่อโดยเท่าเทียมกัน ระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วย กับไม่เห็นด้วย กับร่างรัฐธรรมนูญ 5. กกต. จัดทำเอกสารส่งถึงเจ้าบ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้รู้ถึงขั้นตอนกระบวนการการลงประชามติ โดยในเอกสาร จะมีพื้นที่สำหรับเผยแพร่ข้อมูลของฝ่ายที่เห็นด้วย กับไม่เห็นด้วยโดยเท่าเทียมกัน และ 6. ตาม พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 การทำประชามติ จะต้องจัดให้มีการลงคะแนนล่วงหน้า ทั้งในเขตและนอกเขต รวมทั้งการลงคะแนนนอกราชอาณาจักร ที่ผู้มีสิทธิ์จะต้องไปจดแจ้งขอใช้สิทธิ์กับสถานทูต หรือกงสุลไทยในประเทศนั้นๆก่อน เว้นแต่ว่ามีการระบุรายละเอียดใน พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 46 เป็นอย่างอื่น เช่น ให้ยกเว้นบางมาตราของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ เป็นต้น
เมื่อถามว่า หากกลุ่มที่คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ มีหลายกลุ่ม จะกำหนดอย่างไรว่า กลุ่มใดมีสิทธิ์ที่จะใช้สื่อของรัฐ ที่กกต.จัดสรรให้ นายสมชัย กล่าวว่า ในระบบของต่างประเทศจะต้องให้มีการจดแจ้งเป็นองค์กร กับกกต.ก่อน จากนั้นมีการประชุมหารือ แล้วกำหนดประเด็น และตัวแทนมาใช้สิทธิดังกล่าว แต่โดยพื้นฐาน กกต.จะยึดหลักความเท่าเทียมกันในการใช้สิทธิของทั้งสองฝ่ายก่อน
** คาดพิจารณาแก้รธน. 3 วาระรวด
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 เปิดเผยถึงขั้นตอนการแก้รธน.ชั่วคราวว่า เมื่อมีการส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาให้ สนช. โดยสนช. มีเวลาการพิจาณาให้เสร็จ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ สนช.จะไม่มีอำนาจในการแก้ไขเนื้อหา หรือ เสนอคำแปรญัตติแต่อย่างใด จึง คาดว่าจะไม่มีการพิจารณาเป็น 3 วาระ เหมือนกับการพิจารณากฎหมายปกติ ดังนั้น สนช.อาจจะใช้วิธีการตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภา เพื่อพิจารณาให้เสร็จในคราวเดียวกัน แต่ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ให้สมาชิกสนช. ได้มีเวลาศึกษาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดความรอบคอบด้วย
ทั้งนี้ ส่วนตัวคิดว่า เนื้อหาในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องระบุถึงเงื่อนไขต่างๆ ของการทำประชามติ เช่น หาหากเกิดกรณีที่ประชาชนไม่ให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ จะมีผลอย่างไร โดยเฉพาะการกลับไปเริ่มต้นกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นต้น
เมื่อถามว่า หากมีการประกาศให้ทำประชามติ จำเป็นหรือไม่ ที่รัฐบาล และคสช. ต้องผ่อนปรนข้อห้ามการเคลื่อนไหวทางการเมือง นายสุรชัย กล่าวว่า คิดว่าต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการประชามติ ที่ต้องมีการเปิดเวทีให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคิดว่า ฝ่ายที่จะเป็นเจ้าภาพในการเปิดเวทีดังกล่าว คือ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ในฐานะผู้เขียนรัฐธรรมนูญ