องค์กรเป็นเสมือนสิ่งมีชีวิตคือจะต้องอยู่รอด และเติบโตตามกาลเวลา พุทธศาสนาเป็นองค์กรทางสังคมมีหน้าที่ในการปกป้องรักษา และเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ โดยมีสมาชิก 4 ประเภทหรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา เป็นผู้รับผิดชอบ
ความมั่นคงของพุทธศาสนาขึ้นอยู่กับการป้องกันมิให้เหตุปัจจัย ซึ่งจะทำให้พระสัทธรรมคำสอนตั้งอยู่มิได้นาน ตามนัยแห่งพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระกิมพิละว่า “ดูก่อน กิมพิละเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษาไม่เคารพยำเกรงกันและกันนี้แล กิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว”
การแก้ไข และป้องกันเหตุซึ่งทำให้พุทธศาสนาเสื่อมในอดีต
หลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว ได้เกิดเหตุปัจจัยที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม และทุกครั้งที่เกิดเหตุพุทธบริษัท 4 ได้ร่วมมือกันแก้ไขด้วยการทำสังคายนากำจัดเหตุให้หมดไป และทำการชำระพระธรรมวินัย ดังจะเห็นได้ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 ซึ่งจะนำมาให้เห็นเป็นตัวอย่างโดยสรุปดังนี้
ครั้งที่ 1
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูป โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ได้จัดทำสังคายนา โดยปรารภถ้อยคำของภิกษุชื่อ สุภัททะ ผู้บวชเมื่อแก่ที่กล่าวห้ามภิกษุทั้งหลายเศร้าโศกเสียใจจากการได้รับทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยให้เหตุผลว่า ต่อจากนี้ไปจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจ ไม่ต้องมีใครมาคอยชี้ว่านี่ผิด นี่ถูก นี่ควร นี่ไม่ควร ต่อไปอีก
คำพูดของสุภัททะถือได้ว่าไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในศาสดา พระมหากัสสปะได้ฟังแล้วเกิดความสลดใจ จึงนำเรื่องนี้เสนอที่ประชุมสงฆ์แล้วชวนให้ทำสังคายนา
ครั้งที่ 2
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี พวกภิกษุวัชชีบุตรปฏิบัติย่อหย่อนทางพระวินัย โดยการตีความผิดไปจากพุทธบัญญัติ 10 ประการ เช่น ถือว่าควรเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อเอาไว้ฉันได้ ตะวันชายเกินเที่ยงไปแล้ว 2 นิ้ว ควรฉันอาหารได้ ควรรับเงิน และทองได้ เป็นต้น พระยสกากัณฑกบุตรได้ปรารภเหตุนี้จัดทำสังคายนา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ 700 รูป
การกระทำของพวกภิกษุวัชชีบุตร ถือได้ว่าไม่เคารพ ไม่ยำเกรงพระธรรมวินัย และถ้าปล่อยไว้ก็จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อม การทำสังคายนาจึงเกิดขึ้น
ครั้งที่ 3
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 234 ปีหรือ 235 ปี พวกเดียรถีย์หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวชแล้วนำลัทธิศาสนา และความเห็นของตนมาสอน โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า พระโมคคัลลีบุตรได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช ชำระสงฆ์ และกำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นจากพระธรรมวินัยได้แล้ว จึงทำสังคายนา
ต่อจากสังคายนาครั้งที่ 3 ได้มีการทำสังคายนาอีก 6 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่ปรารภเหตุคือ ต้องการชำระพระไตรปิฎก และมีการรจนาคัมภีร์อรรถาเพิ่มเติม จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับเจตนาแห่งการปฏิรูปพุทธศาสนา ซึ่ง สปช.กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
เหตุปัจจัยที่ทำให้พุทธศาสนาในประเทศไทยเฉพาะที่เกี่ยวกับนิกายเถรวาท หรือหินยานเสื่อมลง มีทั้งที่เกิดจากบรรพชิต และคฤหัสถ์ซึ่งพอจะอนุมานได้โดยสังเขปดังต่อไปนี้
1. ในส่วนของบรรพชิต
บรรพชิตหรือนักบวชชายอันได้แก่ ภิกษุรวมถึงสามเณรโดยอนุโลมปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆ ว่าต้องอนุวาทาธิกรณ์คือถูกโจทย์ด้วยวิบัติ 4 ประการคือ
1.1 ศีลวิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับศีล ต้องอาบัติปราชิกเนื่องจากเสพเมถุน ลักทรัพย์ และอวดอุตริมนุสธรรม ซึ่งไม่มีในตนเพื่อหวังให้เกิดลาภสักการะ เป็นต้น
1.2 อาจารวิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับความประพฤติ เช่น เสพยาเสพติด ไปเที่ยวในสถานที่อโคจร ออกเรี่ยไรชาวบ้านก่อความเดือดร้อนรำคาญ เป็นต้น
1.3 ทิฏฐิวิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับความคิดเห็น อันได้แก่ การแสดงความคิดเห็นแตกต่างไปจากพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ เช่น ความคิดเห็นที่ว่า นิพพานเป็นอัตตา และสวรรค์เข้าถึงได้ด้วยการใช้เงิน และทำบุญด้วยการผ่อนส่งได้ เป็นต้น
1.4 อาชีววิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ การประกอบกิจการเยี่ยงคฤหัสถ์ เช่น ทำไร่ ทำสวนในเชิงพาณิชย์เพื่อแสวงหารายได้ เป็นต้น
2. ในส่วนคฤหัสถ์
เนื่องจากชาวไทยถึงแม้ว่าในทะเบียนราษฎรจะระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ แต่ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามความเป็นจริงเท่าที่ชาวพุทธซึ่งเป็นคฤหัสถ์ควรจะรู้ ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมดังต่อไปนี้
2.1 เข้าวัดเพื่อรดน้ำมนต์ และแสวงหาวัตถุมงคล แทนที่จะเข้าวัดเพื่อศึกษาคำสอน และนำไปปฏิบัติทั้งในส่วนของศีล และธรรม ซึ่งจะทำให้ชีวิตสงบสุขควรแก่เพศและภาวะ
2.2 ในการทำบุญทำทาน แทนที่จะทำเพื่อให้กิเลสคือความโลภ และความเห็นแก่ตัวลดลง กลับทำเพื่อเพิ่มกิเลสคือความโลภ โดยการหวังให้ได้สิ่งตอบแทนสูงขึ้นไป จึงเท่ากับเพิ่มความอยากได้อันเป็นเหตุให้เกิดความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเสียสละเพื่อส่วนรวม
แนวทางแก้ไขและป้องกันเหตุ ซึ่งทำให้พุทธศาสนาขาดความมั่นคง และดำรงอยู่ไม่ได้ โดยกำหนดเป็นแนวทางดำเนินการได้ดังต่อไปนี้
1. ในส่วนของบรรพชิต
ในความเป็นจริง นักบวชในพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี หรือแม้กระทั่งสามเณร และสามเณรีทุกเหล่า ล้วนแต่มีพระวินัยเป็นเครื่องป้องกันมิให้กระทำความชั่ว และความเลวอยู่แล้วอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับ 2505 ช่วยเกื้อหนุนพระวินัยให้เข้มแข็งอีกทางหนึ่งด้วย
แต่ที่ยังมีผู้กระทำอันเป็นเหตุให้พุทธศาสนาเสื่อม ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อต่างๆ นั้น มิได้หมายความว่าเพราะไม่มีข้อห้าม แต่เป็นการฝึกฝนพระวินัยและกฎหมายซึ่งเป็นข้อห้ามทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ ในการปฏิรูปจึงไม่จำเป็นในการปฏิรูปพระธรรมวินัย และกฎหมาย แต่ควรจะปฏิรูปองค์กรปกครองสงฆ์ให้มีศักยภาพในการใช้พระวินัย และกฎหมายที่มีอยู่ลงโทษผู้กระทำผิด รวมไปถึงจัดให้มีมาตรการเสริมการใช้พระวินัย และกฎหมายซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้
1.1 ในการให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาและมาขอบวช ทั้งเจ้าอาวาส และอุปัชฌาย์จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่ระบุไว้อันตรายิกธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อห้ามซึ่งผู้ขอบวชจะตอบคู่สวดว่า นตฺถิ ภนฺเต ทุกข้อ และถ้าปรากฏว่าขาดข้อใดข้อหนึ่ง เจ้าอาวาสผู้รับเข้ามาบวช และอุปัชฌาย์ผู้บวชให้จะต้องได้รับโทษด้วยการให้ออกจากตำแหน่ง
1.2 เมื่อบวชเข้ามาเป็นภิกษุหรือสามเณรแล้ว จะต้องได้รับการศึกษา และอบรมอย่างจริงจัง ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ ถ้าไม่ดำเนินการทางเจ้าอาวาสจะต้องได้รับโทษตามที่ฝ่ายปกครองเห็นสมควร มีตั้งแต่ตักเตือน และห้ามรับผู้เข้ามาบวชอีกต่อไป
1.3 ในการจัดการศึกษาหลักสูตรเปรียญธรรม ควรเพิ่มวิชาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมจากที่สอนในเรื่องของภาษาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ดังที่เป็นอยู่
2. ในส่วนของคฤหัสถ์
2.1 ให้ทางมหาเถรสมาคมร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา จัดทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมของชาวพุทธ ในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าวัดเพื่อหาข้อดี ข้อเสีย ข้อเด่น ข้อด้อย
2.2 ให้จัดทำคู่มือเข้าวัดโดยเน้นเนื้อหา ทั้งในส่วนของประเพณี วัฒนธรรม และคำสอนทางพุทธศาสนาที่คฤหัสถ์ควรจะรู้ เช่น การหาทรัพย์ การใช้ทรัพย์ โดยยึดหลักโภควิภาค 4 คือแบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน และให้ใช้ 1 ส่วนหรือเท่ากับ 25% เพื่อการเลี้ยงตนและครอบครัว 2 ส่วนหรือ 50% เพื่อการลงทุนประกอบกิจการ และอีก 1 หนึ่งหรือ 25% ที่เหลือก็เก็บเป็นเงินออมเพื่อไว้ใช้ในคราวจำเป็น
2.3 ให้แจกจ่ายคู่มือตามข้อ 1.2 ให้แก่วัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวทางการเข้าวัดที่ถูกต้องต่อไป
ความมั่นคงของพุทธศาสนาขึ้นอยู่กับการป้องกันมิให้เหตุปัจจัย ซึ่งจะทำให้พระสัทธรรมคำสอนตั้งอยู่มิได้นาน ตามนัยแห่งพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระกิมพิละว่า “ดูก่อน กิมพิละเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษาไม่เคารพยำเกรงกันและกันนี้แล กิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว”
การแก้ไข และป้องกันเหตุซึ่งทำให้พุทธศาสนาเสื่อมในอดีต
หลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว ได้เกิดเหตุปัจจัยที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม และทุกครั้งที่เกิดเหตุพุทธบริษัท 4 ได้ร่วมมือกันแก้ไขด้วยการทำสังคายนากำจัดเหตุให้หมดไป และทำการชำระพระธรรมวินัย ดังจะเห็นได้ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 ซึ่งจะนำมาให้เห็นเป็นตัวอย่างโดยสรุปดังนี้
ครั้งที่ 1
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูป โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ได้จัดทำสังคายนา โดยปรารภถ้อยคำของภิกษุชื่อ สุภัททะ ผู้บวชเมื่อแก่ที่กล่าวห้ามภิกษุทั้งหลายเศร้าโศกเสียใจจากการได้รับทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยให้เหตุผลว่า ต่อจากนี้ไปจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจ ไม่ต้องมีใครมาคอยชี้ว่านี่ผิด นี่ถูก นี่ควร นี่ไม่ควร ต่อไปอีก
คำพูดของสุภัททะถือได้ว่าไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในศาสดา พระมหากัสสปะได้ฟังแล้วเกิดความสลดใจ จึงนำเรื่องนี้เสนอที่ประชุมสงฆ์แล้วชวนให้ทำสังคายนา
ครั้งที่ 2
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี พวกภิกษุวัชชีบุตรปฏิบัติย่อหย่อนทางพระวินัย โดยการตีความผิดไปจากพุทธบัญญัติ 10 ประการ เช่น ถือว่าควรเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อเอาไว้ฉันได้ ตะวันชายเกินเที่ยงไปแล้ว 2 นิ้ว ควรฉันอาหารได้ ควรรับเงิน และทองได้ เป็นต้น พระยสกากัณฑกบุตรได้ปรารภเหตุนี้จัดทำสังคายนา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ 700 รูป
การกระทำของพวกภิกษุวัชชีบุตร ถือได้ว่าไม่เคารพ ไม่ยำเกรงพระธรรมวินัย และถ้าปล่อยไว้ก็จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อม การทำสังคายนาจึงเกิดขึ้น
ครั้งที่ 3
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 234 ปีหรือ 235 ปี พวกเดียรถีย์หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวชแล้วนำลัทธิศาสนา และความเห็นของตนมาสอน โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า พระโมคคัลลีบุตรได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช ชำระสงฆ์ และกำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นจากพระธรรมวินัยได้แล้ว จึงทำสังคายนา
ต่อจากสังคายนาครั้งที่ 3 ได้มีการทำสังคายนาอีก 6 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่ปรารภเหตุคือ ต้องการชำระพระไตรปิฎก และมีการรจนาคัมภีร์อรรถาเพิ่มเติม จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับเจตนาแห่งการปฏิรูปพุทธศาสนา ซึ่ง สปช.กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
เหตุปัจจัยที่ทำให้พุทธศาสนาในประเทศไทยเฉพาะที่เกี่ยวกับนิกายเถรวาท หรือหินยานเสื่อมลง มีทั้งที่เกิดจากบรรพชิต และคฤหัสถ์ซึ่งพอจะอนุมานได้โดยสังเขปดังต่อไปนี้
1. ในส่วนของบรรพชิต
บรรพชิตหรือนักบวชชายอันได้แก่ ภิกษุรวมถึงสามเณรโดยอนุโลมปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆ ว่าต้องอนุวาทาธิกรณ์คือถูกโจทย์ด้วยวิบัติ 4 ประการคือ
1.1 ศีลวิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับศีล ต้องอาบัติปราชิกเนื่องจากเสพเมถุน ลักทรัพย์ และอวดอุตริมนุสธรรม ซึ่งไม่มีในตนเพื่อหวังให้เกิดลาภสักการะ เป็นต้น
1.2 อาจารวิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับความประพฤติ เช่น เสพยาเสพติด ไปเที่ยวในสถานที่อโคจร ออกเรี่ยไรชาวบ้านก่อความเดือดร้อนรำคาญ เป็นต้น
1.3 ทิฏฐิวิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับความคิดเห็น อันได้แก่ การแสดงความคิดเห็นแตกต่างไปจากพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ เช่น ความคิดเห็นที่ว่า นิพพานเป็นอัตตา และสวรรค์เข้าถึงได้ด้วยการใช้เงิน และทำบุญด้วยการผ่อนส่งได้ เป็นต้น
1.4 อาชีววิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ การประกอบกิจการเยี่ยงคฤหัสถ์ เช่น ทำไร่ ทำสวนในเชิงพาณิชย์เพื่อแสวงหารายได้ เป็นต้น
2. ในส่วนคฤหัสถ์
เนื่องจากชาวไทยถึงแม้ว่าในทะเบียนราษฎรจะระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ แต่ในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามความเป็นจริงเท่าที่ชาวพุทธซึ่งเป็นคฤหัสถ์ควรจะรู้ ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมดังต่อไปนี้
2.1 เข้าวัดเพื่อรดน้ำมนต์ และแสวงหาวัตถุมงคล แทนที่จะเข้าวัดเพื่อศึกษาคำสอน และนำไปปฏิบัติทั้งในส่วนของศีล และธรรม ซึ่งจะทำให้ชีวิตสงบสุขควรแก่เพศและภาวะ
2.2 ในการทำบุญทำทาน แทนที่จะทำเพื่อให้กิเลสคือความโลภ และความเห็นแก่ตัวลดลง กลับทำเพื่อเพิ่มกิเลสคือความโลภ โดยการหวังให้ได้สิ่งตอบแทนสูงขึ้นไป จึงเท่ากับเพิ่มความอยากได้อันเป็นเหตุให้เกิดความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเสียสละเพื่อส่วนรวม
แนวทางแก้ไขและป้องกันเหตุ ซึ่งทำให้พุทธศาสนาขาดความมั่นคง และดำรงอยู่ไม่ได้ โดยกำหนดเป็นแนวทางดำเนินการได้ดังต่อไปนี้
1. ในส่วนของบรรพชิต
ในความเป็นจริง นักบวชในพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี หรือแม้กระทั่งสามเณร และสามเณรีทุกเหล่า ล้วนแต่มีพระวินัยเป็นเครื่องป้องกันมิให้กระทำความชั่ว และความเลวอยู่แล้วอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับ 2505 ช่วยเกื้อหนุนพระวินัยให้เข้มแข็งอีกทางหนึ่งด้วย
แต่ที่ยังมีผู้กระทำอันเป็นเหตุให้พุทธศาสนาเสื่อม ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อต่างๆ นั้น มิได้หมายความว่าเพราะไม่มีข้อห้าม แต่เป็นการฝึกฝนพระวินัยและกฎหมายซึ่งเป็นข้อห้ามทั้งสิ้น
ด้วยเหตุนี้ ในการปฏิรูปจึงไม่จำเป็นในการปฏิรูปพระธรรมวินัย และกฎหมาย แต่ควรจะปฏิรูปองค์กรปกครองสงฆ์ให้มีศักยภาพในการใช้พระวินัย และกฎหมายที่มีอยู่ลงโทษผู้กระทำผิด รวมไปถึงจัดให้มีมาตรการเสริมการใช้พระวินัย และกฎหมายซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้
1.1 ในการให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาและมาขอบวช ทั้งเจ้าอาวาส และอุปัชฌาย์จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่ระบุไว้อันตรายิกธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อห้ามซึ่งผู้ขอบวชจะตอบคู่สวดว่า นตฺถิ ภนฺเต ทุกข้อ และถ้าปรากฏว่าขาดข้อใดข้อหนึ่ง เจ้าอาวาสผู้รับเข้ามาบวช และอุปัชฌาย์ผู้บวชให้จะต้องได้รับโทษด้วยการให้ออกจากตำแหน่ง
1.2 เมื่อบวชเข้ามาเป็นภิกษุหรือสามเณรแล้ว จะต้องได้รับการศึกษา และอบรมอย่างจริงจัง ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ ถ้าไม่ดำเนินการทางเจ้าอาวาสจะต้องได้รับโทษตามที่ฝ่ายปกครองเห็นสมควร มีตั้งแต่ตักเตือน และห้ามรับผู้เข้ามาบวชอีกต่อไป
1.3 ในการจัดการศึกษาหลักสูตรเปรียญธรรม ควรเพิ่มวิชาค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติมจากที่สอนในเรื่องของภาษาศาสตร์เพียงอย่างเดียว ดังที่เป็นอยู่
2. ในส่วนของคฤหัสถ์
2.1 ให้ทางมหาเถรสมาคมร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา จัดทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมของชาวพุทธ ในส่วนที่เกี่ยวกับการเข้าวัดเพื่อหาข้อดี ข้อเสีย ข้อเด่น ข้อด้อย
2.2 ให้จัดทำคู่มือเข้าวัดโดยเน้นเนื้อหา ทั้งในส่วนของประเพณี วัฒนธรรม และคำสอนทางพุทธศาสนาที่คฤหัสถ์ควรจะรู้ เช่น การหาทรัพย์ การใช้ทรัพย์ โดยยึดหลักโภควิภาค 4 คือแบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน และให้ใช้ 1 ส่วนหรือเท่ากับ 25% เพื่อการเลี้ยงตนและครอบครัว 2 ส่วนหรือ 50% เพื่อการลงทุนประกอบกิจการ และอีก 1 หนึ่งหรือ 25% ที่เหลือก็เก็บเป็นเงินออมเพื่อไว้ใช้ในคราวจำเป็น
2.3 ให้แจกจ่ายคู่มือตามข้อ 1.2 ให้แก่วัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวทางการเข้าวัดที่ถูกต้องต่อไป