กฎหมายคือกติกาสังคมซึ่งมนุษย์ปุถุชนผู้มีหน้าที่ และความรับผิดชอบทางด้านนิติบัญญัติได้ตราขึ้นมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศให้เกิดความสงบเรียบร้อย และความยุติธรรมโดยเสมอภาคกัน โดยมีกระบวนการรักษากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายรองรับ
วินัยสงฆ์คือกติกาสงฆ์ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาแห่งพุทธศาสนาได้ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้สงฆ์ใช้ปกครองนักบวชในพุทธศาสนา ทั้งในฝ่ายภิกษุ และภิกษุณี รวมไปถึงสามเณรและสามเณรีด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสันติสุขในหมู่สงฆ์ และป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้นแก่สงฆ์จากการคิดผิดปฏิบัติของผู้ใดผู้หนึ่งในพระธรรมวินัยของพระองค์ และเป็นเหตุให้พระสัทธรรมคือสั่งสอนของพระองค์ต้องอันตรธานสูญหายไป หรือตั้งอยู่ไม่ได้นาน ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระกิมพิละ ผู้ทูลถามพระองค์ว่า เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วอะไรจะเป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นานว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกันนี้แลกิมพิละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว”
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น เป็นการแสดงเหตุปัจจัยที่ทำให้ศาสนาพุทธเสื่อมอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรมว่า เกิดจากปัจจัยภายในคือพุทธบริษัทสี่คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกานี้เอง
ภิกษุหมายถึง นักบวชเพศชาย ถือพระวินัย 227 สิกขาบท
ภิกษุณีหมายถึง นักบวชเพศหญิง ถือพระวินัย 311 สิกขาบท
อุบาสกหมายถึง ผู้ชาย ผู้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถือศีล 8 ข้อ
อุบาสิกาหมายถึง ผู้หญิง ผู้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถือศีล 8 ข้อ
พระวินัยสงฆ์มีทั้งที่เป็นข้อห้าม และเป็นข้ออนุญาต ข้อห้ามจะมีบทลงโทษเมื่อมีการล่วงละเมิด ส่วนข้ออนุญาตทำตามก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าทำจะต้องเป็นไปตามที่อนุญาต
โทษสำหรับที่ว่าละเมิดพระวินัยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. โทษหนักขาดจากความเป็นภิกษุ และภิกษุณีเปรียบได้กับโทษประหารชีวิต
2. โทษปานกลางต้องอยู่กรรมเปรียบได้กับโทษจำคุก
3. โทษอย่างเบามีตั้งแต่ต้องสละวัตถุอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัติก่อนแสดงอาบัติได้แก่ นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ ทุกกฎ
ในการลงโทษทางพระวินัย พระพุทธองค์ได้ทรงขั้นตอน และวิธีการไว้ดังนี้
1. ทรงแต่งตั้งพระธรรม และวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์พุทธปรินิพพานแล้ว ดังปรากฏในพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ที่ว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ธรรมและวินัยอันนั้นจัดเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว”
โดยนัยนี้บุคคลใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัย บุคคลนั้นได้ชื่อว่าไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมคำสอนตั้งอยู่ไม่ได้นานตามนัยที่พระพุทธองค์ตรัสแก่พระกิมพิละที่ว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา เคารพยำเกรงกันและกันนี้แลกิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว”
2. พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดลักษณะของการล่วงละเมิดพระวินัย หรือที่เรียกว่า อธิกรณ์มี 4 ประการคือ
2.1 วิวาทาธิกรณ์ได้แก่ การวิวาทกันเกี่ยวกับพระวินัย
2.2 อนุวาทาธิกรณ์ได้แก่ การโจทย์ฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับศีล อาจารวิบัติ (ความเสียหายเกี่ยวกับความประพฤติ) ทิฏฐิวิบัติความเสียหายเกี่ยวกับความเห็น และอาชีวาวิบัติ (ความเสียหายเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ)
2.3 อาปัตตาธิกรณ์ได้แก่ การต้องอาบัติต่างๆ
2.4 กิจจาธิกรณ์ได้แก่ กิจกรรมที่สงฆ์จะต้องทำเป็นสังฆกรรม
3. พร้อมกับการกำหนดลักษณะความผิด 4 ประการตามข้อ 2 พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดแนวการระงับอธิกรณ์หรือแนวทางการพิจารณาความเพื่อสะสางความผิดที่เกิดขึ้นทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นหรือที่เรียกว่า อธิกรณสมถะคือการระงับอธิกรณ์หรือการพิจารณาคดีความให้สงฆ์ดำเนินการ โดยแต่งตั้งวินัยธรขึ้นมาชำระความผิดที่เกิดขึ้น 7 ประการคือ
3.1 สัมมุขาวินัยได้แก่ การระงับต่อหน้าหมายถึงการเรียกผู้ล่วงละเมิดพระวินัยข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อมารับทราบข้อหา และสอบถามเพื่อเอาความมาพิจารณา
3.2 สติวินัยคือการระงับด้วยยกฟ้องหรือให้พ้นผิดด้วยเหตุว่าเป็นผู้มีสติถึงพร้อม ซึ่งใช้กับกรณีที่พระอรหันต์ถูกฟ้องว่ากระทำผิด
3.3 อมูฬหวินัยคือการยกฟ้องหรือไม่มีความผิดเนื่องจากเป็นบ้า
3.4 ปฏิญญาตกรณะคือการลงโทษตามคำรับสารภาพของผู้ที่ถูกฟ้องว่ากระทำผิด
3.5 เยภุยยสิกาคือการระงับด้วยเสียงข้างมากอันได้แก่ การลงคะแนนโดยใช้เสียงข้างมาก
3.6 ตัสสปาปิยสิกาได้แก่การตัดสินลงโทษตามหลักฐาน และพยานแวดล้อม
3.7 ติณวัตถารกวินัยได้แก่การระงับหรือตัดสินความโดยการประนีประนอมให้เลิกแล้วต่อกัน
อธิกรณ์แต่ละอย่างอาจใช้แนวทางระงับหรือดำเนินการชำระความด้วยการระงับหลายประการได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของการล่วงละเมิด
นอกจากยึดแนวทางแก้ปัญหาการปกครองสงฆ์ โดยยึดพระวินัยแบบสงฆ์ไทยนิกายเถรวาทยังมีการนำคณะสงฆ์กฎหมายมาใช้ในการปกครองสงฆ์ควบคู่ไปกับพระวินัยด้วย และในขณะที่กฎหมายที่ใช้ปกครองสงฆ์ไทยคือ พ.ร.บ.สงฆ์ 2505
แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้วงการสงฆ์ไทยกำลังสับสนกับการนำ พ.ร.บ.สงฆ์มาใช้ดังที่เกิดขึ้นในกรณีของพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าต้องปาราชิก และได้มีพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2542 ว่ามีความผิดเกิดขึ้นแล้ว แต่ต่อมาได้มีการฟ้องร้องต่อศาลและมีการถอนฟ้องด้วยอ้างว่าได้คืนทรัพย์สินที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปาราชิกแล้ว และในยุคต่อมาได้ยึดแนวทางที่เจ้าคณะว่าไม่เป็นปาราชิกมาเป็นแนวทางถือปฏิบัติ
ในขณะเดียวกัน ได้มีฝ่ายที่ยึดพระวินัยเป็นหลักได้ออกมาต่อต้านด้วยอ้างว่ามติดังกล่าวขัดพระวินัย จึงน่าจะขัด พ.ร.บ.มาตรา 15
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูจากอธิกรณ์ 4 กรณีของพระธัมมชโยน่าจะเข้าข่ายอนุวาทาธิกรณ์ ดังนั้นการที่พระลิขิตได้ระบุโทษจึงเป็นไปตามการระงับด้วยตัสสปาปิยสิกาคือระบุโทษน่าจะถูกต้องตามพระวินัยแล้ว
วินัยสงฆ์คือกติกาสงฆ์ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาแห่งพุทธศาสนาได้ทรงบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้สงฆ์ใช้ปกครองนักบวชในพุทธศาสนา ทั้งในฝ่ายภิกษุ และภิกษุณี รวมไปถึงสามเณรและสามเณรีด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสันติสุขในหมู่สงฆ์ และป้องกันอันตรายอันอาจเกิดขึ้นแก่สงฆ์จากการคิดผิดปฏิบัติของผู้ใดผู้หนึ่งในพระธรรมวินัยของพระองค์ และเป็นเหตุให้พระสัทธรรมคือสั่งสอนของพระองค์ต้องอันตรธานสูญหายไป หรือตั้งอยู่ไม่ได้นาน ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระกิมพิละ ผู้ทูลถามพระองค์ว่า เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วอะไรจะเป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นานว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัยนี้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ไม่เคารพยำเกรงกันและกันนี้แลกิมพิละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว”
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น เป็นการแสดงเหตุปัจจัยที่ทำให้ศาสนาพุทธเสื่อมอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรมว่า เกิดจากปัจจัยภายในคือพุทธบริษัทสี่คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกานี้เอง
ภิกษุหมายถึง นักบวชเพศชาย ถือพระวินัย 227 สิกขาบท
ภิกษุณีหมายถึง นักบวชเพศหญิง ถือพระวินัย 311 สิกขาบท
อุบาสกหมายถึง ผู้ชาย ผู้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถือศีล 8 ข้อ
อุบาสิกาหมายถึง ผู้หญิง ผู้เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถือศีล 8 ข้อ
พระวินัยสงฆ์มีทั้งที่เป็นข้อห้าม และเป็นข้ออนุญาต ข้อห้ามจะมีบทลงโทษเมื่อมีการล่วงละเมิด ส่วนข้ออนุญาตทำตามก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าทำจะต้องเป็นไปตามที่อนุญาต
โทษสำหรับที่ว่าละเมิดพระวินัยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. โทษหนักขาดจากความเป็นภิกษุ และภิกษุณีเปรียบได้กับโทษประหารชีวิต
2. โทษปานกลางต้องอยู่กรรมเปรียบได้กับโทษจำคุก
3. โทษอย่างเบามีตั้งแต่ต้องสละวัตถุอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัติก่อนแสดงอาบัติได้แก่ นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ ทุกกฎ
ในการลงโทษทางพระวินัย พระพุทธองค์ได้ทรงขั้นตอน และวิธีการไว้ดังนี้
1. ทรงแต่งตั้งพระธรรม และวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์พุทธปรินิพพานแล้ว ดังปรากฏในพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ที่ว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ธรรมและวินัยอันนั้นจัดเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลายเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว”
โดยนัยนี้บุคคลใดล่วงละเมิดพระธรรมวินัย บุคคลนั้นได้ชื่อว่าไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมคำสอนตั้งอยู่ไม่ได้นานตามนัยที่พระพุทธองค์ตรัสแก่พระกิมพิละที่ว่า “ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในพระธรรมวินัยนี้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา เคารพยำเกรงกันและกันนี้แลกิมพิละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว”
2. พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดลักษณะของการล่วงละเมิดพระวินัย หรือที่เรียกว่า อธิกรณ์มี 4 ประการคือ
2.1 วิวาทาธิกรณ์ได้แก่ การวิวาทกันเกี่ยวกับพระวินัย
2.2 อนุวาทาธิกรณ์ได้แก่ การโจทย์ฟ้องกันด้วยศีลวิบัติ ความเสียหายเกี่ยวกับศีล อาจารวิบัติ (ความเสียหายเกี่ยวกับความประพฤติ) ทิฏฐิวิบัติความเสียหายเกี่ยวกับความเห็น และอาชีวาวิบัติ (ความเสียหายเกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ)
2.3 อาปัตตาธิกรณ์ได้แก่ การต้องอาบัติต่างๆ
2.4 กิจจาธิกรณ์ได้แก่ กิจกรรมที่สงฆ์จะต้องทำเป็นสังฆกรรม
3. พร้อมกับการกำหนดลักษณะความผิด 4 ประการตามข้อ 2 พระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดแนวการระงับอธิกรณ์หรือแนวทางการพิจารณาความเพื่อสะสางความผิดที่เกิดขึ้นทั้ง 4 ลักษณะข้างต้นหรือที่เรียกว่า อธิกรณสมถะคือการระงับอธิกรณ์หรือการพิจารณาคดีความให้สงฆ์ดำเนินการ โดยแต่งตั้งวินัยธรขึ้นมาชำระความผิดที่เกิดขึ้น 7 ประการคือ
3.1 สัมมุขาวินัยได้แก่ การระงับต่อหน้าหมายถึงการเรียกผู้ล่วงละเมิดพระวินัยข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อมารับทราบข้อหา และสอบถามเพื่อเอาความมาพิจารณา
3.2 สติวินัยคือการระงับด้วยยกฟ้องหรือให้พ้นผิดด้วยเหตุว่าเป็นผู้มีสติถึงพร้อม ซึ่งใช้กับกรณีที่พระอรหันต์ถูกฟ้องว่ากระทำผิด
3.3 อมูฬหวินัยคือการยกฟ้องหรือไม่มีความผิดเนื่องจากเป็นบ้า
3.4 ปฏิญญาตกรณะคือการลงโทษตามคำรับสารภาพของผู้ที่ถูกฟ้องว่ากระทำผิด
3.5 เยภุยยสิกาคือการระงับด้วยเสียงข้างมากอันได้แก่ การลงคะแนนโดยใช้เสียงข้างมาก
3.6 ตัสสปาปิยสิกาได้แก่การตัดสินลงโทษตามหลักฐาน และพยานแวดล้อม
3.7 ติณวัตถารกวินัยได้แก่การระงับหรือตัดสินความโดยการประนีประนอมให้เลิกแล้วต่อกัน
อธิกรณ์แต่ละอย่างอาจใช้แนวทางระงับหรือดำเนินการชำระความด้วยการระงับหลายประการได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของการล่วงละเมิด
นอกจากยึดแนวทางแก้ปัญหาการปกครองสงฆ์ โดยยึดพระวินัยแบบสงฆ์ไทยนิกายเถรวาทยังมีการนำคณะสงฆ์กฎหมายมาใช้ในการปกครองสงฆ์ควบคู่ไปกับพระวินัยด้วย และในขณะที่กฎหมายที่ใช้ปกครองสงฆ์ไทยคือ พ.ร.บ.สงฆ์ 2505
แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้วงการสงฆ์ไทยกำลังสับสนกับการนำ พ.ร.บ.สงฆ์มาใช้ดังที่เกิดขึ้นในกรณีของพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าต้องปาราชิก และได้มีพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2542 ว่ามีความผิดเกิดขึ้นแล้ว แต่ต่อมาได้มีการฟ้องร้องต่อศาลและมีการถอนฟ้องด้วยอ้างว่าได้คืนทรัพย์สินที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นปาราชิกแล้ว และในยุคต่อมาได้ยึดแนวทางที่เจ้าคณะว่าไม่เป็นปาราชิกมาเป็นแนวทางถือปฏิบัติ
ในขณะเดียวกัน ได้มีฝ่ายที่ยึดพระวินัยเป็นหลักได้ออกมาต่อต้านด้วยอ้างว่ามติดังกล่าวขัดพระวินัย จึงน่าจะขัด พ.ร.บ.มาตรา 15
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูจากอธิกรณ์ 4 กรณีของพระธัมมชโยน่าจะเข้าข่ายอนุวาทาธิกรณ์ ดังนั้นการที่พระลิขิตได้ระบุโทษจึงเป็นไปตามการระงับด้วยตัสสปาปิยสิกาคือระบุโทษน่าจะถูกต้องตามพระวินัยแล้ว