นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี และแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในขณะนี้ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยได้รับหนังสือจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ขอความเห็นจากพรรคการเมือง เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางสำนักเลขาธิการพรรค กำลังทำเรื่องเพื่อขอประชุมพรรค ในการระดมความเห็น แต่หากไม่สามารถประชุมได้ ก็คงทำความเห็นไปตามสภาพ คาดว่าจะส่งให้ กมธ.ยกร่างฯได้ในเร็วๆ นี้
สำหรับเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนตัวมองว่ามีข้อบกพร่องค่อนข้างมาก หัวใจสำคัญอยู่ที่โครงสร้าง การเขียนโดยวางโครงสร้างที่ไม่เชื่อถือการตัดสินใจของประชาชน ไม่อยู่ในอาณัติของประชาชน ไปเชื่อถือเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ผลที่ออกมาก็จะเป็นอย่างที่เห็นทั้งหมด ถ้าเขียนโดยยึดประชาชนเป็นแกน ก็จะออกมาอีกแบบ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ประเทศที่เจริญแล้วยากที่จะเขียนรัฐธรรมนูญ ให้เหมือนกับที่ กมธ.ยกร่างฯเขียนอยู่
นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้มีการทำประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะจะทำให้ กมธ.ยกร่างฯ ไม่สามารถทำอะไรแบบไม่ฟังเสียงประชาชนได้ ถ้าเขียนโดยมีวาระของตัวเอง และไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน ก็ยากที่จะผ่านประชามติ จะไม่เป็นไปตามที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวไว้ว่า ลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ แบบนั้นทำไม่ได้แล้ว ตนคิดว่าอย่างน้อยถ้าต้องเสียเวลาไปอีกนิดหน่อย ก็ดีกว่าได้รัฐธรรมนูญที่สร้างปัญหาให้ประเทศยาวนาน
นอกจากนี้ การทำประชามติจะเกิดการถกเถียงประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ กมธ.ยกร่างฯ อ้างว่าดีนั้น ดีจริงหรือไม่ ประชาชนยอมรับหรือไม่ หรือคิดกันไปเอง โดยจะสังเกตได้ว่า วันนี้หาคนที่ไม่ใช่ กมธ.ยกร่างฯ มาชื่นชมร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้ยากเต็มทน
" การทำประชามติ สุดท้ายขึ้นอยู่กับ คสช. และครม. ว่าอยากทำหรือไม่ ถ้าไม่ทำ แล้วได้รัฐธรรมนูญที่แย่ ผลเสียก็จะเกิดกับประเทศในระยะยาว และเชื่อว่าคนที่ยกร่างฯ ไม่รับผิดชอบอยู่แล้ว ประเทศเกิดปัญหาแล้วเราก็หาคนรับผิดชอบไม่ได้ด้วย" นายพงศ์เทพ กล่าว
** ประชดให้เว้นวรรคอดีตส.ส.ทั้งหมด
ด้านนายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากดูท่าทีของ กมธ.ยกร่างฯ แล้ว เชื่อว่าจะไม่มีการเสนอให้ทำประชามติแน่นอน ตนเป็นห่วงว่า ถ้าเอาตามร่างที่ กมธ.ยกร่างฯ เขียนออกมา บ้านเมืองจะเดินไปไม่ได้เลย มันกลับหัวกลับหางไปหมด จะเป็นการย่ำอยู่กับที่ ประเทศเสียโอกาส มุ่งแต่ปฏิรูปการเมือง โดยมองนักการเมืองแบบมีอคติ ประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายท้วงติงตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มานายกฯ ที่ควรมาจากส.ส.เท่านั้น ที่มา ส.ว. ที่ควรมาจากเลือกตั้งทั้งหมด ที่มา ส.ส.แบบใหม่ ซึ่งดูสับสนวุ่นวาย ตนอยากให้มีระบบเขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คนเหมือนเดิมก็ดีอยู่แล้ว ตลอดจนแนวทางการตั้งองค์กรต่างๆ ที่ขาดการตรวจสอบถ่วงดุล ควรต้องปรับแก้เรื่องเหล่านี้ เชื่อว่าใช้เวลาไม่นาน ยังมีเวลาแก้ไขให้ทันตามระยะเวลาโรดแมป ถ้าแก้ตรงนี้ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ
" ถ้ารังเกียจนักเมืองมากนัก หรือมีอคติมากนัก ก็ให้เว้นวรรค อดีต ส.ส. อดีตนักการเมืองทั้งหมดทุกคนไป 1 สมัย ล้างน้ำกันแบบยกเค้า ให้คนหน้าใหม่มาเล่นบ้าง ผมไม่มีปัญหาเลย ขอให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ก็พอ" นายอำนวย กล่าว
นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวถึง ข้อเสนอที่ให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องประชามติ เราควรที่จะทำให้เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับของคนทุกฝ่ายก่อน ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมือง ภาคนักวิชาการ ส่วนราชการ ขบวนการนิสิตนักศึกษา ทำให้เกิดการยอมรับอย่างแท้จริง ถ้าเราคิดว่าเนื้อหาบางส่วน ที่บางฝ่ายเห็นว่าเป็นปัญหา ก็ควรนำมาพูดคุยกัน ปรับท่าทีกัน เพื่อให้เกิดการยอมรับของทุกฝ่าย แล้วค่อยพูดถึงเรื่องการทำประชามติ ว่าจะทำรูปแบบใด ใช้ช่องทางไหน เพราะหากเนื้อหาไม่เป็นที่ยอมรับ ต่อให้มีการทำประชามติ ไปแล้ว ก็คงจะเกิดการไม่ยอมรับจากคนอีกภาคส่วนอยู่ดี
สำหรับข้อเสนอจากบางพรรคการเมือง ที่ให้ทำประชามติเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับฉบับปี 2540 นั้น ก็ต้องไปดูในทางกฎหมายว่า สามารถทำได้หรือไม่ เช่นเดียวกับความเห็นของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่บอกว่าอาจเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ก็พอฟังได้ แต่ที่ตนขอเน้นย้ำคือ เรื่องเนื้อหาสาระรัฐธรรมนูญ ควรที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายก่อน จะดีกว่า
**"ดิเรก"ย้ำไม่เอานายกฯคนนอก
นายดิเรก ถึงฝั่ง รองประธาน กมธ.ปฏิรูปการเมือง คนที่ 1 ของสปช. ให้สัมภาษณ์ว่า วันที่ 6 พ.ค.นี้ กมธ.ปฏิรูปการเมืองจะประชุมเพื่อสรุปประเด็นคำขอแปรญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เบื้องต้นประเด็นหลักที่ต้องเน้นคงหนีไม่พ้นที่มานายกฯ คนนอก ที่มา ส.ส.-ส.ว. ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม โดยเฉพาะปมนายกฯคนนอก ไม่ถูกหลักเพราะในระบอบประชาธิปไตยที่เเท้จริงต้องให้ประชาชนมีสิทธิเลือกผู้ปกครองของตนเอง แต่ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ จู่ๆ ก็ให้ใครก็ไม่รู้ลอยมาเป็นนายกฯได้ โดยไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง วิธีการนี้คงไม่ใช่
ส่วนประเด็นที่ 2 พรรคการเมืองใหญ่ เสนอให้เอารัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 มาประกบ ทำประชามติให้ประชาชนเลือก นายดิเรก กล่าวว่า คงไม่เกิดง่ายๆ รัฐบาล กับกมธ.ยกร่างฯ คงไม่เอาด้วย แต่หากมีประชามติขึ้นจริง เเล้วประชาชนลงมติว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน อาจมีจุดหักเห ที่รัฐบาลต้องคิดว่า จะนำโมเดลที่ว่ามาใช้หรือไม่ เพราะถ้าจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ คงต้องเสียเวลาเป็นปี แต่วันนี้คงไม่เกิด ต้องเดินตามโรดเเมปไปก่อน ทั้งนี้ ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ถือว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะมาจาก ส.ส.ร. ที่ประชาชนเลือกเข้ามา แต่รัฐธรรมนูญปี 50 มาจากรัฐประหาร เป็นฉบับที่เป็นที่มาของความขัดเเย้งในสภา
" ในวันที่เกิดรัฐประหาร 22 พ.ค.ใหม่ๆ เคยคิดในใจว่า ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เวลานั้นประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ทันที โดยไม่ต้องร่างใหม่ คนไทยคงฉลองกันทั้งประเทศ เเล้วรัฐบาลจะเป็นขวัญใจชาวไทยด้วย แต่ขณะนี้เลยจุดนั้นมาไกลเเล้ว" นายดิเรก กล่าว
** คกก.ปรองดอง ปมล่อเป้า ร่างรธน.
นายวันชัย สอนศิริ โฆษกวิปสปช. เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการวิปสปช. และนายไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสปช. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานรวบรวมคำขอแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญ จากสมาชิก สปช. มาจัดหมวดหมู่ แบ่งกลุ่ม ให้สำหรับสปช. คนใดที่ยังรวมกลุ่มกันไม่ถึง 26 คน คาดว่าวันพุธ ที่ 6 พ.ค.นี้ จะได้ความชัดเจนทั้งหมด เชื่อว่าประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ของภาคประชาชน องค์กรใหม่ในรัฐธรรมนูญอย่าง สมัชชาคุณธรรม สมัชชาพลเมือง คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ จะถูกอภิปรายเยอะ สมาชิกบ่น ถามกันมากว่า องค์กรเหล่านี้ จะมีอำนาจปฏิบัติได้จริงตามที่เขียนไว้หรือไม่ เรื่องพลเมืองเป็นใหญ่ หลายคนบ่นว่า ดูเเล้วเหมือนสักเเต่เขียนไว้ แต่อำนาจจริงของประชาชนไม่มี ระบบเลือกตั้งใหมก็บ่นกันว่า เขียนระบุแต่คุณสมบัติ แต่ไร้มาตรการคัดกรอง ขจัดคนชั่วอย่างเข้มข้นไม่ให้เข้ามาบนถนนการเมืองอย่างไร และเชื่อว่า สมาชิกจะขอเเก้ไข ประเด็นอำนาจการควบคุมการเลือกตั้งของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ต้องการให้ กกต.เข้มเเข็ง มากกว่าที่เป็นอยู่ "นอกนั้นเป้าหลักคงไม่พ้น ที่มานายกฯ ระบบเลือกตั้งเเบบสัดส่วนผสม ที่มาส.ส.-ส.ว. แต่ประเด็นที่สมาชิกกังวลคือการตั้งคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ ต้องถูกขอเเก้ไขแน่นอน ไม่เช่นนั้นจะทำให้สังคมคลางเเคลงใจ อาจถึงขั้นให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เสียไปก็ได้"
**สปช.อารมณ์ค้างจะขอถล่มรธน.รอบ 2
นายวันชัย กล่าวด้วยว่า ตนในฐานะคณะผู้ประสานงานในการประมวลคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเเจกเอกสารเเบบฟอร์มคำถาม ให้กับสมาชิกสปช. แต่ละท่าน ในช่วงเช้าวันที่ 6 พ.ค. จากนั้นจะประมวลผล โดยช่วงเย็นจะขอเวลาที่ประชุมสปช. เพื่อหารือสมาชิกจัดกลุ่ม สรุปประเด็น โดยใช้ประเด็นคำขอเเก้ไขเป็นตัวตั้ง จนเห็นภาพว่า มีประเด็นขอแปรญัตติกี่กลุ่ม กลุ่มใดที่ยังไม่มีเจ้าภาพจัดกลุ่ม เราจะอำนวยการจัดให้
ส่วนเรื่องที่ว่า จะมีการขอเพิ่มวันอภิปราย หลังจากส่งคำขอเเปรญัตติเเล้วหรือไม่นั้น ในที่ประชุมวิปสปช. หารือกันว่า ก่อนจะมีการโหวตรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ส.ค. จำนวน 15 วัน คือ ช่วงวันที่ 23 ก.ค. ถึง 6 ส.ค. ทางสปช.อาจมีการขอเปิดประชุม เพื่อถกเเถลงกันก่อน 2- 3 วัน เพื่อให้สมาชิกสปช. กับกมธ.ยกร่างฯ เห็นพ้อง เข้าใจในเนื้อหารัฐธรรมนูญกันก่อน ดีกว่าจู่ๆ จะมามัดมือชกให้โหวตโดยที่ไม่ธิบายเหตุผลแต่ละประเด็นเลยว่า ที่กมธ.ยกร่างฯ เลือกเเก้ไข หรือไม่เเก้ไข คือ อะไร ทั้งนี้ ในวิปสปช. เคยหารือ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. เเล้วครั้งหนึ่ง แต่ท่านบอกว่า รอให้ถึงห้วงเวลานั้นก่อน ค่อยตัดสินใจ
**"คำนูณ"ยันพร้อมทำรธน.ให้ออกมาดีที่สุด
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญร่างแรก ว่า มีการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างน้อยเกินไป ว่า เราได้ทำตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่กำหนดไว้ทุกประการ มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายตลอด รวมทั้งเชิญพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองมาให้ความเห็นด้วย กมธ.ยกร่างฯ เองไม่ได้ทนงตนว่าเป็นผู้รู้ดี เราแค่ทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ และจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ออกมาให้ดีที่สุด
ขณะนี้การตัดสินใจในขั้นตอนแรกได้เสร็จไปแล้ว รอการยื่นญัตติ เพื่อขอแก้ไขจาก สปช. ว่าจะแก้ไขตรงจุดใดบ้าง และพร้อมที่จะนำญัตติเหล่านั้น มาพิจารณาเหตุผลว่าจะแก้ไขหรือไม่ และจะดำเนินการปรับแก้ในช่วง 60 วันสุดท้าย ของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ
นายคำนูณ กล่าวต่อว่า หลังจากวันที่ 23ก.ค. ทางกมธ.ยกร่างฯ จะแจกแจงรายละเอียดเป็นรายงานถึงเหตุผลที่แก้ไข และไม่แก้ไข ตามญัตติที่ สปช.เสนอมา และส่งให้กับประธานสปช. พร้อมกับร่างรัฐธรรมนูญที่เสร็จแล้ว ส่วนจะมีการเปิดประชุมให้ กมธ.ยกร่างฯ และสปช. อภิปรายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประธานสปช. แต่ทั้งนี้ หลังวันที่ 23 ก.ค. ไปแล้วจะไม่สามารถแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้อีก
สำหรับเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญนั้น ส่วนตัวมองว่ามีข้อบกพร่องค่อนข้างมาก หัวใจสำคัญอยู่ที่โครงสร้าง การเขียนโดยวางโครงสร้างที่ไม่เชื่อถือการตัดสินใจของประชาชน ไม่อยู่ในอาณัติของประชาชน ไปเชื่อถือเพียงคนกลุ่มเล็กๆ ผลที่ออกมาก็จะเป็นอย่างที่เห็นทั้งหมด ถ้าเขียนโดยยึดประชาชนเป็นแกน ก็จะออกมาอีกแบบ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ประเทศที่เจริญแล้วยากที่จะเขียนรัฐธรรมนูญ ให้เหมือนกับที่ กมธ.ยกร่างฯเขียนอยู่
นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้มีการทำประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะจะทำให้ กมธ.ยกร่างฯ ไม่สามารถทำอะไรแบบไม่ฟังเสียงประชาชนได้ ถ้าเขียนโดยมีวาระของตัวเอง และไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน ก็ยากที่จะผ่านประชามติ จะไม่เป็นไปตามที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวไว้ว่า ลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ แบบนั้นทำไม่ได้แล้ว ตนคิดว่าอย่างน้อยถ้าต้องเสียเวลาไปอีกนิดหน่อย ก็ดีกว่าได้รัฐธรรมนูญที่สร้างปัญหาให้ประเทศยาวนาน
นอกจากนี้ การทำประชามติจะเกิดการถกเถียงประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่ กมธ.ยกร่างฯ อ้างว่าดีนั้น ดีจริงหรือไม่ ประชาชนยอมรับหรือไม่ หรือคิดกันไปเอง โดยจะสังเกตได้ว่า วันนี้หาคนที่ไม่ใช่ กมธ.ยกร่างฯ มาชื่นชมร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้ยากเต็มทน
" การทำประชามติ สุดท้ายขึ้นอยู่กับ คสช. และครม. ว่าอยากทำหรือไม่ ถ้าไม่ทำ แล้วได้รัฐธรรมนูญที่แย่ ผลเสียก็จะเกิดกับประเทศในระยะยาว และเชื่อว่าคนที่ยกร่างฯ ไม่รับผิดชอบอยู่แล้ว ประเทศเกิดปัญหาแล้วเราก็หาคนรับผิดชอบไม่ได้ด้วย" นายพงศ์เทพ กล่าว
** ประชดให้เว้นวรรคอดีตส.ส.ทั้งหมด
ด้านนายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากดูท่าทีของ กมธ.ยกร่างฯ แล้ว เชื่อว่าจะไม่มีการเสนอให้ทำประชามติแน่นอน ตนเป็นห่วงว่า ถ้าเอาตามร่างที่ กมธ.ยกร่างฯ เขียนออกมา บ้านเมืองจะเดินไปไม่ได้เลย มันกลับหัวกลับหางไปหมด จะเป็นการย่ำอยู่กับที่ ประเทศเสียโอกาส มุ่งแต่ปฏิรูปการเมือง โดยมองนักการเมืองแบบมีอคติ ประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายท้วงติงตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มานายกฯ ที่ควรมาจากส.ส.เท่านั้น ที่มา ส.ว. ที่ควรมาจากเลือกตั้งทั้งหมด ที่มา ส.ส.แบบใหม่ ซึ่งดูสับสนวุ่นวาย ตนอยากให้มีระบบเขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คนเหมือนเดิมก็ดีอยู่แล้ว ตลอดจนแนวทางการตั้งองค์กรต่างๆ ที่ขาดการตรวจสอบถ่วงดุล ควรต้องปรับแก้เรื่องเหล่านี้ เชื่อว่าใช้เวลาไม่นาน ยังมีเวลาแก้ไขให้ทันตามระยะเวลาโรดแมป ถ้าแก้ตรงนี้ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ
" ถ้ารังเกียจนักเมืองมากนัก หรือมีอคติมากนัก ก็ให้เว้นวรรค อดีต ส.ส. อดีตนักการเมืองทั้งหมดทุกคนไป 1 สมัย ล้างน้ำกันแบบยกเค้า ให้คนหน้าใหม่มาเล่นบ้าง ผมไม่มีปัญหาเลย ขอให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ก็พอ" นายอำนวย กล่าว
นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวถึง ข้อเสนอที่ให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องประชามติ เราควรที่จะทำให้เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับของคนทุกฝ่ายก่อน ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมือง ภาคนักวิชาการ ส่วนราชการ ขบวนการนิสิตนักศึกษา ทำให้เกิดการยอมรับอย่างแท้จริง ถ้าเราคิดว่าเนื้อหาบางส่วน ที่บางฝ่ายเห็นว่าเป็นปัญหา ก็ควรนำมาพูดคุยกัน ปรับท่าทีกัน เพื่อให้เกิดการยอมรับของทุกฝ่าย แล้วค่อยพูดถึงเรื่องการทำประชามติ ว่าจะทำรูปแบบใด ใช้ช่องทางไหน เพราะหากเนื้อหาไม่เป็นที่ยอมรับ ต่อให้มีการทำประชามติ ไปแล้ว ก็คงจะเกิดการไม่ยอมรับจากคนอีกภาคส่วนอยู่ดี
สำหรับข้อเสนอจากบางพรรคการเมือง ที่ให้ทำประชามติเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับฉบับปี 2540 นั้น ก็ต้องไปดูในทางกฎหมายว่า สามารถทำได้หรือไม่ เช่นเดียวกับความเห็นของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่บอกว่าอาจเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ก็พอฟังได้ แต่ที่ตนขอเน้นย้ำคือ เรื่องเนื้อหาสาระรัฐธรรมนูญ ควรที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายก่อน จะดีกว่า
**"ดิเรก"ย้ำไม่เอานายกฯคนนอก
นายดิเรก ถึงฝั่ง รองประธาน กมธ.ปฏิรูปการเมือง คนที่ 1 ของสปช. ให้สัมภาษณ์ว่า วันที่ 6 พ.ค.นี้ กมธ.ปฏิรูปการเมืองจะประชุมเพื่อสรุปประเด็นคำขอแปรญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เบื้องต้นประเด็นหลักที่ต้องเน้นคงหนีไม่พ้นที่มานายกฯ คนนอก ที่มา ส.ส.-ส.ว. ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม โดยเฉพาะปมนายกฯคนนอก ไม่ถูกหลักเพราะในระบอบประชาธิปไตยที่เเท้จริงต้องให้ประชาชนมีสิทธิเลือกผู้ปกครองของตนเอง แต่ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ จู่ๆ ก็ให้ใครก็ไม่รู้ลอยมาเป็นนายกฯได้ โดยไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง วิธีการนี้คงไม่ใช่
ส่วนประเด็นที่ 2 พรรคการเมืองใหญ่ เสนอให้เอารัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 มาประกบ ทำประชามติให้ประชาชนเลือก นายดิเรก กล่าวว่า คงไม่เกิดง่ายๆ รัฐบาล กับกมธ.ยกร่างฯ คงไม่เอาด้วย แต่หากมีประชามติขึ้นจริง เเล้วประชาชนลงมติว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน อาจมีจุดหักเห ที่รัฐบาลต้องคิดว่า จะนำโมเดลที่ว่ามาใช้หรือไม่ เพราะถ้าจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ คงต้องเสียเวลาเป็นปี แต่วันนี้คงไม่เกิด ต้องเดินตามโรดเเมปไปก่อน ทั้งนี้ ตนเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ถือว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะมาจาก ส.ส.ร. ที่ประชาชนเลือกเข้ามา แต่รัฐธรรมนูญปี 50 มาจากรัฐประหาร เป็นฉบับที่เป็นที่มาของความขัดเเย้งในสภา
" ในวันที่เกิดรัฐประหาร 22 พ.ค.ใหม่ๆ เคยคิดในใจว่า ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เวลานั้นประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 40 ทันที โดยไม่ต้องร่างใหม่ คนไทยคงฉลองกันทั้งประเทศ เเล้วรัฐบาลจะเป็นขวัญใจชาวไทยด้วย แต่ขณะนี้เลยจุดนั้นมาไกลเเล้ว" นายดิเรก กล่าว
** คกก.ปรองดอง ปมล่อเป้า ร่างรธน.
นายวันชัย สอนศิริ โฆษกวิปสปช. เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการวิปสปช. และนายไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสปช. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานรวบรวมคำขอแปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญ จากสมาชิก สปช. มาจัดหมวดหมู่ แบ่งกลุ่ม ให้สำหรับสปช. คนใดที่ยังรวมกลุ่มกันไม่ถึง 26 คน คาดว่าวันพุธ ที่ 6 พ.ค.นี้ จะได้ความชัดเจนทั้งหมด เชื่อว่าประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ของภาคประชาชน องค์กรใหม่ในรัฐธรรมนูญอย่าง สมัชชาคุณธรรม สมัชชาพลเมือง คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ จะถูกอภิปรายเยอะ สมาชิกบ่น ถามกันมากว่า องค์กรเหล่านี้ จะมีอำนาจปฏิบัติได้จริงตามที่เขียนไว้หรือไม่ เรื่องพลเมืองเป็นใหญ่ หลายคนบ่นว่า ดูเเล้วเหมือนสักเเต่เขียนไว้ แต่อำนาจจริงของประชาชนไม่มี ระบบเลือกตั้งใหมก็บ่นกันว่า เขียนระบุแต่คุณสมบัติ แต่ไร้มาตรการคัดกรอง ขจัดคนชั่วอย่างเข้มข้นไม่ให้เข้ามาบนถนนการเมืองอย่างไร และเชื่อว่า สมาชิกจะขอเเก้ไข ประเด็นอำนาจการควบคุมการเลือกตั้งของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ต้องการให้ กกต.เข้มเเข็ง มากกว่าที่เป็นอยู่ "นอกนั้นเป้าหลักคงไม่พ้น ที่มานายกฯ ระบบเลือกตั้งเเบบสัดส่วนผสม ที่มาส.ส.-ส.ว. แต่ประเด็นที่สมาชิกกังวลคือการตั้งคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ ต้องถูกขอเเก้ไขแน่นอน ไม่เช่นนั้นจะทำให้สังคมคลางเเคลงใจ อาจถึงขั้นให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เสียไปก็ได้"
**สปช.อารมณ์ค้างจะขอถล่มรธน.รอบ 2
นายวันชัย กล่าวด้วยว่า ตนในฐานะคณะผู้ประสานงานในการประมวลคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเเจกเอกสารเเบบฟอร์มคำถาม ให้กับสมาชิกสปช. แต่ละท่าน ในช่วงเช้าวันที่ 6 พ.ค. จากนั้นจะประมวลผล โดยช่วงเย็นจะขอเวลาที่ประชุมสปช. เพื่อหารือสมาชิกจัดกลุ่ม สรุปประเด็น โดยใช้ประเด็นคำขอเเก้ไขเป็นตัวตั้ง จนเห็นภาพว่า มีประเด็นขอแปรญัตติกี่กลุ่ม กลุ่มใดที่ยังไม่มีเจ้าภาพจัดกลุ่ม เราจะอำนวยการจัดให้
ส่วนเรื่องที่ว่า จะมีการขอเพิ่มวันอภิปราย หลังจากส่งคำขอเเปรญัตติเเล้วหรือไม่นั้น ในที่ประชุมวิปสปช. หารือกันว่า ก่อนจะมีการโหวตรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ส.ค. จำนวน 15 วัน คือ ช่วงวันที่ 23 ก.ค. ถึง 6 ส.ค. ทางสปช.อาจมีการขอเปิดประชุม เพื่อถกเเถลงกันก่อน 2- 3 วัน เพื่อให้สมาชิกสปช. กับกมธ.ยกร่างฯ เห็นพ้อง เข้าใจในเนื้อหารัฐธรรมนูญกันก่อน ดีกว่าจู่ๆ จะมามัดมือชกให้โหวตโดยที่ไม่ธิบายเหตุผลแต่ละประเด็นเลยว่า ที่กมธ.ยกร่างฯ เลือกเเก้ไข หรือไม่เเก้ไข คือ อะไร ทั้งนี้ ในวิปสปช. เคยหารือ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. เเล้วครั้งหนึ่ง แต่ท่านบอกว่า รอให้ถึงห้วงเวลานั้นก่อน ค่อยตัดสินใจ
**"คำนูณ"ยันพร้อมทำรธน.ให้ออกมาดีที่สุด
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญร่างแรก ว่า มีการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างน้อยเกินไป ว่า เราได้ทำตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่กำหนดไว้ทุกประการ มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายตลอด รวมทั้งเชิญพรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองมาให้ความเห็นด้วย กมธ.ยกร่างฯ เองไม่ได้ทนงตนว่าเป็นผู้รู้ดี เราแค่ทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ และจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ออกมาให้ดีที่สุด
ขณะนี้การตัดสินใจในขั้นตอนแรกได้เสร็จไปแล้ว รอการยื่นญัตติ เพื่อขอแก้ไขจาก สปช. ว่าจะแก้ไขตรงจุดใดบ้าง และพร้อมที่จะนำญัตติเหล่านั้น มาพิจารณาเหตุผลว่าจะแก้ไขหรือไม่ และจะดำเนินการปรับแก้ในช่วง 60 วันสุดท้าย ของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ
นายคำนูณ กล่าวต่อว่า หลังจากวันที่ 23ก.ค. ทางกมธ.ยกร่างฯ จะแจกแจงรายละเอียดเป็นรายงานถึงเหตุผลที่แก้ไข และไม่แก้ไข ตามญัตติที่ สปช.เสนอมา และส่งให้กับประธานสปช. พร้อมกับร่างรัฐธรรมนูญที่เสร็จแล้ว ส่วนจะมีการเปิดประชุมให้ กมธ.ยกร่างฯ และสปช. อภิปรายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประธานสปช. แต่ทั้งนี้ หลังวันที่ 23 ก.ค. ไปแล้วจะไม่สามารถแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้อีก