วานนี้ (6 พ.ค.) ที่สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฏร์ธานี พระสุเทพ ปภากโร (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) อดีต แกนนำ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. กล่าวไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการลองใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไปก่อน 5 ปี แล้วค่อยมาปรับปรุงแก้ไขกันใหม่หากมาตราไหนไม่ดีพอ ว่า ไม่จำเป็น และไม่ควร เพราะวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะเป็นหัวหน้ารัฐบาล ที่จะทำการแก้ไขสิ่งเหล่านี้ เพราะไม่มีผลประโยชน์ ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง
"อีก 5 ปี ข้างหน้า รัฐบาลก. - รัฐบาลข. ที่บอกว่าจะเป็นกลาง รับรองว่าไม่มี พวกเขาจะต้องแก้ให้เอื้อประโยชน์กับรัฐบาลของเขา หรือของพรรคตัวเอง เพราะฉะนั้นจึงทำตรงนี้ให้สมบูรณ์ไปเลย ไม่ได้เถียง แต่รู้สึกว่าไม่ถูกต้อง รัฐธรรมนูญจะมีกี่มาตราไม่ใช่เรื่องสำคัญจะ 315 มาตรา หรือ 600 มาตรา ขอให้มันดี ถ้ามันไม่เข้าท่า มีแค่ 5 มาตรา ก็ดูว่ามากไปแล้ว เวลานี้ทำให้มันเสร็จ ทำให้มันถูกต้องทั้งกฎหมายหลัก กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ"
เมื่อถามว่า จำเป็นต้องทำประชามติ หรือไม่ เพราะเวลานี้พรรคการเมือง และสมาชิกสปช. ส่วนใหญ่เห็นว่าควรทำประชามติ พระสุเทพ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญดีจริงหรือไม่ เหมาะสมสำหรับประเทศไทยจริงหรือไม่ ออกแบบมาได้พอดีตัว ตัดเสื้อเข้ากับตัวคนไทยได้พอดีแล้วใช่ไหม ใส่หล่อแล้ว ก็ไม่ต้องไปทำประชามติให้เปลือง แต่ข้อสำคัญมันอาจดูว่าใส่หล่อ สำหรับประเทศไทยมันอาจดูดี แต่ไม่พอดีตัวนักการเมืองและพรรคการเมือง อย่างนี้ แม้จะทำประชามติไป ก็ไปเป็นปัญหา เพราะบรรดานักการเมือง และพรรคการเมือง เขาไม่เอาอยู่แล้ว
ส่วนจะต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไป หากมีการทำประชามตินั้น พระสุเทพ กล่าวว่า เราไม่ใช่นักการเมืองแล้ว อะไรเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพราะฉะนั้นเป้าหมายเรา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จะอยู่กี่ปี ถ้าเขาทำได้ดี เราเป็นประชาชน เราก็รับได้ อย่างที่ท่านอาจารย์พุทธทาส เคยพูดว่า ธรรมาธิปไตย คือ ผู้ปกครองที่มีธรรมะ ทำให้สิ่งที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ไม่ว่าคุณจะเรียกว่าเป็น เผด็จการ ถ้าเขามีธรรมะ ส่วนคนที่มาเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นโจรมา มาถึงก็ปล้นชาติ มันก็ไม่มีประโยชน์ เราไม่รู้ว่าทำไมต้องไปยึดกันว่า ต้องเท่านั้นปี เท่านี้เดือน โรดแมป จะ ต้องอย่างนั้น อย่างนี้ ถ้าไม่ดีจะเอาออกมาทำไม เงื่อนไขเวลาไม่จำเป็น แต่เงื่อนไขความดี ความสมบูรณ์ ดีกว่า
พระสุเทพ ยังกล่าวถึงเสียงเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ทำหน้าที่นายกฯต่อ เพื่อแก้ปัญหาที่คั่งค้าง เพราะกลัวว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอาจจะแก้ปัญหาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ว่า สำหรับอาตมา วันนี้ไม่ได้เป็นนักการเมืองแล้ว และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ไม่คิดที่จะไปเลือกตั้งอีก เรามองในแง่ประโยชน์ของประเทศชาติ
" ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ อยู่แล้วแก้ปัญหาประเทศได้ ทำให้ประเทศดีขึ้น ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จะอยู่ 3 ปี 5 ปี ก็ไม่เห็นน่ารังเกียจอะไรเลย ไม่ใช่เอาแต่ความเท่ห์ เอาแต่ยี่ห้อ แล้วก็กินไม่ได้ แบบนี้ไม่ได้ รูปแบบเป็นประชาธิปไตย แต่ประชาชนร้องไห้ น้ำตาไหล จะมีความหมายอะไร แบบนี้ก็ไม่ได้ และตรงนี้ก็แล้วแต่ใครคิด หากทำให้ถูกระบบ เพราะประชาธิปไตยควรมาจากการเลือกตั้ง ตรงนั้นจะดีกว่า แต่ระบบที่ว่ามันพอหรือยัง ดีจริงหรือยัง สมบูรณ์ หรือยัง และถ้ายังไม่พอ ก็ต้องทำให้สมบูรณ์" พระสุเทพ กล่าว
**แนะแม่น้ำ 5 สายถกประชามติ
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า หากจะมีการทำประชามติจริง เริ่มแรกจะต้องดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ก่อน หลังจากนั้นถึงจะสามารถจัดทำประชามติได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีผู้ริเริ่ม โดยขณะนี้มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ควรมีการทำประชามติ แต่ตอนนี้ก็ยังมีการรอดูท่าทีกันอยู่ว่าใครจะเป็นผู้ริเริ่ม เพราะคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ คือ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
สำหรับท่าทีของคณะกมธ.ยกร่างฯ ต่อเรื่องนี้ ส่วนใหญ่รวมถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกมธ.ยกร่างฯ ก็เห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่คณะกมธ.ยกร่างฯ ยังไม่มีการหารือกันอย่างเป็นทางการ ซึ่งการทำประชามติ เป็นเรื่องที่คณะกมธ.ยกร่างฯ ทั้ง 36 คนไม่สามารถตัดสินใจเพียงลำพังได้
ทั้งนี้ หากดูสถานการณ์ขณะนี้จะเห็นว่า หลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้มีการทำประชามติ ตนจึงมองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย หากแม่น้ำทั้ง 5 สายจะนำเรื่องนี้มาหารือกัน
เมื่อถามว่า กระบวนการทำประชามติ ควรทำเป็นรายมาตรา หรือทั้งฉบับ นายบัณฑูร กล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีหลายวิธีการ คงต้องพิจารณาว่า หากจะทำทั้งฉบับ จะมีกระบวนการดำเนินการอย่างไร หรือถ้าทำประชามติเป็นรายมาตรา ก็ต้องดูว่าควรหยิบประเด็นใดขึ้นมาสอบถามประชาชน ขณะเดียวกัน ถ้าทำแล้วและประชาชนลงมติเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ผลจากนั้นจะเป็นอย่างไร จึงมองว่าประเด็นดังกล่าวต้องคิดให้ครบถ้วน และรอบคอบ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจ
เมื่อถามว่า หากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ประชาชนลงประชามติไม่เห็นด้วย ผลจากนั้นควรจะเป็นอย่างไร นายบัณฑูร กล่าวว่า ตามกระบวนการ จะต้องให้ สปช.ลงมติก่อน ว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังจากนั้นถึงจะเข้าสู่กระบวนการลงประชามติของประชาชน ดังนั้นสมมติฐานที่เป็นไปได้ คือ ให้ สปช.โหวตเห็นชอบ และส่งให้ประชาชนยืนยันผ่านการทำประชามติอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ หาก สปช.ลงมติไม่เห็นด้วย แล้วให้ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยออกเสียงตัดสิน ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
เมื่อถามว่า หากสปช.ลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องมีการทำประชามติอีก นายบัณฑูร กล่าวว่า ถ้าสปช.และประชาชนลงมติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นการยืนยันคู่กันว่า ร่างรัฐธรรมนูญได้รับการสนับสนุน หากประชาชนโหวตไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชน
** "เทียนฉาย"ไม่รักมุกสปช.ถกรอบ 2
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีมีข้อเสนอให้นำรัฐธรรมนูญปี 40-50 มาทำประชามติประกบกับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่าง ให้ประชาชนเลือก ว่า ไม่เข้าใจ แปลกใจ แต่ งงว่าถ้าจะใช้โมเดลเอาของเก่ามาเปรียบเทียบที่ร่างกันอยู่ จะร่างกันทำไม คนเสนอไม่คิดว่าเสียเวลาหรือ ไม่คิดว่าที่ร่างกันอยู่ ดีกว่าพัฒนากว่าอดีตหรือ เรื่องนี้ดีหรือไม่จึงมาถามตนไม่ได้ ควรไปตั้งคำถามกับพรรคการเมืองว่า เจนตาที่เสนอแนวคิดมาเวลานี้ ต้องการอะไร คงกลัวจะเหงาหรือเปล่า ทั้งนี้ ยิ่งวิจารณ์มาก ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ร่าง แต่อยากให้ทุกฝ่าย วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ รอให้เห็นร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายเสียก่อน
ส่วนประเด็นที่ สปช. อาจขออภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก รอบ 2 ก่อนโหวตลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 23 ก.ค.- 6 ส.ค.นั้น นายเทียนฉาย ไม่ทราบเรื่อง ยังไม่ได้รับการประสานหารือ จากทั้ง วิปสปช. หรือกรรมาธิการยกร่างฯ อย่างเป็นทางการ ยังตอบไม่ได้ว่า หากมีผู้ยื่นความประสงค์ขออภิปรายมาจริง จะตัดสินใจอย่างไร เพราะยังไม่ถึงเวลา
นายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะอนุกรรมาธิการจัดทำประเด็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ สปช. กล่าวภายหลังการประชุมพิจารณาจัดทำประเด็น คำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญโดยมีข้อสรุปการจัดโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งแรก วันที่ 15 พ.ค. ที่ห้อง 213-216 อาคารรัฐสภา 2 โดยจะเชิญผู้แทนพรรคการเมือง 74 พรรคการเมือง ผู้แทนสมาคมตำรวจ
สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชน ตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ อย่างรอบด้าน พร้อมกับกำหนดวันที่ 17 พ.ค. เวลา 12.00 น. เป็นวันสุดท้าย ที่สมาชิกจะสามารถยื่นแสดงความเห็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนจะรวบรวมน้ำหนักการยื่นคำขอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
ด้านนายนิรันดร์ พันทรกิจ สปช. กล่าวว่า ในการทำคำขอแปรญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองทุกคนส่งคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญภายในวันที่ 11 พ.ค. และจะนำความเห็นของทุกคนมาร่วมพิจารณา ก่อนเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ส่วนการรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองในวันที่ 15 พ.ค. จะรับฟังแล้วนำเข้าสู่กระบวนการให้เสร็จภายในวันที่ 20 พ.ค.
** "สมบัติ"เตรียมจัดสัมมนา 2 ครั้ง
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงภายหลังการประชุมเมื่อวานนี้ ว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดสัมมนา 2 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อขอเสนอญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ โดยครั้งแรกจะมีขึ้นในวันที่15 พ.ค.นี้ ซึ่งจะเชิญตัวแทนของพรรคการเมืองทั้ง 74 พรรค กับภาคประชาชนต่างๆ และครั้งที่ 2 จะเป็นการเชิญคณบดี หรือตัวแทนจากคณะนิติศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อมาให้ความเห็นเพิ่มเติมต่อการเสนอญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ คณะอนุกมธ.เตรียมญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี นายดิเรก ถึงฝั่ง เป็นประธาน จะรวบรวมความเห็นต่างๆ ทั้งจากกมธ.และจากการสัมมนาทั้ง 2 ครั้ง ก่อนร่างเป็นญัตติขอแก้ไข เพื่อส่งไปให้ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ภายในวันที่ 25 พ.ค.นี้ เชื่อว่าความเห็นจากการสัมมนาทั้ง 2 ครั้ง น่าจะมีประเด็นที่ตรงกัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับการเสนอขอแก้ไข ถ้ามีส่วนที่เห็นแย้ง แต่มีนัยยะสำคัญ ทางกมธ. ก็จะเพิ่มเติมเป็นญัตติให้
เมื่อถามว่า พรรคการเมืองจะขออนุญาต คสช. เพื่อจัดประชุมพรรคระดมความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ นายสมบัติ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับคสช.ว่าจะอนุญาตหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญ มีผลต่อพรรคการเมือง ในฐานะผู้ใช้ ซึ่งหากเป็นการปรึกษาหารือกันธรรมดา ไม่ได้สร้างเงื่อนไข ก็ไม่น่ามีปัญหา ส่วนเรื่องการทำประชามติ ก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งข้อดี ถ้าทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วย รัฐธรรมนูญก็จะมีความชอบธรรม ส่วนข้อเสีย ก็จะทำให้การเลือกตั้งล่าช้า เพราะการทำประชามติ ต้องใช้เวลาเพื่อให้ประชาชนในการทำความเข้าใจ ซึ่งการทำประชามติที่เหมาะที่สุดคือ ต้องทำประเด็นใดประเด็นเดียว อย่าง สก๊อตแลนด์ ขอแยกจากสหราชอาณาจักร เพราะในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 302 มีรายละเอียดที่ผิดตรรกะ เช่น เวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องทำประชามติ แต่ก่อนประกาศกลับไม่ต้องทำ ซึ่งไม่สมเหตุสมผล แต่ถ้าจะทำประชามติรายประเด็น หรือรายมาตรา ก็จะยุ่งยากมาก ขณะเดียวกันบรรยากาศทางการเมืองก็มีส่วน เพราะเริ่มมีความกังวลกันว่า การทำประชามติ อาจจะทำให้เกิดการเผชิญหน้า แล้วบ้านเมืองจะช้ำไปมากกว่านี้ หรือไม่ เพราะคนชอบก็จะสนับสนุน แต่คนไม่ชอบ ก็อาจจะไม่สนับสนุน แต่ทั้งนี้ส่วนตัวคิดว่า การทำประชามติ น่าจะมีผลดีมากกว่า
** สปช.จัด 8 กลุ่มเสนอญัตติแก้ไขรธน.
นายวันชัย สอนสิริ สมาชิกสปช. ในฐานะคณะผู้ประสานงานในการประมวลคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้สรุปการจัดกลุ่มยื่นญัตติแก้ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว โดยจัดกลุ่มละ 26 คน จำนวน 8 กลุ่ม โดยจะต้องยื่นคำแปรญัตติในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ซึ่งในภาพรวมประเด็นที่ได้มีการพูดคุยกันเพื่อขอแก้ไขในภาพรวม เช่น ในเรื่องการเมืองมีการขอแก้ไขค่อนข้างมาก เรื่องที่นายกฯ เรื่องอำนาจนายกฯ ที่มีสิทธิเสนอกฎหมาย การอภิปรายไว้วางใจ เรื่องที่มา ส.ส.- ส.ว. เรื่องที่มากรรมการปฏิรูปฯ เรื่องกรรมการปรองดอง คิดว่าจะมีคนขอแก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่พอสมควร ประเด็นเรื่องอำนาจพลเมืองที่มีความไม่ชัดเจน ทั้งหมดเป็นสิทธิของแต่ละกลุ่มที่จะไปคิดปรึกษาหารือกัน
ทั้งนี้ เชื่อว่าการแก้ไขโดย สปช. จะประสบความสำเร็จ หากมีการวางแผน มียุทธศาสตร์ดี แล้วเป็นกระแสที่ให้มีการแก้ไขมากๆ เชื่อว่ากรรมาธิการยกร่างฯ จะไม่ดื้อดึง ไม่แข็งขืน เท่าที่เราฟังอภิปรายของสปช. ทั้งหมด 7 วัน ทำให้แนวคิดของกรรมาธิการยกร่างฯ ก็อ่อนลง มีท่าทีที่จะปรับเปลี่ยน เชื่อถ้าแต่ละคณะวางแผนดีๆ ให้มีความเห็นที่หลากหลายในประเด็นสำคัญๆ เชื่อว่าจะแก้ไขสำเร็จได้แน่นอน และแก้เยอะด้วย
"ผมเชื่อว่าต้องแก้ ถ้าสปช. จำนวนมากขอแก้ไข แล้วถ้าไม่แก้ไข ผมคิดว่าร่างรัฐธรมนูญฉบับนี้จะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสปช. คือถ้าสปช. ส่วนใหญ่ขอแก้ แล้วไม่แก้ให้เขา ผมเชื่อว่าเขาไม่ยอมหรอก อาจจะถูกคว่ำได้" นายวันชัย กล่าว
"อีก 5 ปี ข้างหน้า รัฐบาลก. - รัฐบาลข. ที่บอกว่าจะเป็นกลาง รับรองว่าไม่มี พวกเขาจะต้องแก้ให้เอื้อประโยชน์กับรัฐบาลของเขา หรือของพรรคตัวเอง เพราะฉะนั้นจึงทำตรงนี้ให้สมบูรณ์ไปเลย ไม่ได้เถียง แต่รู้สึกว่าไม่ถูกต้อง รัฐธรรมนูญจะมีกี่มาตราไม่ใช่เรื่องสำคัญจะ 315 มาตรา หรือ 600 มาตรา ขอให้มันดี ถ้ามันไม่เข้าท่า มีแค่ 5 มาตรา ก็ดูว่ามากไปแล้ว เวลานี้ทำให้มันเสร็จ ทำให้มันถูกต้องทั้งกฎหมายหลัก กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ"
เมื่อถามว่า จำเป็นต้องทำประชามติ หรือไม่ เพราะเวลานี้พรรคการเมือง และสมาชิกสปช. ส่วนใหญ่เห็นว่าควรทำประชามติ พระสุเทพ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญดีจริงหรือไม่ เหมาะสมสำหรับประเทศไทยจริงหรือไม่ ออกแบบมาได้พอดีตัว ตัดเสื้อเข้ากับตัวคนไทยได้พอดีแล้วใช่ไหม ใส่หล่อแล้ว ก็ไม่ต้องไปทำประชามติให้เปลือง แต่ข้อสำคัญมันอาจดูว่าใส่หล่อ สำหรับประเทศไทยมันอาจดูดี แต่ไม่พอดีตัวนักการเมืองและพรรคการเมือง อย่างนี้ แม้จะทำประชามติไป ก็ไปเป็นปัญหา เพราะบรรดานักการเมือง และพรรคการเมือง เขาไม่เอาอยู่แล้ว
ส่วนจะต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไป หากมีการทำประชามตินั้น พระสุเทพ กล่าวว่า เราไม่ใช่นักการเมืองแล้ว อะไรเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพราะฉะนั้นเป้าหมายเรา คือ พล.อ.ประยุทธ์ จะอยู่กี่ปี ถ้าเขาทำได้ดี เราเป็นประชาชน เราก็รับได้ อย่างที่ท่านอาจารย์พุทธทาส เคยพูดว่า ธรรมาธิปไตย คือ ผู้ปกครองที่มีธรรมะ ทำให้สิ่งที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ไม่ว่าคุณจะเรียกว่าเป็น เผด็จการ ถ้าเขามีธรรมะ ส่วนคนที่มาเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นโจรมา มาถึงก็ปล้นชาติ มันก็ไม่มีประโยชน์ เราไม่รู้ว่าทำไมต้องไปยึดกันว่า ต้องเท่านั้นปี เท่านี้เดือน โรดแมป จะ ต้องอย่างนั้น อย่างนี้ ถ้าไม่ดีจะเอาออกมาทำไม เงื่อนไขเวลาไม่จำเป็น แต่เงื่อนไขความดี ความสมบูรณ์ ดีกว่า
พระสุเทพ ยังกล่าวถึงเสียงเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ทำหน้าที่นายกฯต่อ เพื่อแก้ปัญหาที่คั่งค้าง เพราะกลัวว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอาจจะแก้ปัญหาได้ไม่ดีเท่าที่ควร ว่า สำหรับอาตมา วันนี้ไม่ได้เป็นนักการเมืองแล้ว และลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ไม่คิดที่จะไปเลือกตั้งอีก เรามองในแง่ประโยชน์ของประเทศชาติ
" ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ อยู่แล้วแก้ปัญหาประเทศได้ ทำให้ประเทศดีขึ้น ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จะอยู่ 3 ปี 5 ปี ก็ไม่เห็นน่ารังเกียจอะไรเลย ไม่ใช่เอาแต่ความเท่ห์ เอาแต่ยี่ห้อ แล้วก็กินไม่ได้ แบบนี้ไม่ได้ รูปแบบเป็นประชาธิปไตย แต่ประชาชนร้องไห้ น้ำตาไหล จะมีความหมายอะไร แบบนี้ก็ไม่ได้ และตรงนี้ก็แล้วแต่ใครคิด หากทำให้ถูกระบบ เพราะประชาธิปไตยควรมาจากการเลือกตั้ง ตรงนั้นจะดีกว่า แต่ระบบที่ว่ามันพอหรือยัง ดีจริงหรือยัง สมบูรณ์ หรือยัง และถ้ายังไม่พอ ก็ต้องทำให้สมบูรณ์" พระสุเทพ กล่าว
**แนะแม่น้ำ 5 สายถกประชามติ
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า หากจะมีการทำประชามติจริง เริ่มแรกจะต้องดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ก่อน หลังจากนั้นถึงจะสามารถจัดทำประชามติได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีผู้ริเริ่ม โดยขณะนี้มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ควรมีการทำประชามติ แต่ตอนนี้ก็ยังมีการรอดูท่าทีกันอยู่ว่าใครจะเป็นผู้ริเริ่ม เพราะคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ คือ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
สำหรับท่าทีของคณะกมธ.ยกร่างฯ ต่อเรื่องนี้ ส่วนใหญ่รวมถึง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกมธ.ยกร่างฯ ก็เห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่คณะกมธ.ยกร่างฯ ยังไม่มีการหารือกันอย่างเป็นทางการ ซึ่งการทำประชามติ เป็นเรื่องที่คณะกมธ.ยกร่างฯ ทั้ง 36 คนไม่สามารถตัดสินใจเพียงลำพังได้
ทั้งนี้ หากดูสถานการณ์ขณะนี้จะเห็นว่า หลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้มีการทำประชามติ ตนจึงมองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย หากแม่น้ำทั้ง 5 สายจะนำเรื่องนี้มาหารือกัน
เมื่อถามว่า กระบวนการทำประชามติ ควรทำเป็นรายมาตรา หรือทั้งฉบับ นายบัณฑูร กล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีหลายวิธีการ คงต้องพิจารณาว่า หากจะทำทั้งฉบับ จะมีกระบวนการดำเนินการอย่างไร หรือถ้าทำประชามติเป็นรายมาตรา ก็ต้องดูว่าควรหยิบประเด็นใดขึ้นมาสอบถามประชาชน ขณะเดียวกัน ถ้าทำแล้วและประชาชนลงมติเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ผลจากนั้นจะเป็นอย่างไร จึงมองว่าประเด็นดังกล่าวต้องคิดให้ครบถ้วน และรอบคอบ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจ
เมื่อถามว่า หากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ประชาชนลงประชามติไม่เห็นด้วย ผลจากนั้นควรจะเป็นอย่างไร นายบัณฑูร กล่าวว่า ตามกระบวนการ จะต้องให้ สปช.ลงมติก่อน ว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังจากนั้นถึงจะเข้าสู่กระบวนการลงประชามติของประชาชน ดังนั้นสมมติฐานที่เป็นไปได้ คือ ให้ สปช.โหวตเห็นชอบ และส่งให้ประชาชนยืนยันผ่านการทำประชามติอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ หาก สปช.ลงมติไม่เห็นด้วย แล้วให้ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยออกเสียงตัดสิน ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
เมื่อถามว่า หากสปช.ลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องมีการทำประชามติอีก นายบัณฑูร กล่าวว่า ถ้าสปช.และประชาชนลงมติเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นการยืนยันคู่กันว่า ร่างรัฐธรรมนูญได้รับการสนับสนุน หากประชาชนโหวตไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชน
** "เทียนฉาย"ไม่รักมุกสปช.ถกรอบ 2
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีมีข้อเสนอให้นำรัฐธรรมนูญปี 40-50 มาทำประชามติประกบกับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่าง ให้ประชาชนเลือก ว่า ไม่เข้าใจ แปลกใจ แต่ งงว่าถ้าจะใช้โมเดลเอาของเก่ามาเปรียบเทียบที่ร่างกันอยู่ จะร่างกันทำไม คนเสนอไม่คิดว่าเสียเวลาหรือ ไม่คิดว่าที่ร่างกันอยู่ ดีกว่าพัฒนากว่าอดีตหรือ เรื่องนี้ดีหรือไม่จึงมาถามตนไม่ได้ ควรไปตั้งคำถามกับพรรคการเมืองว่า เจนตาที่เสนอแนวคิดมาเวลานี้ ต้องการอะไร คงกลัวจะเหงาหรือเปล่า ทั้งนี้ ยิ่งวิจารณ์มาก ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ร่าง แต่อยากให้ทุกฝ่าย วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ รอให้เห็นร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายเสียก่อน
ส่วนประเด็นที่ สปช. อาจขออภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก รอบ 2 ก่อนโหวตลงมติเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 23 ก.ค.- 6 ส.ค.นั้น นายเทียนฉาย ไม่ทราบเรื่อง ยังไม่ได้รับการประสานหารือ จากทั้ง วิปสปช. หรือกรรมาธิการยกร่างฯ อย่างเป็นทางการ ยังตอบไม่ได้ว่า หากมีผู้ยื่นความประสงค์ขออภิปรายมาจริง จะตัดสินใจอย่างไร เพราะยังไม่ถึงเวลา
นายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะอนุกรรมาธิการจัดทำประเด็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ สปช. กล่าวภายหลังการประชุมพิจารณาจัดทำประเด็น คำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญโดยมีข้อสรุปการจัดโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งแรก วันที่ 15 พ.ค. ที่ห้อง 213-216 อาคารรัฐสภา 2 โดยจะเชิญผู้แทนพรรคการเมือง 74 พรรคการเมือง ผู้แทนสมาคมตำรวจ
สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชน ตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ อย่างรอบด้าน พร้อมกับกำหนดวันที่ 17 พ.ค. เวลา 12.00 น. เป็นวันสุดท้าย ที่สมาชิกจะสามารถยื่นแสดงความเห็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนจะรวบรวมน้ำหนักการยื่นคำขอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป
ด้านนายนิรันดร์ พันทรกิจ สปช. กล่าวว่า ในการทำคำขอแปรญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองทุกคนส่งคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญภายในวันที่ 11 พ.ค. และจะนำความเห็นของทุกคนมาร่วมพิจารณา ก่อนเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ส่วนการรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองในวันที่ 15 พ.ค. จะรับฟังแล้วนำเข้าสู่กระบวนการให้เสร็จภายในวันที่ 20 พ.ค.
** "สมบัติ"เตรียมจัดสัมมนา 2 ครั้ง
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงภายหลังการประชุมเมื่อวานนี้ ว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดสัมมนา 2 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็น เพื่อขอเสนอญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ โดยครั้งแรกจะมีขึ้นในวันที่15 พ.ค.นี้ ซึ่งจะเชิญตัวแทนของพรรคการเมืองทั้ง 74 พรรค กับภาคประชาชนต่างๆ และครั้งที่ 2 จะเป็นการเชิญคณบดี หรือตัวแทนจากคณะนิติศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อมาให้ความเห็นเพิ่มเติมต่อการเสนอญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ คณะอนุกมธ.เตรียมญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี นายดิเรก ถึงฝั่ง เป็นประธาน จะรวบรวมความเห็นต่างๆ ทั้งจากกมธ.และจากการสัมมนาทั้ง 2 ครั้ง ก่อนร่างเป็นญัตติขอแก้ไข เพื่อส่งไปให้ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ภายในวันที่ 25 พ.ค.นี้ เชื่อว่าความเห็นจากการสัมมนาทั้ง 2 ครั้ง น่าจะมีประเด็นที่ตรงกัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับการเสนอขอแก้ไข ถ้ามีส่วนที่เห็นแย้ง แต่มีนัยยะสำคัญ ทางกมธ. ก็จะเพิ่มเติมเป็นญัตติให้
เมื่อถามว่า พรรคการเมืองจะขออนุญาต คสช. เพื่อจัดประชุมพรรคระดมความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ นายสมบัติ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับคสช.ว่าจะอนุญาตหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญ มีผลต่อพรรคการเมือง ในฐานะผู้ใช้ ซึ่งหากเป็นการปรึกษาหารือกันธรรมดา ไม่ได้สร้างเงื่อนไข ก็ไม่น่ามีปัญหา ส่วนเรื่องการทำประชามติ ก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งข้อดี ถ้าทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วย รัฐธรรมนูญก็จะมีความชอบธรรม ส่วนข้อเสีย ก็จะทำให้การเลือกตั้งล่าช้า เพราะการทำประชามติ ต้องใช้เวลาเพื่อให้ประชาชนในการทำความเข้าใจ ซึ่งการทำประชามติที่เหมาะที่สุดคือ ต้องทำประเด็นใดประเด็นเดียว อย่าง สก๊อตแลนด์ ขอแยกจากสหราชอาณาจักร เพราะในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 302 มีรายละเอียดที่ผิดตรรกะ เช่น เวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องทำประชามติ แต่ก่อนประกาศกลับไม่ต้องทำ ซึ่งไม่สมเหตุสมผล แต่ถ้าจะทำประชามติรายประเด็น หรือรายมาตรา ก็จะยุ่งยากมาก ขณะเดียวกันบรรยากาศทางการเมืองก็มีส่วน เพราะเริ่มมีความกังวลกันว่า การทำประชามติ อาจจะทำให้เกิดการเผชิญหน้า แล้วบ้านเมืองจะช้ำไปมากกว่านี้ หรือไม่ เพราะคนชอบก็จะสนับสนุน แต่คนไม่ชอบ ก็อาจจะไม่สนับสนุน แต่ทั้งนี้ส่วนตัวคิดว่า การทำประชามติ น่าจะมีผลดีมากกว่า
** สปช.จัด 8 กลุ่มเสนอญัตติแก้ไขรธน.
นายวันชัย สอนสิริ สมาชิกสปช. ในฐานะคณะผู้ประสานงานในการประมวลคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้สรุปการจัดกลุ่มยื่นญัตติแก้ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว โดยจัดกลุ่มละ 26 คน จำนวน 8 กลุ่ม โดยจะต้องยื่นคำแปรญัตติในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ซึ่งในภาพรวมประเด็นที่ได้มีการพูดคุยกันเพื่อขอแก้ไขในภาพรวม เช่น ในเรื่องการเมืองมีการขอแก้ไขค่อนข้างมาก เรื่องที่นายกฯ เรื่องอำนาจนายกฯ ที่มีสิทธิเสนอกฎหมาย การอภิปรายไว้วางใจ เรื่องที่มา ส.ส.- ส.ว. เรื่องที่มากรรมการปฏิรูปฯ เรื่องกรรมการปรองดอง คิดว่าจะมีคนขอแก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่พอสมควร ประเด็นเรื่องอำนาจพลเมืองที่มีความไม่ชัดเจน ทั้งหมดเป็นสิทธิของแต่ละกลุ่มที่จะไปคิดปรึกษาหารือกัน
ทั้งนี้ เชื่อว่าการแก้ไขโดย สปช. จะประสบความสำเร็จ หากมีการวางแผน มียุทธศาสตร์ดี แล้วเป็นกระแสที่ให้มีการแก้ไขมากๆ เชื่อว่ากรรมาธิการยกร่างฯ จะไม่ดื้อดึง ไม่แข็งขืน เท่าที่เราฟังอภิปรายของสปช. ทั้งหมด 7 วัน ทำให้แนวคิดของกรรมาธิการยกร่างฯ ก็อ่อนลง มีท่าทีที่จะปรับเปลี่ยน เชื่อถ้าแต่ละคณะวางแผนดีๆ ให้มีความเห็นที่หลากหลายในประเด็นสำคัญๆ เชื่อว่าจะแก้ไขสำเร็จได้แน่นอน และแก้เยอะด้วย
"ผมเชื่อว่าต้องแก้ ถ้าสปช. จำนวนมากขอแก้ไข แล้วถ้าไม่แก้ไข ผมคิดว่าร่างรัฐธรมนูญฉบับนี้จะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสปช. คือถ้าสปช. ส่วนใหญ่ขอแก้ แล้วไม่แก้ให้เขา ผมเชื่อว่าเขาไม่ยอมหรอก อาจจะถูกคว่ำได้" นายวันชัย กล่าว