นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เรียกร้องให้ประชาชนช่วยกันปกป้องร่างรัฐธรรมนูญจากนักการเมืองที่ออกมาต่อต้าน เพราะเสียประโยชน์ ว่า ตนอยากให้ประธานกรรมาธิการฯใช้เหตุผลในการแลกเปลี่ยนกับผู้ที่แสดงความเห็น
" สิ่งที่ผมต้องการมากกว่า คือคำชี้แจงใน 3 มาตรา ที่เป็นอันตรายกับประเทศชาติ และไม่เกี่ยวอะไรกับผลประโยชน์นักการเมืองเลย คือ มาตรา 181, 182 กับการให้อำนาจคณะกรรมการปรองดองฯ เสนอพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ให้กับบุคคลที่ให้ข้อมูล หรือสำนึกผิด ต่อคณะกรรมการฯจะเป็นช่องทางนำไปสู่ความขัดแย้ง เป็นการเขียนที่ผิดปกติ สวนทางกับคำชี้แจงของประธานกรรมาธิการฯ ที่อ้างว่าเป็นการตราพระราชกฤษฎีกา ในลักษณะทั่วไป แต่รัฐธรรมนูญที่ร่าง เจาะจงให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการปรองดองโดยตรง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่ นายบวรศักดิ์ อ้างว่า เป็นการเสนอพระราชกฤษฎีกาตามปกตินั้น ความจริงไม่ปกติ เพราะกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาตามปกติ มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตราอื่นแล้ว คือ เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่ที่เขียนใหม่ ให้อำนาจกรรมการปรองดอง และให้เป็นความรับผิดชอบของ ครม. ที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยส่วนตัวมองว่า จะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ประเด็นเหล่านี้ กลายเป็นประเด็นสาธารณะ ในขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกอบกับการเขียนเช่นนี้ ถ้าบอกว่าเป็นเรื่องปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องเขียน เว้นแต่ว่า การเสนอของกรรมการ ปรองดอง จะไม่ทำตามแนวปฏิบัติที่เคยทำ เช่น ไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม อภัยโทษให้กับคนที่ทุจริต คอร์รัปชัน ทั้งนี้ยืนยันว่า แม้ไม่มีมาตรานี้ ก็ไม่เป็นอุปสรรคปัญหา ในการทำงานเรื่องการปรองดอง
"ผมยากจะย้ำว่า งานของ คอป. และคณะกรรมการปฏิรูป ที่ตั้งในสมัยผมเป็นนายกฯ เสร็จสิ้นหลังจากที่ผมพ้นจากตำแหน่ง หรือในขณะที่พ้นตำแหน่งพอดี แต่มันไม่ได้สูญเปล่า มีกระบวนการทางการเมืองที่ต่อเนื่องอยู่ เพียงแต่รัฐบาลแต่ละชุด ให้ความสำคัญไม่เหมือนกัน ไม่เช่นนั้นทุกวันนี้คงไม่มีการพูดเรื่องภาษีที่ดิน พ.ร.บ.จังหวัดจัดการตนเอง สิ่งที่ผมพยายามเสนอว่า ถ้าอยากทำปรองดองให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม อย่าเปิดทางสร้างเงื่อนไขใหม่ จะบอกว่าผมระแวงเกินเหตุมั้ย ผมไม่ทราบท่านจำได้หรือเปล่าว่า วันที่มีการพยายามลากสถาบันพระปกเกล้า ไปทำเรื่องนิรโทษกรรม ผมแสดงความเห็นค่อนข้างรุนแรงว่า จะนำไปสู่กฎหมายนิรโทษกรรม ที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง แล้วก็เกิดขึ้นจริง ถ้าบอกว่านั่นเป็นความระแวง ผมก็บอกว่า เป็นความระแวงที่ในที่สุด พิสูจน์ออกมาว่าสมควรระแวง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ขอให้นายบวรศักดิ์ ตอบถึงเหตุผล ความจำเป็นเพื่อช่วยกันทำให้รัฐธรรมนูญดีขึ้น มาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจนักการเมืองที่บ้าอำนาจ ตนไม่เห็นด้วย เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับประโยชน์ของนักการเมือง แต่เป็นประโยชน์ของความเหมาะสม ในการถ่วงดุลและการรักษาหลักการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ
" ผมจึงขอว่าอย่าพูดรวม เพราะ 3 ประเด็น ที่ผมยกขึ้นมานั้น ไม่ใช่ประโยชน์ของนักการเมือง ตรงกันข้าม จะเป็นประโยชน์เฉพาะนักการเมืองโกง และนักการเมืองที่บ้าอำนาจ จะบอกว่า พรรคใหญ่ประสานเสียงกัน ก็ไม่จริง เพราะไม่ได้ยินพรรคไหนพูดเรื่องอภัยโทษ หรือการให้อำนาจพิเศษออกกฎหมายภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งยืนยันได้ว่า ถ้ามีบทบัญญัติแบบนี้ กฎหมายนิรโทษกรรม ก็คงผ่านโดยง่าย และผมก็ไม่เห็นพรรคการเมืองไหนพูดเรื่องนายกฯ เปิดญัตติอภิปรายไว้วางใจตัวเองได้ เพราะฉะนั้น กรุณาแยกแยะ เนื่องจากความน่าเชื่อถือที่จะมีต่อรัฐธรรมนูญในที่สุดอยู่ที่เหตุผลของกรรมาธิการฯ ถ้าเหตุผลไม่ชัดเจน สุดท้ายงานท่านจะสูญเปล่า ผมพูดด้วยความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง ไม่ใช่โจมตี หรือมีอคติกับผู้ร่าง แต่มีจุดอ่อนที่เป็นอันตราย เป็นหน้าที่ของผมที่ต้องท้วงติง จึงอยากให้ท่านตอบอย่างสร้างสรรค์ด้วย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่ นายบวรศักดิ์ อ้างว่า หาก ครม.ไม่เห็นชอบ หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่พระราชทานลงมา ก็ถือว่า ร่าง พระราชกฤษฎีกา ที่เสนอโดยคณะกรรมการปรองดองฯ จบไปนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มี 2 ประเด็น คือ ในส่วนของครม.เขียนว่า ก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อครม. จะมีปัญหาทางกฎหมายตามมาให้เป็นวิกฤตความขัดแย้งในประเทศอีกหรือไม่ และน่าสังเกตว่า เรื่องปฏิรูปเขียนชัดว่า ถ้าครม.ไม่เอา ให้ประชาชนตัดสินผ่านกระบวนการประชามติ แต่เรื่องนี้ไม่เขียนบอกว่า ก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อครม.เท่านั้น จึงอยากถามว่า ไม่เป็นการสร้างความขัดแย้งขึ้นหรือ หากครม.ไม่ทำตาม
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า กรณีองค์พระมหากษัตริย์ อยากถามนายบวรศักดิ์ ว่า สมควรแล้วหรือ ถ้าเป็นพระราชอำนาจ ที่จะให้สถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาอยู่ในวังวนความขัดแย้งทางการเมือง จึงอยากให้รับฟังเหตุผล ตนไม่ได้ตำหนิ แม้ว่าอาจมองคนละมุม แต่ไม่ควรมองข้ามเรื่องที่ตน และนักวิชาการออกมาเตือน เพราะไม่มีพรรคการเมืองอื่นพูดเรื่องนี้เลย
เมื่อถามว่า กรรมาธิการยกร่างฯ มีธงเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นหรือไม่ เพราะตอนหลังเริ่มพูดว่า ให้รัฐธรรมนูญใช้ไปก่อน 5 ปี แล้วค่อยแก้ไข ซึ่งตรงกับวาระที่กำหนดในภาค 4 การปฏิรูป และการสร้างความปรองดองพอดี นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า บางเรื่องอาจถกเถียงกันได้ ว่าใช้แล้วจะเป็นผลอย่างไร โดยเฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกระบวนการทำงานทางการเมือง แต่บางเรื่องที่ตนทักท้วง หากใช้ในทางที่ผิดเพียงครั้งเดียว ความเสียหายใหญ่หลวงกว่าที่จะบอกว่า ไม่เป็นไร รอหลังจากนั้นแล้วค่อยมาแก้ไข ถ้าอยากลองใช้บางเรื่อง เช่น ระบบเลือกตั้ง ก็ทำได้ แต่เรื่องที่เปิดโอกาสให้เกิดความขัดแย้งวิกฤตในบ้านเมือง กรุณาอย่าเอาประเทศไปเสี่ยง ทั้งนี้เห็นว่า ท่าทีของกรรมาธิการยกร่างฯ ในช่วงแรกก็บอกว่า พร้อมรับฟังความเห็น แต่แปลกใจว่า เริ่มใช้วิธีมุ่งโจมตีคนเห็นต่าง ทั้งๆ ที่ ถ้าตนจะทำบ้าง ก็ทำได้ แต่เห็นว่าไม่สร้างสรรค์ สวนทางกับที่ คสช. หรือ สปช. หรือกรรมาธิการยกร่างฯ อ้างเสมอว่า ทำไมไม่เอาเรื่องสาระมาเพื่อนำพาบ้านเมืองไปข้างหน้า
ส่วนกรณีที่กรรมาธิการยกร่าง ฯระบุว่า ในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ จะเชิญตัวแทนจาก 10 พรรคการเมือง ที่มี ส.ส.ในสภาครั้งที่ผ่านมา ไปเสนอความเห็นต่อกรรมาธิการฯนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เห็นแต่ที่ให้ส่งเอกสารไป ซึ่งหากมีการเชิญมาจริง ตนพร้อมที่จะไปด้วยตัวเอง โดยไม่คิดตำหนิใคร เพราะเห็นใจว่า คงเครียด เนื่องจากโดนหลายทาง แต่น่าจะใช้โอกาสนี้ ทำให้กระบวนการเปิดกว้าง และเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ถ้าจะชวนคนทะเลาะ มีคนพร้อมทะเลาะเยอะไปหมด ไม่เป็นผลดีต่อบ้านเมือง อย่าทำเลย เพราะตนให้ความร่วมมือเต็มที่ แต่แปลกใจว่า ข้อท้วงติงที่เป็นเหตุ เป็นผล ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นักการเมือง ทำไมจึงใช้วิธีแบบนี้ตอบโต้ ตนจึงเป็นห่วงว่า ถ้าเดินไปแบบนี้ สุดท้ายรัฐธรรมนูญ จะเจอปัญหาและชนวนความขัดแย้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนิรโทษกรรม จะกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำไม่ได้ ในรัฐบาลเลือกตั้ง แต่ทำได้ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายกฯก็บอกว่า ไม่ทำ แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านไป ก็ไม่ทราบใครจะเป็นคนได้ใช้ ได้ทำ แต่มีคำถามว่า สังคมผ่านวิกฤตสองปี ด้วยเหตุจากการพยายามออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทำไมจึงจะย้อนกลับไปสู่สถานการณ์เดิม วันนี้ให้นิรโทษกรรมประชาชนที่ไปชุมนุมฝ่าฝืนกฎหมายพิเศษทุกกลุ่มเลย ไม่มีใครคัดค้านแม้แต่คนเดียว จะได้เลิกเอาเรื่องนิรโทษกรรม มาเป็นข้ออ้าง โดยเอาประชาชนผู้บริสุทธิ์มาเป็นตัวประกัน ที่จะพ่วงกับแกนนำและ คนโกง ถ้าทำ ก็ไม่ต้องระแวง แต่ไม่ทำ ทำไมจึงต้องย้อนไปเปิดประตูที่มาของวิกฤตครั้งที่แล้ว ให้กลับมาอีกรอบ
นายอภิสิทธิ์ ยังฝากถึง คสช. และ ครม. ที่มีสิทธิ์แปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญ ต่อกรรมาธิการยกร่างฯ ว่า อยากให้เสนอแก้ไข 3 มาตรา ที่ตนหยิบยกขึ้นมา และอยากให้ฟังเหตุผลในเรื่องอื่นๆ อย่าเอาประโยชน์นักการเมืองมาพิจารณา แต่ให้ฟังที่เหตุผล แม้จะเป็นคำพูดของนักการเมือง ขอให้ห่วงการเมือง ห่วงระบบบ้านเมือง เพราะฉะนั้นอย่ามาตอบโต้อีกว่า นักการเมืองมีปัญหา เพราะนักการเมืองที่โกงไม่ต่อต้านเรื่องนี้ แต่นักการเมืองที่ไม่โกงต่างหาก ที่ออกมาพูด ขอให้ฟังบ้าง ไม่อยากให้กลายเป็นการมาทะเลาะกันในอนาคต ยากให้จบ ไม่ใช่มาเถียงกันเรื่องรัฐธรรมนูญอีก แต่เดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ระบบสวัสดิการ รับมือกับสังคมผู้สูงอายุ และ อาเซียน ไม่ใช่มาขัดแย้งเรื่องแก้รัฐธรรมนูญอีก บ้านเมืองจะได้เดินไปข้างหน้า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการทำประชามติ ว่า ไม่ว่าก่อน หรือหลังลงมติ ก็สามารถทำได้ทั้งสองอย่าง คือ ถ้าทำหลังการลงมติสปช. ก็เท่ากับผ่านสองด่าน คือ สปช.แล้วไป ประชามติ และผมยืดหยุ่น ถ้าเห็นว่าข้อเสนอที่ให้เทียบกับรัฐธรรมนูญปี 50 ยังไม่ดี ก็ให้คิดทางเลือก แต่ต้องมีเป้าหมายว่า ก่อนมีกติกาไปใช้เป็นกติกาที่ประชาชนยอมรับ จะได้ไม่มีข้อขัดแย้ง จึงควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่ง ไปเปรียบเทียบด้วย จะดีที่สุด หรือบอกให้ชัดว่า ถ้าไม่รับ แล้วจะทำอะไร เพราะไม่อยากคาดคั้นว่า ต้องทำอะไร
"ถ้าใช้วิธีไม่ผ่านร่างใหม่ ก็อยากให้กระบวนการร่างชัดเจน เพราะถ้าไม่จบไม่สิ้น ก็ไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย แรงกดดันจะกลับมาที่ตัวท่านเอง อาจจะช่วยกันคิดว่า ถ้าจะร่างใหม่ ทำอย่างไรไม่ให้ซ้ำรอยเดิม ผมยืนยันว่า อยากให้กติกาดี มากกว่ารีบเลือกตั้งภายใต้กติกาที่สร้างปัญหาบ้านเมือง ถ้าจุดยืนอย่างนี้ ยังบอกว่านักการเมืองคิดแต่ประโยชน์ตัวเอง ก็ไม่รู้จะว่าอะไรแล้ว เพราะบอกเลยว่า ไม่รีบร้อนที่จะกลับเข้าสู่อำนาจการเป็นส.ส. หรืออะไรเลย แต่ต้องการกติกาที่ดีสำหรับบ้านเมือง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
" สิ่งที่ผมต้องการมากกว่า คือคำชี้แจงใน 3 มาตรา ที่เป็นอันตรายกับประเทศชาติ และไม่เกี่ยวอะไรกับผลประโยชน์นักการเมืองเลย คือ มาตรา 181, 182 กับการให้อำนาจคณะกรรมการปรองดองฯ เสนอพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ ให้กับบุคคลที่ให้ข้อมูล หรือสำนึกผิด ต่อคณะกรรมการฯจะเป็นช่องทางนำไปสู่ความขัดแย้ง เป็นการเขียนที่ผิดปกติ สวนทางกับคำชี้แจงของประธานกรรมาธิการฯ ที่อ้างว่าเป็นการตราพระราชกฤษฎีกา ในลักษณะทั่วไป แต่รัฐธรรมนูญที่ร่าง เจาะจงให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการปรองดองโดยตรง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่ นายบวรศักดิ์ อ้างว่า เป็นการเสนอพระราชกฤษฎีกาตามปกตินั้น ความจริงไม่ปกติ เพราะกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาตามปกติ มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตราอื่นแล้ว คือ เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่ที่เขียนใหม่ ให้อำนาจกรรมการปรองดอง และให้เป็นความรับผิดชอบของ ครม. ที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยส่วนตัวมองว่า จะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ประเด็นเหล่านี้ กลายเป็นประเด็นสาธารณะ ในขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกอบกับการเขียนเช่นนี้ ถ้าบอกว่าเป็นเรื่องปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องเขียน เว้นแต่ว่า การเสนอของกรรมการ ปรองดอง จะไม่ทำตามแนวปฏิบัติที่เคยทำ เช่น ไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม อภัยโทษให้กับคนที่ทุจริต คอร์รัปชัน ทั้งนี้ยืนยันว่า แม้ไม่มีมาตรานี้ ก็ไม่เป็นอุปสรรคปัญหา ในการทำงานเรื่องการปรองดอง
"ผมยากจะย้ำว่า งานของ คอป. และคณะกรรมการปฏิรูป ที่ตั้งในสมัยผมเป็นนายกฯ เสร็จสิ้นหลังจากที่ผมพ้นจากตำแหน่ง หรือในขณะที่พ้นตำแหน่งพอดี แต่มันไม่ได้สูญเปล่า มีกระบวนการทางการเมืองที่ต่อเนื่องอยู่ เพียงแต่รัฐบาลแต่ละชุด ให้ความสำคัญไม่เหมือนกัน ไม่เช่นนั้นทุกวันนี้คงไม่มีการพูดเรื่องภาษีที่ดิน พ.ร.บ.จังหวัดจัดการตนเอง สิ่งที่ผมพยายามเสนอว่า ถ้าอยากทำปรองดองให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม อย่าเปิดทางสร้างเงื่อนไขใหม่ จะบอกว่าผมระแวงเกินเหตุมั้ย ผมไม่ทราบท่านจำได้หรือเปล่าว่า วันที่มีการพยายามลากสถาบันพระปกเกล้า ไปทำเรื่องนิรโทษกรรม ผมแสดงความเห็นค่อนข้างรุนแรงว่า จะนำไปสู่กฎหมายนิรโทษกรรม ที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง แล้วก็เกิดขึ้นจริง ถ้าบอกว่านั่นเป็นความระแวง ผมก็บอกว่า เป็นความระแวงที่ในที่สุด พิสูจน์ออกมาว่าสมควรระแวง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ขอให้นายบวรศักดิ์ ตอบถึงเหตุผล ความจำเป็นเพื่อช่วยกันทำให้รัฐธรรมนูญดีขึ้น มาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจนักการเมืองที่บ้าอำนาจ ตนไม่เห็นด้วย เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับประโยชน์ของนักการเมือง แต่เป็นประโยชน์ของความเหมาะสม ในการถ่วงดุลและการรักษาหลักการตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติ
" ผมจึงขอว่าอย่าพูดรวม เพราะ 3 ประเด็น ที่ผมยกขึ้นมานั้น ไม่ใช่ประโยชน์ของนักการเมือง ตรงกันข้าม จะเป็นประโยชน์เฉพาะนักการเมืองโกง และนักการเมืองที่บ้าอำนาจ จะบอกว่า พรรคใหญ่ประสานเสียงกัน ก็ไม่จริง เพราะไม่ได้ยินพรรคไหนพูดเรื่องอภัยโทษ หรือการให้อำนาจพิเศษออกกฎหมายภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งยืนยันได้ว่า ถ้ามีบทบัญญัติแบบนี้ กฎหมายนิรโทษกรรม ก็คงผ่านโดยง่าย และผมก็ไม่เห็นพรรคการเมืองไหนพูดเรื่องนายกฯ เปิดญัตติอภิปรายไว้วางใจตัวเองได้ เพราะฉะนั้น กรุณาแยกแยะ เนื่องจากความน่าเชื่อถือที่จะมีต่อรัฐธรรมนูญในที่สุดอยู่ที่เหตุผลของกรรมาธิการฯ ถ้าเหตุผลไม่ชัดเจน สุดท้ายงานท่านจะสูญเปล่า ผมพูดด้วยความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง ไม่ใช่โจมตี หรือมีอคติกับผู้ร่าง แต่มีจุดอ่อนที่เป็นอันตราย เป็นหน้าที่ของผมที่ต้องท้วงติง จึงอยากให้ท่านตอบอย่างสร้างสรรค์ด้วย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่ นายบวรศักดิ์ อ้างว่า หาก ครม.ไม่เห็นชอบ หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่พระราชทานลงมา ก็ถือว่า ร่าง พระราชกฤษฎีกา ที่เสนอโดยคณะกรรมการปรองดองฯ จบไปนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มี 2 ประเด็น คือ ในส่วนของครม.เขียนว่า ก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อครม. จะมีปัญหาทางกฎหมายตามมาให้เป็นวิกฤตความขัดแย้งในประเทศอีกหรือไม่ และน่าสังเกตว่า เรื่องปฏิรูปเขียนชัดว่า ถ้าครม.ไม่เอา ให้ประชาชนตัดสินผ่านกระบวนการประชามติ แต่เรื่องนี้ไม่เขียนบอกว่า ก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อครม.เท่านั้น จึงอยากถามว่า ไม่เป็นการสร้างความขัดแย้งขึ้นหรือ หากครม.ไม่ทำตาม
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า กรณีองค์พระมหากษัตริย์ อยากถามนายบวรศักดิ์ ว่า สมควรแล้วหรือ ถ้าเป็นพระราชอำนาจ ที่จะให้สถาบันพระมหากษัตริย์ เข้ามาอยู่ในวังวนความขัดแย้งทางการเมือง จึงอยากให้รับฟังเหตุผล ตนไม่ได้ตำหนิ แม้ว่าอาจมองคนละมุม แต่ไม่ควรมองข้ามเรื่องที่ตน และนักวิชาการออกมาเตือน เพราะไม่มีพรรคการเมืองอื่นพูดเรื่องนี้เลย
เมื่อถามว่า กรรมาธิการยกร่างฯ มีธงเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นหรือไม่ เพราะตอนหลังเริ่มพูดว่า ให้รัฐธรรมนูญใช้ไปก่อน 5 ปี แล้วค่อยแก้ไข ซึ่งตรงกับวาระที่กำหนดในภาค 4 การปฏิรูป และการสร้างความปรองดองพอดี นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า บางเรื่องอาจถกเถียงกันได้ ว่าใช้แล้วจะเป็นผลอย่างไร โดยเฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกระบวนการทำงานทางการเมือง แต่บางเรื่องที่ตนทักท้วง หากใช้ในทางที่ผิดเพียงครั้งเดียว ความเสียหายใหญ่หลวงกว่าที่จะบอกว่า ไม่เป็นไร รอหลังจากนั้นแล้วค่อยมาแก้ไข ถ้าอยากลองใช้บางเรื่อง เช่น ระบบเลือกตั้ง ก็ทำได้ แต่เรื่องที่เปิดโอกาสให้เกิดความขัดแย้งวิกฤตในบ้านเมือง กรุณาอย่าเอาประเทศไปเสี่ยง ทั้งนี้เห็นว่า ท่าทีของกรรมาธิการยกร่างฯ ในช่วงแรกก็บอกว่า พร้อมรับฟังความเห็น แต่แปลกใจว่า เริ่มใช้วิธีมุ่งโจมตีคนเห็นต่าง ทั้งๆ ที่ ถ้าตนจะทำบ้าง ก็ทำได้ แต่เห็นว่าไม่สร้างสรรค์ สวนทางกับที่ คสช. หรือ สปช. หรือกรรมาธิการยกร่างฯ อ้างเสมอว่า ทำไมไม่เอาเรื่องสาระมาเพื่อนำพาบ้านเมืองไปข้างหน้า
ส่วนกรณีที่กรรมาธิการยกร่าง ฯระบุว่า ในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ จะเชิญตัวแทนจาก 10 พรรคการเมือง ที่มี ส.ส.ในสภาครั้งที่ผ่านมา ไปเสนอความเห็นต่อกรรมาธิการฯนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เห็นแต่ที่ให้ส่งเอกสารไป ซึ่งหากมีการเชิญมาจริง ตนพร้อมที่จะไปด้วยตัวเอง โดยไม่คิดตำหนิใคร เพราะเห็นใจว่า คงเครียด เนื่องจากโดนหลายทาง แต่น่าจะใช้โอกาสนี้ ทำให้กระบวนการเปิดกว้าง และเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ถ้าจะชวนคนทะเลาะ มีคนพร้อมทะเลาะเยอะไปหมด ไม่เป็นผลดีต่อบ้านเมือง อย่าทำเลย เพราะตนให้ความร่วมมือเต็มที่ แต่แปลกใจว่า ข้อท้วงติงที่เป็นเหตุ เป็นผล ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นักการเมือง ทำไมจึงใช้วิธีแบบนี้ตอบโต้ ตนจึงเป็นห่วงว่า ถ้าเดินไปแบบนี้ สุดท้ายรัฐธรรมนูญ จะเจอปัญหาและชนวนความขัดแย้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องนิรโทษกรรม จะกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำไม่ได้ ในรัฐบาลเลือกตั้ง แต่ทำได้ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายกฯก็บอกว่า ไม่ทำ แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านไป ก็ไม่ทราบใครจะเป็นคนได้ใช้ ได้ทำ แต่มีคำถามว่า สังคมผ่านวิกฤตสองปี ด้วยเหตุจากการพยายามออกกฎหมายนิรโทษกรรม ทำไมจึงจะย้อนกลับไปสู่สถานการณ์เดิม วันนี้ให้นิรโทษกรรมประชาชนที่ไปชุมนุมฝ่าฝืนกฎหมายพิเศษทุกกลุ่มเลย ไม่มีใครคัดค้านแม้แต่คนเดียว จะได้เลิกเอาเรื่องนิรโทษกรรม มาเป็นข้ออ้าง โดยเอาประชาชนผู้บริสุทธิ์มาเป็นตัวประกัน ที่จะพ่วงกับแกนนำและ คนโกง ถ้าทำ ก็ไม่ต้องระแวง แต่ไม่ทำ ทำไมจึงต้องย้อนไปเปิดประตูที่มาของวิกฤตครั้งที่แล้ว ให้กลับมาอีกรอบ
นายอภิสิทธิ์ ยังฝากถึง คสช. และ ครม. ที่มีสิทธิ์แปรญัตติร่างรัฐธรรมนูญ ต่อกรรมาธิการยกร่างฯ ว่า อยากให้เสนอแก้ไข 3 มาตรา ที่ตนหยิบยกขึ้นมา และอยากให้ฟังเหตุผลในเรื่องอื่นๆ อย่าเอาประโยชน์นักการเมืองมาพิจารณา แต่ให้ฟังที่เหตุผล แม้จะเป็นคำพูดของนักการเมือง ขอให้ห่วงการเมือง ห่วงระบบบ้านเมือง เพราะฉะนั้นอย่ามาตอบโต้อีกว่า นักการเมืองมีปัญหา เพราะนักการเมืองที่โกงไม่ต่อต้านเรื่องนี้ แต่นักการเมืองที่ไม่โกงต่างหาก ที่ออกมาพูด ขอให้ฟังบ้าง ไม่อยากให้กลายเป็นการมาทะเลาะกันในอนาคต ยากให้จบ ไม่ใช่มาเถียงกันเรื่องรัฐธรรมนูญอีก แต่เดินหน้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ระบบสวัสดิการ รับมือกับสังคมผู้สูงอายุ และ อาเซียน ไม่ใช่มาขัดแย้งเรื่องแก้รัฐธรรมนูญอีก บ้านเมืองจะได้เดินไปข้างหน้า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการทำประชามติ ว่า ไม่ว่าก่อน หรือหลังลงมติ ก็สามารถทำได้ทั้งสองอย่าง คือ ถ้าทำหลังการลงมติสปช. ก็เท่ากับผ่านสองด่าน คือ สปช.แล้วไป ประชามติ และผมยืดหยุ่น ถ้าเห็นว่าข้อเสนอที่ให้เทียบกับรัฐธรรมนูญปี 50 ยังไม่ดี ก็ให้คิดทางเลือก แต่ต้องมีเป้าหมายว่า ก่อนมีกติกาไปใช้เป็นกติกาที่ประชาชนยอมรับ จะได้ไม่มีข้อขัดแย้ง จึงควรมีรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่ง ไปเปรียบเทียบด้วย จะดีที่สุด หรือบอกให้ชัดว่า ถ้าไม่รับ แล้วจะทำอะไร เพราะไม่อยากคาดคั้นว่า ต้องทำอะไร
"ถ้าใช้วิธีไม่ผ่านร่างใหม่ ก็อยากให้กระบวนการร่างชัดเจน เพราะถ้าไม่จบไม่สิ้น ก็ไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย แรงกดดันจะกลับมาที่ตัวท่านเอง อาจจะช่วยกันคิดว่า ถ้าจะร่างใหม่ ทำอย่างไรไม่ให้ซ้ำรอยเดิม ผมยืนยันว่า อยากให้กติกาดี มากกว่ารีบเลือกตั้งภายใต้กติกาที่สร้างปัญหาบ้านเมือง ถ้าจุดยืนอย่างนี้ ยังบอกว่านักการเมืองคิดแต่ประโยชน์ตัวเอง ก็ไม่รู้จะว่าอะไรแล้ว เพราะบอกเลยว่า ไม่รีบร้อนที่จะกลับเข้าสู่อำนาจการเป็นส.ส. หรืออะไรเลย แต่ต้องการกติกาที่ดีสำหรับบ้านเมือง" นายอภิสิทธิ์ กล่าว