นักข่าวนักหนังสือพิมพ์กับผู้มีอำนาจมักเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาทุกยุคสมัย เพราะนักข่าวมีหน้าที่ตรวจสอบสอบถามถึงการทำงานของผู้มีอำนาจ เป็นผู้ถามแทนในสิ่งที่ประชาชนอยากรู้และผู้มีอำนาจควรเปิดเผยให้ประชาชนทราบ เพราะในความเป็นรัฐนั้นสิ่งที่ใหญ่ที่สุดคือประชาชน ไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับใช้ประชาชน
สื่อไม่ใช่ประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่จะนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ด้านดีด้านเดียว แต่ต้องเสนอแง่มุมทุกด้านที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานของผู้มีอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน และจะต้องแสดงจุดยืนเช่นนั้นไม่ว่าผู้มีอำนาจจะเข้าสู่อำนาจด้วยวิถีทางใดก็ตาม
การแสดงความไม่พอใจต่อการรายงานของสื่อหรือการซักถามของนักข่าวไม่ค่อยเกิดขึ้นกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่เขาได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่มักเกิดจากผู้มีอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร อาจเป็นเพราะรัฐประหารแล้วทำให้ได้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ที่แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินจึงไม่ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เป็นผู้ยิ่งใหญ่จนลืมไปว่า คนที่ใหญ่กว่าก็คือ ประชาชน หรือคิดแบบหยาบๆ ว่าไม่ได้อำนาจมาเพราะประชาชนก็เลยไม่ต้องง้อประชาชน
ในอดีตนั้นสื่อที่มีอุดมการณ์จะไม่ยอมสยบยอมต่อผู้มีอำนาจที่ใช้กำลังบังคับขู่เข็ญยอมถูกคุมขังจำคุกหรือล่ามโซ่แท่นพิมพ์ดีกว่าจะยอมให้ผู้มีอำนาจจำกัดสิทธิและเสรีภาพ แม้ว่าปัจจุบันการกระทำเช่นนั้นของผู้มีอำนาจต่อสื่อมวลชนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายเพราะถูกสังคมโลกจับตาอยู่ แต่น้ำเสียงและการข่มขู่ก็ยังเกิดขึ้นให้เห็น
จริงอยู่ว่าคนที่เข้ามารัฐประหารนั้นมีทั้งคนที่ต้องการอำนาจและสถานการณ์บังคับให้เป็นไป และถ้าจะพูดไปแล้วการรัฐประหารของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานั้น แทบจะเป็นหนทางเดียวที่จะคลี่คลายวิกฤตของบ้านเมือง การรัฐประหารครั้งนี้จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก
รู้กันอยู่ว่า ก่อนการรัฐประหารครั้งนี้ ทั้งฝ่ายที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาลของทักษิณและฝ่ายของทักษิณเอง ต่างก็มองไม่ออกถึงทางเดินข้างหน้าว่าจะเดินไปอย่างไร ผู้ชุมนุมก็เหนื่อยล้าเต็มที ฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐก็เดินหน้าไม่ได้กลายเป็นสุญญากาศต่างก็รู้กันทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ ทางเดียวที่จะเดินหน้าต่อได้ก็คือให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ เคยมีคนบอกว่า ฝ่ายเพื่อไทยบางคนก็คิดถึงทางออกเดียวนี้ในวันที่รู้ว่าการเมืองเดินมาถึงทางตันตัวเองบริหารประเทศต่อไปไม่ได้แล้ว
สื่อมวลชนส่วนใหญ่ก็ไม่ต่อต้าน เพราะมองเห็นเช่นเดียวกันว่า รัฐประหารเป็นทางออกเดียวของประเทศที่มีความขัดแย้งรุนแรงและรัฐบาลไม่สามารถบริหารบ้านเมืองต่อไปได้ หากทหารไม่เข้ามาก็จะเกิดความรุนแรงและวิสัญญีในประเทศ
รัฐประหารของพล.อ.ประยุทธ์จึงเป็นรัฐประหารที่ราบรื่น อย่าไปคิดว่าคนไม่ออกมาต่อต้านเพราะทหารมีอาวุธ แต่เพราะทุกฝ่ายความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งออกมาเป็นสองขั้วต่างมองไม่เห็นถึงทางออกนั่นแหละ
เมื่อพล.อ.ประยุทธ์เข้ามาแบกรับภาระของบ้านเมืองไว้บนบ่าในภาวะที่บ้านเมืองถึงทางตัน จึงคิดว่าตัวเองนั้นเป็นผู้เสียสละที่ต้องเข้ามาแบกรับการบูรณะบ้านเมืองจากซากปรักหักพังความขัดแย้งของนักการเมืองและประชาชนกว่าสิบปี
แต่สื่อมวลชนก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองในฐานะปากเสียงของประชาชนไม่ว่า รัฐบาลจะมาจากไหน การตั้งคำถามของนักข่าวและการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของคอลัมนิสต์และนักวิเคราะห์ต่างๆ ก็เกิดขึ้น แน่นอนมีทั้งคนที่มีเจตนาดีที่อยากเห็นรัฐบาลนี้นำพาประเทศเดินไปถูกทิศถูกทาง และอาจมีบ้างที่ต้องการบ่อนเซาะเพราะแอบแฝงเลือกข้างทางการเมืองและไม่ยอมรับการรัฐประหาร
ตรงนี้แหละครับ ผมคิดว่า ผู้มีอำนาจจะต้องใช้วุฒิภาวะแยกแยะให้ได้ว่า เสียงที่สะท้อนการทำงานของตัวเองนั้น แต่ละเสียงมีเจตนาอย่างไร เป็นเสียงที่หวังดีต่อประเทศชาติหรือเสียงที่บ่อนเซาะภาวะที่จำยอมต่อการเข้ามาบูรณะประเทศของรัฐบาล ซึ่งในทางการข่าวแล้วรัฐบาลทหารน่าจะรู้ได้ว่า กลุ่มไหนค่ายไหนหรือคนไหนมีจุดยืนทางการเมืองอย่างไร
แน่นอนว่า อาจเป็นเพราะพล.อ.ประยุทธ์มีความเชื่อมั่นว่าตัวเองเข้ามาแบกรับภาระเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศที่สั่งสมมาจากรัฐบาลอื่นจึงอ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ แต่พล.อ.ประยุทธ์ก็ควรจะต้องแยกมิตรแยกศัตรูให้ได้ไม่ใช่ด่ากราดเหมารวมการทำงานของสื่อมวลชนไปเสียหมด หรือกระทั่งกล่าวหาว่า สื่อทำให้สังคมแตกแยกทั้งที่สื่อก็มีเจตนาดีต่อประเทศเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า แม้พล.อ.ประยุทธ์จะได้อำนาจมาจากปลายกระบอกปืนที่เรียกขานกันว่า รัฐบาลเผด็จการแต่รัฐบาลนี้ก็ไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อจนเกินไป ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วอาจเป็นเพราะรัฐบาลไม่อยากถูกเรียกว่าเป็นเผด็จการและรู้ตัวว่าการปิดกั้นสื่อนั้นจะเป็นผลเสียต่อรัฐบาลมากกว่า
ความพยายามเก็บซ่อนความเป็นเผด็จการโดยใช้อำนาจตามความจำเป็นของรัฐบาลก็เป็นสิ่งที่ดี แต่น่าเสียดายที่พล.อ.ประยุทธ์แสดงอารมณ์หงุดหงิดและแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวใส่นักข่าวที่คอยติดตามรายงานข่าวภารกิจของนายกรัฐมนตรีในหลายต่อหลายครั้ง มีทั้งหลุดคำหยาบและคำพูดที่ดูทีเล่นทีจริงว่าจะใช้อำนาจจัดการกับสื่อจนกระทั่งสำนักข่าวต่างประเทศเอาไปรายงานว่านายกฯ จะสั่งประหารนักข่าว
อย่าคิดว่า สื่อมวลชนเป็นใครยิ่งใหญ่มาจากไหนทำอะไรมาถึงกล้าหาญมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ต้องไม่ลืมว่า สื่อมวลชนบางคนที่ทำอาชีพมาตั้งแต่เด็กจนแก่นั้น เขาผ่านเหตุการณ์บ้านเมืองมาหลายยุคหลายสมัยทั้งเผด็จการและประชาธิปไตยผ่านนายกรัฐมนตรีมาหลายคน และปูมหลังของแต่ละคนก็จะบอกได้ว่าคนไหนที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพ มีจุดยืนเพื่อชาติบ้านเมืองและประชาชน สิ่งที่ผู้มีอำนาจควรทำก็คือ รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์นั้นแล้วนำไปขบคิด แต่ถ้าเห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์อยู่บนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน รัฐบาลก็มีเครื่องไม้เครื่องที่ทรงพลังกว่าที่จะชี้แจงอยู่แล้ว
คิดเสียว่าต่างคนต่างก็ทำหน้าที่ของตัวเอง ไม่ใช่ไปท้าทายเขาว่า ให้มาบริหารบ้านเมืองแทน ไม่นั้นสังคมจะแบ่งภาระหน้าที่และความรับผิดชอบกันทำไม ถ้าใครวิจารณ์รัฐบาลก็ต้องมาเป็นนายกฯ เพื่อบริหารประเทศกันหมด ถ้าพล.อ.ประยุทธ์มองว่าสื่อไม่เข้าใจการทำหน้าที่ของตัวเอง พล.อ.ประยุทธ์ก็ถามตัวเองด้วยว่า เข้าใจการทำหน้าที่ของสื่อหรือไม่
หวังว่าเสียงสะท้อนของผมจะถูกส่งไปถึงพล.อ.ประยุทธ์และขอให้เข้าใจว่านี่เป็นความปรารถนาดีที่อยากจะเห็นพล.อ.ประยุทธ์ปรับทัศนคติต่อสื่อมวลชน และหวังว่าผมคงจะไม่ถูกเรียกตัวไปปรับทัศนคติเสียเองนะครับ
สื่อไม่ใช่ประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่จะนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ด้านดีด้านเดียว แต่ต้องเสนอแง่มุมทุกด้านที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานของผู้มีอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชน และจะต้องแสดงจุดยืนเช่นนั้นไม่ว่าผู้มีอำนาจจะเข้าสู่อำนาจด้วยวิถีทางใดก็ตาม
การแสดงความไม่พอใจต่อการรายงานของสื่อหรือการซักถามของนักข่าวไม่ค่อยเกิดขึ้นกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่เขาได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่มักเกิดจากผู้มีอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร อาจเป็นเพราะรัฐประหารแล้วทำให้ได้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ที่แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินจึงไม่ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เป็นผู้ยิ่งใหญ่จนลืมไปว่า คนที่ใหญ่กว่าก็คือ ประชาชน หรือคิดแบบหยาบๆ ว่าไม่ได้อำนาจมาเพราะประชาชนก็เลยไม่ต้องง้อประชาชน
ในอดีตนั้นสื่อที่มีอุดมการณ์จะไม่ยอมสยบยอมต่อผู้มีอำนาจที่ใช้กำลังบังคับขู่เข็ญยอมถูกคุมขังจำคุกหรือล่ามโซ่แท่นพิมพ์ดีกว่าจะยอมให้ผู้มีอำนาจจำกัดสิทธิและเสรีภาพ แม้ว่าปัจจุบันการกระทำเช่นนั้นของผู้มีอำนาจต่อสื่อมวลชนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายเพราะถูกสังคมโลกจับตาอยู่ แต่น้ำเสียงและการข่มขู่ก็ยังเกิดขึ้นให้เห็น
จริงอยู่ว่าคนที่เข้ามารัฐประหารนั้นมีทั้งคนที่ต้องการอำนาจและสถานการณ์บังคับให้เป็นไป และถ้าจะพูดไปแล้วการรัฐประหารของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานั้น แทบจะเป็นหนทางเดียวที่จะคลี่คลายวิกฤตของบ้านเมือง การรัฐประหารครั้งนี้จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมาก
รู้กันอยู่ว่า ก่อนการรัฐประหารครั้งนี้ ทั้งฝ่ายที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาลของทักษิณและฝ่ายของทักษิณเอง ต่างก็มองไม่ออกถึงทางเดินข้างหน้าว่าจะเดินไปอย่างไร ผู้ชุมนุมก็เหนื่อยล้าเต็มที ฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐก็เดินหน้าไม่ได้กลายเป็นสุญญากาศต่างก็รู้กันทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ ทางเดียวที่จะเดินหน้าต่อได้ก็คือให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ เคยมีคนบอกว่า ฝ่ายเพื่อไทยบางคนก็คิดถึงทางออกเดียวนี้ในวันที่รู้ว่าการเมืองเดินมาถึงทางตันตัวเองบริหารประเทศต่อไปไม่ได้แล้ว
สื่อมวลชนส่วนใหญ่ก็ไม่ต่อต้าน เพราะมองเห็นเช่นเดียวกันว่า รัฐประหารเป็นทางออกเดียวของประเทศที่มีความขัดแย้งรุนแรงและรัฐบาลไม่สามารถบริหารบ้านเมืองต่อไปได้ หากทหารไม่เข้ามาก็จะเกิดความรุนแรงและวิสัญญีในประเทศ
รัฐประหารของพล.อ.ประยุทธ์จึงเป็นรัฐประหารที่ราบรื่น อย่าไปคิดว่าคนไม่ออกมาต่อต้านเพราะทหารมีอาวุธ แต่เพราะทุกฝ่ายความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งออกมาเป็นสองขั้วต่างมองไม่เห็นถึงทางออกนั่นแหละ
เมื่อพล.อ.ประยุทธ์เข้ามาแบกรับภาระของบ้านเมืองไว้บนบ่าในภาวะที่บ้านเมืองถึงทางตัน จึงคิดว่าตัวเองนั้นเป็นผู้เสียสละที่ต้องเข้ามาแบกรับการบูรณะบ้านเมืองจากซากปรักหักพังความขัดแย้งของนักการเมืองและประชาชนกว่าสิบปี
แต่สื่อมวลชนก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองในฐานะปากเสียงของประชาชนไม่ว่า รัฐบาลจะมาจากไหน การตั้งคำถามของนักข่าวและการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของคอลัมนิสต์และนักวิเคราะห์ต่างๆ ก็เกิดขึ้น แน่นอนมีทั้งคนที่มีเจตนาดีที่อยากเห็นรัฐบาลนี้นำพาประเทศเดินไปถูกทิศถูกทาง และอาจมีบ้างที่ต้องการบ่อนเซาะเพราะแอบแฝงเลือกข้างทางการเมืองและไม่ยอมรับการรัฐประหาร
ตรงนี้แหละครับ ผมคิดว่า ผู้มีอำนาจจะต้องใช้วุฒิภาวะแยกแยะให้ได้ว่า เสียงที่สะท้อนการทำงานของตัวเองนั้น แต่ละเสียงมีเจตนาอย่างไร เป็นเสียงที่หวังดีต่อประเทศชาติหรือเสียงที่บ่อนเซาะภาวะที่จำยอมต่อการเข้ามาบูรณะประเทศของรัฐบาล ซึ่งในทางการข่าวแล้วรัฐบาลทหารน่าจะรู้ได้ว่า กลุ่มไหนค่ายไหนหรือคนไหนมีจุดยืนทางการเมืองอย่างไร
แน่นอนว่า อาจเป็นเพราะพล.อ.ประยุทธ์มีความเชื่อมั่นว่าตัวเองเข้ามาแบกรับภาระเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศที่สั่งสมมาจากรัฐบาลอื่นจึงอ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ แต่พล.อ.ประยุทธ์ก็ควรจะต้องแยกมิตรแยกศัตรูให้ได้ไม่ใช่ด่ากราดเหมารวมการทำงานของสื่อมวลชนไปเสียหมด หรือกระทั่งกล่าวหาว่า สื่อทำให้สังคมแตกแยกทั้งที่สื่อก็มีเจตนาดีต่อประเทศเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า แม้พล.อ.ประยุทธ์จะได้อำนาจมาจากปลายกระบอกปืนที่เรียกขานกันว่า รัฐบาลเผด็จการแต่รัฐบาลนี้ก็ไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อจนเกินไป ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วอาจเป็นเพราะรัฐบาลไม่อยากถูกเรียกว่าเป็นเผด็จการและรู้ตัวว่าการปิดกั้นสื่อนั้นจะเป็นผลเสียต่อรัฐบาลมากกว่า
ความพยายามเก็บซ่อนความเป็นเผด็จการโดยใช้อำนาจตามความจำเป็นของรัฐบาลก็เป็นสิ่งที่ดี แต่น่าเสียดายที่พล.อ.ประยุทธ์แสดงอารมณ์หงุดหงิดและแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวใส่นักข่าวที่คอยติดตามรายงานข่าวภารกิจของนายกรัฐมนตรีในหลายต่อหลายครั้ง มีทั้งหลุดคำหยาบและคำพูดที่ดูทีเล่นทีจริงว่าจะใช้อำนาจจัดการกับสื่อจนกระทั่งสำนักข่าวต่างประเทศเอาไปรายงานว่านายกฯ จะสั่งประหารนักข่าว
อย่าคิดว่า สื่อมวลชนเป็นใครยิ่งใหญ่มาจากไหนทำอะไรมาถึงกล้าหาญมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ต้องไม่ลืมว่า สื่อมวลชนบางคนที่ทำอาชีพมาตั้งแต่เด็กจนแก่นั้น เขาผ่านเหตุการณ์บ้านเมืองมาหลายยุคหลายสมัยทั้งเผด็จการและประชาธิปไตยผ่านนายกรัฐมนตรีมาหลายคน และปูมหลังของแต่ละคนก็จะบอกได้ว่าคนไหนที่เป็นสื่อมวลชนอาชีพ มีจุดยืนเพื่อชาติบ้านเมืองและประชาชน สิ่งที่ผู้มีอำนาจควรทำก็คือ รับฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์นั้นแล้วนำไปขบคิด แต่ถ้าเห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์อยู่บนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน รัฐบาลก็มีเครื่องไม้เครื่องที่ทรงพลังกว่าที่จะชี้แจงอยู่แล้ว
คิดเสียว่าต่างคนต่างก็ทำหน้าที่ของตัวเอง ไม่ใช่ไปท้าทายเขาว่า ให้มาบริหารบ้านเมืองแทน ไม่นั้นสังคมจะแบ่งภาระหน้าที่และความรับผิดชอบกันทำไม ถ้าใครวิจารณ์รัฐบาลก็ต้องมาเป็นนายกฯ เพื่อบริหารประเทศกันหมด ถ้าพล.อ.ประยุทธ์มองว่าสื่อไม่เข้าใจการทำหน้าที่ของตัวเอง พล.อ.ประยุทธ์ก็ถามตัวเองด้วยว่า เข้าใจการทำหน้าที่ของสื่อหรือไม่
หวังว่าเสียงสะท้อนของผมจะถูกส่งไปถึงพล.อ.ประยุทธ์และขอให้เข้าใจว่านี่เป็นความปรารถนาดีที่อยากจะเห็นพล.อ.ประยุทธ์ปรับทัศนคติต่อสื่อมวลชน และหวังว่าผมคงจะไม่ถูกเรียกตัวไปปรับทัศนคติเสียเองนะครับ