ASTVผู้จัดการรายวัน-กนง.มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือ 1.50% หลังประเมินเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงลง จำเป็นต้องกระตุ้น ประเมินเศรษฐกิจไทยมีโอกาสฟื้นตัว แต่คงไม่เร็วอย่างที่หวัง ด้านนายแบงก์คาดเศรษฐกิจครึ่งปีหลังดีขึ้นแน่
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด กนง. วานนี้ (29 เม.ย.) ที่ประชุมได้มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 1.75% เหลือที่ระดับ 1.50% ต่อปี ให้มีผลทันที โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงลง รวมถึงแรงส่งในระยะข้างหน้า จึงต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมจากครั้งก่อนที่ได้ลดดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 0.25% พร้อมทั้งเตรียมปรับประมาณการตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจไทย อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการส่งออกไทยใหม่ ซึ่งจะประกาศในรายงานนโยบายการเงินประจำเดือนมิ.ย.นี้
"การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ อาจเซอร์ไพรส์ตลาด แต่แรงหนุนเศรษฐกิจบางตัวไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนไปในขนาดที่เราต้องการได้ ซึ่งตอนนี้ แค่ภาคท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุน ไม่เพียงพอจะช่วย เพราะการชะลอตัวของภาคบริโภคที่ได้รับผลจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หนี้ภาคครัวเรือน รวมถึงการชะลอตัวภาคส่งออก โดย ธปท.ไม่กังวลว่าประชาชนจะตีความว่าเศรษฐกิจแย่หรือซ้ำเติมเศรษฐกิจไปอีก แต่เราต้องสื่อสารให้เข้าใจถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการทำนโยบายการเงินครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญ คือ การพยุงเศรษฐกิจในประเทศและดูแลไม่ให้เศรษฐกิจชะลอลงมากเกินไป"นายเมธีกล่าว
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมองว่ามีปัจจัยเสี่ยงมาก ซึ่งกรรมการค่อนข้างกังวลเรื่องนี้ และยังมีการหารือเรื่องเงินฝืด แม้ในภาพรวมยังไม่เข้าเงื่อนไขของภาวะเงินฝืด แต่ยอมรับความเสี่ยง ก็มีบ้าง เนื่องจากการชะลอตัวลงของราคาสินค้ากระจายตัวมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เฉพาะกลุ่มน้ำมันอย่างเดียว ยังมีกลุ่มอื่นที่มีการชะลอตัวเพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามต่อไป
ส่วนภาคการส่งออก ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบายจะมีผลต่อค่าเงินและช่วยส่งออกได้บ้าง แม้ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการส่งออก เพราะปัจจุบันต่างประเทศพึ่งพาสินค้านำเข้าลดลง ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ได้เกิดฟองสบู่ แต่อาจจะมีการชะลอตัวบ้าง
อย่างไรก็ตาม เห็นว่า เศรษฐกิจคงมีการฟื้นตัวขึ้น แต่คงไม่เร็วเหมือนที่คาดหวังไว้
นายเมธีกล่าวอีกว่า วันนี้ (30เม.ย.) ช่วงเวลา 11.00 น. ธปท.เตรียมแถลงมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกหรือแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ระยะที่ 2 ถือเป็นการเพิ่มเครื่องมือผ่อนคลายเชิงการดำเนินนโยบายการเงินในแง่อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งหวังว่าจะช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ธปท. มองว่าไม่ใช่เครื่องมือสุดท้ายในการผ่อนคลาย แต่เห็นว่ายังมีพื้นที่ในการดำเนินนโยบายการเงินอยู่
ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา สินเชื่อรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยในช่วงที่ทำแผนธุรกิจนั้น ประมาณการเศรษฐกิจเติบโตไว้ที่ 4% เมื่อปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง เป้าหมายสินเชื่อก็จะปรับลดลงตามไปด้วย แต่เชื่อว่าในครึ่งปีหลัง สินเชื่อจะกระเตื้องขึ้น จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีมากกว่านี้
นายชาติศิริ โสภณพณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เชื่อว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะดีขึ้น โดยได้รับแรงผลักดันจากการกระตุ้นของภาครัฐและตลาดโลกที่ฟื้นตัว โดยธนาคารคาดการณ์จีดีพีที่ระดับ 3% และสินเชื่อเติบโตที่ 3-5%
สำหรับการใช้นโยบายดอกเบี้ยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นว่า ดอกเบี้ยเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยเท่านั้น ต้องดูที่องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ด้วย ซึ่งการชะลอตัวลงของสินเชื่อไตรมาสแรกส่วนหนึ่งเป็นเพราะฤดูกาล จึงเชื่อว่าครึ่งปีหลังน่าจะดีกว่านี้
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด กนง. วานนี้ (29 เม.ย.) ที่ประชุมได้มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 1.75% เหลือที่ระดับ 1.50% ต่อปี ให้มีผลทันที โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงลง รวมถึงแรงส่งในระยะข้างหน้า จึงต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมจากครั้งก่อนที่ได้ลดดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 0.25% พร้อมทั้งเตรียมปรับประมาณการตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจไทย อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการส่งออกไทยใหม่ ซึ่งจะประกาศในรายงานนโยบายการเงินประจำเดือนมิ.ย.นี้
"การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ อาจเซอร์ไพรส์ตลาด แต่แรงหนุนเศรษฐกิจบางตัวไม่เพียงพอที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนไปในขนาดที่เราต้องการได้ ซึ่งตอนนี้ แค่ภาคท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุน ไม่เพียงพอจะช่วย เพราะการชะลอตัวของภาคบริโภคที่ได้รับผลจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หนี้ภาคครัวเรือน รวมถึงการชะลอตัวภาคส่งออก โดย ธปท.ไม่กังวลว่าประชาชนจะตีความว่าเศรษฐกิจแย่หรือซ้ำเติมเศรษฐกิจไปอีก แต่เราต้องสื่อสารให้เข้าใจถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการทำนโยบายการเงินครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญ คือ การพยุงเศรษฐกิจในประเทศและดูแลไม่ให้เศรษฐกิจชะลอลงมากเกินไป"นายเมธีกล่าว
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมองว่ามีปัจจัยเสี่ยงมาก ซึ่งกรรมการค่อนข้างกังวลเรื่องนี้ และยังมีการหารือเรื่องเงินฝืด แม้ในภาพรวมยังไม่เข้าเงื่อนไขของภาวะเงินฝืด แต่ยอมรับความเสี่ยง ก็มีบ้าง เนื่องจากการชะลอตัวลงของราคาสินค้ากระจายตัวมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เฉพาะกลุ่มน้ำมันอย่างเดียว ยังมีกลุ่มอื่นที่มีการชะลอตัวเพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามต่อไป
ส่วนภาคการส่งออก ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบายจะมีผลต่อค่าเงินและช่วยส่งออกได้บ้าง แม้ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการส่งออก เพราะปัจจุบันต่างประเทศพึ่งพาสินค้านำเข้าลดลง ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่ได้เกิดฟองสบู่ แต่อาจจะมีการชะลอตัวบ้าง
อย่างไรก็ตาม เห็นว่า เศรษฐกิจคงมีการฟื้นตัวขึ้น แต่คงไม่เร็วเหมือนที่คาดหวังไว้
นายเมธีกล่าวอีกว่า วันนี้ (30เม.ย.) ช่วงเวลา 11.00 น. ธปท.เตรียมแถลงมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกหรือแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ระยะที่ 2 ถือเป็นการเพิ่มเครื่องมือผ่อนคลายเชิงการดำเนินนโยบายการเงินในแง่อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งหวังว่าจะช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลง โดย ธปท. มองว่าไม่ใช่เครื่องมือสุดท้ายในการผ่อนคลาย แต่เห็นว่ายังมีพื้นที่ในการดำเนินนโยบายการเงินอยู่
ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา สินเชื่อรวมของระบบธนาคารพาณิชย์ชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยในช่วงที่ทำแผนธุรกิจนั้น ประมาณการเศรษฐกิจเติบโตไว้ที่ 4% เมื่อปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง เป้าหมายสินเชื่อก็จะปรับลดลงตามไปด้วย แต่เชื่อว่าในครึ่งปีหลัง สินเชื่อจะกระเตื้องขึ้น จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีมากกว่านี้
นายชาติศิริ โสภณพณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เชื่อว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะดีขึ้น โดยได้รับแรงผลักดันจากการกระตุ้นของภาครัฐและตลาดโลกที่ฟื้นตัว โดยธนาคารคาดการณ์จีดีพีที่ระดับ 3% และสินเชื่อเติบโตที่ 3-5%
สำหรับการใช้นโยบายดอกเบี้ยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นว่า ดอกเบี้ยเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยเท่านั้น ต้องดูที่องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ด้วย ซึ่งการชะลอตัวลงของสินเชื่อไตรมาสแรกส่วนหนึ่งเป็นเพราะฤดูกาล จึงเชื่อว่าครึ่งปีหลังน่าจะดีกว่านี้