ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเล็งนำประเด็นการชะลอเศรษฐกิจไทย การแข็งค่าเงินบาท และเศรษฐกิจต่างประเทศเปลี่ยนไปนำเข้าที่ประชุมบอร์ดกนง.วันที่ 29 เม.ย.นี้ ยืนยันดูแลค่าบาทที่แข็งค่าอยู่ไม่ได้เพิกเฉย เอ็นพีแอลเพิ่มและปัญหาหนี้ครัวเรือนไม่น่ากังวล เชื่อแบงก์ระวังตัวดี พร้อมทั้งมีเงินกองทุนและเงินสำรองสูง แนะแก้ปัญหาครัวเรือนที่ต้นเหตุหารายได้และวางแผนการใช้จ่ายเงิน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) เปิดผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 29 เม.ย.นี้ ธปท.จะนำข้อมูลการชะลอตัวเศรษฐกิจไทย การแข็งค่าเงินบาทที่มีผลต่อภาคส่งออกไทย รวมถึงภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปเข้าร่วมพิจารณา ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจการดำเนินนโยบายการเงินให้ออกมารอบด้านและดีที่สุด
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีก่อนค่อนข้างต่ำเกิดปัญหาการเมือง ทำให้เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจยังพอไปได้ แต่ถ้าเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้ต่ำกว่า 3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีก่อนที่มีการเติบโตสูง ทำให้รายไตรมาสติดลบเล็กน้อย ทำให้การมองเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าต้องมีความระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะกลับมาเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้เทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้
ส่วนกรณีที่ภาคเอกชนมีความเป็นห่วงเรื่องเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อความสามารถการส่งออกไทยนั้น ผู้ว่าการ ธปท.ยอมรับว่าในช่วง 2-3 วันนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของสหรัฐฯที่ออกมาไม่ค่อยดี ขณะเดียวกันประเทศอื่นๆ ก็มีปัญหาเฉพาะ ทำให้สกุลเงินอ่อนค่า และทำให้เงินบาทแข็งค่า ซึ่งธปท.เข้าใจถึงปัญหาค่าเงินบาทและมีการดูแลอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะพิจารณาในการประชุมกนง.ด้วยเช่นกัน
ประเด็นธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 58 หลังจากผลประกอบการออกมานั้น นายประสาร กล่าวว่า ธปท.ไม่ได้กังวลที่ปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเป็นเพียงเล็กน้อยและเป็นเรื่องธรรมดาในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว แต่มองว่าธนาคารเองระมัดระวังตัวดีอย่างเป้าหมายการขยายสินเชื่อแต่ละแห่งไม่สูงมาก อีกทั้งเมื่อธนาคารมีกำไรก็มีการกันสำรอง รวมถึงเงินกองทุนค่อนข้างสูง จึงไม่ได้ห่วงกระทบฐานะธนาคารพาณิชย์
ส่วนปัญหาหนี้ครัวเรื่องไม่น่าห่วงเช่นกัน เพราะระดับหนี้เริ่มชะลอลงในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา และต้นเงินในการผ่อนซื้อสิ่งของต่างๆ เริ่มน้อย อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหาหนี้คครัวเรือนเป็นแค่ปัญหาปลายเหตุ แต่ควรแก้ไขปัญหาต้นเหตุอย่างช่วยส่งเสริมรายได้และวางแผนการใช้จ่ายมากกว่า
ผู้ว่าการธปท. กล่าวถึงกรณีสภาพยุโรป (อียู) ประกาศใหัไทยเร่งแก้ปัญหาค้ามนุษย์ภายใน 6 เดือน หากไม่คืบหน้าจะแบนสินค้าประมงไทยว่า อียูอยากเห็นความตั้งใจและความคืบหน้าทางการไทยและภาคเอกชนไทยมากกว่า โดยรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ให้ความสำคัญและเข้มงวดเรื่องนี้ ซึ่งพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ได้กำชับไปยังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กกร.) จึงต้องอาศัยความร่วมมือภาคเอกชนแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าวด้วย.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) เปิดผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 29 เม.ย.นี้ ธปท.จะนำข้อมูลการชะลอตัวเศรษฐกิจไทย การแข็งค่าเงินบาทที่มีผลต่อภาคส่งออกไทย รวมถึงภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปเข้าร่วมพิจารณา ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจการดำเนินนโยบายการเงินให้ออกมารอบด้านและดีที่สุด
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกของปีก่อนค่อนข้างต่ำเกิดปัญหาการเมือง ทำให้เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจยังพอไปได้ แต่ถ้าเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้ต่ำกว่า 3% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปีก่อนที่มีการเติบโตสูง ทำให้รายไตรมาสติดลบเล็กน้อย ทำให้การมองเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าต้องมีความระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะกลับมาเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้เทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้
ส่วนกรณีที่ภาคเอกชนมีความเป็นห่วงเรื่องเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อความสามารถการส่งออกไทยนั้น ผู้ว่าการ ธปท.ยอมรับว่าในช่วง 2-3 วันนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของสหรัฐฯที่ออกมาไม่ค่อยดี ขณะเดียวกันประเทศอื่นๆ ก็มีปัญหาเฉพาะ ทำให้สกุลเงินอ่อนค่า และทำให้เงินบาทแข็งค่า ซึ่งธปท.เข้าใจถึงปัญหาค่าเงินบาทและมีการดูแลอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะพิจารณาในการประชุมกนง.ด้วยเช่นกัน
ประเด็นธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 58 หลังจากผลประกอบการออกมานั้น นายประสาร กล่าวว่า ธปท.ไม่ได้กังวลที่ปริมาณเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเป็นเพียงเล็กน้อยและเป็นเรื่องธรรมดาในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว แต่มองว่าธนาคารเองระมัดระวังตัวดีอย่างเป้าหมายการขยายสินเชื่อแต่ละแห่งไม่สูงมาก อีกทั้งเมื่อธนาคารมีกำไรก็มีการกันสำรอง รวมถึงเงินกองทุนค่อนข้างสูง จึงไม่ได้ห่วงกระทบฐานะธนาคารพาณิชย์
ส่วนปัญหาหนี้ครัวเรื่องไม่น่าห่วงเช่นกัน เพราะระดับหนี้เริ่มชะลอลงในช่วง 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา และต้นเงินในการผ่อนซื้อสิ่งของต่างๆ เริ่มน้อย อย่างไรก็ตามมองว่าปัญหาหนี้คครัวเรือนเป็นแค่ปัญหาปลายเหตุ แต่ควรแก้ไขปัญหาต้นเหตุอย่างช่วยส่งเสริมรายได้และวางแผนการใช้จ่ายมากกว่า
ผู้ว่าการธปท. กล่าวถึงกรณีสภาพยุโรป (อียู) ประกาศใหัไทยเร่งแก้ปัญหาค้ามนุษย์ภายใน 6 เดือน หากไม่คืบหน้าจะแบนสินค้าประมงไทยว่า อียูอยากเห็นความตั้งใจและความคืบหน้าทางการไทยและภาคเอกชนไทยมากกว่า โดยรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ให้ความสำคัญและเข้มงวดเรื่องนี้ ซึ่งพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ได้กำชับไปยังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กกร.) จึงต้องอาศัยความร่วมมือภาคเอกชนแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าวด้วย.