นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุ มาตรา181 และ 182 ของร่างรัฐธรรมนูญ ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเสนอกฎหมายพิเศษได้ เป็นเผด็จการรัฐสภา ว่า ยอมรับว่ามาตราเหล่านี้มันใหม่ ยังไม่เคยใช้ อาจจะเกิดปัญหาตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ซึ่งรัฐบาลกำลังดูอยู่ว่า มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ตั้งเป็นข้อสังเกต บอกไปยังกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะถึงขั้นต้องตัด หรือไม่ ยังตอบชัดเจนไม่ได้ ต้องดูอีกที
อย่างไรก็ตาม มาตรา 181 และ182 นั้น ตนพยายามเดาใจ กมธ.ยกร่างฯ ว่าที่คิดและเสนอมาแบบนี้ จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น
"ความที่มันใหม่ ไม่เคยทดลองใช้ และบ้านเราอะไรที่คนอื่นเขาว่าดี แล้วเราคิดว่าดี แต่พอใช้ไป มันอาจจะเกิดปัญหาได้เหมือนกัน และดูจะเกิดทุกเรื่องไป บางทีเอามันไปง่ายๆ เรียบๆ อย่างที่เคยทำ ดูจะราบรื่นกว่า ความจริงเราอยากจะมีข้อใหม่ เพื่อการปฏิรูป แต่ความจริงเหมือนดาบสองคม พอไม่ชินจะถูกโจมตี เมื่อถูกโจมตี จะเกิดความรู้สึก คนเราบางครั้งพอยังไม่เคยทดลองใช้ ก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าหวั่นไหวเหมือนกัน ดังนั้นประชาชนจึงรู้สึกหวั่นไหวว่าตกลงแล้วดีจริง ไม่ดีจริง ตามที่ไม่เคยลอง พอให้ลองใช้ไปแล้วมีปัญหา แล้วค่อยแก้ภายใน 5 ปี อย่างประธาน กมธ.ยกร่างฯว่า คนก็เริ่มไม่แน่ใจว่า คราวที่แล้วก็พูดอย่างนี้ไม่ใช่หรือ แล้วสุดท้ายจะแก้ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือจะเกิดความเสียหายก่อนครบ 5 ปี หรือเปล่าก็ไม่รู้ อย่างนี้ต้องทำความเข้าใจ ผมได้มีโอกาสเจอ กมธ.ยกร่างฯบางคน ได้บอกไปว่าถ้าว่างๆอยู่ ต้องพยายามทำความเข้าใจ อธิบายให้มาก มาตราแต่ละมาตรา ที่คิดขึ้นมาใหม่ ต้องการตอบปัญหาอะไร" นายวิษณุ กล่าว
ส่วนกรณีนายบวรศักดิ์ ระบุหากจะทำประชามติ จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ก่อนวันที่ 6 ส.ค.นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า แน่นอน เพราะ วันที่ 6 ส.ค. เป็นวันที่ สปช. ลงมติร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นทิ้งไว้ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลงมือจารไว้ในสมุดไทย เพื่อเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในวันที่ 4 ก.ย.58 ซึ่งการลงประชามติ ในกรณีหากตัดสินใจว่าจะทำ จะมีขึ้นหลังจากสปช. มีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไปแล้ว
ทั้งนี้ การทำประชามติต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อกำหนดกระบวนการ วัน และเวลาที่จะทำ วิธีการที่จะทำ ที่สำคัญการทำประชามติ จะกระทบเวลาที่ล็อกเอาไว้ทั้งหมดในรัฐธรรมนูญ ต้องขยายระยะเวลาออกไป 3 –4 เดือน จึงต้องทลายกำแพงพวกนี้ให้หมด การที่นายบวรศักดิ์ บอกว่า ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก่อนวันที่ 6 ส.ค.นั้นถูกต้องแล้ว ส่วน มาตรา 44 ทำได้สารพัดก็จริง แต่จะถึงขนาดไปขัดแย้งกับตัวรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญล็อกไว้แล้วว่า ต้องทำให้เสร็จภายในกี่วัน โดยการทำประชามติ จะทำให้กรอบเวลาที่กำหนดไว้ในนั้นเคลื่อนหมด เท่ากับใช้ มาตรา 44 ไปทำลายกำหนดการตามรัฐธรรมนูญ นี่คือ เหตุผลว่า ทำไมจึงเอามาตรา 44 ไปลงประชามติไม่ได้ ดังนั้น หากจะทำประชามติ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อขยายเวลาให้ ยาวออกไป
เมื่อถามว่า รูปแบบคำถามประชาชนจะเป็นอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้คิด เพราะรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้คิด ว่าจะให้ทำประชามติ คงจะต้องถามกันอีกทีว่าจะถามอย่างไร อย่างไรก็ตาม รูปแบบคำถามในอดีต จะมีแค่รับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่เคยมีถามว่า หากไม่รับแล้วให้เลือกฉบับไหนแทน ซึ่งจะยุ่งพิลึก หากบอกว่าไม่รับแล้วจะเอาฉบับไหนมาใช้ ตามหลักต้องทำความเข้าใจกับ ฉบับฝันเฟื่องนี้ แต่สมมุติว่า ไม่รับฉบับฝันเฟื่อง แล้วไปเอาฉบับปี 2540 กับ 2550 ก็ต้องไปเอา ฉบับปี 2540 และ 2550 ออกมาทำความเข้าใจกับคนใหม่อีก ทีนี้จะยุ่งกันใหญ่ ครั้นจะบอกว่าไม่ ต้องทำความเข้าใจหรอก ให้เลือกเลย เพราะเคยใช้มาแล้ว ถามว่าแน่ใจหรือว่าคนเขาจะเข้าใจ ตนยังไม่แน่ใจเลย บางทีเข้าใจแต่ลืมหมดแล้ว
ต่อข้อถามว่า ตกลงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ชื่อ ฉบับฝันเฟื่อง ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนเอามาจากที่ นายศรีราชา วงศารยางค์กูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พูดเอาไว้
รองนายกฯ กล่าวว่า ส่วนที่มีการพนันกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านหรือไม่ผ่านนั้น ตอนนี้คงตอบไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพราะที่สุดแล้วที่พูดๆ กัน ทางกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ อาจจะแก้ตามหมด ถ้าจะมาเป็นจิ้งจกร้องทักก่อนเหมือนกินปูนร้อนท้อง ว่าไม่ผ่าน มันอคติไปหน่อย ตนคิดว่าทุกคนอยากให้ผ่านทั้งนั้น เพื่อจะได้ไปสู่โรดแมป ระยะที่ 3 ได้โดยเร็ว หรือใครไม่อยากไป ตนคนหนึ่งที่อยากไป แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่ผ่าน อายุของรัฐบาลต้องขยายไปอีก ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะทำให้รัฐบาลถูกมองว่า อยากอยู่ยาวอีก
"ผมถึงบอกว่า จะให้รัฐบาลมาพูดตอนนี้ไม่ได้ ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ให้คนอื่นพูดไปก่อน รัฐบาลขอพูดคนสุดท้าย ถ้ามาพูดก่อน เดี๋ยวจะหามีอะไรในใจ ความจริงถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน ก็เดือดร้อน แต่ถ้าไปทำประชามติ ก็เดือดร้อนเหมือนกัน เพราะมันขยายเวลาไปอีกยาว ส่วนตัวผมอยากให้ผ่าน แต่นายกฯจะคิดอย่างไร ผมไม่รู้ ต้องไปถามท่านเอง" นายวิษณุ กล่าว
**พร้อมรับ 7 ข้อเสนอของศาลยุติธรรม
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง กรณีข้อเสนอของศาลยุติธรรม ที่มีความเห็นต่าง ต่อร่างรัฐธรรมนูญ 7ข้อ ว่า ตนทราบว่าศาลยุติธรรมเตรียมส่งข้อเสนอดังกล่าว มาให้รัฐบาล เนื่องจากเขาไม่สิทธิ์จะขอแก้ ซึ่งเมื่อส่งมาแล้วรัฐบาลก็จะกลั่นกรองอีกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลไปสู่ขั้นแปรญัตติ ไม่ใช่ว่าจะเอาตามที่เขาเสนอมาทั้งหมด ซึ่งรวมถึงองค์กรต่างๆ ทั้ง คณะกรรมการสิทธิ์มนุษยชน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้งนี้ ในส่วนข้อเสนอ 7 ข้อของศาลยุติธรรมนั้น ตามที่ตนได้อ่านจากหนังสือพิมพ์ บางข้ออาจไม่มีอะไร เป็นการเสนอขึ้นมา แต่บางข้อก็เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย สำหรับเขาจริงๆ แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่อง คอขาดบาดตาย แต่ตนก็แปลกใจว่าทำไมไม่อยู่ใน 7 ข้อเสนอ เช่น การให้เปลี่ยนประธานศาลฎีกาในทุกๆ กี่ปี่ ทำไมเขาไม่ท้วง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของสมบัติผลัดกันชม
** ศธ.ขอแก้ไข 3 มาตรา
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของศธ.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญ ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับศธ. ซึ่งพบว่า มีหลายมาตราที่เชื่อมโยงกับ ศธ. แต่มีเพียง 3 มาตรา ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง คือ มาตรา 52 ที่ระบุว่า พลเมืองย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพ และหลากหลายอย่างทั่วถึง ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาสายสามัญและอาชีพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม ในมาตราดังกล่าว จะใช้คำศัพท์ที่มีความหมายแตกต่างอยู่ 3 คำ คือ พลเมือง, บุคคล และประชาชน แต่เข้าใจว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ น่าจะตั้งใจเพื่อให้เกิดความชัดเจน เพราะ “พลเมือง”ใช้ในกรณีที่หมายถึงคนไทย ที่รัฐต้องจัดการศึกษาภาคบังคับที่เท่าเทียมกัน แต่ถ้าพูดถึงการสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับประชาชน จะหมายถึง ทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทย หมายรวมถึงคนต่างด้าวด้วย นอกจากนั้น มีประเด็นคำว่า ปฐมวัย ซึ่งถ้าคำจำกัดความในรัฐธรรมนูญจะหมายถึงช่วงอายุตั้งแต่ 0-6 ปี แต่ยังไม่แน่ใจว่า เฉพาะ ศธ. จะดูแลเฉพาะระดับอนุบาลหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังเสนอให้เปลี่ยนจากการใช้คำว่า ไม่เสียค่าใช้จ่าย มาเป็น รัฐจะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่าย ในจำนวนที่เพียงพอ
มาตรา 84 ที่ระบุ ให้รัฐต้องจัด ส่งเสริม และทำนุบำรุงการศึกษาอบรมทุกระดับ และทุกรูปแบบ ซึ่ง ศธ. สามารถดำเนินการได้ ไม่เป็น
ประเด็นสำคัญ เพียงอาจจะมีบางถ้อยคำที่ต้องหาคำจำกัดความให้ชัดเจน
มาตรา 286 ที่ระบุ ให้มีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้ความสามารถ โดยกำหนดรายละเอียดไว้ 12 ข้อ อาทิ การกระจายอำนาจ การจัดสรรค่าใช้จ่ายรายหัวโดยตรงแก่นักเรียนทุกคนอย่างเพียงพอตามความจำเป็น การปรับปรุงการอาชีวศึกษา การปรับปรุงระบบอุดมศึกษา การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในวงการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ไม่ควรจะกำหนดรายละเอียดเป็นข้อๆ แต่ควรจะเขียนในภาพรวม ที่ครอบคลุมเรื่องการปฏิรูปการศึกษา เพราะอาจจะมีเรื่องจำเป็นอื่นๆ ที่ต้องทำมากกว่าที่กำหนด และมองว่าการลงรายละเอียดลงในรัฐธรรมนูญ จะทำให้แก้ยาก ทั้งนี้ ตนจะรวบรวมความคิดเห็นดังกล่าวเสนอต่อ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ต่อไป
** อย่าใช้ประเทศเป็นหนูลองยา
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายบวรศักดิ์ แนะนำให้ใช้รัฐธรรมนูญไปก่อนอย่างน้อย 5 ปีแล้วค่อยแก้ไขว่า ตนเข้าใจกรรมาธิการร่างฯ เมื่อเขียนออกมาอย่างไร ก็อยากให้เป็นไปตามนั้น และคงไม่ค่อยสบายใจถ้าจะมีใครออกมาวิจารณ์ แต่ขอให้ทำใจ และเข้าใจ เพราะเราเขียนรัฐธรรมนูญไปบังคับใช้กับคนทุกกลุ่มทั้งประเทศ ในฐานะเจ้าของประเทศ เขาจึงย่อมมีสิทธิ์แสดงออกซึ่งการเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ยอมรับหรือไม่ยอมรับ
"ถ้ารัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับได้ ก็อาจไม่มีปัญหา แต่หากรัฐธรรมนูญยังเป็นเช่นนี้ ท่ามกลางเครื่องหมายคำถามมากมาย หากปล่อยให้ใช้ไปก่อน ก็มีข้อห่วงใยว่าจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็น "หนูลองยา" แล้ววันหนึ่งวงจรอุบาทว์ ก็อาจจะย้อนกลับมาอีก และคนไทยทั้งประเทศก็จะต้องมารับชะตากรรม กับความเสียหายโดยไม่จำเป็น จึงอยากเห็นกรรมาธิการได้อดทนรับฟังข้อแนะนำ ทักท้วงจากฝ่ายต่างๆ ปราศจากอคติ ไม่ดูแคลนฝ่ายอื่นว่าไม่ยอมรับ เพราะมีผลประโยชน์แอบแฝง เพราะหากใช้สมมุติฐานแบบนี้ ก็จะสร้างความร้าวฉานมากกว่าปรองดอง และไม่ช่วยให้เราได้รัฐธรรมนูญ ที่ดีสำหรับประเทศได้ " นายจุรินทร์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม มาตรา 181 และ182 นั้น ตนพยายามเดาใจ กมธ.ยกร่างฯ ว่าที่คิดและเสนอมาแบบนี้ จะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น
"ความที่มันใหม่ ไม่เคยทดลองใช้ และบ้านเราอะไรที่คนอื่นเขาว่าดี แล้วเราคิดว่าดี แต่พอใช้ไป มันอาจจะเกิดปัญหาได้เหมือนกัน และดูจะเกิดทุกเรื่องไป บางทีเอามันไปง่ายๆ เรียบๆ อย่างที่เคยทำ ดูจะราบรื่นกว่า ความจริงเราอยากจะมีข้อใหม่ เพื่อการปฏิรูป แต่ความจริงเหมือนดาบสองคม พอไม่ชินจะถูกโจมตี เมื่อถูกโจมตี จะเกิดความรู้สึก คนเราบางครั้งพอยังไม่เคยทดลองใช้ ก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าหวั่นไหวเหมือนกัน ดังนั้นประชาชนจึงรู้สึกหวั่นไหวว่าตกลงแล้วดีจริง ไม่ดีจริง ตามที่ไม่เคยลอง พอให้ลองใช้ไปแล้วมีปัญหา แล้วค่อยแก้ภายใน 5 ปี อย่างประธาน กมธ.ยกร่างฯว่า คนก็เริ่มไม่แน่ใจว่า คราวที่แล้วก็พูดอย่างนี้ไม่ใช่หรือ แล้วสุดท้ายจะแก้ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือจะเกิดความเสียหายก่อนครบ 5 ปี หรือเปล่าก็ไม่รู้ อย่างนี้ต้องทำความเข้าใจ ผมได้มีโอกาสเจอ กมธ.ยกร่างฯบางคน ได้บอกไปว่าถ้าว่างๆอยู่ ต้องพยายามทำความเข้าใจ อธิบายให้มาก มาตราแต่ละมาตรา ที่คิดขึ้นมาใหม่ ต้องการตอบปัญหาอะไร" นายวิษณุ กล่าว
ส่วนกรณีนายบวรศักดิ์ ระบุหากจะทำประชามติ จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ก่อนวันที่ 6 ส.ค.นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า แน่นอน เพราะ วันที่ 6 ส.ค. เป็นวันที่ สปช. ลงมติร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นทิ้งไว้ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลงมือจารไว้ในสมุดไทย เพื่อเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในวันที่ 4 ก.ย.58 ซึ่งการลงประชามติ ในกรณีหากตัดสินใจว่าจะทำ จะมีขึ้นหลังจากสปช. มีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไปแล้ว
ทั้งนี้ การทำประชามติต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อกำหนดกระบวนการ วัน และเวลาที่จะทำ วิธีการที่จะทำ ที่สำคัญการทำประชามติ จะกระทบเวลาที่ล็อกเอาไว้ทั้งหมดในรัฐธรรมนูญ ต้องขยายระยะเวลาออกไป 3 –4 เดือน จึงต้องทลายกำแพงพวกนี้ให้หมด การที่นายบวรศักดิ์ บอกว่า ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก่อนวันที่ 6 ส.ค.นั้นถูกต้องแล้ว ส่วน มาตรา 44 ทำได้สารพัดก็จริง แต่จะถึงขนาดไปขัดแย้งกับตัวรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญล็อกไว้แล้วว่า ต้องทำให้เสร็จภายในกี่วัน โดยการทำประชามติ จะทำให้กรอบเวลาที่กำหนดไว้ในนั้นเคลื่อนหมด เท่ากับใช้ มาตรา 44 ไปทำลายกำหนดการตามรัฐธรรมนูญ นี่คือ เหตุผลว่า ทำไมจึงเอามาตรา 44 ไปลงประชามติไม่ได้ ดังนั้น หากจะทำประชามติ ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อขยายเวลาให้ ยาวออกไป
เมื่อถามว่า รูปแบบคำถามประชาชนจะเป็นอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้คิด เพราะรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้คิด ว่าจะให้ทำประชามติ คงจะต้องถามกันอีกทีว่าจะถามอย่างไร อย่างไรก็ตาม รูปแบบคำถามในอดีต จะมีแค่รับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่เคยมีถามว่า หากไม่รับแล้วให้เลือกฉบับไหนแทน ซึ่งจะยุ่งพิลึก หากบอกว่าไม่รับแล้วจะเอาฉบับไหนมาใช้ ตามหลักต้องทำความเข้าใจกับ ฉบับฝันเฟื่องนี้ แต่สมมุติว่า ไม่รับฉบับฝันเฟื่อง แล้วไปเอาฉบับปี 2540 กับ 2550 ก็ต้องไปเอา ฉบับปี 2540 และ 2550 ออกมาทำความเข้าใจกับคนใหม่อีก ทีนี้จะยุ่งกันใหญ่ ครั้นจะบอกว่าไม่ ต้องทำความเข้าใจหรอก ให้เลือกเลย เพราะเคยใช้มาแล้ว ถามว่าแน่ใจหรือว่าคนเขาจะเข้าใจ ตนยังไม่แน่ใจเลย บางทีเข้าใจแต่ลืมหมดแล้ว
ต่อข้อถามว่า ตกลงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ชื่อ ฉบับฝันเฟื่อง ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนเอามาจากที่ นายศรีราชา วงศารยางค์กูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พูดเอาไว้
รองนายกฯ กล่าวว่า ส่วนที่มีการพนันกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านหรือไม่ผ่านนั้น ตอนนี้คงตอบไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพราะที่สุดแล้วที่พูดๆ กัน ทางกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ อาจจะแก้ตามหมด ถ้าจะมาเป็นจิ้งจกร้องทักก่อนเหมือนกินปูนร้อนท้อง ว่าไม่ผ่าน มันอคติไปหน่อย ตนคิดว่าทุกคนอยากให้ผ่านทั้งนั้น เพื่อจะได้ไปสู่โรดแมป ระยะที่ 3 ได้โดยเร็ว หรือใครไม่อยากไป ตนคนหนึ่งที่อยากไป แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่ผ่าน อายุของรัฐบาลต้องขยายไปอีก ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะทำให้รัฐบาลถูกมองว่า อยากอยู่ยาวอีก
"ผมถึงบอกว่า จะให้รัฐบาลมาพูดตอนนี้ไม่ได้ ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ให้คนอื่นพูดไปก่อน รัฐบาลขอพูดคนสุดท้าย ถ้ามาพูดก่อน เดี๋ยวจะหามีอะไรในใจ ความจริงถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน ก็เดือดร้อน แต่ถ้าไปทำประชามติ ก็เดือดร้อนเหมือนกัน เพราะมันขยายเวลาไปอีกยาว ส่วนตัวผมอยากให้ผ่าน แต่นายกฯจะคิดอย่างไร ผมไม่รู้ ต้องไปถามท่านเอง" นายวิษณุ กล่าว
**พร้อมรับ 7 ข้อเสนอของศาลยุติธรรม
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง กรณีข้อเสนอของศาลยุติธรรม ที่มีความเห็นต่าง ต่อร่างรัฐธรรมนูญ 7ข้อ ว่า ตนทราบว่าศาลยุติธรรมเตรียมส่งข้อเสนอดังกล่าว มาให้รัฐบาล เนื่องจากเขาไม่สิทธิ์จะขอแก้ ซึ่งเมื่อส่งมาแล้วรัฐบาลก็จะกลั่นกรองอีกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลไปสู่ขั้นแปรญัตติ ไม่ใช่ว่าจะเอาตามที่เขาเสนอมาทั้งหมด ซึ่งรวมถึงองค์กรต่างๆ ทั้ง คณะกรรมการสิทธิ์มนุษยชน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้งนี้ ในส่วนข้อเสนอ 7 ข้อของศาลยุติธรรมนั้น ตามที่ตนได้อ่านจากหนังสือพิมพ์ บางข้ออาจไม่มีอะไร เป็นการเสนอขึ้นมา แต่บางข้อก็เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย สำหรับเขาจริงๆ แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่อง คอขาดบาดตาย แต่ตนก็แปลกใจว่าทำไมไม่อยู่ใน 7 ข้อเสนอ เช่น การให้เปลี่ยนประธานศาลฎีกาในทุกๆ กี่ปี่ ทำไมเขาไม่ท้วง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของสมบัติผลัดกันชม
** ศธ.ขอแก้ไข 3 มาตรา
พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของศธ.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญ ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับศธ. ซึ่งพบว่า มีหลายมาตราที่เชื่อมโยงกับ ศธ. แต่มีเพียง 3 มาตรา ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง คือ มาตรา 52 ที่ระบุว่า พลเมืองย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพ และหลากหลายอย่างทั่วถึง ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาสายสามัญและอาชีพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม ในมาตราดังกล่าว จะใช้คำศัพท์ที่มีความหมายแตกต่างอยู่ 3 คำ คือ พลเมือง, บุคคล และประชาชน แต่เข้าใจว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ น่าจะตั้งใจเพื่อให้เกิดความชัดเจน เพราะ “พลเมือง”ใช้ในกรณีที่หมายถึงคนไทย ที่รัฐต้องจัดการศึกษาภาคบังคับที่เท่าเทียมกัน แต่ถ้าพูดถึงการสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับประชาชน จะหมายถึง ทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทย หมายรวมถึงคนต่างด้าวด้วย นอกจากนั้น มีประเด็นคำว่า ปฐมวัย ซึ่งถ้าคำจำกัดความในรัฐธรรมนูญจะหมายถึงช่วงอายุตั้งแต่ 0-6 ปี แต่ยังไม่แน่ใจว่า เฉพาะ ศธ. จะดูแลเฉพาะระดับอนุบาลหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังเสนอให้เปลี่ยนจากการใช้คำว่า ไม่เสียค่าใช้จ่าย มาเป็น รัฐจะให้การสนับสนุนค่าใช้จ่าย ในจำนวนที่เพียงพอ
มาตรา 84 ที่ระบุ ให้รัฐต้องจัด ส่งเสริม และทำนุบำรุงการศึกษาอบรมทุกระดับ และทุกรูปแบบ ซึ่ง ศธ. สามารถดำเนินการได้ ไม่เป็น
ประเด็นสำคัญ เพียงอาจจะมีบางถ้อยคำที่ต้องหาคำจำกัดความให้ชัดเจน
มาตรา 286 ที่ระบุ ให้มีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้ความสามารถ โดยกำหนดรายละเอียดไว้ 12 ข้อ อาทิ การกระจายอำนาจ การจัดสรรค่าใช้จ่ายรายหัวโดยตรงแก่นักเรียนทุกคนอย่างเพียงพอตามความจำเป็น การปรับปรุงการอาชีวศึกษา การปรับปรุงระบบอุดมศึกษา การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในวงการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ไม่ควรจะกำหนดรายละเอียดเป็นข้อๆ แต่ควรจะเขียนในภาพรวม ที่ครอบคลุมเรื่องการปฏิรูปการศึกษา เพราะอาจจะมีเรื่องจำเป็นอื่นๆ ที่ต้องทำมากกว่าที่กำหนด และมองว่าการลงรายละเอียดลงในรัฐธรรมนูญ จะทำให้แก้ยาก ทั้งนี้ ตนจะรวบรวมความคิดเห็นดังกล่าวเสนอต่อ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ต่อไป
** อย่าใช้ประเทศเป็นหนูลองยา
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายบวรศักดิ์ แนะนำให้ใช้รัฐธรรมนูญไปก่อนอย่างน้อย 5 ปีแล้วค่อยแก้ไขว่า ตนเข้าใจกรรมาธิการร่างฯ เมื่อเขียนออกมาอย่างไร ก็อยากให้เป็นไปตามนั้น และคงไม่ค่อยสบายใจถ้าจะมีใครออกมาวิจารณ์ แต่ขอให้ทำใจ และเข้าใจ เพราะเราเขียนรัฐธรรมนูญไปบังคับใช้กับคนทุกกลุ่มทั้งประเทศ ในฐานะเจ้าของประเทศ เขาจึงย่อมมีสิทธิ์แสดงออกซึ่งการเห็นด้วยไม่เห็นด้วย ยอมรับหรือไม่ยอมรับ
"ถ้ารัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับได้ ก็อาจไม่มีปัญหา แต่หากรัฐธรรมนูญยังเป็นเช่นนี้ ท่ามกลางเครื่องหมายคำถามมากมาย หากปล่อยให้ใช้ไปก่อน ก็มีข้อห่วงใยว่าจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็น "หนูลองยา" แล้ววันหนึ่งวงจรอุบาทว์ ก็อาจจะย้อนกลับมาอีก และคนไทยทั้งประเทศก็จะต้องมารับชะตากรรม กับความเสียหายโดยไม่จำเป็น จึงอยากเห็นกรรมาธิการได้อดทนรับฟังข้อแนะนำ ทักท้วงจากฝ่ายต่างๆ ปราศจากอคติ ไม่ดูแคลนฝ่ายอื่นว่าไม่ยอมรับ เพราะมีผลประโยชน์แอบแฝง เพราะหากใช้สมมุติฐานแบบนี้ ก็จะสร้างความร้าวฉานมากกว่าปรองดอง และไม่ช่วยให้เราได้รัฐธรรมนูญ ที่ดีสำหรับประเทศได้ " นายจุรินทร์ กล่าว