เมื่อเวลา 09.40 น. วานนี้ (28 เม.ย.) ที่ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง"รัฐธรรมนูญใหม่กับการกระจายอำนาจ" ให้กับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รับฟัง ว่ากรรมาธิการยกร่างฯ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ขอให้ทุกคนที่มาร่วมรับฟังในครั้งนี้ ช่วยเป็นเครือข่ายในการนำสาระ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ไปทำความเข้าใจให้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ได้รับทราบ
นายบวรศํกดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กรรมาธิการยกร่างฯ ได้จัดทำร่างแรกสำเร็จแล้ว แต่เป็นร่างแรกที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ส่วนร่างสุดท้ายที่แก้ไขไม่ได้ คือ ต้องเสร็จภายวันที่ 23 ก.ค. ซึ่งเสร็จก่อนได้ แต่ถ้าเสร็จหลังจากวันนั้น ทางกรรมาธิการยกร่างฯ ถูกยุบเลย ดังนั้นวันที่ 23 ก.ค. จึงเป็นเส้นตายที่ต้องเสนอร่างรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ยังเขียนมัดไว้ใน มาตรา 36 ว่า สปช.ต้องลงมติให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับ จะแก้ไขเพิ่มเติมอีกไม่ได้ เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด โดยกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องเห็นชอบด้วย หรือเห็นว่า ควรต้องแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์ ซึ่งตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อดูรัฐธรรมนูญปี 2517, 2521 ,2534 ,2540 และ 2550 เขียนตรงกันทุกฉบับว่า เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จในวาระ 2 แล้ว ให้ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อจะได้ใช้เวลาในการปรึกษากันอย่างรอบคอบก่อนลงมติในวาระ 3 ดังนั้น 15 วัน ที่กำหนดให้สปช. นั่งคิดนอนคิด ปรึกษาหารือว่าจะเอา หรือไม่เอาร่างนี้ จะไม่มีการประชุมเพื่อรับฟังความเห็น หรืออภิปรายกันอีกแล้ว
"การที่สมาชิก สปช. บางคนออกมาระบุผ่านสื่อ เป็นความเข้าใจของท่านที่ไม่ได้ดูประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อกำหนดให้วันที่ 23 ก.ค. ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ 15 วันนับจากนั้น คือวันที่ 6 ส.ค. ทางสปช.ต้องลงมติรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ตายตกตามกันไป เริ่มต้นกันใหม่ ตั้งสปช. และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด ส่วนคสช.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็อยู่ต่อไปอีกหนึ่งปี แต่ถ้าสปช.ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในวันที่ 4 ก.ย. หากไม่มีการทำประชามติ การเลือกตั้งก็จะเกิดขึ้นประมาณปลายเดือนก.พ. หรือต้นเดือนมี.ค.59 "นายบวรศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ หากมีเสียงเรียกร้องให้จัดทำประชามติ คสช. ครม. ต้องเห็นชอบ และต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ก่อนวันที่ 6 ส.ค. ถ้าแก้หลังวันนั้น ก็จะวุ่นวาย เมื่อมีการทำประชามติ ก็บวกเวลาต่อไปอีก 3 เดือน ดังนั้นการเลือกตั้งก็จะเกิดขึ้นประมาณเดือน พ.ค. 59 ทั้งหมดนี้ไม่ใช่โรดแมป ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่เป็นโรดแมปของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะทำประชามติหรือไม่ ยังไม่แน่ แต่ส่วนตัวเห็นว่า ต้องทำ และเชื่อว่านายกฯ ก็อยากจะทำ
" ปี 40 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี 50 มีรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ และฉบับนี้ เป็นฉบับปฏิรูป จึงไม่แปลกใจ ที่จะมีการวิจารณ์ โดยเฉพาะนักการเมืองที่ออกมาวิจารณ์ระบบเลือกตั้ง เพราะเขากลัวประเด็นกลุ่มการเมือง ว่าคนของเขาจะแยกไปตั้งกลุ่มมาแข่งกับเขา และกลัวระบบบัญชีรายชื่อ ที่เป็นแบบโอเพ่นลิสต์ ให้ประชาชนจัดลำดับได้เอง ส่วนที่บอกว่าทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ที่จริงต้องพูดต่อว่า ทำให้ประชาชนเข้มแข็งขึ้น สิ่งที่นักการเมืองกลัวจริง ๆ คือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ สมัชชาพลเมือง รวมถึงหมวดปฏิรูปทั้งหมด เพราะเขาต้องปฏิบัติตาม ซึ่งสิ่งที่เรากำลังปฏิรูปสวนทางกลับที่เขาอยากทำ" นายบวรศักดิ์ กล่าว
** เอารธน.ไปใช้ก่อน 5 ปี ค่อยแก้ไข
นายบวรศักดิ์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม ว่า หลังจากที่มีการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หลังจากนี้ ก็เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกสปช. ยื่นญัตติคำข้อแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะมาถึง กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 25 พ.ค.นี้ จากนั้นในวันที่ 1-6 มิ.ย.จะได้เชิญผู้ขอแปรญัตติแก้ไขมาชี้แจงต่อกมธ.ยกร่างฯ และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งหากมีเวลาก็จะเชิญพรรคการเมืองมาร่วมแสดงความคิดเห็น ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย จึงจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญสุดท้ายก่อนเสนอต่อไปยัง สปช. อีกครั้ง เพื่อให้ลงมติในวันที่ 6 ส.ค. ยืนยันว่าไม่สามารถขยายเวลาได้การพิจารณาออกไปตามอย่างที่บาง พรรคการเมืองต้องการ ซึ่งจะต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557
ส่วนเรื่องการเสนอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็ต้องดูเหตุผลเป็นหลัก ถ้าเหตุผล สปช. ดีกว่า ก็พร้อมแก้ไข แต่ถ้าของ กมธ.ยกร่างฯ ดีกว่า เราก็จะชี้แจงให้ทราบ อย่างไรก็ตาม ตนไม่ต้องการให้คณะกมธ.ยกร่างฯ อยู่ต่อ แต่ให้มีคณะอื่นขึ้นมาสืบทอดงานแทน
นายบวรศักดิ์ กล่าวถึงข้อวิจารณ์ที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอนั้น ไม่เป็นความจริง ถ้าพรรคการเมืองไทย มีการบริหารภายในที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ถ้าพรรคการเมืองยังเป็นของบางคน การตัดสินใจก็จะเป็นของคนไม่กี่กลุ่ม ถ้าตนเป็นนักการเมืองก็คงกลัว แต่การปฏิรูปก็ต้องยอมสละความเคยชินทิ้งไป ตนจึงอยากเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน อย่างน้อย 5 ปี แล้วค่อยแก้ไข และถ้าบ้านเมืองเกิดความปรองดอง ก็อาจจะกลับมาแก้ให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง โดยมีเสียงในรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่งก็สามารถทำได้
นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยที่ให้มีการจัดตั้งกลุ่มการเมือง ซึ่งตนก็เข้าใจว่า หลายพรรคการเมืองกลัวคนที่มีศักยภาพของพรรคตัวเอง จะออกมา แต่อยากให้นึกถึงคนที่ไม่มีเงินตั้งพรรคการเมือง และต้องไปหาสมาชิกอีก 5 พัน จึงเห็นว่าควรมีกลุ่มการเมือง และจดทะเบียน โดยอาจมีเงื่อนไขน้อยกว่าพรรคการเมือง หากต่อไปมีปัญหา ก็สามารถปรับแก้ไขได้ในอนาคต วันนี้อยากให้นึกถึงคนอย่าง นายอลงกรณ์ พลบุตร คนแบบนี้จะไปอยู่ที่ไหน เพราะยังมีคนลักษณะนี้ อีกเยอะ
** รธน.เป็นเครื่องมือดับชนวนระเบิด
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ยกร่างฯ เปิดเผยว่า เวลา 13.30 น. (28เม.ย.) กรรมาธิการยกร่าง ฯ จะมีการประชุมเพื่อประมวลความเห็น และข้อเสนอแนะจากการอภิปรายของสมาชิกสภาปฏิรูแห่งชาติ (สปช.) ตลอด 7 วันที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นการท้วงติงเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง ความสัมพันธ์กับข้าราชการ โดยยืนยันว่า กรรมาธิการฯ ไม่มีธงว่าจะไม่มีการแก้ไขปรับปรุง หรือเปิดช่องรับฟังความเห็นเพียงแค่เป็นพิธีกรรมเท่านั้น แต่มีเจตนาดีที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อแก้ปัญหาบ้านเมืองอย่างยั่งยืนจริงๆ
"ที่มีการวิจารณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรงในขณะนี้ เช่น มีการผสมผสานระบบคอมมิวนิสต์ หรือสร้างเผด็จการรัฐสภา อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญนั้น กรรมาธิการฯ ขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ทุกเนื้อหาที่เขียนขึ้น กลั่นกรองจากมันสมองของกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาจากพื้นฐานปัญหาของชาติ และขอให้ให้เกียรติกรรมาธิการฯ ทั้ง 36 คนด้วย ว่าเข้ามาทำหน้าที่เพื่อแก้ปัญหาประเทศ เราร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นเครื่องมือในการดับชนวนระเบิดเวลาที่ค้างอยู่ ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.57 ก่อนการรัฐประหาร ไม่ใช่ว่ารัฐธรรมนูญนี้ เป็นระเบิดเวลาของประเทศไทย " นายคำนูณ กล่าว
**ให้ครม.-คสช. ติติง ร่างรธน.เต็มที่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงการอภิปราย ร่างรัฐธรรมนุญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า คงไม่ต้องรอรับรายงาน สามาดรถดูเองได้ เพราะตนอ่าน และติดตามทุกเรื่อง ต้องดูหมด ทั้งการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องรู้ทุกเรื่อง ถ้าไม่รู้ทุกเรื่องก็ไม่ต้องเป็นนายกฯ ดังนั้นไม่ต้องรอรายงาน ตนสามารถนั่งวิเคราะห์เองได้
" ฉะนั้นทั้งหมดเป็นไปตามรัฐธรรมนูญอย่างเดียว คุณไปหามาว่า เขาเขียนอย่างไร เป็นไปตามนั้น จะดีไม่ดี ไม่รู้ เดี๋ยวทำข้อพิจารณาขึ้นไป โดยครม.จะสรุปมา ซึ่งครม. มีหลายคนจะประชุมร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปเป็นเรื่องๆไป กี่หมวด กี่มาตรา ตรงไหนควรจะแก้หรือไม่ ขณะที่สปช. ก็ทำของเขา ผมก็ทำของผม คสช.ก็ของคสช. ครม.ก็อีก ทำสามแท่งเข้าไป โดยส่งไปที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เขาจะแก้หรือไม่ เป็นอำนาจของเขา"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตามที่บอกว่าได้วิเคราะห์เองนั้น ขณะนี้มองสถานการณ์อย่างไร นายกฯ กล่าวว่า วันนี้ที่มองอยากถามว่า สถานการณ์บ้านเมืองปกติหรือไม่ ถ้าไม่ปกติ แล้วท่านอยากให้ปกติหรือไม่ อยากให้ยั่งยืน อยากให้เศรษฐกิจดีขึ้นหรือไม่ หรืออยากจะให้เป็นแบบเดิม ตรงนี้ขอถามประชาชนทั้งประเทศ
"วันนี้ตั้งใจจะอารมณ์ดี แต่พอหยิบหนังสือขึ้นมาเปิดอ่าน หนังสืออะไรก็ไม่รู้ พวกอดีตรัฐมนตรีเก่าๆ ทำนองนี้ เขียนหนังสือพิมพ์อยู่ มันได้ยังไง เขียนออกมาไม่สร้างสรรค์สักเรื่องไม่เคยรับความผิดความบกพร่องของตัวเองเลย เดี๋ยวคอยดูกันต่อไป ว่ากันไป สอบสวนกระบวนความเกี่ยวข้องกับใคร ก็ว่าหมด ประเด็นสำคัญคือ ถ้าคิดว่าบ้านเมืองไม่ปกติอยากให้บ้านเมืองมั่นคงยั่งยืน ไม่มีการใช้ความรุนแรงกันแบบเดิมไม่มีการทุจริตผิดกฎหมาย ไม่มีการละเมิดสิทธิผู้อื่น ก็น่าจะต้องมีมาตรการอะไรขึ้นมาสักอย่าง และการที่จะทำให้รัฐบาลมาอย่างไร ทำอย่างไรจะให้ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล ผมบอกแล้วให้ไปคิดกันมา จะมีมาตรการอะไรกันบ้าง ผมไม่รู้ เพราะผมไม่เคยทำหน้าที่นี้ และไม่เคยคัดสรรใครเข้ามาด้วย ผมดูแต่ทหาร ฉะนั้นท่านต้องไปคิดมา ท่านเป็นนักกฎหมาย เป็นกรรมาธิการฯ ไปร่าง ไปคิดมา ถ้าคิดว่าอันนี้ดี แล้วคนยอมรับได้ ได้รัฐบาลมาก็เป็นไปตามนั้น ต่อไปเป็นเรื่องควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การตรวจสอบความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จะตัดต่อตรงไหนให้ทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอย่างครั้งที่แล้ว ส่วนเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี อย่าไปกังวลว่า ผมคือนายกรัฐมนตรีตรงนั้น มันไม่ใช่ คนละเรื่องกัน ตรงนี้ไม่ใช่ว่าผมเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แต่อย่ามาพูดกันตรงนั้น จากที่ผมฟังมา เขาบอกว่าถ้าเหตุการณ์ไม่ปกติ จะเอานายกฯ มาจากไหน แต่กลายเป็นว่ามันจะเป็นการสืบทอดอำนาจ มันอะไรกัน ไม่เข้าใจ อ่านหนังสือกันไม่เข้าใจหรืออย่างไร เขาเขียนไว้หรือเปล่าว่า มาตอนไหน หรือวิเคราะห์วิจารณ์ฝันมโนกันไปเรื่อยทุกวัน อ่านหนังสือภาษาไทยไม่ออก แสดงว่าการศึกษาไทย ใช้ไม่ได้ อ่านหนังสือไทยไม่รู้เรื่อง โตๆ กันแล้ว จะว่ายังไงก็ว่ามา จะเอาใครมาบังคับบัญชา ปกครอง บริหาร ก็ไปหามา ยังไม่เรื่องของผม หน้าที่ของผมตอนนี้คือ ดูแลความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัย ก็ดำเนินการกันไป หน้าที่ใครหน้าที่มัน อย่าให้มีเรื่อง อย่าให้ประชาชนเดือดร้อน ผมตอนนี้มีเท่านั้น แก้ไขสถานการณ์ตามที่เกิดขึ้น" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามว่า จากการติดตามการอภิปรายของ สปช. ในร่างรัฐธรรมนูญ ที่คณะกรรมการธิการยกร่างฯ ได้ยกร่างมานั้น มีประเด็นใดที่คิดว่าต้องมีข้อเสนอแนะปรับแก้บ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็มีทุกอัน ซึ่งตนจะถามกลับไปว่า อย่างนี้หมายความว่าอย่างไร จะทำเพื่ออะไร สิ่งสำคัญจะถามไปว่า วันนี้ประเทศไทยต้องเดินหน้า โดยถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ประชาชนได้ประโยชน์อะไร ประชาชนต้องรู้จักสิทธิ และหน้าที่อย่างไร
**ไม่ห่วงถูกไล่บี้หลังลงจากอำนาจ
เมื่อถามว่า นายกฯอยู่ในตำแหน่ง ยังถูกจ้องเล่นงาน หากวันหนึ่งที่ต้องลงจากตำแหน่ง ห่วงหรือไม่ว่า ตัวเองจะถูกไล่บี้ เช็กบิล พล.อ.ประยุทธ์ ย้อนถามว่า ขึ้นหลังเสือแล้วลงหลังเสือลำบากเหรอ ตนจะไปห่วงทำไม ถ้าห่วงก็ไม่เข้ามาทำหรอก ก็รู้อยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างตอบคำถามดังกล่าวนั้น นายกฯได้ชี้ไปยังกลุ่มข้าราชการและทหารที่ยืนอยู่บริเวณใกล้ๆ ทั้งหมด พร้อมกับพูดว่า "เสี่ยงไหม ทุกคนที่อยู่เนี๊ยะ แล้วเขาได้อะไร ผมได้อะไร วันนี้ผมไม่ได้ห้ามอะไร ใครจะว่าอะไรก็ว่า ไม่มีที่ไหนในโลก ท่านต้องภูมิใจ ไม่มีรัฐบาลที่มาลักษณะนี้แล้วเป็นแบบผม มีที่เดียวในโลกนี้ ที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ ไม่จับกุมคุมขังนักการเมืองแบบร้ายแรง อย่างมากก็พูดคุยสามสี่วันก็ปล่อยกลับหมด เว้นแต่บ่อยๆ เข้าก็ต้องโดนบ้าง รู้อยู่ว่าผิด ยังทำ แค่นี้กฎหมายอื่นก็ละเมิดหมด แต่ไม่ได้หมายความว่า อยากให้เป็นตัวอย่าง หลายประเทศเขาดูอยู่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า บอกว่าจะมีมาตรการเด็ดขาดอย่างไรกับฝ่ายที่ออกมา เคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ระบุว่าเตือนแล้วไม่หยุด พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าคุยแล้วยังไม่หยุด ก็ต้องใช้กฎหมายที่แรงและหนักขึ้นไป ซึ่งจริงๆ แล้วกฎหมายมีแรงอยู่แล้ว แต่ตนไม่ได้ใช้เลย จริงๆ ถ้าผิด สามารถมาติดคุกได้ทันทีจะบอกให้
เมื่อถามว่า มีใครอยู่ในสายตาว่า จะต้องโดนกฎหมายแรงหรือยัง นายกฯกล่าวว่า ไม่รู้ ไม่มี ก็แล้วแต่เขา ถ้าเขาอยากก็ทำไป
**ตั้ง 4 อนุฯร่างพ.ร.บ.ด้านปฏิรูปการเมือง
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงหลังการประชุมกมธ.ยกร่างฯ ว่า ที่ประชุมมีมติ ตั้งคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่าง พ.ร.บ. ที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองอีก 4 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกมธ.ยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยสภาตรวจสอบภาคพลเมือง มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน คณะอนุกมธ.ยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิชุมชน มีนายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นประธาน คณะอนุกมธ.ยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ มีนายสุจิต บุญบงการ เป็นประธาน และ คณะอนุกมธ.ยกร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติ มี นางนรีวรรณ จินตกานนท์ เป็นประธาน
ทั้งนี้ มีกฎหมายสำคัญที่จะต้องเร่งรัด 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กฎหมายประกอบรธน. 12 ฉบับ ซึ่ง 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งจะต้องเสร็จทันทีหลังจากที่รธน. มีผลบังคับใช้ ส่วนที่ 2 เป็นกฎหมายที่สำคัญ 14 ฉบับ และกฎหมายที่สำคัญต่อการปฏิรูปการเมือง ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ 30 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 56 ฉบับ แต่ยอมรับว่า อาจทำไม่เสร็จทั้งหมด และยังไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องการต่อเวลาการทำงานของสปช. กับคณะกรรมาธิการยกร่างฯ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า หลังจากนี้ กมธ.จะแยกย้ายไปประชุม และเริ่มยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หลังจากรธน.นิ่งแล้ว โดยในช่วงนี้จะแยกย้ายลงพื้นที่ใน 15 เวที รับฟังความเห็น และจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 29 พ.ค. นอกจากนี้ในการให้ สปช. ครม. และ คสช. เข้าชี้แจงต่อ กมธ.ยกร่างฯ กรณีขอแปรญัตติ กำหนดไว้ 6 วัน คือวันที่ 1-6 มิ.ย. โดย 5 วันแรก จะเป็นช่วงเวลาสำหรับสปช. ครม.และ คสช. ส่วนวันสุดท้ายจะเปิดโอกาสให้ 10 พรรคการเมือง ที่มีส.ส.ในสภาครั้งที่แล้ว มาเสนอความเห็นต่อกมธ. หลังจากที่ได้มีการส่ง ร่าง รธน.ร่างแรกไปให้ 74 พรรคการเมืองได้พิจารณาแล้ว
ส่วนกรณีที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วิจารณ์ว่า มีการผสมระบบคอมมิวนิสต์เข้าไปใน ร่าง รธน. ด้วยนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่จะมีการออกทีวีชี้แจงเรื่องนี้พร้อมกับนายจุรินทร์ ส่วนกรณีที่รูปแบบการสรรหาผู้สมัคร ส.ว.10 คน ในแต่ละจังหวัด ก่อนที่จะส่งรายชื่อให้ประชาชนคัดเลือก เหมือนกันรูปแบบที่ประเทศจีนใช้ในการเลือกผู้บริหารฮ่องกงนั้น ตนไม่ทราบมาก่อน อาจเป็นเรื่องบังเอิญ
** ให้กระทรวงส่งความเห็นร่างรธน.14 พ.ค.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการให้แต่ละกระทรวงเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่าง รัฐธรรมนูญส่งมายัง ครม.ว่า กำหนดยื่นคำขอแปรญัตติคือ ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.–25 พ.ค. โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม สั่งให้แต่ละกระทรวง ส่งความเห็นมายังตน ภายในวันที่ 14 พ.ค. โดยการให้ความเห็นสามารถเสนอมากี่มาตราก็ได้ ไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องที่เกี่ยวกับกระทรวงตัวเองเสมอไป หากพบอะไรแปลกๆ ในร่าง รธน. สามารถส่งมาได้ และต้องทำใจว่าสิ่งที่ส่งมา ไม่ใช่ว่าครม.จะส่งไปยัง กมธ.ยกร่างฯ ทั้งหมด เพราะต้องร่อนตะแกรง เอาเฉพาะที่เป็นประโยชน์เท่านั้น
นายวิษณุ กล่าวว่า วันนี้คนที่นั่งดู ร่าง รธน. ทั้งหมดชุลมุนกันอยู่เรื่องเลือกตั้ง เรื่องภาคการเมือง เรื่องนายกฯ คนนอก ซึ่งก็ดี เป็นการไปดูจุดใหญ่ๆ แต่ปัญหาคือจุดเล็กๆไม่มีคนช่วยดู จึงอยากให้กระทรวงช่วยดูว่า คนที่จะมาเป็นรัฐบาลครั้งหน้า จะทำงานลำบากยากเย็นหรือไม่ เพราะไม่มีใครดู ถ้าวันนี้ไม่มีใครดู วันหนึ่งพรรคการเมืองต่างๆ เข้ามา อาจบอกว่าทำงานไม่ได้ เพราะติดเรื่องนั้น เรื่องนี้ แล้วจะมีการดิ้นรนขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงอยากให้กระทรวงช่วยดูเกี่ยวกับการบริหารราชการในอนาคต จะติดขัดอะไรหรือไม่ เป็นการคิดเผื่อรัฐบาลหน้า ไม่ได้คิดให้รัฐบาลตัวเอง เพราะไม่ได้อยู่ต่อไปจนถึงตรงนั้นอยู่แล้ว
**ห่วงปัญหาแต่งตั้ง โยกย้าย
" วันนี้ผมดูคร่าวๆ พบว่า ในร่างรัฐธรรมนูญ บางทีคนที่มาเป็นรัฐบาลหน้า อาจจะเกิดปัญหาในการแต่งตั้งโยกย้าย หรือปัญหาเวลาจะเสนอโครงการต่างๆ หรือปัญหาเรื่องการเงิน การคลัง ซึ่ง กมธ.ยกร่างฯ เขียนไว้ดี แต่เราอยากจะรู้ว่า เมื่อกระทรวงดูแล้วอึดอัดอะไรบ้าง อยากให้บอกมา บางทีเจตนาของกมธ.ยกร่างฯ อาจจะเขียนไว้ดี แต่ถ้อยคำอาจจะมัดจนกระทั่งสุดท้าย ถูกตีความจนเกินกว่าที่ กมธ.ยกร่างฯ คิด จึงเป็นโอกาสที่จะขอแก้ให้มันเบาลง เพื่อให้ตรงกับสิ่งที่กมธ.ยกร่างฯ คิด" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามถึงเรื่องการทำประชามติ รองนายกฯ กล่าวว่า วันนี้ยังไม่มีใครพูด แต่ตาม รธน.ชั่วคราว ปี 57 หากจะแก้ไขรธน. ชั่วคราวกำหนดให้คสช. เป็นคนเสนอแก้ไขโดยจะถามมาที่ครม.ด้วย หากเห็นชอบกันก็จะเสนอแก้ไขไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้งนี้ การตัดสินใจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อทำประชามติหรือไม่นั้นไม่ต้องหารือร่วมกับแม่น้ำ 5 สายก่อน เพราะเวลาเสนอแก้ไขจะเสนอเข้าไปที่ สนช. ถ้า สนช. มาร่วมคิดตั้งแต่แรก สนช. ก็จะไม่อิสระในการคิดแก้ หรือไม่แก้ เพราะอำนาจแก้สุดท้ายมันอยู่ที่ สนช. โดยระยะเวลาในการแก้ไขคือ 15 วัน ถึง 1 เดือน
** ฝรั่งเศส-เยอรมัน ตอบรับแชร์ความเห็น
นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะคณะทำงานตามคำสั่ง คสช. ว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การจัดทำรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูป เปิดเผยว่า สำหรับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศที่เชิญมาแชร์ความคิดเห็น เบื้องต้นจากการประสานโดยกระทวงการต่างประเทศ ได้รับการตอบรับแล้วจาก ฝรั่งเศส 2 คน เยอรมัน 1 คน โดยเป็นนักวิชาการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์มากกว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจน เป็นแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูป เพราะประเทศเหล่านี้ ผ่านวิกฤตตรงนี้มาแล้ว เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับเรา โดยในส่วนของ ฝรั่งเศส เป็นระดับปรมาจารย์ในการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเชิญมาในช่วงเดือน พ.ค.
นายบวรศํกดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กรรมาธิการยกร่างฯ ได้จัดทำร่างแรกสำเร็จแล้ว แต่เป็นร่างแรกที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ส่วนร่างสุดท้ายที่แก้ไขไม่ได้ คือ ต้องเสร็จภายวันที่ 23 ก.ค. ซึ่งเสร็จก่อนได้ แต่ถ้าเสร็จหลังจากวันนั้น ทางกรรมาธิการยกร่างฯ ถูกยุบเลย ดังนั้นวันที่ 23 ก.ค. จึงเป็นเส้นตายที่ต้องเสนอร่างรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ยังเขียนมัดไว้ใน มาตรา 36 ว่า สปช.ต้องลงมติให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับ จะแก้ไขเพิ่มเติมอีกไม่ได้ เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด โดยกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องเห็นชอบด้วย หรือเห็นว่า ควรต้องแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์ ซึ่งตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อดูรัฐธรรมนูญปี 2517, 2521 ,2534 ,2540 และ 2550 เขียนตรงกันทุกฉบับว่า เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จในวาระ 2 แล้ว ให้ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อจะได้ใช้เวลาในการปรึกษากันอย่างรอบคอบก่อนลงมติในวาระ 3 ดังนั้น 15 วัน ที่กำหนดให้สปช. นั่งคิดนอนคิด ปรึกษาหารือว่าจะเอา หรือไม่เอาร่างนี้ จะไม่มีการประชุมเพื่อรับฟังความเห็น หรืออภิปรายกันอีกแล้ว
"การที่สมาชิก สปช. บางคนออกมาระบุผ่านสื่อ เป็นความเข้าใจของท่านที่ไม่ได้ดูประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อกำหนดให้วันที่ 23 ก.ค. ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ 15 วันนับจากนั้น คือวันที่ 6 ส.ค. ทางสปช.ต้องลงมติรับ หรือไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ตายตกตามกันไป เริ่มต้นกันใหม่ ตั้งสปช. และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด ส่วนคสช.และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็อยู่ต่อไปอีกหนึ่งปี แต่ถ้าสปช.ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในวันที่ 4 ก.ย. หากไม่มีการทำประชามติ การเลือกตั้งก็จะเกิดขึ้นประมาณปลายเดือนก.พ. หรือต้นเดือนมี.ค.59 "นายบวรศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ หากมีเสียงเรียกร้องให้จัดทำประชามติ คสช. ครม. ต้องเห็นชอบ และต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ก่อนวันที่ 6 ส.ค. ถ้าแก้หลังวันนั้น ก็จะวุ่นวาย เมื่อมีการทำประชามติ ก็บวกเวลาต่อไปอีก 3 เดือน ดังนั้นการเลือกตั้งก็จะเกิดขึ้นประมาณเดือน พ.ค. 59 ทั้งหมดนี้ไม่ใช่โรดแมป ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่เป็นโรดแมปของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะทำประชามติหรือไม่ ยังไม่แน่ แต่ส่วนตัวเห็นว่า ต้องทำ และเชื่อว่านายกฯ ก็อยากจะทำ
" ปี 40 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี 50 มีรัฐธรรมนูญฉบับประชามติ และฉบับนี้ เป็นฉบับปฏิรูป จึงไม่แปลกใจ ที่จะมีการวิจารณ์ โดยเฉพาะนักการเมืองที่ออกมาวิจารณ์ระบบเลือกตั้ง เพราะเขากลัวประเด็นกลุ่มการเมือง ว่าคนของเขาจะแยกไปตั้งกลุ่มมาแข่งกับเขา และกลัวระบบบัญชีรายชื่อ ที่เป็นแบบโอเพ่นลิสต์ ให้ประชาชนจัดลำดับได้เอง ส่วนที่บอกว่าทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ ที่จริงต้องพูดต่อว่า ทำให้ประชาชนเข้มแข็งขึ้น สิ่งที่นักการเมืองกลัวจริง ๆ คือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ สมัชชาพลเมือง รวมถึงหมวดปฏิรูปทั้งหมด เพราะเขาต้องปฏิบัติตาม ซึ่งสิ่งที่เรากำลังปฏิรูปสวนทางกลับที่เขาอยากทำ" นายบวรศักดิ์ กล่าว
** เอารธน.ไปใช้ก่อน 5 ปี ค่อยแก้ไข
นายบวรศักดิ์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม ว่า หลังจากที่มีการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หลังจากนี้ ก็เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกสปช. ยื่นญัตติคำข้อแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะมาถึง กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 25 พ.ค.นี้ จากนั้นในวันที่ 1-6 มิ.ย.จะได้เชิญผู้ขอแปรญัตติแก้ไขมาชี้แจงต่อกมธ.ยกร่างฯ และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งหากมีเวลาก็จะเชิญพรรคการเมืองมาร่วมแสดงความคิดเห็น ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย จึงจะเป็นร่างรัฐธรรมนูญสุดท้ายก่อนเสนอต่อไปยัง สปช. อีกครั้ง เพื่อให้ลงมติในวันที่ 6 ส.ค. ยืนยันว่าไม่สามารถขยายเวลาได้การพิจารณาออกไปตามอย่างที่บาง พรรคการเมืองต้องการ ซึ่งจะต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557
ส่วนเรื่องการเสนอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็ต้องดูเหตุผลเป็นหลัก ถ้าเหตุผล สปช. ดีกว่า ก็พร้อมแก้ไข แต่ถ้าของ กมธ.ยกร่างฯ ดีกว่า เราก็จะชี้แจงให้ทราบ อย่างไรก็ตาม ตนไม่ต้องการให้คณะกมธ.ยกร่างฯ อยู่ต่อ แต่ให้มีคณะอื่นขึ้นมาสืบทอดงานแทน
นายบวรศักดิ์ กล่าวถึงข้อวิจารณ์ที่ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอนั้น ไม่เป็นความจริง ถ้าพรรคการเมืองไทย มีการบริหารภายในที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ถ้าพรรคการเมืองยังเป็นของบางคน การตัดสินใจก็จะเป็นของคนไม่กี่กลุ่ม ถ้าตนเป็นนักการเมืองก็คงกลัว แต่การปฏิรูปก็ต้องยอมสละความเคยชินทิ้งไป ตนจึงอยากเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน อย่างน้อย 5 ปี แล้วค่อยแก้ไข และถ้าบ้านเมืองเกิดความปรองดอง ก็อาจจะกลับมาแก้ให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง โดยมีเสียงในรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่งก็สามารถทำได้
นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยที่ให้มีการจัดตั้งกลุ่มการเมือง ซึ่งตนก็เข้าใจว่า หลายพรรคการเมืองกลัวคนที่มีศักยภาพของพรรคตัวเอง จะออกมา แต่อยากให้นึกถึงคนที่ไม่มีเงินตั้งพรรคการเมือง และต้องไปหาสมาชิกอีก 5 พัน จึงเห็นว่าควรมีกลุ่มการเมือง และจดทะเบียน โดยอาจมีเงื่อนไขน้อยกว่าพรรคการเมือง หากต่อไปมีปัญหา ก็สามารถปรับแก้ไขได้ในอนาคต วันนี้อยากให้นึกถึงคนอย่าง นายอลงกรณ์ พลบุตร คนแบบนี้จะไปอยู่ที่ไหน เพราะยังมีคนลักษณะนี้ อีกเยอะ
** รธน.เป็นเครื่องมือดับชนวนระเบิด
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ยกร่างฯ เปิดเผยว่า เวลา 13.30 น. (28เม.ย.) กรรมาธิการยกร่าง ฯ จะมีการประชุมเพื่อประมวลความเห็น และข้อเสนอแนะจากการอภิปรายของสมาชิกสภาปฏิรูแห่งชาติ (สปช.) ตลอด 7 วันที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นการท้วงติงเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง ความสัมพันธ์กับข้าราชการ โดยยืนยันว่า กรรมาธิการฯ ไม่มีธงว่าจะไม่มีการแก้ไขปรับปรุง หรือเปิดช่องรับฟังความเห็นเพียงแค่เป็นพิธีกรรมเท่านั้น แต่มีเจตนาดีที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อแก้ปัญหาบ้านเมืองอย่างยั่งยืนจริงๆ
"ที่มีการวิจารณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรงในขณะนี้ เช่น มีการผสมผสานระบบคอมมิวนิสต์ หรือสร้างเผด็จการรัฐสภา อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญนั้น กรรมาธิการฯ ขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง ทุกเนื้อหาที่เขียนขึ้น กลั่นกรองจากมันสมองของกรรมาธิการฯ ที่พิจารณาจากพื้นฐานปัญหาของชาติ และขอให้ให้เกียรติกรรมาธิการฯ ทั้ง 36 คนด้วย ว่าเข้ามาทำหน้าที่เพื่อแก้ปัญหาประเทศ เราร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นเครื่องมือในการดับชนวนระเบิดเวลาที่ค้างอยู่ ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.57 ก่อนการรัฐประหาร ไม่ใช่ว่ารัฐธรรมนูญนี้ เป็นระเบิดเวลาของประเทศไทย " นายคำนูณ กล่าว
**ให้ครม.-คสช. ติติง ร่างรธน.เต็มที่
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงการอภิปราย ร่างรัฐธรรมนุญของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า คงไม่ต้องรอรับรายงาน สามาดรถดูเองได้ เพราะตนอ่าน และติดตามทุกเรื่อง ต้องดูหมด ทั้งการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องรู้ทุกเรื่อง ถ้าไม่รู้ทุกเรื่องก็ไม่ต้องเป็นนายกฯ ดังนั้นไม่ต้องรอรายงาน ตนสามารถนั่งวิเคราะห์เองได้
" ฉะนั้นทั้งหมดเป็นไปตามรัฐธรรมนูญอย่างเดียว คุณไปหามาว่า เขาเขียนอย่างไร เป็นไปตามนั้น จะดีไม่ดี ไม่รู้ เดี๋ยวทำข้อพิจารณาขึ้นไป โดยครม.จะสรุปมา ซึ่งครม. มีหลายคนจะประชุมร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปเป็นเรื่องๆไป กี่หมวด กี่มาตรา ตรงไหนควรจะแก้หรือไม่ ขณะที่สปช. ก็ทำของเขา ผมก็ทำของผม คสช.ก็ของคสช. ครม.ก็อีก ทำสามแท่งเข้าไป โดยส่งไปที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เขาจะแก้หรือไม่ เป็นอำนาจของเขา"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตามที่บอกว่าได้วิเคราะห์เองนั้น ขณะนี้มองสถานการณ์อย่างไร นายกฯ กล่าวว่า วันนี้ที่มองอยากถามว่า สถานการณ์บ้านเมืองปกติหรือไม่ ถ้าไม่ปกติ แล้วท่านอยากให้ปกติหรือไม่ อยากให้ยั่งยืน อยากให้เศรษฐกิจดีขึ้นหรือไม่ หรืออยากจะให้เป็นแบบเดิม ตรงนี้ขอถามประชาชนทั้งประเทศ
"วันนี้ตั้งใจจะอารมณ์ดี แต่พอหยิบหนังสือขึ้นมาเปิดอ่าน หนังสืออะไรก็ไม่รู้ พวกอดีตรัฐมนตรีเก่าๆ ทำนองนี้ เขียนหนังสือพิมพ์อยู่ มันได้ยังไง เขียนออกมาไม่สร้างสรรค์สักเรื่องไม่เคยรับความผิดความบกพร่องของตัวเองเลย เดี๋ยวคอยดูกันต่อไป ว่ากันไป สอบสวนกระบวนความเกี่ยวข้องกับใคร ก็ว่าหมด ประเด็นสำคัญคือ ถ้าคิดว่าบ้านเมืองไม่ปกติอยากให้บ้านเมืองมั่นคงยั่งยืน ไม่มีการใช้ความรุนแรงกันแบบเดิมไม่มีการทุจริตผิดกฎหมาย ไม่มีการละเมิดสิทธิผู้อื่น ก็น่าจะต้องมีมาตรการอะไรขึ้นมาสักอย่าง และการที่จะทำให้รัฐบาลมาอย่างไร ทำอย่างไรจะให้ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล ผมบอกแล้วให้ไปคิดกันมา จะมีมาตรการอะไรกันบ้าง ผมไม่รู้ เพราะผมไม่เคยทำหน้าที่นี้ และไม่เคยคัดสรรใครเข้ามาด้วย ผมดูแต่ทหาร ฉะนั้นท่านต้องไปคิดมา ท่านเป็นนักกฎหมาย เป็นกรรมาธิการฯ ไปร่าง ไปคิดมา ถ้าคิดว่าอันนี้ดี แล้วคนยอมรับได้ ได้รัฐบาลมาก็เป็นไปตามนั้น ต่อไปเป็นเรื่องควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การตรวจสอบความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน จะตัดต่อตรงไหนให้ทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอย่างครั้งที่แล้ว ส่วนเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี อย่าไปกังวลว่า ผมคือนายกรัฐมนตรีตรงนั้น มันไม่ใช่ คนละเรื่องกัน ตรงนี้ไม่ใช่ว่าผมเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แต่อย่ามาพูดกันตรงนั้น จากที่ผมฟังมา เขาบอกว่าถ้าเหตุการณ์ไม่ปกติ จะเอานายกฯ มาจากไหน แต่กลายเป็นว่ามันจะเป็นการสืบทอดอำนาจ มันอะไรกัน ไม่เข้าใจ อ่านหนังสือกันไม่เข้าใจหรืออย่างไร เขาเขียนไว้หรือเปล่าว่า มาตอนไหน หรือวิเคราะห์วิจารณ์ฝันมโนกันไปเรื่อยทุกวัน อ่านหนังสือภาษาไทยไม่ออก แสดงว่าการศึกษาไทย ใช้ไม่ได้ อ่านหนังสือไทยไม่รู้เรื่อง โตๆ กันแล้ว จะว่ายังไงก็ว่ามา จะเอาใครมาบังคับบัญชา ปกครอง บริหาร ก็ไปหามา ยังไม่เรื่องของผม หน้าที่ของผมตอนนี้คือ ดูแลความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัย ก็ดำเนินการกันไป หน้าที่ใครหน้าที่มัน อย่าให้มีเรื่อง อย่าให้ประชาชนเดือดร้อน ผมตอนนี้มีเท่านั้น แก้ไขสถานการณ์ตามที่เกิดขึ้น" นายกรัฐมนตรี กล่าว
เมื่อถามว่า จากการติดตามการอภิปรายของ สปช. ในร่างรัฐธรรมนูญ ที่คณะกรรมการธิการยกร่างฯ ได้ยกร่างมานั้น มีประเด็นใดที่คิดว่าต้องมีข้อเสนอแนะปรับแก้บ้าง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็มีทุกอัน ซึ่งตนจะถามกลับไปว่า อย่างนี้หมายความว่าอย่างไร จะทำเพื่ออะไร สิ่งสำคัญจะถามไปว่า วันนี้ประเทศไทยต้องเดินหน้า โดยถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ประชาชนได้ประโยชน์อะไร ประชาชนต้องรู้จักสิทธิ และหน้าที่อย่างไร
**ไม่ห่วงถูกไล่บี้หลังลงจากอำนาจ
เมื่อถามว่า นายกฯอยู่ในตำแหน่ง ยังถูกจ้องเล่นงาน หากวันหนึ่งที่ต้องลงจากตำแหน่ง ห่วงหรือไม่ว่า ตัวเองจะถูกไล่บี้ เช็กบิล พล.อ.ประยุทธ์ ย้อนถามว่า ขึ้นหลังเสือแล้วลงหลังเสือลำบากเหรอ ตนจะไปห่วงทำไม ถ้าห่วงก็ไม่เข้ามาทำหรอก ก็รู้อยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างตอบคำถามดังกล่าวนั้น นายกฯได้ชี้ไปยังกลุ่มข้าราชการและทหารที่ยืนอยู่บริเวณใกล้ๆ ทั้งหมด พร้อมกับพูดว่า "เสี่ยงไหม ทุกคนที่อยู่เนี๊ยะ แล้วเขาได้อะไร ผมได้อะไร วันนี้ผมไม่ได้ห้ามอะไร ใครจะว่าอะไรก็ว่า ไม่มีที่ไหนในโลก ท่านต้องภูมิใจ ไม่มีรัฐบาลที่มาลักษณะนี้แล้วเป็นแบบผม มีที่เดียวในโลกนี้ ที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ ไม่จับกุมคุมขังนักการเมืองแบบร้ายแรง อย่างมากก็พูดคุยสามสี่วันก็ปล่อยกลับหมด เว้นแต่บ่อยๆ เข้าก็ต้องโดนบ้าง รู้อยู่ว่าผิด ยังทำ แค่นี้กฎหมายอื่นก็ละเมิดหมด แต่ไม่ได้หมายความว่า อยากให้เป็นตัวอย่าง หลายประเทศเขาดูอยู่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า บอกว่าจะมีมาตรการเด็ดขาดอย่างไรกับฝ่ายที่ออกมา เคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ระบุว่าเตือนแล้วไม่หยุด พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าคุยแล้วยังไม่หยุด ก็ต้องใช้กฎหมายที่แรงและหนักขึ้นไป ซึ่งจริงๆ แล้วกฎหมายมีแรงอยู่แล้ว แต่ตนไม่ได้ใช้เลย จริงๆ ถ้าผิด สามารถมาติดคุกได้ทันทีจะบอกให้
เมื่อถามว่า มีใครอยู่ในสายตาว่า จะต้องโดนกฎหมายแรงหรือยัง นายกฯกล่าวว่า ไม่รู้ ไม่มี ก็แล้วแต่เขา ถ้าเขาอยากก็ทำไป
**ตั้ง 4 อนุฯร่างพ.ร.บ.ด้านปฏิรูปการเมือง
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงหลังการประชุมกมธ.ยกร่างฯ ว่า ที่ประชุมมีมติ ตั้งคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่าง พ.ร.บ. ที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองอีก 4 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกมธ.ยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยสภาตรวจสอบภาคพลเมือง มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน คณะอนุกมธ.ยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิชุมชน มีนายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นประธาน คณะอนุกมธ.ยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ มีนายสุจิต บุญบงการ เป็นประธาน และ คณะอนุกมธ.ยกร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติ มี นางนรีวรรณ จินตกานนท์ เป็นประธาน
ทั้งนี้ มีกฎหมายสำคัญที่จะต้องเร่งรัด 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กฎหมายประกอบรธน. 12 ฉบับ ซึ่ง 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งจะต้องเสร็จทันทีหลังจากที่รธน. มีผลบังคับใช้ ส่วนที่ 2 เป็นกฎหมายที่สำคัญ 14 ฉบับ และกฎหมายที่สำคัญต่อการปฏิรูปการเมือง ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ 30 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 56 ฉบับ แต่ยอมรับว่า อาจทำไม่เสร็จทั้งหมด และยังไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องการต่อเวลาการทำงานของสปช. กับคณะกรรมาธิการยกร่างฯ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า หลังจากนี้ กมธ.จะแยกย้ายไปประชุม และเริ่มยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หลังจากรธน.นิ่งแล้ว โดยในช่วงนี้จะแยกย้ายลงพื้นที่ใน 15 เวที รับฟังความเห็น และจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 29 พ.ค. นอกจากนี้ในการให้ สปช. ครม. และ คสช. เข้าชี้แจงต่อ กมธ.ยกร่างฯ กรณีขอแปรญัตติ กำหนดไว้ 6 วัน คือวันที่ 1-6 มิ.ย. โดย 5 วันแรก จะเป็นช่วงเวลาสำหรับสปช. ครม.และ คสช. ส่วนวันสุดท้ายจะเปิดโอกาสให้ 10 พรรคการเมือง ที่มีส.ส.ในสภาครั้งที่แล้ว มาเสนอความเห็นต่อกมธ. หลังจากที่ได้มีการส่ง ร่าง รธน.ร่างแรกไปให้ 74 พรรคการเมืองได้พิจารณาแล้ว
ส่วนกรณีที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วิจารณ์ว่า มีการผสมระบบคอมมิวนิสต์เข้าไปใน ร่าง รธน. ด้วยนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่จะมีการออกทีวีชี้แจงเรื่องนี้พร้อมกับนายจุรินทร์ ส่วนกรณีที่รูปแบบการสรรหาผู้สมัคร ส.ว.10 คน ในแต่ละจังหวัด ก่อนที่จะส่งรายชื่อให้ประชาชนคัดเลือก เหมือนกันรูปแบบที่ประเทศจีนใช้ในการเลือกผู้บริหารฮ่องกงนั้น ตนไม่ทราบมาก่อน อาจเป็นเรื่องบังเอิญ
** ให้กระทรวงส่งความเห็นร่างรธน.14 พ.ค.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการให้แต่ละกระทรวงเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่าง รัฐธรรมนูญส่งมายัง ครม.ว่า กำหนดยื่นคำขอแปรญัตติคือ ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.–25 พ.ค. โดยพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม สั่งให้แต่ละกระทรวง ส่งความเห็นมายังตน ภายในวันที่ 14 พ.ค. โดยการให้ความเห็นสามารถเสนอมากี่มาตราก็ได้ ไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องที่เกี่ยวกับกระทรวงตัวเองเสมอไป หากพบอะไรแปลกๆ ในร่าง รธน. สามารถส่งมาได้ และต้องทำใจว่าสิ่งที่ส่งมา ไม่ใช่ว่าครม.จะส่งไปยัง กมธ.ยกร่างฯ ทั้งหมด เพราะต้องร่อนตะแกรง เอาเฉพาะที่เป็นประโยชน์เท่านั้น
นายวิษณุ กล่าวว่า วันนี้คนที่นั่งดู ร่าง รธน. ทั้งหมดชุลมุนกันอยู่เรื่องเลือกตั้ง เรื่องภาคการเมือง เรื่องนายกฯ คนนอก ซึ่งก็ดี เป็นการไปดูจุดใหญ่ๆ แต่ปัญหาคือจุดเล็กๆไม่มีคนช่วยดู จึงอยากให้กระทรวงช่วยดูว่า คนที่จะมาเป็นรัฐบาลครั้งหน้า จะทำงานลำบากยากเย็นหรือไม่ เพราะไม่มีใครดู ถ้าวันนี้ไม่มีใครดู วันหนึ่งพรรคการเมืองต่างๆ เข้ามา อาจบอกว่าทำงานไม่ได้ เพราะติดเรื่องนั้น เรื่องนี้ แล้วจะมีการดิ้นรนขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงอยากให้กระทรวงช่วยดูเกี่ยวกับการบริหารราชการในอนาคต จะติดขัดอะไรหรือไม่ เป็นการคิดเผื่อรัฐบาลหน้า ไม่ได้คิดให้รัฐบาลตัวเอง เพราะไม่ได้อยู่ต่อไปจนถึงตรงนั้นอยู่แล้ว
**ห่วงปัญหาแต่งตั้ง โยกย้าย
" วันนี้ผมดูคร่าวๆ พบว่า ในร่างรัฐธรรมนูญ บางทีคนที่มาเป็นรัฐบาลหน้า อาจจะเกิดปัญหาในการแต่งตั้งโยกย้าย หรือปัญหาเวลาจะเสนอโครงการต่างๆ หรือปัญหาเรื่องการเงิน การคลัง ซึ่ง กมธ.ยกร่างฯ เขียนไว้ดี แต่เราอยากจะรู้ว่า เมื่อกระทรวงดูแล้วอึดอัดอะไรบ้าง อยากให้บอกมา บางทีเจตนาของกมธ.ยกร่างฯ อาจจะเขียนไว้ดี แต่ถ้อยคำอาจจะมัดจนกระทั่งสุดท้าย ถูกตีความจนเกินกว่าที่ กมธ.ยกร่างฯ คิด จึงเป็นโอกาสที่จะขอแก้ให้มันเบาลง เพื่อให้ตรงกับสิ่งที่กมธ.ยกร่างฯ คิด" นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามถึงเรื่องการทำประชามติ รองนายกฯ กล่าวว่า วันนี้ยังไม่มีใครพูด แต่ตาม รธน.ชั่วคราว ปี 57 หากจะแก้ไขรธน. ชั่วคราวกำหนดให้คสช. เป็นคนเสนอแก้ไขโดยจะถามมาที่ครม.ด้วย หากเห็นชอบกันก็จะเสนอแก้ไขไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้งนี้ การตัดสินใจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อทำประชามติหรือไม่นั้นไม่ต้องหารือร่วมกับแม่น้ำ 5 สายก่อน เพราะเวลาเสนอแก้ไขจะเสนอเข้าไปที่ สนช. ถ้า สนช. มาร่วมคิดตั้งแต่แรก สนช. ก็จะไม่อิสระในการคิดแก้ หรือไม่แก้ เพราะอำนาจแก้สุดท้ายมันอยู่ที่ สนช. โดยระยะเวลาในการแก้ไขคือ 15 วัน ถึง 1 เดือน
** ฝรั่งเศส-เยอรมัน ตอบรับแชร์ความเห็น
นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะคณะทำงานตามคำสั่ง คสช. ว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การจัดทำรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูป เปิดเผยว่า สำหรับรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศที่เชิญมาแชร์ความคิดเห็น เบื้องต้นจากการประสานโดยกระทวงการต่างประเทศ ได้รับการตอบรับแล้วจาก ฝรั่งเศส 2 คน เยอรมัน 1 คน โดยเป็นนักวิชาการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์มากกว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจน เป็นแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูป เพราะประเทศเหล่านี้ ผ่านวิกฤตตรงนี้มาแล้ว เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับเรา โดยในส่วนของ ฝรั่งเศส เป็นระดับปรมาจารย์ในการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเชิญมาในช่วงเดือน พ.ค.