วานนี้ ( 9 เม.ย.) นายวันชัย สอนศิริ โฆษกวิป สปช. แถลงภายหลังการสัมมนาร่วมกันระหว่างสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในช่วงเช้าว่า นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. ต้องการให้มีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นหลักในรัฐธรรมนูญ คือ
1. เนื้อหารัฐธรรมนูญ ตามที่กมธ.รายงานต่อ สปช.โดยลำดับนั้น มีประเด็นและคำถามโดยตลอด แต่ยังไม่ได้ซักถามเพื่อสร้างความเข้าใจ และบัดนี้ กมธ.แจ้งว่าใกล้เรียบร้อยแล้ว ก่อนส่งวันที่ 17 เม.ย. วันนี้จะได้ตอบให้สมาชิกหายข้องใจเป็นเบื้องต้นก่อน
2. กระบวนการอภิปราย ช่วง 20-26 เม.ย. จะกำหนดเวลาในสัดส่วนกรรมาธิการ และสมาชิกเท่าใด เดิมวิปกำหนดกรรมาธิการท่านละ 2 ชั่วโมง และสมาชิกไม่เกิน 15 นาที แต่มีการเสนอให้น้ำหนักรัฐธรรมนูญในแต่ละส่วนแตกต่างกัน
3 .หลังจากอภิปรายแล้วสมาชิกจะต้องมีการแปรญัตติภายใน 30 วัน จะได้ตกลงกันว่า ใครจะอยู่กลุ่มไหน อย่างไร ตั้งแต่เนื้อหา กระบวนวิธีและการแปรญัตติเพราะสมาชิก 26 คนจะเสนอได้ 8 ญัตติ
โฆษกวิป สปช. ระบุด้วยว่า ประธานสปช. ต้องการให้งานสภาปฏิรูปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยความราบรื่น และอยากให้การอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยเหตุผลและเนื้อหาสาระ เพราะต้องการให้รัฐธรรมนูญออกมาดีที่สุด โดยนายเทียนฉาย กล่าวย้ำก่อนเปิดสัมมนาว่า อยากให้การร่างรัฐธรรมนูญเป็นความรับผิดชอบของสปช.โดยตรง ให้ทำหน้าที่มั่นคง เข้มแข็ง จะผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่มีโผ ไม่มีการล็อบบี้ อยากให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นฉบับสุดท้าย จึงขอให้ทุกคนพิจารณาอย่างรอบคอบ พร้อมกับว่ายืนยันไม่มีใครสั่งการ หรือกำหนดการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้โดยเด็ด
ขาด
จากนั้นกรรมาธิการฯ กับสปช. แลกเปลี่ยนความเห็นโดยมี สปช. 12 คน ซักถาม ซึ่งส่วนใหญ่คือ เนื้อหาใน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ซึ่งเป็นประเด็นที่สมาชิกติดใจ ทั้งที่มา ส.ส. - ส.ว. และระบบการเลือกตั้ง เพราะเห็นว่าวิธีการของกรรมาธิการฯ แก้ปัญหาการเมืองได้จริงหรือไม่ ระบบการเลือกตั้งที่เอามาใช้สามารถป้องกันการทุจริตการขายเสียงได้มากน้อยแค่ไหน รัฐบาลจะมีความเข้มแข็ง และการตรวจสอบอำนาจรัฐเข้มแข็งอย่างไร และอีกส่วนหนึ่งที่มีข้อสงสัยคือ สภาขับเคลื่อนปฏิรูป มีไว้เพื่ออะไร ทำงานต่อเนื่องได้จริงหรือไม่ จึงคิดว่าประเด็นต่อไปที่จะซักถามมาก คือ การเมือง กระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปและการปรองดอง
ทั้งนี้ นายวันชัย ยอมรับว่า การพบกันระหว่างกรรมาธิการยกร่างฯ กับสปช. ก่อนการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดบรรยากาศการโต้เถียงระหว่างการอภิปราย และยังช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาเรื่องกระบวนวิธีด้วย ส่วนการโต้เถียงดุเดือดนั้น ที่ประชุมได้ขอให้โต้เถียงด้วยไมตรีวิวาทะ ไม่ได้มุ่งเอาแพ้ชนะ ใช้เหตุผลมากกว่าการเสียดสี ประชดประชัน เหมือนการเมือง เพราะต้องการให้เป็นสภาแห่งเนื้อหา มากกว่าเป็นสภาวาทกรรม โต้เถียงกัน สำหรับขอบเขตการแปรญัตตินั้น ญัตติเดียวจะมีกี่ประเด็นก็ได้ แต่ผู้เสนอต้องมีผู้รับรอง 25 คน รวม 26 คน ส่วนจะมีการซ้ำซ้อนกันก็ไม่คิดว่าเป็นปัญหา แต่จะทำให้กรรมาธิการต้องไปพิจารณาอย่างมากที่สุด
ส่วนกรณีที่กรรมาธิการยกร่างฯ ได้ปรับเนื้อหาเรื่องนายกฯคนนอก ให้ต้องมาจากเสียงสองในสาม แต่กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. เห็นว่า ควรมีเงื่อนไขคำว่า "วิกฤตที่ชัดเจน" จะมีการแปรญัตติในเรื่องนี้หรือไม่นั้น ตนเห็นว่าเป็นสิทธิของสมาชิกที่จะดำเนินการได้โดยอิสระ หากกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองมีกลุ่มสมาชิกรวมได้ 26 คน ก็เสนอแปรญัตติเรื่องการกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนเข้าไปได้ โดยเชื่อว่ามีหลายมาตรา หลายประเด็นที่ สปช. จะขอแปรญัตติ เพราะมีการติดใจทั้งเรื่องสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป องค์กรอิสระ และระบบการเมือง แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดในประเด็น คณะกรรมการปรองดอง ที่ให้อำนาจร่างพระราชกฤษฎีกาเองได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงมีการหารือกันในทุกประเด็น
"ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านทั้งกรรมาธิการยกร่างฯ กับสปช. ก็ตายไปด้วยกัน ไม่มีการเกี้ยเซียะเพื่อหวังอยู่ต่อ เนื่องจากไม่รู้ว่า จะอยู่ไปทำไม และไม่คิดว่าการที่ กรรมาธิการฯกำหนดให้มี สปช. 60 คน ไปเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป จะทำให้มีเสียง สปช. คอยสนับสนุนอยู่แล้วไม่น้อยกว่า 60 เสียง เพราะการพิจารณาเป็นดุลพินิจโดยอิสระของแต่ละคน" นายวันชัย กล่าว
**ชี้รธน.ไทยต่างจากเยอรมัน 7 ข้อ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในการหารือ ประเด็นส่วนใหญ่พบว่า สมาชิกสปช.ได้มีการสอบถามถึงระบบการเลือกตั้ง ซึ่งทางกมธ.ยกร่างฯ ก็ได้มอบหมายให้ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่ชี้แจงว่า ระบบการเลือกตั้งของไทยไม่ใช่เยอรมัน เพราะมีความแตกต่างจากเยอรมัน 7 ข้อ โดยข้อเสนอของ สปช. และคณะกรรมาธิการปฏิรูปของสปช. ทั้ง 18 คณะ มีอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว
ทั้งนี้ เชื่อว่าการอภิปรายของ สปช. จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่น่าห่วง เพราะสมาชิกสปช.มีวินัย และไม่ต้องการให้สภาสปช.เป็นเหมือนสภาการเมือง ซึ่งสิ่งที่สมาชิกสปช.อภิปราย ทาง กมธ.ยกร่างฯ ก็จะนำมาปรับปรุงและแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ต่างๆ ที่หลายส่วนเรียกร้องให้ สปช. เข้ามามีส่วนร่วมด้วยนั้น ก็อาจเป็นไปได้ แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 กำหนดให้ กมธ.ยกร่างฯ เป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นจึงคิดว่า เมื่อร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น และก่อนที่จะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็จะนำไปขอความเห็นจาก สปช. ก่อน แล้วจึงค่อยนำเสนอต่อ สนช. โดยทาง สปช. จะไม่มีการปรับปรุงแก้ไข เพราะหากให้ปรับปรุงแก้ไข ก็จะต้องพิจารณาเป็นรายมาตรา อาจทำให้เลยเวลาของโรดแมปได้
** กมธ.ชูประชามติ ยังไม่เป็นทางการ
ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกรณีที่ นายเจษฎ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่างฯ ระบุว่า กมธ.ยกร่างฯสนับสนุนให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนุญฉบับใหม่ ว่า ทางกมธ.ยกร่างฯ ยังไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องนี้กันอย่างเป็นทางการ มีเพียงแต่พูดคุยกันนอกรอบ ว่าควรที่จะต้องมีการทำประชามติ เพราะเชื่อว่าจะเป็นการให้ความรู้กับประชาชน ทำให้ได้รับทราบถึงเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งมองว่า เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 มีการทำประชามติไว้ ถ้าหากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่มีการทำประชามติ เกรงว่าจะทำให้เครดิตของรัฐธรรมนูญลดลงได้
** "มาร์ค" ชี้ รธนงแก้ปัญหาไม่ตรงจุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ว่า เป็นการยกร่างบนสมมุติฐานว่า ถ้าพรรคการเมืองอ่อนแอ แล้วจะแก้ปัญหาได้นั้น ตนคิดว่าไม่ใช่ เพราะเมื่อพรรคการเมืองเป็นเบี้ยหัวแตก การตั้งรัฐบาลที่เกิดขึ้น ต้องเกิดจากการต่อรอง ตนเป็นห่วงว่าจะกลายเป็นการให้อำนาจนักการเมือง หรือกลุ่มการเมือง ต่อรองกันมากขึ้น แทนที่จะเป็นการตั้งรัฐบาล บนพื้นฐานการตัดสินใจของประชาชน
สมมุติว่าการเลือกแบบนี้ ออกแบบระบบโดยไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก แล้วพรรค ก. ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ พรรค ข.ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ และพรรค ค. ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วอย่างนี้ใครจะได้ตั้งรัฐบาล ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญก็ไปเพิ่มอำนาจให้รัฐด้วย เช่น การให้รัฐบาล สามารถยื่นคำขาดกับสภาฯได้ ถ้ารัฐบาลอยากได้กฎหมายนี้ แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่อยากได้ ต้องเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากรัฐบาลชนะ ก็จะออกกฎหมายได้ ซึ่งต้องยื่นแก้ไขภายใน 48 ชั่วโมง และถ้ามาตรการนี้ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว กฎหมายนิรโทษกรรม คงจะผ่านไปแล้ว ตนจึงเป็นห่วงในกรณีที่ว่า หากพรรคการเมือง หรือนักการเมือง อยากจะได้อะไรเพื่อตัวเอง จะเป็นปัญหาหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องทำระบบส่งเสริมให้พรรคการเมือง ทำหน้าที่ของตัวเองให้ได้
" สำหรับระบบตรวจสอบ ก็จะยากไปด้วย แม้บางเรื่องเข้าใจว่าอาจจะเจตนาดี โดยเฉพาะการถอดถอน ที่กมธ.ยกร่างฯ อาจมองข้ามประเด็นที่เป็นปัญหาในอดีตไปหรือไม่ เพราะอาจกลายเป็นว่าพรรคการเมืองอ่อนแอ แต่รัฐบาลใช้อำนาจได้อย่างค่อนข้างที่จะถูกตรวจสอบได้ยาก ผมมองว่า มันเป็นการวินิจฉัยโรคของปัญหาการเมืองไทยผิด เพราะฉะนั้น ก็จะมีบางเรื่องที่อาจจะต้องถกเถียงกันต่อไป เช่น การไปจำกัดอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะต่อไปนี้จะต้องมีกลไกอะไรขึ้นมาเยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะกลไกการตั้งปลัดกระทรวง ที่อาจมีข้อดีตรงที่ทำให้การเข้าไป แทรกแซงได้ยาก แต่ถ้ากระทบกับการทำงาน แล้วในที่สุดคนที่จะต้องมีความรับผิดชอบทางการเมือง จะให้เขาทำอย่างไร" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. มีแนวคิดจะเชิญนักวิชาการต่างประเทศ มาแชร์ประสบการณ์ เรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นสิ่งที่น่าลองดู เพราะก่อนหน้านี้ มีข้อเสนอแนะมาว่า ทำไมไม่เอานักวิชาการต่างชาติมาอธิบาย แต่ไม่ได้ให้มาวิจารณ์รัฐธรรมนูญ เพียงแต่ต้องการให้มาบอกว่า บ้านเมืองเขามีวิกฤต และผ่านวิกฤต มาได้อย่างไร เราต้องการให้เขาแนะตรงนั้นมากกว่า ไม่ใช่มาสอนเรา และไม่ใช่มาร่างรัฐธรรมนูญให้
อย่างไรก็ตาม ที่จริงนักวิชาการที่เป็น กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่จบการศึกษามาจากต่างประเทศทั้งนั้น อย่างกรณีตน เวลาไปเรียน จะไปเรียนในสิ่งที่เรียนมา แต่เรื่องเบื้องลึก เบื้องหลัง เก่าแก่ของเขา เราไม่ได้รู้อย่างลึกซึ้ง เหมือนคนประเทศเขาเอง
1. เนื้อหารัฐธรรมนูญ ตามที่กมธ.รายงานต่อ สปช.โดยลำดับนั้น มีประเด็นและคำถามโดยตลอด แต่ยังไม่ได้ซักถามเพื่อสร้างความเข้าใจ และบัดนี้ กมธ.แจ้งว่าใกล้เรียบร้อยแล้ว ก่อนส่งวันที่ 17 เม.ย. วันนี้จะได้ตอบให้สมาชิกหายข้องใจเป็นเบื้องต้นก่อน
2. กระบวนการอภิปราย ช่วง 20-26 เม.ย. จะกำหนดเวลาในสัดส่วนกรรมาธิการ และสมาชิกเท่าใด เดิมวิปกำหนดกรรมาธิการท่านละ 2 ชั่วโมง และสมาชิกไม่เกิน 15 นาที แต่มีการเสนอให้น้ำหนักรัฐธรรมนูญในแต่ละส่วนแตกต่างกัน
3 .หลังจากอภิปรายแล้วสมาชิกจะต้องมีการแปรญัตติภายใน 30 วัน จะได้ตกลงกันว่า ใครจะอยู่กลุ่มไหน อย่างไร ตั้งแต่เนื้อหา กระบวนวิธีและการแปรญัตติเพราะสมาชิก 26 คนจะเสนอได้ 8 ญัตติ
โฆษกวิป สปช. ระบุด้วยว่า ประธานสปช. ต้องการให้งานสภาปฏิรูปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยความราบรื่น และอยากให้การอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยเหตุผลและเนื้อหาสาระ เพราะต้องการให้รัฐธรรมนูญออกมาดีที่สุด โดยนายเทียนฉาย กล่าวย้ำก่อนเปิดสัมมนาว่า อยากให้การร่างรัฐธรรมนูญเป็นความรับผิดชอบของสปช.โดยตรง ให้ทำหน้าที่มั่นคง เข้มแข็ง จะผ่านหรือไม่ผ่าน ไม่มีโผ ไม่มีการล็อบบี้ อยากให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นฉบับสุดท้าย จึงขอให้ทุกคนพิจารณาอย่างรอบคอบ พร้อมกับว่ายืนยันไม่มีใครสั่งการ หรือกำหนดการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้โดยเด็ด
ขาด
จากนั้นกรรมาธิการฯ กับสปช. แลกเปลี่ยนความเห็นโดยมี สปช. 12 คน ซักถาม ซึ่งส่วนใหญ่คือ เนื้อหาใน ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมือง ซึ่งเป็นประเด็นที่สมาชิกติดใจ ทั้งที่มา ส.ส. - ส.ว. และระบบการเลือกตั้ง เพราะเห็นว่าวิธีการของกรรมาธิการฯ แก้ปัญหาการเมืองได้จริงหรือไม่ ระบบการเลือกตั้งที่เอามาใช้สามารถป้องกันการทุจริตการขายเสียงได้มากน้อยแค่ไหน รัฐบาลจะมีความเข้มแข็ง และการตรวจสอบอำนาจรัฐเข้มแข็งอย่างไร และอีกส่วนหนึ่งที่มีข้อสงสัยคือ สภาขับเคลื่อนปฏิรูป มีไว้เพื่ออะไร ทำงานต่อเนื่องได้จริงหรือไม่ จึงคิดว่าประเด็นต่อไปที่จะซักถามมาก คือ การเมือง กระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปและการปรองดอง
ทั้งนี้ นายวันชัย ยอมรับว่า การพบกันระหว่างกรรมาธิการยกร่างฯ กับสปช. ก่อนการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดบรรยากาศการโต้เถียงระหว่างการอภิปราย และยังช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาเรื่องกระบวนวิธีด้วย ส่วนการโต้เถียงดุเดือดนั้น ที่ประชุมได้ขอให้โต้เถียงด้วยไมตรีวิวาทะ ไม่ได้มุ่งเอาแพ้ชนะ ใช้เหตุผลมากกว่าการเสียดสี ประชดประชัน เหมือนการเมือง เพราะต้องการให้เป็นสภาแห่งเนื้อหา มากกว่าเป็นสภาวาทกรรม โต้เถียงกัน สำหรับขอบเขตการแปรญัตตินั้น ญัตติเดียวจะมีกี่ประเด็นก็ได้ แต่ผู้เสนอต้องมีผู้รับรอง 25 คน รวม 26 คน ส่วนจะมีการซ้ำซ้อนกันก็ไม่คิดว่าเป็นปัญหา แต่จะทำให้กรรมาธิการต้องไปพิจารณาอย่างมากที่สุด
ส่วนกรณีที่กรรมาธิการยกร่างฯ ได้ปรับเนื้อหาเรื่องนายกฯคนนอก ให้ต้องมาจากเสียงสองในสาม แต่กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. เห็นว่า ควรมีเงื่อนไขคำว่า "วิกฤตที่ชัดเจน" จะมีการแปรญัตติในเรื่องนี้หรือไม่นั้น ตนเห็นว่าเป็นสิทธิของสมาชิกที่จะดำเนินการได้โดยอิสระ หากกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองมีกลุ่มสมาชิกรวมได้ 26 คน ก็เสนอแปรญัตติเรื่องการกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนเข้าไปได้ โดยเชื่อว่ามีหลายมาตรา หลายประเด็นที่ สปช. จะขอแปรญัตติ เพราะมีการติดใจทั้งเรื่องสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป องค์กรอิสระ และระบบการเมือง แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดในประเด็น คณะกรรมการปรองดอง ที่ให้อำนาจร่างพระราชกฤษฎีกาเองได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงมีการหารือกันในทุกประเด็น
"ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านทั้งกรรมาธิการยกร่างฯ กับสปช. ก็ตายไปด้วยกัน ไม่มีการเกี้ยเซียะเพื่อหวังอยู่ต่อ เนื่องจากไม่รู้ว่า จะอยู่ไปทำไม และไม่คิดว่าการที่ กรรมาธิการฯกำหนดให้มี สปช. 60 คน ไปเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป จะทำให้มีเสียง สปช. คอยสนับสนุนอยู่แล้วไม่น้อยกว่า 60 เสียง เพราะการพิจารณาเป็นดุลพินิจโดยอิสระของแต่ละคน" นายวันชัย กล่าว
**ชี้รธน.ไทยต่างจากเยอรมัน 7 ข้อ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในการหารือ ประเด็นส่วนใหญ่พบว่า สมาชิกสปช.ได้มีการสอบถามถึงระบบการเลือกตั้ง ซึ่งทางกมธ.ยกร่างฯ ก็ได้มอบหมายให้ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่ชี้แจงว่า ระบบการเลือกตั้งของไทยไม่ใช่เยอรมัน เพราะมีความแตกต่างจากเยอรมัน 7 ข้อ โดยข้อเสนอของ สปช. และคณะกรรมาธิการปฏิรูปของสปช. ทั้ง 18 คณะ มีอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว
ทั้งนี้ เชื่อว่าการอภิปรายของ สปช. จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่น่าห่วง เพราะสมาชิกสปช.มีวินัย และไม่ต้องการให้สภาสปช.เป็นเหมือนสภาการเมือง ซึ่งสิ่งที่สมาชิกสปช.อภิปราย ทาง กมธ.ยกร่างฯ ก็จะนำมาปรับปรุงและแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง
ส่วนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ต่างๆ ที่หลายส่วนเรียกร้องให้ สปช. เข้ามามีส่วนร่วมด้วยนั้น ก็อาจเป็นไปได้ แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 กำหนดให้ กมธ.ยกร่างฯ เป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นจึงคิดว่า เมื่อร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น และก่อนที่จะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็จะนำไปขอความเห็นจาก สปช. ก่อน แล้วจึงค่อยนำเสนอต่อ สนช. โดยทาง สปช. จะไม่มีการปรับปรุงแก้ไข เพราะหากให้ปรับปรุงแก้ไข ก็จะต้องพิจารณาเป็นรายมาตรา อาจทำให้เลยเวลาของโรดแมปได้
** กมธ.ชูประชามติ ยังไม่เป็นทางการ
ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกรณีที่ นายเจษฎ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่างฯ ระบุว่า กมธ.ยกร่างฯสนับสนุนให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนุญฉบับใหม่ ว่า ทางกมธ.ยกร่างฯ ยังไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องนี้กันอย่างเป็นทางการ มีเพียงแต่พูดคุยกันนอกรอบ ว่าควรที่จะต้องมีการทำประชามติ เพราะเชื่อว่าจะเป็นการให้ความรู้กับประชาชน ทำให้ได้รับทราบถึงเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งมองว่า เมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 มีการทำประชามติไว้ ถ้าหากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่มีการทำประชามติ เกรงว่าจะทำให้เครดิตของรัฐธรรมนูญลดลงได้
** "มาร์ค" ชี้ รธนงแก้ปัญหาไม่ตรงจุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ว่า เป็นการยกร่างบนสมมุติฐานว่า ถ้าพรรคการเมืองอ่อนแอ แล้วจะแก้ปัญหาได้นั้น ตนคิดว่าไม่ใช่ เพราะเมื่อพรรคการเมืองเป็นเบี้ยหัวแตก การตั้งรัฐบาลที่เกิดขึ้น ต้องเกิดจากการต่อรอง ตนเป็นห่วงว่าจะกลายเป็นการให้อำนาจนักการเมือง หรือกลุ่มการเมือง ต่อรองกันมากขึ้น แทนที่จะเป็นการตั้งรัฐบาล บนพื้นฐานการตัดสินใจของประชาชน
สมมุติว่าการเลือกแบบนี้ ออกแบบระบบโดยไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก แล้วพรรค ก. ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ พรรค ข.ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ และพรรค ค. ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วอย่างนี้ใครจะได้ตั้งรัฐบาล ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญก็ไปเพิ่มอำนาจให้รัฐด้วย เช่น การให้รัฐบาล สามารถยื่นคำขาดกับสภาฯได้ ถ้ารัฐบาลอยากได้กฎหมายนี้ แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่อยากได้ ต้องเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากรัฐบาลชนะ ก็จะออกกฎหมายได้ ซึ่งต้องยื่นแก้ไขภายใน 48 ชั่วโมง และถ้ามาตรการนี้ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว กฎหมายนิรโทษกรรม คงจะผ่านไปแล้ว ตนจึงเป็นห่วงในกรณีที่ว่า หากพรรคการเมือง หรือนักการเมือง อยากจะได้อะไรเพื่อตัวเอง จะเป็นปัญหาหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องทำระบบส่งเสริมให้พรรคการเมือง ทำหน้าที่ของตัวเองให้ได้
" สำหรับระบบตรวจสอบ ก็จะยากไปด้วย แม้บางเรื่องเข้าใจว่าอาจจะเจตนาดี โดยเฉพาะการถอดถอน ที่กมธ.ยกร่างฯ อาจมองข้ามประเด็นที่เป็นปัญหาในอดีตไปหรือไม่ เพราะอาจกลายเป็นว่าพรรคการเมืองอ่อนแอ แต่รัฐบาลใช้อำนาจได้อย่างค่อนข้างที่จะถูกตรวจสอบได้ยาก ผมมองว่า มันเป็นการวินิจฉัยโรคของปัญหาการเมืองไทยผิด เพราะฉะนั้น ก็จะมีบางเรื่องที่อาจจะต้องถกเถียงกันต่อไป เช่น การไปจำกัดอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะต่อไปนี้จะต้องมีกลไกอะไรขึ้นมาเยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะกลไกการตั้งปลัดกระทรวง ที่อาจมีข้อดีตรงที่ทำให้การเข้าไป แทรกแซงได้ยาก แต่ถ้ากระทบกับการทำงาน แล้วในที่สุดคนที่จะต้องมีความรับผิดชอบทางการเมือง จะให้เขาทำอย่างไร" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. มีแนวคิดจะเชิญนักวิชาการต่างประเทศ มาแชร์ประสบการณ์ เรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เป็นสิ่งที่น่าลองดู เพราะก่อนหน้านี้ มีข้อเสนอแนะมาว่า ทำไมไม่เอานักวิชาการต่างชาติมาอธิบาย แต่ไม่ได้ให้มาวิจารณ์รัฐธรรมนูญ เพียงแต่ต้องการให้มาบอกว่า บ้านเมืองเขามีวิกฤต และผ่านวิกฤต มาได้อย่างไร เราต้องการให้เขาแนะตรงนั้นมากกว่า ไม่ใช่มาสอนเรา และไม่ใช่มาร่างรัฐธรรมนูญให้
อย่างไรก็ตาม ที่จริงนักวิชาการที่เป็น กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่จบการศึกษามาจากต่างประเทศทั้งนั้น อย่างกรณีตน เวลาไปเรียน จะไปเรียนในสิ่งที่เรียนมา แต่เรื่องเบื้องลึก เบื้องหลัง เก่าแก่ของเขา เราไม่ได้รู้อย่างลึกซึ้ง เหมือนคนประเทศเขาเอง