วานนี้ (1 เม.ย.) พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงผลการประชุมว่า มีการพิจารณาปรับปรุงร่าง รธน.ครั้งสุดท้าย ก่อนจัดส่งให้สปช. ในวันที่ 17 เม.ย. โดยกรรมาธิการมีมติปรับแก้ 2 เรื่องหลัก คือ ที่มานายกรัฐมนตรี ในมาตรา 172 วรรคสาม เดิมเขียนว่า มติของส.ส.ที่เห็นชอบในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกฯ ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร มีการเติมเข้าไปอีกว่า “แต่ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมิได้เป็นส.ส. ต้องมีคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร” เพื่อแยกระหว่างกรณีที่ ส.ส. คิดว่าถ้าจำเป็นต้องมีนายกฯ ที่ไม่ได้มาจากส.ส. ต้องใช้เสียงมากกว่าปกติ
นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มวรรคสี่ว่า ส.ส.ซึ่งได้รับมติให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งให้เป็นนายกฯ ตามวรรคสาม ให้พ้นจากตำแหน่งส.ส.ในวันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกฯ เพื่อที่จะมีความชัดเจนว่า ถ้าเป็นส.ส. เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกฯ ก็ต้องพ้นจากส.ส. ในกรณีเดียวกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ เพื่อแยกอำนาจฝ่ายบริหาร กับฝ่ายนิติบัญญัติ ให้ชัดเจน
ส่วนประเด็นที่มาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรรมาธิการยกร่างฯได้ปรับ มาตรา 121 ให้ ส.ว.ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกิน 200 คน โดยมาจาก 3 ส่วน คือ
1. จากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด โดยให้เลือกตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิคุณธรรม ตามด้านต่างๆ ซึ่งได้รับการสรรหาจังหวัดละไม่เกิน 10 คน โดยจะมีกรรมการสรรหา ทั้งในกลุ่มที่สรรหาโดยตรงด้านต่างๆ จำนวน 58 คน และมีคณะกรรมการอีกคณะหนึ่งมาสรรหาผู้สมัครใน 77 จังหวัด ให้เหลือจังหวัดละไม่เกิน 10 คน ตามช่องทางต่างๆ ที่จะมีการกำหนดเป็น 10 กลุ่ม ว่ามีอาชีพอะไรบ้าง จากนั้นก็จะให้ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงวันเดียวกับที่มีการเลือกตั้งส.ส.ทั่วไป
2. มาจากการเลือกกันเอง ซึ่งประกอบด้วย 1. ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือน ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่าระดับผู้บริหาร ข้าราชการฝ่ายทหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการแต่ละเหล่าทัพ แต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง ไม่เกิน 10 คน 2. ผู้แทนสภาวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ หรืออาชีพที่กฎหมายจัดตั้ง เลือกกันเองจำนวนไม่เกิน 15 คน และ 3. ผู้แทนองค์กรด้านเกษตรกรรม ด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านชุมชน และด้านท้องถิ่น เลือกกันเองจำนวนไม่เกิน 30 คน รวมทั้งสิ้น 65 คน
3. มาจากการสรรหา จำนวน 58 คน โดยคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ และคุณธรรมด้านต่างๆ เช่น การเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ ฯลฯ
ส่วนวาระ ส.ว. กำหนดไว้ 6 ปี แต่เพื่อให้มีความต่อเนื่อง มีการกำหนดให้ ส.ว.ครึ่งหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อครบ 3 ปี แต่ให้สิทธิเข้ารับการสรรหา หรือเลือกกันเองได้อีก เป็นการสลับกันออกกับส.ว.เลือกตั้ง โดยผู้ที่จะออกใน 3 ปีแรก ประกอบด้วย 3 กลุ่มที่เลือกกันเองจำนวน 65 คน และจับฉลากออกจำนวน 35 คน ซึ่งเท่ากับ 100 คน ส่วนคณะกรรมการสรรหา จะประกอบไปด้วยผู้ใดบ้าง จะมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยจะมีการพิจารณาในสัปดาห์หน้า
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ขบวนการสรรหาส.ว. ต้องได้มาภายใน 150 วัน หลังจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. -ส.ว. บังคับใช้ โดยส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง จะต้องได้มาพร้อมกับส.ส. คือไม่เกิน 90 วัน ส่วนส.ว.สรรหา จะใช้เวลา 90 วัน เพราะต้องการให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.ก่อน เพื่อให้เกิดความหลากหลายตามเจตนารมณ์ที่จะให้เป็น สภาพหุนิยม ทั้งนี้เชื่อว่าการแบ่งส.ว. ออกเป็น 3 กลุ่มนี้ จะทำให้ได้ส.ว. ที่มีองค์ประกอบเหมาะสม ยึดโยงกับประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการกำหนดหรือไม่ว่า การเลือกตั้งส.ว. จะต้องได้คะแนนเสียง ชนะการโหวตโน พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ไม่ได้มีการกำหนดไว้ เพราะคงไม่มีใครไปโหวตโนส.ว.เหมือนส.ส. เพราะส.ว.มีผู้สมัครจำนวนมาก และไม่มีฐานเสียง คะแนนอาจจะกระจาย อันดับ 1 อาจจะได้ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกระบวนการเลือกตั้ง จะมอบให้คณะกรรมการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนคุณสมบัติของผู้สมัครส.ว. จะใกล้เคียงกัน ยกเว้นเรื่องภูมิลำเนา อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี จบปริญญาตรี แต่ยกเว้นกลุ่มที่เลือกกันเองจากหมวดองค์กรด้านวิชาชีพ ที่จะไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของนายกฯคนนอก พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ไม่ได้ระบุชัด อย่าลืมว่าการจะเป็นนายกฯได้ ต้องเข้าสภา มีการโหวตโดยตรงอย่างเปิดเผย และต้องนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่ใช่ว่าใครจะมาเป็นได้ง่ายๆ และไม่ได้จำกัดวาระสำหรับนายกฯ คนนอก
" ผมก็อยากรู้ว่าหาเสียงกันแทบตาย แล้วสุดท้ายมาเลือกนายกฯ คนนอก มันไม่เกิดขึ้นหรอก แต่ที่เปิดทางไว้เพราะเผื่อมีเหตุเหมือนวันที่ 22 พ.ค. อีกครั้ง ย้อนกลับไปวันนั้น ท่านประยุทธ์ (จันทร์โอชา ) อาจจะไม่ต้องปฏิวัติอีก เพราะถ้าเขายอมลาออก ท่านก็เป็นนายกฯได้ เพราะไม่ต้องเป็นส.ส. เราเขียนเอาไว้ในกรณีวิกฤตสภา ที่ไม่มีคนอื่นมาเป็นเท่านั้น แต่มันเขียนไม่ได้ในรัฐธรรมนูญ" พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าว
**ประชุมแม่น้ำ 5 สาย 7 เม.ย.
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 เม.ย เวลา 15.00 น ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล จะมีการประชุมร่วมกันของแม่น้ำ 5 สาย คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยการประชุมดังกล่าว จะเป็นการรายงานความคืบหน้าการทำงานของแม่น้ำแต่ละสาย และการรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะรายงานร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ที่เสร็จแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ ให้ที่ประชุมรับทราบ
ขณะเดียวกันเรื่องของการปฏิรูปใน 18 ด้าน กรอบวิสัยทัศน์ หรือ blue print ก็มีความคืบหน้าเข้าสู่โรดแมป ระยะที่ 3 โดยที่พิมพ์เขียวปฏิรูปเพื่อการเปลี่ยนแปลง เราผ่านช่วงวางแนวทางหลัก วิสัยทัศน์ และเป้าหมายแล้ว รวมถึงการออกแบบกลไกวิธีการในการปฏิรูป แต่ละด้านมีความคืบหน้าไปมากแล้ว นอกจากนี้จะมีการหารือการนำเสนอกฎหมายการปฏิรูป กฎหมายตามนโยบายรัฐบาล และคาดว่า คสช. และรัฐบาล จะรายงานเรื่องการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก ให้ที่ประชุมรับทราบด้วย
นอกจากนี้ ในวันที่ 6 เม.ย. สปช. และกมธ.ยกร่างฯ จะจัดสัมมนาที่ห้องประชุมห้องราชนครินทร์ อาคารนครินทรศรีราชนคริทร์ สภาการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ จะชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกที่แล้วเสร็จในที่ประชุม รวมถึงการนำเสนอตัวร่างรัฐธรรมนูญให้สมาชิก สปช. รับทราบ ตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง สปช. กับกมธ.ยกร่างฯ ทั้งนี้ จะมีการทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ในวันที่ 20-26 เม.ย. ที่ขณะนี้สมาชิกยังคงมีความเห็นไม่ตกผลึก และการเตรียมความพร้อมขั้นตอนกระบวนการยื่นคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย
**อนุกมธ.การเมืองค้านโทษยุบพรรค
ในวันเดียวกันนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูประบบพรรคเมือง ที่มี นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สปช. เป็นประธาน ได้มีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปพรรคการเมือง ว่า ห้ามไม่ให้มีการยุบพรรคการเมือง เว้นแต่จะเป็นความผิดในกรณีกระทำความผิดร้ายแรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ ความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ เมื่อมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายอมร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทางคณะอนุกมธ.ฯ ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้กับ คณะกมธ.การปฏิรูปการเมืองของสปช. และคณะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ เสียงส่วนใหญ่ของคณะอนุกมธ. เห็นว่า ควรมีการผลักดันและนำเสนอเพื่อให้ได้รับการพิจารณาอีกครั้ง เพราะเห็นว่า การกำหนดให้มีการยุบพรรคการเมือง จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับพรรคการเมือง โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรกำหนดเรื่องการยุบพรรคให้เป็นส่วนหนึ่งของร่างรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพื่อให้เกิดความชัดเจน และไม่ให้เกิด กระจายไปอยู่ตามมาตราต่างๆ เหมือนที่ผ่านมา
สำหรับผลการประชุมของ คณะอนุกมธ.ฯ ที่ออกมา จะนำเสนอให้กับ คณะกมธ.ปฏิรูปการเมืองอีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการพิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มวรรคสี่ว่า ส.ส.ซึ่งได้รับมติให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งให้เป็นนายกฯ ตามวรรคสาม ให้พ้นจากตำแหน่งส.ส.ในวันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกฯ เพื่อที่จะมีความชัดเจนว่า ถ้าเป็นส.ส. เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกฯ ก็ต้องพ้นจากส.ส. ในกรณีเดียวกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ เพื่อแยกอำนาจฝ่ายบริหาร กับฝ่ายนิติบัญญัติ ให้ชัดเจน
ส่วนประเด็นที่มาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรรมาธิการยกร่างฯได้ปรับ มาตรา 121 ให้ ส.ว.ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกิน 200 คน โดยมาจาก 3 ส่วน คือ
1. จากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด โดยให้เลือกตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิคุณธรรม ตามด้านต่างๆ ซึ่งได้รับการสรรหาจังหวัดละไม่เกิน 10 คน โดยจะมีกรรมการสรรหา ทั้งในกลุ่มที่สรรหาโดยตรงด้านต่างๆ จำนวน 58 คน และมีคณะกรรมการอีกคณะหนึ่งมาสรรหาผู้สมัครใน 77 จังหวัด ให้เหลือจังหวัดละไม่เกิน 10 คน ตามช่องทางต่างๆ ที่จะมีการกำหนดเป็น 10 กลุ่ม ว่ามีอาชีพอะไรบ้าง จากนั้นก็จะให้ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงวันเดียวกับที่มีการเลือกตั้งส.ส.ทั่วไป
2. มาจากการเลือกกันเอง ซึ่งประกอบด้วย 1. ผู้ที่เคยเป็นข้าราชการพลเรือน ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่าระดับผู้บริหาร ข้าราชการฝ่ายทหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการแต่ละเหล่าทัพ แต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง ไม่เกิน 10 คน 2. ผู้แทนสภาวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ หรืออาชีพที่กฎหมายจัดตั้ง เลือกกันเองจำนวนไม่เกิน 15 คน และ 3. ผู้แทนองค์กรด้านเกษตรกรรม ด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านชุมชน และด้านท้องถิ่น เลือกกันเองจำนวนไม่เกิน 30 คน รวมทั้งสิ้น 65 คน
3. มาจากการสรรหา จำนวน 58 คน โดยคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ และคุณธรรมด้านต่างๆ เช่น การเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ ฯลฯ
ส่วนวาระ ส.ว. กำหนดไว้ 6 ปี แต่เพื่อให้มีความต่อเนื่อง มีการกำหนดให้ ส.ว.ครึ่งหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อครบ 3 ปี แต่ให้สิทธิเข้ารับการสรรหา หรือเลือกกันเองได้อีก เป็นการสลับกันออกกับส.ว.เลือกตั้ง โดยผู้ที่จะออกใน 3 ปีแรก ประกอบด้วย 3 กลุ่มที่เลือกกันเองจำนวน 65 คน และจับฉลากออกจำนวน 35 คน ซึ่งเท่ากับ 100 คน ส่วนคณะกรรมการสรรหา จะประกอบไปด้วยผู้ใดบ้าง จะมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยจะมีการพิจารณาในสัปดาห์หน้า
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ขบวนการสรรหาส.ว. ต้องได้มาภายใน 150 วัน หลังจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. -ส.ว. บังคับใช้ โดยส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง จะต้องได้มาพร้อมกับส.ส. คือไม่เกิน 90 วัน ส่วนส.ว.สรรหา จะใช้เวลา 90 วัน เพราะต้องการให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.ก่อน เพื่อให้เกิดความหลากหลายตามเจตนารมณ์ที่จะให้เป็น สภาพหุนิยม ทั้งนี้เชื่อว่าการแบ่งส.ว. ออกเป็น 3 กลุ่มนี้ จะทำให้ได้ส.ว. ที่มีองค์ประกอบเหมาะสม ยึดโยงกับประชาชน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการกำหนดหรือไม่ว่า การเลือกตั้งส.ว. จะต้องได้คะแนนเสียง ชนะการโหวตโน พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ไม่ได้มีการกำหนดไว้ เพราะคงไม่มีใครไปโหวตโนส.ว.เหมือนส.ส. เพราะส.ว.มีผู้สมัครจำนวนมาก และไม่มีฐานเสียง คะแนนอาจจะกระจาย อันดับ 1 อาจจะได้ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกระบวนการเลือกตั้ง จะมอบให้คณะกรรมการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนคุณสมบัติของผู้สมัครส.ว. จะใกล้เคียงกัน ยกเว้นเรื่องภูมิลำเนา อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี จบปริญญาตรี แต่ยกเว้นกลุ่มที่เลือกกันเองจากหมวดองค์กรด้านวิชาชีพ ที่จะไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
เมื่อถามถึงคุณสมบัติของนายกฯคนนอก พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ไม่ได้ระบุชัด อย่าลืมว่าการจะเป็นนายกฯได้ ต้องเข้าสภา มีการโหวตโดยตรงอย่างเปิดเผย และต้องนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่ใช่ว่าใครจะมาเป็นได้ง่ายๆ และไม่ได้จำกัดวาระสำหรับนายกฯ คนนอก
" ผมก็อยากรู้ว่าหาเสียงกันแทบตาย แล้วสุดท้ายมาเลือกนายกฯ คนนอก มันไม่เกิดขึ้นหรอก แต่ที่เปิดทางไว้เพราะเผื่อมีเหตุเหมือนวันที่ 22 พ.ค. อีกครั้ง ย้อนกลับไปวันนั้น ท่านประยุทธ์ (จันทร์โอชา ) อาจจะไม่ต้องปฏิวัติอีก เพราะถ้าเขายอมลาออก ท่านก็เป็นนายกฯได้ เพราะไม่ต้องเป็นส.ส. เราเขียนเอาไว้ในกรณีวิกฤตสภา ที่ไม่มีคนอื่นมาเป็นเท่านั้น แต่มันเขียนไม่ได้ในรัฐธรรมนูญ" พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าว
**ประชุมแม่น้ำ 5 สาย 7 เม.ย.
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 เม.ย เวลา 15.00 น ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล จะมีการประชุมร่วมกันของแม่น้ำ 5 สาย คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยการประชุมดังกล่าว จะเป็นการรายงานความคืบหน้าการทำงานของแม่น้ำแต่ละสาย และการรายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะรายงานร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ที่เสร็จแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ ให้ที่ประชุมรับทราบ
ขณะเดียวกันเรื่องของการปฏิรูปใน 18 ด้าน กรอบวิสัยทัศน์ หรือ blue print ก็มีความคืบหน้าเข้าสู่โรดแมป ระยะที่ 3 โดยที่พิมพ์เขียวปฏิรูปเพื่อการเปลี่ยนแปลง เราผ่านช่วงวางแนวทางหลัก วิสัยทัศน์ และเป้าหมายแล้ว รวมถึงการออกแบบกลไกวิธีการในการปฏิรูป แต่ละด้านมีความคืบหน้าไปมากแล้ว นอกจากนี้จะมีการหารือการนำเสนอกฎหมายการปฏิรูป กฎหมายตามนโยบายรัฐบาล และคาดว่า คสช. และรัฐบาล จะรายงานเรื่องการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก ให้ที่ประชุมรับทราบด้วย
นอกจากนี้ ในวันที่ 6 เม.ย. สปช. และกมธ.ยกร่างฯ จะจัดสัมมนาที่ห้องประชุมห้องราชนครินทร์ อาคารนครินทรศรีราชนคริทร์ สภาการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ จะชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกที่แล้วเสร็จในที่ประชุม รวมถึงการนำเสนอตัวร่างรัฐธรรมนูญให้สมาชิก สปช. รับทราบ ตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง สปช. กับกมธ.ยกร่างฯ ทั้งนี้ จะมีการทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ในวันที่ 20-26 เม.ย. ที่ขณะนี้สมาชิกยังคงมีความเห็นไม่ตกผลึก และการเตรียมความพร้อมขั้นตอนกระบวนการยื่นคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย
**อนุกมธ.การเมืองค้านโทษยุบพรรค
ในวันเดียวกันนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูประบบพรรคเมือง ที่มี นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สปช. เป็นประธาน ได้มีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปพรรคการเมือง ว่า ห้ามไม่ให้มีการยุบพรรคการเมือง เว้นแต่จะเป็นความผิดในกรณีกระทำความผิดร้ายแรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ ความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ เมื่อมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายอมร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทางคณะอนุกมธ.ฯ ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้กับ คณะกมธ.การปฏิรูปการเมืองของสปช. และคณะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณา ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ เสียงส่วนใหญ่ของคณะอนุกมธ. เห็นว่า ควรมีการผลักดันและนำเสนอเพื่อให้ได้รับการพิจารณาอีกครั้ง เพราะเห็นว่า การกำหนดให้มีการยุบพรรคการเมือง จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับพรรคการเมือง โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรกำหนดเรื่องการยุบพรรคให้เป็นส่วนหนึ่งของร่างรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพื่อให้เกิดความชัดเจน และไม่ให้เกิด กระจายไปอยู่ตามมาตราต่างๆ เหมือนที่ผ่านมา
สำหรับผลการประชุมของ คณะอนุกมธ.ฯ ที่ออกมา จะนำเสนอให้กับ คณะกมธ.ปฏิรูปการเมืองอีกครั้ง เพื่อยืนยันผลการพิจารณาต่อไป