นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง ผลการรับฟังความเห็นตัวแทนประชาชนใน 17 จังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ ในเวทีสัมมนาเรื่อง"การเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน" ที่ จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 3-4 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า ตนพอใจในภาพรวม เพราะเป็นไปด้วยดี ทั้งนี้ความเห็นของประชาชนทุกประเด็น จะนำมาสังเคราะห์และวิเคราะห์โดยทีมวิชาการก่อนนำเสนอให้กับกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาทบทวนร่างรัฐธรรมนูญในช่วง 60 วัน คือช่วงปลายเดือนพ.ค.-ปลายเดือนก.ค.นี้
ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีหลายประเด็นในเวที จ.เชียงใหม่ ที่น่าสนใจ เช่น เรื่องที่ดิน ดังนั้นภาพรวมจะนำมาประมวลร่วมกับ 3 เวที ที่เตรียมจัดใน 3 ภูมิภาค ก่อนนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมกันอีกครั้งใน วันที่ 7 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาร่างแบบสอบถามความเห็นของประชาชนต่อสาระในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่นำเสนอ โดยนางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานอนุกมธ. การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก่อนที่จะนำแบบสอบถามดังกล่าวเผยแพร่ และทำการสำรวจประชาชนโดยคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กมธ.วิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นประชนชน สปช. ที่มี นายประชา เตรัตน์ สปช.ชลบุรี และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานกมธ.
ด้านนายไพโรจน์ พรหมสาส์น ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 7–9 เม.ย. ทางกมธ.วิสามัญติดตามฯได้นัดประชุมกมธ. และเจ้าหน้าที่ ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อเตรียมทำข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเปรียบเทียบกับข้อเสนอของสปช. ที่ได้นำเสนอให้กับ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญไปแล้วก่อนหน้านี้ จำนวนทั้งสิ้น 246 ประเด็น เพื่อให้สมาชิกสปช. ใช้ประกอบการพิจารณาและอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ โดยเนื้อหาจะนำร่างรัฐธรรมนูญของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่ได้รับมาเบื้องต้น เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 พร้อมกับทำเป็นข้อสังเกตว่า ประเด็นที่บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญในเรื่องต่างๆ เป็นไปตามข้อเสนอ ของสปช.ด้วยหรือไม่
อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ทางกมธ.วิสามัญติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ถือว่าเป็นฉบับที่มีความสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะทราบว่า ขณะนี้ยังมีการปรับแก้ในหลายประเด็น แต่ตนเชื่อว่าประเด็นดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการเตรียมข้อมูล เพราะหลังจากวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะส่งร่างรัฐธรรมนูญให้กับสปช.แล้ว ทางกมธ.ฯจะนำมาทบทวนทั้งหมดอีกครั้ง
"สำหรับภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญกับข้อเสนอของ สปช. นั้น เบื้องต้นเห็นว่ามีหลายประเด็นที่นำสาระสำคัญไปบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนั้น เชื่อว่าบรรยากาศการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -26 เม.ย.นั้น จะเป็นไปอย่างเรียบร้อย" นายไพโรจน์ กล่าว
**นายกฯไม่อยากให้วิพากษ์รธน.มาก
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคสช. ต้องการให้ทุกคนในประเทศเข้าใจว่า ประเทศไทยจะเดินต่อไปได้ ไม่ใช่เฉพาะจะมีแต่เรื่องของรัฐธรรมนูญ และเรื่องการเมือง ยังมีเรื่องการแก้ไขปัญหาในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการบริหารราชการแผ่นดิน และการแก้ไขปัญหาในดีตที่ผ่านมา จึงต้องการให้ทุกคนให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ไม่ใช้เพ่งเล็งแต่เรื่องรัฐธรรมนูญแต่เพียงอย่างเดียว ถ้ามองมุมแคบเช่นนี้ บ้านเมืองคงเดินต่อไปไม่ได้
ส่วนกรณีกลุ่มการเมืองออกมาวิพากษ์วิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญอย่างมากนั้น เป็นการกระทำของกลุ่มการเมืองเพื่อให้ตัวเองมีโอกาสกลับมามีเสียงข้างมาก แต่บ้านเมืองในขณะนี้ยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ ดังนั้น นายกรัฐมนตรี จึงอยากให้สังคมเข้าใจว่า ถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตใจ และมีข้อเสนอแนะมาด้วย ก็ไม่มีปัญหาใด แต่ถ้าแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่ว่าทุกอย่างที่ทำในการปฏิรูปเป็นสิ่งเลวร้ายทั้งหมด บ้านเมืองก็จะเดินไปไม่ได้
**"รสนา"ปัดวิจารณ์โมเดลเลือกตั้งส.ว.
น.ส.รสนา โตสิตระกูล สปช.ในฐานะอดีตส.ว.เลือกตั้ง กล่าวถึงข้อเสนอของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ระบุแนวคิดให้เลือกส.ว.มาจากทั้งจากการสรรหา การเลือกตั้งและกลุ่มวิชาชีพเลือกตั้งแทน หรือปลาสามน้ำ ว่า ตนไม่อยากวิจารณ์ เพราะยังไม่เห็นรายละเอียดของที่มา แต่ไม่ควรทำให้ซับซ้อน หรือยุ่งยากกับประชาชนผู้ใช้สิทธิ เช่น การเลือกตั้งทางอ้อม 5 กลุ่ม ที่ต้องให้องค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้คัดเลือกในกลุ่มที่ 5 คือ ภาควิชาชีพแต่ละจังหวัด ทำไมจึงไม่ให้ประชาชนเลือกตั้งได้โดยตรง ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ
น.ส.รสนา กล่าวต่อว่า ตนขอเสนอให้เลือกตั้งโดยตรง และมีการจัดทำเป็นกลุ่มบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ของผู้สมัครส.ว. ที่มาจากตัวแทนวิชาชีพต่างๆ ให้เป็นทีมๆละ 30 คน โดยมีหัวหน้าทีมที่ดีเด่นดัง และเปิดเผยชื่อผู้สมัครพร้อมประวัติต่อสาธารณชน (โอเพ่นลิสต์) แบบที่เสนอให้ใช้กับส.ส. เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ และให้ส่งสมัครเป็นทีมๆให้ประชาชนเลือกได้เองโดยคัดออกให้เหลือทีมละ10คน จากนั้นจึงเอาทึ้ง10คนของแต่ละทีมมาคัดจากผลคะแนนสูงสุดให้ได้ตามจำนวน200คน วิธีนี้จะทำได้ง่าย ล็อคสเปคยากและประชาชนเข้าใจมากกว่า ไม่สับสน ที่สำคัญจะได้คนดี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จากแต่ละสาขาอาชีพจริงๆไม่วช่นอมินีหรือตัวแทนกลุ่มทุน นักการเมือง พรรคการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งยังแก้ข้อครหาว่าเป็น ส.ว.ลากตั้งได้ด้วย
**"วันชัย"ค้านเลือกตั้ง ส.ว.77จังหวัด
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เห็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะให้มีทั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหาและเลือกตั้ง โดยอาจจะมีกระบวนการคัดกรองก่อนเลือกตั้งนิดหน่อย หรือเรียกว่ามีทั้งสรรหา และเลือกตั้ง 77 คน 77 จังหวัด ใกล้เคียงกับอีหรอบเดิม เพราะถ้าให้ส.ว. มาจากการเลือกตั้งแต่ละจังหวัด มันก็มาจากฐานการเมืองเดียวกัน พวกเดียวกัน จะตรวจสอบกลั่นกรองอะไรกันได้ ทั้งรัฐธรรมนูญปี 40, 50 ก็เคยทำมาแล้ว เรากำลังจะทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกันอีกครั้งรึ ถ้าอยากให้มีส.ว. มาจากการเลือกตั้ง ตนคิดว่ามีสภาเดียวดีกว่า แต่ถ้ามีแบบครึ่งๆ กลางๆ จะเลือกตั้งก็ไม่เลือกตั้งทั้งหมด จะสรรหาก็ไม่สรรหาทั้งหมด มันกึ้กๆ กั้กๆ ยึกยักอย่างนี้
"ขืนทำงานกันต่อไป มันก็ยึกๆ ยักๆ ฟึดฟัดฮึดฮัดเป็นปลาสองน้ำไปๆ มาๆ ก็จะไม่เป็นโล้เป็นพาย ตกลงจะเอาทางไหนก็เอาซักอย่าง ให้มันรู้เรื่องรู้ราวกันไปเลยทำกันแบบเกรงอกเกรงใจจะเสียหายไปมากกว่านี้" นายวันชัย กล่าว
นายวันชัย กล่าวว่า ทางที่ดีทำตามที่ตัวเองเสนอ คือให้มีการเลือกจากสาขาอาชีพกันเองให้ได้สัก 200 คน โดยจะแบ่งกลุ่มที่เหมาะสม เช่น ผู้ใช้แรงงานเลือกกันเองมา 1 คน ชาวนาชาวไร่ ครูบาอาจารย์ ทนายความ แพทย์ นักการศาสนา นักอุตสาหกรรม นักธุรกิจ พ่อค้า ฯลฯ ก็ไปจัดกลุ่มก้อน จำแนกแยกแยะ วางระบบกลไกในการเลือกตั้งกันให้ดี เราจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกสาขาอาชีพเป็นสมาชิกวุฒิสภา มิใช่สภาที่มาจากฐานการเมือง ซึ่งเข้าท่าเข้าที ทั้งดีทั้งเหมาะ ทำไมไม่คิดกันบ้าง
ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีหลายประเด็นในเวที จ.เชียงใหม่ ที่น่าสนใจ เช่น เรื่องที่ดิน ดังนั้นภาพรวมจะนำมาประมวลร่วมกับ 3 เวที ที่เตรียมจัดใน 3 ภูมิภาค ก่อนนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมกันอีกครั้งใน วันที่ 7 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาร่างแบบสอบถามความเห็นของประชาชนต่อสาระในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่นำเสนอ โดยนางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานอนุกมธ. การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก่อนที่จะนำแบบสอบถามดังกล่าวเผยแพร่ และทำการสำรวจประชาชนโดยคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กมธ.วิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นประชนชน สปช. ที่มี นายประชา เตรัตน์ สปช.ชลบุรี และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานกมธ.
ด้านนายไพโรจน์ พรหมสาส์น ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 7–9 เม.ย. ทางกมธ.วิสามัญติดตามฯได้นัดประชุมกมธ. และเจ้าหน้าที่ ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อเตรียมทำข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเปรียบเทียบกับข้อเสนอของสปช. ที่ได้นำเสนอให้กับ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญไปแล้วก่อนหน้านี้ จำนวนทั้งสิ้น 246 ประเด็น เพื่อให้สมาชิกสปช. ใช้ประกอบการพิจารณาและอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ โดยเนื้อหาจะนำร่างรัฐธรรมนูญของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามที่ได้รับมาเบื้องต้น เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 พร้อมกับทำเป็นข้อสังเกตว่า ประเด็นที่บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญในเรื่องต่างๆ เป็นไปตามข้อเสนอ ของสปช.ด้วยหรือไม่
อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ทางกมธ.วิสามัญติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ถือว่าเป็นฉบับที่มีความสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะทราบว่า ขณะนี้ยังมีการปรับแก้ในหลายประเด็น แต่ตนเชื่อว่าประเด็นดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการเตรียมข้อมูล เพราะหลังจากวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะส่งร่างรัฐธรรมนูญให้กับสปช.แล้ว ทางกมธ.ฯจะนำมาทบทวนทั้งหมดอีกครั้ง
"สำหรับภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญกับข้อเสนอของ สปช. นั้น เบื้องต้นเห็นว่ามีหลายประเด็นที่นำสาระสำคัญไปบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ดังนั้น เชื่อว่าบรรยากาศการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -26 เม.ย.นั้น จะเป็นไปอย่างเรียบร้อย" นายไพโรจน์ กล่าว
**นายกฯไม่อยากให้วิพากษ์รธน.มาก
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้าคสช. ต้องการให้ทุกคนในประเทศเข้าใจว่า ประเทศไทยจะเดินต่อไปได้ ไม่ใช่เฉพาะจะมีแต่เรื่องของรัฐธรรมนูญ และเรื่องการเมือง ยังมีเรื่องการแก้ไขปัญหาในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการบริหารราชการแผ่นดิน และการแก้ไขปัญหาในดีตที่ผ่านมา จึงต้องการให้ทุกคนให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ไม่ใช้เพ่งเล็งแต่เรื่องรัฐธรรมนูญแต่เพียงอย่างเดียว ถ้ามองมุมแคบเช่นนี้ บ้านเมืองคงเดินต่อไปไม่ได้
ส่วนกรณีกลุ่มการเมืองออกมาวิพากษ์วิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญอย่างมากนั้น เป็นการกระทำของกลุ่มการเมืองเพื่อให้ตัวเองมีโอกาสกลับมามีเสียงข้างมาก แต่บ้านเมืองในขณะนี้ยังอยู่ในภาวะไม่ปกติ ดังนั้น นายกรัฐมนตรี จึงอยากให้สังคมเข้าใจว่า ถ้าเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตใจ และมีข้อเสนอแนะมาด้วย ก็ไม่มีปัญหาใด แต่ถ้าแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่ว่าทุกอย่างที่ทำในการปฏิรูปเป็นสิ่งเลวร้ายทั้งหมด บ้านเมืองก็จะเดินไปไม่ได้
**"รสนา"ปัดวิจารณ์โมเดลเลือกตั้งส.ว.
น.ส.รสนา โตสิตระกูล สปช.ในฐานะอดีตส.ว.เลือกตั้ง กล่าวถึงข้อเสนอของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ระบุแนวคิดให้เลือกส.ว.มาจากทั้งจากการสรรหา การเลือกตั้งและกลุ่มวิชาชีพเลือกตั้งแทน หรือปลาสามน้ำ ว่า ตนไม่อยากวิจารณ์ เพราะยังไม่เห็นรายละเอียดของที่มา แต่ไม่ควรทำให้ซับซ้อน หรือยุ่งยากกับประชาชนผู้ใช้สิทธิ เช่น การเลือกตั้งทางอ้อม 5 กลุ่ม ที่ต้องให้องค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้คัดเลือกในกลุ่มที่ 5 คือ ภาควิชาชีพแต่ละจังหวัด ทำไมจึงไม่ให้ประชาชนเลือกตั้งได้โดยตรง ซึ่งทำได้หลายรูปแบบ
น.ส.รสนา กล่าวต่อว่า ตนขอเสนอให้เลือกตั้งโดยตรง และมีการจัดทำเป็นกลุ่มบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ของผู้สมัครส.ว. ที่มาจากตัวแทนวิชาชีพต่างๆ ให้เป็นทีมๆละ 30 คน โดยมีหัวหน้าทีมที่ดีเด่นดัง และเปิดเผยชื่อผู้สมัครพร้อมประวัติต่อสาธารณชน (โอเพ่นลิสต์) แบบที่เสนอให้ใช้กับส.ส. เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ และให้ส่งสมัครเป็นทีมๆให้ประชาชนเลือกได้เองโดยคัดออกให้เหลือทีมละ10คน จากนั้นจึงเอาทึ้ง10คนของแต่ละทีมมาคัดจากผลคะแนนสูงสุดให้ได้ตามจำนวน200คน วิธีนี้จะทำได้ง่าย ล็อคสเปคยากและประชาชนเข้าใจมากกว่า ไม่สับสน ที่สำคัญจะได้คนดี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จากแต่ละสาขาอาชีพจริงๆไม่วช่นอมินีหรือตัวแทนกลุ่มทุน นักการเมือง พรรคการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งยังแก้ข้อครหาว่าเป็น ส.ว.ลากตั้งได้ด้วย
**"วันชัย"ค้านเลือกตั้ง ส.ว.77จังหวัด
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เห็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะให้มีทั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหาและเลือกตั้ง โดยอาจจะมีกระบวนการคัดกรองก่อนเลือกตั้งนิดหน่อย หรือเรียกว่ามีทั้งสรรหา และเลือกตั้ง 77 คน 77 จังหวัด ใกล้เคียงกับอีหรอบเดิม เพราะถ้าให้ส.ว. มาจากการเลือกตั้งแต่ละจังหวัด มันก็มาจากฐานการเมืองเดียวกัน พวกเดียวกัน จะตรวจสอบกลั่นกรองอะไรกันได้ ทั้งรัฐธรรมนูญปี 40, 50 ก็เคยทำมาแล้ว เรากำลังจะทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกันอีกครั้งรึ ถ้าอยากให้มีส.ว. มาจากการเลือกตั้ง ตนคิดว่ามีสภาเดียวดีกว่า แต่ถ้ามีแบบครึ่งๆ กลางๆ จะเลือกตั้งก็ไม่เลือกตั้งทั้งหมด จะสรรหาก็ไม่สรรหาทั้งหมด มันกึ้กๆ กั้กๆ ยึกยักอย่างนี้
"ขืนทำงานกันต่อไป มันก็ยึกๆ ยักๆ ฟึดฟัดฮึดฮัดเป็นปลาสองน้ำไปๆ มาๆ ก็จะไม่เป็นโล้เป็นพาย ตกลงจะเอาทางไหนก็เอาซักอย่าง ให้มันรู้เรื่องรู้ราวกันไปเลยทำกันแบบเกรงอกเกรงใจจะเสียหายไปมากกว่านี้" นายวันชัย กล่าว
นายวันชัย กล่าวว่า ทางที่ดีทำตามที่ตัวเองเสนอ คือให้มีการเลือกจากสาขาอาชีพกันเองให้ได้สัก 200 คน โดยจะแบ่งกลุ่มที่เหมาะสม เช่น ผู้ใช้แรงงานเลือกกันเองมา 1 คน ชาวนาชาวไร่ ครูบาอาจารย์ ทนายความ แพทย์ นักการศาสนา นักอุตสาหกรรม นักธุรกิจ พ่อค้า ฯลฯ ก็ไปจัดกลุ่มก้อน จำแนกแยกแยะ วางระบบกลไกในการเลือกตั้งกันให้ดี เราจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิจากทุกสาขาอาชีพเป็นสมาชิกวุฒิสภา มิใช่สภาที่มาจากฐานการเมือง ซึ่งเข้าท่าเข้าที ทั้งดีทั้งเหมาะ ทำไมไม่คิดกันบ้าง